คุณทวี เล่าต่อว่า หลังจากกลับมาบ้านตนเริ่มศึกษาการทำ

อย่างจริงจัง ศึกษาจากเพื่อนบ้านบ้าง ศึกษาจากหนังสือบ้าง สนใจอยากรู้เรื่องอะไร ก็จะไปหาซื้อหนังสือมาอ่าน เพราะมีความเชื่อที่ว่าก่อนที่จะลงมือทำอะไร จะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ ก่อน แต่ถึงแม้จะอ่านหรือศึกษาหาข้อมูลอย่างดีสักแค่ไหน ทฤษฎีกับการปฏิบัติก็ไม่เหมือนกันไปทั้งหมด แต่ควรนำทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ซึ่งกว่าที่ตนจะประสบผลสำเร็จอย่างทุกวันนี้ก็มีการลองผิดลองถูก ล้มลุกคลุกคลานมาหลายอย่างแล้วเช่นกัน

เริ่มจากการทำปศุสัตว์เลี้ยงหมู เริ่มต้นเลี้ยงหมู 10 ตัว 4 เดือน จับขาย 1 ครั้ง ทำตอนแรกได้กำไรดี เพราะตอนนั้นหมูกำลังมีราคา พอได้ราคาดีจึงวางแผนที่จะเลี้ยงเพิ่ม จาก 10 ตัว เป็น 40 ตัว แบ่งการเลี้ยงเป็นรุ่น รุ่นละ 10 ตัว จับขายหมุนเวียนกันไป แต่อาชีพเลี้ยงหมูก็ไม่เป็นอย่างที่หวัง เมื่อเลี้ยงไปถึง รุ่น 3-4 หมูราคาตก เลี้ยงไปมองไม่เห็นทุนเห็นกำไร จึงหยุดเลี้ยงหมู แต่ก็ยังไม่หยุดความพยายามหันมาศึกษาเรื่องเลี้ยงโคขุนอีก เพราะช่วงนั้นโคขุนกำลังมาแรง ราคาขายก็สูง จึงเห่อตามกระแสเลี้ยงตามคนอื่น เพราะหวังอยากจะรวย

แต่ลืมคิดไปว่าตัวเองไม่มีตลาดเหมือนอย่างคนอื่น และอีกอย่างราคาก็ผันผวน เพราะพ่อค้าเขาปั่นราคา เราก็ไปสู้กับพ่อค้าที่เขาอยู่มานานไม่ได้ ก็ต้องเลิกรากันไปกับการเลี้ยงโคขุน ซึ่งหลังจากผิดหวังจากการเลี้ยงหมู เลี้ยงวัวแล้ว ก็พอจะเข้าใจได้ว่าตัวเองคงไปไม่รุ่งในทางสายปศุสัตว์ จึงหยุดอาชีพเลี้ยงสัตว์ แล้วมาลองอีกสักตั้งกับงานเกษตร ปลูกพืชพื้นบ้านใกล้ตัว ที่คนแถวบ้าน หรือละแวกใกล้เคียงนิยมบริโภค คือ ผักพายน้อย ซึ่งอาจจะรุ่งก็ได้ เพราะมีตลาดในจังหวัดรองรับอยู่แล้ว คุณทวี กล่าวถึงความเป็นมาก่อนที่จะมาปลูกผักพายน้อยเป็นอาชีพจนประสบผลสำเร็จ

เริ่มต้นปลูก 100 ตารางเมตร ขยายเป็น 1 ไร่
สร้างรายได้ 250,000 ต่อปี
เจ้าของบอกว่า หลังจากที่หยุดทำด้านปศุสัตว์แล้ว ทำไมถึงเลือกมาปลูกผักพายน้อย มีหลายเหตุผลด้วยกันคือ

ผักพายน้อย เป็นพืชพื้นบ้าน คนภาคอีสานนิยมบริโภค
มีคนปลูกน้อย ตลาดไปได้อีกไกล
ผักพายน้อย เป็นผักที่ใช้พื้นที่น้อยในการปลูก แต่สร้างรายได้ดี
ระยะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว แค่ 2 เดือน
ปลูก 1 รุ่น พื้นที่ 2 งาน เก็บเกี่ยวได้นาน 4 เดือน ถ้าวางแผนปลูกให้มีขายตลอดทั้งปี ก็จะมีรายได้ดีกว่าปลูกพืชชนิดอื่น หลังจากที่วิเคราะห์ข้อดีของผักพายน้อยไปแล้ว เจ้าของเล่าต่อว่า ครั้งแรกตนเริ่มปลูกผักพายน้อยเพียง 100 ตารางเมตร แต่สามารถทำเงินได้หลักหมื่น ในเวลาเพียง 2 เดือน จึงเริ่มมองเห็นอนาคตมาตั้งแต่ตอนนั้น ถ้านับเวลาการปลูกผักพายน้อยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบันก็นานกว่าสิบปีแล้ว

