คือเทคนิคทำให้ผิวสวย แต่ไม่ใช่แค่นำถุงมาห่ออย่างเดียวแล้วผิว

ของกล้วยจะสวยได้เราจะต้องมีฮอร์โมนและยาฆ่าแมลงอ่อนๆ ไม่ให้แมลงรบกวน และไม่ให้เกิดเชื้อรา โดยจะฉีดยา 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ฉีดตอนปลีจะเริ่มออกหัวปลีจะแดงๆ ขึ้นมา

ครั้งที่ 2 ฉีดตอนปลีโน้มห้อยลงมาจนคายปลีแล้วเห็นหวีทั้งหมด จะเริ่มใช้ถุงพลาสติกกัน ยูวี มาห่อ ตั้งแต่ตัดหัวปลีไปแล้ว

ต้นทุนการผลิต…คิดรวมค่าปุ๋ย ค่าแรงงาน แล้วต้นทุนตกต้นละ 30 บาท ปัญหา และอุปสรรค
ในการปลูกกล้วยไข่ ต้องรับมือให้ได้
การปลูกกล้วยไข่ ศัตรูตัวสำคัญคือ หนอนกอ ถ้าดูแลป้องกันไม่ดี หน่อกล้วยที่ปลูกจะตาย วิธีรับมือ ดังนี้
1. จุ่มสารเพื่อป้องกัน วิธีนี้ป้องกันได้ประมาณ 70% ยังไม่สามารถแก้ได้ทั้งหมด แต่ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย อย่างปีนี้ของผมปลูกเกือบ 10,000 ต้น ต้นตาย เพราะหนอนกอไป 1,200 ต้น ถือว่าเยอะมาก

2. ภัยธรรมชาติ คือ ลม ถ้าสมมุติกล้วยเป็นสาว บางปีคือกำลังจะตกเครือลมมาช่วงกำลังตกเครือ ต้นจะหักเรียบเลยนั้นคือปัญหา ต้องอาศัยดวง ถ้าจะแก้ด้วยการปลูกต้นไม้กันลม ถือว่ายังไม่คุ้ม เพราะการปลูกกล้วยไข่ยังต้องย้ายพื้นที่ปลูก ทิศทางลมมาไม่ตรงและแต่ละปีมาไม่เท่ากัน

3. ตรงนี้เป็นพื้นที่ต่ำ แต่มีความจำเป็น ถ้าจะเลือกพื้นที่สูง ดินไม่ดี พื้นที่ต่ำดินจะร่วนซุย ปลูกอะไรก็งาม ทำให้เราต้องเลือกที่ต่ำ แต่ว่าต้องลุ้นว่าปีนี้น้ำจะท่วมไหม ถ้าไม่เจอภัยธรรมชาติเลย ปีนั้นถือว่าโชคดีมีกำไรเต็มๆ

4. ให้ท่องไว้เสมอว่า ทุกอาชีพมีความเสี่ยง ถึงตอนนี้พืชผลที่เรากำลังปลูกอยู่ราคากำลังไปได้ดี แต่ก็ต้องมีแผนสำรองกันพลาดไว้ด้วย อย่างผมตอนนี้ไม่ได้ปลูกกล้วยไข่อย่างเดียว แต่ปลูกผักชีฝรั่งด้วย ทุก 4 เดือน ก็ได้ถอนขายมีเงินใช้หมุนเวียนในการทำเกษตรต่อไป

ปัจจุบันและอนาคต กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อน
ยังเป็นของดีหายากและตลาดมีความต้องการสูง
คุณสุเทพ บอกว่า ถ้าถามหาเหตุผลว่า ทำไม กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อนจึงเป็นที่ต้องการของตลาดมาตลอด
1. เราได้เปรียบในเรื่องของพื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูก

2. ประสบการณ์ของเกษตรกรที่ปลูกกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษมีการถ่ายทอดเทคนิคการปลูกจากรุ่นสู่รุ่น

3. มีเพียงไม่กี่พื้นที่ปลูกแล้วจะได้ผลดี ทั้งประเทศไทยมี 77 จังหวัด แต่พื้นที่เหมาะสำหรับการปลูกกล้วยไข่ มีแค่ 2-3 จังหวัด จึงทำให้กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อนยังเป็นที่ต้องการของตลาดตลอดมา ไม่เคยประสบปัญหาเรื่องผลผลิตล้นตลาด แต่อาจต้องมีเคล็ดลับสำคัญสักนิดคือ ต้องปลูกให้ตรงกับฤดูกาลที่ตลาดต้องการด้วย ถ้าไปปลูกชนกับผลไม้อย่างอื่นของเราจะขายยาก ควรวางแผนปลูกให้ผลผลิตออกช่วงที่เงาะหมด ทุเรียนหมด เราแค่เลือกปลูกไม่ให้ตรงกับพืชชนิดอื่น ช่วงที่ตลาดต้องการกล้วยไข่มากที่สุดอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน

ส่วนเรื่องของการตลาดจะมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงสวนทุกปี เกษตรกรที่นี่ไม่ต้องไปหาตลาดเอง แค่ปลูกให้รอด มีผลผลิตขายให้พ่อค้าก็พอ ราคาก็ค่อนข้างมีความผันผวนบ้าง อย่างปีที่แล้วราคาแพงที่สุด อยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท แต่ปีนี้ปัญหาคือ แล้งกล้วยเหลือน้อย จากเคยปลูกกัน 10,000 ต้น ปีนี้เหลือ 5,000 ต้นก็มี ดังนั้น เมื่อผลผลิตมีน้อยพ่อค้าแม่ค้าต่างแย่งกันซื้อ ปีนี้ราคาขึ้นมาเป็น กิโลกรัมละ 15 บาทแล้ว และตลาดในต่างประเทศตอนนี้ก็มีติดต่อเข้ามาบ้าง เรากำลังอยู่ในช่วงเตรียมการ เพราะเมื่ออดีตที่ตำบลตะเคียนเลื่อนเคยมีนายทุนมาผลิตกล้วยไข่ส่งออกนอกและได้ผลดีจริงๆ แต่ต้องหยุดไป เพราะผลผลิตไม่พอต่อการส่งออก และตอนนี้เริ่มมีบริษัทมาติดต่อให้ทำส่งออกนอกอีกครั้ง เพราะตลาดต้องการผลผลิตกันมากขึ้น เขาจึงวิ่งมาหาเรา ผมจึงเริ่มคุยกับเขาว่าจะเริ่มทำส่งให้ปีนี้ ซึ่งสถานการณ์ตรงนี้ก็ส่งผลไปถึงตลาดในประเทศด้วย พ่อค้าแม่ค้าในประเทศมีการปรับราคารับซื้อให้สูงขึ้น ถือเป็นของหายาก

ฝากถึงเกษตรกร
ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร ใจต้องมาก่อน
การเป็นเกษตรกรถือเป็นอาชีพที่หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน
1. ใครจะเดินทางสายนี้ใจต้องมาก่อน ถ้าใจไม่รัก ก็ทำไม่ได้ เพราะการทำการเกษตรต้องตากแดดตลอด
2. ต้องมีความรู้มากพอ ผมก็ไม่ได้เก่งทุกเรื่อง เก่งเฉพาะเรื่องกล้วยกับผักชีฝรั่ง ถ้ามือใหม่คิดอยากจะทำก็ทำได้ เพียงแค่ต้องหมั่นหาความรู้อยู่ตลอด เรียนรู้กระบวนการทุกอย่าง ถือว่าไม่ยาก เพราะไม่มีอะไรยากเกินความสามารถของคน และที่ผ่านมาถือว่ากล้วยไข่เลี้ยงผมและครอบครัวได้เป็นอย่างดี

กาแฟยะลา พิถีพิถันตั้งแต่การปลูกเพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟที่หอม มีค่าความหวานมากกว่า และได้ความเข้มข้นสูงเป็นอัตลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว กาแฟที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดยะลา กำลังจะกลายเป็นพืชทางเลือก ที่สร้างอัตลักษณ์เฉพาะตัว และสร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ชายแดนใต้ ด้วยจุดเด่นของเมล็ดกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดยะลาจะมีค่าความหวาน และความเข้มข้นในระดับที่สูงกว่าและเหมาะสมกว่าเมื่อเทียบกับกาแฟชนิดอื่น

จ.อ. สิทธิเดช อ่องเภา เจ้าของ “บ้านสวนจ่ามด” ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โทร. 083-535-4559, 080-099-9361 หรือผ่านช่องทาง เฟซบุ๊ก “มะนาวคาเวียร์ บ้านสวนจ่ามด” อธิบายการดูแลรักษาต้นมะนาวนิ้วมือ การใส่ปุ๋ยในช่วงแรก ก็เน้นการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ใส่ร่วมกับปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15, 16-16-16 หรือบวกปุ๋ยสูตรตัวหน้าเล็กน้อยในบางครั้ง เช่น สูตร 46-0-0, 30-0-0, 15-0-0 เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อน พอต้นได้อายุ 1 ปีครึ่ง ต้นมีความพร้อมที่เริ่มจะออกดอกและติดผล ก็จะเปลี่ยนใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 เพื่อเป็นการสะสมอาหารให้กับต้นมะนาวนิ้วมือ เพิ่มความสมบูรณ์ให้กับต้นมะนาวนิ้วมือก่อนการออกดอก

