คุณชาญชัย เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ทำสวนส้มมาก่อน

แต่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หวัง จึงได้มีการปรับเปลี่ยนมาปลูกเป็นกล้วยหอม และในขณะเดียวกัน ก็ยังพอมีพื้นที่เหลือพอให้ลงไม้ผลชนิดอื่นได้อีกประมาณ 20 ไร่ โดยช่วงนั้นเมื่อประมาณปี 2560 ได้มีเพื่อนมาแนะนำให้รู้จักกับฝรั่งหงเป่าสือที่เป็นฝรั่งสายพันธุ์จากไต้หวันเข้ามา พอมีโอกาสได้ชิมก็เกิดติดใจในรสชาติที่มีทั้งความหวานกรอบ มีเนื้อข้างในเป็นสีแดงเป็นเอกลักษณ์ และเป็นฝรั่งที่มีเมล็ดน้อย น่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดในอนาคต จึงตัดสินใจสั่งกิ่งพันธุ์มาทดลองปลูกประมาณ 40 ต้น ในปี 2560 เป็นการปลูกเพื่อขยายพันธุ์ขาย และทดลองปลูกเพื่อไว้ผลเป็นบางส่วน แต่ยังไม่ได้มีการจำหน่าย เพื่อศึกษาวิธีการปลูกอย่างไรให้ได้คุณภาพ จนมั่นใจในสายพันธุ์และคุณภาพของผลผลิตถึงได้มีการปลูกเพื่อจำหน่ายในปี 2564

ด้วยจุดเด่นที่มีคือ 1. ด้านรสชาติ “หงเป่าสือ” มีรสชาติที่หวานกรอบ ติดเปรี้ยวนิดๆ ค่อนข้างจะเป็นรสชาติที่แปลกใหม่ มีเนื้อข้างในสีแดงที่เป็นเอกลักษณ์ และมีเมล็ดน้อย หรือแทบจะไม่มีเมล็ด แต่แค่ในเฉพาะสายพันธุ์หงเป่าสือเท่านั้นที่มีเมล็ดน้อย เนื่องจากฝรั่งไส้แดงจะมีหลายสายพันธุ์ 2. ด้านการตลาด ขายได้ราคาสูง เพราะยังหากินได้ยากตามตลาดทั่วไป ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณที่ยังไม่มากพอต่อความต้องการของตลาด

ปลูกฝรั่งหงเป่าสือ 10 ไร่ รับทรัพย์เกือบแสนต่อเดือน
คุณชาญชัย บอกว่า หลังจากที่มั่นใจในรสชาติและคุณภาพของฝรั่งหงเป่าสือที่ได้ทดลองปลูกไว้ จึงได้เริ่มขยายพื้นที่ปลูกเพื่อจำหน่ายผลผลิตอย่างจริงจังในปี 2564 บนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ และได้มีการวางแผนในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าจะขยายพื้นที่ปลูกอีก 10 ไร่ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่สวนมีอยู่ตอนนี้

และเมื่อถามถึงวิธีการปลูกฝรั่งของคุณชาญชัยว่ามีความยากง่ายหรือแตกต่างจากฝรั่งสายพันธุ์ทั่วไปอย่างไร คุณชาญชัย อธิบายว่า วิธีการปลูกก็เหมือนกับการปลูกพืชผักผลไม้ทั่วไป ก่อนอื่นต้องพรวนดิน แล้วคลุกเคล้ามูลวัวลงไป ถ้าปลูกในพื้นที่ต่ำให้ยกโคกสูงขึ้นมาหน่อย แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องยกโคกให้สูง แค่พรวนดินให้ร่วน ปรับปรุงดินนิดหน่อย ขุดหลุมปลูกให้กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วนำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูกได้เลย

การเลือกต้นพันธุ์ ถ้าอยากปลูกให้ได้ผลผลิตดี ควรเลือกเป็นกิ่งชำที่อยู่ในถุง เพราะจะมีโอกาสรอดเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ และเจริญเติบโตได้เร็ว แต่กิ่งชำจะมีราคาแพง ถ้าหากใครมีงบน้อย หรือต้องการปลูกเชิงพาณิชย์ก็แนะนำให้ปลูกโดยใช้กิ่งตอนมากกว่า เพราะว่าต้องใช้ในจำนวนมาก ตรงนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนลงไปได้พอสมควร เพียงแต่ว่าการใช้กิ่งตอนในการปลูก การเจริญเติบโตจะช้ากว่ากิ่งชำ ต้องอาศัยความใส่ใจหมั่นดูแลรดน้ำเป็นพิเศษก็ไม่ถือเป็นปัญหา

