ความสามารถในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้มีระบบการสร้าง

คือเกษตรกรในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงประมาณ 100 คน ในเรื่องด้านการเกษตร และเครือข่ายครูบัญชี จำนวน 5 คน มีการสร้างเครือข่ายกับองค์กรภาครัฐ โดยหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอโนนสัง สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู สถานีพัฒนาที่ดินหนองบัวลำภู สำนักงานประมงจังหวัด สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัด เป็นต้น ในการเป็นตัวแทนของหน่วยงานราชการ ในการติดต่อประสานงาน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ข้อมูล ความรู้ต่างๆ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่และผู้สนใจ

มีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน/นอกชุมชน โดยพยายามให้คนในชุมชนหรือผู้ที่สนใจในการทำการเกษตรเห็นความสำคัญและนำความรู้ที่ได้เผยแพร่นำไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ

4. มีการผสมผสาน/บูรณาการเครือข่ายองค์ความรู้ เช่น โดยการติดต่อประสานงานของมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ที่ได้เป็นตัวกลางนำผู้สนใจในการทำการเกษตรแบบพอเพียงเข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง

5. มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ผ่านสื่อ เช่น หอกระจายข่าว เวทีการประชุมต่างๆ

การอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีการปรับปรุงบำรุงดิน โดยการทำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก ใช้ในแปลงนา ไม้ผล พืชผัก
การป้องกันและรักษาหน้าดิน มีการปลูกหญ้าแฝก ขวางแนวลาดชันป้องกันการพังทลายของดิน
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีการใช้สารสกัดจากสมุนไพรที่ผลิตขึ้นเองนำมาใช้ในพื้นที่การเกษตรเพื่อกำจัดและขับไล่แมลง และป้องกันกำจัดศัตรูพืช

คุณวีรสุทธิ์ โฮสูงเนิน เกษตรอำเภอโนนสัง กล่าวว่า แปลงเกษตรแบบพอเพียงแปลงนี้ มีฐานเรียนรู้หลายอย่าง และมีพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างดี มีกิจกรรมการเกษตรหลายอย่าง เหมาะในการเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรสำหรับเกษตรกรที่สนใจมาศึกษา เรียนรู้ ได้เป็นอย่างดี

ผมเคยถามมนุษย์เงินเดือนว่า สิ่งปรารถนาที่สุดในชีวิตคืออะไร หลายคนตอบว่า อยากกลับไปอยู่บ้านเกิด ใช้ชีวิตอยู่ในสวน ใช้ชีวิตในเวลานี้หรือบั้นปลายให้มีความสุข สงบ สโลว์ไลฟ์ ตามใจปรารถนา อยากทำงานก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ทำ ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร เป็นลูกจ้างตัวเอง พอถามความพร้อม ที่ดินมีไหม เงินทุนสำรองมีไหม รายได้อื่นมีไหม ไม่มีสักอย่าง ถามว่าค่าใช้จ่ายประจำมีไหม บอกมี แววอดตายก็ปรากฏให้เห็น

ความมุ่งหวังเป็นเรื่องที่มีความสุข ทำให้ชีวิตดำเนินไปข้างหน้า แต่ต้องดูความพร้อมด้วย เหมือนตอนเด็กๆ เราอยากเรียนหมอ แต่เราไม่ได้เรียนเก่ง แล้วยังไม่ได้พยายาม แต่มีความหวังลมๆ แล้งๆ ไปเรื่อยเปื่อย สู้เอาความคิดมาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เราทำได้ดีกว่า ถ้าสิ่งไหนที่เรามุ่งมั่นและมีความชอบสิ่งนั้นทำเป็นอาชีพที่ทำให้เราเลี้ยงตัวได้

การทำเกษตรไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เลย แต่การลาออกแล้วมาทำเกษตรสำหรับคนไม่พร้อม ตายลูกเดียว แต่มีวิธีหนึ่งที่จะทำความฝันให้เป็นจริง คือการทำควบคู่กันไป ผมมาเจอคนคนหนึ่งซึ่งผมว่าใช่เลย คุณวิชัย สายวารี จบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เมื่อปี 2550 ได้ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพอาหาร บริการจัดการระบบคุณภาพและบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการโรงงาน ซึ่งมีความชอบทางด้านการเกษตรและ ได้ลงมือทำควบคู่กับงานประจำจนประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง

ด้วยแรงบันดาลใจจากแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้อ่านจากหนังสือและในยูทูป นำมาปรับใช้ในการทำการเกษตร โดยคุณวิชัยก็มีพื้นฐานที่มีครอบครัวทำการเกษตรที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งปลูกปาล์มน้ำมันและสวนยาง คิดว่าทำอย่างไรเพื่อให้มีผักกินโดยไม่ต้องซื้อและเป็นผักปลอดภัย จากคำนิยามว่า “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” นำมาเป็นหลักคิดในการทำการเกษตรตอนแรกเริ่ม

แนวคิดที่ทำการเกษตรบนพื้นที่ข้างบ้าน ในหมู่บ้านจัดสรรที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตนี้คือ
อย่างแรก มีผักปลอดภัยที่ไม่ใช้สารเคมีทั้งหมดบริโภคภายในบ้าน เนื่องจากผักส่วนใหญ่ที่ซื้อในตลาดเป็นผักที่ใช้สารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

อย่างที่สอง คือลดรายจ่ายในการซื้อวัตถุดิบมาปรุงอาหาร เนื่องจากในจังหวัดภูเก็ตค่าครองชีพสูงกว่ากรุงเทพฯ เสียอีก ประการสุดท้าย ผลผลิตส่วนหนึ่งจะมากเกินการแจกจ่ายก็จะนำมาจำหน่ายเพิ่มรายได้ ถึงแม้จะไม่มากนัก

ปลูกผักสามชั้น
จากบ้านทาวน์เฮ้าส์สองชั้นหลังริม บนพื้นที่ 31 ตารางวา มีพื้นที่ข้างบ้านเหลือประมาณ 40 ตารางเมตร เริ่มจากทดลองปลูกของที่กินอยู่ในชีวิตประจำวันก่อน เช่น พริก ข่า ตะไคร้ โหระพา กะเพรา สะระแหน่ แมงลัก ซึ่งได้ผลผลิตเพียงพอที่จะนำมากินในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่จะเหลือแจกจ่ายเพื่อนบ้านด้วยซ้ำ เมื่อเห็นว่าประสบผลสำเร็จ จึงปลูกเตย มะเขือยาว ขิง ผักหวานบ้าน กวางตุ้ง ปูเล่ ผักกูด และผักสลัด ซึ่งทั้งหมดเป็นพืชชั้นแรก

ต่อมาก็เริ่มปลูกพืชชั้นที่สอง ได้แก่ มะขาม (ตัดเตี้ย ต้องการเพียงยอด) ชะอม มันปู ตะลิงปลิง หม่อน มะละกอ แค และมะกอกฝรั่ง

ส่วนพืชชั้นที่สาม จะเป็น กล้วย ชะมวง เสาวรส มะม่วง เมื่อมีความเชี่ยวชาญขึ้นก็เริ่มปลูกในถุงโดยเฉพาะผักเลื้อย เช่น แตงกวา บวบ ถั่วพู ตำลึง โดยตั้งไว้ด้านนอกรั้วแล้วให้เลื้อยเกาะรั้วไว้ นอกจากพืชสำหรับกินแล้ว ยังปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เช่น สับปะรดสี กล้วยไม้สกุลแคทลียาและสกุลหวายอีกด้วย

ปุ๋ย และจุลินทรีย์เสริม
ในการปลูกผักอินทรีย์ ปุ๋ยและจุลินทรีย์เสริมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากการไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ทำให้ผักไม่มีธาตุอาหารที่เพียงพอ บ้านพอเพียงภูเก็ต จึงใช้
1. ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่เหลือ
2. น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย
3. ปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้ง (ขอจากคนสวนในหมู่บ้าน)
4. ปุ๋ยไส้เดือน จากการเลี้ยงไส้เดือนด้วยเศษผัก
5. น้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
6. น้ำหมักจากเศษปลาและสับปะรด