หลังการออกดอกและติดผลก็จะกลับมาใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เพื่อบำรุงผลเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับต้น โดยการใส่ปุ๋ยจะเน้นการใส่ปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง เช่น ใส่ปุ๋ยให้เดือนละ 1 ครั้ง นั่นเอง ส่วนปุ๋ยและฮอร์โมนทางใบก็ช่วยเสริมความสมบูรณ์ให้ต้นเจริญเติบโตและมีความสมบูรณ์ โดยปุ๋ยทางใบก็ใช้สูตรให้สอดคล้องกับปุ๋ยทางดิน เช่น ใช้ปุ๋ยทางใบ สูตรเสมอยืนพื้นสลับกับปุ๋ยทางใบที่มีสูตรตัวหน้าสูง เช่น 12-12-12, 18-6-6, 30-0-0 เป็นต้น ส่วนช่วงการสะสมอาหารก่อนมะนาวนิ้วมือจะออกดอก ก็ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่ชาวสวนมะนาวนิยมใช้ คือ ปุ๋ยสูตร 0-52-34 ในการฉีดสะสมอาหารเพียง 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน แต่เมื่อเห็นว่ามะนาวจะเริ่มออกดอก ก็จะปรับมาใช้ปุ๋ยทางใบที่มีปุ๋ยสูตรตัวหน้าเล็กน้อย เพื่อกระตุ้นให้การออกดอกดีขึ้น เช่น ปุ๋ยทางใบ สูตร 10-52-17, 5-20-25 ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยเปิดตาดอกให้มะนาวนิ้วมือออกดอกดีและสม่ำเสมอมากขึ้น

ส่วนฮอร์โมนที่จะเสริมช่วยคือ สังกะสี โดยพืชตระกูลส้มและมะนาวมักจะขาดธาตุสังกะสีได้ง่าย ควรฉีดพ่นให้สม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง แคลเซียม โบรอน จะช่วยในการผสมดอกมะนาวเป็นไปได้ด้วยดีขึ้น ส่งเสริมการออกดอกติดผลดีขึ้น

“มะนาวนิ้วมือ” ตั้งแต่ออกดอกจนเก็บเกี่ยวผลได้ จะใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 5 เดือนครึ่ง ถึง 6 เดือน ซึ่งจากการสังเกตพบว่า มะนาวนิ้วมือเกือบทุกสายพันธุ์ที่ปลูกไว้จะใช้ระยะเวลาประมาณนี้ อาจจะเก็บได้ก่อนก็ได้ แต่นั้นต้องดูหลายๆ อย่างประกอบ เช่น สังเกตผิวมะนาวนิ้วมือจะต้องมีความตึง ผิวเรียบ ผิวไม่ขรุขระ แสดงว่ามะนาวจะเป็นระยะที่เหมาะกับการเก็บเกี่ยว เมื่อผ่ามาจะพบว่า เนื้อหรือกุ้งข้างในจะมีลักษณะเต่งกลม สวยเหมือนไข่ปลา ไม่ลีบ ส่วนสีเนื้อหรือสีกุ้งของมะนาวนิ้วมือจะสีสวยในระดับหนึ่ง

แต่ถ้าผลมะนาวนิ้วมือที่ติดผลและเก็บเกี่ยวได้ในช่วงอากาศเย็นหรือหน้าหนาว สีเนื้อในหรือกุ้งมะนาวนิ้วมือจะมีสีเข้ม สวยกว่าปกติที่เก็บเกี่ยวในช่วงเวลาอื่นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในเรื่องของการนำไปจำหน่ายอะไร เนื่องจากผลผลิตมะนาวนิ้วมือในตลาดบ้านเราถือได้ว่ามีปริมาณน้อยมากๆ ยังไม่เพียงพอต่อการใช้หรือความต้องการของลูกค้า ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าสอบถามมาจำนวนมาก ทั้งร้านอาหาร โรงแรม ห้างสรรพสินค้า แต่ปริมาณการผลิตก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ไม่สามารถตอบรับออเดอร์ลูกค้าได้ตามที่เขาต้องการ

โดยตอนนี้ก็จะมีร้านอาหารและโรงแรมชั้นนำ ติดต่อซื้อเป็นประจำเพื่อนำไปประกอบอาหาร จากที่สอบถามมาแล้ว นอกจากความเปรี้ยวและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของมะนาวนิ้วมือ ทำให้อาหารมีรสชาติที่แตกต่างจากการใช้มะนาว แถมยังการที่มีเนื้อหรือกุ้งที่เป็นเม็ดๆ คล้ายไข่ปลา ยังคงทำให้เกิดรสสัมผัสที่แปลกแก่คนรับประทาน จานอาหารมีสีสันดึงดูดใจเป็นอย่างมาก ซึ่งวิธีใช้มะนาวนิ้วมือนั้นจะขูดเนื้อหรือบีบผลเนื้อออกจากผล นำมาคลุกเคล้าหรือวางประดับหน้าอาหาร เวลาเคี้ยวจะแตกในปาก คล้ายกินไข่ปลาคาเวียร์ รสชาติเปรี้ยว เหมือนมะนาวทั่วไป แต่มะนาวนิ้วมือมีกลิ่นหอมคล้ายมะนาวแป้นผสมเลมอน