“แรกๆ ก็ปลูกตามฤดู แต่ลองมาวิเคราะห์การตลาดดูแล้ว ถ้ายังทำในฤดูไปเรื่อยๆ ราคาอาจจะถูก เพราะใครๆ ก็ปลูกได้ ตนจึงคิดค้นหาวิธีที่จะทำยังไงให้ปลูกนอกฤดูได้ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม”

วิธีการปลูก
เจ้าของบอกว่า ผักพายน้อย เป็นผักที่มีเมล็ดเล็กมากๆ เมื่อหว่านลงแปลงแล้วแทบมองไม่เห็น จะกลมกลืนไปกับดินเลย ผักพายน้อย เป็นพืชที่ชอบดินธรรมชาติ ปุ๋ยเยอะไปก็ไม่ชอบ น้ำที่ใช้ปลูกก็ต้องเป็นน้ำจากธรรมชาติ เช่น น้ำคลอง น้ำฝน หรือถ้าเป็นน้ำบาดาลถ้ากร่อยมากไปก็จะไม่ขึ้น ช่วงตั้งแต่เริ่มปลูกให้มุงซาแรนกรองแสง 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อไม่ให้แสงแดดโดนใบเยอะไป จะทำให้ใบไม่สวย

ขั้นตอนการปลูก
ไถคราดแปลงที่จะปลูก แล้วปล่อยน้ำเข้าแปลงให้เป็นน้ำตม เทคนิคการเตรียมดินคือ จะไม่เน้นไถกำจัดวัชพืช ด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้าไถกำจัดวัชพืชมากไป ถ้าดินไม่ดี เมื่อหว่านเมล็ดไปรากจะไม่เกาะ ทำให้รากลอย ปล่อยให้มีหญ้าบ้างรากหญ้าที่ไม่เปื่อยจะช่วยยึดเกาะรากผักพายน้อยที่เกิดมาใหม่ๆ
หว่านเมล็ดพันธุ์ 3-4 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 งาน หลังจากหว่านเมล็ดเสร็จ ทิ้งไว้ 1-2 วัน ให้น้ำแห้ง แล้วปล่อยน้ำเข้าแปลงให้ท่วมสูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร อย่าให้ขาด เพราะถ้าน้ำขาดจะทำให้วัชพืชขึ้นได้
เมื่อผักพายน้อย อายุครบ 1 เดือน ให้ลดน้ำลง ให้ใบจริงผักพายน้อยแตกออก
หลังจากลดน้ำลง ให้เริ่มใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 ปริมาณ 1 กิโลกรัม ต่อ 1 งาน เมื่อผักพายน้อย อายุได้ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 20 กิโลกรัม ต่อ 1 งาน ระยะการหว่านปุ๋ย 10 วัน หว่าน 1 ครั้ง
ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ใช้ระยะเวลา 2 เดือน 1 งาน เก็บผลผลิตได้นาน 4-5 เดือน 10 วัน เก็บ 1 ครั้ง

“ลักษณะการแบ่งพื้นที่ในการปลูกจะปลูกไม่เยอะ วางแผนปลูก ครั้งละ 1-2 งาน ถ้าปลูกมากไปจะเก็บไม่ทัน 1 ปี คิดเป็นพื้นที่ปลูกรวมทั้งหมดประมาณ 1 ไร่กว่า พอรุ่นแรกเริ่มวาย ให้เริ่มปลูก รุ่นที่ 2 เสริมไปเรื่อย”

