คิดว่าอีกไม่นานคงจะเริ่มปรับหลายอย่างได้ตามมาตรฐาน

เพราะต้องรองรับกับอัตราการขยายตัวของยอดการสั่งซื้อ ปัจจุบันมีโรงเปิดดอกอยู่จำนวน 4 หลังและมีโครงการจะขยายเพิ่มอีก เพราะขณะนี้มีลูกค้าที่สั่งยอดเข้ามามาก ผลิตไม่ทัน”

ส่วนแผนอนาคตทั้งคู่มีการวางไว้ว่าอาจจะส่งไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านเช่นกัมพูชา และอินโดนีเซีย อีกทั้งยังมองว่าอาจจะไปปักหลักทำเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายที่อินโดนีเซียเพราะที่นั่นมีวัตถุดิบที่ใช้เหมือนในบ้านเราทุกอย่าง ส่วนตลาดเห็ดที่อินโดนีเซียมีเพียงเห็ดบางประเทศที่สั่งนำเข้า ดังนั้นเมื่อมองดูช่องทางแล้วน่าจะเจาะตลาดได้ไม่ยาก

ถึงแม้ทั้งสองคนพี่น้องจะเป็นลูกชาวสวนผลไม้ และมีทำเลที่เอื้อในการทำเกี่ยวกับเกษตรกรรม ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบในเชิงต้นทุน แต่การนำประสบการณ์จากที่เคยทำงานแบบต้องผจญกับความเสี่ยงหลายอย่างในอดีตจะเป็นครูสอนชั้นเชิงกลยุทธ์ให้คอยระมัดระวัง และเพิ่มความรอบคอบมากยิ่งขึ้น

สำหรับท่านที่สนใจต้องการสั่งซื้อก้อนเห็ดหรือเห็ดสด สด จากฟาร์มสองพี่น้องตระกูลวัฒนะอนุรักษ์ เชิญโทรศัพท์ติดต่อได้ตามหมายเลขด้านบน แล้วพี่น้องคู่นี้ยังบอกอีกว่าถ้าหากสนใจเรื่องการเพาะเห็ดเป็นอาชีพ ยินดีให้คำแนะนำเต็มที่เพราะต้องการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ อนึ่งหากมีท่านใดสนใจกิ่งพันธุ์ไม้ผลของคุณนรินทร์สามารถติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขเดียวกัน

จากสภาพอากาศชื้นในระยะนี้ มักมีฝนตกต่อเนื่องหลายวัน กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกขิงให้เฝ้าระวังโรคเหง้าเน่า ที่สามารถพบได้ในระยะที่ต้นขิงมีอายุ 4 เดือนหลังปลูก อาการเริ่มแรกใบจะเหี่ยวม้วนเป็นหลอดสีเหลือง และจะลุกลามจากส่วนล่างขึ้นไปยังส่วนปลายยอดจนแห้งตายทั้งต้น บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมาใหม่มีลักษณะฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำ เมื่อผ่าลำต้นตามขวางจะพบเมือกแบคทีเรียไหลซึมออกมาเป็นสีขาวขุ่น ลำต้นเน่า และหลุดออกจากเหง้าได้ง่าย อาการบนเหง้ามีลักษณะฉ่ำน้ำสีคล้ำ ต่อมาเหง้าจะเน่าในที่สุด

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นขิงที่เริ่มแสดงอาการของโรคเหง้าเน่า ให้ขุดต้นไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น ให้โรยด้วยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ สำหรับในแปลงที่มีการระบาดของโรค หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูกทันที

การป้องกันกำจัดโรคเหง้าเน่าในฤดูปลูกถัดไป เกษตรกรควรเลือกพื้นที่ในการปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และควรทำแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี เกษตรกรควรเตรียมดิน โดยไถพรวนดินให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป และตากดินไว้ให้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะสามารถช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก

กรณีในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค ก่อนปลูก ให้รมดินเพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วยการโรยยูเรียผสมปูนขาว อัตรา 80:800 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้น ให้ไถกลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ จึงเริ่มปลูกขิง อีกทั้งให้เลือกใช้หัวพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค หลีกเลี่ยง การปลูกพืชอาศัยของเชื้อ เช่น พืชตระกูลขิง มะเขือ มันฝรั่ง พริก และถั่วลิสง รวมถึงควรสลับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค

