ความห่างระหว่างต้นระหว่างแถว 30 เซนติเมตร ท่อสายน้ำหยด

วางเสร็จคลุมผ้ายาง ก่อนปลูกเปิดน้ำใส่เพื่อให้ดินอ่อน แล้วใช้ไม้ในการเจาะหลุม ก่อนลงกล้าใส่ฟูราดานรองหลุม เพื่อกันแมลงกินราก ระบบการให้น้ำ เป็นระบบน้ำหยด ให้น้ำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น เปิดรดประมาณ 5-10 นาที

ปุ๋ย 5-7 วัน ฉีดครั้งหนึ่ง ปุ๋ยปล่อยไปทางน้ำจะใช้สูตรเสมอ 16-16-16 ใส่แคลเซียมทางน้ำ ครึ่งเดือนใส่ 1 ครั้ง ส่วนปุ๋ยทางใบก็ต้องฉีดใบจะได้งาม ใส่แต่ทางน้ำอย่างเดียวไม่ถึง ดูแลไปเรื่อยๆ ประมาณ 2 เดือน 20 วัน มะเขือเทศจะเริ่มให้ผลผลิต

ช่วงฤดูที่เหมาะกับการปลูก

ที่สวนคุณกิ๊ฟเริ่มปลูกเดือนมกราคม เก็บผลผลิตได้เดือนเมษายน นับไปอีก 6 เดือน ก็ปลูกได้ใหม่อีกรอบ ไม่ต้องพักดินปลูกหน้าไหนก็ได้ แต่ไม่แนะนำหน้าฝน เชื้อราจะลง ช่วงหน้าฝนก็เก็บผลผลิตไป มีหน้าที่คือดูแล หน้าฝนมะเขือเทศจะแตก แมลงลงเยอะ แต่มะเขือเทศจะราคาดีช่วงนี้ เพราะดูแลยาก

ปัญหาและอุปสรรค

การปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้ดีก็จริง แต่คุณกิ๊ฟบอกว่า เรื่องแมลง หนอน ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะมะเขือเทศจะมีปัญหาเรื่องโรคแมลงมาเจาะกินลูกกินใบมาก ที่สวนก็ใช้วิธีพ่นยา และต้องเปลี่ยนยี่ห้อ ฉีด 2 ครั้ง ก็เปลี่ยนใหม่ เพื่อไม่ให้แมลงดื้อยา แต่ถ้าเทียบกับรายรับการปลูกมะเขือเทศก็ถือว่ายังคุ้ม ในระยะเวลา 6 เดือน หักค่ายา ค่าปุ๋ย ตกแล้วเหลือรายได้เดือนละ 40,000 บาท สามารถเลี้ยงครอบครัวได้สบายๆ

เกษตรกรมือใหม่ อยากลงทุนปลูกมะเขือเทศ

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ต้องมีเงินลงทุน ประมาณ 30,000-40,000 บาท ต่อ 2 ไร่ เมล็ดพันธุ์ซองละ 800 บาท แล้วแต่ช่วง ช่วงหายากก็จะแพงหน่อย ประมาณ 750-800 บาท ซองหนึ่งได้ 2,000 ต้น แต่อย่างที่สวนคุณกิ๊ฟไม่ได้เพาะกล้าเอง คุณกิ๊ฟจ้างเพาะ อยู่ที่จะเอาถาดละกี่ต้น ถ้าเพาะถาดเล็กหลุมจะหนาได้ต้นเล็ก ราคาก็ไม่เท่ากัน

วางแผนการตลาดอย่างไร ไม่ให้สินค้าล้นตลาด

คุณกิ๊ฟ ใช้วิธีเดินหาตลาดเอง ติดต่อเอง ไปติดต่อที่ตลาดไท ส่งเจ้าเดียว มีเท่าไรเขาก็รับหมด แต่ต้องไปคุยกับเขาก่อน เพื่อที่เขาจะจัดตารางการปลูกให้ เพื่อที่ผลผลิตจะออกมาไม่ชนกับเจ้าอื่น ถ้าชนกันมากๆ ราคาจะถูก พูดง่ายๆ ว่าทำระบบนี้เราจะอยู่ได้ตลอด ราคาจะไม่ตกถึงขั้นที่อยู่ไม่ได้ ราคาส่งตลาดไท อยู่ที่กิโลกรัมละ 16 บาท คิดเป็นรายได้ออกมาถือว่าคุ้มค่าแก่การลงทุน ไม่ต้องปลูกเป็น 100 ไร่ ก็อยู่ได้