เทคนิคปลูกนอกฤดู
เทคนิคปลูกนอกฤดู เจ้าของบอกว่า ใช้เวลาคิดค้นอยู่นานหลายปี พอดีมีโอกาสได้เข้าร่วมอบรมเรื่องพืชที่ไวต่อแสง จึงเก็บข้อมูลแล้วมาวิเคราะห์ว่า ผักพายน้อย ก็น่าจะเป็นพืชที่ไวต่อแสงเช่นกัน จึงนำความรู้จากการที่ได้ไปอบรมนำมาประยุกต์ใช้กับการปลูก คือผักพายน้อย ถ้าปลูกช่วงฤดูร้อนเวลากลางวันจะเยอะ แสงจึงเพียงพอ ผักเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าหน้าหนาวแสงจะน้อย กลางคืนจะมากกว่ากลางวัน ผลผลิตจะออกยากและออกน้อย จึงลองใช้หลักเดียวกันกับพืชที่ไวต่อแสง ถ้าตอนกลางคืนลองเพิ่มแสงแล้วผลจะดีขึ้นไหม วิธีการเพิ่มแสงก็คือ ในเวลากลางคืนจะใช้หลอดไฟตะเกียบ ขนาด 100 วัตต์ เว้นช่วงติด 5-6 เมตร ต่อ 1 หลอด แบ่งช่วงการเปิดเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 เปิดตั้งแต่ตะวันตกดินจนถึงตอน 1 ทุ่มกว่าๆ ช่วงที่ 2 เริ่มเปิดตั้งแต่ตี 5 ถึงฟ้าสว่าง ถือเป็นการชดเชยแสงช่วงหน้าหนาวที่พระอาทิตย์ตกไว วิธีนี้ทำแล้วได้ผลดีมากและดีมาตลอด จนเพื่อนบ้านแถวนี้เห็นทำสำเร็จก็นำไปทำตามกันเป็นจำนวนมาก

ต้นทุนการผลิต ลงทุนหนักครั้งแรก
ครั้งต่อไปรับกำไรอย่างเดียว
สำหรับการลงทุนในการปลูกผักพายน้อย คุณทวี บอกว่า จะหนักในครั้งแรก เพราะต้องลงทุนขุดบ่อกักเก็บน้ำ ค่าปั๊มน้ำ ค่าซาแรน ค่าหลอดไฟ และค่าเมล็ดพันธุ์ ราคากิโลกรัมละ 3,000 บาท ซึ่งถ้าใครทำจนชำนาญแบบตนแล้ว ก็สามารถเก็บเมล็ดมาเพาะปลูกเองได้ หรือถ้ามือใหม่ตนก็มีขายให้ ซึ่งเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ต้องใช้เวลาในการเก็บนานพอสมควร เพราะเมล็ดเล็กมาก ส่วนเรื่องรายได้ ถ้าปีไหนทำได้ดี ผลผลิตออกเยอะ กำไรก็ถึงแสนห้า ต่อไร่ ราคาเป็นไปตามฤดูกาล เดือนมีนาคม-เมษายน ราคา 40 บาท ต่อกิโลกรัม เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และตุลาคม-ธันวาคม ราคา 30 บาท ต่อกิโลกรัม เดือนสิงหาคม-กันยายน ราคา 20 บาท ต่อกิโลกรัม

การตลาด เป็นไปได้ดี ปลูกมาสิบกว่าปีราคาตกแบบนับครั้งได้ และแนะนำให้เกษตรกรปลูกเอง ขายเอง อย่างตนตอนนี้ทั้งปลูกเอง ขายเอง และรับจากสวนอื่นไปขายด้วย ซึ่งในวงการผัก ถ้าผักชนิดไหนปลูกเอง จะได้เปรียบคนอื่นหน่อย เพราะเราสามารถวางแผนการปลูกให้มีผลผลิตส่งได้ตลอดทั้งปี พ่อค้าแม่ค้าก็จะรับของเราตลอด เพราะเขาเชื่อใจ

อนาคต ผักพายน้อย ยังไปได้ดี
เจ้าของบอกว่า ผักพายน้อย ถือเป็นพืชสวนกระแส ในขณะที่ผักชนิดอื่นราคาตกใส่ถุงชั่งขาย 5-10 กิโลกรัม ราคา 20 บาท ยังไม่มีคนอยากจะซื้อ แต่ผักพายน้อยทำขายทุกวันนี้ ตนแพ็กใส่ถุงขาย ถุงละ 5 กิโลกรัม ราคา 210 บาท พ่อค้าแม่ค้าแย่งกันซื้อ แต่ทั้งนี้ทุกอย่างก็ต้องขึ้นอยู่บนความพอดี มากไปน้อยไปก็ไม่ดี ขณะนี้ผักพายน้อยถือเป็นที่นิยมของพี่น้องคนอีสานตลาดเลยยังไปได้ดี และอีกอย่างคนปลูกยังมีน้อย ราคาจึงดี มีไม่กี่จังหวัดในภาคอีสานที่ปลูกได้ ที่จังหวัดอุบลราชธานีนับว่ามีพื้นที่การปลูกเยอะที่สุด ส่วนจังหวัดอื่นข้างเคียง อย่างจังหวัดสุรินทร์ก็มีปลูกบ้าง แต่ถ้าถึงนอกฤดูทางสุรินทร์ก็ยังผลิตเองไม่ได้ ก็ต้องขึ้นมารับของที่นี่อยู่ดี