วิธีทำน้ำหมักจากเศษปลาและเปลือกสับปะรด เนื่องจากโรงงานที่คุณวิชัยทำอยู่มีเศษปลาเหลือจำนวนมาก จึงหาวิธีที่จะใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ สูตรนี้จะใช้เศษปลาย่าง ซึ่งคุณสมบัติจะด้อยกว่าปลาสด แต่เนื่องจากวัสดุไม่ได้ซื้อหาจึงนำมาใช้ และเศษเปลือกสับปะรดก็ได้จากพ่อค้าขายผลไม้ตัดแต่งหน้าโรงงาน

ตามสูตร ใช้เศษปลา (ปลาสดก็ได้) 3 ส่วน เศษเปลือกสับปะรด 3 ส่วน กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย 1 ส่วน หมักให้เข้ากัน เติมน้ำไปเล็กน้อย หมักไว้ในร่มไม่ให้โดนแดด ปิดฝาอย่าให้สนิทมาก คนสัปดาห์ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จะมีกลิ่นหอมสามารถนำมาใช้ได้ อัตราส่วนการใช้ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ในน้ำหมักจะมีธาตุอาหารคือ ไนโตรเจน และโพแทสเซียม ส่งผลต่อการเจิรญเติบโตและผลิดอกออกผล

สูตรน้ำยาเร่งรากชั้นดี
ดังจะเห็นในภาพที่มีการตอนใส่ถุง แล้วมีรากเกิดจำนวนมาก ต้นที่ตอนในภาพเป็นต้นมันปู ผมจึงขอเอาสูตรมาฝาก ใช้กะปิ 1 ช้อนแกง เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ฝา ละลายกับน้ำ 5 ช้อนแกง ผสมให้เข้ากัน สามารถนำไปใช้ได้เลยไม่ต้องหมัก โดยใช้ทากิ่งตอนที่ควั่นเปลือกออกแล้วทาและพักให้แห้งประมาณ 10 นาที แล้วนำส่วนที่เหลือมาหมักกับขุยมะพร้าวแห้งประมาณครึ่งกิโลกรัม ผสมกับมูลไส้เดือนครึ่งกิโลกรัมเช่นกัน ผสมรวมกันเติมน้ำให้ชื้น นำมาใส่ถุงพลาสติกสำหรับตอนได้เลย ไม่ต้องหมักทิ้งไว้ ใช้เวลาประมาณ 16 วัน สำหรับต้นมันปู สำหรับต้นชนิดอื่นจะมากน้อยสุดแล้วแต่ชนิดของต้น

ส่วนผักใบ จะใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วยและจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ผสมน้ำ ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง ส่วนปุ๋ย มูลไส้เดือนที่เลี้ยงไว้จะปาดหน้าเอาออกเดือนละครั้ง มาใส่ต้นไม้เดือนละครั้ง พร้อมปุ๋ยหมักอื่นๆ ส่วนปุ๋ยหมักเศษปลากับสับปะรดจะใช้ผสมในฝักบัวรดเลย การเติมปุ๋ยอื่นๆ ก็ดูตามอัธยาศัย โดยทำในเวลาว่างช่วงเช้าหรือเย็น

นอกจากการปลูกผักในกระถาง บนแปลง ในถุงแล้ว ที่บ้านพอเพียงภูเก็ต ยังเพาะต้นอ่อนทานตะวันอีกด้วย โดยใช้น้ำจุลินทรีย์หน่อกล้วยรด ส่วนมูลไส้เดือนไม่แนะนำให้ผสมลงในเครื่องปลูก เพราะจะเป็นเชื้อได้ง่าย และเมื่อตัดทานตะวันงอกแล้ว ส่วนรากก็จะนำมาเป็นอาหารไส้เดือน ปลาดุกก็เลี้ยงในบ่อขนาดเล็ก และจะถ่ายน้ำทุก 3 วัน โดยจะตักน้ำออก 2 ส่วน เหลือน้ำไว้ 1 ส่วน เติมน้ำใส่สองส่วน หอยขมเอามาเลี้ยงในถังพลาสติกตัดครึ่ง หอยขมชอบน้ำนิ่ง ใส่ใบไม้ร่วงและให้อาหารปลาดุก แล้วต้องเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อกินลูกยุง