มะขามหวานวางจำหน่ายอยู่ริมทางและร้านอาหารเกือบตลอดปี หรือแม้แต่ที่ห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ ก็ตาม หลายคนคงสงสัยว่า เขามีวิธีเก็บถนอมไว้อย่างไร จึงทำให้ฝักมะขามหวานดูเหมือนว่าพึ่งเก็บมาจากต้นใหม่ๆ แม้มิใช่ฤดูกาลของมะขามหวานก็ตาม เพื่อให้ผู้อ่านหายสงสัยกัน หมอเกษตร ทองกวาว มีคำตอบมาให้ดังต่อไปนี้

มะขามหวาน แม้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอธิโอเปีย ทวีปแอฟริกา ก็ตาม แต่สามารถปรับตัวได้ดีในประเทศไทย แถมปรับตัวเองได้อย่างยอดเยี่ยมที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองจากมะขามเปรี้ยวมาเป็นมะขามหวานจนเลื่องชื่อลือนามมาเป็นเวลาช้านาน

ในอดีตมะขามหวานหลังเก็บเกี่ยวแล้วต้องรีบบริโภคหรือเร่งจำหน่าย เนื่องจากเสื่อมคุณภาพลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีทางเลือกเพียงสถานเดียวที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้บ้าง คือ การคลุกน้ำตาล เก็บในปี๊บ

การเสื่อมคุณภาพของมะขามหวาน คงหนีไม่พ้น ราสีขาว ที่เจริญเติบโตได้ดีในเนื้อมะขามหวาน เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลสูงมาก อีกปัญหาหนึ่งเกิดจากการเข้าทำลายของด้วงปีกแข็งเจาะผลไม้แห้ง เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ตัวโตเต็มวัย ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้ม โดยเพศเมียวางไข่ที่เปลือก หรือวางไข่ไว้ตั้งแต่มะขามยังเป็นฝักอ่อน แล้วเจาะเข้ากัดกินเนื้อและเมล็ดของมะขามหวาน ทำให้เก็บฝักไว้ได้ไม่นาน

ดังนั้น การยืดอายุฝักมะขามหวาน จะต้องยับยั้งการเข้าทำลายของศัตรูสำคัญทั้งสองชนิดที่กล่าวมา ทำได้หลายวิธี หลังจากเก็บรวบรวมฝักมะขามหวาน ระวังอย่าให้ฝักแตกและหลีกเลี่ยงอย่าให้เปียกน้ำ ตัดแต่งก้านช่อให้สั้น เหลือความยาวไว้เพียง 1 เซนติเมตร คัดแยกฝักที่ไม่สมบูรณ์ออก คัดขนาดฝักและผึ่งลมได้ 2-5 วัน จนแห้งพอดี แล้วนำไปนึ่ง

ใช้วิธีเดียวกับการนึ่งขนมถ้วยฟู หรือขนมตาล อุปกรณ์ประกอบด้วย เตาไฟ หม้อนึ่ง พร้อมฝาปิด บรรจุฝักมะขามหวานที่เตรียมไว้ให้พอเหมาะกับขนาดหม้อนึ่ง ปิดฝาและต้มน้ำให้เดือด เวลาการนึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะขามหวาน พันธุ์ขันตี และ สีชมพู มีเปลือกหนา ใช้เวลานึ่ง 15-20 นาที

ส่วนพันธุ์หมื่นจง และสีทอง เป็นมะขามหวานเปลือกบาง ใช้เวลานึ่งเพียง 10-15 นาที ก็นับว่าพอเพียง จากนั้นนำออกจากหม้อนึ่ง ผึ่งลมหรือผึ่งแดดให้แห้งสนิทดีแล้วเก็บในภาชนะบรรจุเตรียมส่งจำหน่ายต่อไป

วิธีเก็บในห้องเย็น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเอกชนติดตั้งห้องเย็น รักษาอุณหภูมิไว้ที่ 5-10 องศาเซลเซียส เพื่อบริการให้กับชาวสวน หรือพ่อค้ามะขามหวาน โดยคิดค่าบริการเป็นกิโลกรัมต่อหน่วยเวลา อาจเป็นเวลา 6 หรือ 8 เดือน ที่มีการกำหนดราคาไว้โดยมีความพอใจของทั้งสองฝ่าย การเก็บในห้องเย็นดังกล่าวไม่ทำให้สีของเนื้อ เปลือก กลิ่น และรสชาติเปลี่ยนแปลง