ฝากถึงเกษตรกรมือใหม่
ผักพายน้อย ถือว่าเป็นพืชที่ปลูกยาก มีความซับซ้อนอยู่ในตัว ขอแนะนำมือใหม่หากอยากจะปลูกต้องศึกษาข้อมูลและมีความรู้พื้นฐานอยู่บ้าง หรือบางท่านปลูกได้แต่ไม่มีตลาดรองรับก็จบ ที่ผ่านมามีคนจากหลายจังหวัดทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง โทร.มาถามมาปรึกษาก็จะแนะนำให้เขาหาตลาดก่อน ส่วนเรื่ององค์ความรู้การปลูกสามารถโทร.มาปรึกษาเราได้ตลอด ยินดีให้ความรู้ เพราะผมกว่าจะมีทุกวันนี้ก็เคยผิดหวัง ผิดพลาดมาแล้วเหมือนกัน คุณทวีกล่าวทิ้งท้าย

หลังจาก อย. เผย กฎกระทรวงฯ กัญชงฉบับใหม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 29 มกราคม 2564 เป็นต้นไป เปิดให้ทุกภาคส่วนทั้งเกษตรกร ภาครัฐ เอกชน ประชาชน และบุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขออนุญาตและนำกัญชงไปใช้ได้ในทุกวัตถุประสงค์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งกิ่ง ก้าน ใบ ราก ลำต้น และดอก ถือเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับเกษตรกรทั่วไปที่มองแห่งช่องทางการสร้างรายได้จากส่วนนี้

ทนพ.ปิยะวิทย์ สาสุข หรือ พี่เนป เลขที่ 121 หมู่ที่ 3 บ้านลำภูพาน ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย นักเทคนิคการแพทย์ ผันตัวเป็นเกษตรกรเจ้าของไร่สาสุข ที่เริ่มต้นมาจากการเลี้ยงไส้เดือน และทันทีที่มีการปลดล็อกให้ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจได้ นักเทคนิคการแพทย์ท่านนี้ก็ไม่รอช้าที่จะเตรียมตัวขออนุญาตเพื่อที่จะปลูกกัญชงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยอาศัยความได้เปรียบจากอาชีพเดิมที่เคยทำมาประกอบจนสามารถขอใบอนุญาตการปลูกกัญชงมาได้สำเร็จ

พี่เนป เล่าถึงที่มาของการเริ่มต้นปลูกกัญชงให้ฟังว่า เดิมทีไร่สาสุขจะปลูกข้าวเป็นหลัก แต่ด้วยสถานการณ์ราคาข้าวที่ต่ำลง ทำแล้วแทบไม่เห็นกำไร จึงมีความคิดมองหาพืชตัวใหม่มาปลูกแทน จนในช่วงต้นปีที่ผ่านมาได้มีกฎหมายปลดล็อกให้ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจได้ ตนเองก็ได้เล็งเห็นว่ากัญชงเป็นอีกพืชที่น่าสนใจ เพราะลองมองตลาดดูแล้วราคาค่อนข้างสูง จึงตัดสินใจปลูก พร้อมทั้งหาตลาดรองรับไว้ล่วงหน้า เนื่องจากกัญชงจะต้องมีสัญญาการซื้อขายเพื่อนำมาประกอบในการขอใบอนุญาต โดยในขั้นตอนการขอใบอนุญาตสำหรับการปลูกกัญชงค่อนข้างต้องใช้เวลานาน

โดยที่ไร่เริ่มทดลองปลูกกัญชงในปีแรกบนพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน เลือกปลูกสายพันธุ์รับรอง RPF3 จากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ จุดประสงค์เพื่อต้องการเมล็ดไปแปรรูปใช้ทำอาหารโดยเฉพาะ ซึ่งสายพันธุ์ RPF3 ตอบโจทย์ความต้องการตรงที่จะมี THC ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ ตรงกับกฎข้อบังคับสำหรับสกัดแปรรูปนำไปทำอาหาร

