ครูเอกชัยกับสวนไม้ผล งานใหม่หลังเกษียณ เตรียมไว้ให้พร้อม

เมื่อเกษียณจะได้มีงานทำ วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณ มีหลายทางเลือกคือ พักผ่อน มีความสุขอยู่กับลูกหลานเหลน หรือทำงานเบาๆ เช่น ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักหรือปลูกไม้ผล แบบสวนหลังบ้าน เพื่อให้มีผลผลิตเก็บกินหรือแบ่งปันเพื่อนบ้าน

วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณ ไม่ควรลงทุน ไม่ว่าจะเป็นงานใดก็ตาม เพราะมีความเสี่ยงสูง ยิ่งถ้าไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ เมื่อเกิดข้อผิดพลาด อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ทันการณ์ ซ้ำยังส่งผลให้บั้นปลายมีวิถีชีวิตไม่มั่นคง

วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณด้วยการ การสร้างสวนไม้ผล ก่อนเกษียณ 5 ปี หรือมากกว่า เพื่อให้มีโอกาสปฏิบัติงานจริง ได้ลองผิดลองถูก รู้ข้อดี ข้อด้อย วิธีการแก้ปัญหา ได้พัฒนาการทำงานให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ และเมื่อถึงวันที่เกษียณจริงก็สามารถทำงานต่อยอดได้ทันที เป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ

จากประเด็นดังกล่าว เราจึงขอนำเสนอเรื่องของ ครูเอกชัย…กับสวนไม้ผล งานใหม่หลังเกษียณเพื่อวิถีมั่นคง มาบอกเล่าสู่กัน

คุณเอกชัย ตองอบ ผู้อำนวยการโรงเรียนนาแก้ววิทยา ผู้ปลูกสร้างสวนไม้ผลเล่าให้ฟังว่า โดยพื้นฐานแล้วคุณพ่อ-คุณแม่ เป็นชาวไร่ชาวนา เมื่อครั้งเป็นเด็กได้ช่วยท่านทำงานในไร่นา จึงซึมซับความรู้ ประสบการณ์ไว้พอสมควร

ด้านการเรียนก็เรียนจบปริญญาทางด้านการศึกษา ได้เข้ารับราชการเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนนาแก้ววิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นไปตามความมุ่งหวังของคุณพ่อ-คุณแม่ ที่ต้องการให้ช่วยเหลือสังคม

เมื่อคิดถึงวันเวลาที่ต้องปลดระวางตัวเองจากการเป็นครูเพื่อเปลี่ยนเข้าสู่วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณ จึงนำเรื่องนี้ไปพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวแล้วก็ได้ข้อสรุปว่า การปลูกสร้างสวนไม้ผลน่าจะเป็นทางเลือกที่ได้ผลดี

เพราะสภาพภูมิอากาศพื้นที่อำเภอขุนหาญมีความเหมาะสม และยังพบว่าเกษตรกรที่นี่ปลูกสร้างสวนไม้ผลประสบความสำเร็จ เมื่อพิจารณาข้อดีข้อด้อยในด้านต่างๆ แล้ว จึงตัดสินใจปลูกสร้างสวนไม้ผล แต่มีเงื่อนไขว่าต้องปลูกสร้างสวนไม้ผลให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นอาชีพใหม่ไว้รองรับเมื่อเกษียณ

จากนั้นจึงได้จัดการวางแผนการปลูกและผลิต จัดการใช้ที่ดิน เลือกชนิดของไม้ผลที่ปลูก การปลูก ปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาหรือเก็บเกี่ยว โดยแบ่งงานทำเป็น 2 ส่วน คือ วันจันทร์-ศุกร์ ภรรยาหรือคุณเบญจลักษณ์ ตองอบ เป็นผู้ทำงานภาคสนาม พร้อมกับจ้างแรงงาน 3-5 คน มาช่วยทำงาน มีทั้งจ้างประจำและครั้งคราว ส่วนตนเองเป็นฝ่ายค้นหาความรู้จากแหล่งวิชาการ หรือจากผู้ที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำมาสนับสนุนในการผลิต ได้ช่วยทำงานก่อนไปและหลังกลับมาจากโรงเรียน และทำหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาสวนไม้ผลเป็นประจำในทุกวันหยุด

