ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่างๆ

สมาชิกสภาจังหวัดกำแพงเพชร เขต 2 (2555-ปัจจุบัน)
ประธานสภาเทศบาลตำบลวังยาง (2551-2554)
กรรมการบริหารสมาคมไร่อ้อย เขต 6 (2548-2551)
กรรมการสมาคมไร่อ้อย เขต 6 (2545-2548)
เป็นตัวแทนเกษตรกร คัดค้านไม่ให้โรงงานน้ำตาลขาย กากหม้อกรอง (Filter cake) แต่ให้แจกจ่ายให้กับเกษตรกร
ช่วยขุดระบายน้ำในพื้นที่การเกษตรที่ตื้นเขินด้วยรถแบ๊คโฮส่วนตัว ในพื้นที่ตำบลวังยาง
บริการตักกากหม้อกรอง (Filter cake) ของโรงงานน้ำตาลนครเพชรด้วยรถแบ๊คโฮของตนเองให้กับเกษตรกร ที่ไม่มีโควต้าอ้อยกับโรงงานโดยใช้โควต้าอ้อยของตนเอง คิดราคาบริการตักกากหม้อกรอง 150 บาท/คันรถ ในขณะที่โรงงานคิดค่าบริการตัก 750 บาท/คันรถ มีเกษตรกรใช้บริการกว่า 100 ราย รวมพื้นที่อ้อย ไม่น้อยกว่า 10,000 ไร่
ผลักดันและร่วมกับชุมชนในการขุดลอกแหล่งน้ำและลำคลองในพื้นที่ตำบลวังบัว ท่ามะเขือ วังยาง และวังแขม หลายสาย รวมระยะทางมากกว่า 150 กิโลเมตร
เป็นวิทยากรให้ความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยกับเกษตรกรไร่อ้อยจังหวัดกำแพงเพชร
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

– ที่ดินที่ปลูกอ้อยทุกแปลงไม่อยู่ในเขตป่าสงวนฯ หรือเขตหวงห้ามของทางราชการ

– ใช้วัสดุเหลือใช้ในการเกษตร ได้แก่ กากหม้อกรอง (Filter cake) ในการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิต

– ใช้ใบอ้อยคลุมดิน หลังเก็บเกี่ยว เพื่อรักษาความชื้นในดิน และป้องกันวัชพืชงอก เป็นการลดการใช้สารเคมี กำจัดวัชพืช หลังจากนั้น 3-4 เดือน ใช้เครื่องจักรสับใบอ้อยลงดิน เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและปรับโครงสร้างดิน

– ใช้หลักการกำจัดวัชพืชโดยวิธีผสมผสานและใช้สารเคมีตามหลักวิธีการอย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นที่ทราบกันดีว่า ช่วงหลายปีมานี้ราคายางพาราตกต่ำมาโดยตลอด ขณะที่รัฐบาลเองก็มีนโยบายลดพื้นที่ปลูกยางพารา และหันมาส่งเสริมการแปรรูปให้มากขึ้น รวมทั้งให้นำมาเป็นส่วนผสมของถนนและวัสดุอปุกรณ์ต่างๆ

ย่อยสลายได้ ลดโลกร้อน
ด้วยเหตุนี้เอง ผลิตภัณฑ์ “ถุงเพาะชำจากยางพารา” ย่อยสลายได้ ของ คุณณัฐวี บัวแก้ว อายุ 24 ปี เจ้าของแบรนด์ Greensery จึงตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญมีส่วนช่วยลดโลกร้อนด้วย และก่อนหน้านี้ผลิตภัณฑ์ของเขาก็ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมประกวดแข่งขันแผนธุรกิจ โครงการ Bangchak YY contest กระทั่งได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนประเทศไทยไปนำเสนอผลงาน ในงาน Social Business Forum Asia ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นมากทีเดียว

มาฟังกัน หนุ่มรายนี้ซึ่งเรียนจบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) คิดค้นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้มาได้อย่างไร

คุณณัฐวี เกริ่นความเป็นมาของผลิตภัณฑ์นี้ว่า เริ่มจากช่วงก่อนเรียนจบ ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม PSU Startup Challenge ที่จัดโดย P-SEDA สถานพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา มอ. โครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มีความคิดที่อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยโครงการจะเชิญรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จประกอบธุรกิจในแต่ละด้านมาเป็นวิทยากร บางคนอายุยังน้อย เลยกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า จะทำแบบรุ่นพี่ได้หรือเปล่า

หลังจากนั้นก็เปิดใจที่จะเรียนรู้ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนแผนธุรกิจ องค์ความรู้ต่างๆ ที่จะนำพาให้สามารถมีธุรกิจเป็นของตัวเองได้ และในงานก็มีกิจกรรมให้แข่งขันการประกวดไอเดียทางธุรกิจ การทำแผนการตลาดและการนำเสนองาน

