คอนโดฯ ไส้เดือนยุคใหม่ ประหยัดทั้งที่ ประหยัดทั้งเงิน

ปัจจุบันการเลี้ยงไส้เดือนอาจพูดได้ว่าเป็นอาชีพที่ทำเงินให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ไม่น้อย ซึ่งดินที่ได้จากมูลไส้เดือนจัดว่าเป็นปุ๋ยชั้นดี เมื่อนำไปใช้กับพืชผลทางการเกษตรสามารถทำให้พืชชนิดนั้นๆ เจริญเติบโตได้ดี จึงนับว่าเป็นสิ่งเล็กๆ ที่ได้จากสัตว์ตัวน้อย แต่กลับมีประโยชน์มากมาย

โดยการเลี้ยงไส้เดือนนั้นจะทำการเลี้ยงด้วยวิธีง่ายๆ คือ อยู่ภายในกะละมังทรงกลมที่หาซื้อได้ทั่วไป ซึ่งทำให้บรรจุไส้เดือนในการเลี้ยงได้ค่อนข้างน้อย และที่สำคัญซ้อนกันเป็นชั้นได้ไม่สูงมาก จึงทำให้เปลืองค่าไม้คั่นและพื้นที่ค่อนข้างมาก

ซึ่งทาง บริษัท วิริยะกิจอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด จึงได้ทำการคิดค้นภาชนะการเลี้ยงไส้เดือนแบบเป็นคอนโดฯ แนวใหม่ ที่ประหยัดทั้งพื้นที่ ซ้อนได้สูงถึง 12 ชั้น โดยบรรจุได้ประมาณ 120 กิโลกรัม โดยศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มไส้เดือน จังหวัดนครปฐม ได้ลองนำไปใช้และพบว่า คอนโดฯ ไส้เดือนรุ่นใหม่นี้ ประหยัดทั้งพื้นที่ในการเลี้ยงและได้มูลไส้เดือนมากกว่าการเลี้ยงในกะละมังทั่วไปถึง 8 เท่าตัว

ทางฟาร์มยังได้กล่าวอีกว่า คอนโดฯ ไส้เดือนของ บริษัท วิริยะกิจอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด เป็นสินค้าที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่ที่สนใจอยากจะเลี้ยง และฟาร์มไส้เดือนทุกขนาดที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น โดยสินค้าราคาไม่แพงและมีประสิทธิภาพสูง คุ้มค่าแก่การลงทุนในระยะยาว เพราะสินค้ามีความคงทน ใช้งานได้อย่างยาวนาน

สำหรับผู้ที่สนใจคอนโดฯ ไส้เดือน ตอบโจทย์ในเรื่องการประหยัดเนื้อที่และสามารถเลี้ยงได้ในปริมาณที่มาก ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท วิริยะกิจอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด โทรศัพท์ (098) 453–0333 หรือ ID LINE : vrk.plastic

ทุเรียน ได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ ส่วน มังคุด ก็ได้ชื่อว่าเป็นราชินีแห่งผลไม้ ทั้งทุเรียนและมังคุดจัดว่าเป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ

การพัฒนาสายพันธุ์ไม้ผล โดยนักวิชาการของไทย ยังคงเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ และมีสายพันธุ์ใหม่ออกสู่ตลาดเป็นระยะ แต่ถึงกระนั้นสายพันธุ์พื้นบ้านของผลไม้หลายชนิด ก็อาจกลับมาครองพื้นที่ตลาด ด้วยเอกลักษณ์ดั้งเดิมของตัวมันเอง

ต้องยอมรับว่า ผู้เขียนไม่ได้คุ้นกับไม้ผลสักเท่าไร เพราะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือชำนาญการทั้งการปลูก การหาข้อมูล และการบริโภค แต่การเดินทางครั้งนี้ จำเป็นต้องเก็บข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับ “ทุเรียน” ราชาแห่งผลไม้ และเป็นสายพันธุ์ที่กำลังโด่งดังในมาเลเซียและจีน

เราเดินทางข้ามไปมาเลเซีย ผ่านไปทางด่านประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เข้าพื้นที่ของมาเลเซีย ทางด่านบ้านดูเรียนบูรง ปาดังเตอรับ รัฐเกดะห์ และใช้เส้นทางรถยนต์ต่อไปอีกราว 50 กิโลเมตร ไม่นานนักก็ถึงจุดหมายบ้านกาไหล อลอร์สตาร์ รัฐเกดะห์ อันเป็นที่ตั้งของเกษตรกรชาวสวนทุเรียน (แท้จริง เป็นการปลูกทุเรียนแซมภายในสวนมากกว่า)

ที่นี่ปลูกทุเรียนพันธุ์มูซังคิง (Mu Sang King) แปลตามความหมายของชื่อคือ ราชาแมวป่า หรืออาจได้ยินเรียกทุเรียนพันธุ์นี้ว่า เหมาซานคิง ก็ไม่ผิด เพราะเป็นการออกเสียงของชาวจีนในมาเลเซีย

