คุณค่าของกระเทียมมีมากเกินคณนา การกินกระเทียมไม่ว่า

จะรูปแบบไหน ประโยชน์ที่ได้รับมากมาย บรรพบุรุษเราก็ใช้ประโยชน์จากกระเทียม มากันนับไม่รู้กี่รุ่น กี่ยุคกี่สมัย ชาวโลกทั่วไปก็รู้จักใช้ประโยชน์ และบอกเล่าสืบต่อกันมานานนับร้อยๆ ปี จะถือได้ว่า กระเทียมเป็นพืชโบราณที่เปี่ยมล้นด้วยนานาสรรพคุณ มหาศาลด้วยคุณประโยชน์ ที่สุดแห่งพืชที่เอื้อประโยชน์แก่มนุษย์โลกมาอย่างยาวนาน

แล้วเราจะปล่อยละเลยไม่สนใจ หรือทิ้งไปจากความเชื่อถือ และความสำคัญ โดยเฉพาะกระเทียมบ้านชำบุ่นน้ำปาด ปลอดภัย ระดับอินทรีย์ หัวเล็ก กลีบเล็ก คุณภาพสูง ซึ่งเป็น กระเทียมไทยแท้ ด้วยคุณสมบัติเฉพาะเหล่านั้น สามารถก้าวเข้าสู่การพิจารณายกย่อง จัดให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่า จี.ไอ.ได้คะแนนแบบเต็มๆ จึงไม่ควรให้ห่างหายไกลจากความรำลึกถึง และควรช่วยกันดึงขึ้นสู่มาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ของจังหวัดให้ได้ ซึ่งก็ไม่ไกลเกินไปนัก

ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ หลายคนหันมาทำอาชีพเสริม เช่นเดียวกับ คุณมานพ เปรมปรีดิ์ ซึ่งมีอาชีพหลักเป็นวิศวกร แต่วันหยุดแปลงร่างมาเป็นเกษตรกร มาปลูกเมล่อนบนดาดฟ้า ใช้พื้นที่เพียง 50 ตารางเมตร ก็สร้างรายได้ไปพร้อมกับความสุข

“เมล่อน” ถือเป็นราชินีแห่งพืชตระกูลแตง สามารถแบ่งชนิดออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามลักษณะของผล โดยรูปแบบการปลูกที่นิยมปลูกในบ้านเรานั้นมี 3 แบบ คือ ปลูกในแปลงแบบมีค้าง ปลูกบนดิน และปลูกในถุง

คุณมานพ เปรมปรีดิ์ หรือ พี่มานพ เล่าให้ฟังว่า เริ่มปลูกครั้งแรก 20 ต้น โดยเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊ก โดยไม่ได้หวังทำการตลาดอะไรมากมาย จนกระทั่งมีเพื่อนในโซเชียลให้ความสนใจ ติดต่อสอบถามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จึงเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น

สำหรับสายพันธุ์เมล่อน จะเป็นสายพันธุ์ญี่ปุ่น คือ ฮันนี่ นัตสึ (เนื้อเขียว) และ ออรินจิ (เนื้อส้ม) เป็นสายพันธุ์ที่อายุเก็บเกี่ยวเท่ากัน สามารถปลูกในโรงเรือนเดียวกันได้

พี่มานพ บอกว่า การปลูกเมล่อนบนดาดฟ้า ต่างจากการปลูกทั่วไปคือ วัสดุปลูก และพื้นที่ โดยการปลูกเมล่อนบนดาดฟ้าของพี่มานพ ใช้พื้นที่ 50 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุนแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
สร้างโรงเรือนพร้อมระบบน้ำ ใช้เงินประมาณ 40,000-50,000 บาท
ค่าเมล็ดพันธุ์ ดิน ปุ๋ย และน้ำ ใช้เงินลงทุน รอบละ 4,000 บาท
“เมล่อน เป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น และการปลูกในโรงเรือน มีมุ้ง มีหลังคาที่รับแดด จะช่วยให้เราลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคและแมลงต่างๆ ทั้งนี้ ผมปลูกบนพื้นที่สูง ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก”

