ความฝันที่เคยวาดไว้ว่าโรงเรียนใหม่จะต้องมีอาคารใหม่สวย

เหม็นอบอวลไปด้วยกลิ่นสีที่เพิ่งทาเสร็จใหม่ๆ หอพักที่เพียบพร้อมด้วยเครื่องสุขภัณฑ์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน เตียงที่นอนสะอาดนุ่มนิ่มน่านอน แต่เมื่ออาจารย์สำทับอีกครั้งว่าโรงเรียนของพวกเรายังสร้างไม่เสร็จต้องอาศัยหอพักเก่าของโรงเรียนการช่างราชบุรีหรือวิทยาลัยเทคนิคราชบุรีเป็นที่เรียนไปก่อน จบคำพูดของอาจารย์สิ่งที่วาดฝันไว้ของพวกเราก็สูญมลายหายไปพลัน เข่าจะอ่อน แทบไม่เชื่อกับสายตาเลยว่า พวกเราจะต้องมาเรียนและอยู่กินกับหอพักสุดโทรมและโรงอาหารที่พังแหล่มิพังแหล่ ผู้ปกครองบางคนแสดงท่าทีถอดใจไม่อยากให้ลูกมาเรียนสถานที่แห่งนี้ แต่ทุกอย่างมันสายเกินไปเสียแล้วที่จะหันหลังกลับเมื่อได้ย่างก้าวเข้ามาเหยียบบนพื้นดินหน้าหอพักเก่าที่คล้ายกับมีมนต์สะกดเรียกให้พวกเราเข้าไป เบิกของแล้วมี จอบ มีด บัวรดน้ำ เราจึงเดินขึ้นชั้นบนของหอพักอย่างไม่ค่อยสบอารมณ์นัก

หอพักพร้อมโอบรับพวกเราทั้ง 71 ชีวิต เตียงมีเพียงที่นอนฟูกกับหมอน ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนและผ้าห่มเราต้องจัดหากันเอง ที่นอนไม่ได้นุ่มนิ่มดังที่คิด เตียงเป็นเพียงเตียงไม้เก่าด้านหนึ่งพาดกับขอบของตู้เก็บเสื้อผ้า เตียงนอนถูกจัดเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเป็นแถวยาวฝั่งละ 13 คน ห้องหนึ่งจึงจุได้ 25-27 คน ชั้นบนมี 2 ห้อง กับชั้นล่างอีก 1 ห้อง ชั้นล่างเป็นพวกที่ได้เลขประจำตัวตั้งแต่เลขที่ 50

อาจารย์ 3 ท่านนอนที่ห้องมุขชั้นบน มี อาจารย์สานนท์ ภู่ขวัญเมือง อาจารย์สาคร ช่วยสุข และ อาจารย์สมบัติ พัฒนา พวกเราเข้าประจำเตียงตามหมายเลขประจำตัวด้านตะวันตกเป็นของหมายเลขแรกๆ ปลายเตียงเป็นตู้ไม้ไว้ให้เก็บสัมภาระ ใต้เตียงใช้เป็นที่เก็บของ จอบ มีด และบัวรดน้ำ เมื่อรู้จักเตียงของตนเองแล้วจึงจัดเตียงของตนเองนำเสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวเก็บเข้าตู้ เสียงขยับเตียง เสียงตอกลิ่มเข้าด้ามจอบดังสลับกันโปกเปกอยู่ชั้นล่าง หลายคนไม่เคยเข้าด้ามจอบมาก่อนจึงให้คนงานช่วยหรือให้เพื่อนที่เป็นช่วย เพื่อนคนใต้ดูจะเก่งเรื่องเข้าด้ามจอบกันทุกคน