ระยะห่างระหว่างต้น โดยปกติทั่วไปจะปลูกในระยะห่างที่ประมาณ 2.50 เมตร หรืออาจบวกหรือลบได้ ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับขนาดของแต่ละพื้นที่ หากมีพื้นที่น้อยจะปลูกในระยะห่าง 2×3 เมตรก็ได้ แต่ถ้าหากมีพื้นที่มากหน่อยจะแนะนำให้ปลูกในระยะห่าง 3×4 เมตร เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคและแมลง เพราะถ้าปลูกในระยะที่ประชิดกันเกินไป ตรงนี้จะเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง หรือมีผลในการฉีดพ่นยาและอาหารเสริม ที่ในบางครั้งอาจฉีดไม่ทั่วถึง

การดูแลรดน้ำ ฝรั่งสามารถปลูกได้ทุกที่ขอแค่ให้มีระบบน้ำที่เพียงพอ เพราะฝรั่งเป็นพืชที่ขาดน้ำไม่ได้ ส่วนวิธีการรดน้ำจะรดด้วยวิธีไหนก็ได้ แต่ถ้าหากสวนไหนรดด้วยน้ำบาดาลควรจะต้องมีการพักน้ำเอาไว้ให้ตกตะกอน 2-3 วันก่อนนำมาใช้

การรดน้ำในช่วง 1-2 เดือนแรก หากฝนไม่ตกควรรดน้ำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน ส่วนครั้งที่ 2 ขึ้นอยู่กับพื้นที่และสภาพอากาศ หากวันไหนแดดจัดให้รดน้ำในช่วงบ่ายอีกครั้ง หลังจากนั้นเมื่อผ่านระยะ 2 เดือนแรกไปแล้ว ก็ยังคงรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวันก็ได้ โดยให้สังเกตจากยอดฝรั่ง ถ้ายอดเหี่ยวแสดงว่าน้ำไม่เพียงพอก็ให้รดน้ำเพิ่ม

การบำรุงใส่ปุ๋ย เมื่อฝรั่งมีอายุได้ 20 วัน เริ่มใส่ปุ๋ยครั้งแรก สูตร 25-7-7 แล้วครั้งถัดไปจะใส่เป็นสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 แล้วแต่ความสะดวก โดยระยะห่างในการใส่ปุ๋ยประมาณ 1 เดือนต่อ 1 ครั้ง ปริมาณการใส่เริ่มจากครั้งที่ 1 ใส่ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณปุ๋ยทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย แล้วหลังจากนั้นประมาณเดือนที่ 5 จะเพิ่มเติมด้วยปุ๋ยสูตร 8-24-24 ใส่ผสมกับสูตรเสมอ หรือใส่สูตร 8-24-24 อย่างเดียวก็ได้ เพื่อสะสมอาหารให้เพียงพอสำหรับการออกดอก

และอย่าลืมว่าทุกครั้งที่เราใส่ปุ๋ยเราจะต้องเพิ่มทุกครั้งเพราะว่าต้นไม้แต่ละเดือนๆ โตไว โดยเฉพาะฝรั่งเจริญเติบโตได้เร็ว 5 เดือนเริ่มติดดอก ก็ควรให้พืชได้กินได้อิ่ม แล้วหลังจากนั้นเมื่อต้นใหญ่ให้ผลผลิตได้สักระยะแล้ว จะเปลี่ยนการให้ปุ๋ยเป็นกำมือแทน อาจจะเป็นต้นละ 1-3 กำมือ จะไม่ใช้ช้อนตวงแล้ว “เราจะเข้มงวดในช่วง 1-2 เดือนแรกมากที่สุด เพราะถ้าใส่ปุ๋ยเยอะเกินไป จะไม่ส่งผลดีกับพืชสักเท่าไหร่ ถ้าใส่มากไปก็ส่งผลกระทบกับรากพืชทำให้ต้นตายได้”

การดูแลช่วงฝรั่งออกดอก ถือเป็นช่วงสำคัญ จำเป็นจะต้องมีการฉีดบำรุงดอกทุกๆ 5-7 วัน เพื่อให้ดอกสมบูรณ์ การติดผลก็จะสูงขึ้น และยิ่งถ้าหากเป็นช่วงที่อากาศร้อนยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ คือจะต้องรดน้ำให้เพียงพอ เพราะถ้าหากรดน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้ดอกร่วงง่าย

“อุปสรรคสำคัญในการปลูกฝรั่ง โดยเฉพาะฝรั่งไส้แดง ก็คือโรคและแมลง อย่างโรคเชื้อรา เพลี้ยแป้ง และแมลงหวี่ขาว ก็ต้องมีการฉีดพ่นสารป้องกันอย่างสม่ำเสมอทิ้งไม่ได้เลย ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบการปลูกฝรั่งไส้แดงกับฝรั่งกิมจูแล้ว ฝรั่งกิมจูไม่ต้องดูแลรักษามาก แต่ก็ให้ผลผลิตที่สวยได้ แต่ถ้าเป็นฝรั่งไส้แดงถ้าไม่ดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษผลผลิตก็ออกมาไม่ดี คนปลูกก็ต้องทุ่มเท ทุ่มทุน เขาก็จะตอบแทนให้เราดี”