ขั้นตอนและวิธีการปลูก
นำเมล็ดพันธุ์แช่ในน้ำอุ่น อย่างน้อย 4 ชั่วโมง (เมล็ดไหนที่จม คือมีคุณภาพ)
นำไปบ่มในผ้า 1 วัน (24-36 ชั่วโมง)
จากนนั้นนำเมล็ดที่ผ่านการบ่ม ไปเพาะในถาดเพาะ หลุมละ 1 เมล็ด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน ต้นกล้าจะแทงใบจริงออกมาประมาณ 2 ใบ
นำมาปลูกในถุงพลาสติก ประมาณ 2 สัปดาห์ จะเริ่มแขวนเชือก ต้นละ 2 เส้น โดยเส้นแรกพยุงต้น อีกเส้นพยุงผล
การปลูกเมล่อนให้ได้คุณภาพ ปริมาณน้ำเป็นสิ่งสำคัญ จะต้องควบคุมน้ำให้นิ่ง เริ่มต้นพี่มานพ เริ่มจากการให้น้ำ ต้นละ 200 ซีซี/ครั้ง 1 วัน จะให้ 3 ครั้ง (เช้า/กลางวัน/เย็น) ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็จะเริ่มเพิ่มปริมาณน้ำขึ้นตามความเหมาะสม

1 โรงเรือน จะปลูกได้ประมาณ 150-160 ผล น้ำหนักเฉลี่ย ผลละ 1.3-1.8 กิโลกรัม ซึ่งขนาดผลน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม เป็นขนาดที่เหมาะสมและจำหน่ายได้ง่าย โดยราคาเฉลี่ย ผลละ 150-200 บาท

พี่มานพ บอกว่า การเก็บเมล่อน สิ่งแรกที่จะคำนึงคือ ต้องนับวันที่ดอกบานและผสม ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 45-50 วัน โดยการตัด ประมาณ 2 สัปดาห์ จะเทสค่าความหวาน”

“การตลาด มันอยู่ที่คนใกล้ๆ ตัวเรา ไม่คิดว่าจะต้องไปวางขายที่ไหน สุดท้าย การตลาดจะวิ่งมาหาผมเอง 20 ต้น ของผม คนที่ติดตามผมในเฟซ เขาเห็นกระบวนการทุกขั้นตอน ทำให้เขามั่นใจว่าของเราปลอดสาร 100% ใครๆ ก็อยากจะบริโภคของที่มีคุณภาพ”

คุณสงวน มงคลศรีพันเลิศ เกษตรกรจังหวัดกระบี่ เปิดบ้านเป็นศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลหนองทะเล, ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านเขากลม ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

คุณสงวน เป็นเกษตรกรต้นแบบที่ได้รับรางวัลมากมาย เป็นเกษตรกรดีเด่น ปี 2548 สาขาปศุสัตว์, รางวัล 76 คนดีแทนคุณแผ่นดินปี 2552, รางวัลการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านประชาชนทั่วไป ปี 2550 และได้รับรางวัลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชนะเลิศอันดับ 1 ระดับจังหวัดปี 2550 ฯลฯ

เดิมคุณสงวนทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนในจังหวัดปราจีนบุรี มีรายได้ถึงเดือนละ 28,000 บาท แต่ไม่เคยมีเงินเหลือเก็บ คิดถึงคำสอนในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องกินก่อนคิดเรื่องเงิน จึงตัดสินใจลาออกกลับบ้านเกิดที่จังหวัดกระบี่ เริ่มต้นศึกษาเรื่องการทำเกษตรแบบพอเพียง เริ่มจากสร้างโรงปุ๋ยก่อน โดยใช้ทางปาล์มซึ่งชาวสวนต้องตัดทิ้งอยู่แล้ว นำมาเข้าเครื่องบดเป็นอาหารให้วัวที่มีอยู่ 4 ตัว เมื่อวัวถ่ายออกมา นำมูลของมันหมักในบ่อก๊าซชีวภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้ม ส่วนขี้วัวที่เหลือยังไปทำเป็นอาหารปลาและปุ๋ยหมักได้ โดยมีการคำนวณว่ามูลวัว 1 ตัว จะมีปริมาณถึง 2 ตัน ต่อเดือน ได้แก๊สชีวภาพ 15-16 กิโลกรัม