นางสาวพิชามญชุ์ แซ่จึง หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ตระหนักและห่วงกังวลถึงปัญหาแรงงานภาคการเกษตรและผู้สืบทอดอาชีพทางการเกษตรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่มาของโครงการเสริมสร้างยุวเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อให้นักเรียนในสถานศึกษาได้มีความรู้ด้านการเกษตรสามารถช่วยงานในครอบครัวหรือยึดถือเป็นอาชีพต่อไปได้ในอนาคต ด้วยโครงการดังกล่าวสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ได้ประสานโรงเรียนบัวเจริญวิทยา ต.ตองปิด อ.น้ำเกลี้ยง ซึ่งเป็นโรงเรียนเป้าหมาย มีนักเรียน 270 คน เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ด้านการผลิตพืช

ปัจจุบัน คนไทยจำนวนมากกำลังเผชิญกับปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ บางโรคอาจเกิดจากการรับประทานอาหาร บางโรคอาจเกิดจากสภาวะแวดล้อม บางโรคอาจเกิดจากหลายปัจจัยต่างๆ รวมกัน ซึ่งการบริโภค “ผัก” เป็นวิธีการหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงโรคภัยได้ ซึ่งทางโรงเรียนให้ความสนใจในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยกระบอกไม้ไผ่ สภาเกษตรฯ จึงได้ประสานศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษให้เข้ามาให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ด้วยเห็นว่าการส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ทำการเกษตรนั้น ควรต้องนำหลักวิชาการมาปรับกระบวนการผลิต โดยใช้ทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นเป็นเรื่องที่สภาเกษตรกรฯ พร้อมให้การสนับสนุน

ด้าน นายสถาน ปรางมาศ ผู้อำนวยการโรงเรียนบัวเจริญวิทยา ได้กล่าวว่า ทางโรงเรียนบัวเจริญวิทยา ให้ความสนใจในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์หรือระบบการปลูกผักไร้ดิน จากการศึกษาพบข้อได้เปรียบของการปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์คือ สามารถควบคุมการให้ธาตุอาหารของพืชได้ง่ายกว่าการปลูกพืชในดิน ลดค่าแรงงานในการเตรียมพื้นที่ปลูกได้มาก ประหยัดน้ำ ควบคุมโรคได้ง่าย ได้ผลผลิตค่อนข้างสม่ำเสมอ และมีคุณภาพ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ จึงแจ้งยังสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้และลงมือปฏิบัติ แต่การปลูกผักในระบบนี้ข้อด้อยคือ การลงทุนสูงในเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ทางโรงเรียนจึงหาวัสดุอื่นเพื่อทดแทน โดยมาลงตัวที่ไม้ไผ่วัสดุหาง่ายในท้องถิ่น

เด็กนักเรียนสามารถหามาได้ เพราะมีในพื้นที่อยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไผ่หวานเลือกต้นอายุปีกว่าๆ ลักษณะลำใหญ่ ตรง พื้นที่เริ่มต้นของทางโรงเรียนคือ 5×3 เมตร ทำราง 4 ชั้น เจาะกระบอกไม้ไผ่ 10 ช่อง ค่าวัสดุอุปกรณ์รวมงบประมาณอยู่ที่ 2,500 บาท โดยมีถังรับน้ำ 200 ลิตร 1 ใบ ปั๊มน้ำตู้ปลา 2 ตัว ท่อ PVC สีเทา ½ นิ้ว 2 เส้น ข้อต่อสามทาง 14 ตัว ข้อต่องอ 2 ตัว ถ้วยปลูก 240 ถ้วย เมล็ดผักขึ้นฉ่าย และผักสลัด 2 ซอง ไม้ไผ่ยาว 2.50 เมตร 4 ท่อน ปุ๋ยสำเร็จรูปละลายน้ำได้ 1 กิโลกรัม เครื่องวัดค่า pH และเครื่องวัดค่า EC ทำการเพาะเยื่อเมล็ดพันธุ์ 800 เมล็ด 2 สัปดาห์ เตรียมขยายและลงรางปลูกใช้เวลา 2 เดือน โดยประมาณ เก็บผลผลิตจำหน่ายในโรงเรียนและชุมชนก่อนขยายตลาดต่อไป กิจกรรมครั้งนี้มีนักเรียนให้ความสนใจเข้ามามีส่วนร่วมทั้งการปฏิบัติจริงและทำงานเป็นระบบกลุ่ม ซึ่งกระบวนการทุกขั้นตอนนำไปขยายผลยังครอบครัวได้ต่อไปในอนาคตด้วย

มะม่วงเป็นไม้ผลที่สำคัญชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เนื่องจากเป็นอาหารสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มูลนิธิโครงการหลวงได้นำเอามะม่วงมาทดลองปลูกและพัฒนาจนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตต่างๆ ให้เหมาะสม สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นอาชีพได้ แต่พันธุ์มะม่วงที่ส่งเสริมเกษตรกรนั้น มีความแตกต่างจากมะม่วงที่ปลูกในที่พื้นราบทั่วไป เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่อยู่บนพื้นที่สูง สภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็น