คุณชาติ รถกระบะ ชายมาเลย์เชื้อสายไทย เจ้าของบ้านให้การต้อนรับ เราพูดคุยกันด้วยภาษาไทยที่ออกเสียงแปร่งๆ แต่ก็เข้าใจกันดี เขามีเชื้อสายไทยมาจากบรรพบุรุษฝ่ายมารดา ที่มีถิ่นกำเนิดในจังหวัดพัทลุง คุณชาติไม่ได้บอกพื้นที่การเกษตรที่ทำกินทั้งหมด บอกเฉพาะพื้นที่ปลูกทุเรียนมูซังคิง รวมราว 4 ไร่ เป็นทุเรียนที่ปลูกมานาน 23 ปี 2 ไร่ และอีก 2 ไร่ ปลูกเพิ่มแต่ยังไม่ให้ผลผลิต

คุณชาติ เล่าว่า เมื่อ 20 ปีก่อน ทุเรียนมูซังคิง ไม่ใช่ชื่อนี้ แต่มีชื่อเรียกตามพื้นบ้าน เพราะเป็นทุเรียนพื้นบ้าน เรียกว่าพันธุ์คุนยิต แต่ภายหลังเมื่อมีการประกวดทุเรียนภายในประเทศ พันธุ์คุนยิตก็ได้รับเลือกเป็นทุเรียนพื้นบ้านที่มีรสชาติดีที่สุด และได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในประเทศจีน จึงได้รับขนานนามว่าราชาแห่งทุเรียนมาเลเซีย หรือ มูซังคิง และอาจมีเสียงเรียกเพี้ยนไปเป็น เหมาซังคิง หรืออีกชื่อที่เรียกกันเป็นที่เข้าใจของคนมาเลเซีย คือ ราจาคุนยิต (Raja Kunyit) แต่เมื่อเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวจีน ก็ออกเสียงตามสำเนียงจีนว่า เหมาซานหว่อง หรือ เหมาซานหวัง

“เมื่อ 23 ปีก่อน ผมซื้อกิ่งพันธุ์จากรัฐกลันตันมาปลูก เพราะอยากปลูกทุเรียนในสวนบ้าง ไม่ได้คิดว่าจะเป็นพันธุ์ที่ขายได้ราคา ราคากิ่งพันธุ์ขณะนั้น 5 ริงกิต (ประมาณ 40 บาท) ปัจจุบัน ราคากิ่งพันธุ์ขึ้นไปสูงถึง 30 ริงกิต (ประมาณ 240 บาท) กระทั่งทุเรียนมูซังคิงได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีคนสนใจเข้ามาซื้อในมาเลเซียจำนวนมาก รวมทั้งส่งไปขายยังประเทศจีน จึงทำให้ทุเรียนกลายเป็นรายได้หลักของสวน”

เริ่มต้นปลูกเพียง 60 ต้น ระยะปลูก ประมาณ 90×90 เซนติเมตร รดน้ำในฤดูแล้ง หรือฝนขาดช่วงนานกว่า 1 เดือน จึงจะรดน้ำ

ใส่ปุ๋ยหลังหมดผลผลิตแล้ว 1 ครั้ง จากนั้นใส่ปุ๋ยทุกๆ 3 เดือน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ต้นละ 4-5 กิโลกรัม

แต่ละต้นให้ผลผลิตเฉลี่ย 150-200 ผล น้ำหนักผลเฉลี่ย 2-2.5 กิโลกรัม หลังเก็บผลผลิตจากใต้ต้นมา ควรกินภายใน 2 วัน หลังจากนั้นทุเรียนจะแตก เมื่อลมเข้าเนื้อทุเรียนจะเปลี่ยนรสชาติ

ให้ผลผลิตราวเดือนมิถุนายน และผลผลิตหมดประมาณต้นเดือนสิงหาคม

การปลูกด้วยวิธีของคุณชาติ คือการปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ไม่มีการตัดแต่ง ทำให้ต้นทุเรียนสูงชะลูดขึ้น อายุต้นทุเรียนในสวนราว 23 ปี ความสูงไม่ต่ำกว่า 15 เมตร ทุกต้น และการปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตตามธรรมชาติเช่นนี้ ทำให้ปีแรกที่ได้ผลผลิตอยู่ที่ปีที่ 7 ของการปลูก ซึ่งคุณชาติบอกว่า หน่วยงานด้านเกษตรของมาเลเซีย ให้การดูแลต้นทุเรียนอย่างดี ทำให้ได้ผลผลิตปีแรกในปีที่ 5 ของการปลูก

การเก็บผลผลิตทุเรียนของชาวมาเลเซีย จะปล่อยให้ผลทุเรียนสุกจัดจนหล่นจากต้นเอง จึงเก็บมาจำหน่าย โดยมีความเชื่อว่า การตัดผลทุเรียนก่อนหล่นจากต้น จะทำให้ทุเรียนไม่หล่นเอง ต้องใช้วิธีตัดไปตลอดอายุต้น ซึ่งต้นทุเรียนมีความสูงและยากต่อการตัดผล ซึ่งผลทุเรียนที่สุกจัดจนหล่นจากต้น ก็เป็นเอกลักษณ์ของทุเรียนพันธุ์มูซังคิง ที่กลุ่มผู้บริโภคจีนและมาเลเซียเองนิยม คือ สุกจัด หวานและมัน