คุณสงวน แบ่งที่ดิน 5 ไร่ทำไร่นาสวนผสมแล้ว และจัดตั้งเป็นศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลหนองทะเล, ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านเขากลม ซึ่งที่ผ่านมามีเกษตรกรจำนวนหลายหมื่นคนเข้ามาอบรมดูงาน รวมทั้งนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ มาฝึกงานเรียนรู้วิธีการทำการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยมีจุดเรียนรู้ 22 จุด

จุดที่ 1 การเลี้ยงวัว, แพะ (สัตว์ 4 กระเพาะ) ครบวงจรโดยไม่กินหญ้า ใช้ทางปาล์มน้ำมันมาบดและหมักเพื่อใช้เป็นอาหารแพะและวัวแทนหญ้า

จุดที่ 2 การทำปุ๋ยหมักระบบเติมอากาศ

จุดที่ 3 การปลูกผักระบบใต้ดิน (ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ)

จุดที่ 4 การผลิตอาหารสัตว์จากทางปาล์มน้ำมัน

จุดที่ 5 การปลูกพืชผสมผสาน จำนวน 5 ไร่ แก้จน

จุดที่ 6 การเลี้ยงปลาแบบบ่อ 3 ด้าน โดยการทำบ่อปลาติดผนังบ้าน หรือโรงเรือนต่างๆ เพียง 3 ด้าน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

จุดที่ 7 การทำน้ำส้มควันไม้ครบวงจร ได้จากการสกัดน้ำจากควันไม้ ประเภทส้ม

จุดที่ 8 การอบสมุนไพร

จุดที่ 9 การทำและการเลี้ยงจุลินทรีย์โดยใช้ภูมิปัญญาไทย

จุดที่ 10 การเลี้ยงเป็ด, ไก่ (คอล่อน)

จุดที่ 11 การทำเตาก๊าซชีวภาพกลายเป็นแก๊สหุงต้มโดยใช้มูลสัตว์

จุดที่ 12 การทำน้ำมันไบโอดีเซลโดยใช้ภูมิปัญญา

จุดที่ 13 ตู้อบสมุนไพร

จุดที่ 14 การทำน้ำยาล้างจาน

จุดที่ 15 การทำอาหารปลาดุก

จุดที่ 16 การทำน้ำมันนวด

จุดที่ 17 การทำเห็ดอบโอ่ง

จุดที่ 18 การปลูกพืชตีกลับ คือการปลูกกล้วย โดยนำเอาส่วนยอดลงเพื่อเพิ่มจำนวนของหน่อที่จะเกิดขึ้น

จุดที่ 19 การเพาะถั่วงอก

จุดที่ 20 การทำถังแก๊สขนาดย่อม

จุดที่ 21 การทำปลาเค็มอบดิน และ

จุดที่ 22 การทำน้ำจุลินทรีย์หน่อกล้วย

จุดที่น่าสนใจในศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ได้แก่ การปลูกพืชตีกลับ โดยนำหน่อชี้ฟ้าเอาส่วนต้นที่มีใบลงดินว่า ถ้าปลูกกล้วยโดยนำหน่อหรือโคนลงดินเหมือนที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปจะได้ต้นกล้วย 1 ต้น เมื่อออกลูกจะได้เครือหนึ่งประมาณ 7-8 หวี แต่ถ้าปลูกเอาปลายลง จะได้ต้นกล้วย 3-4 ต้น ได้กล้วย 3-4 เครือ แต่ละเครือจะได้กล้วยถึง 10 หวี วิธีนี้สามารถใช้ได้กับกล้วยได้ทุกชนิด

คุณสงวนยืนยันว่า ปลูกแบบนี้พืชไม่ตายเพราะธรรมชาติของต้นกล้วยเมื่อเจอปัญหาประมาณ 15 วัน มันจะรีบขึ้นมาอย่างน้อย 3-4 ต้น พร้อมกันเลย พอมันขึ้นมาแล้ว มันจะพึ่งตัวเองคือมันจะกินตัวมันเองที่มีจุลินทรีย์เราไม่ต้องใส่ปุ๋ย ต้นกล้วยที่ได้มีความสูงไม่เกิน 1.50 เมตร และจะออกเครือเร็วกว่ากล้วยที่ปลูกด้วยการนำหน่อลงดิน ที่สำคัญขนาดของลูกจะใหญ่ขึ้น