พื้นที่แห่งนี้เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อน เป็นพื้นที่อยู่ในเขตภูเขาไฟเก่า ดินมีอินทรียวัตถุสูง เมื่อขุดลึกลงไปในดิน 50 เซนติเมตร จะเป็นดินภูเขาไฟที่แข็ง หน้าดินเป็นดินทราย ปลูกไม้ผลทุกชนิดได้คุณภาพดี

มีพื้นที่ปลูกไม้ผล 30 ไร่ ปลูกทุเรียน 575 ต้น แบ่งปลูกหมอนทอง 550 ต้น ก้านยาว 15 ต้น ชะนี 7 ต้น พวงมณี 2 ต้นและกระดุม 1 ต้น ปลูกเงาะ 32 ต้น ลองกอง 35 ต้น มังคุด 56 ต้น สะตอ 12 ต้น และปาล์มน้ำมัน 889 ต้น

กรณีตัวอย่างการปลูกทุเรียน

เมื่อเตรียมดินแล้ว ได้ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาว และลึกด้านละ 30-50 เซนติเมตร ปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถว 8×8 เมตร นำต้นพันธุ์ทุเรียนลงปลูกเกลี่ยดินกลบ ให้น้ำแต่พอชุ่ม

การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา ปีที่ 1-7 ได้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เดือนละครั้งรอบทรงพุ่ม ช่วงต้นฝนได้ใส่ปุ๋ยคอกแห้ง 1 ครั้งต่อปี ช่วงหลังดอกบานหรือ 8 สัปดาห์ หรือช่วงติดผลขนาด 1.5 กิโลกรัม ได้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใน

อัตรา ½ กิโลกรัม ต่อต้น ทุก 15 วัน เพื่อช่วยเพิ่มขนาดและความหวาน และหยุดใส่ปุ๋ยก่อนเก็บเกี่ยว 30 วัน การให้น้ำ ทุเรียนต้องได้รับน้ำเพียงพอจึงจะเจริญเติบโตได้ดี ปีที่ 1-7 ได้ให้น้ำ 1 วัน เว้น 2 วัน เมื่อเริ่มติดผล ได้ให้น้ำวันเว้นวันไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว การให้น้ำทุกครั้งจะพิจารณาถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย

การตัดแต่งดอก หลังจากดอกบาน 1 เดือน ได้เลือกตัดดอกที่มีจำนวนมากออก เพื่อให้การติดผลบริเวณกิ่งมีจำนวนที่เหมาะสม เช่น ใน 1 กิ่งมี 10 ช่อ ดอกก็อาจตัดแต่งให้เหลือไว้ 5 ดอก หรือได้ 5 ผล วิธีนี้จะช่วยทำให้กิ่งไม่ต้องรับน้ำหนักของผลทุเรียนมากเกินไป ได้ผลทุเรียนมีขนาดเหมาะสม และเนื้อภายในผลดีมีคุณภาพ

ครูเอกชัย ตองอบ ผู้ปลูกสร้างสวนไม้ผลเล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า การเก็บเกี่ยวจะใช้วิธีนับวันคือ เมื่อดอกบานถึงวันที่ผลทุเรียนแก่สุกพอดี ให้เก็บเกี่ยวได้ จะมีอายุ 100-130 วัน วิธีการเก็บ ได้จ้างผู้ที่มีความชำนาญมาตัดเก็บ จ่ายค่าจ้างด้วยการคิดตามน้ำหนักของผลผลิตที่ตัดเก็บลงมาคือ ตันละ 1,000 บาท และใช้วิธีทยอยตัดเก็บ การตัดเก็บผลทุเรียนที่แก่สุกพอดี จะได้เนื้อทุเรียนแน่น นุ่ม มีกลิ่นหอม หวานกลมกล่อม อร่อย จึงเป็นที่พึงพอใจตลาดผู้บริโภค ผลทุเรียนดีมีคุณภาพส่วนหนึ่งได้วางแผนทำข้อตกลงขายให้กับห้างแมคโคร อีกส่วนจะมีพ่อค้าท้องถิ่นเข้ามารับไปขายต่อ หรือไปเปิดท้ายรถยนต์ขายเองที่ตลาดในอำเภอ ราคาซื้อ-ขายขึ้นอยู่กับฤดูกาล

