คลินิกการแพทย์ไทยร่วมสมัย คืออะไร?นำเอาการรักษาแบบแผน

ปัจจุบันและแพทย์แผนไทยรวมด้วยกัน แล้วทำให้ร่วมสมัยด้วยสารสกัดน้ำมันและการตรวจมาตรฐานของการรักษาควบคู่กันไปด้วย กัญชา รักษามะเร็งได้จริงแต่ไม่100%
เพราะการรักษามะเร็งเป็นเรื่องขององค์รวมทั้งหมด ทั้งการออกกำลังกาย อาหาร จิตวิทยาและเรื่องของสังคม ซึ่งจะบอกว่ากัญชารักษามะเร็งอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ ต้องรักษาควบคู่กันไป โดยจะแบ่งกลุ่มคนไข้รักษามะเร็งออกเป็น 4 กลุ่ม เช่น

กลุ่มที่ 1 มะเร็งที่มีการรักษาแบบ Conventional เป็นการผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา แล้วได้ผลดี คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก (ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำกัญชามาช่วยรักษา)

กลุ่มที่ 2 มะเร็งที่มีการรักษาแบบ Conventional เป็นการผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา แล้วไม่ได้ผลดี คือ มะเร็งที่รักษายาก เช่น มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี (การรักษากลุ่มนี้ควรมีกัญชาเข้าร่วมรักษาด้วย)

กลุ่มที่ 3 มะเร็งระยะแพร่กระจาย (Metastasis) และมะเร็งระยะสุดท้าย (Palliative care) (การรักษากลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับทางผู้รักษาว่าต้องการจะรักษาแบบ Conventional รักษาด้วยกัญชา หรือจะรักษาแบบทั้ง 2 ควบคู่กัน)

กลุ่มที่ 4 มะเร็งที่กลับมาเป็นใหม่ (Recurrent) คือการรักษาแบบเดิมไม่ได้ผล ตำรับยาไทย
ทางโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. ยาพัฒนามาจากสมุนไพร เช่น น้ำมันกัญชาหยดใต้ลิ้น โดยนำกัญชาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พันธุ์อิสระ 01 ส่งไปสกัดที่คณะเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และส่งไปผลิตที่โรงงานแผนปัจจุบัน ที่ได้รับ GMP แบบ full spectrum และ น้ำมันกัญชา ตำรับขมิ้นทอง เป็น สสจ. อุดรธานี เป็นการเอาดอกกัญชาแม่โจ้ผสมกับขมิ้นชัน
2. ตำรับยาไทย คือ ตำรับสนั่นไตรภพ ซึ่งเป็นยาที่ทำในปัจจุบัน ส่วน what’s next คือ การพัฒนาเป็นแคปซูลชนิดนิ่ม (softgel capsule) หรือเป็นสารสกัดนาโนอิมัลชัน (nanoemulsion) เพื่อสามารถดูดซึมได้ดีขึ้น หากเปรียบเทียบกับแบบ full spectrum เปลี่ยนเป็น nanoemution ทำให้ภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการมึนเมาต่างๆ ลดลง ซึ่งอันนี้เป็นการรักษาแบบแผนไทยร่วมสมัย

รูปแบบการดำเนินงาน
1. Counselling การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยให้ชัดเจน เพื่อให้แนวทางการรักษาที่ถูกต้อง หากผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้กัญชา
2. IPD CASE เพื่อปรับขนาดยา ให้เหมาะกับผู้ป่วย และติดตามการตอบสนองและอาการข้างเคียง เป็นระยะ 1-2 สัปดาห์
3. OPD follow up นัดติดตามอาการทุกๆ 2-4 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์
4. Outcome การติดตามคุณภาพการใช้ชีวิต การกินอาหาร การนอน เป็นอย่างไร ดีขึ้นขนาดไหน ตัวมะเร็งลดลงไหม
ทุกคนที่เข้ารับการรักษาด้วยระบบนี้ จะต้องลงทะเบียน ODID Healthcare Platfrom เป็นการลงทะเบียนแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถเป็นบัตรประจำตัว และยังสามารถติดตามอาการของผู้ถือบัตรได้ว่า ปัจจุบันอาการและการรักษาเป็นอย่างไร เพื่อวิเคราะห์เตรียมการให้ชัดเจน