เกษตรกรทั่วไปอยากปลูกกัญชง
ขอใบอนุญาตปลูกอย่างไร?
สำหรับเกษตรกรทั่วไป รวมถึงบุคคลธรรมดาที่สนใจอยากเริ่มต้นปลูกกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจนั้นต้องทำอย่างไร พี่เนป อธิบายจากประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมาว่า ขั้นตอนแรกเริ่มต้นจากการขอใบอนุญาต นับเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานพอสมควร อย่างที่ไร่สาสุขของตนเอง ใช้ระยะเวลากว่า 5 เดือนในการขอใบอณุญาต โดยจะแบ่งออกเป็นขั้นตอนดังนี้

ติดต่อ สสจ. (เอกสาร+หนังสือคำขอ) อันดับแรกต้องไปที่ สสจ. เพื่อไปพูดคุยรายละเอียดการปลูก และปรึกษากระบวนการขออนุญาตปลูกกับทาง สสจ. พร้อมทั้งขอเอกสารและแบบฟอร์มประกอบการอนุญาต
ขอประวัติอาชญากรรม ต่อจากขั้นตอนที่ 1 เมื่อได้หนังสือคำขอจาก สสจ. แล้วจึงนำไปใช้ประกอบการยื่นขอประวัติอาชญากรรม ที่พิสูจน์หลักฐาน ซึ่งการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมจะใช้เวลาตรวจสอบ 1-2 สัปดาห์ ถ้าประวัติไม่มีปัญหาเพียงแค่สัปดาห์เดียวก็ดำเนินการเสร็จ แล้วทางพิสูจน์หลักฐานจะติดต่อให้มารับเอกสาร
ขอหนังสือบุคคลล้มละลายและใบรับรองแพทย์ ทั้งหนังสือรับรองว่าไม่เป็นบุคคลล้มละลายและใบรับรองแพทย์ จะใช้เพียงแค่บัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้น โดยรอเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็จะได้ใบรับรองมาแล้ว

ติดต่อเมล็ดพันธุ์ แหล่งรับซื้อ การติดต่อแหล่งขายเมล็ดพันธุ์ และแหล่งรับซื้อผลผลิตนั้น เป็นหัวใจสำคัญหลักอีกข้อที่จะต้องระบุแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ให้ชัดเจน และจะปลูกเพื่อเอาไปขายที่ไหน ขายอย่างไร เพราะถ้าให้ข้อมูลในสองข้อนี้ไม่ชัดเจน จะส่งผลให้การขออนุญาตอาจจะไม่ผ่าน (ส่วนนี้ให้ข้อมูลในกรณีของเกษตรกรทั่วไปที่ปลูกกัญชงเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม)

จัดเตรียมเอกสาร ขั้นตอนการเตรียมเอกสารถือเป็นขั้นตอนที่ยากสำหรับท่านที่ไม่ถนัด โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้ 1. แบบกัญชง 1 2. แผนการผลิต (ปลูก) 3. มาตรการรักษาความปลอดภัย 4. หนังสือให้ความยินยอมจากผู้ให้เช่า 5. รูปถ่ายผู้ดำเนินการ ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป 6. สำเนาบัตรประชาชน 7. สำเนาทะเบียนบ้าน 8. ใบรับรองแพทย์ 9. หนังสือรับรองว่าไม่เป็นบุคคลล้มละลาย 10. ประวัติอาชญากรรม 11. เอกสารประกอบอื่นๆ และนอกจากเอกสารที่ อย. กำหนดแล้ว ทั้งสัญญาที่กล่าวอ้างในแบบฟอร์ม กัญชง 1 ควรจะมีหลักฐานมาประกอบ

จัดเตรียมสถานที่ การจัดเตรียมสถานที่หลักๆ จะเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัย ซึ่งจำเป็นจะต้องมีภาพถ่ายเพื่อใช้ประกอบการขออนุญาตปลูก โดยมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เขียนในแบบฟอร์มจะต้องมีหลักฐานยืนยันเป็นภาพถ่าย เช่น รั้วรอบแปลงปลูก ความสูงของรั้ว ประตูเข้าแปลงปลูก สถานที่เก็บผลผลิตกัญชง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรูปแบบการปลูกกัญชงแต่ละแบบจะมีมาตรฐานที่ต่างกันออกไป หากปลูกเพื่อเอาเส้นใยก็จะมีมาตรฐานความปลอดภัยอีกแบบหนึ่ง การปลูกเพื่อเอาช่อดอกและการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ดก็จะต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การปลูก