ห้องน้ำห้องส้วมดีหน่อยยังใหม่อยู่เพราะเป็นการก่อสร้างจากโครงการเงินกู้ของญี่ปุ่นอยู่หลังหอพักอาจารย์โรงเรียนการช่าง ที่อนุญาตให้ห้องน้ำห้องส้วมส่วนนี้ ห้องน้ำเป็นฝักบัว ห้องส้วมมีหลายห้องไม่ต้องแย่งกัน น้ำประปาใสสะอาดไหลแรงมาก ส้วมแบบนั่งยองแต่ใช้กดน้ำล้าง น้ำแรงมาก มีพื้นที่สำหรับซักเสื้อผ้าอย่างเพียงพอ ประมาณ 5 โมงครึ่งระฆังเรียกให้ลงรับประทานอาหารเย็นก็ดังขึ้น แม่ครัวจัดอาหารตักใส่จานให้นั่งโต๊ะละ 6 คน นั่งตามเลขที่ การรับประทานอาหารเย็นมื้อแรกผ่านไปโดยไม่มีใครก็ตำหนิหรือวิจารณ์ว่าอาหารอร่อยหรือไม่ ตอนนั้นยังไม่มีถาดหลุม

เวลาประมาณ 3 ทุ่มพวกเราลงมาเข้าแถวบนลานคอนกรีตกว้างไม่มาก พื้นแตกร้าวหน้าหอพักพร้อมกันเพื่อเช็คชื่อ แล้วจึงสวดมนต์และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนแยกย้ายขึ้นไปนอน เมื่อแรกเข้ามานั้นพวกเราเป็นรุ่นแรกที่บางคนไม่รู้จักเลยว่า เกษตรคืออะไร ต้องมาเรียนอะไรบ้าง เกษตรมีความเป็นมาอย่างไร จบไปทำงานอะไร บางคนที่ได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวเกษตรจากรุ่นพี่ต่างสถาบันก็เข้าใจดีว่า เกษตรเรียนอะไรกันบ้างจึงเตรียมตัวเตรียมใจกันมาดี โดยเฉพาะเพื่อนจากปักษ์ใต้มีความพร้อมเตรียมตัวมาดี ร่างกายบึกบึนทางอดทนสู้งาน มีทั้งชุดยีนส์, มีด, จอบ, บัวรดน้ำ เตรียมกันมาพร้อม แต่ส่วนใหญ่ต้องมาซื้อที่โรงเรียน ส่วนบางคนที่อยู่ในเมืองเป็นลูกของข้าราชการ ลูกพ่อค้า จึงไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเกษตรเลย

เช้ามืดตี 5 ครึ่งเสียงระฆังปลุกก็ดังขึ้น มันเป็นเสียงระฆังปลุกที่ตีด้วยลีลาอันยียวนของคนงานปลุกให้เราลุกขึ้นด้วยความน่ารำคาญใจ คนงานเริ่มตีระฆังปลุกตอนตี 5 ครึ่ง เสียงระฆังดังกังวานในครั้งแรกปลุกให้เราตื่นจากภวังค์สะดุ้งขึ้น เนื่องจากเรายังไม่คุ้นกับเสียงระฆังที่ใช้เฟืองท้ายรถยนต์นี้ เสียงแรกขาดหายไปนานจนความเงียบเข้ามาครอบหงำถึงตีอีกครั้ง สิ้นเสียงระฆังปลุกเราทุกคนรู้เวลาดีจะต้องทำธุระส่วนตัวให้เสร็จก่อนเข้าแถวลงงานตอน 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้า การลงงานเช้าเพื่อปลูกฝังนิสัยแห่งการเตรียมความพร้อมที่จะเป็นเกษตรกรที่ดีในอนาคต พวกจับจอบถากหญ้าขุดดินรอบบริเวณหอพักและโรงอาหาร หลายคนที่ไม่เคยจับจอบมาก่อนเลยในชีวิต เพียงชั่วโมงแรกก็ทำให้มือแตกมีตุ่มน้ำใสๆ ทนแสบอยู่หลายวัน ไม่นานมันก็เริ่มด้านเป็นก้อนแข็งพร้อมที่จะรับกับงานขุดได้ทุกสถานการณ์

ประมาณ 07.30 น. ทุกคนมาพร้อมที่โรงอาหารเพื่อรับประทานอาหารเช้าเป็นข้าวต้มมีถั่วลิสงคั่วหนึ่งอยู่รายการอาหาร ทุกคนต้องมีช้อนส้อมติดประจำตัวเองทุกคน ถ้าลืมช้อนส้อมจะไม่ได้รับประทาน ข้าวที่หุงด้วยกระทะใบบัวจากฝีมือของพ่อครัววัยชรา ผู้เคร่งครัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนองแม้จะเหนื่อยสักปานใดมิเคยบ่น ไม่มีวันหยุดสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าลุงแกต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ซึ่งนั่นหมายถึงอาหารในวันนั้นมีปัญหา ต้องหาคนมาหุงข้าวแทนแก

ลุงคงมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ของแกแม้ค่าตอบแทนค่าเหนื่อยจะได้เพียงน้อยนิดก็ตาม ก่อนตี 5 ลุงแกต้องตื่นลุกขึ้นมาก่อไฟเพื่อหุงข้าวให้สุกก่อนที่เวลาอาหารเช้าจะเริ่มขึ้นในเวลา 07.30 น. แกต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวและความระมัดระวังอย่างสูงในการหุงข้าว เพื่อไม่ให้ข้าวนั้นแฉะหรือดิบและต้องเพียงพอกับพวกเราทั้ง 71 คน กับอาจารย์อีก 3 คน เรารู้ดีว่าการหุงข้าวของลุงผู้นี้ไม่เคยทำให้ใครต้องผิดหวังหรือต้องตำหนิได้เลยสักครั้ง

ประมาณ 08.30 น. พวกเราก็เข้าเรียนในห้องเรียนที่เป็นส่วนหนึ่งของโรงอาหาร เครื่องแบบนักเรียนเราแต่งกายด้วยชุดกางเกงขาสั้นสีดำ เสื้อสีขาว รองเท้าดำ ถุงเท้าขาว กลัดเข็มของโรงเรียนที่หน้าอกซ้าย โต๊ะเรียนเป็นเล็กเชอร์เก่าๆ บางตัวไม่อยู่ในสภาพจะใช้ได้ อาจารย์ทั้ง 4 คนผลัดเปลี่ยนกันมาสอนประกอบด้วย อาจารย์สัณหจิตต์ ฐาปนะดิลก เป็นอาจารย์ใหญ่, อาจารย์สานนท์ ภู่ขวัญเมือง, อาจารย์สาคร ช่วยสุข และ อาจารย์สมบัติ พัฒนา ในชั่วโมงปฏิบัติอาจารย์สั่งให้เราได้ยกแปลงปลูกผักบุ้งจีนกันคนละแปลง มันเจริญเติบโตขึ้นงอกงามอย่างรวดเร็ว ทำให้เราอดภูมิใจในความสำเร็จในการเพาะปลูกเป็นครั้งแรกไม่ได้ จนมันครบวันเก็บเกี่ยวผักบุ้งก็ถูกนำไปทำเป็นอาหารให้พวกเรา

หลังจากรับประทานอาหารเช้าแล้วพักผ่อนได้สักพักใหญ่จึงเริ่มเข้าเรียนที่โรงอาหารหลังเดิมนั่นแหละแต่เป็นห้องที่แยกออกมาห้องใช้รับประทาน ระหว่างนั่งเรียนช่วงนั้นเป็นฤดูการทำนา มีชาวนามาทำการไถคราดอยู่ใกล้กับห้องเรียนเราจึงได้เห็นภาพชาวนาทำนาเป็นการเรียนรู้การทำนาโดยไม่ต้องมีการบรรยาย เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับเพื่อนที่ไม่เคยเห็นการทำนามาก่อน แต่กับเพื่อนที่เป็นลูกชาวนาผ่านการทำนามาแล้วจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดา

ขณะที่เรียนเรามักได้ยินเสียงชาวนาออกคำสั่งให้วัวทั้งคู่ทำตามขณะไถ เราจำได้ว่ามีวัวอยู่ตัวหนึ่งชื่อมันยังติดปากทุกวันนี้ มันชื่อไอ้เขียว เสียงของชาวนาตะโกนสั่งว่า “ไอ้เขียวถาด…ไอ้เขียวทูน…ยอๆ” เราจึงรู้ศัพท์ที่ใช้ในการทำนาตั้งแต่นั้นมา วันดีคืนดีงูเห่าเลื้อยเข้ามาเรียนกับเราด้วย นั่งเรียนจนเกือบเที่ยงใกล้ได้เวลาพักกลางวันมักได้ยินเสียงช้อนส้อมตกกระทบพื้นบ่อยๆ เพื่อเตือนให้อาจารย์ที่กำลังสอนทราบว่าหมดชั่วโมงได้เวลาแล้วพักกลางวัน

