ความร่วมมือร่วมใจของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่ช่วยกัน

พัฒนาคุณภาพผลปาล์ม โดยเน้นตัดปาล์มสุกเพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันเพิ่มขึ้น ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นเพราะทุกๆ 1% น้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น กิโลกรัมละ 0.30 บาท หากเปอร์เซ็นต์น้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 2% จะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก ไร่ละ 1,800 บาท เรียกว่า โครงการดีๆ เช่นนี้ ทำให้เกษตรกรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมีผลกำไรกันทั่วหน้า เรียกว่าเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันทั่วประเทศจะมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 2.95 ล้านบาท แถมได้ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นอีก 230,000 ตัน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์คาดหวังว่า ในอนาคตเกษตรกรจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมันให้สูงขึ้นถึง 20% ได้ โดยอาศัยเทคนิคการดูแลบริหารจัดการสวนปาล์ม ตั้งแต่การใช้พันธุ์ ดิน น้ำ และปุ๋ย รวมทั้งเก็บเกี่ยวผลปาล์มทะลายสุก ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ให้หันมาทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมันให้มีคุณภาพให้ตรงกับความต้องการของตลาด เน้นตัดปาล์มสุกก่อนนำไปขาย เพื่อเพิ่มพูนรายได้และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในอนาคต

ด้าน คุณพันศักดิ์ จิตรรัตน์ ประธานคณะกรรมการด้านปาล์มน้ำมันและพืชพลังงาน สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ปริมาณตัวเลขพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่หน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ฯลฯ เก็บรวบรวมได้ในทุกวันนี้ ก็ยังไม่ได้ครบถ้วน 100% ทั้งหมด เพราะเกษตรกรบางรายแจ้งตัวเลขพื้นที่ปลูกต่ำกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้ บางพื้นที่ก็ไม่ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งปลูกปาล์มน้ำมัน เพราะปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นต้น
สถานการณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2560/2561 คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ไม่ต่ำกว่า 15% เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา มีการตัดโค่นต้นยางในพื้นที่ภาคใต้ ภาคตะวันออก เพื่อหันมาปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา

ประกอบกับปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี จึงฝากเป็นการบ้านให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งวางแผนการรับมือผลผลิตปาล์มน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีหน้า เช่น พัฒนาคุณภาพการสกัดน้ำมันปาล์มน้ำมันให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อผลักดันน้ำมันปาล์มของไทยสู่การตลาดส่งออกในอนาคต ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาผลผลิตล้นตลาดได้อีกแนวทางหนึ่ง

คุณอุษณี เจียมรา เกษตรอำเภอเกาะยาว กล่าวว่า อำเภอเกาะยาวมีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดในจังหวัดพังงา มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำนวน 264 ราย พื้นที่ 838 ไร่ ซึ่งวิถีชีวิตของคนเกาะยาวมีความผูกพันกับการทำนามาตั้งแต่บรรพบุรุษถึงปัจจุบัน 100 กว่าปีแล้ว

จะสังเกตได้แม้แต่การตั้งนามสกุลยังบ่งบอกถึงความภาคภูมิใจในการเป็นชาวนา เช่น ไถนาเพรียว ดำนาดี วงษ์นา ถิ่นนา หาญเคียว สงวนไถ วางไถคล่อง กองข้าวเรียบ ทำนากล้า ไถเอี่ยม วางไถคล่อง ฯลฯ

เพื่อสืบทอดอาชีพการทำนาให้อยู่คู่กับชาวเกาะยาว สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาวได้ร่วมกับหน่วยงานภาคี ร่วมดำเนินการส่งเสริมการเกษตรรูปแบบแปลงใหญ่ (นาข้าว) ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน ทรัพยากร และการตลาด

โดยมีผู้จัดการพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการ ทำให้เกษตรกรรายย่อยมีอำนาจต่อรองในการจัดหาปัจจัยการผลิต ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำลง มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงช่วยให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

คุณอุษณี กล่าวเพิ่มเติมว่า อำเภอเกาะยาว มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรรูปแบบแปลงใหญ่ (นาข้าว) จำนวน 104 ราย พื้นที่ 420 ไร่ ซึ่งหน่วยงานภาคีได้ให้การสนับสนุนโดยการทำงานแบบบูรณาการ ได้แก่ การจัดทำข้อมูลแผนที่รายแปลง ข้อมูลพื้นฐานภาวะเศรษฐกิจของเกษตรกรรายแปลง ถ่ายทอดความรู้/จัดเวทีเรียนรู้ การตรวจวิเคราะห์ดิน การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 จำนวน 4,300 กิโลกรัม

เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลง การจัดทำแปลงเรียนรู้โดยเกษตรกรต้นแบบในทุกตำบลของอำเภอเกาะยาว อบรมรณรงค์ไถกลบตอซัง ส่งเสริมการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด ส่งเสริมการบริหารองค์กร/การรวมกลุ่มเกษตรกร

โดยมีคณะกรรมการในการบริหารจัดการ จำนวน 20 คน มีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน การวางแผน ปรึกษาหารือ กำหนดทิศทางในการดำเนินงาน
ขณะนี้ ข้าวกำลังอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยว (เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2560) คาดว่าเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่จะลดต้นทุนการผลิตจาก 4,960 บาท/ไร่ เป็น 3,968 บาท/ไร่ ลดลงร้อยละ 20 และสามารถเพิ่มผลผลิตจาก 380 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 456 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 ผลผลิตข้าวปลอดภัยและได้รับการรับรองมาตรฐานตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอเกาะยาว และสำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว มะระขี้นก เป็นพืชสมุนไพรข้างรั้วที่น่าสนใจ มะระขี้นก มีชื่อเรียกแต่ละท้องที่ อาทิ ทางเหนือเรียก “มะห่อย” ทางภาคอีสานเรียก “ผักไซ” ทางใต้เรียก “ผักไห่”, “ผักเหย”, “ระร้อยรู” และอีกหลายๆ ชื่อ มะระขี้นกเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีในเขตร้อนชื้น

ทวีปเอเชียกินเป็นผัก ชาวอินเดียปรุงเป็นแกง ชาวศรีลังกาปรุงเป็นผักดอง ชาวอินโดนีเซียกินสด ชาวไทยกินหลายรูปแบบเป็นผักต้มจิ้มน้ำพริก กินได้ทั้งยอดอ่อน ฝักอ่อน ฝักแก่

มะระขี้นกเป็นพืชไม้เถา มีมือเกาะลำต้นเลื้อยพาดพันตามต้นไม้หรือตามร้าน มีอายุ 1 ปี ลักษณะใบมีหยักเว้าลึกเป็นแฉกๆ 5-6 หยัก ปลายใบแหลมมีสีเขียวอ่อน มีขนอ่อนนุ่มคลุม ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองออกบริเวณง่ามใบ

ผลมะระขี้นกมีรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวขรุขระ เส้นผ่าศูนย์กลางมีตั้งแต่ 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร แต่ขนาดผลใหญ่กว่านี้ก็มี ผลอ่อนสีเขียวออกขาว ผลแก่สีเขียวเข้ม ผลสุกเป็นสีส้มหรือแดงอมส้ม เมื่อแก่จัดจะแตกออกเป็นแฉกๆ โชว์เมล็ดในที่มีเนื้อหุ้มเป็นตลับ

ผลขณะที่แตกสวยมาก ล่อตาล่อใจนกมาจิกกิน แล้วถ่ายมูลออกทิ้งไปทั่ว ที่ไหนได้น้ำดีหน่อยก็จะรอเวลางอกออกมาเป็นต้นใหม่ เลื้อยเถาพันกับกิ่งไม้ต้นไม้พุ่มอื่นๆ ที่สูงระดับหัวคนหรือระดับให้คนเอื้อมมือเด็ดยอดเด็ดผลมากินได้

ถ้าคิดจะปลูกมะระขี้นกเป็นการค้าคือ จะปลูกกันเป็นล่ำเป็นสัน ส่งขายตลาดที่รับซื้อไปกินประจำ หรือขยายผลทำประโยชน์ เช่น ผลิตยาสมุนไพร ชาสมุนไพร หรือส่งตลาดสดที่มีคนนิยมบริโภคมากๆ ในท้องถิ่นต่างๆ ต้องขอบอกว่าให้วิเคราะห์ให้ดี มีความเสี่ยงด้านตลาด และต้องหาพันธุ์ที่ให้ผลตอบแทนคุ้ม

