คว้ารางวัลวิจัยนานาชาติ จากงานวิจัยกว่าพัน กว่า 45 ประเทศ

ขายสิทธิเอกชนผลิตเชิง รศ.ดร. ประเสริฐ ปิ่นปฐมวัฐ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ผลจากการส่งเสริมการค้นคว้าและพัฒนาผลงานวิจัยของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลงานวิจัยของคณาจารย์ของ มทร.ธัญบุรี เป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคมในวงกว้าง และได้รับรางวัลจากการส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีวิจัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดในงาน 45th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ซึ่งเป็นงานประกวดผลงานวิจัยประดิษฐ์คิดค้น และนิทรรศการ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสวิสฯ และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก หรือ WIPO (The World Intellectual Progerty Organization) ปีนี้มีผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดนิทรรศการมากกว่า 1,000 ผลงาน มีองค์กร หน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมกว่า 45 ประเทศ โดย มทร.ธัญบุรี ได้ส่งผลงานเข้าประกวด 4 ผลงาน และได้รับรางวัลรวม 6 รางวัล ประกอบด้วย ผลงานเรือหุ่นยนต์สองทุ่น แบบใช้งานระยะยาวสำหรับสำรวจข้อมูลอุทกศาสตร์ ของ ผศ.ดร. ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ และรางวัลพิเศษ จาก HKSTP Invention Award เขตบริหารพิเศษฮ่องกง

รศ.ดร. ประเสริฐ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดครั้งนี้ ได้แก่ ผลงานมาส์กว่านหางจระเข้ผสมสารสกัดว่านตาลเดี่ยว ได้รับรางวัลเหรียญเงิน และรางวัลพิเศษจาก Association Russian House for International Scientific and Technology Cooperation ประเทศรัสเซีย ผลงานแว๊กนวดอะโรม่าสำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อย ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงซึ่งทั้งสองผลงานนี้เป็นของ ผศ.ดร. กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย และอีกหนึ่งผลงานคือ เครื่องทดสอบเส้นใยเดี่ยวสำหรับทดสอบความรู้สึกที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของ ดร. ณรงค์ชัย โอเจริญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง

อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า การได้รับรางวัลในครั้งนี้ ทาง วช.ได้มอบทุนสนับสนุนให้มีการต่อยอดผลงานวิจัย ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา หลายผลงานที่ได้รับรางวัลมีภาคเอกชนมาซื้องานวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นสินค้าและมีผู้ประกอบการจากต่างประเทศสนใจงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก เช่น ผลงานที่เกี่ยวกับว่านหางจระเข้ และตำรับยาไทยที่เกี่ยวกับสเปรย์ร้อน สเปรย์เย็น ได้มีผู้ประกอบการรัสเซียเข้ามาติดต่อ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้ที่เป็นเจลครีมสำหรับบำรุงผิวหน้า ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยร่วมมือทำกับภาคเอกชนของไทย และได้ทำการขายลิขสิทธิ์ให้กับภาคเอกชนไปแล้ว มูลค่า 1.2 ล้านบาท โดยภาคเอกชนได้นำไปผลิตเป็นสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มียอดขายปีละ 30 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่างานวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับจากภาคเอกชน และสามารถช่วยภาคธุรกิจให้สามารถต่อยอดสินค้านำไปออกจำหน่ายได้อีกด้วย ทั้งนี้ มทร.ธัญบุรี พร้อมที่จะร่วมมือกับภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย

โฆษกกรมปศุสัตว์ ขอหยุดส่งต่อข้อความเท็จหมู-ไก่เป็นเอดส์ ชึ้เป็นเรื่องเก่าตั้งแต่ปี 2551 และไม่เป็นความจริงสร้างความเสียหายต่อเกษตรกรไทย ย้ำดูแลควบคุมการผลิตสัตว์ตามมาตรฐานอย่างใกล้ชิด แนะผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย สังเกตสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK”