การห่อผล หลังจากฝรั่งออกดอก เริ่มติดลูกประมาณเหรียญ 5 บาท ที่สวนจะเริ่มทำการห่อผล ด้วยการห่อถุงพลาสติกไว้ด้านในเพื่อกันแมลงวันทอง แล้วห่อด้วยกระดาษห่อผลไม้ทับอีกชั้นเพื่อให้ผิวของฝรั่งออกมาสวย โดยขั้นตอนก่อนที่จะห่อผลควรฉีดยาป้องกันเชื้อราและแมลงไว้ก่อนห่อ ถ้าหากไม่ฉีดบางครั้งเชื้อราเกิด ทำให้ผิวฝรั่งไม่สวย ลูกร่วงได้ การฉีดจึงถือเป็นวิธีป้องกันการเกิดเชื้อราเบื้องต้นได้ดี

การเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังจากห่อผลประมาณ 60-70 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ฝรั่งเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทุกฤดูและออกผลได้ตลอด เพียงแต่ต้องขยันเด็ดยอดอยู่เสมอ

“การเด็ดยอด สมมุติว่าเราเก็บผลผลิตเดือนที่ 8 ในเดือนที่ 6 เริ่มไว้ลูกห่อผล ซึ่งในช่วงจังหวะตรงนั้นจะมียอดเหลืออยู่ เราก็ต้องเด็ดยอดไปเรื่อยๆ เพื่อให้มีรุ่นพี่รุ่นน้องแตกออกมา ไม่ใช่ว่าเราห่อเดือนที่ 6 แล้วรอเก็บผลผลิตในเดือนที่ 8 อย่างเดียว เราก็จะได้ผลผลิตแค่รุ่นเดียว”

ผลผลิตของที่สวนจะเก็บทุก 7-10 วัน เก็บผลผลิตได้ประมาณ 100-200 กิโลกรัม โดยที่สวนจะใช้วิธีทำให้ผลผลิตออกน้อย เน้นมีผลผลิตให้เก็บเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าทางสวนเน้นขายตลาดออนไลน์เป็นหลัก จึงไม่จำเป็นต้องทำผลผลิตให้ออกมาทีครั้งละมากๆ แต่จะให้มีได้เก็บได้ทุกอาทิตย์ และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผลผลิตเสียหายเพราะออกมาเยอะเกินไปเก็บขายไม่หมด

แต่ในอนาคตข้างหน้าทางสวนได้มีการวางแผนจะขยายตลาดเพิ่มนอกจากการขายออนไลน์ คือการเปิดหน้าร้านขายเพิ่มอีกหนึ่งช่องทาง และยังคงตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้เป็นลูกค้ากลุ่มที่มีกำลังซื้อ เพราะฝรั่งหงเป่าสือค่อนข้างมีราคาสูง หากคิดเฉลี่ยเป็นรายได้ต่ออาทิตย์อยู่ที่ประมาณ 20,000-30,000 บาท เป็นรายได้ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่าย เนื่องจากต้นทุนการปลูกฝรั่งก็สูงเช่นกัน โดยเฉพาะค่าแรงของการห่อฝรั่ง เพราะฝรั่งแต่ละลูกถ้าไม่ผ่านการห่อผลผลิตก็แทบไม่มีให้เก็บจากแมลงที่มารบกวน

อนาคตอีก 2 ปีข้างหน้า ตลาดยังสดใส
มือใหม่หัดปลูกเตรียมตัวอย่างไร
“สำหรับตลาดฝรั่งไส้แดง หงเป่าสือ ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าถือว่ายังสดใส ถึงแม้ว่าราคาอาจจะไม่สูงเท่าตอนนี้ แต่จะไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 70 บาทแน่นอน และถ้าหากเกษตรกรท่านใดอยากปลูกเพื่อสร้างรายได้ก็ยังน่าสนใจ มีพื้นที่เพียง 1 ไร่ สามารถทำเป็นอาชีพหลักได้เลย ด้วยราคาของเขาที่ยังไม่ต้องพูดถึงกิโลกรัมละ 100 บาท เอาแค่กิโลกรัมละ 50 บาทก็พอแล้ว เพราะสามารถเก็บขายได้ทุกอาทิตย์ ส่วนการเตรียมตัวที่นอกเหนือจากมีพื้นที่แล้วผู้ปลูกจะต้องมีใจรักและต้องตั้งใจที่จะทำ ถัดมาพื้นที่ต้องมีความเหมาะสม มีแหล่งน้ำเพียงพอ และการลงทุนถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าจะให้พูดเข้าใจง่ายๆ คือถ้าเราให้เขากินอิ่มเขาก็ตอบแทนเราดี แต่ถ้าบางคนปลูกแล้วรอให้เทวดาเลี้ยงก็ได้แค่กินลูก ไม่มีผลผลิตพอให้ขาย” คุณชาญชัย กล่าวทิ้งท้าย