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยจนได้พันธุ์มะม่วงที่สามารถปลูกได้ดีบนพื้นที่สูง คุณภาพผลผลิตดี ทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในหลายพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง และมีข้อได้เปรียบมะม่วงจากแหล่งอื่นๆ คือ การเก็บเกี่ยวล่าช้ากว่ามะม่วงที่ปลูกบนพื้นราบ เป็นสายพันธุ์ที่แปลกใหม่ เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ พันธุ์นวลคำ พันธุ์ปาล์มเมอร์ พันธุ์อาร์ทูอีทู พันธุ์เออวินส์ พื้นที่ศูนย์ฯ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 ราย รวมพื้นที่ประมาณ 180 ไร่

มะม่วงนวลคำ เดิมชื่อ จินฮวง เป็นพันธุ์ที่นำมาจากไต้หวัน ปลูกครั้งแรกที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะประจำพันธุ์นวลคำ ลักษณะผลกลมยาว ก้นผลงอนและค่อนข้างแหลม ผลมีขนาดใหญ่ นำหนักผลประมาณ 600-1,300 กรัม อายุการเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 120 วัน ผิวผลสีเหลืองอมเขียว เก็บเกี่ยวได้ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก เมื่อผลแก่จัดมีรสชาติมัน เมื่อสุกผลสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวาน

พันธุ์ปาล์มเมอร์ ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักประมาณ 700 กรัม อายุการเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 120 วัน ผิวผลมีสีเหลืองส้มแต้มสีแดง มีจุดบนผลจำนวนมาก เก็บเกี่ยวได้ในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม รับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก เนื้อแน่น มีเสี้ยนเล็กน้อย เมล็ดยาวมีขนาดปานกลาง ทรงต้นสูงโปร่ง แข็งแรงปานกลาง

พันธุ์อาร์ทูอีทู เป็นพันธุ์การค้าของประเทศออสเตรเลีย พัฒนามาจากมะม่วงพันธุ์เคนท์ ผลกลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักประมาณ 800 กรัม เมื่อสุกผิวผลจะมีสีเหลืองส้ม เนื้อสีเหลืองมะนาว เนื้อผลแข็ง มีเสี้ยนเล็กน้อย รสชาติหวาน มีกลิ่นขี้ไต้อ่อนๆ อายุเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 120 วัน เมื่อสุกผิวจะสีเหลืองส้ม เปลือกค่อนข้างหนา ทำให้ทนทานต่อโรค สามารถขนส่งได้ไกล เก็บเกี่ยวได้ในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวนาน

พันธุ์เออวินส์ ผลขนาดปานกลาง น้ำหนักประมาณ 300 กรัม รูปร่างค่อนข้างยาวรีหรือรูปไข่ยาว ติดผลดก อายุเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 120 วัน ผลดิบมีจุดประสีแดงบริเวณไหล่และแก้มผล ผลสุกจะมีสีแดง สีเลือดนก ผลสุกสีเหลืองทอง ไม่มีเสี้ยน รสชาติหวาน เก็บเกี่ยวได้ในเดือนมิถุนายน

การปลูกมะม่วงบนพื้นที่สูง นอกจากคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมแล้ว ความสำคัญอยู่ที่การทำให้ได้มะม่วงที่มีคุณภาพ ได้แก่ การคัดเลือกพื้นที่ การวางผังปลูก การตัดแต่งกิ่ง การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การปลิดผล และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย การห่อผล นับว่ามีความสำคัญมากในการผลิตมะม่วงคุณภาพดี นอกจากป้องกันแมลงวันผลไม้แล้ว ยังทำให้มะม่วงมีผิวและสีที่สวยงาม ผลมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ผลแก่ช้าลง ผลไม่ค่อยร่วงหล่นเสียหายและปราศจากสารเคมี จำหน่ายได้ราคา

อายุของผลมะม่วงที่เหมาะในการห่อผล ประมาณ 50-70 วัน สำหรับชนิดและสีของถุงห่อผลนั้น มีถุงกระดาษที่ผลิตขึ้นมาเฉพาะ จากการศึกษาวิจัยพบว่าพันธุ์มะม่วงที่ไม่ต้องการแสงแดดช่วยในการเปลี่ยนสีผิว หรือมะม่วงพันธุ์ที่สุกแล้วผิวผลสีเหลือง เช่น มะม่วงนวลคำ ควรใช้ถุงชนิดสีน้ำตาล แต่ด้านในสีดำ ส่วนมะม่วงที่ต้องการแสงแดดช่วยในการเปลี่ยนสีผิว เช่น พันธุ์เออวินส์ พันธุ์ปาล์มเมอร์ พันธุ์อาร์ทูอีทู ควรใช้ถุงห่อสีขาว การห่อผลมีอิทธิพลทำให้ความหวานของผลลดลงบ้าง และก็สามารถเพิ่มความหวานและความกรอบของผลมะม่วงได้ โดยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ในระยะเปลือกหุ้มเมล็ดแข็งแล้ว