ราคาซื้อขายมะนาวนิ้วมือนั้น จำหน่ายออกจากสวนตอนนี้ กิโลกรัมละ 2,000 บาท ซึ่งเป็นการขายแบบคละขนาดและคละสายพันธุ์ เนื่องจากผลผลิตมีไม่มากพอในแต่ละสายพันธุ์นั่นเอง อีกอย่างลูกค้าก็รับได้ในเงื่อนไขนี้ แต่ตอนจัดส่งก็จะพยายามแยกสายพันธุ์มะนาวนิ้วมือให้ลูกค้าอีกครั้งหนึ่ง เพื่อสะดวกต่อลูกค้านำไปใช้ จะได้ทราบเบื้องต้นว่า มะนาวที่จะนำไปใช้หรือนำไปปรุงอาหารข้างในมีสีอะไร เช่น สีแดง สีเขียว สีชมพู สีขาว เป็นต้น

เพราะเท่าที่ทราบข้อมูลจากลูกค้าที่นำมะนาวนิ้วมือไปประกอบอาหาร จะรับประทานกับอาหารทะเลซีฟู้ด นำไปตกแต่งจัดจานอาหารเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงนำไปใส่ในค็อกเทลหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตอนนี้เร่งปลูกมะนาวนิ้วมือสายพันธุ์ที่มั่นใจให้มีจำนวนต้นมากขึ้น อย่างที่บอกอันดับแรก เพื่อให้ผลผลิตมีป้อนตลาดอย่างต่อเนื่องและมีจำนวนในการส่ง อย่างห้างสรรพสินค้าติดต่อเข้ามาพอสมควร แต่ด้วยจำนวนผลผลิตไม่มากพอและไม่มีความต่อเนื่อง ที่สวนจึงยังไม่สามารถตอบรับความต้องการของทางห้างสรรพสินค้าได้

การขยายพันธุ์ สามารถทำได้ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ติดตา หรือเสียบยอด ตามถนัดของแต่ละคน เนื่องจากเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้หลากหลายรูปแบบ วิธีการขยายพันธุ์มะนาวนิ้วมือทำได้ไม่ยาก แม้จะเป็นมือใหม่ในการเริ่มต้นขยายพันธุ์พืชก็สามารถทำได้ โดยเน้นการทำบ่อยๆ ฝึกบ่อยๆ ก็จะเกิดความชำนาญเอง เริ่มจากการเสียบยอดจากพันธุ์ไม้อื่นๆ ต้นตอที่นำมาใช้เปลี่ยนยอด เช่น ต้นส้มโอ ต้นมะนาว มะกรูด ส้มนอก เป็นต้น แต่ที่สวนจ่ามด เลือกใช้ต้นตอของส้มโอ เนื่องจากหาต้นตอได้ง่าย ราคาไม่แพง หรือแม้จะนำเมล็ดมาเพาะเองก็ไม่ยุ่งยาก เพราะเมล็ดส้มโอมีอัตราการงอกดี มีการเจริญเติบโตที่ดี แผลต้นตอส้มโอสามารถรับได้ดีกับยอดมะนาวนิ้วมืออีกด้วย ในเรื่องของการเจริญเติบโตก็เป็นไปได้ดี

สำหรับวิธีการเสียบกิ่งมะนาวนิ้วมือบนตอส้มโอ มีดังนี้ เลือกกิ่งมะนาวนิ้วมือและตอส้มโอที่มีขนาดใกล้เคียงกัน หรือต้นตอส้มโอใหญ่กว่าเล็กน้อยได้ โดยกิ่งมะนาวและตอส้มโอที่จะนำมาเสียบกันนั้น ต้องมีลักษณะที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป เพื่อให้เนื้อเยื่อสามารถผสานกันได้ดี ใช้กรรไกรตัดต้นตอส้มโอให้มีความสูงที่พอเหมาะ ประมาณ 10-20 เซนติเมตร แล้วใช้คัตเตอร์ผ่าตรงกลางต้นตอส้มโอให้ลึกประมาณ 1-2 นิ้ว และเฉือนกิ่งมะนาวทั้งสองข้างเฉียงลง ให้เป็นปากฉลาม ยาวประมาณ 1 นิ้ว นำกิ่งมะนาวนิ้วมือเสียบลงบนตอส้มโอให้เปลือกและเนื้อสัมผัสกันพอดี และพันกิ่งด้วยเทปพันธุ์กิ่ง โดยให้พันระหว่างกิ่งพันธุ์มะนาวกับตอส้มโอ เพื่อให้ยึดแนบกันแน่น