ผู้เขียนมีโอกาสไปเที่ยวชมสวนส้มกาที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ที่อำเภอทองผาภูมิ สวนส้มแห่งนี้ชื่อสวนลุงแกละ เจ้าของคือ “ลุงสมนึก ชูปัญญา” โทร. 089 -5094619 ความจริงลุงสมนึกเป็นอดีตเจ้าของสวนส้มบางมด ที่ยึดอาชีพปลูกส้มมาตั้งรุ่นคุณพ่อ ยาวนานกว่า 40 ปี แต่เจอวิกฤตน้ำเน่าเสียและโรคระบาดทำให้ต้นส้มตาย ลุงสมนึกจึงตัดสินใจมาซื้อที่ดินผืนใหม่ที่อำเภอทองผาภูมิเพื่อทำสวนปลูกผลไม้ตามคำแนะนำของเกษตรอำเภอ เพราะที่นี่ดินดี น้ำดี อากาศดี กว่าแหล่งอื่น

สวนลุงแกละ มีเนื้อที่ประมาณ ในเนื้อที่ 42 ไร่ ตั้งอยู่ในบริเวณตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ผลไม้ที่เป็นพระเอกของสวนแห่งนี้ ที่ลุงภาคภูมิใจมากก็คือ ส้มกา คนรุ่นใหม่อาจไม่คุ้นหูกับพันธุ์ส้มชนิดนี้ ความจริงส้มกาก็คือ ส้มเช้ง เป็นส้มเปลือกหนาอีกสายพันธุ์หนึ่ง ชาวสวนบางรายมักเรียก “ส้มตรา” หรือ “ส้มกา”

ความจริงส้มกา มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเมืองจีน เป็นผลไม้กึ่งเมืองร้อนตระกูลเดียวกันกับส้มทั่วๆ ไป คนจีนในสมัยก่อนได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาหากินอยู่ในเมืองไทยก็ได้นำสายพันธุ์ส้มชนิดนี้เข้ามาปลูกด้วย โดยแหล่งใหญ่ที่ปลูกก็คือ ย่านบางมดนั่นเอง

ส้มกา มีผลผลิตปีละหนึ่งครั้ง ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายในช่วงเทศกาลตรุษจีน ชาวจีนนิยมใช้ในพิธีไหว้บรรพบุรุษ คำว่า ส้มในภาษาจีนออกเสียงว่า ไต่กิ๊ก แปลได้2 ความหมาย คือคำว่า ทอง และคำว่า ความสงบ

นอกจากนี้ ส้มกายังมีสรรพคุณเด่น คือ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยในการขับถ่าย มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน รักษาเหงือก คุณค่าทางอาหารให้แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินซี ที่ผ่านมา เกษตรกรนิยมปลูกส้มกากันมากในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี และสมุทรสาคร

รศ.ดร.ระวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรกำแพงแสน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านส้มและมะนาว เล่าว่า ส้มกาหรือส้มตรา มี 2 พันธุ์ คือ “เม้งลิ้วเช้ง” ที่มีลักษณะพิเศษ คือ มีตราวงกลมที่ปลายผล ผิวผลเป็นสาแหรก หรือเป็นริ้ว มีแหล่งปลูกที่จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และ “ส้มเช้ง” มีลักษณะพิเศษ คือ ผิวผลเรียบ ไม่มีสาแหรก และมีตราวงกลมที่ปลายผล

ย้อนกลับมาชมสวนส้มกาของสวนแห่งนี้กันต่อ ลุงสมนึกเล่าว่า ตอนแรกลุงตัดสินใจปลูกลิ้นจี่ แต่ ผลผลิตเสียหายเยอะ จึงตัดสินใจโค่นต้นลิ้นจี่ทิ้ง และหันมาปลูก “ส้มกา” แทนต้นส้มกาปลูกและขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งตอน

ลุงปลูกส้มกาโดยคัดเลือกพื้นที่ที่ระบายน้ำได้ดี เจาะหลุมลึกพอประมาณ และนำกิ่งตอนลงปลูก ในระยะห่าง 4 -5 เมตร ให้น้ำในระบบสปริงเกลอร์ ให้หมุนกระจายรอบโคนต้น ทุกๆ 5 วัน เปิดให้น้ำนานประมาณ 30 นาทีต่อครั้ง