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะโฆษกกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดียที่ระบุให้งดกินหมูไก่เป็ด อ้างว่าที่นครปฐมมีหมูไก่เป็นโรคเอดส์ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นข้อความเก่าที่ส่งต่อกันในสังคมออนไลน์ตั้งแต่ปี 2551 และกลับมาส่งอย่างแพร่หลายในแอพพลิเคชั่นไลน์เมื่อปี 2557 แล้วยังวนส่งต่อกันทุกปี จากการรายงานของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมในพื้นที่จังหวัดนครปฐมที่ถูกพาดพิงในข้อความและจังหวัดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของกรมปศุสัตว์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยมีจังหวัดไหนที่พบกรณีโรคเอดส์หมูและไก่ปรากฏขึ้นมาก่อน ที่สำคัญกระบวนการผลิตสัตว์ของไทยทั้งหมูและสัตว์ปีกเป็นไปตามมาตรฐานสากล ผู้บริโภคจึงสามารถบริโภคหมูไก่ได้อย่างปลอดภัย และควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ หรือร้านจำหน่ายที่มีสัญลักษณ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย “ปศุสัตว์ OK” หรือผู้ผลิตที่มีเครื่องหมายการค้าสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้

“ขอย้ำว่าเรื่องหมู-ไก่เป็นเอดส์ นี้เป็นเรื่องเก่าและไม่เป็นความจริง จึงไม่ควรแชร์กันอีกต่อไป เพราะจะกระทบเกษตรจำนวนมาก ขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อข่าวลือ และเชื่อมั่นในมาตรการของกรมปศุสัตว์ในการควบคุมกำกับดูแลฟาร์ม เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ ทั้งหมูและสัตว์ปีกที่ปราศจากโรคติดต่อ และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคทุกคน ที่สำคัญขอให้เลิกส่งต่อข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว ซึ่งถือว่าผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่มีโทษทั้งจำทั้งปรับ” โฆษกกรมปศุสัตว์ กล่าว

ทั้งนี้ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดนครปฐม และฟาร์มทั่วประเทศที่ดำเนินการภายใต้มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ รวมถึงโรงฆ่าสุกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ ยังคงดำเนินการอยู่บนมาตรฐานการผลิตอาหารปลอดภัยตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยมีพนักงานตรวจสอบโรคสัตว์ทั้งก่อนและหลังการฆ่า นอกจากนี้ ยังทำงานร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในการติดตามสถานการณ์ระบาดของโรคทั้งในคนและสัตว์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาในประเทศไทยไม่พบสถานการณ์โรคที่ผิดปกติแต่อย่างใด

นางสุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า จากกระแสความนิยมบริโภคหม่อนผลสด หรือมัลเบอร์รี่ ทำให้เกษตรกรจำนวนมากสนใจปลูกหม่อนผลสดเพิ่มขึ้น จนเกิดมีกรณีบริษัทเอกชนเข้าไปชักชวนให้เกษตรกรร่วมลงทุนปลูกหม่อนผลสดโดยอ้างว่าได้ผลตอบแทนสูงและหากสมาชิกแนะนำเกษตรกรรายอื่นเข้าร่วมปลูกด้วยก็จะให้ค่าตอบแทนแก่คนที่แนะนำด้วย

กรมหม่อนไหมขอชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างบริษัทเอกชนและเกษตรกรหรือบุคคลทั่วไป ชึ่งทางกรมหม่อนไหมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ทั้งนี้ กรมหม่อนไหมได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค ทั้งสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ และศูนย์หม่อนไหมฯ ประชาสัมพันธ์เตือนเกษตรและเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ หากมีเหตุการณ์ลักษณะหลอกลวง และ มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่เกษตรกร แนะนำให้ผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมยังเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร

ดังนั้น หากเกษตรกรหรือประชาชนท่านใดสนใจปลูกหม่อนผลสดเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้ครอบครัว สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงได้ที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ทั้ง 21 ศูนย์ ทั่วประเทศ หรือสอบถามที่กรมหม่อนไหม กรุงเทพฯ เบอร์โทรศัพท์ 02-5587924-6 ต่อ 310

ซีพีเอฟร่วมกับ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และเนคเทค จัดฝึกอบรมการจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพและปฏิบัติการใช้ระบบออนไลน์ Thai School Lunch ให้ความรู้แก่อาจารย์และบุคลากรของโรงเรียนในโครงการซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต ส่งเสริมการจัดทำอาหารที่ถูกหลักโภชนาการสมวัยตามเกณฑ์

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟดำเนินโครงการซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต ภายใต้เสาหลัก “อาหารมั่นคง” เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีภาวะโภชนาการที่ดี โดยในปี 2560 นี้ ซีพีเอฟร่วมกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท จัดโครงการฝึกอบรมการจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพและปฎิบัติการใช้ระบบออนไลน์ Thai School Lunch (ระบบออนไลน์แนะนำสำรับอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ)และการเฝ้าระวังโภชนาการ