ยื่นเอกสาร เมื่อจัดเตรียมเอกสารและสถานที่เสร็จเรียบร้อยก็สามารถนำเอกสารมายื่นที่ สสจ. ได้เลย โดยหลังจากการยื่นเอกสาร ทาง สสจ. จะตรวจสอบเอกสาร ถ้ามีรายละเอียดส่วนไหนที่ผิด หรือต้องปรับแก้ สสจ. จะให้นำเอกสารกลับไปปรับแก้ใหม่ ซึ่งในระหว่างที่รอทาง สสจ.ติดต่อกลับเพื่อนัดวันลงพื้นที่ตรวจแปลงกัญชง เกษตรกรไม่สามารถที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการปลูกใดๆ ได้เลย จะต้องรอให้ได้รับอนุญาตปลูกก่อนเท่านั้น ถึงจะสามารถดำเนินการปลูกกัญชงได้
เตรียมแปลงปลูกกัญชง การลงพื้นที่ตรวจแปลงปลูกกัญชง ทาง สสจ. จะติดต่อผู้ขออนุญาตปลูกเพื่อพูดคุยรายละเอียดการลงพื้นที่ตรวจ โดยหลักๆ จะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลของผู้ขออนุญาตปลูกและข้อมูลการปลูก ให้กับคณะกรรมการฟัง

ซึ่งผู้ที่จะนำเสนอเป็นเจ้าหน้าที่ ของทาง สสจ. จัดทำการนำเสนอเอง ส่วนผู้ขออนุญาตปลูกจะต้องตัดเตรียมข้อมูลภาพถ่ายส่งให้กับเจ้าหน้าที่ของทาง สสจ. เพื่อไปใช้ประกอบการนำเสนอ โดยหลักๆ จะเป็นไฟล์ภาพถ่ายสถานที่ของแปลงปลูก และภาพถ่ายมาตรการรักษาความปลอดภัย หรือพูดง่ายๆ คือ เป็นภาพถ่ายชุดเดียวกับที่ใช้ประกอบในเอกสารขออนุญาตปลูกนั่นเอง

และหลังจากการลงพื้นที่ตรวจแปลงเสร็จ ในวันเดียวกันนั้นทางคณะกรรมการจะประเมินทันทีว่าผู้ขออนุญาตจะผ่านการพิจารณาการขออนุญาตหรือไม่ ถ้าไม่ผ่านกรรมการจะแจ้งกับเกษตรกรโดยตรง และให้มีการปรับแก้ไข แต่ถ้าไม่มีปัญหาอะไร การขออนุญาตผ่านการประเมินทางคณะกรรมการก็จะแจ้งผลกับเกษตรกรโดยตรงเช่นเดียวกัน แล้วหลังจากนั้นทาง สสจ. ดำเนินการเอง เพื่อให้ได้เอกสารยืนยันว่าเราขออนุญาตปลูกผ่านเรียบร้อยแล้ว

โดยในวันตรวจแปลงจริงจะมีคณะกรรมการมายังแปลงทั้งคณะกรรมการและผู้ติดตาม โดยสถานที่แรกจะเป็นโรงพยาบาล เมื่อประชุมเสร็จทางผู้ขออนุญาตจะเป็นผู้นำทางคณะกรรมการทั้งหมดมาที่แปลงปลูกด้วยตัวเอง โดยคณะกรรมการหลักๆ ที่ลงพื้นที่ตรวจ ได้แก่ นายอำเภอ, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประจำอำเภอ, ผู้กำกับสถานีตำรวจประจำอำเภอ, สาธารณสุขอำเภอ, เกษตรอำเภอ, ตัวแทนจาก สสจ., และคณะกรรมการอื่นๆ ตามที่มีการแต่งตั้ง พี่เนป เผยถึงขั้นตอนการขอใบอนุญาต