จากนั้น นำต้นมะนาวที่เสียบบนตอส้มโอใส่ถุงพลาสติกใบใหญ่ และปิดปากถุงให้แน่นด้วยเชือกฟางเก็บไว้ในที่ร่ม ระยะเวลาในการอบกิ่งพันธุ์ประมาณ 25 วัน ถึง 1 เดือน (ทั้งนี้ระยะเวลาในการอบกิ่งพันธุ์จะต้องขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศด้วย ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการอบไม่เท่ากัน) เมื่ออบได้ระยะที่เหมาะสมก็จะเปิดปากถุงอบเล็กน้อย เพื่อให้ต้นมะนาวนิ้วมือปรับตัวกับสภาพอากาศ อย่างน้อยสัก 5-7 วัน ก่อนจะนำต้นมะนาวนิ้วมือออกจากถุงอบ เมื่อเสร็จแล้วให้นำไปวางไว้ในที่ร่มรำไร หรือใต้ร่มซาแรน ในกรณีที่ไม่ใส่ถุงอบใบใหญ่ก็สามารถใช้ถุงพลาสติกแบบถุงร้อนครอบไว้ที่ยอดที่เสียบ แล้วมัดด้วยเชือกฟางหรือหนังยาง เพื่อรักษาความชื้นและลดการคายน้ำ เป็นเวลา 1 เดือน เมื่อครบกำหนดจึงนำกรรไกรมาตัดปลายมุมถุงทั้งสองข้างออกเพียงเล็กน้อย และปล่อยทิ้งไว้อีก 1 สัปดาห์ ให้ยอดมะนาวนิ้วมือมีการปรับตัว จากนั้นค่อยแกะถุงครอบออก นำไปเลี้ยงอนุบาลต่อไป

ส่วนเรื่องตลาดของมะนาวนิ้วมือนั้น หากมองดูเหมือนจะเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม เนื่องจากมีใช้ผสมอาหารหรือผสมค็อกเทลในบางโรงแรมที่มีขนาดใหญ่ แต่จริงๆ แล้ว พอเข้ามาสู่การค้าขายผลผลิตมะนาวนิ้วมือ ทำให้ทราบว่า มีความต้องการใช้มะนาวนิ้วมืออยู่มาก และต้องการใช้จากผู้ซื้ออย่างต่อเนื่อง มะนาวนิ้วมือนี้จึงไม่เป็นที่รู้จักของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวมากนัก เพียงแต่รู้จักและเพาะพันธุ์กันอยู่เฉพาะในกลุ่มผู้ชื่นชอบมะนาวนิ้วมือเท่านั้น

ส่วนในอนาคตอันใกล้นี้ มะนาวนิ้วมือ น่าจะเป็นที่นิยมปลูกกันแพร่หลายมากขึ้นสำหรับเกษตรกรและผู้บริโภคทั่วไป เนื่องจากความกังวลว่าปลูกแล้วจะติดผลหรือไม่นั้น คงไม่มีแล้ว สายพันธุ์ที่นำมาปลูกและขยายพันธุ์ตอนนี้ออกดอกและติดผลกันหมดแล้ว ทำให้มือใหม่หรือคนที่สนใจปลูกหมดปัญหาเรื่องนี้ไป เพียงแต่ปลูกและบำรุงต้นให้สมบูรณ์ รอเวลาให้ออกดอกติดผลเก็บผลผลิตไว้รับประทานหรือนำไปจำหน่ายเท่านั้น

เป็นเรื่องน่าทึ่งมาก เมื่อได้พูดคุยกับ คุณดนหลีม สุนทรมาลาตี เกษตรกรทำสวนส้มจุก เจ้าของสวนคุ้งคลองวัว หมู่ที่ 5 ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ถึงการทำสวนส้มจุกจะนะ ที่เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของอำเภอ และหารับประทานได้ยาก

จะเรียกว่าได้คุณภาพคือ ผลส้มต้องมีขนาดใหญ่ น้ำหนักรวม 3 ผล ประมาณ 1 กิโลกรัม หากเกินกว่านั้นก็น้ำหนักรวม 4 ผล ประมาณ 1 กิโลกรัม หากจำนวนผลส้มต่อ 1 กิโลกรัม มากเกิน 3-4 ผล ถือว่าตกเกรด

และเท่าที่ทราบ เมื่อผลผลิตเริ่มติด จะเปิดให้จองผ่านโซเชียล และรับคิวจองเพียง 100 คิว เท่านั้น ไม่มีหน้าร้าน ไม่ได้ขายในตลาดทั่วไป ส่วนปริมาณผลผลิตที่เกินกว่าจำนวน 100 คิว ที่จองไว้ จะแบ่งจำหน่ายให้กับคนในพื้นที่