สนใจสอบถามข้อมูลการปลูกมะม่วงบนพื้นที่สูงได้ที่ งานพัฒนาและส่งเสริมการผลิตไม้ผล มูลนิธิโครงการหลวง เครื่องปรุงรสประเภทซอสจัดเป็นเครื่องปรุงรสที่ใช้วัตถุดิบจากพืชอุตสาหกรรมที่เรียกว่า “มะเขือเทศ” ซึ่งฟังเพียงชื่อดูเหมือนจะเป็นเพียงพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง แต่มีมูลค่าความต้องการในตลาดสูงไม่น้อยไปกว่าวัตถุดิบที่ใช้เป็นเครื่องปรุงงานครัวชนิดอื่น

มะเขือเทศ ยังเป็นพืชอุตสาหกรรมที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสินค้า เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ ซอสในเครื่องกระป๋องต่างๆ เป็นต้น ทั้งประเทศไทย แหล่งปลูกพืชล้มลุกชนิดนี้มีแหล่งผลิตใหญ่ที่สุดตั้งอยู่บนพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดบึงกาฬ ที่มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศเกือบ 2,000 ไร่

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษ เป็นกลุ่มที่รวมตัวจากชาวบ้านที่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชผักตามความเหมาะสมของฤดูกาล 3 หมู่บ้านในตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ เฉพาะ 3 หมู่บ้านที่รวมกลุ่มมีพื้นที่ริมแม่น้ำโขงสำหรับปลูกมะเขือเทศกว่า 700 ไร่

ที่ต้องเน้นว่า พื้นที่ริมแม่น้ำโขง เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินริมฝั่งแม่น้ำโขงมีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกมะเขือเทศ คุณวิรัตน์ หลายเจริญ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษ ผู้ให้ข้อมูลการรวมกลุ่มและการปลูกมะเขือเทศของชาวบ้านในตำบลบึงกาฬ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่ปลูกมะเขือเทศที่ใหญ่ที่สุด บอกว่า ชาวบ้านหมู่ 2 หมู่ 3 และหมู่ 4 ส่วนใหญ่มีพื้นที่ทำการเกษตรริมแม่น้ำโขง ทำการเกษตรแบบหมุนเวียนตามฤดูกาลและความเหมาะสมของสภาพดิน โดยฤดูหนาวเลือกปลูกมะเขือเทศ ซึ่งเป็นฤดูที่มะเขือเทศให้ผลผลิตมากที่สุด ทั้งบริเวณใกล้เคียงมีแหล่งรองรับมะเขือเทศสี หรือ มะเขือเทศสุก เป็นโรงงานศรีเชียงใหม่อุตสาหกรรม ตั้งอยู่ในจังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นสถานที่ต้นทางผลิตซอสก่อนส่งไปยังโรงงานผลิตปลากระป๋องอีกทอด

ฤดูหนาวเพียงไม่กี่เดือนสำหรับการกระบวนการปลูกกระทั่งถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งขาย หมดจากฤดูหนาวอันเป็นฤดูของมะเขือเทศแล้ว ชาวบ้านที่มีพื้นที่เกษตรริมฝั่งโขงจะแปลงผืนดินให้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าวโพด และ ข้าว

การปลูกมะเขือเทศสำหรับชาวบึงกาฬ เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน โดยการเพาะกล้าก่อนลงหลุมปลูก 1 เดือน แต่ระหว่างการเพาะกล้าราวเดือนเศษ เป็นช่วงเวลาที่ต้องให้ความสำคัญกับเมล็ดมากที่สุด

คุณวิรัตน์ อธิบายขั้นตอนการปลูกอย่างง่ายว่า การเพาะกล้าใส่เมล็ดพันธุ์หลุมละ 1-2 เมล็ด หากมากกว่านั้นจะเป็นการสิ้นเปลือง เพราะราคาเมล็ดพันธุ์มีราคาสูง น้ำหนักเพียง 25 กรัม ราคาอยู่ที่ 600-1,000 บาท ขึ้นกับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ แต่ประการสำคัญในการเลือกเมล็ดพันธุ์ของกลุ่มจะให้ความสำคัญหลักในการเลือกเมล็ดพันธุ์อยู่ที่เมล็ดพันธุ์ต้องมีความต้านทานโรคสูง