นอกจากนี้ คุณสงวนยังมีวิธีการเพิ่มมูลค่าของกล้วยด้วยวิธีการแต่งกลิ่นเข้าไป อยากได้กล้วยรสทุเรียน รสสตรอเบอรี่ รสวานิลลา หรือรสสะละก็สามารถทำได้ตามใจชอบ จากเดิมขายกล้วยได้หวีละไม่กี่สิบบาท แต่พอแต่งกลิ่นและรสชาติพวกนี้แล้วสามารถขายได้ถึงหวีละ 70 บาท

สำหรับวิธีการทำนั้นคุณสงวนบอกว่าไม่ยากเลย พอตอนกล้วยออกปลีก็ไปเจาะหรือกรีดลำต้นเป็นรูปสามเหลี่ยมจนถึงไส้ทำให้เกิดแผล จากนั้นนำหัวเชื้อเข้มข้นและกลิ่นต่างๆ ที่ต้องการ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ในท้องตลาดจำพวกเดียวกับที่ใช้ทำกลิ่นไอศกรีม ตกขวดละ 10 กว่าบาท นำมาชุบสำลีแล้วยัดเข้าไปในไส้ต้นกล้วย จากนั้นปิดไส้ต้นกล้วยให้เหมือนเดิม สักสองเดือนกล้วยก็สุกและจะได้กล้วยตามกลิ่นที่ใส่เข้าไป

คุณสงวนให้ข้อคิดว่า “ประเทศไทยโชคดีที่เรามีพ่อ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่มีแนวคิดการพึ่งตนเองเป็นหลัก ซึ่งเราต้องมองตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น กลับมาพึ่งตนเองให้ได้ ตั้งความคิดให้ถูก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจพอเพียงที่ประสบความสำเร็จในวันนี้ต้องมีวิชาการและภูมิปัญญาควบคู่กัน แนวทางพึ่งตนเองนั้น เราจะต้องเตรียม 4 อย่าง คือ 1. เตรียมตัวก่อนตาย 2. เตรียมกายก่อนแต่ง 3. เตรียมน้ำก่อนที่จะแล้ง 4. เตรียมแรงก่อนที่จะทำงาน แต่ทั้งหมดนี้ต้องควบคุมด้วย ความรู้ ที่อยู่บนพื้นฐานความจริงกำกับด้วยคำว่า พอ”

ปัจจุบันเขามีรายได้เหลือปีละล้านกว่าบาท โดยมาจากรายได้ของผลผลิตบนผืนดิน 8 ไร่ ซึ่งในแต่ละเดือนมีผู้คนจากทั่วสารทิศเข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านเขากลมจำนวนมาก ทำให้เขาสามารถขายผลผลิตทางการเกษตรได้ด้วย และยังนำผลผลิตมาเลี้ยงผู้เข้าร่วมอบรม สนใจอยากศึกษาดูงานศูนย์ดังกล่าว

มะกรูด จัดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดทรงพุ่มกว้าง 2-3 เมตร สูง 4-5 เมตร ใบเมื่อโตเต็มที่มีลักษณะเป็น 2 ส่วน คือส่วนแผ่นใบและส่วนก้านใบที่มีปีกที่ขยายออกจนมีขนาดเกือบเท่ากับแผ่นใบ ทำให้มองดูคล้ายกับมีใบ 2 ใบ ต่อเชื่อมกันอยู่ ผลมีรูปร่างแบบผลสาลี่ มีจุก เปลือกผลมีลักษณะขรุขระเป็นลูกคลื่น ทั้งส่วนใบ ดอก และผล จะมีต่อมน้ำมันจำนวนมากที่ให้น้ำมันหอมระเหยอยู่หลายชนิด จัดเป็นพืชท้องถิ่นที่ขึ้นตามธรรมชาติในพื้นที่ของอินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย คาบสมุทรมลายู และฟิลิปปินส์ เป็นต้น มะกรูด มีชื่อเรียกอื่นๆ ในประเทศไทยอีกจำนวนมากของแต่ละพื้นที่ เช่น มะขุน มะขูด มะขู ส้มกรูด ส้มมั่วผี ฯลฯ

ด้วยเมนูอาหาร “ต้มยำกุ้ง” ได้พัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นเมนูระดับนานาชาติแล้วนั้น ทำให้ความต้องการของชุดต้มยำ ซึ่งมีใบมะกรูดเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบที่มีคุณภาพ ทั้งขนาด สี และปราศจากศัตรูพืชเข้าทำลายเพิ่มสูงมากขึ้น นอกจากนี้ ส่วนของผลมะกรูดได้มีการนำมาใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในเครื่องสำอางก็มีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นมะกรูดที่ปลูกตามธรรมชาติหรือตามสวนทั่วไปมักมีการออกดอกเป็นฤดูกาล ทำให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จึงเป็นผลพลอยได้มากกว่าการผลิตเพื่อเอาส่วนของผลโดยตรง

เทคนิคการผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า
รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม ได้บอกว่า การผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า จึงมุ่งเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตด้านกิ่งใบเป็นหลัก การตัดแต่งเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตและยังส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ รวมทั้งระยะปลูกและจำนวนต้นที่ปลูกจะต้องมีความเหมาะสม ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. พื้นที่ สภาพพื้นที่ต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรียวัตถุสูง หรือปรับแต่งได้ด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสดได้ ควรมีการไถพรวนก่อนเพื่อช่วยไม่ให้ดินแน่นแข็งเกินไป

2. การเตรียมแปลงปลูกและระยะปลูก เนื่องจากระยะปลูกมีความสัมพันธ์กับการเตรียมแปลงและจำนวนต้นปลูก ความกว้างของแปลง 1 เมตร ยกระดับความสูงของแปลง ประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของแปลง 1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา การใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่ง ซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย

3. กิ่งพันธุ์ สามารถใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอนก็ได้ กิ่งที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีการเติบโตที่ช้ากว่าในช่วงระยะแรก อย่างไรก็ตาม ต้นพันธุ์ที่จะนำมาใช้ปลูกจะต้องปลอดจากโรคแคงเกอร์ส้ม ซึ่งโรคนี้เป็นสาเหตุของข้อจำกัดหลักที่ทำให้ไม่สามารถส่งใบมะกรูดไปยังกลุ่มประเทศของสหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศได้ หากแพร่ระบาดเข้าไปในแปลงปลูกแล้ว ก็ยากที่จะกำจัดได้ ดังนั้น จึงควรป้องกันมิให้โรคนี้เข้าไปตั้งแต่เริ่มแรกกับต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูก โดยใช้วิธีการคัดเลือกกิ่ง และตัดแต่งกิ่ง/ใบ ส่วนที่เป็นโรคออกแล้วนำไปเผาไฟ จากนั้นนำไปแช่ในสารปฏิชีวนะ สเตรปโตมัยซิน ความเข้มข้น 500 ppm เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนนำไปปลูก

4. อายุที่เริ่มให้ผลผลิต สามารถเริ่มตัดแต่งกิ่งเพื่อจำหน่ายได้หลังจากปลูกประมาณ 4-6 เดือน หากมีการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ก็จะสามารถอยู่ได้หลายปี

ต้นทุนในการผลิตมะกรูดเพื่อตัดใบภาคเกษตรกร
ปัจจุบัน มีเกษตรกรปลูกมะกรูดในระบบชิด คือใช้ระยะปลูก 2×2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 400 ต้น ราคากิ่งพันธุ์มะกรูดเสียบยอด ราคาต้นละ 25 บาท พื้นที่ 1 ไร่ คิดเป็นค่ากิ่งพันธุ์ 10,000 บาท เมื่อคิดรวมค่าปุ๋ย ค่าสารปราบศัตรูพืช ค่าระบบน้ำ และค่าจัดการอื่นๆ อีกประมาณไร่ละ 5,000 บาท รวมเป็นเงินลงทุนในปีแรกประมาณ 15,000 บาท ต่อไร่ ต้นมะกรูดจะเริ่มตัดใบขายได้ในเชิงพาณิชย์เมื่อต้นมีอายุเข้าปีที่ 3 และจะตัดขายได้ปีละ 4 รุ่น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ต้นมะกรูดที่มีการดูแลรักษาที่ดีพอประมาณจะมีอายุได้ยืนยาวกว่า 10 ปี