“ถ้าเอามากินก่อนผลหล่น เนื้อทุเรียนจะแข็งๆ คนมาเลเซียเองและคนจีนแผ่นดินใหญ่ จะบอกว่า ไม่สุก นิยมกินกับข้าวเหนียวหรือกินเปล่า หรือแกะเอาแต่เนื้อข้างใน แช่ตู้เย็นไว้ ก็จะเก็บไว้กินได้นานถึง 6 เดือน”

คุณชาติ บอกว่า รัฐบาลมาเลเซียประกันราคาทุเรียนมูซังคิง ที่ราคากิโลกรัมละ 80 ริงกิต หรือประมาณ 600 บาท ซึ่งคุณชาติเองก็ขายให้กับพ่อค้าที่มารับที่สวน ราคา 80 ริงกิต เช่นกัน ส่วนตลาดทั่วไปในมาเลเซีย วางขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 ริงกิต หรือประมาณ 800 บาท

ซึ่งในทุกปี รายได้จากครอบครัวรถกระบะมาจากทุเรียนเป็นหลัก แม้จะมีระยะเวลาขายไม่ถึง 2 เดือน แต่ผลทุเรียนก็ไม่เคยเหลือ เรียกได้ว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดด้วยซ้ำ

สำหรับประเทศไทย มีข่าวออกมาว่า ทุเรียนพันธุ์มูซังคิง มีปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี มีผลผลิตออกมาจำหน่ายให้เห็นแล้ว ผลผลิตที่ได้ออกมาในช่วงใกล้เคียงกับผลผลิตทุเรียนในพื้นที่ภาคตะวันออก ราวเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

และยังปลูกในภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดคือ พื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกับมาเลเซียมาก

โกผอม หรือ คุณมั่นกู่ แซ่เซ่น เป็นเจ้าของสวนทุเรียนในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลตาเลาะเมเลาะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทั้งยังเป็นล้งรับซื้อเพื่อคัดแยกทุเรียนและส่งออกไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน

โกผอม ในวัย 70 ปี ยังดูแข็งแรง และยังคงดูแลสวนและคุมการคัดแยกทุเรียนเพื่อส่งไปขายด้วยตนเอง โกผอม เล่าว่า เขาชอบกินทุเรียน จึงคิดปลูกทุเรียนไว้ และปลูกในพื้นที่ 10 ไร่ โดยก่อนหน้านี้ปลูกพันธุ์หมอนทอง และพวงมณี กระทั่งเมื่อ 15 ปีก่อน เดินทางไปมาเลเซียเห็นทุเรียนมูซังคิงขายได้ราคาสูง หลังจากนั้นเดินทางเข้าออกเป็นระยะ ก็พบว่า ราคาทุเรียนมูซังคิงในมาเลเซียไม่เคยตก และทราบว่าผลผลิตในมาเลเซียไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวจีนในมาเลเซีย และนักท่องเที่ยวชาวจีน จึงคิดปลูกทุเรียนมูซังคิง เพื่อส่งขายไปยังมาเลเซีย

“ผมซื้อพันธุ์จากมาเลเซีย เอามาเสียบยอดกับต้นทุเรียนในสวนที่มีอยู่ ผมไม่มีความรู้ด้านเกษตร เสียบยอด 7-8 ครั้ง กว่าจะได้ ตอนนี้ในสวนเป็นทุเรียนมูซังคิงเกือบทั้งหมด”

โกผอม บอกว่า เพราะสภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศคล้ายคลึงกับมาเลเซีย ถิ่นกำเนิดทุเรียนมูซังคิง ทำให้ไม่ต้องดูแลทุเรียนมาก ใส่ปุ๋ย 2-3 กิโลกรัม ต่อต้น 3-4 เดือน ต่อครั้ง ติดตั้งสปริงเกลอร์สำหรับรดน้ำทั้งสวน หากฝนไม่ตกติดต่อกันนานเกิน 10 วัน จึงรดน้ำ โรคและแมลงรบกวนก็เหมือนทุเรียนทั่วไป หากพบก็ใช้สารกำจัด หลังติดดอกประมาณ 90 วัน ผลผลิตก็สามารถตัดมาจำหน่ายได้

“มูซังคิง ในสวนผม ออกไม่ค่อยจะแน่นอน อยู่ที่สภาพอากาศ เร็วที่สุดในบางปีที่ผลผลิตเริ่มเก็บได้ คือ เดือนพฤษภาคม แต่ระยะทั่วไปคือเดือนมิถุนายนถึงราวปลายเดือนสิงหาคม”