การตลาด ทำใกล้ตัว
สืบเนื่องจากการมีหน้าที่การงานประจำ จะมีเวลาว่างน้อย คุณวิชัย จะมีเวลาดูแลสวนในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน และช่วงเย็นหลังเลิกงาน ส่วนวันหยุดจะใช้เวลาในช่วงเช้า ช่วงบ่ายก็จะออกไปเปลี่ยนบรรยากาศนอกบ้าน ส่วนเพจจะมีเวลาได้ดูตอนรับประทานข้าวเที่ยงด้วย ลูกค้าจะอยู่ในกลุ่มออนไลน์คือสมาชิกในหมู่บ้านเดียวกันและพนักงานในโรงงาน เมื่อมีผลผลิตผักก็จะโพสต์ไว้ในเพจ สมาชิกสามารถสั่งจองได้ สมาชิกส่วนใหญ่จะสั่งจองล่วงหน้า ส่วนสินค้าคุณวิชัยจะมีการตัดส่ง ในหมู่บ้านสามารถส่งตอนเช้าก่อนไปทำงาน ส่วนพนักงานที่สั่งออเดอร์จะนำไปส่งที่ทำงานเลย ส่วนที่สั่งต้นพันธุ์จะส่งทางเคอรี่

สนใจเรื่องผักสามารถติดต่อ คุณวิชัย สายวารี หมู่บ้านเจ้าฟ้าการ์เด้นโฮม 7 พรีเมียปาร์ค ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โทรศัพท์ 087-802-4090 ติดต่อในช่วงก่อนหรือหลังเลิกงาน หรือที่ เพจ บ้านพอเพียงภูเก็ต

หลังเรียนจบปริญญาตรีด้านนิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในปี 2542 คุณชลรัตดา จันนา หรือ คุณนก ก็เข้าทำงานในบริษัทเอกชน ในแผนกบรรจุภัณฑ์ หรือแพ็กเกจจิ้ง แต่หลังจากทำงานได้เพียง 2 ปี ก็ค้นพบว่าตนเองไม่ชอบทำงานที่ต้องตอกบัตรเข้างาน และทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ ไม่ค่อยได้พบปะพูดคุยกับใคร จึงตัดสินใจลาออกกลับมาอยู่กับพ่อแม่ที่ตั้งรกรากทำมาหากินที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยพ่อแม่ของคุณนกเปิดร้านขายของชำอยู่แล้ว เมื่อคุณนกลาออกจากงานพร้อมเงินเก็บที่มี 50,000 บาท มาเปิดร้านอาหารตามสั่งภายในพื้นที่เดียวกันกับบ้านที่เปิดขายของชำ ซึ่งกิจการก็เป็นไปด้วยดี มีลูกค้าแวะเวียนมาอุดหนุนไม่ขาดสาย

กระทั่งในปี 2563 ที่มีการระบาดของโควิด-19 น้องชายที่เคยทำงานเป็นช่างไฟฟ้าที่ทำงานกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างก็มีงานน้อยลงหรือแทบจะเรียกว่าไม่มีงานทำก็ได้ และลูกค้าของร้านก็ลดลงอย่างมาก เพราะผู้คนเริ่มตกงาน ประหยัดการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่รายจ่ายในชีวิตประจำวันยังคงเท่าเดิมและบางอย่างก็เพิ่มขึ้นด้วย

จากจุดนั้นทำให้คุณนกเกิดความคิดว่าต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อให้มีรายได้เข้ามาเพิ่มเติมเพราะคุณนกเองก็มีลูกชาย 1 คนที่ต้องดูแล ขณะที่น้องชายก็มีลูกสาวที่ต้องดูแลโดยเด็กทั้งสองคนอยู่ในวัยเรียนชั้นประถมศึกษา คุณนกจึงคิดว่าหากจะทำงานเพิ่มต้องเป็นงานที่ทำที่บ้านได้ เพราะอยากใกล้ชิดกับลูกหลาน และต้องเป็นงานที่เด็กๆ มีส่วนร่วมรับผิดชอบ