เมื่อต้นส้มกาอายุ 3 ปีจะเริ่มให้ผลผลิต โดยส้มกา แต่ละต้นจะให้ผลผลิตประมาณ 400 -500 ก.ก.ต่อปี ลุงจะขายส่งให้แม่ค้าที่กรุงเทพฯ ในราคาก.ก.ละ 80 บาท ส่วนราคาขายปลีกในท้องตลาดทั่วไปประมาณ 110 บาทต่อก.ก. ลุงสมนึกยืนยันว่า ส้มกาขายได้ราคาดีกว่าส้มทั่วไป และเป็นที่ต้องการของ แม่ค้าในตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตลาดศรีเมือง ตลาดสี่มุมเมือง และตลาดไท

ที่ผ่านมา มีเกษตรกรจำนวนมากสนใจอยากปลูกส้มกา แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่มีแหล่งน้ำสมบูรณ์เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นส้มกา ลุงบอกว่า เคล็ดลับสำคัญที่สวนส้มกาแห่งนี้ มีผลผลิตที่ดีตรงกับความต้องการของตลาดก็คือ ดูแลให้น้ำอย่างเต็มที่ ที่นี่ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องขับดันน้ำอย่างแรง ใช้ท่อส่งน้ำขนาด 8.5 นิ้ว สามารถให้น้ำบำรุงต้นส้มกาประมาณ 30 -40 วันต่อปี ลุงสมนึกบอกว่า ที่ผ่านมา ผมแจกจ่ายกิ่งพันธุ์ส้มกาให้แก่ผู้สนใจนำไปทดลองปลูกแต่ไม่มีใครปลูกได้สำเร็จ มีเกษตรกรรายหนึ่งนำไปปลูกที่ราชบุรี แต่ปลูกไม่สำเร็จเพราะเป็นพื้นที่อับและขาดแคลนน้ำ

ที่อำเภอทองผาภูมิ มักเกิดลมพายุอยู่บ่อยครั้ง ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ระยะที่ฝนตกใหม่ๆ มักเกิดลมพายุพัดค่อนข้างรุนแรง ทำให้ กิ่งไม้หักหรือต้นไม้โค่นล้ม ลุงสมนึกปลูกต้นปาล์มน้ำมันประมาณ 200 ต้น ทแยงฟันปลาสลับกับต้นส้มกา จำนวน 600 ต้น ในระยะห่างประมาณ 6 วา เพื่อเป็นแนวกำแพงกั้นลมให้กับต้นส้มกา

ลุงสมนึกเริ่มต้นดูแลสวนในระบบเกษตรอินทรีย์หลายปีก่อน ปรากฎว่า ไม้ผลนานาชนิดภายในสวนก็มีอัตราเจริญเติบโตที่ดีวันดีขึ้น มีนกและแมลงภายในสวนเพิ่มมากขึ้น เพราะสวนแห่งนี้ ปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลตามธรรมชาตินั่นเอง อาการป่วยต่างๆ ที่เคยรุมเร้าก็หายไปหมด ลุงมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมากขึ้น จึงแบ่งปันความรู้ให้เพื่อนเกษตรกรที่รู้จักหันมาดูแลสวนผลไม้ในเชิงเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

สภาพสิ่งแวดล้อมภายในสวนแห่งนี้ ปรับตัว ดีวันดีคืนเลยทีเดียว ลุงบอกว่า หลังจากหยุดใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีแค่ 2 ปี ปรากฎว่า ผลผลิตภายในสวนมีคุณภาพดีขึ้น สังเกตได้จากรสชาติความอร่อยเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่ควบคุมปริมาณผลผลิตไม่ได้

ในแต่ละวัน ลุงจะตื่นตอนแต่เช้าตรู่ เพื่อทำงานตัดหญ้าเองทั้งหมด โดยไม่พึ่งพาแรงงานจากภายนอก พืชแต่ละชนิด เมื่อถึงช่วงฤดูจึงค่อยเข้าไปดูแลตัดแต่งกิ่งหรือให้ปุ๋ย ดังนั้น พื้นที่สวน 40 ไร่ ใช้แรงงานลุงและลูกน้องอีก 2 คนทำงานได้อย่างสบาย ๆ