กว่าจะได้ส้มจุกคุณภาพเช่นนี้ คุณดนหลีม เล่าให้ฟังว่า ราว 37 ปีก่อน เริ่มทดลองปลูกเพื่อเรียนรู้ โดยการทดลองปลูกต้นตอด้วยเมล็ดและกิ่งตอน และการเสียบยอด เพื่อทดลองว่า ต้นตอจากส้มชนิดใด ลักษณะใด ให้ผลผลิตได้ดี มีความแข็งแรง ทนทานต่อโรค และเจริญเติบโตได้ดีกว่า การทดลองนี้ คุณดนหลีมใช้เวลา 3-4 ปี เพื่อให้ต้นส้มอยู่ในวัยที่เริ่มให้ผลผลิต จึงพิสูจน์ได้ว่า ควรใช้ต้นตอจากส้มชนิดใด และควรปลูกอย่างไร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ตามที่ต้องการ

ในที่สุดข้อสรุปของการปลูกส้มจุกจะนะให้ได้คุณภาพคือ การปลูกต้นตอด้วยส้มพันธุ์พื้นเมืองหรือส้มซ่า ที่มีคุณสมบัติเมล็ดมาก รสชาติเปรี้ยวจัด นำมาปลูกในสวนที่ทำลักษณะสวนแบบยกร่อง พื้นที่ 12 ไร่ เมื่อต้นตอมีอายุ 1 ปี จึงนำส้มจุกมาเสียบยอด แม้ว่าต้นตอจะมีคุณสมบัติอย่างไรก็ไม่มีผลต่อส้มที่นำมาเสียบยอด ทั้งยังช่วยให้ต้นส้มหาอาหารเก่ง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

การปลูกส้มจุกแบบเสียบยอด มีผลให้ต้นส้มสูงไม่เกิน 3 เมตร ดูแลง่าย เมื่อให้ผลผลิตไม่ต้องค้ำกิ่ง เก็บผลผลิตง่าย ไม่สิ้นเปลืองแรงงาน และให้ผลผลิตเร็ว ภายใน 2 ปีครึ่ง

พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถว 6×7 ทำให้ได้จำนวนต้นส้ม 50 ต้น ต่อไร่ เมื่อถามว่า ส้มเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ดูแลยาก และมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวน คุณดนหลีม เล่าว่า สภาพดินก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องปรับวิธีการดูแล เช่น พื้นที่ร่องสวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นดินเหนียว อีกส่วนหนึ่งเป็นดินร่วนปนทราย การให้น้ำต้นส้มก็ไม่เหมือนกัน

เช่น ดินร่วนปนทราย ไม่จำเป็นต้องให้น้ำมาก เพราะดินเก็บน้ำได้ ส่วนดินเหนียวควรให้น้ำมาก เพราะหากปล่อยให้แห้ง ดินจะแตก ทำให้ต้นโทรม แต่ข้อดีของดินเหนียวคือ ผลผลิตที่ได้จะมีความหอมเข้มและหวานเข้ม

โรคที่พบมากที่สุดในส้มจุกคือ โรคต้นแตก ลักษณะของโรค มีรอยแตกตามต้น มียางใสเหนียวออกมา ในอดีตแก้ปัญหาด้วยการนำขี้วัวสดและเปลือกต้นสมัคร หรือใบหว้า นำมาหมักด้วยกัน 20 วัน จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วบีบเอาเฉพาะส่วนน้ำ นำโคลนมาเทรวมให้เข้ากันอีก แล้วนำไปทาบริเวณต้นที่แตก แต่สำหรับคุณดนหลีมแล้ว วิธีดังกล่าวใช้เวลาและยุ่งยาก คุณดนหลีมค้นพบวิธีใหม่ รักษาต้นแตกหายได้ โดยการนำสีเคลือบเงาไปทาบริเวณต้นที่แตก จากนั้นต้นจะหยุดแตก และเกิดเนื้อเยื่อขึ้นตามปกติ

“แปลงส้มที่นี่ จะใช้เคมีกระตุ้นเรื่องการแตกยอดเท่านั้น ส่วนขั้นตอนอื่นปลอดเคมีทุกขั้นตอน ดังนั้นต้องระวัง แม้ว่าเราจะต้องการปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ ก็ต้องดูว่าสัตว์นั้นๆ กินอาหารเม็ดสำเร็จรูปจากโรงงานหรือไม่ หากกินอาหารสำเร็จรูป ก็ถือว่าได้รับสารที่ส่วนเจือปนกับเคมีมา ก็นำมาใช้ไม่ได้ เพราะจะเสี่ยงต่อโรครากเน่าตามมา”