ทำไม ต้องศูนย์อบรมฝึกกัญชาไทยทางการแพทย์
เพราะเป็นการอบรมอย่างมีคุณภาพและยืนยันตัวว่าเราจะใช้เพื่อทางการแพทย์อย่างถูกต้อง ซึ่งมีทั้งการฝึกเป็นผู้ปลูก ฝึกเป็นผู้จำหน่าย ฝึกเป็นผู้ที่ใช้รักษา

“มันสำปะหลัง” พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยอีกชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเกษตรกรทั่วประเทศให้ความสนใจขยายพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในแต่ละปีเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าบางช่วงบางตอนราคารับซื้อมันสำปะหลังจากเกษตรกรจะตกลงบ้าง แต่ก็เป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น

มันสำปะหลัง เป็นพืชไร่ที่ปลูกง่าย ต้องการน้ำน้อย สามารถทนความแห้งแล้งได้ดี หากไม่มีศัตรูของมันสำปะหลังมารบกวนจนได้รับความเสียหายจริงๆ แล้ว เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังแทบจะตัด คำว่า “ขาดทุน” ไปได้เลย และยิ่งอนาคตข้างหน้ามันสำปะหลังจะเป็นพืชพลังงานที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งด้วย การขยายพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังก็จะมีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

คุณปรียานันท์ นามดวง หรือ เจ๊หล่อ เกษตรกรหญิงคนเก่งแห่งทุ่งกบินทร์บุรี อยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ตำบลกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า กบินทร์บุรีอยู่ใกล้กัมพูชา ในประเทศกัมพูชาเขาทำมันสับด้วยแรงงานคน ทำให้มันสำปะหลังของเขาสะอาดมาก เมื่อพ่อค้าซื้อไว้แล้วนำไปขายต่อก็ขายได้ราคา เพราะมันของเขาสะอาด ไม่เหมือนกับมันสำปะหลังของไทยบางราย เกษตรกรขายมันให้กับโรงโม่เจ้าของโรงโม่บางคนสกปรกไปซื้อทรายมาปน ก็เลยทำให้มันมีสิ่งเจือปนมาก ขณะเดียวกันพ่อค้าก็กล่าวหาเกษตรกรว่า เกษตรกรทำมันสกปรก ที่จริงแล้วเกษตรกรส่งมันไปถึงลานมัน ขี้ดินขี้ทรายต่างๆ มันหลุดไปหมดแล้ว

แต่พอมันไปถึงลานมันเขาทำให้ยางจากหัวมันออกมาแล้วก็ใส่ทรายลงไป ทรายก็จะติดกับยางที่หัวมันจะตากอย่างไร ทรายก็ไม่หลุด วิธีการนี้เขาทำเพื่อเพิ่มน้ำหนักของมันสำปะหลัง แล้วก็มาโทษเกษตรกรว่าทำมันสกปรก ในความเป็นจริงแล้วเกษตรกรไม่มีสิทธิ์ไปทำให้ยางมันออกมาติดทรายเลย เพราะเกษตรกรขายมันสดเป็นหัว