ช่วงเก็บเกี่ยวก็จะว่าจ้างแรงงานรายวันหลายคนหน่อย อาศัยหลักการบริหารจัดการที่มีต้นทุนต่ำไม่ถึงแสนบาท แต่สามารถเก็บผลผลิตออกขายกว่า 5 แสนบาทต่อปี ทุกวันนี้ลุงมีความสุขกับการทำงานในสวนแห่งนี้ เพราะการดูแลสวนแบบเกษตรอินทรีย์ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำ ไม้ผลมีลำต้นสูงใหญ่ ต้องเสียต้นทุนค่านั่งร้านในการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่บ้าง แต่ลุงถือว่าคุ้มค่ากับผลตอบที่ได้รับแล้ว เพราะสุขภาพคนปลูกและผู้บริโภคก็ปลอดภัยเท่าๆ กัน

เป็นสมุนไพรที่พบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ คนสมัยก่อนรู้คุณค่าดี แต่คนรุ่นหลังไม่ใส่ใจสักเท่าไหร่

ย้อนไปในยุคก่อนเก่าโบราณ บ้านเมืองยังไม่มีความเจริญทางด้านรักษาพยาบาลอย่างปัจจุบัน มีแม่ยายกับลูกเขย ในชุมชนห่างไกลแห่งหนึ่ง ต้องเข้าป่าลึกไปหาของป่า เมื่อหาของป่าได้แล้ว ก่อนกลับ ลูกเขยคนขยัน ถูกงูมีพิษร้ายกัด จนถึงแก่ความตาย

แม่ยายซึ่งเห็นเหตุการณ์เสียใจมาก นางพยายามช่วยเหลือลูกเขยแล้ว แต่ก็ช่วยไม่ได้ นางพยายามแบกศพลูกเขยกลับบ้าน แต่ก็ทำได้ด้วยความยากลำบาก เพราะลูกเขยตัวโตมาก

นางจึงลากศพลูกเขยไปซุกไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ พร้อมกับไปหักกิ่งไม้มาปกคลุมไว้ เพราะเกรงว่า สัตว์ป่าจะมาแทะกิน จากนั้นนางกึ่งวิ่งกึ่งเดินกลับไปตามญาติพี่น้อง เพื่อนำศพลูกเขยกลับมาทำพิธีที่บ้าน นางเดินร้องไห้ พร้อมกับบ่นเสียดายลูกเขย เพราะขยันและเป็นคนดี

เมื่อมาถึงบ้าน ปรากฏว่า ลูกเขยมานั่งรอแม่ยายอยู่แล้ว ซึ่งแม่ยายตกใจมาก นึกว่าผีหลอกตอนกลางวัน

ลูกเขยเล่าว่า ตนเองฟื้นขึ้นมา ร่างกายเต็มไปด้วยใบไม้ชนิดหนึ่ง เข้าใจว่า ใบไม้มีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรพลิกฟื้นชีวิต แต่ก็ยังไม่มีการปักใจเชื่อ จนกระทั่งมีคนในหมู่บ้าน เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับลูกเขยของแม่ยาย เมื่อทดลองนำมาใช้ดู ปรากฏว่าได้ผลดีมาก คนในหมู่บ้านจึงเรียนพืชชนิดที่รักษาพิษร้ายของงูว่า “เขยตายแม่ยายปก”

นอกจากชื่อเขยตายแม่ยายปกแล้ว สมุนไพรชนิดนี้ ยังเรียกได้หลายชื่อ ดังนี้ กรุงเทพฯ เรียก ประยงค์ใหญ่ แถบภาคกลาง เรียก กระรอกน้ำข้าว เขยตาย ลูกเขยตาย แถวชลบุรี เรียก กระรอกน้ำ กระรอกน้ำข้าว ภาคเหนือ เรียก เขนทะ ภาคใต้ เรียก ต้นน้ำข้าว มาลายู-ยะลา เรียก ตาระแป สุโขทัย เรียก พุทธรักษา ประจวบคีรีขันธ์ เรียก มันหมู ภาคอีสาน เรียก ส้มชื่น บางคนเรียก พิษนาคราช