สำหรับพันธุ์ที่เลือกใช้เป็นพันธุ์เพอร์เฟคโกลด์ 111 และ พันธุ์วี เอฟ วัน เพราะต้านทานโรคได้ดี ให้ผลดก เนื้อแข็ง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ตรงกับความต้องการของตลาด ทำให้ขายได้ราคาดี โดยปัจจุบันราคามะเขือเทศสี (ผลที่ยังไม่สุกเป็นสีแดง) อยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 9-10 บาท ขึ้นกับขนาด ส่วนมะเขือเทศแดง (ผลที่สุกเป็นสีแดงทั้งผล) จะถูกเก็บส่งขายโรงงานผลิตซอสที่ให้ราคาประกันสูงสุดอยู่ที่ 2.50 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น

ส่วนการเตรียมแปลงไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก คุณวิรัตน์ เล่าว่า เป็นการเตรียมแปลงโดยไถขึ้นแปลงธรรมดาเหมือนการปลูกพืชทั่วไป อาจไถดินตากแดดไว้ราว 3 เที่ยว ก่อนนำกล้าลงปลูกควรใส่เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ป้องกันเชื้อโรคทั้งที่อยู่ในดินและเชื้อโรคที่อยู่บนต้นพืช เสมือนเป็นการให้วัคซีนป้องกันในเด็กอ่อน วึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับพืชตั้งแต่แรก โดยหลุมปลูกมีความลึก 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุมอยู่ที่ 80 X 100 เซนติเมตร และควรใส่ปุ๋ยชีวภาพที่หลุมปลูกด้วย

หลังปลูก 1 สัปดาห์ รากเริ่มแข็งแรง ควรให้ปุ๋ยเคมีระยะแรกสูตร 15-15-15 โดยใส่ข้างหลุม เพื่อให้เห็นผลเร็วขึ้น และให้ปุ๋ยเคมีในระยะถัดมาสูตร 13-13-21 จากนั้นเมื่อมะเขือเทศให้ดอกแล้วจึงลดสารเคมีลงแล้วเปลี่ยนเป็นปุ๋ยชีวภาพกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต

“มะเขือเทศที่นี่จะขึ้นค้างให้ เพื่อป้องกันโรครา ค้างจะช่วยให้โปร่ง เชื้อราไม่ขึ้น หนอนไม่ค่อยกิน ลูกสวย เพราะใบจะปิดบังไปเรื่อยๆ ถ้านอนอยู่ใบจะแผ่ออกลูกไม่สวย”

การเก็บผลผลิตเริ่มต้นเก็บเมื่อมะเขือเทศเริ่มสุกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และต้องเก็บให้มีขั้วติดอยู่กับผล เพื่อเพิ่มมูลค่าการขาย โดยเริ่มเก็บในเวลาเช้าตรู่ของแต่ละวัน ในช่วงสายจะเริ่มเก็บมะเขือเทศแดง เพื่อส่งโรงงานผลิตซอส

มะเขือเทศบึงกาฬ มีตลาดหลักส่งขายอยู่ที่ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ปากคลองตลาด และ ตลาดอ่างทอง

เหตุผลหนึ่งที่มะเขือเทศให้ผลผลิตดี นอกเหนือจากสายพันธุ์ดีที่เกษตรกรบึงกาฬคัดเลือกมาแล้ว คือ ดินริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งคุณวิรัตน์ บอกว่า มะเขือเทศชอบดินร่วมซุย ดินเหนียวปนทราย หากดินเหนียวเกินไปหรือร่วนเกินไปไม่เหมาะ ซึ่งคุณสมบัติของดินริมฝั่งแม่น้ำโขงมีคุณสมบัติตรงทุกประการ นอกจากนี้การเลือกปลูกในฤดูหนาว ทำให้ได้ผลผลิตดี เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกที่เจริญเติบโตเร็ว และชอบสภาพอากาศเย็น เมื่อดินมีความเหมาะสมและสภาพอากาศตามต้องการ ทำให้มะเขือเทศกลายเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อปีเฉลี่ย 8 ตัน

สิ่งที่ตามมา คือ รายได้ หากประเมินจากการขายมะเขือเทศสี ในราคา 10 บาท รายได้อยู่ที่ 40,000 บาทต่อไร่ ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่ใกล้เคียงกับการลงทุน ส่วนการเก็บเกี่ยวหลังจากนั้นถือเป็น “กำไร”

