ความร่วมมือเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น

ผ่านการสร้างความรู้และความเข้าใจ (Education) โดยอาศัยทั้ง ความร่วมมือกับภาครัฐ กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกลุ่มประมงพื้นบ้าน ดำเนินโครงการบ้านปลา เปลี่ยนท่อ PE100 ที่เหลือจากกระบวนการทดสอบขึ้นรูป และขยะพลาสติกให้เป็นบ้านปลา ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกแล้ว ยังช่วยเพิ่มปริมาณและความหลากหลายของสัตว์ทะเลชายฝั่ง ช่วยสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กลุ่มประมงพื้นบ้าน และ ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการแยกขยะและการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

ในชุมชนบ้านรางพลับ และอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ชุมชนตำบลบ้านสา และตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ภายใต้ความร่วมมือกับภาครัฐ คือ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุมชนโขดหิน 2 และชุมชนเขาไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โรงเรียนและชุมชนมดตะนอย ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และโรงเรียนและชุมชนรอบบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

ความร่วมมือเพื่อบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม โดยร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ดำเนินโครงการโรงกำจัดกากอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น และแอช เมลติ้ง ที่ทันสมัยสุดจากประเทศญี่ปุ่น เป็นแห่งแรกในอาเซียน ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อกำจัดมลพิษจากวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรม ทำให้ไม่มีวัสดุเหลือที่ในระบบที่ต้องกำจัดเพิ่ม และสามารถนำวัสดุที่เป็นผลพลอยได้จากการกำจัดกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างคุ้มค่า

ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เอสซีจีได้หยิบยกประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาของสังคม พร้อมตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลก มานำเสนอผ่านการจัดงานสัมมนา “SD symposium” เพื่อนำไปสู่การระดมความคิดและร่วมหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นกลไกหนึ่งในการสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและขยายแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกระดับ รวมไปถึงการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในปีที่ผ่านมาและนับจากนี้ไป ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันประเทศไทยและอาเซียนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals : SDGs) ได้อย่างแท้จริง” นายรุ่งโรจน์ กล่าวสรุป

ทั้งนี้ การจัดงานสัมมนาทางวิชาการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้หัวข้อ “SD Symposium 10 Years : Circular Economy – Collaboration for Action” ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ในประเทศไทย และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมรับฟังข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการขยะต่อภาครัฐ รวมทั้งผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ (UN)

ผู้แทนจากสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) และผู้แทนจากองค์กรชั้นนำต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ที่มาร่วมนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาถอดบทเรียนความสำเร็จจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 1,500 คน ทั้งจากภาครัฐ และเอกชน ทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ นักวิชาการ เอ็นจีโอ และสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ

ผู้ประกอบการกว่า 1,000 ราย ตบเท้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานสินค้า อย่างคับคั่ง เผยเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เตรียมส่งต่อการรับรองมาตรฐาน อย.

นายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการฝ่ายประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานข้อมูลและสถานการณ์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยว่า จากกรณีปัญหาสินค้าที่ไม่มีคุณภาพและมาตรฐาน ที่ส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในปัจจุบัน อาทิ การตรวจพบเครื่องสำอางปลอมเป็นจำนวนมากตามท้องตลาด รวมถึงการตรวจพบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายทั้งในอาหารและเครื่องดื่ม

ดังนั้น สสว. จึงร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และบริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด (เซ็นทรัลแล็บไทย) จัดทำโครงการยกระดับมาตรฐานสินค้า ปีงบประมาณ 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการให้ผลิตสินค้าให้ได้ตามมาตรฐาน อย. ถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้สินค้าที่ผลิตเป็นที่ยอมรับ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค อันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานสินค้าของผู้ประกอบการให้มีศักยภาพ สามารถแข่งขันในตลาดระดับสากลได้อย่างยั่งยืน

โดยการดำเนินโครงการในปีนี้ มีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก โดยกิจกรรมจัดอบรมพบว่า ผู้ประกอบการในกลุ่มเครื่องสำอางให้ความสนใจเข้ารับการอบรมด้านมาตรฐานสินค้า เกินกว่าร้อยละ 80 จากผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้นกว่า 1,000 ราย แสดงให้เห็นถึงการตื่นตัว และความใส่ใจที่จะนำความรู้ที่ได้ ไปต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานตามที่ อย.กำหนด

