ความมหัศจรรย์ข้อ 2. ส้ม เป็นผลไม้ที่มีโอกาสทางการตลาด

เพราะคนไทย นิยมใช้ผลส้ม บูชาพระ เช่นเดียวกับ คนจีนที่ใช้ผลส้มไหว้เจ้าเพื่อเสริมสิริมงคล ดังนั้น ตลาดส้ม ไม่มีวันตัน เกษตรกรมีโอกาสขายส้มในช่วงเทศกาลวันพระทุก ๆ 15 วัน ไม่รวมกับเทศกาลไหว้เจ้าของคนจีนที่มีตลอดปี

3. ส้ม เป็น ไม้ผลที่ให้ผลผลิตทุกๆ 4 เดือน ประมาณปีละ 2-3 ครั้ง ทุกวันนี้ ส้ม เรียกได้ว่าเป็นผลไม้ที่ไม่มีฤดูกาลตายตัว เพราะมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้เกือบทั้งปี เกษตรกรสามารถเลือกเก็บส้มออกขายได้ตามต้องการ และสามารถวางแผนจัดการตลาดได้อย่างสม่ำเสมอ

“การปลูกส้ม ก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว เพราะส้มเป็นพืชตระกูลเดียวกับมะนาว มีปัญหาเรื่องโรคแมลง เช่น เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ โรคแคงเกอร์ โรครากเน่าและโคนเน่า โรคผลร่วง ฯลฯ กล่าวโดยสรุป การทำสวนส้มมีเทคนิคดูแลจัดการเหมือนกับต้นมะนาวทั้งหมด หากต้องการประสบความสำเร็จในการทำสวนส้มเชิงการค้า เคล็ดลับสำคัญอยู่ที่ การดูแลระบบรากต้นส้มให้มากกว่าต้นมะนาวสักหน่อย เพราะรากต้นส้ม อ่อนแอกว่าต้นมะนาว ” คุณแป๊ะกล่าว

“ผีเสื้อม้วนหวาน” ศัตรูสำคัญในสวนผลไม้

คุณแป๊ะ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2558 ที่ผ่านมา แหล่งปลูกผลไม้ในหลายจังหวัด เช่น สวนส้ม จ.ปราจีนบุรี สวนมะละกอฮอลแลนด์ในอำเภอวังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา สวนลองกอง จ.อุตรดิตถ์ ฯลฯ ต่างประสบปัญหาการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืช คือ “ผีเสื้อมวนหวาน” ในวงกว้าง สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้สูญเสียรายได้ถึงหลักล้าน

ความจริง “ผีเสื้อมวนหวาน” ก็คือ ผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งอาศัยตามป่าธรรมชาติโดยกินผลไม้ป่าเป็นอาหาร ในอดีตพบการแพร่ระบาดของ ผีเสื้อมวนหวานในสวนผลไม้ ที่อยู่ใกล้กับป่าธรรมชาติ เช่น จันทบุรี ตาก เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ฯลฯ

แต่ระยะหลังพบการแพร่ระบาดผีเสื้อมวนหวานในสวนผลไม้ทั่วไปมากขึ้น สันนิษฐานว่าเป็นผลพวงจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีหลัง ทำให้ผลไม้ป่าตามธรรมชาติมีน้อยลง ทำให้ผีเสื้อมวนหวานต้องย้ายถิ่นเข้ามาโจมตีสวนผลไม้ของเกษตรกรมากขึ้น