สรุปว่า การแข่งในครั้งนั้น ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง แต่สิ่งที่ได้มามากกว่านั้นคือ ทำให้ค้นพบว่าตัวเองชอบด้านนี้เอามากๆ ทำแล้วสนุก สนุกที่จะเรียนรู้และตัดสินใจเข้าประกวดแข่งขันอีกหลายเวที จนมีอยู่งานหนึ่งที่ให้ส่งผลงานเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านการเกษตร โดยนึกได้ว่าเมื่อสองปีที่ผ่านมาเคยช่วยน้องสาวทำโครงงานถุงเพาะชำดูดซับน้ำจากยางพารา เลยตัดสินใจนำโครงงานนี้มาวิจัยและพัฒนาต่อ ซึ่งมองว่าการที่ถุงเพาะชำดูดซับน้ำได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ เลยตัดสินใจลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้หลายจังหวัด เช่น สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี

ในถุงมีธาตุอาหาร
จนได้ข้อสรุปว่า เกษตรกรเจอปัญหาในหลากหลายแง่มุม เช่น ถุงพลาสติกขาดง่าย โดนแดดนานๆ จะกรอบ ดูดกลืนแสงได้ดีเพราะมีสีดำ ทำให้ต้องรดน้ำต้นกล้าบ่อย เพื่อป้องกันสภาวะการขาดน้ำของพืช ขณะปลูกลงแปลงปลูกหรือเปลี่ยนขนาดไซซ์ถุงเพาะชำจากเล็กไปใหญ่ต้องกรีดถุงออก ซึ่งทำงานได้ช้าลงมาก รวมถึงต้องใช้ความระมัดระวังในการฉีกถุง เพื่อไม่ให้รากพืชเกิดความเสียหายและยังเป็นปัญหาขยะพลาสติกจากถุงเพาะกล้า และอีกปัญหาที่สำคัญคือ ต้นทุนการทำเกษตรที่สูงขึ้นมากกว่าอดีต เลยสรุปปัญหาทั้งหมดเพื่อหาแนวทางการแก้ไขได้ดังนี้

ถุงต้องดูดซับน้ำได้
ถุงต้องย่อยสลายได้ ไม่ต้องกรีดถุงขณะย้ายกล้าหรือปลูกลงแปลงปลูก
ถุงต้องมีธาตุอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของกล้าพืช
ต้องใช้วัตถุดิบจากยางพาราในการทำถุงเพาะชำ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบหลักของประเทศ และกำลังประสบปัญหาราคายางที่ตกต่ำมากในปัจจุบัน หากช่วยกันนำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ จะสามารถเพิ่มมูลค่าจากยางพาราได้

“เหตุผลที่ผมเลือกทำถุงเพาะชำจากยางพารา เกิดจากความคิดเริ่มต้นคือ ต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราที่ตกต่ำมากในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อพ่อแม่พี่น้องชาวสวนยางเป็นอย่างมาก ผมเองก็เป็นลูกชาวสวนยางอยู่ที่อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเกิดความคิดที่จะทำถุงเพาะชำ เพราะมีการใช้เยอะมากในกระบวนการปลูกกล้าไม้ อีกทั้งเป็นตลาดที่ใหญ่มากตลาดหนึ่งที่ยังเติบโตอยู่อย่างต่อเนื่อง และส่วนใหญ่จะใช้แล้วทิ้ง ซึ่งกำจัดโดยวิธีการเผาหรือฝังกลบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง”

คุณณัฐวี แจกแจงว่า ในการเข้าร่วมประกวดแข่งขันแผนธุรกิจ โครงการ Bangchak YY contest จนได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนประเทศไทยไปนำเสนอผลงาน ในงาน Social Business Forum Asia ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญในการตัดสินใจที่จะวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ถุงเพาะชำจากยางพาราให้สำเร็จและออกสู่ตลาดให้ได้โดยเร็ว

ต่อมาได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นผู้ประกอบการในความดูแลของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มอ. ซึ่งได้รับการสนับสนุนในหลากหลายด้าน ทั้งการพัฒนาองค์ความรู้ และการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงได้เข้าร่วม โครงการ SME D Scaleup Rubber Innovation โดยได้รับความช่วยเหลือจากคณาจารย์ภายใต้อุทยานวิทยาศาสตร์ มอ. เป็นที่ปรึกษาในการวิจัยและพัฒนาถุงเพาะชำจากยางพาราในครั้งนี้ จนสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบในปัจจุบัน

เจ้าของ “ถุงเพาะชำจากยางพารา” รายนี้ อธิบายถึงขั้นตอนกระบวนการผลิตถุงเพาะชำว่า ไม่มีความยุ่งยากอะไรมาก ใช้กระบวนการเดียวกับการผลิตถุงมือจากยางพาราในปัจจุบัน นั่นคือ กระบวนการจุ่มขึ้นรูป มีแม่พิมพ์ถุงเพาะชำ สูตรที่ใช้ขึ้นรูป และตู้อบเป็นอุปกรณ์หลัก ทั้งนี้ในกระบวนการผลิตมีการใช้ยางพารามากกว่า 50% ส่วนผสมของถุงใช้เป็นฟูดส์​เกรดทั้งหมด จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กลุ่มลูกค้าหลากหลาย
ปัจจุบัน ได้วิจัยและพัฒนาถุงเพาะชำจากยางพาราขึ้นมา 2 รูปแบบ นั้นคือ ถุงเพาะชำขนาดเท่าถุงพลาสติกทั่วไปและผลิตภัณฑ์ใหม่คือ ถุงเพาะชำกล้าสำหรับถาดเพาะชำ ซึ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้เป็นหลัก เพราะมีฐานลูกค้ารองรับ เนื่องจากทำให้สามารถย้ายกล้าลงแปลงปลูกได้รวดเร็ว ไม่เกิดความเสียหายของรากพืชในการย้ายกล้าและยังคงคุณสมบัติเดิมคือ ถุงสามารถย่อยสลายได้ สามารถดูดซับน้ำได้ และมีธาตุอาหาร N P K ที่จำเป็นของกล้าพืชในการเจริญเติบโต ทำให้เกษตรกรลดระยะเวลาในการทำงานลงได้ รวมถึงอัตราการรดน้ำ และปริมาณปุ๋ยเคมี ทั้งยังช่วยเกษตรกรชาวสวนยางพาราได้อีกด้วย

คุณณัฐวี พูดถึงกลุ่มลูกค้าของเขาว่า มีหลากหลาย อาทิ กลุ่มบริษัทเพาะพันธุ์กล้าไม้ กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอุปกรณ์ทางการเกษตร กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้เจ้าตัววางแผนผลิตออกจำหน่ายในเดือนเมษายนนี้ เนื่องจากงานวิจัยถุงเพาะชำจากยางพาราเพิ่งวิจัยสำเร็จได้ไม่นาน จึงต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ โดยในช่วง 1-2 ปีแรก จะวางแผนในการจ้างผลิตจากโรงงานผลิตถุงมือจากยางพารา

สำหรับแผนการตลาด หนุ่มเจ้าของถุงเพาะชำจากยางพาราบอกว่า ด้วยความที่เป็นสินค้าใหม่เจ้าแรกและเจ้าเดียว ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากนัก จึงต้องอาศัยช่องทางการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานต่างๆ และจากการได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เกษตรกรเพาะพันธุ์กล้าไม้ในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคใต้ และงานเกษตรภาคใต้ที่รวมผู้ประกอบการหลายจังหวัดในประเทศไทย พบว่าเกษตรกรมีความสนใจที่จะทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ถุงเพาะชำจากยางพารา รวมถึงการนำเสนอผลงานนวัตกรรมที่ประเทศญี่ปุ่นก็ได้รับผลตอบรับอย่างดีมาก ซึ่งสรุปผลได้ว่า ถุงเพาะชำจากยางพาราไม่เพียงแต่เป็นที่ต้องการภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่สามารถเปิดตลาดในต่างประเทศได้

จากข้อมูลดังกล่าว จึงได้จัดทำการตลาดทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการออกบู๊ธเจรจาคู่ค้าระหว่างประเทศ เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

เริ่มต้นศูนย์บาท แต่มีไอเดีย
ว่าไปแล้วแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น แต่ความยากที่จะทำให้ผู้คนรู้จักก็ยังเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ซึ่งเขาเองยอมรับว่าการเปิดตลาดช่วงแรกถือเป็นงานที่หนักมาก ที่จะทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับในท้องตลาด แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทในศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มอ. รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่มีฐานลูกค้ากลุ่มเดียวกันช่วยประชาสัมพันธ์สินค้า และส่งสินค้าไปทดสอบกับกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย ซึ่งในตอนนี้มีกลุ่มลูกค้าติดต่อเข้ามาอย่างต่อเนื่องเพื่อซื้อสินค้าถุงเพาะชำจากยางพารา

คุณณัฐวี ให้ข้อมูลด้วยว่า จากการสืบค้นข้อมูล ยืนยันได้ว่าเป็นถุงเพาะชำรายแรกของไทย และน่าจะเป็นรายแรกในโลกก็ได้ เพราะค้นไม่เจอว่ามีที่ไหนทำบ้าง ซึ่งถุงที่ทำตอนนี้มีเฉพาะถุงที่ใช้สำหรับถาดเพาะชำ กำลังพัฒนาไปผลิตขนาดต่างๆ ด้วย โดยถุงที่พัฒนาขึ้นเหมาะสำหรับพืชที่มีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป หรือพืชไม้ดอกไม้ประดับ