แต่คุณดนหลีมก็ยอมรับว่า ส้มจุกเป็นพืชในตระกูลส้มที่ดูแลยากกว่าส้มชนิดอื่น

“การให้น้ำในส้ม ให้มากยิ่งดี โดยเฉพาะช่วงติดลูก เพราะหลังติดลูกเพียง 8-9 เดือน ผลส้มจะสุก ยิ่งไว้นานก็ยิ่งรสชาติดี แต่ให้ระวัง เพราะช่วงที่ติดผล 8-10 เดือน อาจจะเป็นช่วงฝน ถ้าเป็นฤดูฝน ไม่ควรไว้นาน เพราะจะทำให้ส้มรสชาติจืดลง”

ที่ผ่านมา สวนคุ้งคลองวัว ไม่ได้บังคับให้ส้มติดผลนอกฤดู ปล่อยให้ส้มติดผลตามฤดูกาล หากสภาพอากาศเริ่มแล้ง ก็ปล่อยให้แล้ง หากต้องการให้ส้มติดก็เริ่มให้น้ำ เมื่อให้น้ำ ส้มจะติดดอกและให้ผลผลิตตามลำดับและระยะเวลาของส้ม โดยไม่จำเป็นต้องใช้เคมีใดๆ ช่วย

หลังส้มติดผลประมาณ 1 เดือน ให้เริ่มตัดแต่งผล เลือกผลสวย จุกสวย ผิวสีเขียวเข้ม โครงสร้างผลดีไว้ และประเมินว่ากิ่งส้มรับน้ำหนักผลส้มได้เท่าไร ก่อนจะปลิดผลที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง เพื่อให้ได้ผลส้มที่มีคุณภาพ

เมื่อผลผลิตมีอายุ 2 เดือน เริ่มห่อผลด้วยโฟม ป้องกันแมลงและช่วยให้ผิวดี

ที่ผ่านมา ส้มอายุ 3-4 ปี ให้ผลผลิต 50-60 กิโลกรัม ต่อต้น

เมื่อส้มอายุมากขึ้น จะให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ต้นส้มอายุ 7 ปี ให้ผลผลิตมาก แต่ตัดแต่งแล้วเหลือผลผลิตที่ได้คุณภาพประมาณ 150 กิโลกรัม ต่อต้น

ควรตัดแต่งต้นส้มเมื่อต้นส้มมีอายุ 3 เดือน ให้กิ่งด้านในโล่ง โปร่ง ไม่ถูกรบกวนจากแมลง

โดยสรุป การปลูกส้มจุกไม่ได้ยากอย่างที่คิด แม้ว่าส้มจุกจะเป็นพืชตระกูลส้มที่ดูแลยากที่สุดกว่าส้มชนิดอื่น เมื่อส้มอายุมากขึ้นก็ตัดออก แล้วปลูกต้นตอตามด้วยเสียบยอดใหม่เข้าไป

“การปลูกส้มไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องละเอียดและใส่ใจทุกขั้นตอน พื้นที่ 12 ไร่ ที่ปลูกส้มจุกปัจจุบัน ใช้แรงงาน 2 คน คือผมกับลูกชาย ผมเป็นหลักในการดูแล ลูกชายช่วยเรื่องการตลาด ลงขายออนไลน์ในเฟซบุ๊ก เปิดให้จองออนไลน์ตั้งแต่ 3 ปีก่อน ฤดูกาลละ 100 คิว เท่านั้น ในจำนวน 100 คิว ที่จองเข้ามาเมื่อครบจะปิดรับ และลูกค้า 100 คิว จะได้ส้มจุกคุณภาพ ที่มีน้ำหนัก 3 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม ส่วนส้มจุกขนาดอื่น เราก็แบ่งขายให้กับคนในพื้นที่ได้กินของดีบ้าง หรือนำไปวางขายในตลาดบ้าง”

ลูกค้าที่จองคิวออนไลน์เข้ามา มีทั่วประเทศ การซื้อขายก็เป็นไปตามการตลาดออนไลน์ทั่วไป สั่งจอง โอนเงิน และส่งของยังปลายทางให้กับลูกค้า

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำสวนต้องใช้ต้นทุนสูง คุณดนหลีม บอกว่า แท้จริงแล้วการทำสวนที่ใช้ต้นทุนสูง เพราะใช้เคมีเป็นส่วนประกอบ แต่เมื่อไม่ใช้เคมี ต้นทุนจะลดลง เช่น สวนคุ้งคลองวัวแห่งนี้ ปลูกส้มจุก 12 ไร่ ใช้เงินลงทุนแต่ละปี ประมาณ 10,000 บาท แต่ขายได้ฤดูกาลละกว่า 100,000 บาท