ตอนนี้มีผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์มะระขี้นกขายแล้ว แต่ถ้าจะเอาแค่ปลูกเล็กๆ เพื่อตลาดผู้บริโภคในท้องถิ่น ก็ขอแนะนำให้ปลูกเป็นแปลง โดยไถพรวนดินให้ลึกเล็กน้อย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก ปลูกระยะ 50 คูณ 100 เซนติเมตร

โดยวิธีหยอดเมล็ด จะใช้วิธีเพาะกล้าลงถุงก่อนก็ได้ ควรหาเมล็ดที่มีผลโตพอเหมาะเอามาทำพันธุ์ หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด เมื่องอกโตมาสักหน่อยก็ปักหลักทำค้างสูง 2-2.5 เมตร ปักทำเป็นซุ้ม 4 หลักมัดปลายรวมกัน และวางไม้ไผ่พาดหรือขึงเชือก ตามซุ้มหลักเป็นแนวติดต่อกัน

เมื่อเจริญเติบโตเลื้อยเถาพันไปทั่วเป็นผืนแปลงใช้เวลาประมาณ 2 เดือนก็จะติดผลคอยเก็บผลทุกๆ 7 วัน ไร่หนึ่งจะได้ผลประมาณ 3,000 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 5 บาท ได้ไร่ละ 15,000 บาท ต้นทุน ค่าแรง ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าปุ๋ย ค่าเตรียมดินไร่ละ 5,000 บาท ก็ได้กำไรเป็นหมื่น ผลตอบแทนพอได้นะ

การปลูกมะระขี้นกจริงอยู่เป็นเรื่องง่ายๆ แต่ถ้าจะปลูกเป็นการค้า ต้องปลูกดูแลตามหลักวิชาการ การเก็บผลมะระขี้นกจะมีเป็นช่วงฤดูตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะมีผลผลิตในฤดูฝน ก็ประจวบกับช่วงที่มะระขี้นกตามหัวไร่ปลายนาข้างทางข้างรั้วออกมาพอดี

ถ้าจะปลูกเพื่อขายผลสดให้ตลาดสดก็จะไม่คุ้ม จริงอยู่ผลผลิตที่ปลูกตามหลักการเกษตรได้ถึง 2-3 ตันนั้นดีแน่ๆ แต่จะเอาไปขายให้ใครกิน ตลาดผู้บริโภคยังแคบอยู่ แต่ถ้าปลูกส่งโรงงานหรือบริษัทที่ผลิตยา หรือเครื่องดื่มสมุนไพร มีข้อตกลงกันดีๆ ก็เข้าท่าน่าสนใจมาก

ผลมะระขี้นก 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 17 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย เส้นใย 12 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 5 มิลลิกรัม เหล็ก 0.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 2924 iu วิตามินบีหนึ่ง 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 190 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม ผลวิเคราะห์พบว่ายอดอ่อนของมะระขี้นกมีวิตามินเอค่อนข้างสูง

มะระขี้นกมีสรรพคุณทางยาดีหลายด้าน เป็นยามีพลังของความเย็น ช่วยเจริญอาหาร ยาระบาย ขับพิษ ฟอกเลือด บำรุงตับ บำรุงสายตา รากแก้พิษ ริดสีดวงทวาร แก้พิษดับร้อน แก้บิด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปวดฟันที่เกิดจากลมร้อน

น้ำคั้นผลมีสรรพคุณแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู เถาแก้โรคข้อเท้าบวม โรคม้าม โรคตับ ใบดับพิษร้อน ขับระดู ขับลม แก้นอนไม่หลับ ปวดหัว แก้ไอเรื้อรัง ฟอกเลือด เมล็ดแก้พิษ เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ บำรุงธาตุ ต้านมะเร็ง

และที่เด่นที่สุดมะระขี้นก มีสารออกฤทธิ์ polypeptide-p ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน จะกินผลสด ลวก นึ่ง ต้ม จิ้มน้ำพริก หรือหั่นผลใบตากแห้งหรือใช้ผลสด ใบสดต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาที่สุดยอดทั้งนั้น

ถ้าใช้วิธีหั่นผลมะระขี้นกตากแห้งไว้ชงน้ำดื่ม ควรเติมใบชาลงไปด้วยเพื่อกลบรสขม น้ำต้มมะระขี้นก ลดการเกิดโรคต้อกระจก ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงของโรคเบาหวาน เมล็ดช่วยกระตุ้นเรื่องเพศ ก็แก้อาการข้างเคียงที่สำคัญของโรคเบาหวานได้ดีด้วย ทดลองมาหลายสมุนไพรแล้วมาได้ที่มะระขี้นกนี่แหละที่รับรองผลได้