เจ๊หล่อ กล่าวอีกว่า ที่กบินทร์บุรีคล้ายกับตั้งรอบการรับซื้อมันสำปะหลังเอาไว้ พอได้เวลามันก็ไหลเข้ามา พอเต็มรอบเขาก็ปิดโรงงาน ปิดการรับซื้อ แล้วที่นี้เกษตรกรขุดมันขึ้นมาทีหลัง จะขายหัวมันสดให้กับใคร มีอยู่ช่วงหนึ่ง ราวต้นปี 55 ราคามันตกลงถึง 1.40 บาท เกษตรกรพื้นที่อื่นๆ มีลานรับซื้อมันโดยรัฐบาลสนับสนุน แต่กบินทร์บุรีไม่มีลานอยากจะรับซื้อเลย พอไปขอร้องให้พ่อค้าเขาช่วย เขาก็ช่วยแค่ 3 วัน ก็ต้องปิดรับซื้อ เพราะได้มันเต็มแล้ว เกษตรกรไม่รู้จะขายใคร ในที่สุดก็ต้องขายให้กับพ่อค้าที่รับซื้อในราคาต่ำ

เจ๊หล่อ กล่าวถึงการปลูกมันสำปะหลังว่า มันสำปะหลังเป็นพืชที่ปลูกไม่ยาก สามารถทำจำนวนมากๆ ได้ เพราะตลาดยังมีความต้องการอยู่มาก แต่ปัญหาของมันสำปะหลังมาติดอยู่ที่ราคาซื้อขายที่ไม่คงที่ การปลูกมันสำปะหลังจะให้ได้ผลผลิตที่ดี ต้นทุนต่อไร่ ประมาณ 5,000 บาท ก็มีค่าไถดิน ประมาณ 3 ครั้ง อยู่ที่ราคา 900 บาท ปุ๋ย 1 กระสอบ 1 ไร่ ใช้ 50 ก.ก. ราคาประมาณ 700-800 บาท ค่าแรงงานปลูกประมาณ 280-300 บาท ค่าท่อนพันธุ์เฉลี่ยแล้วไร่หนึ่ง ประมาณ 1,000 ต้น ราคาซื้อได้ตั้งแต่ 1 บาท ถึง 2 บาท แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ ต้นพันธุ์ 1,000 ต้น นำมาตัดแล้วจะได้ท่อนพันธุ์ปลูก ประมาณ 2,000 – 3,000 ท่อน แล้วแต่ความถี่ห่าง แต่ควรจะทำร่องใหญ่ เพราะแรงงานปัจจุบันหายาก ถ้าทำร่องถี่คนงานจะเกี่ยงไม่ค่อยอยากฉีดยาให้ ไม่อยากทำอะไรให้ เพราะเข้าไปลำบาก แรงงานเดี๋ยวนี้เขาเลือกเอาทำง่ายๆ เข้าว่า

ค่าฉีดยาตอนนี้ ไร่ละ 120 บาท ครั้งแรกที่เริ่มฉีดยาฆ่าหญ้าเมื่อมันอายุประมาณ 1 ½ – 2 เดือน ยาที่ฉีดต้องเป็นแบบน้ำดำอย่างเดียว คือเป็นยาเผาไหม้ไม่ควรฉีดแบบดูดซึม หลังจาก 5 ½ เดือนขึ้นไป ถึงจะฉีดแบบดูดซึมได้ หากฉีดก่อนหญ้าตายดี แต่ยาจะไปบีบหัวมันทำให้หัวมันไม่โต เรียวเล็กเหมือนลำเทียน จำนวนยาก็ไม่แน่นอนแล้วแต่ว่าเมื่อฉีดยาไปแล้วหญ้าจะตายดีหรือไม่ จะต้องหาคนที่เขาฉีดยาเป็นด้วย

ก่อนปลูกก็ต้องหว่านปุ๋ยก่อน แล้วจึงยกร่องปลูก เพราะดินจะช่วยกลบเม็ดปุ๋ยไว้ จะทำให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้ผลเกือบ 100% จะใส่ปุ๋ยตอนไหนๆ ก็สู้ใส่ตอนยกร่องไม่ได้ ตรงนี้เป็นข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับคนที่ไม่เคยปลูกมันมาก่อน หากพื้นที่ที่จะปลูกไม่มีแหล่งน้ำ ก็ต้องรอน้ำฝนอย่างเดียว เกษตรกรต้องเตรียมดินให้เสร็จภายในเดือนเมษายน ให้ไถดะ 1 ครั้ง ไถแปร 1 ครั้ง