นอกจากนี้ สสว.ยังสนับสนุนคูปองตรวจวิเคราะห์ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อนำสินค้าเข้ารับการตรวจหาสารปนเปื้อน ในห้องปฏิบัติการของ เซ็นทรัลแล็บไทย โดยผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ของสินค้าของผู้ประกอบการอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และพร้อมที่จะผลักดันต่อยอดให้ได้มาตรฐาน อย. ต่อไป

ทั้งนี้ กิจกรรมสุดท้าย เป็นกิจกรรมให้คำปรึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการตรวจประเมินสถานที่ผลิต ถือเป็นด่านแรกของผู้ประกอบการที่จะขอยื่นรับรองมาตรฐานจาก อย. ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการชี้แนะในการปรับปรุงสถานที่ผลิตให้ได้มาตรฐาน GMP อีกทั้งยังพบว่าจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ราย มีผู้ประกอบการจำนวนกว่า 10 ราย มีแนวโน้มผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP จาก อย. ภายในปีนี้

สสว. จะได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ อาทิ อุปสรรคปัญหา ความต้องการ และคำแนะนำของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานสินค้า ปีงบประมาณ 2562 ในทุกกิจกรรม เพื่อนำมาพัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจและกระบวนการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องสำอาง และอาหาร ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน พร้อมกับเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้ดำเนินการจดแจ้งมาตรฐาน อย. เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและเป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการจำหน่ายสินค้าในตลาดที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

นายอารยะ โรจนวณิชชการ ที่ปรึกษา บริษัท ฟลูฟิลเลอร์ จำกัด และคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในปีนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข เน้นเรื่องการส่งเสริมผู้ประกอบการให้รับมาตรฐานและเรื่องขอจดแจ้ง อย. ได้อย่างรวดเร็วโครงการนี้ ถือเป็นการช่วยควบคุม กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบที่เข้าร่วมโครงการให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีประสิทธิผล และเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการพัฒนาตนเองจนได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. อีกทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการดูแลตนเอง เพื่อการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยอย่างถูกต้อง และเหมาะสม รวมถึงช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพแข่งขันได้ในระดับสากล และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ

พันโท นราวิทย์ เปาอินทร์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย กล่าวว่า โครงการยกระดับมาตรฐานสินค้าในครั้งนี้ เซ็นทรัลแล็บไทย มีส่วนร่วมในการรับตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อน หรือตรวจสารพิษตกค้าง (Toxic) หรือตรวจผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นๆ โดยห้องปฏิบัติการมาตรฐานสากล

จากโครงการดังกล่าวมีผู้เข้ารับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ จำนวน 1,000 ราย ทั้งสินค้าในกลุ่มอาหาร และเครื่องสำอาง โดยเซ็นทรัลแล็บไทย ได้ออกใบรายงานผลตรวจวิเคราะห์ให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการตรวจตามมาตรฐานทุกราย เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการนำผลการตรวจครั้งนี้ไปใช้พัฒนา สินค้า และผลิตภัณฑ์ของตนเองต่อไปในอนาคต พร้อมกันนี้ยังให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย ส่งผลให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้ เซ็นทรัลแล็บไทย ได้ขยายความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐภาคเอกชน การบริการที่รวดเร็ว เช่น เพิ่มจัดรับ-ส่งตัว ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ร่วมกับไปรษณีย์ไทยในการขนส่ง และการท่าอากาศยานฯ (AOT) เพื่อบริการที่ครอบคลุม ส่งเสริมศักยภาพสินค้าไทย ให้ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

จำปาดะ เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับ ขนุน หรือสาเก ภาษาอังกฤษก็ใช้คำนี้ Champedak ไม่รู้ใครลอกใคร แต่มาเลเซียเรียกอีกชื่อหนึ่ง ภาษาใต้ เรียกว่า จำดะ นิยมปลูกมากในภาคใต้ ออกผลปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมตอนต้นฤดูฝนของทุกปี ในช่วงหน้าอื่นมีผลบ้างแต่ไม่มากนัก

จำปาดะ “ทองตาปาน” เป็นจำปาดะพื้นถิ่นของ ต.เหมาะ อ.กะปง จ.พังงา ถือเป็นจำปาดะ เบอร์ 1 ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งในภาคใต้ และภาคกลาง ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรครอบครัวละนับแสนต่อปี เนื่องจากมีผลใหญ่สีทอง เนื้อหนาสีเหลืองทอง รสชาติหอมหวาน กลิ่มหอมละมุน จึงได้รับความนิยมรับประทานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นจำปาดะอันดับต้นๆ ของประเทศ