คุณเล็ก เกตุนาค ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เลขที่ 70/3 หมู่ที่ 3 บ้านหนองโสน ตำบลเขาคิริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร โทร. (061) 684-1969

ชนิดของแมลงศัตรูที่พบ แมลงศัตรูที่พบระบาดในแปลงที่สำคัญ มี 2 ชนิด คือ เพลี้ยไฟ และหนอนกระทู้หอม โดยเริ่มพบแมลงทั้งสองชนิด เมื่อพริกอายุประมาณ 35 วัน หลังปลูกกล้า เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟ เป็นแมลงประเภทปากดูด ดังนั้น จึงมักพบเพลี้ยไฟอาศัยอยู่บนยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกของต้นพืช เนื่องจาก เพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก สังเกตได้ยากด้วยตาเปล่า แต่สังเกตอาการพืชที่ถูกทำลายได้ง่าย ใบพืชบนยอดอ่อนจะหงิกงอเสียรูปทรง ต้นพืชที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายจะชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้น เพลี้ยไฟที่พบในแปลงทดสอบจึงไม่อาจจำแนกชนิดได้

แต่จากรายงานการศึกษา เพลี้ยไฟที่พบในพริก มักเรียกว่า เพลี้ยไฟพริก เพลี้ยไฟมีวงจรชีวิตสั้น แพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว ชอบหลบในที่ซ่อน ตัวเมียวางไข่ภายใต้เนื้อเยื่อของพืช การควบคุมด้วยสารเคมีจึงค่อนข้างยาก หากเริ่มต้นการฉีดพ่นช้า ประชากรเพลี้ยไฟจะมีหลายระยะปนกันบนต้นพืช

การเลือกใช้สารเคมี จึงเป็นประเด็นสำคัญ เพราะมีรายงานการศึกษาว่า เพลี้ยไฟ ดื้อยาต่อสารเคมีหลายชนิด ใช้สารฆ่าแมลงคาร์บาริลฉีดต้นพริกเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยไฟจำนวนมาก โดยพ่นทุก 7-10 วัน และหยุดพ่นยาก่อนเก็บเกี่ยว 3 วัน

หนอนกระทู้หอม เป็นแมลงประเภทปากกัด เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของพืชผักหลายๆ ชนิด มักทำความเสียหายรุนแรง โดยหนอนจะเข้ากัดกินยอดอ่อน ใบอ่อน หรือเจาะเข้าทำลายผลผัก เช่น พริก มะเขือ มะเขือเทศ ผีเสื้อจะวางไข่เป็นกลุ่มบนใบพืช หนอนที่ฟักออกจากไข่วัยแรก จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ต่อ

เมื่อหนอนโตขึ้นจะแยกย้ายกระจัดกระจายออกไปหากินเดี่ยวๆ หนอนที่โตเต็มวัยจะเข้าดักแด้ในดิน ดังนั้น การควบคุมหนอน จึงต้องเริ่มฉีดพ่นสารเคมีตั้งแต่ต้น ก่อนที่แมลงจะเจริญเติบโตจนครบวงจร และเพิ่มปริมาณประชากรได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะดักแด้ที่อยู่ในดิน จะรอดพ้นจากการพ่นสารเคมี

เนื่องจากเป็นแมลงปากกัด ความเสียหายจากการทำลายของหนอนกระทู้จึงมีมาก การเริ่มต้นพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตผักลดลง โดยเฉพาะกับการปลูกผักที่ต้องการเมล็ดพันธุ์ คุณภาพเมล็ดจะเสียไป เกษตรกรให้ฉายาหนอนชนิดนี้ว่า “หนอนหนังเหนียว” มีรายงานการศึกษาว่า หนอนกระทู้หอม มักจะดื้อยาต่อสารเคมีหลายชนิด