ในฐานะเด็กจบใหม่ที่มาเป็นผู้ประกอบการเลยนั้น คุณณัฐวี พูดถึงปัญหาอุปสรรคว่า เป็นเรื่องยากมากที่เด็กจบใหม่ตัดสินใจมาทำธุรกิจของตัวเองด้วยเงินทุนศูนย์บาท (0 บาท) ซึ่งต้องเจอกับคำถามมากมายถึงการไม่ไปทำงานตามสายอาชีพที่เรียนจบมา ต้องอดทนแบกรับความเสี่ยงเยอะมาก เนื่องจากทางบ้านไม่ได้มีฐานะร่ำรวย และยังมีภาระต้องส่งน้องสาวเรียนต่อในระดับชั้นมหาวิทยาลัย บวกกับหนี้สินเยอะมาก เนื่องจากพ่อที่เป็นเสาหลักเสียชีวิต แต่ที่กล้าติดสินใจลงมือทำเพราะมองเห็นโอกาสจากการได้เรียนรู้ว่าถ้ามีแค่ไอเดียก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ โดยเริ่มส่งผลงานประกวดมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อหาช่องทางหาเงินทุน จนปัจจุบันสามารถทำไอเดียที่คิดไว้ให้เป็นจริงได้ด้วยเงินเริ่มต้นศูนย์บาท (0 บาท)

“ผมมองว่า ธุรกิจถุงเพาะชำเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมสามารถเข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาดนี้ได้อย่างแน่นอน เพราะเราตั้งใจทำสินค้าที่มีคุณภาพที่สามารถลดต้นทุน ลดระยะเวลาในการทำงาน ช่วยเหลือชาวสวนยาง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สิ่งสำคัญคือ หาที่ของเราให้เจอว่าเราเหมาะกับกลุ่มลูกค้าแบบไหน เท่านี้ก็คิดว่าธุรกิจสามารถเติบโตได้”

คุณสมโชค ณ นคร เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ข้อมูลว่า จากวิสัยทัศน์ที่ว่า นครศรีธรรมราชเป็น “นครแห่งอารยธรรม น่าอยู่ น่าเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรมยั่งยืน” ซึ่งจังหวัดแห่งนี้ถือว่ามีพื้นที่การทำเกษตรมากอีกพื้นที่หนึ่ง จึงได้มุ่งเน้นและสร้างแบบแผนให้เกษตรกรสร้างสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐานตรงความต้องการของผู้บริโภค พร้อมทั้งมีการนำวิทยาการและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้เพื่อให้เกษตรกรมีการพัฒนาสู่การเป็น smart famer เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร สามารถสร้างฟาร์มสู่การเป็นฟาร์มที่มีมาตรฐาน และมีแผนการผลิตที่ชัดเจน ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี

“พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของนครศรีธรรมราช ก็จะมี ข้าว ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ยางพารา โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุด รองลงมาคือ ปาล์มน้ำมัน และข้าว ส่วนในเรื่องของไม้ผล อย่าง มังคุด และทุเรียน ถือว่าเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีรสชาติที่อร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในอนาคตไม้ผลอย่างทุเรียน มังคุด เมื่อมีการพัฒนาและสร้างมาตรฐานอยู่เสมอๆ ก็จะช่วยส่งผลให้ในเรื่องของราคาในอนาคตดีขึ้น และเกษตรกรมีผลกำไรได้อย่างแน่นอน” คุณสมโชค กล่าว เสริมทับดึงผู้มาเยือน

ด้วยแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ในส่วนของการทำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อให้ผู้สนใจได้เข้ามาเที่ยวชมนั้น คุณสมโชค บอกว่า “ในเวลานี้แทบทุกอำเภอที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจเป็นอย่างมาก เมื่อมีโอกาสหรือไปเยือนในอำเภอนั้นๆ จะต้องไปแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นให้ได้ เพื่อที่จะไปลองชิมและดูขั้นตอนการผลิตแบบครบวงจร จึงเป็นทั้งผลดีต่อผู้เข้าชมว่าจะได้เห็นสินค้า ว่ามีการผลิตเป็นอย่างไร และช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นและส่งผลดีต่อเรื่องของการทำตลาดต่อไปได้อีกด้วย” คุณสมโชคบอก

ปัจจุบัน ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดได้มีการส่งเสริมในเรื่องของการผลิตอาหารปลอดภัย ทั้งการผลิตพืชผลแบบไม่ใช้สารเคมี ตลอดไปจนถึงการผลิตผักอินทรีย์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารปลอดภัย เพราะปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่มาเยือนยังจังหวัดนครศรีธรรมราชจะเน้นการท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติมากกว่า โดยไม่เน้นเพื่อความสนุกสนานเหมือนเช่นสมัยก่อน จึงทำให้กลุ่มของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้