ครั้งแรกที่คุณแป๊ะเจอการระบาดของผีเสื้อมวนหวาน ช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ตอนแรกเขาคิดว่า ผลส้มเสียหายจากปัญหาแมลงวันทอง จนกระทั่งนำผลส้มมาผ่าดูเนื้อข้างใน จึงรู้ว่า คิดผิด เพราะเนื้อส้มเว้าแหว่งหายไปจำนวนหนึ่ง เพราะถูกผีเสื้อมวนหวานที่อยู่ในช่วงตัวเต็มวัยใช้ปากที่แข็งแรงแทงเข้าไปในผลส้ม เพื่อดูดกินน้ำหวานจากผลไม้นั้น ส้มที่ถูกเจาะจะมีรอยแผลเป็นรูเล็ก ๆ และมียางไหลออกมา ผลจะเน่าเป็นวง รอยแผลนี้จะเป็นช่องทางการเข้าของแมลงวันผลไม้ต่อไป ทำให้ผลส้มจะร่วงในเวลาต่อมา

คุณแป๊ะทดลองใช้สารเคมีกำจัดผีเสื้อมวนหวาน ปรากฎว่า ไม่ได้ผลเพราะศัตรูพืชชนิดนี้เป็นผีเสื้อที่หากินในช่วงเวลากลางคืน และวางไข่ในแหล่งพืชเช่น ใบย่านาง ใบข้าวสาร และใบบอระเพ็ด ซึ่งเป็นอาหารของผีเสื้อมวนหวาน ระยะตัวหนอน

เมื่อสวนผลไม้ในพื้นที่อำเภอนาดี เจอการระบาดของผีเสื้อมวนหวานเป็นครั้งแรกในปี 2558 สำนักงานเกษตรอำเภอนาดี ได้นำกรงดักผีเสื้อมวนหวานมาแจกจ่ายเกษตรกรในพื้นที่ แต่ใช้ไม่ได้ผล เพราะกรงมีขนาดเล็กไป

“ผมจึงได้ปรับปรุงขนาดกรงดักผีเสื้อมวนหวานให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม 4 เท่าตัว คือ ขนาด 50X50 ซม. และใช้ผลไม้สุกเป็นเหยื่อล่อ โดยตั้งกรงดักไว้รอบสวน ปรากฏว่า ใช้งานได้ดี สามารถดักผีเสื้อมวนหวานได้ครั้งละ 200-300 ตัว/คืน

“คุณสุนันท์ พยัคฆฤทธิ์” เกษตรอำเภอนาดีเล็งเห็นข้อดีของการปรับปรุงกรงดักผีเสื้อมวนหวานจึงจัดหางบประมาณจากโครงการภัยแล้ง จำนวน 100,000 บาท ผลิตกรงดักไซส์ใหญ่จำนวน 200 กรง แจกจ่ายให้เกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ในท้องถิ่นได้นำไปใช้ ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน ปีนี้ไม่เจอการแพร่ระบาดผีเสื้อมวนหวานมากเมื่อปีผ่านมา” คุณแป๊ะ กล่าว

สวนส้มเปลือกล่อนให้ระวังแมลงศัตรูพืชระบาด

ในตอนเช้ามีหมอกลง กลางวันอากาศร้อน และมีฝนตกเล็กน้อยเช่นนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรสวนส้มเปลือกล่อนเฝ้าระวังแมลงศัตรูพืช 3 ชนิด คือ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม เพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบส้ม จะพบในระยะที่ส้มแตกยอดอ่อนและติดผล

สำหรับเพลี้ยไก่แจ้ส้ม เกษตรกรควรสังเกตตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากตาและยอดอ่อน โดยตัวอ่อนจะกลั่นสารสีขาวเป็นเส้นด้ายทำให้เกิดราดำ ใบถูกทำลายจะหงิกงอและแห้งเหี่ยว อีกทั้งเพลี้ยยังเป็นพาหะของโรคกรีนนิ่งที่สามารถแพร่กระจายไปเกือบทุกแหล่งที่ปลูกส้ม ทำให้ต้นส้มทรุดโทรมและตายในที่สุด