คุณนิพนธ์ ดิษฐ์กระจาน ผู้จัดการส่งเสริมการเกษตร ของ บริษัท โกลโบ ฟู้ดส์ จำกัด โทร. (081) 850-6200 เล่าว่า ตอนนี้ทางบริษัทนอกจากรับซื้อพริกจากเกษตรกรแล้ว ยังรับซื้อพืชผักเครื่องแกง คือ ขิง ข่า ตะไคร้ ขมิ้น มะกรูด (ใบและผล) กะเพรา โหรพา มะขามอ่อน (เอาไปตากแห้งทำมะขามผง เนื่องจากลูกค้าทางเวียดนามนิยมรับประทาน นำความเปรี้ยวของมะขามไปประกอบอาหาร ซึ่งทางเวียดนามไม่นิยมรับประทานมะนาว)

ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทจะถูกส่งออกเกือบ 70% และอีก 30% ก็จำหน่ายในประเทศ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทจะมีเยอะมาก ทั้งเครื่องแกงสำเร็จรูปสูตรต่างๆ และซอสพริก
ปริมาณการใช้พริกในแต่ละปีค่อนข้างมาก

ทางบริษัทหรือทางโรงงานก็ต้องออกมาส่งเสริมการปลูกพริกกับเกษตรกร โดยเป็นระบบ “คอนแทรคฟาร์มมิ่ง” มีการเข้ามาส่งเสริมการปลูก ให้ความรู้ และรับซื้อผลผลิตคืน ในราคาประกัน ที่จะตกลงเอาไว้กับเกษตรกร เป็นราคาตายตัวทั้งปีหรือในช่วงที่พริกมีราคาสูงมากๆ ในท้องตลาดก็อาจจะปรับขึ้นให้ตามความเหมาะสมในแต่ละปี ซึ่งทางเราก็ต้องช่วยให้เกษตรกรอยู่ได้ด้วยทางบริษัทหรือโรงงานก็จะอยู่ได้เช่นกัน

ซึ่งการประกันราคารับซื้อมีข้อดีที่เกษตรกรไม่ต้องกังวลกับตลาดรับซื้อเลย เพียงแต่ผลิตพริกให้ได้คุณภาพตามที่โรงงานต้องการ ซึ่งตอนนี้ทางบริษัทก็เข้าไปส่งเสริมในหลายๆ จังหวัด เพื่อให้มีพริกป้อนเข้าสู่โรงงานอย่างเพียงพอ เขาไปส่งเสริมเกษตรกรที่สนใจและเป็นแหล่งปลูกพริกมาก่อน เนื่องจากเกษตรกรจะมีความรู้และประสบการณ์การปลูกพริกมาบ้างก็จะง่ายในการเข้าไปส่งเสริม เช่น จังหวัดกำแพงเพชร หนองคาย ชัยภูมิ เป็นต้น

สายพันธุ์พริกนั้นมีความสำคัญมาก ต้นทางคือทางบริษัทจะต้องถูกต้อง นำพันธุ์พริกที่มีคุณลักษณะเรื่องของสีสัน (สีแดง สีส้ม สีเขียว) ความเผ็ด (เผ็ดมาก-น้อย) เป็นที่เหมาะสมที่เราจะนำมาใช้ แล้วก็ต้องคัดสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตที่ดี แข็งแรง ทนโรค ให้เกษตรกรด้วยประกอบกันไป ก็ต้องเป็นพันธุ์ที่จำเพาะที่เราต้องการ

การส่งเสริมนั้นนอกจากความรู้เรื่องของการปลูก ดูแลรักษา โรคและแมลง สิ่งที่เราต้องเข้ามาสร้างความเข้าใจและเป็นข้อห้ามคือ เรื่องของการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ทางบริษัทจะควบคุมให้ใช้สารเคมีที่ถูกต้องและเหมาะสม ให้ใช้สารเคมีที่ทางบริษัทระบุเท่านั้น

ทางบริษัทเรารับซื้อพวกพืชผักที่เกี่ยวกับเครื่องแกงเกือบทั้งหมด เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำไปใช้แปรรูปในเรื่องของน้ำพริก อย่างพริกเองเป็นวัตถุดิบที่ใช้มากเป็นพิเศษ อย่างเกษตรกรรวบรวมผลผลิตส่งโรงงานเสร็จ

หลังการตรวจสอบคุณภาพ ตรวจสารพิษตกค้างผ่าน ก็จะเข้าสู่กระบวนการทำความสะอาดแล้วนำไปแช่แข็งเป็นสต๊อกเพื่อสำรองเอาไว้ในช่วงที่วัตถุดิบขาดแคลน ทางโรงงานก็ไม่มีปัญหาในการหาวัตถุดิบแต่อย่างใด