การจัดฝึกอบรมดังกล่าว เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทั้ง CSR Leader ของซีพีเอฟ อาจารย์หรือบุคลากรของโรงเรียนที่ดูแลอาหารกลางวันและโภชนาการของนักเรียนในโครงการซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต มีความรู้และเข้าใจแนวทางการจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพและสามารถปฏิบัติการใช้ระบบออนไลน์ Thai School Lunch ในการส่งเสริมการจัดทำอาหารที่ถูกหลักโภชนาการสมวัยตามเกณฑ์ของนักเรียน นอกจากนี้ สามารถนำความรู้และประสบการณ์มาใช้เฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กและเยาวชนอย่างถูกต้องและแม่นยำ รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินโครงการซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคตของแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับขีดความสามารถขององค์กร

โครงการฝึกอบรม Thai School Lunch กำหนดระยะเวลาดำเนินการอบรม 3 รุ่น รุ่นที่ 1 วันที่ 27-28 เมษายน 2560 จำนวน 25 โรงเรียน รุ่นที่ 2 วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2560 จำนวน 25 โรงเรียน และ รุ่นที่ 3 วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2560 จำนวน 24 โรงเรียน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 170 คน

ซีพีเอฟ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)และกระทรวงศึกษาธิการ ริเริ่มโครงการซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต โดยมีเป้าหมายระหว่างปี 2558 -2562 ขยายผลกระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมตามหลักโภชนาการไปยังเด็กนักเรียนในพื้นที่รอบโรงงานและฟาร์มของบริษัท ซึ่งปี 2560 ขึ้นสู่ปีที่ 3 ที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการผลผลิตและอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ นำไปสู่ภาวะโภชนาการสมวัยตามเกณฑ์ของนักเรียนในโรงเรียนที่ดำเนินโครงการ ซึ่งปีนี้จะมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 76 โรงเรียน ตั้งเป้าหมายภายในปี 2560 เด็กและเยาวชนกว่า 20,000 คน ได้รับการส่งเสริมการเข้าถึงอาหาร

กรมวิชาการเกษตรผนึกกำลังกรมส่งเสริมการเกษตร ระดมพลเร่งอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการกำจัดหนอนหัวดำในสวนมะพร้าวเกษตรกรแบบยั่งยืน หวั่นกระทบต่ออุตสาหกรรมมะพร้าวและลุกลามไปยังปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศในอนาคต
นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า หนอนหัวดำถือเป็นภัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมมะพร้าวของไทย ที่ทุกฝ่ายจะต้องเร่งกำจัด-ป้องกันอย่างเร่งด่วน และถือเป็นบทบาทสำคัญของกรมวิชาการเกษตรในการนำผลงานวิจัยด้านวิชาการในการกำจัดเพื่อตัดวงจรการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวไม่ให้แพร่ระบาดมากขึ้นและลดความรุนแรงการระบาดของหนอนหัวดำไปยังพื้นที่แห่งใหม่ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแบบยั่งยืน