ด้วยความที่พื้นเพก่อนจะย้ายมาอยู่อำเภอบ้านบึงนั้น พ่อแม่ของคุณนกเป็นชาวไร่ชาวนาจากอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ทำให้คุณนกคุ้นเคยกับการเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย หาปลา ปลูกผักกิน ตามวิถีชีวิตคนชนบท ดังนั้น เมื่อคิดถึงอาชีพเสริม อาชีพเกษตรกรรม จึงผุดขึ้นมาในหัวเป็นอาชีพแรก

โดยเริ่มจาก ชวนน้องชายและน้องสะใภ้ ลองหาเป็ดเทศมาเลี้ยงในพื้นที่หลังบ้าน ซึ่งมีหนองน้ำอยู่แล้ว พอเลี้ยงเป็ดได้สักพัก ก็หากบมาเลี้ยง และตามด้วยปลาดุก กบ จิ้งหรีด ดักแด้ ปูนา หอยเชอรี่ โดยศึกษาการเลี้ยงจากสื่อโซเชียลต่างๆ ทั้งยูทูบ เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ รวมทั้งเพจสาระข่าวต่างๆ นิตยสาร “เทคโนโลยีชาวบ้าน” เป็นต้น ทำให้เกิดความอยากลองอยากรู้ว่าจะได้ผลอย่างที่คนอื่นทำไหม โดยเอาความชอบของตนเองเป็นหลัก เพราะทำให้มีความสุขในการลงมือทำจริงๆ นอกจากจะเลี้ยงสัตว์เหล่านี้แล้วคุณนกก็ไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่า เพราะได้ลงมือปลูกพืชผักสวนครัวด้วย โดยคิดง่ายๆ ว่าเราชอบหรืออยากกินอะไรก็ให้ปลูกพืชผักชนิดนั้น

คุณนก เล่าว่า จากการลงมือทำในระยะเวลาแค่เดือนกว่าๆ ก็มีอาหารและผักไว้กินในครอบครัว แรกๆ เหลือกินก็แจกจ่ายให้เพื่อนบ้านลูกค้าที่มาซื้อของที่ร้าน บางคนเกรงใจไม่กล้ารับไปกินฟรีๆ ก็ขอซื้อ ทำให้เกิดการแบ่งปันการซื้อขายเกิดขึ้น

“มีช่วงหนึ่งฤดูฝน ฝนตกหนักมากมีชาวบ้านไปจับปูนามาขายให้หลายสิบกิโลกรัม เลยเริ่มทดลองเลี้ยงปูนา ปรากฏว่าเลี้ยงรอดไม่ตาย เลยเริ่มซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปูนามาเลี้ยงเพิ่ม ปรากฏว่าผ่านไปรอด ตลาดปูนาถือว่ากำลังไปได้ดีเลยทีเดียว พอไปอ่านเจอว่าหอยเกือบทุกชนิดสามารถเลี้ยงรวมกับปูนาได้ เข้าทางเรา ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ไม่ต้องเตรียม ไม่ต้องลงทุนทำสถานที่ใหม่ แต่เราสามารถเลี้ยงหอยเพิ่มเติมได้ ในพื้นที่เดิม ถือเป็นการลดต้นทุนอย่างดี หอยเลี้ยงง่าย กินอาหารทุกอย่างเหมือนกับปูนา และยังคอยทำความสะอาดบ่อเก็บเศษอาหารที่ปูนากินไม่หมดอีกด้วย หอยที่เลี้ยงอยู่ตอนนี้มีหอยเชอรี่ หอยปัง หอยโข่งนาหรือหอยนา เรียกได้ว่าเลี้ยงและปลูกทุกอย่างที่เรากินได้ เหลือกินเราก็แบ่งขาย หรือถ้าใครอยากมีรายได้ คุณนกก็พร้อมแบ่งปัน มีราคาส่งให้เอาไปขายต่อสร้างรายเพิ่มได้อีกทางหนึ่ง หรือถ้าใครอยากเลี้ยง อยากทำเหมือนคุณนกก็พร้อมให้คำปรึกษาให้คำแนะนำค่ะ และไม่ต้องกลัวว่าเลี้ยงแล้วจะไม่มีตลาด เพราะเรารับซื้อ” คุณนก กล่าว