คุณนิพนธ์ ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจก็ติดต่อมาได้ทั้งตัวคุณนิพนธ์เองและ คุณเล็ก นาคเกตุ ที่เป็นหัวหน้ากลุ่มดูแลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร โดยอย่างน้อย รวมกลุ่มกันสัก 30 ไร่ เพื่อให้มีผลผลิตมากพอที่จะป้อนเข้าสู่โรงงานและง่ายต่อการจัดการ

“ตะไคร้” หนึ่งในพืชสวนครัวที่มักจะต้องมีปลูกกันทุกบ้าน ตะไคร้นำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารนานาชนิด ทั้งพวกต้มยำ ยำ แกง เป็นส่วนผสมในน้ำพริกหรือพริกแกงต่างๆ นอกจากนั้น ถ้ามีตลาดรับซื้อจากโรงงานอุตสาหกรรมพริกแกง น้ำพริก ตั้งแต่อุตสาหกรรมในครัวเรือนถึงโรงงานขนาดใหญ่ ปริมาณของการใช้ตะไคร้จึงเกิดความต้องการอย่างต่อเนื่อง อาชีพการปลูกตะไคร้จึงมีการขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นตามความต้องการของตลาด

คุณเล็ก เล่าว่า สืบเนื่องจากทางบริษัทหรือโรงงานมีการใช้พืชผักเครื่องแกง “ตะไคร้” จึงเป็นอีกพืชหนึ่งที่ทางโรงงานมีความต้องการ หลังปลูก 8-12 เดือน คล้ายๆ เป็นเงินออม ปลูกไว้ราว 1 ปี ตัดขาย 1 ครั้ง เกษตรกรหรือสมาชิกกลุ่มก็จะเหมือนได้เงินปี ใครมีที่ว่างก็จะปลูกตะไคร้ไว้ เพราะไม่ต้องดูแลอะไรเลย ซึ่งทางโรงงานก็รับซื้อ ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท สร้างรายได้เฉลี่ย ไร่ละ 30,000-40,000 บาท

ปลูกตะไคร้เป็นพืชแซมทำรายได้ดี คุณเล็ก เล่าว่า การปลูกตะไคร้ของที่นี่ จะปลูก “ตะไคร้พื้นบ้าน” คือ มีกลิ่นหอมฉุนเหมาะต่อการนำไปทำน้ำพริกหรือเครื่องแกง ผลผลิตต่อไร่สูง ประมาณ 3-4 ตัน (ขึ้นอยู่กับการบำรุง) ใช้เวลาปลูกจนเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 8 เดือน ก็จะสามารถขุดขายได้

คุณเล็กกล่าวว่า ตะไคร้ มีจุดเด่นที่ “มีการดูแลน้อย โรคแมลงไม่ค่อยมี ปุ๋ยใส่น้อย รายได้หลักหมื่นต่อไร่ ผลตอบแทนก็พออยู่ได้สบาย ดีกว่าปล่อยที่ให้ว่างเปล่า”

ตะไคร้ปลูกง่าย แต่ต้องรู้เทคนิค การปลูกตะไคร้ที่ถูกต้อง จะต้องปักต้นลงดินให้มีลักษณะเอียง 45 องศา โดยปักให้รอบเป็นวงกลมบริเวณขอบหลุมปลูก หลุมละ 4-6 ต้น ที่คุณเล็ก ปลูกตะไคร้หลายๆ ต้น ต่อหลุมเพราะมีต้นพันธุ์เอง หลายท่านที่เคยปลูกตะไคร้เอง อาจจะเคยปักต้นตะไคร้ลงกับดินตรงๆ บริเวณกลางหลุมเลย

ตามธรรมชาติของการเจริญเติบโต ตะไคร้ก็จะแตกกอจากตรงกลางหลุมแล้วขยายกอออกไปหาขอบหลุมปลูก เมื่อตะไคร้แก่และสามารถเลือกเอาไปทำอาหารได้ ตะไคร้แก่ก็จะต้องอยู่กลางๆ กอ

เวลาเราจะเก็บตะไคร้เพียง 2-3 ต้น ก็ต้องเก็บจากตรงกลางกอก่อน ทำให้การเก็บตะไคร้ยาก เพราะใบตะไคร้จะคอยบาดแขนบาดมือคนเก็บ แถมยังทำให้ต้นตะไคร้ใกล้เคียงบอบช้ำจากการดึงต้นตะไคร้อีก