พื้นที่ในสวนทุเรียของโกผอม มีสภาพเป็นเนินสูงและเขาชัน โกผอม บอกว่า พื้นที่เช่นนี้มีความเหมาะสมกับการปลูกทุเรียนมากที่สุด ทำให้ได้ผลผลิตสูง ซึ่งโดยปกติขนาดผลทุเรียนมูซังคิง น้ำหนักอยู่ที่ระหว่าง 2-2.5 กิโลกรัม ต่อผล แต่ปลูกที่เบตง น้ำหนักต่อผลได้มากกว่า และเคยได้น้ำหนักสูงสุด 4 กิโลกรัม ต่อผล อย่างไรก็ตาม ขนาดที่ผู้บริโภคชาวมาเลเซีย จีน และสิงคโปร์ ชอบ เป็นขนาดผลน้ำหนักเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม

“คนมาเลเซียเห็นผมปลูก ก็มาติดต่อขอซื้อไปขายในมาเลเซีย ส่วนสิงคโปร์ปกติผมรับซื้อทุเรียนพันธุ์อื่นๆ ส่งขายไปสิงคโปร์อยู่แล้ว การส่งพันธุ์มูซังคิงไปขายสิงคโปร์ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนจีน ผมไม่ได้ส่งไปเองโดยตรง แต่มีคนจีนที่มีล้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ให้ผมส่งมูซังคิงไปให้ แล้วล้งนั้นก็ส่งไปขายที่จีนอีกทอดหนึ่ง ถ้าถามว่า ผมส่งออกไปขายมากแค่ไหน ที่ผ่านมาผมเคยส่งมูซังคิงไปขายที่มาเลเซีย 3 วัน 100 ตัน เฉลี่ยได้ผลผลิตต่อไร่ 20 ตัน ปีที่ผ่านมา ผมมีรายได้ล้านกว่าบาท”

การส่งออกไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน โกผอม ต้องตัดทุเรียนมูซังคิงความสุก 80-90% เพื่อให้สุกพอดีกับผู้บริโภคต้องการ ไม่เหมือนกับมาเลเซียที่รอให้สุกหล่นจากต้น แล้วเก็บไปจำหน่าย ทำให้มีต้นทุนในส่วนของแรงงานตัดเพิ่มอีก กิโลกรัมละ 3-4 บาท

โกผอม เล่าว่า จากการสังเกตการบริโภคของลูกค้า หากเป็นลูกค้าชาวไทย ที่มาซื้อมูซังคิงกินจากสวนที่ตัดความสุก 80-90% คนไทยจะบอกว่าอร่อย แต่ถ้าเป็นลูกค้ามาเลเซียหรือจีนจะไม่นิยม กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้ชอบสุกๆ เนื้อเปียกๆ เพราะจะหวานและมันเต็มที่

สำหรับ หมอนทอง ซึ่งเป็นทุเรียนพันธุ์การค้าของไทยที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ โกผอม บอกว่า แม้จะได้รับความนิยมในประเทศอื่น แต่ในมาเลเซียหากไม่ใช่ฤดูที่ทุเรียนมูซังคิงให้ผลผลิตแล้ว ทุเรียนพันธุ์หมอนทองจะขายได้ แต่ถ้ามีทุเรียนพันธุ์มูซังคิง พันธุ์หมอนทองจะขายในมาเลเซียไม่ได้เลย

จากการบอกเล่าของโกผอม ผู้คร่ำหวอดในวงการทำสวนทุเรียนพื้นที่อำเภอเบตง ได้ความว่า อำเภอเบตง เป็นพื้นที่ที่เกษตรกรคนไทย เริ่มนำกิ่งพันธุ์ทุเรียนพันธุ์มูซังคิงเข้ามาปลูกอย่างแพร่หลาย แต่มีเกษตรกรที่ปลูกพื้นที่มากเพียง 2-3 ราย เท่านั้น โดยรวมพื้นที่ปลูกทุเรียนมูซังคิงในอำเภอเบตงราว 1,600 ไร่

ราคาหน้าสวนในปีนี้ โกผอม ขายในราคา กิโลกรัมละ 450 บาท ส่วนราคาจำหน่ายในจีน แต่ละปีจะขึ้นลงตามราคาหน้าสวนของไทยและมาเลเซีย โดยเฉลี่ยราคา กิโลกรัมละ 2,000 บาท

ทุกปีสวนของโกผอมก็มีรายได้จากทุเรียนมูซังคิงเป็นหลัก และปีนี้ทุเรียนมูซังคิงในสวนโกผอมก็ถูกจับจองเป็นเจ้าของล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว

และแม้ว่าทุเรียนมูซังคิงสวนโกผอมจะถูกจับจองไว้แล้วก็ตาม แต่ในงาน “เกษตรมหัศจรรย์ 2560 พืชกินได้ ไม้ขายดี” ซึ่งนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 7-10 กันยายน 2560 ที่ห้องสกายฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว ก็จะมีทุเรียนพันธุ์มูซังคิง ที่เรียกได้ว่าเป็นทุเรียนที่ฮอตที่สุดในเวลานี้ มาจัดแสดงให้ได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด

คุณสัญชัย ปุรณะชัยคีรี อดีตนายกสมาคมผู้ค้าและผู้ส่งออกผลไม้ไทย เป็นอีกท่านที่ร่วมเดินทางไปพิสูจน์ทุเรียนมูซังคิงถึงถิ่นมาเลเซีย ทั้งยังสำรวจสวนทุเรียนมูซังคิงในอำเภอเบตง เพราะกระแสข่าวที่ออกไปยังโลกออนไลน์ว่า ทุเรียนมูซังคิง เป็นทุเรียนที่ราคาแพงและเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ด้วยเหตุผลนี้จึงสัมภาษณ์คุณสัญชัย ในประเด็นการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนพันธุ์มูซังคิงในประเทศ เพื่อสนับสนุนการส่งออกไปยังต่างประเทศ

คุณสัญชัย ระบุว่า การขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนพันธุ์มูซังคิงในประเทศไทย เพื่อให้เกษตรกรไทยมีรายได้จากการส่งออกไปยังต่างประเทศนั้น เป็นเรื่องดี เพราะต่างประเทศให้การยอมรับและรู้จักทุเรียนพันธุ์มูซังคิงมากกว่าในประเทศไทย ซึ่งการยอมรับทุเรียนพันธุ์มูซังคิงในต่างประเทศอยู่ในระดับพรีเมี่ยม และตลาดต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการบริโภคทุเรียน คือ ตลาดจีน ซึ่งปกติประเทศไทยส่งออกทุเรียนวันละประมาณ 6,000 ตัน เป็นทุเรียนที่นำเข้าจากประเทศไทยสูงถึง 80% ดังนั้น หากมีการส่งเสริมการปลูกเพื่อการส่งออก น่าจะเป็นเรื่องที่ดี

“มีข่าวว่า มูซานคิง เป็นทุเรียนที่มีหลายสายพันธุ์ แท้จริงแล้วมีเพียงสายพันธุ์เดียว เรียกว่า มูซังคิง มาจากมาเลเซียเท่านั้น แต่การปลูกในพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก อาจส่งผลให้รสชาติที่ได้ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เพราะทุเรียนจะปรับตัวตามสภาพการปลูก”

คุณอิงณภัสร์ วงษ์สิทธิชัย อยู่บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 6 ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 5 ปีที่แล้วทำงานประจำอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาเริ่มรู้สึกเบื่อกับงานทางด้านนี้ โดยก่อนหน้านั้นคุณย่ารู้สึกคิดถึงเธอจึงอยากให้มาหางานทำอยู่ใกล้บ้าน เพื่อที่จะได้มีเวลาอยู่กันอย่างใกล้ชิด จึงทำให้เธอตัดสินใจและย้ายมาอยู่บ้านเกิดในเวลาต่อมา

“ช่วงที่ลาออกจากงาน ก็กลับมาอยู่ที่บ้านก่อน ช่วงนั้นก็คิดว่าเราน่าจะทำอะไรได้บ้าง ก็เลยมีความคิดที่จะทำเกี่ยวกับเรื่องเกษตร แต่ก็รู้สึกหนักใจ เพราะเราเองไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลย แต่ก็มีใจที่อยากจะทำ ก็มาเห็นว่าส่วนใหญ่พื้นที่นี้จะทำนากันส่วนมาก ก็เลยมีแนวความคิดที่จะทดลองทำนา โดยที่อยากจะทำแบบไม่ใช้สารเคมี เรียกว่าทำแบบอินทรีย์ ก็เลยตั้งใจทำอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมา” คุณอิงณภัสร์ เล่าถึงที่มาด้วยใบหน้าปนรอยยิ้ม

ก่อนที่จะลงมือทำอย่างจริงจัง คุณอิงณภัสร์ เล่าว่า ได้ไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งที่เป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร โดยกินนอนอยู่ที่นั้นเป็นเวลาถึง 6 เดือน จึงทำให้ได้เรียนรู้วิถีชิวิตการทำนาในระบบอินทรีย์ และการปลูกพืชผักปลอดสารพิษที่จะทำเงินสร้างรายได้ให้กับเธอ

โดยในช่วงแรกที่ได้มาทำการเกษตรจากสิ่งที่ไปเรียนรู้มา เธอจะเน้นแบบทำเกษตรเป็นอินทรีย์เพียงอย่างเดียว ซึ่งในช่วงที่ได้ผลผลิตก็จะแจกจ่ายให้กับญาติพี่น้องกินก่อน ต่อมาเมื่อผลผลิตทางการเกษตรเริ่มเป็นที่ต้องการของเพื่อนบ้านคนอื่นๆ มากขึ้น ก็สามารถทำเป็นธุรกิจขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับเธอในเวลาต่อมา

“ต้องบอกเลยว่า ช่วงที่มาทำเกษตรใหม่ ไม่ได้มีเงินทุนอะไรมาก ก็จะเน้นทำนาอินทรีย์ ปลูกผักอินทรีย์ โดยข้าวที่ทำได้ก็จะนำสินค้าบางส่วนเข้าไปขายในโรงสี และบางส่วนก็แบ่งมาแปรรูปขายเอง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น มันจะช่วยให้เราสามารถมีเงินทุนหมุนเวียนได้ในช่วงแรก ต่อมาพอมีลูกค้ามากขึ้น เราก็ไม่ได้ขายเข้าโรงสีแล้วทำตลาดเอง โดยสินค้าที่ขายได้เกิดจากการบอกต่อๆ กันไป ปากต่อปาก” คุณอิงณภัสร์ บอกถึงหลักการทำรายได้หมุนเวียน