นายจรัญ หนูนุ้ย เกษตรกรชาว ม.1 ต.เหมาะ อ.กะปง จ.พังงา เปิดเผยว่า ที่มาของจำปาดะพันธุ์ทองตาปาน มาจากเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว พี่ชายได้ซื้อสวนมาจากญาติ ซึ่งภายในสวนนั้น มีจำปาดะต้นหนึ่งมีลักษณะที่โดดเด่น ไม่เหมือนกับจำปาดะพื้นบ้านทั่วไป จึงได้นำมาขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด และได้นำมาปลูกในสวนของตนเองเองประมาณ 200 ต้น ในพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ เมื่อผลผลิตออกมามีผลและเนื้อในเป็นสีเหลืองทอง จึงตั้งชื่อกันว่า “ทองตาปาน” ซึ่ง “ตาปาน” เป็นชื่อเล่นของพี่ชาย

จุดเด่นของจำปาดะทองตาปาน มีกลิ่นหอมชวนกินไม่เหมือนจำปาดะทั่วไปที่หอมฉุน ผลและเนื้อสีทอง เนื้อหนา รสชาติหวานจัด ผมหรือซังก็หวานกินได้ สำหรับคนไม่เคยกินหรือไม่ชอบกินจำปาดะนั้น ต้องมาลองกินให้ได้ เพราะเมื่อได้ลองแล้วส่วนใหญ่ก็กลับมาติดใจ

ปัจจุบันมีพ่อค้าขาประจำหลายรายมาซื้อไปจำหน่ายทั้งในภาคใต้และกทม. ในช่วงต้นฤดูกาลสามารถขายส่งได้กิโลกรัมละ 50 บาท ช่วงนี้ผลผลิตออกมาเยอะเหลือกิโลกรัมละ 30 บาท ซึ่งแต่ละปีสามารถทำรายได้กว่า 400,000 บาท

จำปาดะ เป็นผลไม้ที่ปลูกง่ายมากในภาคใต้ เนื่องจากชอบความชื้นและฝนตกชุก ยิ่งปลูกแซมในป่าผลไม้ด้วยกันยิ่งทำให้ปลูกง่ายไปใหญ่ เพราะได้อาศัยร่มเงาต้นอื่นตอนต้นยังเล็ก

ขั้นต้น เพียงขุดหลุมกว้าง ยาว ลึก 30 เซนติเมตร ก็เพียงพอ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ให้มีขนาดห่างประมาณ 6 เมตร คูณ 6 เมตร ใช้ต้นพันธุ์ที่สูงประมาณ 80 เซนติเมตร จะรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือไม่ก็ได้ กลบให้แน่น ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ เพราะจังหวัดพังงาในฤดูฝน ฝนจะตกชุกและไม่ขาดช่วง แต่ในจังหวัดภาคอื่นต้องดูน้ำให้หน่อย ให้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 1 กระป๋องนม หว่านห่างรอบโคน เพิ่มจำนวนมากขึ้นเมื่อต้นโต ใช้เวลาประมาณ 6-7 ปี จำปาดะก็เริ่มให้ผลผลิต ในสวนไม่ได้ใช้ปุ๋ยคอกเนื่องจากหาค่อนข้างยาก ปัจจุบัน ต้นมีอายุ 20 ปี ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 เมื่อจำปาดะออกลูกขนาดหัวแม่มือ ประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อต้น โดยหว่านรอบๆ โคน

จนผลมีขนาดเท่ากระบอกไฟฉายใหญ่ จะต้องขึ้นต้นตัดแต่งผล เอาผลที่มีความสมบูรณ์ไว้ และกิ่งไหนผลมีมากก็ให้ตัดออกบ้าง เพื่อให้มีขนาดใหญ่สมบูรณ์ และถือโอกาสตัดแต่งกิ่งที่แห้งหรือแกะกะออก เพื่อต้องการให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องถึง ไม่ให้อับลม ต้นจะไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน ส่วนกิ่งที่ถูกลมพัดฉีกขาดก็ต้องแต่งออก เพราะจะเป็นเชื้อราที่รอยแผล กิ่งที่มีผลดกจะต้องช่วยภาระเรื่องน้ำหนัก ด้วยการโยงกิ่งด้วยสายไฟฟ้ากับกิ่งอื่น