วิธีเก็บในห้องเย็นเป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน และวิธีการฉายรังสี หรืออาบรังสี นำฝักมะขามผึ่งลมให้แห้ง แล้วเข้าห้องฉายรังสี โคบอลต์ 60 หรืออาจใช้ ซีเซียม 137 ชนิดใดชนิดหนึ่ง ปริมาณ 1 กิโลกรัมเกรย์ จะสามารถควบคุมการเข้าทำลายของเชื้อราและแมลงศัตรูได้ 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังรักษาคุณภาพของมะขามหวานได้นานถึง 8 เดือน

ทั้งนี้ หลักฐานทางวิชาการ กัมมันตรังสี จะไม่มีตกค้างในเนื้อมะขามหวาน หรืออาหารอื่นๆ เพราะว่ามันทะลุทะลวงผ่านออกไปจนหมด หลังจากเก็บแร่กัมมันตรังสีเข้าที่เก็บแล้ว บทบาทของมันก็หมดไปจากห้องฉายรังสีทันที ต้องการทราบรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เลขที่ 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2596-7600 ในวันและเวลาราชการ และขอขอบคุณ กรมส่งเสริมการเกษตร ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลมาให้

ในสภาพอากาศที่มีแดดออกสลับกับมีฝนตกชุก และมีลมกระโชกแรงบางช่วงระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกเผือกเฝ้าระวังโรคใบจุดตาเสือหรือโรคใบไหม้ ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของเผือก

อาการบนใบ พบจุดเล็กสีน้ำตาลฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดขยายใหญ่เป็นวงซ้อนกันคล้ายดวงตา กรณีที่อากาศยังมีความชื้นหรือในช่วงเช้า จะพบบริเวณแผลมีหยดสีส้ม เมื่ออาการของโรครุนแรง แผลจะขยายติดกัน ทำให้ใบไหม้ หากอากาศมีความชื้นหรือมีฝนพรำ ใบจะเหี่ยวม้วนพับเข้า ใบแห้ง หรือใบอาจเน่า

อาการบนก้านใบ พบจุดเล็กสีน้ำตาลฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดจะขยายใหญ่ยาวรีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเข้ม ทำให้ก้านใบช้ำ ใบเหี่ยว ก้านหักพับได้ง่าย สำหรับในแปลงที่เป็นโรครุนแรง เผือกจะมีจำนวนใบเหลือน้อย จนทำให้ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต และเชื้อสาเหตุโรคอาจเข้าทำลายหัวเผือก ทำให้หัวเผือกเน่าได้

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เริ่มแสดงอาการของโรค ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไพราโคลสโตรบิน 25% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารอีทาบอกแซม 10.4% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน โดยพ่นให้ทั่วทั้งต้น บริเวณใบ และก้านใบ สำหรับแปลงปลูกเผือกที่พบการระบาดของโรค หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บนำส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรค หลีกเลี่ยงไม่ปลูกเผือกซ้ำในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

นอกจากนี้ การป้องกันกำจัดโรคใบจุดตาเสือหรือโรคใบไหม้ของเผือกในฤดูถัดไป เกษตรกรควรปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมกับการปลูก โดยไถพรวนดินให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป ใส่ปูนขาว และตากดินไว้ให้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะสามารถช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก

ในแหล่งที่พบการระบาดของโรค ให้เลือกใช้พันธุ์ต้านทานหรือทนทานต่อโรค เช่น พันธุ์ พจ.06 หรือใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค จากนั้น เกษตรกรควรจัดระยะปลูกเผือกให้เหมาะสม ไม่ปลูกเผือกในระยะที่ชิดกันเกินไป เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

ปัจจุบันมีกลุ่มไม้ผลแปลกและหายากอีกหลายชนิดที่น่าสนใจปลูก เนื่องจากมีคู่แข่งขันทางการตลาดน้อย และยังมีพื้นที่ปลูกไม่มากนัก แต่ผู้ปลูกจะต้องพยายามหาตลาดรองรับ ไม่ว่าจะเป็นตลาดท้องถิ่นหรือตลาดเมืองใหญ่ ไม้ผลแปลกและหายากที่น่าสนใจปลูกมีอยู่หลายชนิด

ขนุนลูกผสมพันธุ์ เพชรดำรง เป็นขนุนที่มีเนื้อสีเหลือง เจ้าของพันธุ์คือ คุณดำรงศักดิ์ วิริยศิริ ผสมพันธุ์โดยใช้ขนุนพันธุ์คุณหญิงเป็นพ่อพันธุ์และพันธุ์ทองประเสริฐเป็นแม่พันธุ์ ใช้เวลานานถึง 10 ปี จึงได้ขนุนสายพันธุ์นี้ ที่รวมเอาลักษณะเด่นของขนุนมาครบเกือบทุกประการ โดยเฉพาะมีเนื้อหนามากถ้ามีการบำรุงรักษาอย่างดี จะได้ขนุนที่มีเนื้อหนาถึง 2 เซนติเมตร

ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์ขนุนที่เกิดขึ้นด้วยการผสมพันธุ์จากฝีมือมนุษย์ ซึ่งนับว่าหาได้ยากมาก เนื่องจากขนุนสายพันธุ์ดีๆ ในอดีตที่ผ่านมาเกิดจากการคัดเลือกต้นที่เพาะเมล็ดทั้งหมด ในการปลูกขนุนให้ประสบผลสำเร็จ สิ่งที่เกษตรกรจะต้องดูแลเป็นพิเศษคือ เรื่องของการตัดแต่งกิ่ง เมื่อต้นขนุนมีอายุได้ 3 ปี จะเริ่มออกดอกและติดผล จะต้องมีการตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดผ่านถึงลำต้น เพื่อให้มีสภาพอากาศถ่ายเทได้ดี และถ้าจะให้ขนุนที่มีลักษณะผลและยวงที่ดี เกษตรกรควรจะช่วยผสมพันธุ์โดยผสมพันธุ์ในช่วงเวลาเช้าจะเหมาะสมที่สุด

ทับทิมพันธุ์มอลล่า เดอ เอลเช่

ทับทิม จัดเป็นไม้ผลที่มีประวัติการปลูกมายาวนาน ไม่ต่ำกว่า 5,000 ปี แหล่งกำเนิดอยู่บริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบัน ปัจจุบันสเปนนับเป็นประเทศที่ผลิตทับทิมเมล็ดนิ่มที่ได้ชื่อว่าอร่อยและคุณภาพดีที่สุดในโลก โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่เมืองเอลเช่ (ELCHE) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ผลผลิตทับทิมสเปนจะออกสู่ตลาดและส่งออกไปขายหลายประเทศทั่วโลก ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ของทุกปี พันธุ์ทับทิมที่สเปนปลูกในเชิงพาณิชย์จะแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์หลัก คือ พันธุ์วาเลนเซีย พันธุ์มอลล่า เดอ เอลเช่ และพันธุ์วันเดอร์ฟูล สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมของตลาดต่างประเทศคือ พันธุ์มอลล่า เดอ เอลเช่ และพันธุ์วาเลนเซีย เนื่องจากมีรสชาติหวานจัด อร่อยมาก (ไม่ติดเปรี้ยวเลย) และมีเมล็ดนิ่ม

สำหรับพันธุ์วันเดอร์ฟูลจะมีรสชาติอมเปรี้ยว แต่มีจุดเด่นตรงที่ผิวผลมีสีแดงและเนื้อข้างในสีแดงจัด ในแปลงปลูกพันธุ์มอลล่า เดอ เอลเช่ ที่ผู้เขียนได้ไปดูงานนั้น กิ่งพันธุ์ที่ใช้ปลูกจะใช้กิ่งเสียบยอด หลายคนยังไม่ทราบว่า ทับทิมจัดเป็นไม้ผลที่มีอายุยืนยาวมากที่สุดชนิดหนึ่ง มีอายุได้ไม่ต่ำกว่า 100 ปี แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปล่อยให้ต้นทับทิมมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 30-50 ปี

มะม่วงลูกผสม พันธุ์ ยู่เหวิน

มีถิ่นกำเนิดที่ไต้หวัน และเป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างพันธุ์จินหวง กับมะม่วงพันธุ์ อ้ายเหวินŽ มะม่วงลูกผสมสายพันธุ์นี้ได้มีการนำยอดพันธุ์มาเสียบยอดในประเทศไทย ประมาณ 4-5 ปี มาแล้ว และเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลปรากฏว่าเป็นมะม่วงที่มีลักษณะเด่นและรสชาติดี คือมีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 1-1.5 กิโลกรัม บริโภคได้ทั้งผลดิบและสุก