เมื่อฝนตก ก็หว่านปุ๋ยแล้วยกร่องได้เลย จากนั้นก็เตรียมท่อนพันธุ์ปลูก ด้วยการตัดแล้วแช่น้ำยาป้องกันเพลี้ย คนปลูกมักจะไม่สนใจแช่ท่อนพันธุ์ ดังนั้น เราจะต้องหาคนงานมาแช่ท่อนพันธุ์ด้วย ส่วนใหญ่มักทำกันเอง ใช้แรงงานในบ้าน ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

การเสียบท่อนพันธุ์ปลูก ก็ควรดูตาของมันด้วยว่าถี่หรือห่าง ถ้าตาอยู่ห่างกันก็เสียบตาลงดินประมาณ 4 ตา ถ้าตาถี่ก็เสียบตาละต้น ประมาณ 6 ตา ของท่อนพันธุ์ ระยะห่างต่อต้น อยู่ที่ 50 – 60 ซม. ความห่างระหว่างร่องประมาณ 85 ซม. สำหรับการใส่ปุ๋ยหลังปลูกมันไปแล้วจะต้องดูว่าต้นมันงามมากน้อยแค่ไหน ถ้ามันมีอายุ 5 – 6 เดือน ต้นไม่งาม ก็ควรเพิ่มปุ๋ยให้บ้าง ไม่ต้องมากประเดี๋ยวต้นจะมีแต่ใบไม่มีหัว อย่างที่เขาเรียกว่า “บ้าใบ”

สำหรับปัญหาเพลี้ยไฟไรแดง เพลี้ยแป้งสีชมพูนั้นจะมีก็ช่วงปีใหม่ ตรุษจีนช่วงอากาศหนาวแล้วร้อนลงช่วงนี้แหละ ถ้ามันต้นสมบูรณ์แข็งแรง เพลี้ยมาก็ยังพอยันกันได้ พอฝนมาพวกนี้ก็ไปหมดแล้ว แต่หากระบาดมากก็ใช้ยากำจัดเสียบ้าง เทคนิคง่ายๆ คือ ทำให้ต้นมันสมบูรณ์แข็งแรงก่อนที่แล้งจะมาเยือน

เวลาเก็บหัวมัน ก็ต้องนัดกับผู้ที่มีอาชีพรับจ้างเก็บหัว ราคาที่เขารับจ้างขุดหัวและขนขึ้นรถสิบล้อ อยู่ที่ 25 ส.ต. ต่อ 1 กก. ค่ารถบรรทุกสิบล้ออยู่บริเวณบ้านไม่ไกลเขาคิดราคาค่าบรรทุก 20 ส.ต. ต่อ 1 กก. ค่าไถหัวมันคิดราคา 10 ส.ต. ต่อ 1 กก. ทั้งหมดรวมแล้วเป็น 55 ส.ต. ต่อ 1 กก. แล้วจะต้องขายหัวมันสดในพื้นที่อีกด้วย ถ้าออกนอกพื้นที่ ค่ารถ ค่าน้ำมัน เพิ่มขึ้นก็ต้องตกลงกันอีกราคาหนึ่ง หากลานรับซื้อมันอยู่ไกลจะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ที่นี้หากราคารับซื้อมันอยู่ที่ 1.70 บาท เหมือนที่ผ่านมา รวมค่าปลูก ค่าท่อนพันธุ์ ค่าปุ๋ย ทุกอย่างมาบวกกัน ค่าขุดมัน ค่าขนส่ง แค่นี้ก็ขาดทุนแล้ว ราคามันสำปะหลังขั้นต่ ำควรอยู่ที่ 2.50 บาท จะให้ดี ก็อยู่ที่ 3 บาท ถือว่าเยี่ยม

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ที่อยากจะปลูกมันดูบ้าง เจ๊หล่อ บอกว่า