ต่อมาเมื่อการทำนาอินทรีย์ประสบผลสำเร็จสินค้าติดตลาด ต่อมาเธอได้ทำการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงภายในบริเวณบ้าน เพื่อให้มีรายได้ที่หลากหลายมากขึ้น และที่สำคัญสินค้าทางเกษตรที่ผลิตได้จะใช้ช่องทางการขายแบบออนไลน์ และส่งสินค้าทางไปรษณีย์ก็สามารถทำตลาดให้กับเธอได้เช่นกัน

เหตุที่เลือกเลี้ยงกุ้งก้ามแดง คุณอิงณภัสร์ บอกว่า เป็นคนที่ชอบกินกุ้งจึงคิดว่าน่าจะเลี้ยงได้ประสบผลสำเร็จ จึงได้หาซื้อมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ขายลูกจนสามารถเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับเธอได้ในเวลาต่อมาเช่นกัน

“ตอนนี้คนรอบข้างก็จะสัมผัสได่ว่า สิ่งที่เราทำสามารถขายได้จริง สามารถทำเงินให้ไว้เลี้ยงครอบครัวได้จริง และที่สำคัญเกิดความสุขด้วย เพราะได้ทำงานมีรายได้ โดยที่เราไม่ต้องห่างไกลจากคนที่เรารัก เรามีความสุขในทุกๆ วัน จนตอนนี้ที่บ้านก็เป็นเหมือนแหล่งเรียนรู้ที่คนสนใจได้มาเรียนรู้งาน ซึ่งก็รู้สึกดีที่ว่าสิ่งที่เราทำ นอกจากเขามาเจอเราแล้วจะมีความสุข ก็ยังมีสุขภาพที่ดีกลับไปด้วย เพราะกินอาหารที่ปลูกแบบระบบอินทรีย์” คุณอิงณภัสร์ กล่าว

สำหรับผู้ที่ต้องการความสุข คุณอิงณภัสร์ ฝากบอกว่า เพียงตั้งใจทำสิ่งที่รักและมีความสุขกับสิ่งที่ทำ ก็จะทำให้ทุกๆ วันมีคุณค่าเป็นประชาชนที่มีความเข้มแข็งโดยที่ไม่ต้องให้ใครมาช่วยเหลือ เพราะสามารถพึ่งพาตัวเองได้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

คุณพะเยาว์และคุณประมวล รุ่งทอง สองสามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าชัย อำเภอเมือง จงหวัดชัยนาท เป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝังแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งสองเป็นเกษตรหัวไว้ใจสู้พร้อมที่จะเปิดรับความรู้ใหม่ๆ กล้าที่จะทดลองและรับแนวทางการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตร ปัจจุบันทั้งสองมีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

คุณประมวล (ภรรยา) เล่าให้ฟังว่า เดิมทีตัวเองมีอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าในหมู่บ้าน ส่วนคุณพะเยาว์ (สามี)นั้นมีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ด้วยอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังที่สามีทำอยู่นั้น ทุกวันยิ่งทำก็เริ่มแย่ลงๆ มีกำไรน้อย ขาดทุนบ้าง ได้กำไรบ้าง เพราะการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังต้องใช้คนในการดูแลพอสมควร ลำพังจะให้สามีทำและดูแลคนเดียวก็ไม่ไหว ทำให้ตัวเองต้องตัดสินใจเลิกตัดเย็บเสื้อผ้าและหันมาช่วยสามีเพาะเลี้ยงปลาในกระชังเพียงอย่างเดียว

คุณประมวล เล่าให้ฟังอีกว่า ตัวเองและสามีเริ่มเพาะเลี้ยงปลาในกระชังมาตั้งแต่ปี 2542 เริ่มแรกมีกระชังทั้งหมด 10 กระชัง ปลาที่เพาะเลี้ยงจะมีหลากหลายชนิดด้วยกัน ทั้ง ปลาดุก ปลาสวาย ปลาทับทิม ฯลฯ ใช้เวลาลองผิดลองถูกในเรื่องของวิธีการเพาะเลี้ยงมาหลายรอบกว่าจะประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงปลาในทุกวันนี้

ปัจจุบัน มีกระชังเพาะเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 19 กระชัง รวมทั้งหมดเป็น 29 กระชัง โดยแบ่งออกเป็นปลากรด 4 กระชัง,ปลากรดคลัง 4 กระชัง,ปลากรดหลวง 4 กระชัง, ปลาเบญจพรรณ 1 กระชัง, ปลาทับทิม 16 กระชัง