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร. 084-273-1206 หรือติดต่อได้ที่เพจเฟซบุ๊ก : นานาพันธุ์ by เจ๊เกียง ถ้าหากจะกล่าวถึงผลไม้ที่จัดอยู่ในประเภทค่อนข้างที่มีราคาแพงชนิดหนึ่ง คนซื้อส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้กิน และคนกินส่วนใหญ่มักไม่ค่อยที่จะได้ซื้อ จัดอยู่ในประเภทของฝากให้กับผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพนับถือ นั่นก็คือ “มะยงชิด”

พื้นที่การปลูกมะปราง หรือ มะยงชิด เป็นการค้านั้น ควรเป็นแหล่งที่มีฤดูฝนสลับฤดูแล้ง (หนาวและร้อน) ที่เด่นชัด เพราะช่วงแล้งดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อการออกดอกของมะปราง ซึ่งช่วงดังกล่าวจะช่วยทำให้ต้นมะปรางมีการพักตัวชั่วคราว ชะงักการเจริญเติบโตทางใบและกิ่ง และช่วงดังกล่าว ถ้ามีอุณหภูมิต่ำหรืออากาศเย็นจะช่วยให้มะปรางออกดอกติดผลได้ดียิ่งขึ้น แหล่งปลูกมะปรางที่อาศัยน้ำฝนนั้น ควรเป็นแหล่งที่มีปริมาณน้ำฝนกระจายตัวตกต้องตามฤดูกาล

ส่วนแหล่งที่มีปริมาณฝนตกน้อย ควรเลือกพื้นที่ปลูกมะปรางเป็นการค้าที่ใกล้แหล่งน้ำ หรือมีน้ำชลประทานเพียงพอ เพราะในระยะที่มะปรางแทงช่อ ดอก และติดผลนั้น (พฤศจิกายน – มีนาคม) จะเป็นช่วงที่มีปริมาณฝนตกน้อยมาก ซึ่งช่วงดังกล่าวมะปรางต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของผล และถ้ามะปรางขาดน้ำจะมีผลทำให้ผลมะปรางมีขนาดเล็ก ผลร่วง และให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติได้

อุณหภูมิเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการแทงช่อดอก การติดผล และระยะเวลาการสุกของผลมะปราง คือ ถ้าอุณหภูมิต่ำและมีช่วงระยะเวลาของอุณหภูมิต่ำนานพอสมควร จะทำให้มะปรางออกดอกและติดผลได้ดีขึ้น และหลังจากมะปรางติดผลแล้ว ถ้าแหล่งปลูกมะปรางมีอุณหภูมิสูงขึ้นเร็ว จะมีผลให้มะปรางแก่ หรือสุกเร็วกว่าในแหล่งที่มีอุณหภูมิต่ำ

แหล่งปลูกมะปรางที่ให้ได้ผลดีนั้น ควรมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ในช่วง 20-30 องศาเซลเซียส ซึ่งดอกมีลักษณะเป็นช่อ เกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายในทรงพุ่มและนอกทรงพุ่ม ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร ดอก ย่อมมีขนาดเล็ก ประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ หรือ ดอกกะเทย และดอกตัวผู้ ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง ในประเทศไทยดอกมะปรางจะบานช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี

หลายคนคงไม่ทราบว่า จังหวัดพิจิตรเป็นแหล่งผลิตมะยงชิดพันธุ์ดีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เฉพาะเขตพื้นที่ ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก มีพื้นที่ปลูกมะยงชิดพันธุ์ดี ประมาณ 2,000 ไร่ ผลผลิตมะยงชิดของจังหวัดพิจิตรเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะผลใหญ่ เนื้อแข็ง และมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลผลิตส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าเป็นจำนวนมากมารับซื้อเพื่อขายตลาดในประเทศ และมีบางส่วนได้ส่งไปขายยังต่างประเทศ

การปลูกมะยงชิด การเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่มีความสำคัญมาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจเลือกพันธุ์ก็คือ จะต้องเป็นพันธุ์ที่ติดผลง่าย ผลมีขนาดใหญ่ เมล็ดเล็ก เนื้อแน่น รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเนื้อแน่นจะได้เปรียบมะยงชิดจากแหล่งอื่น เพราะถ้าเนื้อแน่นจะสามารถวางขายผลผลิตในตลาดได้ยาวนานกว่าพันธุ์ที่มีเนื้อนิ่ม พ่อค้า แม่ค้า จะชอบมาก ผู้บริโภคก็ติดใจ