ศัตรูของผลคือ แมลงวันทอง ที่จะเจาะผลเพื่อวางไข่ ทำให้ผลผลิตเสียหายจึงต้องห่อผล ในอดีตใช้วิธีการสานใบมะพร้าวเป็นตะกร้อเพื่อห่อผล แปลกที่ว่าตะกร้อที่สานเพื่อห่อก็มีช่องว่างอยู่ เพราะเป็นลักษณะตาข่าย ไม่ได้ทึบทั้งหมด แต่ก็สามารถกันแมลงวันทองได้ แต่ในปัจจุบันได้ทดลองใช้ถุงพลาสติกสีขาวห่อ คุณสักกรินทร์ บอกว่า ผลจะออกสีเหลืองเขียวไม่ค่อยสวย คงเป็นเพราะไม่ทึบแสง จึงได้เปลี่ยนมาเป็นถุงพลาสติกสีดำห่อ ปรากฏว่าสีผลเมื่อสุกเต็มที่เหมือนกับที่ห่อด้วยใบมะพร้าว เนื่องจากทึบแสง แต่การห่อด้วยวัสดุใดๆ ก็ไม่มีผลต่อรสชาติของจำปาดะ

นายกิติศักดิ์ ลิ้มอำไพ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลเพ็ทฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสุนัขและแมว แบรนด์ “เจอร์ไฮ” “เค-ซี” และ “จินนี่” ในกลุ่ม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทได้รับรางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น ประจำปี 2562 (Prime Minister’s Export Award 2019) ประเภทผู้ประกอบธุรกิจส่งออกยอดเยี่ยม (Best Exporter) สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าไทยในตลาดโลก ด้วยการนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์คุณภาพดี ปลอดภัย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ตอกย้ำความสำเร็จของผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงที่คว้ารางวัลระดับประเทศเป็นปีที่ 3

“นับเป็นความภาคภูมิใจ ที่แบรนด์สินค้าอาหารสุนัขและแมวของไทย ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากรัฐบาล เป็นปีที่ 3 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุนัขและแมวของไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก” นายกิติศักดิ์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ ในปี 2557 บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลเพ็ทฟู้ด จำกัด นำโดย แบรนด์เจอร์ไฮ ได้รับรางวัล Prime Minister’s Export Award 2014 ประเภทแบรนด์ไทยยอดเยี่ยม (Best Thai Brand) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้ส่งออกไทยภายใต้ตราสินค้าตนเอง และในปี 2560 ได้รับรางวัล Prime Minister’s Export Award 2017 ด้านสินค้านวัตกรรมที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม (Best Green Innovation Award) เป็นผลจากการพัฒนากระบวนการผลิตหรือการค้นหาวัสดุใหม่ๆ เพื่อลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตที่ส่งผลให้เป็นสินค้าอาหารสุนัขและแมวที่มีนวัตกรรมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ แบรนด์ “เจอร์ไฮ” ยังได้รับคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลในเวทีระดับโลก World Branding Awards 2017-2018 รางวัลแบรนด์ระดับโลก จากเวิลด์ แบรนดิ้ง ฟอรั่ม (World Branding Forum) ในประเภทธุรกิจผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยง สาขาขนมสุนัข ณ Hofburg Palace กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย นับเป็นแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงรายแรกและรายเดียวของประเทศไทยที่สามารถคว้ารางวัลแบรนด์ระดับโลกนี้ได้

ผลิตภัณฑ์อาหารสุนัขแบรนด์ เจอร์ไฮ มีมาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ 36% ในกลุ่ม Dog Treats หรือขนมน้องสุนัขที่ได้รับความเชื่อมั่นจากคนรักสุนัขอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ครองแชมป์เบอร์ 1 ของตลาดขนมสุนัขในประเทศไทย และส่งออกไปจำหน่ายถึง 18 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศออสเตรเลียและอินเดีย มีวางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ อาทิ Walmart ในแคนาดา สหรัฐอเมริกา Wool-Worth และ Coles ในประเทศออสเตรเลีย K-Mart ในเกาหลีใต้ และ Park’N Shop ในฮ่องกง