เนื่องจากเป็นการปลูกสร้างไม้ผลแบบสวนผสม จึงได้จัดการปลูกเงาะ ลองกอง มังคุด สะตอ และปาล์มตามสัดส่วนพื้นที่ มีการทยอยปลูกแบบต่อเนื่อง และมีผลผลิตให้ทยอยเก็บได้บ้างแล้ว ทำให้มีรายได้นำมาเป็นทุนหมุนเวียนในการจัดการสวน ทั้งค่าจ้างแรงงาน จัดซื้อปัจจัยการผลิต หรือค่าซ่อมบำรุงเครื่องมือการเกษตร และได้จัดการให้สวนไม้ผลแห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้แบบเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับท่านที่เกษียณอายุหรือทุกท่านที่สนใจ

การที่ได้เตรียมและสร้างสวนไม้ผลมาถึงเวลานี้ทำให้มั่นใจว่า วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณด้วยอาชีพทางเลือกใหม่จะช่วยทำให้ครอบครัวมีวิถีที่มั่นคงยั่งยืน

แล้วท่านที่จะเกษียณมีอาชีพใหม่พร้อมให้เลือกทำหรือยัง?

คุณทวี มาสขาว เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เล่าให้ฟังว่า ประชากรที่นี่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่การเกษตรราว 4 ล้านกว่าไร่ ใช้เป็นพื้นที่เพื่อการทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ หรือทำประมง สำหรับพื้นที่ปลูกและผลิตไม้ผลเชิงธุรกิจมีประมาณ 7,128 ไร่ และมีเกษตรกรปลูกไม้ผลประมาณ 1,309 ครัวเรือน

การปลูกไม้ผลทำได้ 2 วิธีคือ วิธีที่หนึ่งปลูกแบบหัวไร่ปลายนาหรือสวนหลังบ้านเพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือแบ่งปัน และวิธีที่สองเป็นการปลูกในเชิงธุรกิจ ขายผลผลิตเป็นรายได้หลักเพื่อให้ครอบครัวมีความมั่นคง

ไม้ผล เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่มีการปลูกและผลิตได้ดีมีคุณภาพ มีแหล่งปลูกมากอยู่ในพื้นที่ 4 อำเภอ คือ กันทรลักษ์ ศรีรัตนะ ขุนหาญ และอำเภอภูสิงห์ ไม้ผลที่ปลูก ได้แก่ เงาะ ทุเรียน ลำไย ลองกอง และมังคุด นอกจากนี้ยังมีการปลูกลิ้นจี่ สะตอ สะละ หรือฝรั่ง และพืชผัก เป็นพืชเสริมแบบผสมผสานในพื้นที่เดียวกันด้วย

ทุเรียน มีพื้นที่ปลูก 2,485 ไร่ เกษตรกร 496 ครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 803.9 กิโลกรัม ต่อไร่ ผลผลิตรวม 1,613.56 ตัน ราคาเฉลี่ย 56.67 บาท ต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวม 91.44 ล้านบาท

เงาะ มีพื้นที่ปลูก 1,878 ไร่ เกษตรกร 340 ครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,927 กิโลกรัม ต่อไร่ ผลผลิตรวม

31,815 ตัน ราคาเฉลี่ย 18 บาท ต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวม 31.03 ล้านบาท

ลำไย มีพื้นที่ปลูก 1,730 ไร่ เกษตรกร 212 ครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 919 กิโลกรัม ต่อไร่ ผลผลิตรวม 11,076 ตัน ราคาเฉลี่ย 22 บาท ต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวม 49.30 ล้านบาท

ลองกอง มีพื้นที่ปลูก 524 ไร่ เกษตรกร 134 ครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัม ต่อไร่ ผลผลิตรวม 419.2 ตัน ราคาเฉลี่ย 45 บาท ต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวม 18.86 ล้านบาท

มังคุด มีพื้นที่ปลูก 511 ไร่ เกษตรกร 127 ครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 750 กิโลกรัม ต่อไร่ ผลผลิตรวม 383.25 ตัน ราคาเฉลี่ย 18 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ย 35 บาท ต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวม 13.41 ล้านบาท