เห็นเช่นนี้แล้ว อาจจะอยากเรียนรู้วิธีการดูแลสวนส้มจากคุณดนหลีม ทางคุณดนหลีมยินดีให้ข้อมูลในทุกประเด็นคำถาม ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณดนหลีม สุนทรมาลาตี หมู่ที่ 5 ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หรือสวนคุ้งคลองวัว โทรศัพท์ (089) 878-0382 หรือสืบค้นข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก ส้มจุก บ้านแคเหนือ ได้ตลอดเวลา

ชาวบ้านทุ่งต้อม ตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง GClub V2 จังหวัดเชียงราย ปรับวิธีและเทคนิคการปลูกข้าวที่เคยปฏิบัติกันมาแบบใช้เคมี มาเป็นแนวทางอินทรีย์ อย่างเช่น หยุดเผาตอซัง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักไส้เดือนมาใช้แทนเคมี ฯลฯ พร้อมดึงเทคโนโลยีมาใช้ ช่วยลดต้นทุน ได้ข้าวคุณภาพสูง มีตลาดรับซื้อแน่นอน จนต้องสั่งล่วงหน้าแล้วขายได้ราคาสูงเป็นที่พอใจ

คุณสุภาพรรณ วงศ์มูล บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 5 ตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย หนึ่งในสมาชิกกลุ่มนาข้าวอินทรีย์บ้านทุ่งต้อม บอกว่า ชาวบ้านในชุมชนมีแนวคิดที่ต้องการปลูกข้าวแบบอินทรีย์แทนการใช้เคมีเพราะตระหนักถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมถึงต้องการรักษาสิ่งแวดล้อม

เพิ่มคุณภาพดินในนา

การปลูกข้าวอินทรีย์ของกลุ่มฯ เริ่มจากสมาชิกปรับวิธีและกระบวนการปลูกข้าวด้วยการเลิกเผาตอซังหลังเก็บเกี่ยวแล้วนำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง โดยใช้ตอซังในนาพร้อมกับเศษวัชพืชต่างๆ มาเป็นวัตถุดิบ โดยจะใช้เวลาบ่มหมัก ประมาณ 2 เดือน ใช้วิธีเพียงฉีดพ่นน้ำเป็นระยะเท่านั้น พอเข้าสู่ช่วงเริ่มทำนาชาวบ้านก็จะทลายกองปุ๋ยหมักที่ทำไว้ในแต่ละแปลงแล้วไถบำรุงดินในแปลงนาให้มีความสมบูรณ์ ทั้งนี้บางรายถ้าผลิตปุ๋ยไว้มากก็ยังแบ่งไว้ขาย กระสอบขนาด 25 กิโลกรัม ราคา 80 บาท ด้วย

พันธุ์ข้าวที่ปลูก มี ข้าวเหนียว กับข้าวหอมมะลิ 105 แหล่งเมล็ดพันธุ์ข้าว ถ้าเป็นข้าวหอมมะลิ 105 จะนำมาจากทางกรมการข้าว เนื่องจากมีปัญหากลายพันธุ์ทุกปี ส่วนข้าวเหนียวจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทุกรุ่น ทั้งนี้สมาชิกจะมาตกลงสัดส่วนว่ารายใดจะปลูกข้าวชนิดใด จำนวนเท่าไร เพราะต้องการให้ผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง เพื่อรักษาระดับราคาที่เหมาะสม

ฤดูปลูกข้าวนาปีจะเริ่มประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ปลูกแบบนาดำ เพราะต้องการจัดระยะห่างของต้นข้าวไม่ให้เบียด ช่วยให้การเจริญเติบโตมีความสมบูรณ์ ลดต้นทุนการใช้เมล็ดพันธุ์ สะดวกต่อการจัดแปลงนา ช่วยลดการเกิดวัชพืช สำหรับน้ำที่ใช้ในนาจะไม่นำน้ำจากแหล่งโดยตรงมาใช้ทันที เพราะอาจมีการปนเปื้อนของสารเคมี แต่จะนำมาพักไว้ในบ่อที่ขุดไว้ก่อนแล้วจึงปล่อยเข้าแปลงนา

การให้ปุ๋ย นับเป็นกระบวนสำคัญของการปลูกข้าว สำหรับกลุ่มนาข้าวอินทรีย์บ้านทุ่งต้อม เลือกการนำน้ำไส้เดือนหมักมาใส่ต้นข้าว คุณสุภาพรรณ เผยว่า การเลี้ยงไส้เดือน พันธุ์ AF เพื่อนำมาผลิตเป็นปุ๋ยและน้ำฉีดพ่นต้นข้าวในแปลง ช่วงแรกทดลองเริ่มจากพื้นที่ จำนวน 5 ไร่, 15 ไร่ ไปจนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนกว่า 100 แปลง