ดังนั้นการปลูกมะเขือเทศของชาวบึงกาฬ จะเน้นการเก็บผลมะเขือเทศสีส่งขายยังตลาดค้าส่งมากกว่าการเก็บผลมะเขือเทศแดงส่งโรงงานผลิตซอส นอกเหนือจากขายส่งยังตลาดค้าส่งและโรงงานผลิตซอสแล้ว ในแต่ละปียังมีออเดอร์จากประเทศมาเลเซียราว 45-60 ตันต่อปีอีกด้วย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษ กลุ่มนี้ยังได้ใบรับรองมาตรฐานสินค้า จากกรมวิชาการเกษตร เป็นเครื่องการันตีว่าผลผลิตที่ได้ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ผลผลิตที่ได้จะเป็นต้นตอของการผลิตซอสส่งยังโรงงานผู้ผลิตต่างๆ รวมถึง เป็นเจ้าตลาดค้าส่งมะเขือเทศไปยังตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ของประเทศ

หากสนใจการผลิตมะเขือเทศริมฝั่งแม่น้ำโขงตามแบบฉบับของบึงกาฬ ลองสอบถามไปยังคุณวิรัตน์ หลายเจริญ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษได้ตลอดเวลาที่โทรศัพท์ 089-9862853 หรือ จะสละเวลาเดินทางไปยังแหล่งผลิตจริงที่ 116 หมู่ 4 บ้านนาโนน ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

หลายตำบลในอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ กลายเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากที่สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬเร่งหาวิธีแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยเข้าพื้นที่ศึกษาวิจัยในพืชที่สามารถปลูกเพื่อสร้างรายได้ในฤดูน้ำหลาก พบว่ามีพืชที่สามารถปลูกได้หลายชนิด แต่เพราะความเคยชินของเกษตรกรในพื้นที่ที่ประกอบอาชีพทำนา ทำให้การส่งเสริมเพื่อการเรียนรู้สำหรับเกษตรกรเป็นไปได้ไม่รวดเร็วนัก

แต่สำหรับคุณนรินทร์ ศรีวรษา เกษตรกรที่ยึดอาชีพทำนามาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีผืนนาตั้งอยู่บริเวณหมู่ 4 บ้านนาดงน้อย ตำบลนาดวง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากมาโดยตลอด กลับพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเมื่อน้ำหลากเข้าท่วมผืนนา ไม่สามารถปลูกข้าวได้ตามปกติ

จากพื้นที่เดิมทั้งหมดกว่า 70 ไร่ เมื่อถูกจัดสรรให้กับพี่น้องแล้ว คุณนรินทร์ เหลือพื้นที่ทำนาราว 7 ไร่ และยังคงยึดอาชีพทำนาสร้างรายได้หลักให้กับครอบครัว แต่นับตั้งแต่ปี 2530 คุณนรินทร์ บอกอย่างยอมรับสภาพดินฟ้าอากาศที่เกิดขึ้นในทุกปีว่า ข้าวถูกน้ำท่วมทุกปี ในการทำนาทุก 3-4 ปี จะได้กำไรจากการปลูกข้าวเพียงครั้งเดียว

เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ ให้ข้อมูลในการศึกษาพืชที่เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พบว่ามีพืชประเภทบัว ข่าธรรมชาติ หญ้าแฝก และอื่นๆ จึงเลือกพืชดั้งเดิมที่สามารถหาได้ง่ายมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ซึ่งในจำนวนนั้น “บัว” เป็นพืชที่เหมาะสมด้วย

พันธุ์บัวเฉพาะที่อำเภอปากคาดมีมากถึง 7 สายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกเชิงการค้า คือ พันธุ์หนองนาบอน ที่ฝักจะแบนราบ ขอบฝักไม่เป็นขอบชัดเหมือนบัวพันธุ์อื่น เมล็ดจะโผล่ขึ้นมา รสชาติหวานกรอบ ความกรอบของเมล็ดจะช่วยให้ท้องไม่ผูก เพราะรับประทานแล้วเมล็ดบัวจะกลายเป็นน้ำตาลไม่ใช่แป้ง

คุณนรินทร์ แม้แรกเริ่มจากการทำนาเพื่อยังชีพเพียงอย่างเดียว เมื่อถูกคุกคามด้วยภัยธรรมชาติในทุกปี การปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดจึงเกิดขึ้น

“มีคนตัดฝักบัวมาขายในตลาดปากคาด รสชาติดี คนติดใจ เลยคิดอยากปลูกบ้าง ไปขอซื้อคคนขายให้ไปขุดจากตมซึ่งเป็นที่นาถูกน้ำท่วมเหมือนกัน แต่บัวในหนองน้ำติดที่นาล้ำออกมาเมื่อน้ำท่วม ครั้งแรกซื้อมาราคาต้นละ 10 บาท จำนวน 400-500 ต้น จ้างรถไถนาอีกประมาณ 20,000 บาท หมดกับต้นทุนครั้งแรกเกือบ 4,000 บาท แต่สุดท้ายไม่ได้อะไรเลย”