การส่งเสริมการผลิต ได้ส่งเสริมให้ปลูกสร้างสวนไม้ผลแบบผสมผสานที่ก่อให้เกิดการเกื้อกูลกันในการใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อลดต้นทุน มีการใส่ปุ๋ยและรอน้ำอย่างเพียงพอ ส่งเสริมให้ปลูกพืชอายุสั้นหลังการปลูกสร้างสวนไม้ผลเพื่อให้มีรายได้ระหว่างรอให้ไม้ผลเจริญเติบโต และส่งเสริมการผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมหรือ GAP =Good Agricultural Practice เพื่อให้ได้ผลไม้ดีมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค

คุณทวี มาสขาว เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เล่าให้ฟังว่า ท่านที่เกษียณจากการทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีข้อแนะนำว่า วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณ เมื่อสุขภาพแข็งแรง ไม่ควรใช้ชีวิตอยู่เฉยๆ ปล่อยให้เวลาผ่านไป

ท่านที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะสาขาใดก็ตาม เมื่อมีความพร้อมควรใช้โอกาสเข้าไปช่วยเหลือพัฒนาชุมชนหรือสังคม ด้วยการเป็นที่ปรึกษา หรือวิทยากรถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน หรือทำงานง่ายๆ ได้ด้วยการทำการเกษตรแบบพอเพียง หรือแบบครัวเรือน เช่น ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือขยายพันธุ์พืชด้วยการตอนกิ่ง ปักชำ เสียบยอด เพื่อใช้เป็นพันธุ์ปลูก แบ่งปัน ขายเป็นรายได้เสริม หรือทำการแปรรูปผลผลิตการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์อื่นก็ได้เช่นกัน

หรือถ้ามีความพร้อมก็ทำในเชิงการค้าได้ก็จะเป็นหนึ่งวิถีการใช้ชีวิตที่มีคุณค่า เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดำรงชีพอยู่ได้แบบพอเพียงและมั่นคงยั่งยืน และนี่คือเรื่องของครูเอกชัย…กับสวนไม้ผล งานใหม่หลังเกษียณเพื่อวิถีมั่นคง ผู้สร้างสวนไม้ผลเตรียมไว้ให้พร้อม เมื่อเกษียณจะได้มีงานทำ

ปัจจุบัน การปลูกอ้อยเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากในหมู่เกษตรกรที่กำลังเริ่มต้นใหม่ ถือเป็นพืชทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจไม่แพ้กัน หากมีการจัดการที่ดีและละต้นทุนการผลิต การปลูกอ้อยของเกษตรกรในพื้นที่ ตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ นั้นถือว่าสร้างรายได้เป็นลำดับต้นๆ ของจังหวัดไร่ ซึ่งอ้อย 700 ไร่ ของ คุณทองแดง แดนดี เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 72 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่เริ่มต้นปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด จนสุดท้ายผันตัวเองเข้ามาอยู่ในพืชเศรษฐกิจอย่างอ้อย ที่ทำรายได้จนมีที่ดินทำกิน 700 ไร่ มาถึงทุกวันนี้

คุณวิไลลักษร์ พุฒนอก นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ของอำเภอหนองกี่นี้ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรจึงยึดอาชีพชาวไร่เป็นหลัก ทั้งนี้ ไร่อ้อยของ คุณทองแดง แดนดี ซึ่งเป็นที่ดินอยู่บนเนินเขา ทำให้เธอเลือกที่จะมาปลูกอ้อยเป็นอาชีพหลัก เนื่องจากสภาพพื้นที่การทำการเกษตร อย่างการปลูกอ้อยของตำบลหนองกี่ ห่างจากโรงงานผลิตน้ำตาลเพียงแค่ 2 กิโลเมตร จึงอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งอีกด้วย

“สำหรับไร่อ้อยของคุณทองแดง เป็นไร่ที่มีการแบ่งพื้นที่ปลูกอยู่ 3 ส่วน ซึ่งส่วนแรกเป็นไร่มันสำปะหลังควบคู่ไปกับไร่นาข้าว จำนวน 300 ไร่ และ ไร่อ้อย 700 ไร่ ประสบการณ์ในการเป็นชาวไร่ชาวสวนจึงได้คิดค้นเครื่องจักรขึ้นมาเอง ทางสำนักงานเกษตรอำเภอก็เห็นว่ามีความสามารถ จึงได้ส่งเข้าประกวดจนได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2561” คุณวิไลลักษร์ พุฒนอก กล่าว

คุณทองแดง แดนดี เจ้าของไร่ทองแดง เผยว่า สำหรับอ้อยที่ปลูกอยู่ ณ ตอนนี้เลือกที่จะปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และพันธุ์ยักษ์เขียว ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน อย่างเช่น พันธุ์ขอนแก่น 3 จะมีน้ำหนักที่เบากว่าพันธุ์ยักษ์เขียว ซึ่งอ้อยพันธุ์ยักษ์เขียวมีลำต้นที่ใหญ่กว่าและให้น้ำหนักดีกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ส่วนเรื่องความหวานนั้นทั้ง 2 สายพันธุ์นี้เรียกได้ว่า มีความหวานที่สูสีกันเลยทีเดียว นอกจากอ้อย 2 สายพันธุ์นี้แล้ว ยังได้มีการปลูกพันธุ์อื่นๆ อีก 2-4 สายพันธุ์ ถือว่าเป็นไร่ที่สร้างตัวเลือกได้อย่างหลากหลาย

“สำหรับวิธีการดูแลอ้อย 700 ไร่นั้น จะต้องดูแลอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจไร่อ้อยเดินก้าวไปข้างหน้า โดยที่ไม่ต้องกังวลถึงปัญหาที่ยังไม่เกิดขึ้น มีการดูแลไร่อ้อยส่วนใหญ่ก็จะใช้เครื่องไม้เครื่องมือหรือนวัตกรรมที่ผลิตคิดค้นขึ้นมาเอง ประกอบกับประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่ นำมาต่อยอดธุรกิจมาจนถึงทุกวันนี้” คุณทองแดง กล่าว

นอกจากนี้ คุณทองแดง ยังได้บอกความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการระบบการให้น้ำในไร่อ้อยที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ไม่ควรพลาด และในส่วนของการจัดการกับระบบดินนั้น ทางไร่ของเธอก็มีวิธีการที่ไม่ว่าจะเจอดินปลูกสภาพแบบใด ก็มีการจัดการดินที่ดีเหมาะสมกับการปลูกอยู่เสมอ เช่น การระเบิดดิน เพื่อทำให้ลึกง่ายต่อการปลูกอ้อย และทั้งหมดนี้ก็เป็นการทำงานที่ใช้ระบบนวัตกรรมเครื่องยนต์และเครื่องกลต่างๆ ที่คิดค้นผลิตขึ้นมาเอง โดยแทบจะไม่ใช้แรงงานคนสักเท่าไร

หลังจากปลูกอ้อยจนได้ผลผลิตที่พร้อมส่งขายให้กับโรงงานแล้ว มาถึงขั้นตอนของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ในขั้นตอนนี้มีการใช้เครื่องตัดอ้อยที่จะคู่ไปกับรถบรรทุก ทั้งนี้ รถบรรทุก 1 คัน สามารถขนอ้อยได้ทั้งหมด 25 ตัน

การปลูกอ้อยนั้นก็สามารถปลูกได้เลย เพราะอ้อยเป็นพืชที่ปลูกไม่ยาก เพียงแต่ต้องใส่ใจในการดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่แล้วการปลูกอ้อยก็จะเริ่มปลูกในช่วงของเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เรียกว่าปลายฝน ส่วนในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงต่างๆ ที่เป็นปัญหาเข้ามาคุกคามในไร่อ้อย เช่น หนอน หรือแมลงอื่นๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็มีวิธีแก้ซึ่งจะแก้อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเกษตรกรว่าจะเลือกใช้วิธีไหน อาจจะใช้วิธีการพ่นยาหรือใช้วิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม

ต้องผลิตแบบลดต้นทุน

ในเรื่องของตลาดอ้อยนั้น ในทุกวันนี้ คุณทองแดง บอกว่า ถือว่ายังเป็นพืชที่น่าปลูกถึงแม้ราคาอาจจะหลุดลอย ยังไม่ตอบโจทย์เกษตรกรมากนักก็ตาม แต่ก็ยังคงต้องปลูก เพราะว่าไม่สามารถปรับเปลี่ยนไปทำพืชอย่างอื่นที่ตามกระแสได้ ถึงแม้ราคาในบางช่วงอาจจะไม่ค่อยดี แต่รัฐบาลก็ยังเข้ามาสนับสนุนอยู่เรื่อยๆ และถ้าหากว่าต้องเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น แน่นอนอาจจะต้องเปลี่ยนเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อให้เหมาะสมกับอาชีพนั้นๆ เท่ากับว่าเป็นการนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง

“ฉะนั้นเรามีที่ดินอยู่แล้ว มีเครื่องไม้เครื่องมือครบถ้วน เราก็สมควรที่จะปลูกอ้อยเหมือนเดิมถึงแม้ราคาอาจจะต่ำกว่าปีที่ผ่านๆ มาก็ตาม แต่จะต้องยืนหยัดยืนอยู่บนเส้นทางเกษตรกรไร่อ้อยต่อไป เพียงแต่เราก็มีการลดต้นทุนมากขึ้น สมัยนี้อะไรที่ทำเพื่อลดต้นทุนการผลิตเราก็ต้องทำ อย่างเช่น ที่ไร่ของเรามีการผลิตต้นพันธุ์อ้อยเอง ไม่ได้ซื้อเข้ามาจากที่อื่น มีการใช้ต้นพันธุ์เดิม ไม่มีการเผา จึงทำให้อ้อยก็ไม่ต้องซื้อต้นพันธุ์เข้ามาใหม่ สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ดี แม้บางช่วงราคาอ้อยตกลงมาอยู่ที่ 700 บาท ต่อตัน ก็ยังพอประคองตัวอยู่ได้” คุณทองแดง กล่าว

ทั้งนี้ ปัญหาหลักๆ ของสภาพพื้นที่ถือเป็นปัญหาที่แก้แล้วไม่ขาดอย่างปัญหาภัยแล้ง เพราะถ้าแล้งเมื่อไรก็ไม่มีระบบชลประทาน คือพูดง่ายๆ ว่า แล้งเมื่อไรก็แล้งขาดไปเลย แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหามากนักสำหรับเกษตรกรไร่อ้อยอย่างเธอ เพราะได้วางแผนสลับเวียนไปเรื่อยๆ ทั้งพื้นที่การปลูกไปจนถึงขั้นของการจัดการบริหาร จนสามารถบรรลุผลสำเร็จในด้านการเกษตร ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเกษตรกรต้นแบบที่คิดค้นเครื่องไม้เครื่องมือมาใช้ในทางการทำเกษตร จนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานจากทางภาครัฐและเกษตรกรที่ปลูกอ้อย

ที่ตำบลซานซิง เมืองยี่หลาน ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกต้นหอมที่ใหญ่ที่สุดและต้นหอมที่นี่มีคุณภาพดีและรสชาติดีที่สุดของเกาะไต้หวัน ตำบลซานซิง ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไต้หวัน

ทาง ต.ซานซิง ได้ปรับปรุงพัฒนาให้โรงเก็บข้าวเก่ามาเป็นพิพิธภัณฑ์ต้นหอมขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตรของเมืองและเปิดพิพิธภัณฑ์ต้นหอมอย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อปี 2548 ทุกๆ ปีทาง ต.ซานซิง จะจัดงานเทศกาลต้นหอมและกระเทียม ซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่จนเป็นที่รู้จักและคนไต้หวันจะรู้ว่า เมื่อถึงเดือนมกราคมของทุกปีจะมี “เทศกาลต้นหอมและกระเทียม” ขึ้นที่นี่

คนไต้หวันนิยมบริโภคผักตามฤดูกาล เพราะเชื่อว่าจะทำให้สุขภาพแข็งแรง และปัจจุบันคนไต้หวันเปลี่ยนพฤติกรรมกินข้าวในแต่ละมื้อน้อยลงแต่จะเน้นการกินผักและผลไม้มากขึ้น (จากอดีตบริโภคข้าว 70%, ผักและผลไม้ 30% ปัจจุบันกลับกันบริโภคข้าว 30% และบริโภคผักและผลไม้ 70%)

ต.ซานซิง นั้นมีชื่อเสียงมากเรื่องของการปลูกต้นหอมที่มีคุณภาพดีที่สุดในไต้หวัน ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสม ดินมีลักษณะร่วนปนทราย ทำให้การระบายน้ำดี มีน้ำดี (ซึ่งทางภาครัฐของไต้หวันค่อนข้างเอาใจใส่และดูแลเรื่องของระบบชลประทานค่อนข้างดีมาก) โดยต้นหอมของที่นี่มีลักษณะโดดเด่นที่สุดคือ “ส่วนของลำต้นส่วนที่เป็นสีขาว จะมีความยาวมากเป็นพิเศษ คือยาว 15-20 เซนติเมตรเลยทีเดียว ลำต้นยาวและรสหวาน มีกลิ่นหอม มีรสไม่เผ็ดมากเกินไป ยังมีคุณสมบัติที่มีคุณภาพเผ็ดอ่อน ลำต้นมีความยาวมากยาวเฉลี่ย 40 เซนติเมตร” (ต้นหอมของไต้หวัน จะเป็นคนละชนิดกับต้นหอมของไทย ซึ่งต้นหอมไทยต้นจะเล็กและสั้นกว่ามาก

ส่วนที่เป็นหัวจะกลมโตกว่า รสชาติเผ็ด และกลิ่นฉุน ต้นหอมไต้หวันจะมีลักษณะเหมือนกับต้นหอมญี่ปุ่นมากกว่า แต่อาจจะด้วยการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ต้นหอมให้มีลักษณะเป็นที่ต้องการของคนไต้หวัน จึงมองดูว่าต้นหอมไต้หวันต้นจะดูเล็กกว่าต้นหอมญี่ปุ่น)

ราคาของต้นหอมก็ขึ้นกับความยาวของลำต้นส่วนที่เป็นสีขาว โดยจะแบ่งเป็นสองประเภทคือ “ต้นหอมเกรดเอ” คือมีส่วนของลำต้นสีขาวยาว 15 เซนติเมตรขึ้นไป ถือว่าเป็นต้นหอมได้คุณภาพ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และรู้จักต้นหอมของ ต.ซานซิง ลำต้นสีขาวจะต้องยาวนั้นเกษตรกรจะได้ราคาค่อนข้างสูง ส่วน “ต้นหอมเกรดรอง” คือความยาวของลำต้นส่วนที่เป็นสีขาวมีความยาวไม่ถึง 15 เซนติเมตร และความยาวรวมของลำต้นและใบสั้นตามที่กำหนด ต้นหอมเหล่านี้จะถูกขายตามท้องตลาดทั่วไป ตลาดนัด ร้านอาหาร และนำไปแปรรูปเป็นขนมชนิดต่างๆ หรือนำไปแปรรูปทำเป็นผง เป็นต้น

ต้นหอมเกรดรองที่ลำต้นสั้นจะมีราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องเอาใจใส่ในการปลูกต้นหอมของตนเองให้มากขึ้น จึงจะได้ราคาดี ในการรับซื้อที่นี่จะมีสหกรณ์เป็นคนกำหนดราคาโดยจะประกันราคาให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิก (ไต้หวันจะใช้ระบบของสหกรณ์ดำเนินงานด้านการเกษตรทั้งหมดและมีประสิทธิภาพสูงมากทั้งเรื่องราคาที่เกษตรกรที่ควรจะได้รับ, การบริหารจัดการผลผลิต และการกระจายสินค้า โดยแต่ละสหกรณ์ในไต้หวันจะมีการแข่งขันกันเองเพื่อให้เกษตรกรของตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุด)

ระบบการปลูกต้นหอมของไต้หวัน จะใช้วิธีการเพาะเมล็ดก่อนเมื่อได้ต้นกล้าต้นหอมแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงการเตรียมแปลงของไต้หวันก็คล้ายกับบ้านเรา แต่ที่ไต้หวันจะใช้รถเตรียมแปลงขนาดเล็ก (ไม่ได้ใช้รถไถเหมือนบ้านเรา) ซึ่งการเตรียมแปลงค่อนข้างมีความประณีตมาก เครื่องขึ้นแปลงสามารถพรวนและตีดินได้ละเอียด ประกอบกับสภาพดินที่ออกจะเป็นดินร่วนปนทราย และการเตรียมแปลงที่ดีทำให้แปลงมีการระบายน้ำที่ดีซึ่งเกษตรกรไต้หวันจำเป็นต้องพิถีพิถันเรื่องการเตรียมแปลงมากเป็นพิเศษเนื่องจากไต้หวันฝนตกบ่อย