สำหรับราคาซื้อขายนั้น ปูนากิโลกรัมละ 150 บาท ปูนาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์คู่ละ 50 บาท ปูนาวัยรุ่นคู่ละ 20 บาท ปลาดุกขายกิโลกรัมละ 60 บาท ปลาดุกแดดเดียวกิโลกรัมละ 150 บาท หอยนากิโลกรัมละ 150 บาท หอยเชอรี่กิโลกรัมละ 60 บาท หอยเชอรี่แกะหัวกิโลกรัมละ 150 บาท กบกิโลกรัมละ 100 บาท เป็ดเทศกิโลกรัมละ 100 บาท จิ้งหรีดไข่ ดักแด้ กิโลกรัมละ 200 บาท ซึ่งในบางเดือนก็สร้างรายได้ให้กับครอบครัวกว่าหมื่นบาท

โดยคุณนกระบุว่า สินค้าที่ขายนั้นมีการคัดเกรด คุณภาพ จนทำให้ “บ้านสวนชลรัตดา” เป็นที่รู้จักของคนในละแวกนั้น และจากการมีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บอกกันปากต่อปาก ส่งผลให้มีผู้คนเข้ามาอุดหนุนและขอศึกษาดูงานไม่ขาดสาย ซึ่งคุณนกก็ย้ำว่า พร้อมและเต็มใจให้บริการกับลูกค้าและคนที่สนใจมาศึกษาดูงาน และอยากฝากถึงคนที่กำลังคิดอยากทำอะไรใหม่ๆ ขอให้ศึกษาอย่างจริงจังและลงมือทำ ไม่ต้องกลัวความผิดหวัง เพราะหากกลัวเกินไปก็จะทำให้ไม่กล้าลงมือทำ และขอบอกว่าให้ทำทุกอย่างด้วยใจรัก เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รอบตัว แล้วเราจะมีความสุขกับสิ่งที่เราทำแบบยั่งยืน โดยทุกวันนี้ครอบครัวของคุณนกและน้องชายได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา พ่อแม่ลูกช่วยกันดูแลกิจการอย่างขันแข็ง เด็กๆ เมื่อกลับจากโรงเรียนมาก็เข้าสวนหลังบ้านช่วยพ่อ แม่ ตา ยาย ซึ่งเป็นอะไรที่ประเมินมูลค่าไม่ได้

สนใจซื้อผลผลิตจากบ้านสวนชลรัตดา ติดต่อได้ที่ คุณชลรัตดา จันนา หรือ คุณนก บ้านเลขที่ 44/2 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองซ้ำซาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี หรือติดต่อได้ทางเฟซบุ๊ก “ชลรัตดา จันนา”

“มะนาว” พืชเศรษฐกิจสำคัญคู่ครัวไทยมานาน นอกจากรสชาติเปรี้ยว ที่ใช้ในการปรุงรสเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหารให้มีความจัดจ้านมากขึ้นแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยา เพราะฉะนั้นจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทำไม มะนาว จึงกลายเป็นพืชในกระแสที่เกษตรกรไทยให้ความสนใจที่จะปลูกเป็นพืชสร้างรายได้มาตลอดกาล

คุณพนัชกร ทรงวัฒนา หรือ คุณมุก อยู่บ้านเลขที่ 88 หมู่ที่ 1 ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ทายาทรุ่นที่ 3 ของ สวนวัฒนาการเกษตร ดีกรีปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศิลปากร อดีตพนักงานออฟฟิศเมืองกรุง ผันตัวเป็นเกษตรกรสานต่องานสวนมะพร้าวน้ำหอม และสวนมะนาวแป้น บ้านแพ้ว ของที่บ้าน โดยมีคุณพ่อเป็นพี่เลี้ยงสอนงานในสวนจนเริ่มเกิดความชำนาญ มาผสมผสานกับความคิดของคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นเสาหลักในการทำตลาด การแปรรูป รวมถึงการสร้างมาตรฐาน GAP และ GI ให้กับผลไม้ภายในสวน เกิดเป็นรายได้ให้ครอบครัวและคนในชุมชน