26 สิงหาคม 2562: กรุงเทพฯ – นายกฯ เห็นด้วยกับข้อเสนอแก้ปัญหาขยะ หลังทุกภาคส่วนร่วมเสนอ 4 แผนจัดการปัญหาวิกฤตขยะในงาน “SD Symposium 2019” ได้แก่ การยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานรองรับการบริหารจัดการขยะ–ผลักดันภาคธุรกิจผลิตสินค้าที่เอื้อต่อการรีไซเคิลและรับผิดชอบซากสินค้า–สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน–บังคับใช้กฎหมาย บทลงโทษอย่างจริงจัง นายกฯ เผย ขยะทะเลถือเป็นปัญหาร่วมกัน พร้อมยืนยันเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐ และเป็นหน้าที่ของทุกคน

นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่า “ปัญหาขยะทะเลที่เกิดขึ้นในไทย เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับคนทั้งโลก เพราะเราใช้แผ่นดินเดียวกัน ทะเลเดียวกัน อากาศเดียวกัน ปัญหาขยะจึงเป็นสิ่งที่ต้องช่วยกัน สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาให้เกิดความสมดุล ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลทำมาตลอด 5 ปี และจะทำต่อเนื่อง และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนก็เป็นคำตอบหนึ่งของการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน รัฐบาลจึงได้บรรจุเป็นหนึ่งในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ว่าการพัฒนาประเทศต่อจากนี้จะเน้นความยั่งยืนและดูแลสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นหลัง นอกจากนี้ ยังกำหนดการไว้ในนโยบายรัฐบาล ทั้งการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาระบบนิเวศเพื่อรองรับเศรษฐกิจยุคใหม่ และการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

และด้วยการบริหารจัดการขยะและของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งสิ่งสำคัญคือการบริหารจัดการของเสียด้วยกระบวนการที่ถูกต้อง ตั้งแต่การแยกขยะให้ถูกประเภท การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ รวมถึงการกำจัดให้เหมาะสม ที่ผ่านมาภาครัฐจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อผลักดันการดำเนินการบริหารจัดการขยะ เช่น การจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) การจัดทำ (ร่าง) โรดแมปการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ พ.ศ. 2561-2579 ซึ่งทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เห็นผลจริงภายใต้การบูรณาการของทุกภาคส่วนต่อไป

“วันนี้ผมยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นความพยายามของทุกภาคส่วนร่วมระดมสมองแก้ไขปัญหา โดยภาครัฐจะทำหน้าที่หลักในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และเอื้อต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจ ควบคู่การการส่งเสริมพฤติกรรมผู้บริโภค ส่วนภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการผลิตรวมทั้งการพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ผสม ผสานนวัตกรรม และภาคประชาชนต้องปรับพฤติกรรม สร้างขยะให้น้อยลง และคัดแยกขยะ ส่วนการเก็บขยะ ไม่เทรวม ไม่ทิ้งรวม ต้องแยก ก็ได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยไปแก้ปัญหาตรงนี้”

ด้าน ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล รองประธานกรรมการบริษัท เอสซีจี กล่าวว่า “วันนี้ขยะเกี่ยวข้องกับทุกมิติของชีวิตเรา เพราะหากไม่มีชีวิตเกิดขึ้น ปัญหาขยะก็คงไม่มี และสิ่งเหล่านี้กำลังเป็นวิกฤตของประเทศ เห็นได้จากจำนวนขยะปี 2561 ที่มีกว่า 28 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 2 จากปี 2560 ทำให้เกิดทั้งปัญหาขยะล้นเมืองที่ขาดการจัดการอย่างเหมาะสม ขยะอุดตัน ขยะในแม่น้ำลำคลองที่ไหลออกสู่ทะเล อีกทั้งสถานที่กำจัดขยะที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมก็มีไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งคนและสัตว์ รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศมากกว่า ร้อยละ 20 จึงนับเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมแก้ไขปัญหา โดยต้องมีระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและรองรับจำนวนคนทั้งหมดอย่างเพียงพอด้วย

ในงาน “SD Symposium 10 Years: Collaboration for Action” วันนี้ ทุกภาคส่วนกว่า 1,500 คน ทั้งผู้ที่ก่อให้เกิดขยะ ผู้จัดเก็บขยะ ผู้คัดแยกขยะ และผู้รีไซเคิล จึงได้ร่วมกันระดมสมองหาแนวทางการจัดการปัญหาขยะ และได้สรุปเป็นแนวทางนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีฯ 4 ข้อ เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นจริง ได้แก่

ยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานรองรับการบริหารจัดการขยะ โดยหน่วยงานภาครัฐควรมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่ประสิทธิภาพ ด้วยการยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐาน และจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้การบริหารจัดการขยะแบบคัดแยกที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร ดังเช่นประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่การจัดเก็บ คัดแยก และนำกลับไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยเฉพาะขยะตามแหล่งชุมชนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ทั้งแม่น้ำลำคลองและชายทะเล ซึ่งเป็นแหล่งที่ขยะถูกทิ้งลงน้ำ ภาครัฐต้องดูแลจัดให้มีถังขยะเปียกและถังขยะแห้งอย่างเพียงพอ และเพิ่มการให้บริการจัดเก็บขยะให้เพียงพอ ลดการฝังกลบ โดยวิธีการต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างเหมาะสม

ผลักดันให้ภาคธุรกิจผลิตสินค้าที่เอื้อต่อการรีไซเคิล และมีส่วนรับผิดชอบจัดการซากสินค้าเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน โดยกำหนดมาตรฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงขยะที่จะเกิดขึ้นหลังการใช้งานว่าให้สามารถนำมาหมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าได้ และสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมให้มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลในปริมาณที่เหมาะสม ด้วยการกำหนดเป็นนโยบายการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานดังกล่าวของส่วนราชการและภาครัฐ

รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ประชาชนลดการสร้างขยะและเพิ่มการรีไซเคิล โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เริ่มจากครอบครัวต้องปลูกฝังลูกหลาน โรงเรียนต้องบรรจุแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหลักสูตรภาคบังคับในทุกระดับชั้น ส่วนภาครัฐ ภาคธุรกิจ และสื่อมวลชน ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า การคัดแยกขยะเปียกและขยะที่รีไซเคิลได้ และการไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง

การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษที่มีอยู่อย่างจริงจัง โดยส่งเสริมการจัดการขยะเปียกในครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพ การกำหนดวันจัดเก็บขยะตามประเภท การห้ามทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ การดูแลบ่อทิ้งขยะใกล้แหล่งน้ำเพื่อป้องกันขยะรั่วไหลสู่ทะเล อีกทั้งยังต้องมีการบังคับใช้กฎหมายมาตรฐานฉลากผลิตภัณฑ์ให้ผู้ผลิตต้องแจ้งข้อมูลวิธีการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์หลังใช้งานตามประเภทของวัสดุ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน และภาครัฐต้องบังคับใช้ กฎหมายห้ามทิ้ขยะลงแหล่งน้ำอย่างเคร่งครัด จับจริง ลงโทษจริง

หากข้อเสนอเหล่านี้ได้รับการพิจารณาและดำเนินการต่อไป เชื่อมั่นว่าวิกฤตขยะจะลดน้อยลง ลูกหลานของเราจะมีโลกจะน่าอยู่ขึ้น เพราะเราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นร่วมกัน”

นายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า “ท้ายที่สุด การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้การดำเนินงานร่วมกันของทุกภาคส่วน จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยพึ่งพาทรัพยากรน้อยลง เพื่อชีวิตและสังคมที่ดีของทุกคน โดยไม่ทิ้งภาระไว้ให้ลูกหลานของเรา และผมในฐานะผู้นำภาครัฐ จะนำสิ่งที่ทุกท่านได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดในวันนี้ ไปส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้ ตลอดจนสื่อสารให้ประชาชนได้รับรู้ เพื่อร่วมกันผลักดันสู่การลงมือปฏิบัติจริงให้ได้ต่อไป”

การเกษตรแม่นยำสูง เป็นลักษณะการทำเกษตรรูปแบบใหม่ที่แพร่หลายในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น แต่ในเมืองไทยยังมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องนี้ในวงจำกัด ผู้เขียนเห็นว่าหากมีการเผยแพร่ข้อมูลและนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกร ทำให้เกิดการผสมผสานองค์ความรู้ของเกษตรกรไทยเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและราคาไม่แพง เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกษตรกรรม จากเดิมที่เคยต้องเหนื่อยยากอาบเหงื่อต่างน้ำ ผลผลิตไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ เป็นการทำเกษตรกรรมแบบรู้เขารู้เรา เปิดโอกาสให้เกษตรกรประสบความสำเร็จมากขึ้น สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ มีสุขภาพแข็งแรง ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด