คุณครูลออ บอกว่า มะตูมพันธุ์เพิ่มทรัพย์ มาจากต้นพันธุ์ที่มีอายุ

10-15 ปี ผลมีขนาดใหญ่ 2-3 กิโลกรัมขึ้นไป ต้นสูง 5-7 เมตร ส่วนใหญ่ผลจะมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่บางลูกที่มีขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม มะตูมพันธุ์เพิ่มทรัพย์ก็ยังมีขนาดใหญ่กว่ามะตูมสายพันธุ์ทั่วไปอยู่ดี

มะตูมพันธุ์มาลี
มะตูมต้นนี้ มาจากต้นแม่พันธุ์อายุประมาณ 30 ปี ข้างๆ จะมีต้นลูกขึ้นอยู่ด้วย ผลที่ติดของต้นลูกจะมีขนาดเล็กกว่าต้นแม่พันธุ์ ลักษณะผลของมะตูมพันธุ์มาลีจะแตกต่างจากสายพันธุ์มะตูมทั่วไป เนื่องจากลักษณะผลยาวรีเหมือนลูกรักบี้นั่นเอง

มะตูมพันธุ์ไชโย
มะตูมต้นนี้ มาจากต้นแม่พันธุ์อายุประมาณ 15 ปี ลักษณะผลยาวรี ก้นแหลมไม่มาก ขนาดผลใหญ่

4. มะตูมพันธุ์บังอร

มะตูมต้นนี้ มาจากต้นแม่พันธุ์อายุประมาณ 20 ปี ลักษณะผลยาว ตรงก้นเสมอกันวางตั้งได้ ขนาดผลใหญ่

“มะตูมยักษ์ 4 สายพันธุ์ใหม่ ที่กล่าวมานี้ เป็นมะตูมยักษ์ที่มีขนาดผลใหญ่ ประมาณ 2-3 กิโลกรัม บางลูกมีขนาดใหญ่กว่านี้ก็เคยเจอมาแล้ว แต่ละพันธุ์มีต้นแม่พันธุ์เพียงแค่ต้นเดียว ซึ่งเกิดจากการเพาะเมล็ด หากต้องการสายพันธุ์แท้ ต้องเป็นต้นเสียบยอดหรือทาบกิ่งเท่านั้น” คุณครูลออ กล่าว

วิธีการปลูกดูแล

ต้นมะตูม เป็นไม้ผลที่มีระบบรากแข็งแรง ใน 1 ต้น อาจมีรากแก้ว 1-3 ราก จึงทำให้เติบโตได้เร็ว โดยธรรมชาติแล้ว มะตูมเป็นไม้ผลที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ เติบโตดีในสภาพดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินลูกรัง ดินเหนียว

คุณครูลออ แนะนำให้ปลูกต้นมะตูมยักษ์ในช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยปลูกในระยะห่างประมาณ 8×8 เมตร ขุดหลุมลึก 50×50 เซนติเมตร ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่า หากใช้ปุ๋ยคอกใหม่ ควรปล่อยทิ้งไว้สัก 1 เดือน เพื่อให้ปุ๋ยย่อยเสียก่อน เวลาปลูกควรโรยหน้าดินกลบปุ๋ยคอกสักหน่อย โดยโรยดินหนาสัก 10 เซนติเมตร เพื่อเป็นกันชนปุ๋ยคอกกับราก

หลังเตรียมหลุมเสร็จให้นำต้นมะตูมยักษ์ลงปลูก ถ้าจะเสริมรากเพิ่ม ให้นำต้นเพาะเมล็ดลงปลูกไปพร้อมกันเลย ถ้าเสริม 4 ราก ก็ควรปลูกต้นเพาะเมล็ด 4 ต้น ลงไปพร้อมกับต้นพันธุ์ดี ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก็เสริมรากได้สำเร็จ

ตอนปลูกใหม่ๆ ถ้าฝนไม่ตก ควรรดน้ำให้ต้นมะตูมด้วย เพราะต้นยังไม่แข็งแรง หลังปลูกได้ 3 ปี ต้นมะตูมจะเริ่มให้ผลผลิต หลังจากนั้นคอยดูแลให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 สำหรับมะตูมต้นเล็ก ควรให้ปุ๋ยประมาณ 1 ช้อนชา และค่อยๆ เพิ่มไปเรื่อยๆ เมื่อต้นโตขึ้น หากต้องการบำรุงให้ต้นเติบโตเร็ว ควรใส่ปุ๋ยทุกๆ 14 วัน ต่อครั้ง แมลงศัตรูสำคัญของต้นมะตูมก็คือ หนอนกินใบ มักเจอในช่วงต้นมะตูมแตกใบอ่อน หากปล่อยให้หนอนกัดกินใบจะทำให้ต้นมะตูมเติบโตช้า

โดยทั่วไป ต้นมะตูมจะผลิดอกประมาณช่วงเดือนมีนาคม ก่อนออกดอก ใบมักร่วงหมดเสียก่อน พอแตกใบใหม่ ต้นมะตูมก็จะแทงช่อดอกออกมาด้วย ผลมะตูมมักสุกแก่ประมาณช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี

เทคนิคการเลือกซื้อต้นพันธุ์ คุณครูลออ บอกว่า ต้นมะตูมที่ใช้เมล็ดปลูก จะต้องใช้ระยะเวลาปลูกดูแลนาน 5-8 ปี จึงจะให้ผลผลิต มะตูมกลุ่มนี้จะมีลำต้นสูง อาจเกิดการกลายพันธุ์ได้ หากเลือกใช้ต้นพันธุ์มะตูมที่เกิดจากการเสียบยอดหรือทาบกิ่ง ใช้เวลาปลูกดูแลเพียงแค่ 3 ปี ก็จะเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลมะตูมที่ได้จะมีลักษณะตรงกับต้นแม่พันธุ์ทุกประการ แถมลำต้นไม่สูงเหมือนกับต้นพันธุ์ที่ปลูกด้วยวิธีเพาะเมล็ด

โอกาสทางการตลาด ของ มะตูมยักษ์

มะตูม จัดอยู่ในกลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ใช้เป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม มะตูมยักษ์เหมาะสำหรับทำมะตูมเชื่อม เพราะได้ปริมาณเนื้อเยอะ หากนำไปทำมะตูมตากแห้ง ก็สามารถแปรรูปได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น ชามะตูม มะตูมผงชงพร้อมดื่ม น้ำมะตูม มะตูมผลสุก เหมาะสำหรับรับประทานเป็นผลไม้ หรือทำเค้กมะตูม เป็นต้น

ปัจจุบัน ไร่มะขามป้อมยักษ์ครูลออ นับเป็นแหล่งรวบรวมมะตูมคุณภาพสายพันธุ์ต่างๆ จำนวนมาก ทั้งมะตูมยักษ์ มะตูมนิ่ม มะตูมอินเดียแล้ว ยังมีมะขามป้อมยักษ์หลายสายพันธุ์ จำหน่ายให้แก่ผู้สนใจด้วย สามารถแวะชมสวนหรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ คุณครูลออ ดอกเรียง ได้ที่ไร่มะขามป้อมยักษ์ครูลออ เลขที่ 14/2 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150 โทร. (081) 756-0939 และ (084) 926-7259

คนไทยจำนวนมากรักและหลงใหลการบริโภคทุเรียน เพราะติดใจในรสชาติความอร่อยของทุเรียน แต่หลายครั้งที่ต้องซ้ำใจ เพราะถูกให้หลอกซื้อ “ทุเรียนอ่อน” เนื่องจากแยกทุเรียนอ่อนกับทุเรียนแก่ไม่เป็น หากใครไม่อยากถูกหลอกให้ช้ำใจเหมือนที่ผ่านมา ขอแนะนำเคล็ดลับการซื้อทุเรียนแก่ โดยใช้วิธีง่ายๆ คือ “ดู ดีด ดม ดูด”

ดู…ขั้ว ก้านขั้วต้องแข็ง สากมือ (ถ้าเป็นทุเรียนอ่อน ก้านจะนิ่ม) ปลิงบวม พูใหญ่ เด่น เห็นเส้นกลางพูชัด หนามใหญ่ ปลายหนามแห้ง ฐานหนามกว้าง ทุเรียนแก่จัด สุกกำลังดี จะมีกลิ่นหอมคงที่ มองเห็นเส้นกลางพูชัดเจน ยกเว้นก้านยาว (หรือทุเรียนหนามถี่) สุกในปลิงหรือปลิงเพิ่งหลุด พูหลวม

ดีด…ใช้นิ้วมือดีดที่โคนหนามฟังเสียงหลวมๆ ดังก๊อกๆ การดีดหนามที่พูจะช่วยตรวจสอบคุณภาพทุเรียนอ่อนหรือแก่ แล้วยังสามารถช่วยตรวจสอบทุเรียนทุกพูหลวมเท่ากันจะมีโอกาสเป็นทุเรียนที่สุกสม่ำเสมอ เวลาสุกจะมีเนื้อนิ่มสม่ำเสมอ เนื้อไม่แข็งกรุบ การดีดช่วยให้ได้ทุเรียนที่มีความสุกแก่ในช่วงเวลาที่ต้องการรับประทาน หลวมมาก 1-2 วัน ถึงตึงมาก 3-4 วัน จะสุก

ดม…ดมด้วยจมูก ทุเรียนแก่จัดใกล้สุกจะมีกลิ่นสาบอ่อนๆ ทุเรียนสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม กลิ่นจะเริ่มมีน้อย ได้กลิ่นบ้าง ไม่ได้กลิ่นบ้างและมากขึ้นเป็นลำดับ

ดูด…กรณีต้องการเลือกซื้อทุเรียนแก่ (ดิบ) นอกจากใช้ทั้ง 3 ด แล้ว อาจใช้ ด ที่ 4 คือ ดูดขั้ว โดยการใช้มีดบางปาดแผลก้านใหม่ให้มีสีน้ำเลี้ยงจากก้านขั้วออกมา แล้วใช้ลิ้นแตะหรือใครจะดูดก็ตามใจ หากมีรสชาติหวานอ่อน แสดงว่าทุเรียนนั้นแก่จัดและรสชาติดีแน่นอน หากฝาด หมายถึง ทุเรียนนั้นอ่อน ต้องบ่มหลายวัน แถมคุณภาพเนื้อไม่น่ารับประทาน เละ น้ำมาก หวานอ่อนๆ ไม่มีกลิ่น แถมยังหวงไส้ แกะยากอีกด้วย
ที่ผ่านมา มีเกษตรกรจำนวนมากที่รีบตัดทุเรียนอ่อนออกขายทำกำไร โดยทั่วไปลักษณะของทุเรียนอ่อนช่วงเวลาสุกหลังเก็บเกี่ยว ทุเรียนอ่อนจะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน หรืออาจจะมากกว่านั้น ปลิงจะแฟบ หลุด เหนียว เน่า ก้านขั้วจะอ่อนนิ่ม หนามมีขนาดเล็ก ป้าน หนามแคบ ปลายหนามสด พูเล็ก แคบ มองไม่เห็นเส้นแบ่งกลางพู เวลาเคาะไม่มีเสียงแน่นทึบ ดังกึกๆ เปลือกหนาสีสด เนื้อสีซีดอ่อนและรสชาติจืด มีกลิ่นอ่อน เมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพู เมล็ดไม่เหี่ยว การปอกแบบฉีกตามเส้นกลางพูทำได้ยาก หวงไส้

ขณะที่ ทุเรียนแก่ ช่วงเวลาสุกหลังเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน ทุเรียนสวนจะใช้เวลา 3 วัน ทุเรียนดอนใช้เวลา 5 วัน ปลิงบวมโต ยังไม่หลุดจากปลิงหรือหลุดพอดี ก้านขั้วแข็ง สากมือ หนามใหญ่ ส่วนหนามกว้าง ปลายหนามแห้งเป็นสีน้ำตาล พูใหญ่ กว้าง เห็นเส้นแบ่งกลางพูชัดเจน มีช่องว่างในพูมาก หลวม เคาะดูดังก๊อกๆ เปลือกบาง สีเปลือกเขียวหม่นน้ำตาลแห้ง เนื้อแห้ง รสชาติหวานมัน กลิ่นหอมและฉุนเมื่อสุกมาก เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลไหม้ เมล็ดลีบเหี่ยว การปอกแบบฉีกตามเส้นกลางพูแกะง่ายเพียงใช้มีดหนาแทงตามแนวเส้นกลางจากบริเวณก้นผล แล้วบิดใบมีด พูจะแตกออก

หากใครอยากเก็บทุเรียนไว้กินนานๆ ขอแนะนำวิธีเก็บรักษาคุณภาพทุเรียนใน 2 แนวทาง คือ

1. แบบไม่แกะเปลือกออก เป็นวิธีการปอกทุเรียนแบบใช้มีดเจาะยกพูมาทีละ 1-2 พู ตามที่ต้องการจะรับประทาน และส่วนที่เหลือถ้าทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องแล้วทุเรียนจะสุกงอมเป็นปลาร้า วิธีการเก็บให้ใส่ถุงทั้งเปลือก แช่ตู้เย็นเพื่อยับยั้งการสุก หากต้องการรับประทานให้นำออกมาผึ่งและผ่าพูต่อไป

2.แบบแกะเปลือกออก เป็นวิธีการแกะเปลือกออกด้วยวิธีการปอกแบบฉีก ร่องพู หรือยกร่องพู และหลังรับประทานไม่หมดให้บรรจุเนื้อทุเรียนในภาชนะเข้าช่องแช่แข็ง เมื่ออยากรับประทานอีกให้นำมารับประทานได้เลย หรือทิ้งไว้ระยะหนึ่งให้เนื้อนิ่มอ่อนตัวก่อนก็ได้

คนไทยจำนวนมากรักและหลงใหลการบริโภคทุเรียน เพราะติดใจในรสชาติความอร่อยของทุเรียน แต่หลายครั้งที่ต้องซ้ำใจ เพราะถูกให้หลอกซื้อ “ทุเรียนอ่อน” เนื่องจากแยกทุเรียนอ่อนกับทุเรียนแก่ไม่เป็น หากใครไม่อยากถูกหลอกให้ช้ำใจเหมือนที่ผ่านมา ขอแนะนำเคล็ดลับการซื้อทุเรียนแก่ โดยใช้วิธีง่ายๆ คือ “ดู ดีด ดม ดูด”

ดู…ขั้ว ก้านขั้วต้องแข็ง สากมือ (ถ้าเป็นทุเรียนอ่อน ก้านจะนิ่ม) ปลิงบวม พูใหญ่ เด่น เห็นเส้นกลางพูชัด หนามใหญ่ ปลายหนามแห้ง ฐานหนามกว้าง ทุเรียนแก่จัด สุกกำลังดี จะมีกลิ่นหอมคงที่ มองเห็นเส้นกลางพูชัดเจน ยกเว้นก้านยาว (หรือทุเรียนหนามถี่) สุกในปลิงหรือปลิงเพิ่งหลุด พูหลวม

ดีด…ใช้นิ้วมือดีดที่โคนหนามฟังเสียงหลวมๆ ดังก๊อกๆ การดีดหนามที่พูจะช่วยตรวจสอบคุณภาพทุเรียนอ่อนหรือแก่ แล้วยังสามารถช่วยตรวจสอบทุเรียนทุกพูหลวมเท่ากันจะมีโอกาสเป็นทุเรียนที่สุกสม่ำเสมอ เวลาสุกจะมีเนื้อนิ่มสม่ำเสมอ เนื้อไม่แข็งกรุบ การดีดช่วยให้ได้ทุเรียนที่มีความสุกแก่ในช่วงเวลาที่ต้องการรับประทาน หลวมมาก 1-2 วัน ถึงตึงมาก 3-4 วัน จะสุก

ดม…ดมด้วยจมูก ทุเรียนแก่จัดใกล้สุกจะมีกลิ่นสาบอ่อนๆ ทุเรียนสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม กลิ่นจะเริ่มมีน้อย ได้กลิ่นบ้าง ไม่ได้กลิ่นบ้างและมากขึ้นเป็นลำดับ

ดูด…กรณีต้องการเลือกซื้อทุเรียนแก่ (ดิบ) นอกจากใช้ทั้ง 3 ด แล้ว อาจใช้ ด ที่ 4 คือ ดูดขั้ว โดยการใช้มีดบางปาดแผลก้านใหม่ให้มีสีน้ำเลี้ยงจากก้านขั้วออกมา แล้วใช้ลิ้นแตะหรือใครจะดูดก็ตามใจ หากมีรสชาติหวานอ่อน แสดงว่าทุเรียนนั้นแก่จัดและรสชาติดีแน่นอน หากฝาด หมายถึง ทุเรียนนั้นอ่อน ต้องบ่มหลายวัน แถมคุณภาพเนื้อไม่น่ารับประทาน เละ น้ำมาก หวานอ่อนๆ ไม่มีกลิ่น แถมยังหวงไส้ แกะยากอีกด้วย
ที่ผ่านมา มีเกษตรกรจำนวนมากที่รีบตัดทุเรียนอ่อนออกขายทำกำไร โดยทั่วไปลักษณะของทุเรียนอ่อนช่วงเวลาสุกหลังเก็บเกี่ยว ทุเรียนอ่อนจะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน หรืออาจจะมากกว่านั้น ปลิงจะแฟบ หลุด เหนียว เน่า ก้านขั้วจะอ่อนนิ่ม หนามมีขนาดเล็ก ป้าน หนามแคบ ปลายหนามสด พูเล็ก แคบ มองไม่เห็นเส้นแบ่งกลางพู เวลาเคาะไม่มีเสียงแน่นทึบ ดังกึกๆ เปลือกหนาสีสด เนื้อสีซีดอ่อนและรสชาติจืด มีกลิ่นอ่อน เมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพู เมล็ดไม่เหี่ยว การปอกแบบฉีกตามเส้นกลางพูทำได้ยาก หวงไส้

ขณะที่ ทุเรียนแก่ ช่วงเวลาสุกหลังเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน ทุเรียนสวนจะใช้เวลา 3 วัน ทุเรียนดอนใช้เวลา 5 วัน ปลิงบวมโต ยังไม่หลุดจากปลิงหรือหลุดพอดี ก้านขั้วแข็ง สากมือ หนามใหญ่ ส่วนหนามกว้าง ปลายหนามแห้งเป็นสีน้ำตาล พูใหญ่ กว้าง เห็นเส้นแบ่งกลางพูชัดเจน มีช่องว่างในพูมาก หลวม เคาะดูดังก๊อกๆ เปลือกบาง สีเปลือกเขียวหม่นน้ำตาลแห้ง เนื้อแห้ง รสชาติหวานมัน กลิ่นหอมและฉุนเมื่อสุกมาก เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลไหม้ เมล็ดลีบเหี่ยว การปอกแบบฉีกตามเส้นกลางพูแกะง่ายเพียงใช้มีดหนาแทงตามแนวเส้นกลางจากบริเวณก้นผล แล้วบิดใบมีด พูจะแตกออก

หากใครอยากเก็บทุเรียนไว้กินนานๆ ขอแนะนำวิธีเก็บรักษาคุณภาพทุเรียนใน 2 แนวทาง คือ

1. แบบไม่แกะเปลือกออก เป็นวิธีการปอกทุเรียนแบบใช้มีดเจาะยกพูมาทีละ 1-2 พู ตามที่ต้องการจะรับประทาน และส่วนที่เหลือถ้าทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องแล้วทุเรียนจะสุกงอมเป็นปลาร้า วิธีการเก็บให้ใส่ถุงทั้งเปลือก แช่ตู้เย็นเพื่อยับยั้งการสุก หากต้องการรับประทานให้นำออกมาผึ่งและผ่าพูต่อไป