ลำต้น เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 3-6 เมตร ขนาดลำต้นโตประมาณเท่ากับต้นหมาก ส่วนผิวของลำต้นจะเป็นสีเทา ตกกระเป็นดวงสีขาว มีขนสั้นนุ่มที่กิ่งก้าน

ต้นและใบคล้ายต้นชา ปลายใบจะเรียวเล็ก ขอบใบเรียบส่วนกลางใบกว้าง ปลายใบแหลม ยาว 9-18.5 เซนติเมตร กว้าง 3-7 เซนติเมตร ผล…สีแดงอมชมพู ผลกลม ขนาดใกล้เคียงผลมะแว้ง ขนาดกวาง 1-1.2 เซนติเมตร ยาว 1-1.8 เซนติเมตร ผิวเรียบ สีเขียวทึบ เมื่อสุกเป็นสีชมพูใส ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ในผลหนึ่งมีเมล็ดอยู่เพียง 1 เมล็ด เมล็ดมีสีดำ กลม เป็นลาย

รสชาติจะออกเปรี้ยวๆ หวานๆ รับประทานจิ้มกับน้ำตาลอร่อย นำมาทำแยมรสชาติดี

ดอกมีสีขาวและมีกลิ่นหอม ก้านดอกสั้น ดอกย่อยเป็นกระจุก กระจุกละ 12-15 ดอก ออกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบขนาด 4-5 X 2-2.5 มิลลิเมตร ผิวมีต่อมเป็นจุด กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร รูปแหลมกึ่งรูปไข่ มีขนอ่อนที่ส่วนปลาย มีใบประดับหุ้ม ชั้นบนมี 5 กลีบใหญ่ และมีส่วนย่อยเล็กๆ อีกหลายอัน

ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ติดผลราวเดือนมีนาคม

เกสรตัวเมียเรียงเป็นวง ตรงกลางแกนดอกมีเกสรตัวผู้เป็นแท่ง รังไข่ขนาดกว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร รูปไข่ เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 2-3 มิลลิเมตร ปลูกเป็นไม้ประดับก็ได้

ขยายพันธุ์โดยการชำกิ่ง ตอนกิ่งและเพาะเมล็ด

ตำรายาไทย ราก รสเมาขื่นปร่า กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม ฝนน้ำกินและทาแก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย ทาแผลที่อักเสบ แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพุพอง แก้ไข้รากสาด เกลื่อนฝีให้ยุบ แก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด

เปลือกต้น รสเมาร้อน แก้ฝีภายนอกและภายใน กระทุ้งพิษ แก้พิษงู ขับน้ำนม แก้พิษต่างๆ แก้พิษไข้

เนื้อไม้ กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม ดอกและผล รสเมาร้อน ทารักษาหิด ไม่ระบุส่วนที่ใช้ กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม

ประเทศบังคลาเทศใช้ น้ำคั้นจากใบผสมน้ำตาล กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ แก้โรคตับ ใบบดผสมกับขิง รักษาผิวหนังอักเสบ ตุ่มพุพอง หรือคันแสบ ราก ใช้ลดไข้

แพทย์แผนไทยใช้สมุนไพรเขยตายแม่ยายปกสำหรับถอนพิษ เมื่อถูกแมลงมีพิษกัดต่อย เป็นเริม-งูสวัด-ไฟลามทุ่ง -ขยุ้มตีนหมา เพียงแค่ใช้ใบขยี้ หรือนำใบบดผสมกับแอลกอฮอลล์ เหล้าขาว หรือน้ำมะนาว นำไปทาแล้วพอกไว้ ประเดี๋ยวเดียวก็สามารถถอนพิษได้

คุณบุญส่ง พูลพัฒน์ นักวิชาการเกษตรอิสระ เจ้าของส่งตะวันรีสอร์ท อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี บอกว่า แถบที่ตนเองอาศัยอยู่ เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ทุรกันดาร คนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ได้สมุนไพรชนิดนี้ รักษาพยบาลคนในชุมชน ซึ่งได้ผลดีมาก จึงมีการอนุรักษ์พันธุกรรม มาจนบัดนี้