“พื้นที่ปลูกมีความสำคัญมากเพราะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของผลผลิตให้ออกมาต่างกัน เช่น มะยงชิดที่ปลูกในพื้นที่นา หรือพื้นที่ลุ่มผลจะใหญ่ ผิวสีเหลือง แต่เนื้อจะนิ่มออกเละ รสชาติไม่เข้มข้น เพราะดินนาเป็นดินเหนียว ดินเก็บความชื้นไว้นานทำให้ผลผลิตไม่เข้มข้นส่วนดินลูกรังนั้นจะได้เปรียบเรื่องรสชาติ จะเข้มข้น ผิวเหลืองออกส้มเข้มกว่า”

เทคนิคการผลิตมะยงชิดคุณภาพดี

จะต้องเริ่มจากกำหนดระยะปลูกให้เหมาะสม ที่แนะนำคือ 8×8 เมตร โดยในช่วงแรกอาจปลูกแซมพืชอื่นไปก่อน เพราะกว่ามะยงชิดจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 5-8 ปี และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุของต้น ซึ่งโดยปกติแล้วชาวสวนจะมีเคล็ดลับและวิธีการดูแลต้นมะยงชิดให้ออกดอกติดผลต่างกัน ที่จะมีการแต่งกิ่งในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ตัดแต่งกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่เบียดชิดกัน และกิ่งที่อยู่ในร่มเงา ตัดแต่งเสร็จใส่ขี้วัวเก่า ต้นละ 2-3 กระสอบปุ๋ย ส่วนปุ๋ยเคมีจะใช้สูตร 8-24-24 อัตราต้นละ 1-2 กิโลกรัม โดยใส่ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับต้นก่อนการออกดอก

เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และมีอากาศหนาวเย็นติดต่อกัน 7-10 วัน ยอดของมะยงชิดจะพัฒนาเป็นตาดอก และจากระยะดอกจนถึงเก็บผลผลิตจะใช้ระยะเวลาเพียง 85-90 วัน ในแต่ละปีมะยงชิดจะออกดอก 2-3 รุ่น รุ่นแรก จะออกดอกเดือนพฤศจิกายน และเก็บผลผลิตประมาณปลายเดือนมกราคม รุ่นที่สองจะออกดอกช่วงเดือนธันวาคม เก็บผลผลิตช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถ้าปีไหนอากาศเย็นนานจะมีรุ่นที่สามคือ ดอกจะออกต้นเดือนมกราคม และไปเก็บผลผลิตเดือนมีนาคม

หลังจากเริ่มแทงช่อดอกจะต้องดูแลเป็นพิเศษทางดิน จะต้องเริ่มให้น้ำ 5-7 วัน ต่อครั้ง (ขึ้นอยู่กับความชื้นในสวน มะยงชิดหากให้น้ำมากไปเนื้อจะเละ) จนกว่าผลอ่อนมะยงชิดมีขนาดเท่าหัวแม่มือก็จะเริ่มงดน้ำ ในเรื่องสารเคมีจะต้องพ่นสารเคมีในกลุ่มของกำจัดโรคและแมลงตั้งแต่ระยะเริ่มแทงช่อดอก ศัตรูที่พบมากที่สุดคือเพลี้ยไฟ และโรคที่สำคัญคือโรคแอนแทรกโนส ที่สวนสมหมาย จะให้ความสำคัญในการพ่นสารเคมีในช่วงนี้มาก เพราะต้องการควบคุมคุณภาพของผลผลิตให้ได้และต้องเลือกใช้สารเคมีที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP สารเคมีที่แนะนำให้ฉีดป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ คือ สารอะบาเม็กติน จะฉีดพ่น จำนวน 2 ครั้ง คือ ระยะก่อนดอกบาน และหลังดอกโรย ในช่วงดอกบานจะไม่ฉีดพ่นสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น

โรคแอนแทรกโนส จะใช้สารในกลุ่มโปรคลอราซ ฉีดในช่วงก่อนดอกบาน ส่วนหลังจากดอกโรยจะใช้สารแมนโคเซบ และสารโปรคลอราซ สลับกัน ฉีดพ่นจนกว่าผลมีขนาดเท่าหัวแม่มือ หรือถึงระยะสลัดผลก็หยุดฉีด จะไม่นิยมใช้ปุ๋ยหรือฮอร์โมนเร่งขนาดของผลเลย เพราะการใช้ปุ๋ยเร่งมากๆ จะทำให้เนื้อของมะยงชิดเละไม่แน่น