ในระยะผลดิบหรือห่าม จะมีรสชาติหวานมัน (ไม่มีเปรี้ยวปน) ระยะผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน หอม ไม่เละ ไม่มีเสี้ยน และไม่มีกลิ่นเหม็นขี้ไต้ ที่สำคัญสีของผลมีสีม่วงเข้มดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็น จัดเป็นมะม่วงแปลกและหายาก ปลูกและให้ผลผลิตได้ในประเทศไทย มะม่วงพันธุ์ยู่เหวินเป็นมะม่วงที่ปลูกง่ายและเริ่มให้ผลผลิตเมื่อต้นมีอายุเฉลี่ยได้ 3-4 ปี จากการสังเกตพบว่า ออกดอกและติดผลดีทุกปี

มะขามป้อมยักษ์อินเดีย

ผลงานวิจัยจากหลายประเทศพบตรงกันว่า มะขามป้อม จัดเป็นผลไม้ที่มีปริมาณของสารแทนนินสูง เป็นชนิดที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระต้านสารก่อมะเร็ง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง กำจัดสารพิษจากโลหะหนักออกจากร่างกายและในผลของมะขามป้อมมีปริมาณวิตามินซีสูงที่สุดชนิดหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น วิตามินซีที่พบอยู่ในผลมะขามป้อมมีมากที่สุดในโลก เมื่อเปรียบเทียบกับพืชทุกชนิด

ที่สำคัญหลายคนมองข้ามและไม่รู้ก็คือ ในผลของมะขามป้อมจะมีสารป้องกันการเกิดออกซิไดซ์วิตามินซี วิตามินซีคงตัวอยู่ได้นานในผลแห้งของมะขามป้อมที่เก็บไว้ในตู้เย็น ถ้าเก็บผลมะขามป้อมผลแห้งไว้ในตู้เย็นนาน 1 ปี จะเสียวิตามินซีไปเพียง 20% เท่านั้น

ปกติในบ้านเราจะพบเห็นผลมะขามป้อมที่มีขนาดของผลเล็ก แต่ถ้าผลที่ใหญ่ที่สุด จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3.5 เซนติเมตร พ.อ.อ.กิติ ชุ่มสกุล ได้มะขามป้อมจากประเทศอินเดียมาปลูกและให้ผลผลิตแล้วพบว่า มีขนาดผลใหญ่มาก มีเส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 4.5-5.5 เซนติเมตร หรือประมาณ 2 นิ้วเศษ

ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน เมื่อผลแก่สีของผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อมีสีขาวนวลคล้ายน้ำนม แต่ละผลจะมีกลีบแบ่งเป็นช่วงๆ 6 กลีบ เมื่อนำผลแก่มารับประทานสดจะมีรสฝาด อมเปรี้ยว และติดขมเล็กน้อย แต่เมื่ออมไว้สักครู่จะหวานชุ่มคอ เมื่อดื่มน้ำตามลงไปจะยังหวานชุ่มคอเป็นเวลานาน แก้ไอและแก้กระหายน้ำได้ดีมาก

มะละกอแขกดำ เรด แคลิเบียน

มะละกอแขกดำ เรด แคลิเบียนŽ เป็นมะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้ผลมะละกอมาจากอเมริกากลางและนำเมล็ดมาปลูก และคัดเลือกพันธุ์แบบผสมเปิดนานกว่า 7 ปี ได้ผลผลิตที่มีขนาดผลคล้ายกับมะละกอเรดมาราดอล์ แต่มีขนาดของผลใหญ่กว่ามาก น้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม (ผลใหญ่กว่าเรดมาราดอล์ 1-2 เท่า) เนื้อหนามาก มีสีแดงส้มและรสชาติหวาน

จากการปลูกทดสอบในแปลงพบว่า มีความทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดีกว่าพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ เป็นมะละกอที่สามารถบริโภคได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยเฉพาะผลดิบเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพื่อทำส้มตำ ส่วนผลสุกใช้บริโภคสด

โดยปกติแล้วมะละกอสามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีการระบายน้ำที่ดี เช่น ดินร่วนปนทราย ถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทรายจัด เราควรปรับปรุงดินก่อนโดยการใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดี

การระบายน้ำของแปลงปลูกมะละกอจะต้องดี เพราะต้นมะละกอเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังแฉะ โดยเฉพาะถ้าต้นมะละกอยังเล็ก ถ้ามีน้ำขังมากๆ ต้นมะละกออาจจะชะงักการเจริญเติบโตและอาจถึงตายได้

ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน

ในอดีตชมพู่ทับทิมจันท์ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย มีชื่อพันธุ์ว่า ซิต้าŽ มาปลูกในประเทศไทยจนประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ ปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ปลูกกันทั่วประเทศและยังเป็นพันธุ์ที่นิยมมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง เนื่องจากเป็นชมพู่ที่มีรสชาติอร่อยมาก เนื้อหวาน กรอบ และผิวมีสีแดงเข้ม