ส่วนการปลูกประดับ SBOBET สามารถทำได้ดีเพราะทรงพุ่มสวยงาม คล้ายๆหูกระจง ดังนั้นเจ้าของรีสอร์ทพื้นที่กว้างๆควรพิจารณาใช้เขยตายแม่ยายปก เป็นไม้ประดับสถานที่ มะขามป้อม ชื่อพื้นเมือง มะขามป้อม ทางเขมร-จันทบุรี เรียกว่า กันโตด จังหวัดราชบุรี เรียกว่า กำทวด ส่วนทางกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียกว่า มั่งลู่ สันยาส่า

ผลมะขามป้อม มีวิตามินซีสูงมากที่สุดในบรรดาพืชทุกชนิดที่มีในโลก ในผลมีสารป้องกันการเกิดออกซิไดซ์วิตามินซี ทำให้วิตามินซีคงตัวอยู่ได้นาน ผลแห้ง เก็บไว้ในที่เย็น เช่น ในตู้เย็น นาน 365 วัน จะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 20 ผลสด ถ้าเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง (29-37 องศาเซลเซียส) นาน 365 วัน จะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 67

เนื้อผลตากแดดให้แห้ง จะเสียวิตามินซีไปประมาณ ร้อยละ 60 ถ้าทำให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง จะเสียวิตามินซีไปไม่มากนัก เนื้อผลแห้งเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องจะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 25 ในเวลา 2 สัปดาห์ เสียวิตามินซีไป ร้อยละ 50 ในเวลา 4 สัปดาห์ และเสียไป ร้อยละ 60 ในเวลา 48 สัปดาห์

น้ำคั้นจากผล ใส่ขวดเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 2 สัปดาห์ จะเสียวิตามินซีไปมากกว่า ร้อยละ 50 แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นนาน 9 สัปดาห์ จะเสียวิตามินซีไปน้อยกว่า ร้อยละ 50 ในน้ำคั้นจากผลที่ใส่ขวดเก็บไว้ จะมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นและมีความเป็นกรดคงที่ ที่ pH2

ลุงจุน คงนที เกษตรกรที่ปลูกมะขามป้อมยักษ์ เริ่มต้นเก็บมะขามป้อมจากป่ามาขายเป็นอาชีพเสริม เมื่อ 40 ปีก่อน ได้ราคาขายปี๊บละ 1.50 บาท ต่อมาราคาขยับขึ้นเป็นปี๊บละ 4 บาท จึงคิดหามาปลูก และเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

จากการขยายพันธุ์มะขามป้อมยักษ์ด้วยการทาบกิ่ง ทำให้ไม่กลายพันธุ์ เมื่อราคามะขามป้อมยักษ์ดีขึ้นเรื่อยๆ จึงเปลี่ยนรูปแบบการขาย จากใช้ปี๊บตวง เป็นการชั่งขายเป็นกิโลกรัม

ผลของมะขามป้อมยักษ์ของลุงจุน มีขนาดที่หลากหลาย คือ ผลกลม ผลแหลม ผลลาย ผลสีเหมือนน้ำนม และผลสีกาแฟ ส่วนใหญ่แล้วขนาดของผลมีขนาดใหญ่

ผลมะขามป้อม จะมีองแบ่งระหว่างผลหรือเรียกว่ากลีบก็ได้ บางลักษณะมีช่องแบ่งผล 6 ช่อง บางลักษณะมี 8 ช่อง ส่วนใหญ่แล้วพบ 6 ช่อง หรือ 6 กลีบ มากกว่า

หากคัดผลใหญ่ๆ จะได้มะขามป้อม 28 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม แต่โดยทั่วไป ขนาด 35-40 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับมะขามป้อมทั่วไปแล้ว มะขามป้อมของคุณลุงจุน 1 ผล เท่ากับมะขามป้อมทั่วไป 3-4 ผล

ราก น้ำต้มรากของต้นมะขามป้อม กินเป็นยาลดไข้ เป็นยาเย็น ฟอกเลือด และทำให้อาเจียน ถ้ากลั่นรากจะได้สารที่มีคุณสมบัติเป็นยาฝาดสมานที่ดีกว่าสีเสียด