“มะนาวแป้น บ้านแพ้ว” เปลือกบาง
น้ำเยอะ มีความหอมพิเศษ
คุณมุก บอกว่า ที่สวนวัฒนาการเกษตรแห่งนี้ เป็นสวนที่คุณพ่อได้รับมรดกสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นก๋ง ตนเป็นรุ่นที่ 3 เข้ามาเรียนรู้งานตั้งแต่การปลูก การดูแลผลผลิตในสวน รวมถึงการเข้ามาเป็นตัวหลักในการพัฒนาด้านการตลาด การแปรรูป รวมไปถึงด้านการสร้างมาตรฐาน GAP, GI เพื่อรองรับและให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในแนวทางที่รักสุขภาพมากขึ้น ผู้คนหันมาใส่ใจกับความปลอดภัยทางอาหาร เพราะฉะนั้นมาตรฐานเหล่านี้จะทำให้ผลผลิตของสวนได้เปรียบสวนที่ไม่มี และถือเป็นเรื่องดีในการที่สามารถทำตลาดได้กว้างมากขึ้น

โดยที่สวนมีพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ประมาณ 20 ไร่ แบ่งพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม และมะนาวแป้น บ้านแพ้ว อย่างละ 10 ไร่ เท่าๆ กัน ซึ่งหากนับเวลาที่ตนเข้ามาคลุกคลีทำสวนก็เป็นเวลาเกือบ 4 ปีแล้ว โชคดีที่มีคุณพ่อคอยให้คำปรึกษาในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องการปรับปรุงบำรุงดินก่อนปลูกพืช ควรที่จะต้องปรุงดินอย่างไร คุณพ่อจะคอยให้คำแนะนำอยู่ตลอด เนื่องด้วยคุณพ่อเป็นหมอดิน และทำเกษตรชีวภาพไว้อยู่แล้ว ตนก็ได้ซึมซับจากคุณพ่อมาเรื่อยๆ จนมีประสบการณ์ด้านการดูแลปรับปรุงดินขึ้นมาอีกระดับที่นอกเหนือจากการปลูกดูแลอย่างไรให้ได้ผลผลิต ซึ่งดินถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำเกษตร หากดินไม่ดี ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ปลูกอะไรไปก็ไม่งาม เพราะฉะนั้นก่อนจะปลูกพืชอะไรก็แล้วแต่เกษตรกรทุกท่านควรให้ความสำคัญกับดินด้วย และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคของการผลิตผัก ผลไม้ ให้มีคุณภาพ

รวมถึงข้อได้เปรียบในส่วนของพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่แถบอำเภอบ้านแพ้ว ค่อนข้างมีดินและแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกไม้ผลได้หลากหลาย แต่ส่วนมากจะปลูกมะพร้าวเป็นหลัก เพราะมะพร้าวเป็นพืชที่ปลูกง่าย และได้รสชาติออกมาดีกว่าหลายๆ พื้นที่ ส่วนการปลูกมะนาวนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากที่คุณพ่ออยากมองหาพืชอย่างอื่นเสริม จึงเลือกปลูกมะนาวแป้นรำไพ ที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของที่นี่ แต่พอมาขยายพันธุ์แล้วได้ผลดีจนเป็นที่นิยมปลูก จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “แป้นบ้านแพ้ว” ปลูกแล้วเห็นอนาคต ด้วยจุดเด่นตรงที่เปลือกบาง น้ำเยอะ กลิ่นหอมพิเศษ โดยนำสายพันธุ์มาจากสวนที่เชื่อถือได้ มีการสังเกตต้นพ่อพันธุ์มาแล้วก่อนปลูก

เทคนิคปลูกมะนาวแป้น บ้านแพ้ว
ให้ผลผลิตดก เก็บขายได้ตลอดทั้งปี
เจ้าของบอกว่า ที่สวนได้รับรองมาตรฐาน GAP โดยกรมวิชาการเกษตรเป็นที่เรียบร้อย โดยที่สวนมีเทคนิคการปลูกแบบชีวภาพ มีการหมักปุ๋ยไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต

การเตรียมดิน somosche.com สำหรับเกษตรกรมือใหม่ก่อนลงมือปลูกควรต้องนำดินไปวิเคราห์วัดค่า pH ในดินก่อน เพื่อให้การปลูกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลดี ซึ่งค่า pH ของดินที่เหมาะสมในการปลูกมะนาวควรอยู่ที่ 7 ก็แสดงว่ามีความเป็นกรด-ด่าง เป็นกลาง แต่ถ้าหากดินของท่านค่า pH ต่ำกว่า 7 ก็แสดงว่าดินมีความเป็นกรดมาก ให้ฟื้นฟูโดยการใส่โดโลไมท์ช่วยปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้มีความเป็นด่างมากขึ้น และหลังจากที่ตรวจค่า pH ดินเรียบร้อยแล้ว ให้ไถพรวน แล้วตากดินไว้ แล้วจึงค่อยลงมือปลูก และมีข้อแนะนำอยู่ว่าหากดินที่ปลูกไม่ค่อยสมบูรณ์สามารถใส่อินทรียวัตถุได้ แต่ของที่สวนเนื่องจากเป็นการปลูกแบบยกร่อง เพราะฉะนั้นดินที่ขุดขึ้นมาจะมีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม

การปลูก ปลูกในระยะห่างระหว่างต้น 2 เมตร เป็นแถวยาว ขุดหลุมกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร

การดูแล จะไม่รดน้ำบ่อย 2-3 วัน ให้น้ำ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง ใส่น้อยๆ แต่ใส่บ่อยๆ โดยช่วงที่ปลูก 2-3 เดือนแรก จะใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ปริมาณ 1-2 ช้อนชา หลังจากนั้นเมื่อเริ่มเข้าสู่เดือนที่ 4 เริ่มเปลี่ยนมาใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 ปริมาณ 1-2 ช้อนชา เช่นเดียวกัน โดยใส่สลับกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงตามสูตรของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี โดยวัตถุดิบหลักในการทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงไว้ใช้เองมีดังนี้

ขั้นตอนการทำ

ผสมวัตถุดิบให้เข้ากัน
นำสารเร่งพด.1 ใส่ในสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ขยายเชื้อแล้ว คนให้เข้ากัน เทลงในวัตถุดิบคลุกเคล้าให้ทั่ว
ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และใช้วัสดุคลุมเพื่อรักษาความชื้น
ระหว่างหมักจะสังเกตเห็นเชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ย และอุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น 45-55 องศาเซลเซียส หลังจากหมักประมาณ 3 วัน
กองปุ๋ยไว้จนอุณหภูมิลดลงให้เท่ากับภายนอกกอง ใช้เวลาประมาณ 9-12 วัน
ใส่สารซุปเปอร์พด.3 และสารเร่งพด.9 คลุกเคล้าให้ทั่วกองและหมัก เป็นเวลา 3 วัน

วิธีใช้ 3 เดือน ใส่ 1 ครั้ง ปริมาณเพียง 1 กำมือ ต่อต้น ปริมาณผลผลิต มะนาว 10 ไร่ สามารถเก็บผลผลิตได้ทุกเดือน ไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม ต่อเดือน ขนาดผลได้ไซซ์มาตรฐาน ถือเป็นจุดเด่นอีกข้อของสวน ซึ่งเทคนิคอยู่ที่ดิน จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินให้ดีก่อนปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ยบำรุงเสริมเข้าไป

ราคา ขึ้นลงตามฤดูกาล โดยฤดูที่มะนาวมีราคาแพงคือช่วงฤดูร้อน หรือในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน จะขายได้ในราคากิโลกรัมละประมาณ 100 บาท แต่ถ้าหากเป็นฤดูทั่วไปเฉลี่ยแล้วจะประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท หรือถ้าเป็นช่วงที่มะนาวล้นตลาดมากๆ ราคาอาจจะลดลงมาเหลือกิโลกรัมละ 20-30 บาท หากชาวสวนมีวิธีการปลูกแบบลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยเคมี ก็จะสามารถผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้อย่างสบาย เฉลี่ยต่อเดือนจากการขายมะนาวที่สวนจะมีรายได้ประมาณ 30,000-40,000 บาท ต่อเดือน