“ก็ลองทำดู ปลูกใหม่ๆ ไม่ต้องปลูกมาก ประเดี๋ยวล้มแล้วจะเจ็บตัว ลองปลูก น้อยๆ หาประสบการณ์ทางตรงกันก่อน พอรู้ทางแล้ว ที่นี้อะไรๆ ก็ไม่ยากเลย” เจ๊หล่อ บอกอีกว่า เรื่องของมันสำปะหลังยังมีเทคนิคอีกมากนัก ว่างๆ โทร.มาคุยกันก็ได้ ที่ 085-086-7369 ไม่มีหวงความรู้

ณ เวลานี้ คงไม่มีพืชตัวไหนร้อนแรงเท่ากัญชาอีกแล้ว เส้นทางเดินของมันช่างยาวนานผ่านบทบาทอันโชกโชน…ในอดีต กัญชา เคยเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายมาก่อน จนกระทั่งองค์การสหประชาชาติได้รับเอาอนุสัญญาเดี่ยว ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกจึงเข้าลงนามผูกพันตามอนุสัญญาดังกล่าว

ประเทศไทยนำกัญชามาใช้ในเชิงสันทนาการมานานแล้ว ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังปรากฏหลักฐานในภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง “รามเกียรติ์” ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ที่กองทัพลิงสูบกัญชาอย่างสนุกสนาน และบทละครเรื่อง “ระเด่นลันได” ของพระมหาเทพ (ทรัพย์) ซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็มีการกล่าวถึงกัญชาอยู่บ่อยๆ

กัญชา มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้ การนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ มีมาแต่โบราณสมัยอยุธยาตอนปลาย ดั่ง “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” ขนานที่ 43 ชื่อ “ยาทิพกาศ” เป็นยาเจริญอาหาร ก็มีใบกัญชาเป็นส่วนผสมของยาในตำรับด้วย

นอกจากใส่ในอาหารอร่อยจนหยดสุดท้าย และใช้ในการรักษาโรคแล้ว เส้นใยของกัญชาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านสิ่งทออีกด้วย ซึ่งในเอกสารโบราณถูกบันทึกไว้ว่า ประเทศจีนมีการปลูกกัญชาเป็นพืชเส้นใยเมื่อหลายพันปีก่อน ส่วนประเทศทางยุโรปได้พัฒนาใช้เส้นใยมาทำกระดาษ ทำเป็นเชือกเพื่อการล่าสัตว์ ใช้ในเรือเดินทะเล เนื่องจากมีความเหนียว และทน

ในปัจจุบันก็ยังมีความสับสนอยู่ระหว่าง กัญชา กับ กัญชง โดยชาวบ้านนิยมเรียกพืชนี้ตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ โดย คําว่า กัญชา ใช้เรียกกับต้นพืชที่ใช้เป็นยาเสพติด ส่วน คําว่า “กัญชง หรือ Hemp” ใช้กับต้นพืชที่ใช้ผลิตเส้นใยสําหรับถักทอ

การใช้เส้นใยจากลำต้นของต้นกัญชาเพศผู้ หรือที่เรียกว่า “กัญชง” ต้องเป็นกัญชงที่ออกดอกใหม่ อายุระหว่าง 3-4 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่เส้นใยมีความเหนียว เบา และเป็นสีขาว เหมาะสำหรับการใช้เป็นเส้นใยทอผ้า

กัญชา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.ssp. Indica ส่วน กัญชง หรือ Hemp มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. ssp. Sativa ซึ่งเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน ต้นกำเนิดอยู่แถบเอเชียกลาง เรียกกันโดยทั่วไปว่า cannabis, Marijuana, Hemp มี 3 สายพันธุ์ คือ Cannabis sativa, Cannabis indica และ Cannabis ruderalis

ข้อแตกต่างของกัญชาและกัญชง ดูจากลักษณะต้นภายนอก ดังนี้

กัญชา ต้นมีลักษณะเตี้ย และเป็นพุ่ม ดอกมีลักษณะติดกันแน่น ใบจะเล็กกว่ากัญชงเล็กน้อย การเรียงตัวของใบจะชิดกันหรือเรียงเวียนใกล้ โดยเฉพาะใบประดับช่อดอกจะเป็นกลุ่มแน่น ชัดเจน และมักมียางเหนียวติดมือ