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งประเทศ ประมาณ 1.24 ล้านไร่ ในจำนวนดังกล่าวพบพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนหัวดำ 78,954 ไร่ครอบคลุม 29 จังหวัด แต่ที่พบการระบาดรุนแรงมากที่สุดใน 5 จังหวัด ได้แก่ 1 ประจวบคิรีขันธ์ 62,000ไร่ พบการระบาดของหนอนหัวดำทุกอำเภอและสุราษฎ์ธานี 5,000 ไร่ ชลบุรี 4,000 ไร่ สมุทรสาคร 2,600 ไร่ และ แปดริ้ว 953 ไร่ ซึ่งการรุกระบาดของแมลงหนอนหัวดำในพื้นที่ 78,954 ไร่ในปีนี้ ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมมะพร้าวมูลกว่า 10,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบูรการความร่วมมือในการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว(หนอนหัวดำ)ซึ่งกำลังระบาดหนักในขณะนี้ ตนได้มอบหมายให้นักวิชาการจากกรมวิชาการเกษตรร่วมเป็นวิทยากรในการอบรมภายใต้โครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว ด้วยวิธีการผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ซึ่งมีการบรรยายในหัวข้อ แมลงศัตรูมะพร้าว โดยนางณัฏฐิณี ศิริมาจันทร์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ การป้องกันกำจัดโดยวิธีชีววิธี และมะพร้าวอินทรีย์ โดยนางสาวพัชรีวรรณ จงจิตเมตต์ นักกีฏวิทยาชำนาญการ การป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวด้วยสารเคมี โดยนายพฤทธิชาติ ปุญวัฒโท นักกีฏวิทยาชำนาญการ และ มาตรการทางกฎหมาย โดย นางสาวสุวิชญา รอดสุวรรณน้อย นักวิชาการเกษตรชำนาญการ และนายสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมส่งเสริมการเกษตรเข้ารับการอบรมจำนวนมาก ซึ่งการอบรมครั้งนี้เพื่อต้องการให้เจ้าหน้าที่ได้รับเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการป้องกันปราบปรามหนอนหัวดำได้อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อมั่นว่าการบูรการความร่วมมือครั้งนี้จะทำสามารถแก้ปัญหาศัตรูมะพร้าวให้หมดไปโดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นหากพบพื้นที่ไหนมีการระบาดของหนอนหัวดำที่อยู่ในระดับรุนแรง จะเลือกใช้วิธีพ่นสารทางใบสำหรับต้นมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12เมตร โดยใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ฟลูเบนไดเอไมด์ และครอแรนทรานิลิโพรล และวิธีที่สองสำหรับมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร ใช้สารอีมาเม็กติน เบนโซเอต ฉีดเข้าต้น เพราะเชื่อมั่นว่าสามารถตัดวงจรชีวิตหนอนหัวดำได้ผลดีที่สุด

เทรซีย์ แมริส ชาวนิวซีแลนด์ผู้ชื่นชอบธรรมชาติพบปรากฏการณ์ประหลาดโดยฝีมือธรรมชาติเข้าอย่างจัง เมื่อพบว่า เนินดินใกล้กับสนามฟุตบอลที่อยู่ในบริเวณ เขตสงวนกอร์ดอน สแปรตต์ ซึ่งทางการเพิ่งยกระดับขึ้นมาเป็นเนิน สำหรับเป็นที่อพยพชั่วคราวในกรณีที่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อไม่นานมานี้เขตชานเมืองปาปามัว ใกล้กับอ่าว เบย์ ออฟ เพลนตี้ ฝั่งทางตะวันออกของนิวซีแลนด์ ที่ปกติแล้วจะปกคลุมเต็มไปด้วยดอกไม้ป่าเต็มเนิน กลับถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาวแวววาว สะท้อนแสงเห็นได้ชัดแต่ไกลเต็มไปทั่วทั้งเนิน เมื่อโดนกระแสลมก็จะพลิ้วเป็นระลอก เหมือนคลื่นผ้าไหมถูกโบกสะบัดเลยทีเดียว

ใยสีขาวดังกล่าวคะเนความยาวได้ราว 30 เมตร เป็นแถบยาวความกว้างระหว่าง 2-3 เมตร ทีแรก เทรซีย์ คาดว่าผืนใยที่ว่านั้นคงไม่มีเจ้าของ แต่เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆก็พบแมงมุมสีดำขนาดเล็กยั้วเยี้ยไปหมด

โทมาส ชีเบล นักวิชาการด้านวัสดุชีวภาพ (ไบโอแมททีเรียล) จากมหาวิทยาลัยเบย์รอยธ์ ในเยอรมนี ที่ศึกษาเส้นใยแมงมุมหลากหลายชนิด ระบุว่า ผืนเส้นใยดังกล่าวน่าจะเป็นผลงานของแมงมุม ชีท เว็บ ที่สามารถทอใยต่อเนื่องกันเป็นผืนได้ แมงมุม ชีทเว็บ ที่มีขนาดเล็กสามารถทอเส้นใยเป็นผืนขนาดความกว้างราว 2-3 เซนติเมตร แต่มีชีทเว็บ สไปเดอร์ สายพันธุ์ “แคมบริดเจีย โฟเลียตา” ที่ตัวใหญ่ยืดขาออกไปครอบคลุมพื้นที่ได้ราวหนึ่งฝ่ามือ ที่สามารถทอใยเป็นผืนขนาดใหญ่ได้กว้างกว่า 1 เมตร