ปัจจัยที่ทำให้คุณนรินทร์ไม่ได้ผลผลิตจากการลงทุนในครั้งนั้น เนื่องจากไม่มีความรู้ทางการปลูกบัว เมื่อน้ำท่วมบัวทำให้บัวไม่โตและไม่ออกฝัก ทั้งยังประสบปัญหาหอยเชอรี่ แต่ในท้ายที่สุดการสังเกตทำให้คุณนรินทร์รู้ว่า การควบคุมระดับน้ำในที่นาเพื่อปลูกบัว เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการเพิ่มผลผลิต

“ปกติการปลูกบัวของที่อื่น คือ รอให้ถึงฤดูน้ำหลากแล้วจึงปลูก แต่ผมไม่รอธรรมชาติ ลองปลูกแบบนาปรัง คือ ย่ำคราดและลงบัวหน้าแล้ง ปล่อยน้ำลงในนา เมื่อถึงฤดูฝนบัวจะเจริญเติบโตในระดับที่มีความแข็งแรงพอดี ทำให้บัวไม่ตาย”

บัวพันธุ์หนองนาบอน ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬเรียก เป็นกลุ่มบัวชนิดเดียวกับบัวหลวง ซึ่งชื่อพันธุ์ตั้งขึ้นตามถิ่นที่พบ คือ หนองนาบอน

เพิ่งตัดมาหมาดๆ
วิธีการปลูกบัวให้ได้ฝักนอกฤดู เพื่อราคาขายและความต้องการของตลาดที่มากขึ้น คุณนรินทร์ ใช้วิธีย่ำคราดและลงบัวในฤดูแล้ง ปล่อยน้ำเข้าแปลงความสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร เมื่อเข้าฤดูฝนใช้วิธีควบคุมระดับน้ำด้วยการสูบน้ำออก เพื่อควบคุมระดับน้ำไว้ จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเข้าแปลงเพื่อเพิ่มระดับน้ำครั้งละไม่เกิน 10 เซนติเมตร บัวจะเริ่มสูงตามระดับน้ำที่สูงขึ้นเสมือนเป็นการปรับตัวทำให้บัวไม่ตาย

การลงบัวในแปลงหลังจากย่ำคราดและปล่อยน้ำเข้าแปลงแล้ว ดูระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 5-6 เมตร หากถี่เกินไปจะทำให้หาหน่อเมื่อเริ่มปลูกใหม่ยาก

การปลูกเหมือนการดำนา คือ ใช้มือขุดดินลงไปนิดเดียวแล้วนำขี้ดินที่ขุดขึ้นมากลบบัวไว้ หากขุดลึกเกินไปบัวจะไม่เจริญเติบโต ในระยะแรกปลูกไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยทุกชนิด เพราะเป็นฤดูหนาวที่บัวหยุดการเจริญเติบโต แต่ควรมีน้ำเลี้ยงในแปลงไว้ตลอด เมื่อเข้าฤดูร้อนควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จากนั้นปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ

ก่อนเข้าฤดูฝน คุณนรินทร์สามารถตัดฝักขายได้จำนวนหนึ่งแล้ว เพราะการใช้วิธีสูบน้ำเข้าแปลง ส่งผลให้บัวออกฝักก่อนฤดู พ่อค้าแม่ค้าจะมารอซื้อจากแปลงไปขายเพราะมีเพียงรายเดียว ไม่ต้องแย่งตลาดเหมือนเกษตรกรผู้ปลูกบัวตามฤดูรายอื่น

ราคาขายส่งต่อฝักอยู่ที่ฝักละ 1 บาท แต่ถ้ามัดรวมแล้วจำนวน 7 ฝัก ขายในราคา 10 บาท

ระดับน้ำตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บฝักอยู่ที่ 20-50 เซนติเมตร หากสูงกว่านั้นลำต้นบัวจะสูงขึ้น ส่งผลให้ยากต่อการเก็บ

ตลาดการค้าบัวตัดฝักครอบคลุมถึงตลาดหนองคายและบึงกาฬ โดยเฉพาะตลาดปากคาดจะมีให้เห็นวางจำหน่ายมากกว่าแหล่งอื่น แต่จะพบเห็นในงานเทศกาลของจังหวัดด้วย ซึ่งพ่อค้าแม่ค้ารายใหญ่จะมารับบัวตัดฝักไปในปริมาณมาก จากนั้นนำฝักมัดเป็นกลุ่มแล้วจ้างพ่อค้าแม่ค้าเร่ขายในงานเทศกาลต่างๆ