นอกจากนี้ ในเรื่องของการทำเกษตรเพื่อให้มีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง พร้อมทั้งเป็นการสร้างการตลาดที่เข้มแข็ง เกษตรกรภายในจังหวัดได้มีการรวมกลุ่มกันทำเกษตรแปลงใหญ่ คือนำพื้นที่เกษตรของแต่ละคนที่เป็นพืชชนิดเดียวกัน มารวมกลุ่มกัน เพื่อบริหารจัดการให้เกิดเป็นเกษตรแปลงใหญ่ โดยมีเป้าหมายการผลิตเดียวกันในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต อย่างเช่น ในเรื่องของการซื้อปุ๋ย การผลิตเมื่อซื้อจำนวนที่มาก ราคาปุ๋ยก็จะถูกลง จะช่วยให้ได้ปัจจัยการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรมีผลกำไรเพิ่มมากขึ้นจากการจำหน่ายสินค้าแต่ละครั้ง

“การทำเกษตรแปลงใหญ่ สามารถทำให้ทิศทางของการผลิตสินค้าเกษตรไปในทิศทางเดียวกันได้ เพราะเกษตรกรที่เป็นสมาชิกในกลุ่มจะมีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนปัญหาและแนวทางกันอยู่เสมอ จึงช่วยส่งเสริมให้การบริหารจัดการเป็นระบบระเบียบมากขึ้น จากนั้นผลสุดท้ายผลผลิตก็จะมีคุณภาพตามมาด้วย ส่งผลให้ในเรื่องของการตลาดก็ทำการค้าขายได้ง่ายขึ้น มีลูกค้าเข้ามาประมูลถึงในกลุ่ม จึงทำให้เครือข่ายการทำเกษตรแปลงใหญ่เป็นเรื่องที่สำคัญของเกษตรกรในยุคนี้” เกษตรจังหวัดกล่าว

ทั้งนี้ ต่อไปในอนาคตสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช มีทิศทางและแผนที่จะส่งเสริมสินค้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างเช่น ส้มโอทับทิมสยาม ให้เป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อและยั่งยืน พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ปลูกให้สินค้ามีเพียงพอต่อความต้องการของตลาด บวกกับใส่ใจในเรื่องของคุณภาพให้มีมาตรฐานมากขึ้น คือกระบวนการผลิตต้องมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีมาตรฐานเพื่อสร้างเป็นสินค้าพรีเมี่ยม โดยนอกจากส้มโอทับทิมสยามแล้ว ยังมีไม้ผลอื่นๆ ที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ดียิ่งขึ้น และเกษตรกรในจังหวัดสามารถทำเป็นอาชีพส่งต่อสืบๆ กันไปสู่คนรุ่นหลัง เพื่อเป็นอาชีพที่เลี้ยงและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

หลายคนนิยมให้ลูกหลานบริโภค “ส้ม” เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ในปี 2560กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้สำรวจผักผลไม้ในท้องตลาดค้าส่งทั่วประเทศไทย พบข้อมูลที่น่าตกใจว่า “ส้ม” เป็นผลไม้ที่ค้นพบสารพิษตกค้างมากถึง 9 ชนิด รองลงมาคือ แก้วมังกร ชมพู่ และลำไย ชนิดสารเคมีตกค้างในผลไม้สดสูง คือ carbendazim ร้อยละ 34 และไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ร้อยละ 23 ซึ่งเป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ในการกำจัดแมลง ผู้บริโภคที่ได้รับสารเคมีตกค้างชนิดนี้จะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริวที่ท้อง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มึนงงหากได้รับในปริมาณมากๆ จะทำให้กล้ามเนื้อกระตุกและชักได้

สำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ หากไม่อยากเสี่ยงกับการบริโภคส้มที่มีสารเคมีตกค้าง ขอแนะนำให้เลือกซื้อส้มอินทรีย์ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองสามวัง (ปิ่นโตเกษตรอินทรีย์) ภายใต้การนำ ของ “นายกิตติวัฒน์-นางกัลย์ทิพา วสุรัฐเดชาพงศ์” ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 48/2 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี 12170 โทร. 093-324-2799

หลายคนอาจไม่คุ้นหูกับชื่อ “นายกิตติวัฒน์ วสุรัฐเดชาพงศ์” ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองสามวัง (ปิ่นโตเกษตรอินทรีย์) สักเท่าไร หากเอ่ยชื่อเดิมของเขา “นายวรพนธ์ สาสดี” หลายคนคงร้องอ๋อ! จำได้แล้ว เพราะเขามีผลงานโดดเด่นในฐานะผู้บุกเบิกการทำสวนส้มอินทรีย์ในย่านทุ่งรังสิตมานานปี