ในขณะที่ไต้หวันเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ชมพู่ และชมพู่จัดเป็นผลไม้ที่มีราคาแพงมากในไต้หวัน มีการบรรจุหีบห่อที่สวยงาม ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้ไปดูงานการเกษตรที่ไต้หวันและได้ชมพู่สายพันธุ์ใหม่ของไต้หวันมาทดลองปลูกในบ้านเรา

ดูจากลักษณะสายพันธุ์แล้วเป็นชมพู่ที่มีขนาดของผลใหญ่มาก มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 500-800 กรัม รสชาติหวาน กรอบ สำหรับระยะปลูกชมพู่แนะนำให้ใช้ระยะระหว่างต้น 5 เมตร ระยะระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 50 ต้น

เคล็ดลับที่สำคัญที่จะทำให้ชมพู่มีคุณภาพดีและรสชาติอร่อย ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต 15 วัน จะต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มความหวาน เช่น สูตร 8-24-24 อัตราต้นละ 500 กรัม ต่อต้น (ต้นชมพู่ อายุ 2-3 ปี) แต่ถ้าต้นชมพู่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ให้ใส่ต้นละ 1 กิโลกรัม ทางใบให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีโพแทสเซียมสูง

ฝรั่งพันธุ์ ฮ่องเต้

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2513 ทางไต้หวันได้มีการนำฝรั่งจากประเทศไทย ซึ่งมีขนาดผลใหญ่ เนื้อแน่น และกรอบ ไปปลูกได้ผลผลิตเป็นที่ชื่นชอบของคนไต้หวันในขณะนั้น เวลาผ่านไปไต้หวันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่งเรื่อยมา โดยเน้นความกรอบอร่อยของเนื้อ มีเมล็ดน้อย และนิ่ม

ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีเกษตรกรไทยนำพันธุ์ฝรั่งจากไต้หวันมาปลูกจนประสบผลสำเร็จในบ้านเรา และที่รู้จักกันดีคือ พันธุ์เจินจู ซึ่งมีเมล็ดนิ่มและรสชาติอร่อย เริ่มมีเกษตรกรไทยขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้นในขณะนี้

นอกจากฝรั่งพันธุ์เจินจู ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ปัจจุบันได้มีฝรั่งไต้หวันอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ได้กิ่งพันธุ์จากไต้หวันมาปลูกที่จังหวัดพิจิตร

เป็นกิ่งประเภทเสียงยอด มีรากแก้วจำนวน 2 ต้น (การขยายพันธุ์ฝรั่งในบ้านเราเกือบทั้งหมดจะใช้วิธีการตอนกิ่ง) และมีชื่อพันธุ์ว่า ฮ่องเต้Ž เริ่มปลูกต้นฝรั่งทั้งสองตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 มาจนถึงขณะนี้

ฝรั่งพันธุ์ ฮ่องเต้ ได้พบความแตกต่างจากฝรั่งไต้หวันสายพันธุ์อื่นๆ ที่ปลูกในบ้านเรา ตรงที่รูปทรงผลจะเป็นทรงกระบอกสี่เหลี่ยม เมื่อผลเจริญเติบโตเต็มที่มีน้ำหนักผลไม่ต่ำกว่า 500 กรัม เนื้อมีรสชาติหวานกรอบ เมล็ดน้อยมากและนิ่ม ที่สำคัญเป็นพันธุ์ที่ออกดอกและติดผลง่าย ให้ผลผลิตดี

ที่ไต้หวันไม่ว่าจะเป็นสวนเล็กหรือสวนใหญ่จะมีความประณีตในการห่อผลฝรั่งมาก เริ่มแรกจากการปลิดผลทิ้งบ้างให้เหลือกิ่งละไม่กี่ผล เมื่อผลมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับส้มเขียวหวานจะใช้ตาข่ายโฟมห่อที่ผลก่อนเป็นลำดับแรกและห่อตามด้วยถุงพลาสติคบางใสและเหนียว สังเกตได้ว่าถุงพลาสติคที่เกษตรกรไต้หวันใช้จะบางมาก และสามารถมองทะลุเห็นผลภายในอย่างชัดเจน เพื่อสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว

สวนคุณลี ตั้งอยู่เลียบคลองชลประทาน อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ผู้สนใจสามารถแวะเยี่ยมชมสวนคุณลี และเลือกซื้อผลผลิต พันธุ์ไม้ผล เมล็ดพันธุ์พืช ได้ทุกวัน สวนคุณลีเปิดเวลา

“มะไฟ” ภาคใต้เรียก “ ส้มไฟ” ฝรั่งมังค่าเรียก “เบอร์มีส เกรฟ ” มะไฟพบได้ในป่า ตั้งแต่เนปาล อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ เขมร เวียดนาม ไทย และมาเลเซีย ปัจจุบันประเทศที่นิยมปลูกมะไฟคือ อินเดีย มาเลเซีย และไทย ในอดีตประเทศไทยมีแหล่งผลิตและรวบรวมพันธุ์ดีอยู่ที่กรุงเทพฯ ชลบุรี และนนทบุรี

“ มะไฟ ” เป็นผลไม้พื้นบ้าน เมล็ดสีขาวขุ่น รสเปรี้ยวอมหวาน ลักษณะเด่นของมะไฟ เป็นไม้ที่มีความสูง 10-25 เมตร มีทั้งต้นตัวเมีย ตัวผู้ และต้นกะเทย โคนต้นแตกเป็นพู ใบเดี่ยวออกสลับกัน รูปหอกถึงรูปไข่ กว้าง 4-9 เซนติเมตร และยาว 10-20 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1-8 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งและลำต้น ช่อดอกตัวผู้ยาว 3-8 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกตัวเมียยาว 15-30 เซนติเมตร ดอกเดี่ยวมีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ

การปลูกด้วยเมล็ดส่วนใหญ่จะเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ปัจจุบันนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด จึงได้ต้นพันธุ์เป็นต้นกะเทยเกือบทั้งหมด ต้นกะเทย ดังกล่าวหมายถึงต้นที่มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ขนาดผลมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3.0 เซนติเมตร มีรูปร่างกลม และกลมรี ผลอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่ปกคลุมผิวเปลือก ต่อมาจะหลุดร่วงเมื่อผลแก่ ผิวมีสีเหลือง หรือสีชมพูอ่อน เนื้อผลสีขาวครีม เมล็ดในสีน้ำตาลอ่อน เนื้อผลมีทั้งรสเปรี้ยว และรสหวาน ในหนึ่งผล มี 2-3 เมล็ด หรือ 2-3 พู พันธุ์ที่ปลูกกันอยู่ในปัจจุบัน เช่น พันธุ์เหรียญทอง ไข่เต่า กระถิน และมะไฟพันธุ์ทองสยาม

มะไฟ เป็นพืชต้องการดินร่วน หรือดินร่วนเหนียว ระบายน้ำได้ดี จะติดดอกออกผลดีต้องอยู่ในสภาพมีพืชร่วมช่วยบังแสง หรือไม่ชอบแสงแดดจัด มีปริมาณน้ำพอเพียง มีความชื้นในบรรยากาศค่อนข้างสูง ต้องการน้ำมากในระยะติดผล และระยะเริ่มติดดอก หากขาดน้ำจะทำให้การผสมเกสรล้มเหลว การปรับปรุงบำรุงดินนับว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน

แต่ทั้งนี้การให้ปุ๋ยต้องให้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยระยะก่อนออกดอก ควรใส่ปุ๋ยตัวกลางสูง เช่น สูตร 10-30-10 เพื่อกระตุ้นการพัฒนาของรากและการผลิดอก แต่เมื่อติดผลแล้วต้องใส่ปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูง เช่น สูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 ปุ๋ยตัวท้ายคือ โพแทสเซียม ช่วยเร่งกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลจากใบและต้นไปยังผล อีกทั้งทำให้สีสันสวยยิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญระวังอย่าให้มีการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งและเพลี้ยอ่อน เนื่องจากแมลงทั้งสองชนิดจะดูดน้ำเลี้ยงที่ช่อดอกของมะไฟกินเป็นอาหาร ทำให้น้ำเลี้ยงหรืออาหารไปหล่อเลี้ยงดอกและผลไม่พอเพียง ดอกและผลจะร่วงหล่นในที่สุด วิธีป้องกันกำจัดที่ดีที่สุดคือ การกำจัดมดแดง และมดคันไฟ ที่นำแมลงทั้งสองชนิดไปดูดกินน้ำเลี้ยง และได้น้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมากินเป็นอาหารตอบแทน กำจัดมดเพื่อไม่ให้นำแมลงไปยังช่อดอก ด้วยวิธีที่เหมาะสม หากคุณปฏิบัติได้ตามคำแนะนำข้างต้น คุณจะได้ช่อมะไฟที่สวยงามตามความประสงค์