เทคนิคและเทคโนโลยีในการผลิตใบมะกรูด ในแปลงปลูกมะกรูด
อาจารย์รวี บอกว่า เทคนิคสำคัญในการจัดการในแปลงปลูกมะกรูดมีดังนี้ จะใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูกหรือใช้ฟางข้าวคลุมแปลง เพื่อป้องกันวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นด้วย หากมีการใช้ผ้าพลาสติคคลุมแปลงแล้ว ระบบการให้น้ำจำเป็นต้องใช้เป็นแบบน้ำหยดที่มีการให้ปุ๋ยไปกับน้ำพร้อมกันด้วย

สำหรับแปลงปลูกที่ไม่ได้มีการใช้ผ้าพลาสติกแล้ว ก็สามารถเลือกใช้การให้น้ำระบบต่างๆ ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมได้ การให้ปุ๋ย ผลจากการตัดใบมะกรูดนั้นเป็นการนำเอาแร่ธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องให้ปุ๋ยชดเชยกลับคืนให้กับต้นดังเดิม ระดับของปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ควรมีสัดส่วนประมาณ 5:1:3 หรือ 5:1:4 หรือใกล้เคียงกัน ส่วนธาตุอื่นๆ ก็จำเป็นต้องเสริมให้ไปเป็นระยะด้วย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

นอกจากโรคแคงเกอร์แล้ว มักไม่พบโรคอื่นๆ ที่มีความรุนแรงแต่อย่างใด การเก็บเกี่ยวใบมะกรูดเมื่อปลูกไป ประมาณ 4-6 เดือน จะเริ่มตัดแต่งกิ่งโดยตัดให้อยู่ในระดับความสูง 60-80 เซนติเมตร จากผิวดิน กำจัดกิ่งที่อยู่ในแนวนอนออกไป ภายหลังการตัดแต่ง ตาจะเริ่มผลิ ผลจากการศึกษา การผลิตใบมะกรูดควรปฏิบัติดังนี้

1. กิ่งควรอยู่ในแนวตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉาก จะให้จำนวนกิ่ง จำนวนใบต่อกิ่งและขนาดใบที่ใหญ่

2. ระดับของการตัดแต่ง ไม่ควรตัดแต่งเกินครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง หากตัดเหลือตอกิ่งมีผลทำให้การผลิตตายืดเวลาออกไป

3. ขนาดของกิ่งที่เหมาะสม ควรเป็นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร

มะกรูดที่ปลูกในบ้านเราแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลัก

สายพันธุ์มะกรูดที่ปลูกอยู่ในบ้านเราในขณะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือสายพันธุ์ที่ให้ผลมะกรูดดกตลอดปี ผิวผลค่อนข้างเรียบ และผลมีขนาดเล็ก อีกสายพันธุ์หนึ่งเป็นพันธุ์ผลใหญ่ และติดผลเป็นพวง ลักษณะของผลมีตะปุ่มตะป่ำคล้ายหูด และมีใบขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะที่จะปลูกเพื่อผลิตใบและผลขายส่งโรงงานแปรรูปน้ำมันหอมระเหย เครื่องอุปโภคหลายชนิด อาทิ สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน เครื่องสำอาง ฯลฯ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบและผลมะกรูด ยังมีข้อมูลบริษัทบางแห่งมีการนำเอาใบมะกรูดไปตากแห้งและบดให้ละเอียดปั้นเป็นลูกกลอนเพื่อส่งออก บ้างก็นำเอาไปเป็นส่วนผสมในอาหารไก่เพื่อช่วยต้านทานโรค ในทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้มะกรูดเป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ อาทิ น้ำในผลมะกรูดแก้อาหารท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตในสตรี ส่วนของเนื้อนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนของใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้แก้อาการจุกเสียด

หลายคนคิดเพียงว่า “มะกรูด” เป็นไม้ยืนต้นสวนครัวเพื่อนำใบและผลมาใช้ประกอบเพื่อเป็นเครื่องแกงชนิดต่างๆ หรือใช้ปรุงแต่งรสชาติของอาหารเท่านั้น ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกมะกรูดเพื่อผลิตใบและผลส่งขายโรงงานผลิตน้ำมันหอมระเหย สร้างรายได้ดีไม่แพ้เกษตรกรรมประเภทอื่น ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ขยายพื้นที่การปลูกมะกรูดเพียงครอบครัวละ 1-3 ไร่เท่านั้น ผลิตใบขายได้กิโลกรัมละ 7 บาท (ขายใบพร้อมกิ่ง โดยตัดที่ความยาว 50 เซนติเมตร-1 เมตร)