บัวตัดฝักของคุณนรินทร์เริ่มจากผืนนาประมาณ 4 ไร่ จากนั้นเมื่อมีรายได้เข้าในทุกปี เริ่มซื้อแปลงนาเพิ่มเพื่อปลูกบัว ทั้งยังปลูกข้าวสลับปลูกบัวไปด้วย ขึ้นอยู่กับราคาตลาดขณะนั้นของพืชทั้งสองชนิด หรือในบางคราวที่ยังไม่ทราบราคาตลาดที่แน่ชัด ในแปลงเดียวกันคุณนรินทร์ปลูกพืชทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน หากข้าวได้ราคาดีกว่าระดับน้ำในนาจะสูงขึ้นเพื่อบังคับให้บัวไม่เจริญเติบโต เมื่อได้ผลผลิตจากข้าวแล้วจึงย่ำแปลงเพื่อกระตุ้นให้บัวเจริญเติบโตได้ใหม่

ต้นทุนการผลิตการปลูกบัวตัดฝักขาย playminigamesnow.com มีเพียงปุ๋ยและแรงงานจ้างเก็บฝัก ส่วนบัวในทุกปีหลังเก็บผลผลิตแล้วหน่อบัวจะยังคงอยู่ในแปลง รอการเจริญเติบโตเมื่อมีน้ำ

คุณนรินทร์ บอกว่า ฝักบัวในภาคอีสานจะขายดีกว่าดอกบัว ซึ่งแม้จะมีความสวยงามแต่ความนิยมในการนำดอกไปใช้ประโยชน์ในภาคอีสานไม่มี รายได้จากการตัดฝักบัวขายของคุณนรินทร์อยู่ที่ปีละ 300,000-400,000 บาทต่อปี ทั้งที่ขายส่งเพียงฝักละ 1 บาทเท่านั้น

ความพิเศษของแปลงบัวคุณนรินทร์อยู่ที่ หลังเก็บฝักบัวแล้วตอบัวจะไม่เหลือให้เห็น เพราะทุกครั้งที่เก็บฝักจะดึงตอทิ้งเสมอ เป็นการช่วยให้บัวในแปลงดูใหม่ตลอดเวลา

ปัจจุบันที่นาสำหรับทำนาปรังอยู่ที่ 10 ไร่ต่อปี ส่วนอีกกว่า 20 ไร่ คุณนรินทร์จัดการให้เป็นแปลงบัว ดังนั้น แม้ว่าแปลงบัวตัดฝักในอำเภอปากคาดมีให้เห็นได้ในฤดูฝน แต่ถ้าสนใจชมนอกฤดูต้องไปที่แปลงคุณนรินทร์เพียงรายเดียวเท่านั้น

เดินทางไปชมกันถึงที่ได้ที่ บ้านเลขที่ 75 หมู่ 4 บ้านนาดงน้อย ตำบลนาดวง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ หรือโทรศัพท์สอบถามเทคนิคการปลูกได้ที่คุณนรินทร์ ศรีวรษา

ปัจจุบันความนิยมปลูกไม้ยืนต้นที่โตเร็ว สามารถตัดทำเป็นไม้แปรรูปนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ หรือเป็นไม้สร้างบ้านที่ใช้ระยะเวลาการดูแลไม่ยาวนานนักอยู่ในช่วง 5 – 10 ปีนั้น กระแสตอบรับนับวันจะมีมากขึ้น ประการสำคัญของการปลูกไม้ยืนต้นที่โตเร็วนั้น วัตถุประสงค์หลักส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการปลูกเพื่อเสริมพื้นที่ว่างตามที่ดินรกร้างว่างเปล่า หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร จึงมีแนวความคิดหาไม้ยืนต้นที่โตเร็ว และมีประโยชน์ในการแปรรูปไม้นำมาปลูกในพื้นที่ว่างกัน

การปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่ว่างนั้น ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแค่หากิ่งพันธุ์ไม้มาลงปลูก ดูแลให้น้ำบ้างในระยะแรกๆ เพื่อให้ต้นตั้งตัวได้ พอดินรัดรากดีระบบรากสามารถแตกแขนงหากินช่วยตัวเองได้แล้ว ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติ เพราะไม้ยืนต้นยิ่งเป็นประเภทไม้ป่าด้วยแล้วต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ในธรรมชาติภูมิอากาศบ้านเรา 3 ฤดู ร้อน / ฝน / หนาว ได้สบายๆ กรณีนี้ต้องยกเว้นการเกิดภัยธรรมชาติโดยเฉพาะอุทกภัย ไม่ว่าจะเป็นไม้อะไรโดนน้ำท่วมนานๆ มีสิทธิ์ตายได้ เหมือนกันหมด