2.แบบแกะเปลือกออก เป็นวิธีการแกะเปลือกออกด้วยวิธีการปอกแบบฉีก ร่องพู หรือยกร่องพู และหลังรับประทานไม่หมดให้บรรจุเนื้อทุเรียนในภาชนะเข้าช่องแช่แข็ง เมื่ออยากรับประทานอีกให้นำมารับประทานได้เลย หรือทิ้งไว้ระยะหนึ่งให้เนื้อนิ่มอ่อนตัวก่อนก็ได้

ระหว่าง วันที่ 6-7 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา จังหวัดแพร่ ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ สำนักงานเกษตรอำเภอวังชิ้น ได้จัดงาน “วันส้มเขียวหวานและของดีเมืองแพร่” ประจำปี 2561 ณ บริเวณลานหน้าที่ว่าการอำเภอวังชิ้น เจตนารมณ์ของการจัดงานก็เพื่อต้องการเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดส้มเขียวหวานของจังหวัดแพร่ ที่ผ่านการพัฒนาคุณภาพได้มาตรฐาน GAP และอินทรีย์ สู่ตลาดเกษตรปลอดภัย และกระจายสินค้าสู่ตลาดสากล

กิจกรรมภายในงาน มีการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ส้มเขียวหวาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ และ OTOP การแสดงผลงานของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก. อำเภอวังชิ้น) การจัดเวทีเสวนาการพัฒนาส้มเขียวหวาน และที่สำคัญจัดการประกวดผลผลิตส้มเขียวหวาน

อำเภอวังชิ้น เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดแพร่ มีคำขวัญว่า

“พระธาตุขวยปูคู่บ้าน พระธาตุพระพิมพ์คู่เมือง

ลือเลื่องถิ่นส้มเขียวหวาน อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย หัตถกรรมเครื่องใช้เถาวัลย์ อัศจรรย์น้ำพุร้อน”

จากคำว่า ลือเลื่องถิ่นส้มเขียวหวาน นี่คือ ที่มาและที่จะกล่าวต่อไปจากการอารัมภบทการเดินเนื้อเรื่องตามหัวข้อ “ส้มเขียวหวาน” ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอวังชิ้นและจังหวัดแพร่

ตามไปที่งานการประกวดส้มเขียวหวาน…ผลการตัดสินของคณะกรรมการ หนึ่งในผู้ชนะการประกวด เป็นผลผลิตส้มเขียวหวานจากแปลงปลูกของ คุณกรณ์ธนา สอนสี บ้านหาดรั่ว แสดงถึงผลผลิตส้มเขียวหวานของคุณกรณ์ธนามีคุณภาพที่ยอมรับได้ จึงขอตามไปดูแปลงปลูกส้มเขียวหวานแห่งนี้ว่ามีกระบวนการผลิตการดูแลอย่างไร

พบกับคุณกรณ์ธนา ที่บ้านหาดรั่ว สมัครป๊อกเด้งออนไลน์ คุณกรณ์ธนากล่าวสรุปให้ฟังว่า ตนเองเริ่มปลูกส้มเขียวหวานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เนื้อที่ 20 ไร่ (1 ไร่ ปลูกส้มเขียวหวานได้ 80 ต้น) ต้นส้มเขียวหวานมีอายุต่างกัน คือ 5 ปี 6 ปี และ 12 ปี คุณภาพของส้มเขียวหวานหาดรั่วและวังชิ้น ที่ผู้บริโภคต้องการนั้น เกษตรกรมักจะดูแลเอาใจใส่แปลงส้มเขียวหวานเป็นอย่างดีในทุกขั้นตอน ตั้งแต่เรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินหลังการตรวจสอบวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่าง และธาตุอาหารแล้ว เรื่องน้ำ การป้องกันโรคและแมลง ระยะเวลาตั้งแต่ดอกส้มเขียวหวานบานจนถึงระยะเวลาเก็บผลส้มได้ต้องมีความพอดี ไม่เก็บก่อนระยะเวลาหรือเก็บผลไว้บนต้นนานเกินไป อย่างเช่นการปฏิบัติดูแลเอาใจใส่แปลงส้มเขียวหวานของคุณกรณ์ธนา