ให้เกษตรกรหมั่นสำรวจต้นส้มในระยะแตกตาและยอดอ่อน หากสุ่มพบเพลี้ยไก่แจ้ส้ม 5 ยอดต่อต้น จำนวน 10-20 ต้นต่อสวน ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 8 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโคลไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 1 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ล ยูพี อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ส่วนเพลี้ยไฟ จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและผลอ่อน ส่งผลให้ใบผิดปกติ แคบเรียว กร้าน มักพบเพลี้ยไฟทำลายรุนแรงในระยะผลอ่อน ตั้งแต่กลีบดอกร่วงจนถึงผลส้มมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร

ผลที่ถูกทำลายจะเกิดวงสีเทาเงินบริเวณขั้วและก้นผล ผลแคระแกร็น หากพบเข้าทำลายผลมากกว่า 10% หรือพบเข้าทำลายยอดมากกว่า 50% ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโคลไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบฟูแรน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

นอกจากนี้ เกษตรกรควรเฝ้าระวังหนอนชอนใบส้ม มักพบผีเสื้อหนอนวางไข่ใต้เนื้อเยื่อใกล้เส้นกลางใบส้ม เมื่อไข่ฟักเป็นหนอนจะชอนเข้าไปกัดกินระหว่างผิวใต้ใบ แรกเริ่มแผลเป็นทางสีขาวเรียวยาวสังเกตได้ง่าย ต่อมาขยายใหญ่เป็นทางคดเคี้ยวไปมาคล้ายงูเลื้อย ใบบิดงอลงด้านที่หนอนทำลาย

หากระบาดมาก กิ่งอ่อนและผลอ่อนถูกทำลาย ส่งผลให้ส้มต้นเล็กชะงักการเจริญเติบโตได้ และแผลเป็นช่องทางให้โรคแคงเกอร์รุนแรงขึ้น สามารถพบระบาดได้ทุกช่วงที่มีการแตกใบอ่อนตลอดทั้งปี หากสุ่มสำรวจหนอน 5 ยอด ต่อต้น จำนวน 10-20 ต้น ต่อสวน และยอดอ่อนถูกทำลายมากกว่า 50%

ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโคลไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 8 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งใบ หากยังระบาดอยู่ให้พ่นซ้ำอีก เกษตรกรควรใช้อัตราน้ำในการพ่นสารให้มากกว่าการพ่นสารฆ่าแมลงทั่วไป เพื่อให้สารน้ำมันเคลือบใบพืช และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสารปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ให้ดีขึ้น

การป้องกันแก้ไขสำหรับเพลี้ยไฟและหนอนชอนใบส้ม ควรควบคุมบังคับให้ต้นส้มแตกยอด ออกดอก และติดผลในระยะเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการป้องกันกำจัด ช่วยควบคุมประชากรหนอน สะดวกในการดูแลรักษา ช่วยลดจำนวนครั้งในการพ่นสารเคมี และช่วยอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่พบมากในสวนส้ม จากนั้น ให้เกษตรกรเก็บยอด ใบ หรือเด็ดผลอ่อนที่ถูกทำลายไปเผาไฟทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณหนอน ช่วยให้ต้นส้มฟื้นตัวเร็วขึ้น และช่วยการแตกยอดของส้มรุ่นต่อไปอีกด้วย

สำหรับผู้สนใจวิธีป้องกันกำจัดแมลงแบบผสมผสาน สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลางวันมีแดดแรง กลางคืนจะมีอากาศเย็นในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงให้เฝ้าระวังหนอนกระทู้หอม ที่สามารถพบได้ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตหอมแดง มักพบตัวหนอนกระทู้หอมจะเจาะเข้าไปอาศัยและกัดกินเนื้อเยื่อใบหอม ทำให้ใบหอมแดงมีสีขาว จากนั้น หนอนกระทู้หอมจะกัดกินจากใบหอมลงไปถึงหัวหอมแดง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บผลผลิตหอมแดงได้