เทคนิคการผลิตผลมะกรูดเชิงการค้า
ถึงแม้ว่าส่วนของผลมะกรูดมีส่วนประกอบที่ไม่ชวนให้บริโภค assetlock.net เนื่องจากมีรสเปรี้ยว รสขมและขื่นแล้ว ยังมีสารน้ำมันที่ก่อให้เกิดอาการเผ็ดร้อนด้วย อย่างไรก็ตาม จากการที่ส่วนใบและผิวผลมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่สูงนี่เอง จึงได้มีการนำทั้งสองส่วนนี้มาใช้ทั้งในรูปที่เป็นเครื่องเทศ และสมุนไพรมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคโบราณเป็นต้นมา โดยใช้ในการประกอบอาหารและสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ แก้ไอ เจ็บคอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องสำอาง ทำแชมพูแก้รังแคแล้วยังมีคุณสมบัติออกฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลงกำจัดเหาบนศีรษะได้ หรือใช้เป็นสารดับกลิ่นในห้องน้ำเหล่านี้ เป็นต้น

สำหรับการผลิตผลมะกรูดนั้นจำเป็นต้องใช้หลักการในด้านสรีรวิทยาของการออกดอก จึงมีผลตรงข้ามกับการผลิตใบโดยสิ้นเชิง มีขั้นตอนที่ควรปฏิบัติในหลายส่วนที่ใกล้เคียงกัน เช่น การเตรียมพื้นที่ ต้นพันธุ์ และระบบน้ำ เป็นต้น สำหรับส่วนที่ต่างกันนั้นมีด้านต่างๆ ดังนี้

1. ระยะปลูก ระยะห่างระหว่างต้นต้องไม่น้อยกว่า 1 เมตร ในแถวเดี่ยว โดยอาจใช้ระยะ 1×1.5 เมตร (ปลูกได้ 1,067 ต้น ต่อไร่) หรือระยะ 1.5×2 เมตร (ปลูกได้ 533 ต้น ต่อไร่) กิ่งที่ตัดแต่งออกอาจใช้เพื่อการผลิตใบได้บ้าง เหตุผลที่ต้องใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่า เพราะกิ่งที่จะออกดอกได้ดีต้องเป็นกิ่งในแนวมุมกว้าง หรือเกือบขนานกับพื้น

2. การบังคับการออกดอก หากปลูกให้ออกดอกตามธรรมชาติแล้ว ก็จะได้ดอกในช่วงฤดูหนาว อายุผลยังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่าจะใกล้เคียงกับมะนาว คือจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองใช้สารชะลอการเจริญเติบโตพาโคลบิวทราโซล ร่วมกับการตัดปลายยอดพบว่าสามารถชักนำให้ต้นมะกรูดมีการออกดอกได้ดีมาก โดยต้นมะกรูดเริ่มออกดอกภายหลังการตัดยอด ประมาณ 90 วัน และมีดอกมากที่สุดในช่วงระหว่าง 100-120 วัน

จากผลการศึกษาทั้งในด้านการผลิตใบและการผลิตผลมะกรูดที่ผ่านมานั้น ควรจะแยกแปลงปลูกออกจากกัน ทั้งนี้ เพราะสรีรวิทยาของสองส่วนนี้มีความแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลถึงระยะปลูก การจัดการด้านการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปด้วย

เกษตรกรรม เป็นกิจกรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง แต่การเลือกทำเพียงกิจกรรมเดียว จะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะไม่ได้รับผลผลิตเมื่อต้องประสบกับภัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ แต่ถ้าเลือกทำ “เกษตรผสมผสาน” คือมีตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป มีการวางแผนการผลิต ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ความเสี่ยงก็ลดลง

ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวนเกษตรผสมผสานจึงเป็นทางเลือกในการยกระดับรายได้เพื่อนำไปสู่การดำรงชีพที่มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง เกษตรผสมผสาน วิถีพอเพียง บนพื้นที่ 2 ไร่ ที่สิงห์บุรี มาบอกเล่าสู่กัน