กัญชง ต้นมีลักษณะสูง โปร่ง ดอกไม่อัดกันแน่น ใบจะมีขนาดใหญ่กว่ากัญชา มีการเรียงสลับของใบค่อนข้างห่างชัดเจน และไม่มียางเหนียวติดมือ

ใบ แยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-11 แฉก คล้ายใบมันสำปะหลัง ที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะๆ ส่วนของใบที่เริ่มโดดเด่นในช่วงออกดอกที่จะก่อตัวขึ้นทับไปทับมาไม่ซ้ำกัน มีความซับซ้อนในตัว

Cola (โคล่า) หรือที่เรียกว่า ฐานของช่อ โคล่า หมายถึงส่วนที่มีดอกอยู่เต็มไปหมด เป็นที่ที่ดอกของตัวเมียวางตัวกันแน่นพร้อมที่จะแตกดอก

Calyx (คาลิกซ์) หรือ กลีบเลี้ยง ลักษณะตะปุ่มตะป่ำเหมือนใบที่ทับกันไปมา ใต้ใบเล็กๆ เรียกว่า sugar leaves จะเจอตัวตุ่มที่ดูเหมือนถูกฉีกออก อันนั้นแหละที่เรียกว่า กลีบเลี้ยง หรือ Calyxes จริงๆ กลีบเลี้ยงมีหลายรูปแบบ เป็นส่วนที่มีความเข้มข้นของ trichomes สูงที่สุดในต้น

กัญชา เป็นพืชที่มีต้นตัวผู้ และต้นตัวเมียแยกกัน (dioecious plant) กัญชาแต่ละต้นจะออกดอกเป็นเพศผู้ หรือเพศเมีย เพียงเพศเดียว แต่บางครั้งก็สามารถออกได้ทั้งสองเพศในต้นเดียวกัน เรียกว่าต้นกะเทย (hermaphrodite)

ดอก ดอกออกเป็นช่อ มีทั้งดอกตัวผู้ และตัวเมีย ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่ง และก้านดอกกัญชา มีสีเหลืองอ่อน

ดอกตัวเมีย จะมีขนสีออกขาว เป็นช่อ มีเรซิ่นทั่วทั้งด้านใน และด้านนอก

ดอกตัวผู้ จะมีลักษณะเป็นตุ่มกลมเล็กๆ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ไว้สำหรับการผสมพันธุ์กับดอกของตัวเมียเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์

ส่วนดอกที่นิยมใช้กันนั้นมาจากต้นตัวเมียที่ไม่มีเมล็ด ที่เรียกกันว่า Sinesemilla ซึ่งปลูกไว้ผลิตสาร cannabinoids ที่จะมีความเข้มข้นสูงที่สุดขณะที่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์

ยอดช่อดอกตัวเมีย หรือที่เรียกว่า “กระหรี่กัญชา” ใช้เสพโดยนำมาผึ่งให้แห้ง ขยี้เป็นผงหยาบแล้วสูบด้วย “บ้อง” ส่วนของกิ่ง ก้านใบ และยอดช่อดอก นิยมนำมาตากแห้งอัดแท่ง เสพโดยวิธีหั่นเป็นฝอยละเอียด มวนสูบแบบบุหรี่ หรือใช้ “บ้อง”