เกษตรกรควรหมั่นตรวจเก็บกลุ่มไข่และตัวหนอนกระทู้หอมในแปลงมาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อช่วยลดการระบาด สำหรับในระยะที่ตัวหนอนมีขนาดเล็กและพบการระบาดน้อย ให้เกษตรกรพ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thuringiensis) อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร กรณีพบการระบาดรุนแรง ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด อาทิ สารคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสแอล อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอฟีนาเพอร์ 10% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโทลเฟนไพแร็ด 16% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอินดอกซาคาร์บ 15% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารสไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

สวนคุณลี อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. (081) 886-7398 ที่คลุกคลีและมีประสบการณ์ทำมะม่วงนอกฤดูในเขตภาคเหนือตอนล่างมานาน โดยเฉพาะการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก ทางสวนคุณลี จึงอยากจะเรียบเรียงเทคนิคการผลิตมะม่วงนอกฤดูคุณภาพส่งออก เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตมะม่วงเบื้องต้น ให้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่

ยกตัวอย่าง การผลิตมะม่วงนอกฤดูของจังหวัดพิจิตร ที่เป็นแหล่งผลิตมะม่วงอันดับต้นๆ ของประเทศ การผลิตมะม่วงนอกฤดูนั้นเริ่มจาก หลังจากเก็บมะม่วงในฤดูเสร็จเดือนเมษายนจะตัดแต่งกิ่ง เตรียมต้น เตรียมใบ โดยฉีดสะสมอาหารด้วยปุ๋ยทางใบ 0-52-34+ซุปเปอร์-เค ฉีดประมาณ 3-4 ครั้ง ส่วนทางดินใส่ 8-24-24

ช่วงหลังราดสารประมาณปลายเดือนกรกฎาคม-ต้นเดือนสิงหาคม เพียงครั้งเดียว อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น (ต้น 15-20 ปี) เพื่อให้มะม่วงออกดอกสม่ำเสมอ ออกช่อพร้อมกัน พอช่วงเดือนกันยายนถ้าใบแก่ ใบพร้อม สภาพอากาศพร้อม หมายความว่าไม่มีฝนชุก ก็จะเปิดตาดอก

โดยใช้ไทโอยูเรีย บวกกับปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต 13-0-46 พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน ถ้าเตรียมต้นมาดี ใบพร้อมเสมอทั่วต้น ก็จะได้ดอก 70-80% ถ้าโชคไม่ดีเจอฝน ดอกออกไม่เยอะก็ต้องฉีดสะสมอาหารใหม่ เพื่อฉีดเปิดตาดอกอีกครั้ง 20 วัน หลังจากนี้

จากนั้นก็ปล่อยให้มะม่วงเติบโตไปตามเกณฑ์ เมื่อขนาดผลเท่าไข่เป็ดหรือประมาณ 45 วัน จะห่อผลด้วยถุงห่อคาร์บอนชุนฟง มะม่วงรุ่นแรกนี้จะสามารถเก็บได้ในช่วงปลายเดือนธันวาคม-ต้นเดือนมกราคม

จากนั้นมะม่วงจะกระทบหนาวและออกดอกมาตามธรรมชาติ แทบไม่ต้องดูแลอะไรก็มีมะม่วงให้ได้เก็บอีกรุ่นในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นรุ่นในฤดู เท่ากับว่าปีหนึ่งจะได้เก็บมะม่วง 2 รุ่น โดยการพ่นสารเคมีจะพ่นแค่ช่วงดอกถึงติดผลอ่อน ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง

ซึ่งช่วงนี้ฝนที่นี่ค่อนข้างชุก ถ้าฝนตกวันไหนชาวสวนจะต้องฉีดพ่นยาทันที บางครั้งพ่นกันทุกวัน ยาเชื้อราจะใช้พวกสารโพรคลอราซ, อมิสตา, แอนทราโคล ส่วนยาฆ่าแมลงใช้พวกสารเมโทมิล, แลมป์ด้า ไซฮาโลทริน เพื่อกำจัดหนอน