การเก็บผลผลิตมะยงชิดพันธุ์ดีจะต่างกันแล้วแต่ความต้องการของตลาด ถ้าเป็นตลาดในประเทศจะเก็บที่ความแก่เกือบ 100% คือเก็บไปแล้วรับประทานได้เลย โดยสังเกตจากผิวจะต้องออกเหลืองส้มเกือบทั้งผล รสชาติจะหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ถ้าเก็บส่งตลาดต่างประเทศจะต้องเก็บที่ความแก่ประมาณ 90% คือผิวจะออกสีจำปาแต่ยังไม่ทันแดง เพราะการส่งตลาดต่างประเทศใช้ระยะเวลานานต้องผ่านหลายขั้นตอน ตัวอย่างประเทศในเขตยุโรป ต้องใช้เวลาในการผ่านกระบวนการต่างๆ ประมาณ 7 วัน ถ้าเก็บที่ความแก่เต็มที่เมื่อถึงปลายทางเนื้อจะเละวางขายได้ไม่นาน

หัวใจของการผลิตมะยงชิดพันธุ์ดี คือเรื่องคุณภาพ

จะเน้นทุกขั้นตอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเก็บผลผลิต จะใช้กรรไกรตัดผล หรือใช้มือเก็บเท่านั้น ผู้ที่เก็บจะต้องมีความชำนาญ และประณีต ต้องดูลักษณะผลเป็น ว่าผลแก่-อ่อนแค่ไหน ต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าเก็บแรงผลจะช้ำ กว่าจะถึงผู้บริโภคผลจะเละ เรื่องการเก็บผลผลิตหลายสวนใช้ตระกร้อสำหรับสอยมะม่วงมาเก็บผลมะยงชิด ทำให้ผลช้ำ สีผิวไม่สวย เวลาขายไม่ค่อยได้ราคา เพราะผลมีตำหนิ

อนาคตการตลาด

เมื่อสอบถามถึงเรื่องการตลาดในอนาคต คุณนคร ตอบด้วยความมั่นใจว่า แม้จะมีผู้ขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นแต่ตลาดก็ยังดี เพราะมะยงชิดเป็นไม้ผลที่บังคับให้ออกดอกนอกฤดูไม่ได้ ต้องอาศัยธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วมะยงชิดจะเริ่มออกสู่ตลาดจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พอหมดก็จะเลื่อนมาที่ปราจีนบุรี นครนายก เขาสู่เขตภาคกลาง ต่อจากภาคกลางก็จะถึงเขตภาคเหนือตอนล่าง คือ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร และสุดท้ายที่เชียงใหม่ ผลผลิตจะถูกควบคุมโดยธรรมชาติมีความต่อเนื่องไม่ตรงกัน

ราคามะยงชิดพันธุ์ดีจะไม่เท่ากันในแต่ละปี ซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด เช่น ปีไหนมะยงชิดติดผลน้อย ราคาก็จะสูงมาก เป็นต้น โดยมากถ้าไม่ขายเหมาสวน เกษตรกรก็จะขายเอง โดยคัดเป็นเบอร์ เบอร์ 1 ขนาดผล 13-15 ลูก ต่อกิโลกรัม เบอร์ 2 ขนาดผล 16-17 ลูก ต่อกิโลกรัม เบอร์ 3 ขนาดผล 18 ลูก ต่อกิโลกรัม ผลเล็กหรือตกเกรด ขายรวมกิโลกรัมละ 20 บาท

เคล็ดลับ การปลูกมะยงชิดให้รอดตาย

เกษตรกรหรือผู้ปลูกมะยงชิดมือใหม่หลายรายมักประสบปัญหาต้นมะยงชิดย่อยตายหลังปลูกได้ไม่นาน บางรายปลูกไปแล้ว 1-2 ปี แต่ต้นมะยงชิดก็ยังไม่ยอมเจริญเติบโต ปัญหาเหล่านี้เกิดจากความไม่เข้าใจถึงเรื่องการปลูกและการดูแลต้นมะยงชิดในระยะเล็ก จึงได้รวบรวมเคล็ดลับต่างๆ ในการดูแลมะยงชิดในระยะเริ่มแรก โดยสอบถามจากชาวสวนที่ประสบความสำเร็จพอสรุปได้ดังนี้

1. ดินและการเตรียมดิน มะยงชิด เป็นพืชที่ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงและต้องมีการระบายน้ำดี หากเป็นพื้นที่น้ำท่วมขังหรือการระบายน้ำไม่ดีต้นจะตายง่าย ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นดินร่วนทราย หรือดินลูกรังจะต้องผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักก่อนปลูก