สองสามีภรรยาแกนนำกลุ่มปิ่นโตเกษตรอินทรีย์ เล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังว่า คุณกิตติวัฒน์ เกิดในครอบครัวชาวสวนส้มบางมด ซึ่งเป็นแหล่งปลูกส้มเขียวหวานสายพันธุ์ดีของประเทศไทย ต่อมาสวนส้มบางมดเจอปัญหาน้ำเค็มรุกเข้าพื้นที่การเกษตร ทำให้ปลูกส้มไม่ได้ เกษตรกรที่ทำสวนส้มบางมดส่วนใหญ่จึงตัดสินใจอพยพครอบครัวมาทำการเพาะปลูกในอำเภอหนองเสือ อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี และอำเภอคลองหลวง ซึ่งที่ดินมีราคาถูกและสภาพน้ำยังดีอยู่

คุณกิตติวัฒน์ ซื้อที่ดินในพื้นที่ตำบลหนองสามวัง ซึ่งเป็นที่อยู่ในปัจจุบัน เพื่อทำสวนส้มแห่งใหม่ ส้มเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณมาก จึงทำสวนส้มแบบร่องน้ำ เพื่อให้มีปริมาณน้ำมากพอสำหรับหล่อเลี้ยงผลส้มตลอดทั้งปี ช่วงนั้น เกษตรกรขายส้มได้ราคาดี คุณกิตติวัฒน์ ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ทำสวนส้มโดยใส่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงอย่างหนัก ใครว่า ปุ๋ย ยา ชนิดไหนคุณภาพดี ก็หามาใช้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีป้อนเข้าสู่ตลาf

หลังจากเกษตรกรสวนส้มรังสิตส่วนใหญ่หันมาใช้สารเคมีจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ปี 2538 ทำให้เกิดปัญหาดินเป็นกรด เกิดโรคระบาดและแมลงศัตรูพืชรบกวน การแพร่ระบาดของโรคกรีนนิ่ง ทำให้ผลส้มร่วง ต้นส้มล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรจำนวนมากตัดสินใจเลิกปลูกส้ม หันไปปลูกพืชผัก ไม้ผลและสวนปาล์มน้ำมันแทน แต่คุณกิตติวัฒน์ตัดสินใจย้ายไปเช่าที่ดินปลูกส้มแห่งใหม่ เนื้อที่ 100 ไร่ ที่จังหวัดกำแพงเพชร แต่ทำได้เพียงไม่กี่ปี ก็เจอปัญหาเดิมเช่นเดียวกับสวนส้มรังสิต

ปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้น ทำให้คุณกิตติวัฒน์ประสบปัญหาขาดทุนและมีหนี้สินก้อนโต มูลค่ากว่า 3 ล้านบาท ต้องขายทรัพย์สินของครอบครัวเพื่อชำระหนี้ รวมทั้งสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และรับการฟื้นฟูอาชีพตามขั้นตอน แม้เจอปัญหาอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เขาก็ไม่หมดกำลัง พร้อมลุกขึ้นสู้ โดยปฏิวัติแนวคิดหันมาทำเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มจากปลูกฝรั่งอินทรีย์ มะนาว พืชผักไม้ผลนานาชนิด และทำสวนส้มอินทรีย์ บนเนื้อที่ 8 ไร่ จนประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงกว้าง ในฐานะเกษตรกรต้นแบบของการทำสวนส้มอินทรีย์รายแรกของทุ่งรังสิต

ปัจจุบัน คุณกิตติวัฒน์ ปลูกส้มเขียวดำเนินอินทรีย์ ที่มีลักษณะเด่นคือ ส้มเขียว ผิวสีเขียวอ่อน รสเปรี้ยวอมหวาน ซังอ่อนนุ่มมีกากเล็กน้อย เมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลืองอมเขียว รสหวานจัดขึ้น เกษตรกรชาวสวนส้มทั่วไปเลือกผลิตส้มให้มีผลผลิตออกมาในช่วงเทศกาลตรุษจีน แต่คุณกิตติวัฒน์มองว่า ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะในระยะนั้น มีผลผลิตเข้าตลาดเป็นจำนวนมาก จึงขายผลผลิตไม่ได้ราคาที่ต้องการ

เขาจึงวางแผนการผลิตให้มีสินค้าส้มอินทรีย์เข้าสู่ตลาดเป็น 3 ช่วงแทน เพื่อกระจายความเสี่ยงทางการตลาด โดยผลผลิตรุ่นแรก จะเริ่มวางขายในเดือนพฤศจิกายน รุ่นที่สอง ขายในช่วงเดือนเมษายน ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนรุ่นที่สาม ขายในช่วงเดือนตุลาคม โดยมีราคาขายไม่ต่ำกว่า 70-80 บาท ต่อกิโลกรัม

“การวางแผนจำหน่ายส้มอินทรีย์ในระยะเวลาดังกล่าว ทำให้มีผลกำไรที่ดี เพราะต้นทุนการผลิตส้มอินทรีย์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 40 บาท หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วยังเหลือผลกำไรก้อนโต คุ้มค่ากับการลงทุน ต้นทุนหลักของการทำสวนส้มอินทรีย์อยู่ที่ต้นทุนด้านแรงงานในการดูแลจัดการปัญหาโรคแมลงในสวนส้มให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี ทุกวันนี้ หากเจอปัญหาโรคกรีนนิ่ง จะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าฉีดพ่น ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างสบาย” คุณกิตติวัฒน์ กล่าว