ส่วนแมลงปีกแข็งใช้สารกลุ่มคาร์บาริลและแลมป์ด้า ไซฮาโลทริน แต่สวนใหญ่ๆ ปัจจุบันสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เพราะใช้รถแอร์บัสในการฉีดพ่น ซึ่งฉีดได้ทั่วถึงดีมาก อันนี้เป็นภาพรวมคร่าวๆ ที่จะทำให้เห็นภาพการผลิต

เคล็ดลับการดูแลมะม่วงก่อนแต่งกิ่ง

ก่อนตัดแต่งกิ่งประมาณ 15-20 วัน จะต้องใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 15-0-0 (แคลเซียมไนเตรต) ต้นละประมาณ 1-2 กิโลกรัม โดยใส่แล้วฝังกลบแล้วรดน้ำตามทันทีให้ปุ๋ยละลายจนหมด ข้อนี้หากใส่ปุ๋ยแล้วไม่รดน้ำให้ปุ๋ยละลาย ปุ๋ยก็จะสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

เคยเห็นเกษตรกรบางคนใช้วิธีหว่านปุ๋ยรอฝน คือเมื่อเห็นฝนทำท่าจะตกก็ใส่ปุ๋ยรอ ถ้าฝนตกปุ๋ยละลายหมดก็ไม่เป็นไร แต่บางครั้งใส่แล้วฝนก็ไม่ตกปุ๋ยก็สูญเสีย เหมือนเราหว่านทิ้งหว่านขว้างเสียมากกว่า

หลังจากมะม่วงแตกใบอ่อนเสมอกันดีแล้ว จะราดสารแพคโคลบิวทราโซลชนิด 10 เปอร์เซ็นต์ อัตราต้นละ 15 กรัม ต่อทรงพุ่ม 1 เมตร ใส่ปุ๋ยทางดินเพื่อเร่งการสะสมอาหาร โดยใช้สูตร 8-24-24 อัตรา ต้นละ 2 กิโลกรัม ทางใบจะฉีดพ่นปุ๋ย สูตร 0-42-56 อัตรา 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร (อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) ร่วมกับสาร “ไฮเฟต” อัตรา 1 ลิตร สารไฮเฟตจะช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อน เร่งการสะสมอาหารได้ดี ต่างจากคนอื่นที่จะนิยมใช้ปุ๋ย 0-52-34 ฉีดพ่นจุดนี้

คุณเจริญ แนะนำว่า ถ้าใช้ปุ๋ย 0-52-34 ในการสะสมอาหารต้องใช้ถึง 10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วการใช้ปุ๋ย สูตร 0-42-56 จะมีต้นทุนที่ถูกกว่า ในขณะที่ผลผลิตออกมาเหมือนกัน จึงเลือกใช้เพราะเป็นการประหยัดต้นทุน

เมื่อสะสมอาหารได้ประมาณ 3-4 ครั้ง หรือนับจากวันราดสารแล้ว ประมาณ 60 วันขึ้นไป จะเปิดตาดอกโดยใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต อัตรา 20 กิโลกรัม ร่วมกับไทโอยูเรีย (เช่น ไทเมอร์) อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นจะทำให้มะม่วงออกดอกสม่ำเสมอ

ในช่วงดอกจะต้องเน้นการดูแลเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการฉีดพ่นสารโบร่า เพราะจะทำให้มะม่วงติดผลดกและผลมีคุณภาพดี เนื้อแน่นไม่เป็นโพรง ถ้าทำมะม่วงส่งออกต้องเน้นเป็นพิเศษ เพราะต่างประเทศเขาพิถีพิถันเรื่องเนื้อขาดเป็นโพรงมาก