2. กิ่งพันธุ์ที่ใช้ระบบรากต้องดี มะยงชิด เป็นพืชที่มีรากน้อยมาก โดยเฉพาะต้นที่มีอายุน้อยจะมีรากเพียง 3-4 เส้น เท่านั้น ดังนั้น ถ้ากิ่งพันธุ์มีระบบรากไม่ดีพอ มักพบปัญหาปลูกแล้วยืนต้นตายหลังแตกใบอ่อนได้เพียงชุดเดียว หรือบางครั้งต้นแคระแกร็นไม่ยอมแตกใบอ่อน แม้จะดูแลดีก็ตาม วิธีเลือกกิ่งพันธุ์ที่ดีจะต้องเลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ถ้าเป็นกิ่งพันธุ์ที่มีรากแก้ว การเจริญเติบโตจะดีมาก

3. ปลูกมะยงชิดต้องมีร่มเงา โดยธรรมชาติแล้วมะยงชิดเป็นพืชที่ต้องการร่มเงาในระยะ 1-2 ปีแรกของการปลูก ถ้าปลูกใต้ร่มเงาที่มีแสงรำไรการเจริญเติบโตจะดีกว่า การปลูกในที่โล่งแจ้ง การทำร่มเงาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

หลังจากปลูกมะยงชิดแล้วใช้ตาข่ายพรางแสงทำเป็นร่มเงา หรือบางคนอาจปลูกไม้ร่มเงาเช่นกล้วยไว้ข้างๆ ต้นมะยงชิด เมื่อกล้วยโตจะเป็นร่มเงาให้แก่มะยงชิดอย่างดี อีกประการหนึ่งคือเราจะได้เก็บผลผลิตของกล้วยไปขายก่อนในระยะ 1-2 ปีแรกที่มะยงชิดยังไม่ให้ผลผลิต จนเมื่อมะยงชิดมีอายุ 2 ปี หรือดูว่าแข็งแรงดีจึงค่อยตัดกล้วยทิ้ง 4. ระวังอย่าให้ขาดน้ำ มะยงชิด เป็นพืชที่ต้องการความชุ่มชื้น การปลูกมะยงชิดในระยะแรกของการปลูกจึงห้ามขาดน้ำโดยเด็ดขาด เพราะหากขาดน้ำจนใบเริ่มเหี่ยว โอกาสที่จะฟื้นยากมาก ดังนั้น ให้จำไว้เสมอว่ามะยงชิดห้ามขาดน้ำ ถ้าขาดน้ำเหี่ยวตายทันที แต่เมื่อโตแล้วถือว่าเป็นพืชหนึ่งที่ทนแล้ง

5. ห้ามใส่ปุ๋ยเคมีในปีแรกโดยเด็ดขาด เกษตรกรมือใหม่หลายรายประสบความล้มเหลวในการปลูกมะยงชิดเพราะต้นตาย เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีข้อนี้เป็นเรื่องจริง จากที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นคือ มะยงชิดเป็นพืชที่มีรากน้อย ถ้าเรานำปุ๋ยเคมีไปใส่โอกาสที่ต้นจะตายมีสูงมาก ดังนั้น หากต้องการให้ต้นมะยงชิดเจริญเติบโตดีในปีแรก ให้ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักแทนจะปลอดภัยที่สุด หรือหากจะใส่ปุ๋ยเคมีต้องใส่น้อยๆ แล้วใส่ด้วยความระมัดระวัง

เผยแพร่ครั้งแรก วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ.2563 คุณสรชัช ตันศิริ เจ้าของสวน “บ้านผักไฮโดรโปนิกส์ ผักสลัดชลบุรี-บ้านฟาร์มผักในเมือง” ในพื้นที่ตำบลบ้านปีก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ที่หันมาทำเกษตรแบบเต็มตัว ด้วยการพลิกผืนดินและเนรมิตที่ดินเพียง 1 แปลงให้มีมูลค่า ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์และผักสลัด จากเพียงต้องการมองหาอาชีพเสริม ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพและเป็นรายได้หลักในการเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบายๆ

คุณสรชัช เล่าว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว nforcershq.com ตนเองต้องการมองหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว เนื่องจากตนเองนั้นมีเงินเดือนไม่เยอะ ในขณะที่ทำงานอยู่ที่ที่ทำงานเดิม จึงอยากมีรายได้เพิ่ม ซึ่งตนเองมีที่ดินเพียง 1 แปลง จึงมองหาช่องทางการสร้างประโยชน์จากที่ดินผืนนี้ ด้วยการศึกษาหาข้อมูลแบบจริงจังเกี่ยวกับการปลูกพืชผักแบบทั่วไป ลองผิดลองถูกทั้งการลงมือทำและเรียนรู้ด้วยตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก่อนจะมาเจอวิธีการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ จึงเริ่มทำมาจนถึงปัจจุบัน