ชีเบล เชื่อว่าผลงานมหัศจรรย์ที่ เทรซีย์ แมริส ถ่ายเป็นคลิปวิดีโอเก็บไว้นั้น อาจเป็นผลงานของ แคมบริดเจีย โฟเลียตา นับหมื่นๆหรือแสนๆตัวเลยทีเดียว

ผืนใยของแมงมุมที่คลุมเนินทั้งเนินดังกล่าวนั้นอยู่ได้ไม่นาน ส่วนหนึ่งถูกทำลายไปจากสุนัขที่วิ่งเล่นฝ่าเนินข้ามไปมา ส่วนที่เหลือตกเป็นเหยื่อของพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นตามมา เทรซีย์ แมริส บอกว่ากลับไปดูอีกครั้งวันรุ่งขึ้น ไม่มีเส้นใยหลงเหลือให้ดูอีกแล้ว

ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครราชสีมา แจ้งว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมชุมชน เรื่องการเพิ่มมูลค่าบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน ภายใต้โครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ที่บ้านหลุ่งประดู่ ต.หลุ่งประดู่ อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา มีบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ลงพื้นที่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน อาทิ อาจารย์ประจำหลักสูตรออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.นครราชสีมา ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพ และให้มีมูลค่าสูงขึ้นซึ่งมีตัวแทนกลุ่มชุมชนเข้ารับฟัง และฝึกปฏิบัติ 32 คน

ทั้งนี้ การจัดโครงการดังกล่าว เพื่อนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัย และการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับชุมชน โดยมุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม และความเป็นเลิศด้านบริการ ด้วยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับกลุ่มชุมชน ในเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับผลิตภัณฑ์ ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นการบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง มรภ.นครราชสีมากับชุมชน

กรมส่งเสริมการเกษตร จัดงานสัปดาห์รณรงค์ป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว หนอนหัวดำ ในพื้นที่ 29 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 5 – 11 พฤษภาคม 2560

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 อนุมัติให้กระทรวงเกษตรแลสหกรณ์ ดำเนินโครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ มี 5 มาตรการ ได้แก่ 1) การสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม 2) การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน 3) มาตรการทางกฎหมาย 4) การเฝ้าระวังและสำรวจ 5) สร้างสวนใหม่ทดแทนและส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย เพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่สมดุล และมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร จัดงานสัปดาห์รณรงค์ป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว หนอนหัวดำ ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ในระหว่างวันที่ 5 – 11 พฤษภาคม 2560 ในพื้นที่ 29 จังหวัด ประกอบด้วย นนทบุรี กรุงเทพมหานคร อ่างทอง ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา อุดรธานี สงขลา สตูล นราธิวาส บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ระนอง ชุมพร และปัตตานี และกำหนดจัดงานรณรงค์ป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว หนอนหัวดำ ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ครั้งใหญ่ ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ณ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่การระบาดและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การจัดงานวันรณรงค์ป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว หนอนหัวดำดังกล่าว เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวหนอนหัวดำโดยวิธีผสมผสาน และตัดวงจรการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว ไม่ให้แพร่ระบาดไปยังพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน อีกทั้งลดความรุนแรงการระบาดของหนอนหัวดำไปยังพื้นที่แห่งใหม่ ซึ่งกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย กิจกรรมการจัดแสดงนิทรรศการและสาธิตวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว ได้แก่ การตัดทางใบและเผาทำลาย การควบคุมศัตรูมะพร้าวด้วยชีววิธี การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย การให้ความรู้ด้านกฎหมาย กิจกรรมการแข่งขันตอบปัญหาทาง การเกษตร ได้แก่ การแข่งขันการนับหนอนหัวดำ การแข่งขันเจาะลำต้นมะพร้าว การแข่งขันตัดทางใบมะพร้าว และการตอบปัญหาทางการเกษตร

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกร องค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานภาคีทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันรณรงค์ป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าว หนอนหัวดำ ด้วยวิธีผสมผสาน โดยร่วมด้วยช่วยกันในทุกพื้นที่ ทุกภาคส่วน ช่วยกันสำรวจ ช่วยกันทำลาย อย่าให้หนอนหัวดำมาทำร้ายเศรษฐกิจของพี่น้องเกษตรกรเราอีกต่อไป