แต่วิธีปลูกที่ถูกต้องคือ การปักต้นตะไคร้ให้เฉียง 45 องศา บริเวณขอบหลุมปลูก การแตกกอของตะไคร้ก็จะแตกจากขอบหลุมไปยังกลางกอ ทำให้การเก็บตะไคร้บริเวณขอบหลุมหรือริมกอก็ย่อมง่ายกว่า เพื่อบางท่านนำวิธีดังกล่าวไปปลูกตะไคร้เองที่บริเวณบ้าน

ซึ่งปกติแล้วแปลงที่จะปลูกพืชจะต้องไถพรวนดินให้เรียบร้อย จากนั้นก็เตรียมหลุมโดยพรวนดินเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร หากมีปุ๋ยคอกก็สามารถใส่พร้อมกับการพรวนดินได้เลย ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 1×1 เมตร หากปลูกระยะชิดกว่านี้ ลำต้นตะไคร้จะไม่ค่อยอวบอ้วน ต้นจะผอมสูง ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ราว 1,600 กอ แต่จำนวนกออาจจะน้อยลงหากปลูกตะไคร้เป็นพืชแซม

ก่อนการปลูกต้องเตรียมต้นพันธุ์เอาไว้ล่วงหน้า คือ เลือกกอตะไคร้ที่มีอายุเกิน 8 เดือน ขึ้นไป เพราะถือว่าตะไคร้มีความแก่พอที่จะนำไปขยายพันธุ์ปลูกต่อได้ ใช้จอบขุดยกทั้งกอแล้วนำมาแยกต้นออกจากกัน ใช้มีดตัดส่วนรากและใบทิ้ง ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมหลุมปลูกไว้แล้วได้เลย หรืออีกวิธีคือมัดต้นพันธุ์ตะไคร้เป็นกำพอที่จะตั้งได้ นำไปแช่น้ำลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ประมาณ 5-7 วัน สังเกตว่ารากตะไคร้จะงอกออกมา เมื่อรากที่งอกออกมาแก่เต็มที่ คือมีสีเหลืองเข้มก็ให้นำไปปลูกได้ การปลูกก็ให้ปักต้นพันธุ์เอียง 45 องศา ปักลึกประมาณ 5 เซนติเมตร นิยมปักต้นพันธุ์ 4 ต้น ต่อหลุม ปักเป็นลักษณะสี่ทิศ

ดูแลตะไคร้อย่างไรให้งาม “ตะไคร้มีนิสัยชอบน้ำ” หากขาดน้ำหลายๆ วัน ใบตะไคร้ก็จะเหี่ยวอย่างเห็นได้ชัด การให้น้ำในพื้นที่นี้ในฤดูแล้งนิยมปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากปลูกใหม่ควรจะต้องปลูกในช่วงฤดูฝน เพื่อไม่ต้องมีภาระในการให้น้ำ และต้นตะไคร้จะแตกกอเร็ว ตะไคร้จะงามมากในช่วงฤดูฝน

การใส่ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15, 16-16-16 ยืนพื้น โดยใส่ครั้งแรกหลังจากปลูกตะไคร้ลงดินแล้ว 1 เดือน และจะให้ทุกๆ 3 เดือน โดยดูจากความสมบูรณ์ของกอตะไคร้เป็นหลัก แต่เท่าที่สังเกตหากใส่ปุ๋ยบ่อยมากเท่าไร ต้นตะไคร้ก็จะโตเร็ว วิธีดังกล่าวมักจะใช้เร่งต้นตะไคร้ให้เจริญเติบโตขายในช่วงที่มีราคาแพง หรือช่วงฤดูแล้งของทุกปี การใส่ปุ๋ยตะไคร้จะให้โดยวิธีการหว่านเหมือนกับหว่านปุ๋ยในนาข้าว อัตราการใช้ ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยเคมี ประมาณ 25 กิโลกรัม ต่อการให้ 1 ครั้ง

การกำจัดวัชพืช มักจะทำในช่วงแรกๆ ของการปลูก ก็สามารถกำจัดวัชพืชได้ ทั้งใช้แรงงานคนหรือใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะตะไคร้ช่วงแรกถ้ามีหญ้าหรือวัชพืชขึ้นคลุมมักจะไม่ค่อยเจริญเติบโตหรือตาย แต่เมื่อต้นตะไคร้โตมีใบคลุมดินปัญหาวัชพืชก็จะน้อยลง