Trichomes (ไทรโคม) เป็นส่วนสำคัญที่สุดของต้นกัญชา มีรูปทรงคล้ายเห็ด มีเรซิ่นคริสตัลใสอยู่บนหัว ปกคลุมอยู่ทั่วช่อดอก ไทรโคมเป็นส่วนที่พืชพัฒนาขึ้นมา เพื่อปกป้องศัตรูทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตุ่มกลมใสที่อยู่บนยอดของไทรโคมที่เรียกว่า Terpenes จะเป็นส่วนที่บรรจุสาร THC, CBD สาร Cannabinoids อื่นๆ เอาไว้

cannabinoids ที่พบในกัญชา คือ delta-9-tetrahydrocannabinol (THC), cannabidiol (CBD) และ cannabinol (CBN) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท สารในกลุ่ม cannabinoids และ volatile compounds อื่นๆ จะถูกขับออกมาโดย grandular trichomes ในรูปสารเหนียว เรียกว่า “เรซิ่น (resin)” ซึ่งมีมากที่สุดในช่อดอกตัวเมีย และใบ

Glandular trichomes มีอยู่หนาแน่นที่ใต้ใบ เว็บเดิมพันกีฬา และในบริเวณช่อดอก เรซิ่นจากดอกของต้นตัวเมีย เรียกว่า “ยางกัญชา (Hashish)” จะมีปริมาณ THC 0.5–75% ส่วนเรซิ่นที่ติดกับช่อดอกกัญชา เรียกว่า “marihuana” จะมีสาร THC 5-20% ปริมาณสาร THC จะมีมากหรือน้อย ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูก สายพันธุ์ วิธีการปลูก และส่วนของต้นกัญชาที่นำมาใช้

ปัจจุบัน ได้มีการนำสาร THC ในกัญชา มาช่วยรักษาโรคเบื่ออาหารในผู้ป่วยโรคเอดส์ ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็ง รักษาโรคไขมันอุดตันของหลอดเลือดจากการสูบบุหรี่ โรคหัวใจ แม้แต่มะเร็งผิวหนังก็มีคนหายมาแล้ว เพราะทาน้ำมันกัญชา และสาร CBD ก็ช่วยลดอาการอักเสบได้เป็นอย่างดี

การปลดล็อคกัญชา ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงปีหลังๆ และได้มีความพยายามจากหลายๆ ฝ่ายในการเสนอให้รัฐบาลถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. 2522 จนกระทั่ง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 ที่ได้อนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชา และพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรค และประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ นับเป็นข่าวดีของคนไทยจำนวนมาก

ขณะเดียวกันสภากัญชาแห่งประเทศไทยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลปลดล็อกกฎหมายให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และขอรับการสนับสนุนให้เกษตรกรประชาชนในนามสหกรณ์วิสาหกิจชุมชน ร่วมปลูกกัญชาในทุกตำบล พร้อมศูนย์รักษาผู้ป่วยด้วยกัญชาทุกอำเภอของประเทศไทย

จากนี้ไปการศึกษาวิจัยการนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ และการให้ความรู้เรื่องกัญชาอย่างจริงจังเสียที และจังหวัดบุรีรัมย์ ก็ได้นำร่องจัดงานมหกรรมให้ความรู้กัญชาทางการแพทย์ ภายใต้ชื่องาน “พันธุ์บุรีรัมย์” มีการเสวนาให้ความรู้การใช้กัญชาตามหลักการแพทย์ และการสร้างความเข้าใจการใช้กัญชาบนพื้นฐานความถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2562

วันนี้ กัญชา มีคุณค่า และมีมูลค่าสูงในการนำไปใช้ทางการแพทย์ เพราะความวิเศษของตัวกัญชาเองแท้ๆ อย่างไรก็ตาม หากจะปลูกเพื่อเป็นยา หรือเพื่อศึกษาวิจัย ให้ไปขออนุญาตกับหน่วยงานรัฐให้ถูกต้องเสียก่อน จะได้ไม่ต้องนอนสะดุ้งจนเรือนไหวเหมือนมีทองเท่าหนวดกุ้ง…(ฮา…) เรื่องของกัญชายังอีกยาวไกล ผู้เขียนขอเก็บไว้เล่าในครั้งหน้า…วันนี้แดดร่มลมตก ขอไปนิรโทษกรรม เอ๊ยย…ขอไปเดินตรวจแปลง (ไม้ป่า) สักหน่อย…สวัสดี…สุริยันกัญชา…