สะสมอาหารดี ดอกจะสมบูรณ์

หลังจากราดสารแล้วจะต้องใส่ปุ๋ยเร่งการสะสมอาหาร สูตรที่ใช้คือ 8-24-24 อัตรา ต้นละ 1-2 กิโลกรัม (ใส่แบบฝังกลบเหมือนเดิม) ส่วนทางใบนั้นจะใช้สูตร นูตราฟอส ซุปเปอร์-เค อัตรา 40 กรัม ผสมกับโฟแมกซ์ แคลเซียมโบรอน อัตรา 10 ซีซี และน้ำตาลทางด่วน (เกรดดี) 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นประมาณ 3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 10 วัน ใบมะม่วงจะสมบูรณ์ เขียวเข้ม พร้อมที่จะเปิดตาดอก

หลังราดสารต้องบำรุงอย่างดี เกษตรกรส่วนใหญ่หลังจากราดสารแล้วจะใช้วิธีสะสมอาหารด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียว จะเน้นการใส่ปุ๋ยทางดินร่วมด้วย “ปุ๋ยทางดินสำคัญมาก เราต้องดูว่าปีหนึ่งเราเก็บมะม่วงไปจากต้นกี่กิโล ต้นมะม่วงต้องเสียอาหารไปเท่าไร ถ้าเราไม่ใส่คืน ต้นมะม่วงจะเอาแรงที่ไหนออกลูกให้เรา”

การใส่ปุ๋ยทางดิน จะใช้ปุ๋ย สูตร 9-25-25 หรือ 8-24-24 อัตรา ต้นละ 2 กิโลกรัม เน้นใส่ในวันที่มีฝน เพราะที่สวนทางพิจิตรมักจะไม่ค่อยไม่มีระบบน้ำ อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว จึงต้องคอยติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่าจะมีฝนตกชุกช่วงวันไหน ก็จะใช้โอกาสวันนั้นเร่งการใส่ปุ๋ย แล้วให้ฝนเป็นตัวละลายปุ๋ย หากใส่แล้วฝนตกน้อย ก็ต้องใช้คนงานรดน้ำให้ปุ๋ยละลายจนหมด การใส่ปุ๋ยที่ดี ต้องรดน้ำให้ปุ๋ยละลายไม่เช่นนั้นก็สูญเปล่า

ส่วนทางใบ จะเน้นการฉีดปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัส กับโพแทสเซียมสูง เช่น ปุ๋ย 0-52-34 หรือซุปเปอร์-เค การฉีดปุ๋ยทางใบจะเริ่มฉีดหลังจากที่ราดสารไปแล้ว ประมาณ 15 วัน สูตรฉีดพ่นปุ๋ยเพื่อการสะสมอาหาร ดังนี้

ช่วงที่มีฝนตกชุก

– ปุ๋ย 0-52-34 1 กิโลกรัม
– เฟตามิน 400 ซีซี
– สังกะสี 100 ซีซี
– โกรแคล 100 ซีซี
– โรคและแมลง ตามการระบาด

( ต่อน้ำ 200 ลิตร)

การใช้ปุ๋ย สูตร 0-52-34 ช่วงฝนตกชุก จะช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อนได้ดีมาก แต่ไม่ควรฉีดพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง เพราะจะทำให้ตายอดของมะม่วงแห้ง และบอดได้ (ถ้าตาบอดจะดึงดอกยาก) การใส่ฮอร์โมนเฟตามิน โกรแคล และสังกะสี ร่วมด้วย จะทำให้ตายอดสดใส เต่งตึง อวบอั๋น ตาไม่บอด

ช่วงที่ฝนน้อย
– ปุ๋ยซุปเปอร์เค 400 กรัม
– เฟตามิน 400 ซีซี
– สังกะสี 100 ซีซี
– โกรแคล 100 ซีซี
– โรคและแมลง ตามการระบาด

( ต่อน้ำ 200 ลิตร)

เมื่อฝนทิ้งช่วงจะเปลี่ยนปุ๋ยโดยให้กลับมาใช้ ซุปเปอร์-เค (6-12-26) เพราะมีไนโตรเจน 6% จะช่วยให้ตายอดสมบูรณ์ ไม่แห้ง หรือบอดง่าย การสะสมอาหารจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน (ในมะม่วงพันธุ์เบา เช่น น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น เพชรบ้านลาด) การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบจะฉีด 4-5 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