ขุดตะไคร้ขายได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน ถึง 1 ปี ในช่วงเวลานี้เกษตรกรก็จะต้องขุดตะไคร้ทยอยขายเรื่อยๆ หากอายุของกอตะไคร้เกินกว่านี้ ลำต้นก็จะเริ่มฝ่อเสียไป การขุดเพื่อจำหน่ายก็ทำเช่นเดียวกับการเตรียมต้นพันธุ์คือ ขุดตะไคร้ทั้งกอโดยน้ำหนักที่ได้ต่อตะไคร้ 1 กอ จะประมาณ 6-10 กิโลกรัม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการบำรุงดูแล

จากนั้นนำมาตัดแต่งรากและใบออก ล้างต้นให้สะอาด ใช้มีดตัดให้ต้นตะไคร้มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มัดเป็นกำๆ ใส่กระสอบหรือใส่ถุงพลาสติก บรรจุน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะนำส่งขายแบบไหน เช่น ตลาดทั่วไป ก็ใส่ถุงขนาดบรรจุ 10 กิโลกรัม แต่หากเป็นโรงงานน้ำพริกหรือพริกแกง ก็จะชั่งขึ้นรถเป็นกำๆ ขึ้นรถขนส่งได้เลย

มันสำปะหลัง นับเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย เช่นเดียวกับ ข้าว ยางพารา อ้อย และปาล์มน้ำมัน แต่สถานการณ์ราคามันสำปะหลังในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน เกษตรกรขายหัวมันสดได้ในราคาต่ำมาก ไม่ถึงบาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจำนวนมากจึงปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ส่งผลให้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังปรับตัวลดลงถึง 5 ล้านไร่ จากเดิมที่เคยมีปริมาณผลผลิตประมาณปีละ 32-35 ล้านตัน เหลือแค่ 27-28 ล้านตัน

ก่อนหน้านี้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเคยคาดการณ์ผลผลิตมันสำปะหลังของไทย ปี 2560/61 ว่ามีผลผลิตมันสำปะหลังสดเข้าสู่ตลาด ประมาณ 28.57 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน 7.69% แต่เนื่องจากปีนี้เกิดปัญหาฝนตกอย่างต่อเนื่อง หลายพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมทำให้ผลผลิตเสียหาย ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง เช่น สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย คาดการณ์ว่า ผลผลิตมันสำปะหลังในปีนี้อาจลดต่ำกว่า 28 ล้านตัน

ผลกระทบจากปัญหาฝนตกอย่างต่อเนื่อง GClub V2 ทำให้เกษตรกรหลายพื้นที่ชะลอการขุดมันสำปะหลังออกไป ทำให้มันสำปะหลังในฤดูการผลิต 2560/2561 เข้าสู่ตลาดล่าช้ากว่าทุกปี โดยมีผลผลิตทยอยเข้าสู่ตลาดประมาณช่วงเดือนธันวาคม 2560 เป็นต้นไป และมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก ประมาณช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2561 โดยคาดว่า ผลผลิต 2560/2561 จะปรับตัวลดลงประมาณ 10% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 28 ล้านตัน

สถานการณ์การส่งออกมันสำปะหลังของไทย มีแนวโน้มเติบโตสดใส โดยเฉพาะตลาดจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ เหตุเพราะรัฐบาลจีนมีนโยบายเพิ่มการใช้เอทานอลในน้ำมันเชื้อเพลิง (E10) กว่า 10 ล้านตัน ภายในปี 2563 เพื่อลดมลพิษภายในประเทศ จากเดิมที่ใช้เอทานอลเฉลี่ยปีละ 2.6 ล้านตัน ในปี 2560 ส่งผลให้จีนเพิ่มปริมาณการนำเข้ามันสำปะหลังจากไทยเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตเอทานอลสำหรับใช้ภายในประเทศ

ทั้งนี้ สถานการณ์การส่งออกมันสำปะหลังของไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2560 พบว่า มียอดส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลัง โดยรวม 8.117 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 68.782 พันล้านบาท นอกจากไทยผลิตมันสำปะหลังได้เองแล้ว ยังนำเข้ามันสำปะหลังส่วนหนึ่งจากประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 2.530 ล้านตัน มูลค่า 11.375 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2559 เล็กน้อย