คุณกรณ์ธนา สอนสี คุณสาวิตรี นิพนธ์ ภรรยา คุณปฏิวัติ วงศ์รัตนธรรม เกษตรอำเภอวังชิ้น และผู้เขียน ได้ไปชมแปลงส้มเขียวหวานเพื่อให้เห็นภาพของจริงนำมาสื่อสารยังท่านผู้อ่าน

คุณกรณ์ธนา เล่าให้ฟังว่า การขยายพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานของตนได้ดำเนินการไปเรื่อยๆ เพราะยังมีพื้นที่ว่างอยู่และบางพื้นที่ต้นส้มเขียวหวานมีอายุมากแล้ว คุณกรณ์ธนาก็จะนำกิ่งพันธุ์ส้มเขียวหวานลงปลูกระหว่างต้นที่แก่แล้ว เมื่อถึงเวลาที่จะตัดออก ต้นส้มเขียวหวานที่ปลูกใหม่ก็จะเติบโตให้ผลผลิตต่อเนื่องกัน โดยคุณกรณ์ธนาใช้กิ่งพันธุ์ที่ตนเองตอนเอาไว้ เมื่อรากงอกออกมาจนมีความแข็งแรงก็จะตัดนำลงแปลงปลูก

การปลูก และการดูแล

คุณกรณ์ธนา บอกว่าตนเองได้นำเอาทุนมรดกทางการเกษตรสมัยพ่อแม่กลับมาสร้างและรื้อฟื้นวิธีการปลูกส้มเขียวหวาน แต่มิได้นำมาใช้ทั้งหมด แต่ได้ผ่านการคัดกรองเลือกสรรบางวิธีการมาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังคงหลักการทางวิชาการเกษตรไว้บ้างตามที่ได้ไปอบรมมา

วิธีการปลูก ส้มเขียวหวานนั้น คุณกรณ์ธนา บอกว่า จะปรับพื้นที่ตามลักษณะภูมิประเทศซึ่งเป็นที่ลาดเชิงเขาสลับกับพื้นราบ ขุดหลุมกว้างxยาวxลึก (50 เซนติเมตร) รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักชนิดผง ซึ่งกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ร่วมกันผลิตนำมาคลุกเคล้ากับดินแล้วใส่ในหลุม นำกิ่งพันธุ์ลงปลูกแล้วใช้ไม้ไผ่ทำเป็นหลักผูกกับกิ่งพันธุ์กันโค่นเมื่อโดนลมพัดแรงๆ ก็เป็นอันเสร็จการ คุณกรณ์ธนาแนะนำว่าควรปลูกส้มเขียวหวานในช่วงฤดูฝนดีที่สุด เป็นการประหยัดน้ำ และพื้นดินโดยทั่วไปมีความชื้นเหมาะสมกับการเติบโตของต้นส้ม

การดูแล แปลงส้มเขียวหวาน คุณกรณ์ธนาเล่าให้ฟังว่าต้นส้มมีอายุต่างกัน ต้นแก่อายุมากก็มี แต่ละปีก็ปลูกเพิ่มหรือปลูกเสริม ต้นส้มเขียวหวานที่ยังอายุน้อยๆ ก็ดูแลให้ต้นและใบเจริญเติบโตด้วยดี ส่วนต้นที่ให้ผลผลิตแล้วก็จะเข้าสู่วัฏจักรของการให้ผลผลิต ซึ่งส้มเขียวหวานจะออกผลเป็นรุ่นๆ ไปในแต่ละปี ให้การดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่เรื่องน้ำ โดยที่แปลงปลูกแห่งนี้วางระบบน้ำด้วยสปริงเกลอร์ ต้นละ 1 หัว เนื่องจากต้นส้มเขียวหวานเป็นไม้ผลที่ทนแล้ง การให้หรือการถอยน้ำได้อาศัยประสบการณ์และความรู้ในการสังเกต เพราะเกี่ยวข้องกับการผลิตส้มเขียวหวาน