ชาวบ้านในอำเภอเทพา ยืนยันทะเลเทพามีความสมบูรณ์ ซึ่งขัดแย้งกับรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหรือ EHIA ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ตัวแทนชาวบ้านในเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา ร่วมกันแกะปลาและสัตว์น้ำ ทีติดอวนจากการทำประมงในทะเล พื้นที่อำเภอเทพา ซึ่งมีจำนวนมาก เพื่อยืนยันสภาพความสมบูรณ์ของทะเลในพื้นที่นี้ ซึ่งแตกต่างจากรายงานการศึกษาสิ่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ในโครงการนี้ ที่อ้างว่าทะเลในอำเภอเทพา นั้นมีจำนวนลูกสัตว์น้ำอยู่น้อยมาก โดยเฉพาะกุ้งเคย ที่มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบแล้วในแต่ละปี จะสามารถนำกุ้งเคยมาทำกะปิได้ประมาณ 1 กิโลกรัม แต่ในความเป็นจริงนั้น ชาวบ้านในพื้นที่สามารถจับกุ้งเคยมาทำกะปิได้แต่ละปีนับพันกิโลกรัม และในแต่ละวัน ชาวประมงในพื้นที่นี้สามารถหาปลาและสัตว์น้ำ สร้างรายได้ในแต่ละวันไม่น้อยกว่า 1,000 บาท

นายหมีด ชายเต็ม แกนนำเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน กล่าวว่า ทะเลที่เทพานั้นยังมีความสมบูรณ์อย่างมาก ซึ่งแตกต่างจากรายงาน EHIA ที่ กฟผ.จ้างบริษัทที่ปรึกษาทำ โดยการจัดเวทีเสวนา “ EHIA เทพา และการมีส่วนร่วมที่ยังสอบตก”ที่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นการชำแหละการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา นั้น ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ กว่า 100 คน จะเดินทางเข้าร่วมในการรับฟัง เพื่อได้รับทราบข้อมูล การบิดเบือน ความเป็นจริง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการต่อสู้ โยชาวบ้านในพื้นที่นั้น จะเน้นการนำข้อมูลความจริงมาต่อสู้ เพื่อไม่ให้เกิดโรงไฟฟ้าเทพาขึ้นในพื้นที่

จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 จังหวัด หวังพัฒนาตลาดน้ำยางสดทั้งระบบ

เป็นเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมแห่งความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน cubiclebot.com การยางแห่งประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดเวทีสัมมนาเครือข่ายผู้ผลิตน้ำยางสดและพนักงานผู้รับผิดชอบในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีเกษตรกรชาวสวนยาง ตัวแทนกลุ่มสถาบันเกษตรกร และพนักงาน กยท. ที่เกี่ยวข้องรวมประมาณ 140 คน หวังพัฒนาตลาดน้ำยางสด ซึ่งเป็นผลผลิตหลักของเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ภาคใต้ ให้มีการพัฒนาทั้งระบบสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมแห่งความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของชาติต่อไป ภายใต้หลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ที่เกิดจากความมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ณ โรงแรม ลี การ์เด้นส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

นายธีรวัฒน์ เดชทองคำ รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ประธานการจัดสัมมนาครั้งนี้ กล่าวว่า การประชุมสัมมนาเครือข่ายผู้ผลิตน้ำยางสดและพนักงานผู้รับผิดชอบในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และเป็นไปตามแผนวิสาหกิจของการยางแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2560-2564) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราตลอดห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นการปรับปรุงการผลิตยางพารา สนับสนุนการผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และพัฒนาระบบตลาดให้มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาสถาบันเกษตรกรในการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตน้ำยางสด รวมไปถึงบทบาทสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนนโยบายรัฐในการพัฒนายางพาราของประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาโดยการใช้หลักความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางให้มีประสิทธิภาพและสอดรับกับนโยบายรัฐบาล โดยมุ่งหวังให้กลุ่มสถาบันเกษตรกรให้ความร่วมมือกันเพื่อยกระดับการพัฒนาเครือข่ายน้ำยางสดให้มีความมั่นคง สามารถดำเนินงานด้านตลาดยางพาราทั้งระบบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นกำลังหลักที่จะพัฒนาอาชีพการทำสวนยางให้มีความยั่งยืน จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชาติ เพื่อรองรับและเชื่อมโยงการเติบโตของตลาดยางพาราโลกในอนาคต