เมืองหงสา แขวงไซยะบุรี สปป. ลาว อยู่ห่างจากชายแดนไทย ที่ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน โดยข้ามด่านชายแดนน้ำเงิน เมืองเงิน (สปป. ลาว) ไปเพียง 30 กิโลเมตร เท่านั้ันเอง

จากด่านชายแดนถึงเมืองหงสา stsebastianschool.org ถนนหนทางดีกว่าในเมืองอื่นๆ มาก ด้วยถนนลาดยางอย่างดี (ใน สปป. ลาว สภาพถนนมีผลมากต่อการเดินทาง ดังนั้นเมื่อถนนดี การขับรถ จึงใช้เวลาไม่นานก็ถึงเมืองหงสาแล้ว)

ส่วนหนึ่งเป็นผลพลอยได้จากการตั้งขึ้นของโรงไฟฟ้าหงสา ที่เริ่มเปิดทำการมาตั้งแต่ปี 2558 โดยมีอัตราส่วนการถือหุ้น ดังนี้ รัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาว (Lao Holding state Enterprise-LHSE) ร้อยละ 20, บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด ถือร้อยละ 40 และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือร้อยละ 40

(กำลังการผลิต 1,878 เมกะวัตต์ MWs จำหน่ายให้การไฟฟ้าลาว 100 เมกะวัตต์ หรือ 5.32% ของกำลังการผลิต ส่วน 1,473 เมกะวัตต์ หรือ 78.43% ส่งกลับไปขายที่เมืองไทย โดยผ่านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เมืองหงสา ตั้งอยู่ในหุบเขา อากาศเย็นสบายโดยเฉพาะช่วงปลายปี เป็นเมืองที่คึกคัก นับตั้งแต่มีโรงไฟฟ้าเข้ามา เพราะนั่นหมายถึงการเกิดขึ้นของสาธารณูโภคต่างๆ รวมทั้งการจ้างแรงงาน

แรงงานส่วนหนึ่ง เข้าไปอยู่ในโรงไฟฟ้า และเหมืองถ่านหิน อีกส่วนกระจายตัวในภาคการเกษตร

จุดหนึ่งที่น่าสนใจ และคาดว่าอีกไม่นานน่าจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ต่อไป นั่นคือ ศูนย์เรียนรู้การเกษตร หงสา ที่ก่อตั้ง และดำเนินงานโดยโรงไฟฟ้าหงสา ที่มาของการตั้งศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ คือเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การทำการเกษตร สำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ต้องย้ายออกจากพื้นที่เดิม อันเนื่องมาจากการทำเหมืองถ่านหินและก่อสร้างโรงไฟฟ้า เมื่อย้ายออกมาแล้ว ทางโรงไฟฟ้าก็ต้องหาที่อยู่ ที่ทำกิน และอาชีพให้ โดยมีหลักว่า ชีวิตความเป็นอยู่จะต้องไม่ต่ำไปกว่าเดิม และหากว่าจะพัฒนาให้ดีกว่าเดิมมากๆ ก็นับว่าประสบความสำเร็จ

คุณลิขิต พงศ์พงัน ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการ บริษัทโรงไฟฟ้าหงสา จำกัด เผยว่า “เดิมเกษตรกรที่นี่ ทำไร่ทำนา เป็นหลัก ทางศูนย์เรียนรู้การเกษตรแห่งนี้ ก็นำเสนอเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ พืชใหม่ๆ อันจะเป็นทางเลือกให้เกษตรกร เช่น หันมาปลูกยางพารา ปลูกไม้ผล ปลูกไม้แซมในร่องสวน ปลูกพืชระยะสั้น หรือพืชผักสวนครัวกันบ้างดีมั้ย”

จากนั้น ทางศูนย์ก็เดินหน้าทำตัวอย่างให้ดู ในพื้นที่ 120 ไร่ ดังนั้น จะเห็นกิจกรรมมากมายในศูนย์แห่งนี้

ไม่ว่าจะเป็น การปลูกกล้วย มะละกอ สตรอเบอรี่ สับปะรด มะเขือ ต้นหม่อน เมล่อน บนพื้นที่ ที่จัดภูมิทัศน์อย่างสวยงาม รวมทั้งการปลูกมะนาวในถังซีเมนต์ที่ได้ผลดี