ทุกวันนี้ คุณกิตติวัฒน์ ทำหน้าที่ฝ่ายผลิตสินค้า ส่วนคุณกัลย์ทิพา ช่วยดูแลด้านตลาด รวมทั้งแปรรูปสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบต่างๆ เช่น สบู่ แชมพู และครีมนวดผมจากมะกรูด ผลิตน้ำส้มคั้นพร้อมดื่มออกขายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิญชวนนักท่องเที่ยวที่สนใจมาล่องเรือ หิ้วตะกร้าสานคนละใบ แล้วไปนั่งเรือเก็บส้มด้วยตนเองตามร่องสวน สร้างรายได้ก้อนโตได้อีกทางหนึ่ง

ปัจจุบัน คุณกิตติวัฒน์ และคุณกัลย์ทิพา ชักชวนเกษตรกรในท้องถิ่นและเพื่อนเกษตรกรที่มีอุดมการณ์เดียวกัน หันมาปลูกพืชผักผลไม้อินทรีย์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปลูกดูแลพืชผักผลไม้ รวมกันซื้อ รวมกันขาย จนกลายเป็นสถาบันเกษตรกรที่เข้มแข็ง ภายใต้ชื่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองสามวัง (ปิ่นโตเกษตรอินทรีย์)

“ผักผลไม้อินทรีย์” มีคุณภาพดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค แต่มีราคาจำหน่ายสูงกว่า สินค้าพืชผักผลไม้ทั่วไปอยู่บ้าง สำหรับผู้บริโภคที่มีความรู้ ความเข้าใจ คุณค่าของผักผลไม้อินทรีย์ ส่วนใหญ่ยินดีควักกระเป๋าซื้อโดยไม่ลังเล แต่ผู้บริโภคที่ไม่รู้จักสินค้าประเภทนี้ อาจเป็นเรื่องยากในการเข้าถึง ดังนั้น พวกเขาจึงยินดีแบ่งปันความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ต่อเกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้รู้จักคุณค่าและประโยชน์ของพืชผักผลไม้อินทรีย์ ขณะเดียวกัน กลุ่มปิ่นโตอินทรีย์ก็เรียนรู้ที่จะเจาะตลาดให้ถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่มีกำลังซื้อสูง เช่น ย่านถนนสีลม และงานประชุมของกลุ่มโรตารี่ เป็นต้น

ก่อนจบการสนทนา คุณกิตติวัฒน์ วสุรัฐเดชาพงศ์ กล่าวว่า ทุกวันนี้ เกษตรกรไทยจำนวนมากนิยมใช้เคมีภัณฑ์การเกษตรทั้งปุ๋ยและยา เพราะเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวกสบาย ให้ผลไวทันตาเห็น แถมได้ผลผลิตต่อไร่ในปริมาณมาก ทำกำไรได้ก้อนโต แต่ในความเป็นจริง เม็ดเงินที่ไหลเข้ากระเป๋า “อาจได้ไม่คุ้มเสีย” เมื่อเทียบกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และรุนแรงมากในสังคมไทย เพราะปัญหาสารเคมีตกค้างที่สะสมในร่างกายเกษตรกรและผู้บริโภค ก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย ทั้งโรคมะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ จึงอยากเชิญชวนให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจบริโภคพืชผักผลไม้อินทรีย์ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในระยะยาว

ขอขอบคุณ “นายกิตติวัฒน์-นางกัลย์ทิพา วสุรัฐเดชาพงศ์” กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองสามวัง (ปิ่นโตเกษตรอินทรีย์) ที่สนับสนุนภาพประกอบข่าวในครั้งนี้ ปัจจุบัน ลิ้นจี่ ในประเทศไทยเริ่มลดปริมาณลง เนื่องจากหลายๆ ปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราคาและคุณภาพ ที่ทำให้ผู้ผลิตเริ่มถอดใจ และผู้บริโภคต้องการในเรื่องของคุณภาพที่ไม่เกี่ยงเรื่องราคา จุดนี้เองทำให้ภาครัฐเข้ามาช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้เจอกัน จึงเป็นที่มาของการผลิตลิ้นจี่คุณภาพของจังหวัดพะเยา ที่พัฒนาการมาโดยลำดับ และขณะนี้มาถึงการทำลิ้นจี่คุณภาพแนวใหม่ คือ ลิ้นจี่กางมุ้ง