“กล้วยน้ำว้า” เลี้ยงปลา ตัวโต เนื้อหวาน ขายได้ราคา

สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงปลานั้นจะเป็นอาหารเม็ดทั่วๆ ไป โดยจะให้วันละ 3 เวลา (เช้า กลางวัน เย็น ) บวกกับรำข้าวผสมกับกล้วยน้ำว้าสุกบด(เสริมเฉพาะปลานิล ส่วนปลากรดหลวงจะหันเป็นชิ้นๆ ลักษณะกล้วยบวชชี) วันละ 1 เวลา ซึ่งเลือกในช่วงกลางวันเพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สะดวกที่สุดของผู้เพราะเลี้ยงที่จะมีเวลาเตรียมบดกล้วย ในช่วงเช้า (เช้า, กลางวัน, เย็น ก็ได้ตามความสะดวกของผู้เลี้ยง)

คุณประมวล เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของการนำกล้วยน้ำว้ามาเลี้ยงปลานั้น มาจากการเพาะเลี้ยงปลาในช่วงนั้น มีต้นทุนในการผลิตสูงในเรื่องของอาหาร ทำให้ไม่คุ้มต่อผลตอบแทนที่ได้มาในแต่ละครั้ง ทุกฟาร์มเกิดปัญหาเดียวกันหมด ทำให้ตนต้องหาหนทางลดต้นทุนการผลิตในเรื่องของอาหารลง จึงเกิดแนวคิดนำกล้วยมาเลี้ยงปลาขึ้น

จากแนวคิดที่คิดแบบชาวบ้านทั่วๆ ไปและจากประสบการณ์ที่เคยผ่านมาและเคยเห็นคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่ใช้กล้วยน้ำว้าบดผสมกับข้าวเลี้ยงเด็ก ก็ยังสามารถทำให้เด็กโตขึ้นมาได้ จึงได้ทดลองนำกล้วยน้ำว้าสุกมาบดผสมกับรำข้าวให้ปลากิน เริ่มแรกจะทดลงกับปลากรด ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ ปลามีขนาดใหญ่ รสชาติของเนื้อหวาน ได้คุณภาพกว่าปลาที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยกล้วย ที่สำคัญลดต้นทุนการผลิตในเรื่องของอาหาร

หลักจากที่เลี้ยงปลาด้วยกล้วยน้ำว้ามาได้ระยะหนึ่ง ก็เกิดเสียงตอบกลับมาจากผู้บริโภคว่าปลาในกระชังมีรสหวานและเนื้อแน่น ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น จากนั้นมาก็เริ่มนำกล้วยน้ำว้าสุกมาบดผสมกับรำข้าวผสมให้ปลาไปพร้อมกับอาหารเม็ด

ในช่วงแรกกล้วยน้ำว้าที่ใช้เลี้ยงจะหาชื้อตามตลาด ชื้อครั้งหนึ่งก็ประมาณ 100 – 200 หวี ราคาช่วงนั้นตกหวีละ 3 บาท ซึ่งเป็นช่วงที่กล้วยราคาถูก ต่อมาระยะหลังๆ กล้วยเริ่มมีราคมสูงขึ้นในบ้างช่วง ทำให้ต้นทุนของการผลิตในเรื่องของอาหารก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

พื้นที่ 4 ไร่ ปลูกกล้วยน้ำว้า เลี้ยงปลา ริมแม่น้ำ

ขณะที่ราคากล้วยน้ำว้าเริ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องงดกล้วยที่ใช้เลี้ยงปลาไปในบางครั้ง ประกอบกับช่วงนั้นเองทางสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาทได้มีโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักสวนครัวและปลูกกล้วยน้ำว้า ตนเองจึงสนใจและเข้าร่วมโครงการ เพราะเห็นว่าไม่น่าจะเสียหายอะไร กลับมองว่าเป็นช่องทางที่จะช่วย ลดต้นทุนในการผลิตในเรื่องของอาหารอีกทางหนึ่ง เพราะนอกจากจะปลูกขายแล้วก็ยังสามารถนำมาเลี้ยงปลาได้อีกด้วย

“เริ่มปลูกกล้วยน้ำว้าในพื้นที่ 4 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ของพ่อและแม่ที่ทำสวนผสมผสานไว้จำนวนหนึ่ง ปัจจุบันนี้ภายในสวนพื้นที่ 4 ไร่ มีต้นกล้วยกว่าร้อยต้น สารเคมีหรือปุ๋ยที่ใช้ก็ได้จากการนำปลาที่ตายจากการขนย้ายหรือว่าตายขณะที่เลี้ยงมาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ และนำไปราดในโคนต้นไม้ เป็นปุ๋ยอย่างดีที่ธรรมชาติต้องการ ส่งผลต่อผลผลิตมีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากเพียงพอต่อการน้ำมาเลี้ยงปลาโดยที่ไม่ต้องหาชื้อกล้วยจากท้องตลาด” คุณประมวลกล่าว