“เริ่มเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมเองในตอนนั้นเงินเดือนน้อย อยากหาอาชีพเสริม และยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร และตอนนั้นเรียนจบแค่ ปวส. ครับ กำลังเรียนต่ออยู่ ที่บ้านมีที่อยู่ 1 แปลง ไม่ได้ทำอะไร ก็คิดว่าจะเอาที่ตรงนี้มาทำอะไรดี เราก็เลยแบบลองปลูกผักกินใบเล่นๆ แต่ปลูกแล้วไม่ค่อยสำเร็จ ไม่ค่อยดี ก็เลยหาข้อมูลไปเรื่อยๆ ครับ ก็เลยมาเจอผักไฮโดรโปนิกส์ ตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคนปลูก เราก็เลยแปลกใจผักอะไรที่ยกมาจากน้ำแล้วเห็นราก ตอนนั้นไปเห็นของเมืองนอก ก็เลยหาข้อมูลเรื่อยๆ และลองทำเล่นๆ ดูครับ และไปหาเมล็ดพันธุ์ที่เขาขายกันแบบในท้องตลาด ก็เลยซื้อมาเพาะดู ปรากฏว่ามันขึ้น แต่ขึ้นแล้วไม่ค่อยสวย แล้วพอดีแฟนมีแผงขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ตลาด ก็เลยลองให้เขาไปขายดู ปรากฏว่าขายได้ครับ เพราะด้วยความแปลก ก็เลยอยากลองทำต่อดู และต่อแปลงมาเรื่อยๆ ครับ”

ภายในฟาร์มของคุณสรชัชจะเน้นการปลูกผักสลัด เช่น กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค ฟินเลย์ เรดคอรัล มินิคอส เป็นต้น ใช้เมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศทั้งหมดที่มีการนำเข้าภายในประเทศไทย มีวิธีการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ ใส่ปุ๋ยแบบสารละลายไปกับน้ำ เพื่อให้รากพืชได้ดูดปุ๋ยและสารอาหารได้อย่างครบถ้วน และการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จะใช้เวลาอยู่ที่อายุ 45 วัน จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นั่นเอง

“เราจะสั่งเมล็ดพันธุ์จากเมืองนอก จากนั้นจะเอาเมล็ดมาเพาะบนฟองน้ำ ต้นจะเริ่มงอกและมีต้นอ่อน เราก็เอาต้นอ่อนไปชำ ไปเพาะไว้ในที่ร่มประมาณ 10 วันครับ จากนั้นเมื่อครบ 10 วัน เราก็จะเริ่มเอาลงแปลงปลูกเลย จนถึงอายุ 45 วัน หลังจาก 10 วัน ที่เราลงแปลงปลูกไปแล้ว เราจะใส่ปุ๋ยตามลำดับที่เราต้องการครับ ปุ๋ยที่ใส่จะเป็นสารละลายที่เอามาใส่ในน้ำ คนในวงการไฮโดรโปนิกส์จะรู้จักกันดีครับ เป็นปุ๋ยที่มีสารอาหารทั่วไป แต่อยู่ในรูปของสารละลาย ก็มีพวกไนโตรเจน ธาตุเหล็กอยู่ในนั้นครับ เราก็ใส่ลงไปในน้ำ มาผสมตามสูตรที่เราต้องการ เราก็ให้สารละลายตัวนี้ให้ผ่านไปกับน้ำ พืชก็จะดูดกินได้ ผักก็จะโต”

ทั้งนี้ คุณสรชัช ยังเล่าต่ออีกว่า การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องที่จุกจิก หากลงมือพลาดก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผักที่ปลูกได้ รวมถึงต้องระมัดระวังในเรื่องของโรคและแมลงที่มักจะรบกวนได้ เช่น โรคใบจุด หนอน เพลี้ย และแมลงต่างๆ สามารถป้องกันได้ด้วยการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในโรงเรือน

“ถามว่าการดูแลยากไหม ยากครับ เพราะมีหลายขั้นตอน ก็คือในทุกๆ วันจะต้องไปเติมน้ำ เพราะผักต้องกินสารละลายผ่านน้ำ น้ำก็หายไปในทุกๆ วัน เราก็ต้องเติมน้ำ ใส่ปุ๋ย ดูหนอนอะไรแบบนี้ครับ แต่ประมาณ 4-5 เรื่อง ก็เป็นงานที่แบบจุกจิก ถ้าเกิดเราพลาดไป ผักก็อาจจะเสียหายได้ครับ ในส่วนของโรคจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ โรคทางใบ เช่น โรคใบจุด และโรคเกี่ยวกับแมลง เช่น หนอน เพลี้ย หลักๆ ก็ 2 เรื่องครับ”