คุณยอดชัย มะโนใจ อดีตกำนัน แทงบอลออนไลน์ ปัจจุบันเป็นประธานกลุ่มอนุรักษ์ลิ้นจี่ห้วยป่ากล้วย ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้เล่าความเป็นมาของลิ้นจี่พะเยาว่า ในปี 2512 ขณะนั้นอำเภอแม่ใจยังเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ทางนายอำเภอขณะนั้นเห็นว่าพื้นที่ของอำเภอแม่ใจควรจะมีการปลูกลิ้นจี่ จึงให้นำต้นลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย จากจังหวัดเชียงรายมาปลูกที่โรงเรียนบ้านป่าข่า ตำบลศรีถ้อย จำนวน 12 ต้น เมื่อปลูกไปแล้วปรากฏว่าตายไป 1 ต้น จึงเหลือ 11 ต้น และเจริญรอกงามมาเป็นลำดับ ให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ จึงมีการขยายไปปลูกที่อื่นๆ ในเขตอำเภอแม่ใจและใกล้เคียง

โดยเฉพาะที่อำเภอแม่ใจ มีความเหมาะสมหลายประการ ทั้งเรื่องน้ำ อากาศ และดิน ถึงปัจจุบันหลายปัจจัยอาจจะเปลี่ยน เช่น อากาศจะไม่ค่อยหนาวเย็นเหมือนสมัยก่อน แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือดินของอำเภอแม่ใจ เป็นชุดดินชื่อชุดดินบ้านจอง (ตามการจัดชุดดินของกรมพัฒนาที่ดิน) ซึ่งมีองค์ประกอบแร่ธาตุที่เหมาะสมแก่ลิ้นจี่ และที่ห้วยป่ากล้วยเองทางกรมชลประทานได้มาจัดสร้างอ่างเก็บน้ำ เรียกอ่างห้วยป่ากล้วย ทำให้ลิ้นจี่ได้คุณภาพทั้งรสชาติ สีผิว กลิ่น ที่ลงตัว

สมัยก่อนบ้านใดถ้าปลูกลิ้นจี่ คนบ้านนั้นจะค่อนข้างมีฐานะ เพราะราคาของลิ้นจี่สมัยก่อนนั้นแพงมาก ส่วนใหญ่คนจะซื้อไปฝากคนที่เคารพนับถือ ญาติผู้ใหญ่ หรือผู้บังคับบัญชา จนมีคำกล่าวว่าลิ้นจี่เป็นพืชที่คนซื้อไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ซื้อ ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา

ข้อมูลทางวิชาการของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยคือ ลักษณะประจำพันธุ์ ต้นมีทรงพุ่มใหญ่ ลำต้นสีน้ำตาลอมเทา ช่วงข้อบนกิ่งห่าง ใบหนา สีเขียว ขอบใบบิดเป็นคลื่น ปลายใบไม่ค่อยแหลม ใบมี 3-4 คู่ ยอดสีเหลืองอ่อนปนเขียว ให้ผลดก ติดผลดีสม่ำเสมอ ลักษณะผลทรงยาวรีคล้ายรูปไข่ เปลือกบาง ผิวสีแดงปนชมพู เนื้อสีขาวขุ่น รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เมล็ดโต เปลือกบาง ทำให้ปอกง่าย และขั้วผลมักหลุดร่วงง่าย พันธุ์ฮงฮวย แบ่งออกได้หลายสายพันธุ์ เช่น ฮงฮวยไหล่กว้าง ฮงฮวยฝาง ฤดูกาลเก็บเกี่ยว เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

คุณยอดชัย ได้เล่าต่อว่า พัฒนาการของลิ้นจี่ในเรื่องของคุณภาพลิ้นจี่เป็นไปตามลำดับจากสมัยก่อนที่ธรรมชาติเอื้ออำนวย จนถึงการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จึงได้มีการพัฒนาทั้งเรื่องการดูแลรักษา การบังคับให้ออกดอกด้วยการควั่นกิ่ง บางช่วงบางตอนลิ้นจี่เป็นพืชที่บางคนนำไปใช้ประโยชน์ในการต่อรอง

ลิ้นจี่เองก็มีข้อด้อยบางประการ เช่น เป็นพืชที่ขายสี คือผู้บริโภคจะดูที่สีผิว หากมีสีแดงสดใสก็จะซื้อไปบริโภค แต่สีผิวของลิ้นจี่จะอยู่ไม่นานหากเก็บลงจากต้นแล้ววันหรือสองวัน หากอยู่ในสภาพอุณหภูมิห้องสีผิวแห้งกรอบกลายเป็นสีน้ำตาล ทั้งๆ ที่คุณภาพเนื้อจะไม่เปลี่ยนแปลง จึงมีการพัฒนาการในเรื่องวิทยาการการเก็บเกี่ยว เช่น รมด้วยกำมะถันแล้วนำไปเก็บในห้องเย็น สีผิวของลิ้นจี่จะออกเป็นสีเหลืองคล้ายกำมะถัน เมื่อนำออกมาวางบนชั้นขายสีจะเริ่มกลับมาเป็นสีแดงเหมือนก่อนรมกำมะถัน