อัตราส่วนการปล่อยปลา หนึ่งเทคนิค ในการเลี้ยง

อัตราส่วนในการปล่อยลูกปลาต่อหนึ่งกระชังต้องขึ้นอยู่กับขนาดของกระชังปลาที่จะเลี้ยงเพราะแต่ละกระชังที่จะเลี้ยงส่วนใหญ่มีขนาดที่ไม่เท่ากัน สำหรับกระชังปลาของคุณประมวล มีความกว้างเท่ากับ 6 เซนติเมตร ยาวเท่ากับ 6 เซนติเมตร ซึ่งสามรถปล่อยลูกปลาได้มากถึง 2,000 กว่าตัว เป็นอัตราส่วนที่ทดลองมาหลายรอบ ผลที่ได้จากการทดลองคือปลาสามารถเจริญเติบโตได้ดี ไม่หนาแน่นเกินไป

คุณประมวล กล่าวว่า หนึ่งปีจะทำการเพาะเลี้ยงเพียง 2 รอบเท่านั้น คือช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มีนาคมและเดือนพฤษภาคม – กันยายน เพราะด้วยสภาพภูมิอากาศในช่วงนี้จะเหมาะสมและสามารถเพาะเลี้ยงได้ แต่ถ้าทำการเพาะเลี้ยงในช่วงเดือนอื่นๆ อาจจะมีอุปสรรค์หลายด้าน โดยเฉพาะเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่สภาพภูมิอากาศมีความร้อนสูง อาจจะส่งผลทำให้น้ำในแม่น้ำร้อน ทำให้ปลาไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นการไม่เอื้อต่อการเพาะเลี้ยงอาจทำให้ได้รับผลกระทบในการเพาะเลี้ยง บวกกับในหน้าน้ำหลากมีน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีไหลผ่านไปมาทำให้ปลาตายซึ่ง เป็นผลกระทบที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นอกจากการหยุดเพาะเลี้ยงในช่วงเวลานั้น

ท่านใดมีข้อสงสัย สามารถสอบถามไปได้ที่ บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าชัย อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท โทรศัพท์ 08-3218-4023,056-426656 “แต่ก่อนเคยทำไร่ข้าวโพด 20 ไร่ ต้องใช้ยาและปุ๋ยเคมีมาก อีกทั้งแรงงานหายาก เมื่อขายผลผลิตแล้ว หักลบต้นทุนกำไรไม่คุ้มค่า จึงน้อมนำเอาศาสตร์พระราชา ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ทำการเกษตรแบบพอเพียงในพื้นที่ 2 ไร่กว่า สามารถส่งลูกเรียนจนจบปริญญา 2 คน” เป็นคำกล่าวที่ภาคภูมิใจของ คุณบุญหย่วน ดีคำวงศ์ เกษตรกรวัย 60 ปี ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

เมื่อปี 2535 UFABET ได้เริ่มนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในพื้นที่ 2 ไร่กว่า บริเวณบ้านของตนเอง โดยทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล เลี้ยงไก่ จิ้งหรีด และกบ ใช้แรงงานภายในครอบครัว ไม่ต้องจ้างแรงงาน ทุกอย่างที่ปลูกและเลี้ยงได้นำมาประกอบอาหารในครอบครัว ส่วนที่เหลือก็จำหน่ายเป็นรายได้

ปัจจุบันทุกวันจะมีรายได้จากพืชผัก 300 บาท ในรอบเดือนมีรายได้จากการจำหน่ายจิ้งหรีด 4,000-6,000 บาท และในรอบปีจะจำหน่ายลูกกบได้กว่า 50,000 บาท พร้อมกับจำหน่ายผลไม้ในสวนอีกประมาณ 20,000 บาท ซึ่งรายได้ทั้งหมดนี้สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ เรื่องปุ๋ยและยาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพราะทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพใช้เอง รวมทั้งการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยสารชีวภัณฑ์และกาวดัก เป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิตแบบพอเพียงและยั่งยืน

การเพาะเลี้ยงลูกกบทุ่ง ของบุญหย่วน

“กบที่ผมเลี้ยงเป็นกบทุ่งตามธรรมชาติ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค มีคนต้องการลูกกบไปเพาะเลี้ยงมาก ผมจึงเพาะเลี้ยงเพื่อเอาลูกกบขาย ใช้เวลา 1-1 เดือนครึ่ง ก็ได้เงิน แต่กว่าจะเพาะลูกกบได้ไม่ใช่เรื่องง่าย ผมต้องใช้เวลากว่า 3 ปี ที่ศึกษาเรียนรู้จากธรรมชาติจึงประสบความสำเร็จ”

คุณบุญหย่วน เล่าว่า เขาเริ่มเลี้ยงกบจากการจับลูกอ๊อดตามธรรมชาติ มาเลี้ยงประมาณ 1 ปี กบจะโตพร้อมผสมพันธุ์และวางไข่ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ช่วงปลายเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ฝนเริ่มตก กบจะร้องส่งเสียงเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์ จำเป็นต้องเตรียมบ่อ/ถัง โดยใส่น้ำให้สูงประมาณ 10 เซนติเมตร หาใบลิ้นจี่สัก 4-5 เคล็ดใส่ลงในบ่อ/ถัง