เมื่อแปลงปลูกพร้อม เกษตรกรก็จะนำ “ฟางข้าว” (ไต้หวันไม่เผาฟางข้าวและตอซังเหมือนบ้านเรา) มาคลุมแปลงให้ทั่วทั้งแปลงเขาบอกว่าการคลุมแปลงด้วยฟางข้าวมีประโยชน์มาก คือ ฟางข้าวจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้กับแปลงปลูกเพราะสภาพอากาศของไต้หวันในช่วงกลางวันอากาศค่อนข้างร้อนมาก

การย้ายกล้าปลูกในช่วงแรกต้องระวังอย่าให้แปลงปลูกต้นหอมขาดน้ำ สมัคร GClub แปลงต้องมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอด ฟางข้าวยังช่วยลดปัญหาเรื่องของวัชพืชที่ขึ้นบนแปลงได้เป็นอย่างดี ลดเวลาและแรงงานมากำจัดวัชพืชไปได้เป็นอย่างมาก และอีกประการเมื่อฟางข้าวผุเปื่อยก็จะถูกไถกลบในแปลงปลูกทำให้โครงสร้างดินดี นี่เป็นประโยชน์ของฟางข้าว ดังนั้นเกษตรกรที่ทำนาถ้าไม่ไถกลบ ก็จะเก็บฟางข้าวไว้ใช้คลุมแปลงปลูกผัก หลังจากคลุมแปลงด้วยฟางเรียบร้อยแล้ว และกล้าต้นหอมที่เพาะเอาไว้พร้อมคือ มีใบจริง 2-3 ใบ และมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ก็สามารถย้ายปลูกได้ การย้ายกล้าปลูก เกษตรกรจะมีเหล็กรูปตัวที (T) ซึ่งเหล็กรูปตัวทีนี้ จะเป็นตัวที่เกษตรกรจะใช้แทงดินนำร่องให้ดินเป็นรูลึกประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วเสียบกล้าลงไปในรูดังกล่าวแล้วใช้มือบีบดินให้แน่นเพียงเท่านี้เป็นอันเสร็จขั้นตอนการปลูก

ส่วนการให้น้ำเท่าที่สังเกตจะมีการวางระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ ในเรื่องของการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในแปลงปลูก จะมีการวางกับดักล่อแมลงโดยเฉพาะแมลงวันทอง จะเป็นแบบกล่องล่อให้แมลงวันทองเข้าไปแล้วตกไปตายในกล่องล่อแมลงที่มีน้ำบรรจุอยู่ (น้ำผสมกับฟีโรโมนช่วยดึงดูดแมลงวันทองเข้ามาในกับดัก) โดยไต้หวันให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยในการทำการเกษตรมาก มีการตรวจสอบสารตกค้าง

อย่างการปลูกต้นหอมเองก็จะยึดหลัก TGAP (Taiwan Good Agriculture Practices) หรือ การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมของไต้หวัน และแนวโน้มการบริโภคคนไต้หวันมีความต้องการสินค้าอินทรีย์มากขึ้นเรื่อยๆ ภาครัฐบาลไต้หวันก็พยายามผลักดันไม่ให้เกษตรกรใช้สารเคมีและผลิตสินค้าอินทรีย์

ในการปลูกต้นหอม จนเก็บเกี่ยวได้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 100 วัน เกษตรกรก็จะถอนต้นหอมออกจากแปลงปลูกและนำไปล้างทำความสะอาดในบ่อน้ำ ลอกใบที่ไม่ดีออก จากนั้นมัดเข้ากำ และบรรจุลงกล่องส่งจำหน่ายสหกรณ์ ราคาต้นหอมนั้น ถ้าในฤดูหนาวที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก จะเฉลี่ยอยู่ที่ กิโลกรัมละ 50-100 บาท แต่ถ้าในช่วงฤดูร้อนหรือพายุเข้า ต้นหอมจะมีราคาสูงมาก คือสูงสุดอาจจะกิโลกรัมละ 500-600 บาท ทีเดียว

คนไต้หวันเวลาทำอาหารมักจะนิยมใส่ต้นหอมด้วย เพราะนอกจะช่วยเรื่องของความหอมและรสชาติแล้ว คนไต้หวันมีความเชื่อว่า “ต้นหอม” เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง, โชคดี, และสติปัญญาดีอีกด้วย