ดึงดอกอย่างไร ให้ออกทั้งต้น

ถ้าเราทำใบอ่อนได้เสมอ ใส่ปุ๋ยถูกช่วงเวลา บำรุงรักษาใบดีมาตลอด โอกาสดึงดอกให้ออกมาพร้อมกันจะสูงมาก ส่วนใหญ่ชาวสวนจะดูองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ก่อนดึงดอก เช่น อายุหลังราดสาร ต้องไม่น้อยกว่า 60 วัน (มะม่วงพันธุ์เบา)

และ 90 วัน สำหรับมะม่วงพันธุ์หนัก UFABET ใบมะม่วงแก่ดี เอามือกำแล้วกรอบ ใบหลุบลง ตายอดนูน พร้อมดึง ถ้าใบยังไม่พร้อม หรือมีใบอ่อนแตกออกมาขณะสะสมอาหาร อย่ารีบร้อน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสะสมอาหารจนกว่าใบจะพร้อม จึงเปิดตาดอก ดูสภาพอากาศ ฝนต้องทิ้งช่วงนิด ดินไม่ชุ่มน้ำเกินไป เพราะหากเปิดตาดอกขณะฝนตกชุก โอกาสเป็นใบอ่อนสูง

เปิดตาดอกในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม

ปกติแล้วเราจะเปิดตาดอกมะม่วงหลังจากราดสารแล้วประมาณ 45 วัน ในการเปิดตาดอกเกษตรกรหลายรายนิยมใช้สารไทโอยูเรียในปริมาณที่สูง การออกดอกจะเร็วและออกดอกมาก แต่บางครั้งพบว่าแม้จะใช้สารไทโอยูเรียในปริมาณที่สูงดอกมะม่วงก็ยังไม่ออก หรือออกก็พบปัญหาดอกไม่สมบูรณ์

ในส่วนนี้คุณพนมแนะนำให้ใช้โพแทสเซียมไนเตรต อัตรา 400 กรัม ผสมกับไทโอยูเรีย อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ส่วนเกษตรกรบางท่านอาจจะใส่ฮอร์โมนจำพวกสาหร่ายสกัดก็สามารถใส่เพิ่มได้

การใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรตในการเปิดตาดอกจะทำให้ดอกออกเสมอและสมบูรณ์กว่า ถ้าเกษตรกรท่านใดมีปัญหามะม่วงออกดอกยากลองใช้วิธีนี้ดู รับรองได้ผล กรณีเปิดตาดอกแล้วเป็นใบ สามารถแก้ไขได้ แต่ใบอ่อนที่ออกมาต้องมีความยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร หรือยังไม่คลี่ใบ ให้ใช้

ครั้งที่ 1
– ปุ๋ย 10-52-17 500 กรัม
– ไฮเฟต 500 ซีซี

( ต่อน้ำ 200 ลิตร)
ฉีดพ่นโดยห้ามใส่อาหารเสริม จำพวกสาหร่าย-สกัด หรือจิ๊บ โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีปริมาณใบอ่อนออกมามาก จากนั้นเว้น 3 วัน แล้วซ้ำด้วย สูตรที่ 2

ครั้งที่ 2
– ปุ๋ย 10-52-17 500 กรัม
– ไฮเฟต 300 ซีซี

( ต่อน้ำ 200 ลิตร)
หลังฉีด ครั้งที่ 2 เราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของตาใบอย่างชัดเจน ใบจะหยุดนิ่งแล้วเริ่มแตกใบเพื่อเปลี่ยนเป็นตาดอก สูตรนี้เกษตรกรจำนวนมากใช้แล้วได้ผลดี แต่ต้องดูว่าความยาวของตาใบ ต้องไม่เกิน 1 เซนติเมตร จะได้ผลดีที่สุด