เป็นที่ทราบกันดีว่า “ชมพู่เพชรสายรุ้ง” เป็นผลไม้ชั้นดีและเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเพชรบุรี รสชาติของชมพู่เพชรสายรุ้งจะมีความหวาน กรอบ ผิวมีสีแดงปนเขียวขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส ชมพู่จะมีสีชมพูไปถึงแดงได้ แต่หากอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส ชมพู่จะมีสีชมพูปนเขียว แต่เรื่องความหวานไม่เป็นปัญหา ถือเป็นที่สุดอีกสายพันธุ์หนึ่ง และมีราคาจำหน่ายที่ดีมาตลอด ชาวสวนบอกว่าราคาจำหน่าย กิโลกรัมละ 300 บาท มาตั้งแต่ ปี’50 ถือได้ว่าชมพู่เพชรสายรุ้งได้กลายเป็นไม้ผลเศรษฐกิจทำเงินของเพชรบุรี และทำให้เกษตรกรเมืองเพชรกลายเป็นเศรษฐีมาหลายรายแล้ว

คุณประมวล ธาตุทอง (คุณเก) อยู่บ้านเลขที่ 74 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เกษตรกรผู้ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง สืบทอดอาชีพมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่รุ่นปู่ คุณเก เล่าว่า ตนเรียนจบปริญญาตรี สาขาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร แต่จบมาแล้วไม่ได้ทำงานตามสายที่เรียนมา มุ่งสานต่ออาชีพเป็นเกษตรกรปลูกชมพู่เพชรสายรุ้งที่สืบทอดกันมาของที่บ้านเลย โดยชมพู่ต้นแรกของที่บ้านปลูกมาถึงปัจจุบันมีอายุกว่า 58 ปี สามารถทำเงินได้ดีมาตลอด

“ตอนนี้ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง 1 ไร่ ขายทั้งผลสด และกิ่งพันธุ์ ผลผลิตที่ได้ 2-3 ตัน ต่อไร่ อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่มากไม่น้อยไป ส่วนเรื่องรสชาติความหวาน และผิวสวยสีแดงสวย ต้องทำให้ได้มากกว่าที่อื่น”

จุดเด่น ของ ชมพู่เพชรสายรุ้งของ “สวนชมพู่ลุงไพฑูรย์”
ผิวต้องแดง รสชาติต้องหวานไม่ต่ำกว่า 13 บริกซ์
คุณเก บอกว่า การดูแลผิวชมพู่ทำให้สวยได้ไม่ยาก แต่ที่ยากคือ ทำอย่างไรให้ชมพู่มีรสหวาน ชมพู่ของที่นี่จะมีจุดเด่น 2 อย่าง คือ

สีสันต้องสวย ถ้าของคนอื่นทำได้สีชมพู สมัคร WinningFT ที่สวนไพฑูรย์ต้องทำได้สีแดง ถ้าของที่อื่นทำได้สีแดง สวนไพฑูรย์ต้องสีแดงเข้มกว่า อย่างน้อย 20-30 เปอร์เซ็นต์ สีสันต้องสวยกว่าของที่อื่นแน่นอน ไม่อย่างนั้นจะขายแพงไม่ได้ ขายกิโลกรัมละ 300 บาท มานานกว่าสิบปีแล้ว
ความหวาน ถ้าออกมาจากสวนลุงไพฑูรย์ต้องมีความหวานไม่ต่ำกว่า 13 บริกซ์ มากกว่าที่ทางหน่วยงานราชการกำหนดไว้ ซึ่งทางหน่วยงานราชการได้กำหนดไว้ว่า หากใครจะขายชมพู่เพชรสายรุ้งจะต้องทำความหวานได้ไม่ต่ำกว่า 11 บริกซ์ แต่ชมพู่สวนไพฑูรย์จะสร้างมาตรฐานส่วนตัวไว้ อยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 13 บริกซ์ เพราะเหตุผลส่วนตัวคิดว่า ความหวาน 11 บริกซ์ อาจจะน้อยเกินไปเวลาที่ลูกค้าได้สัมผัสอาจจะไม่มั่นใจ ว่านี่คือ ชมพู่เพชรสายรุ้ง แต่ถ้า 13 บริกซ์ กัดเข้าไปจะรู้ได้เลยว่านี่แหละคือ ชมพู่เพชรสายรุ้ง

เทคนิคการปลูกดูแลให้ผิวสวย ต้องห่อผล 2 รอบ
รสชาติหวานกว่าที่อื่น ต้องหว่านเกลือ พ่นน้ำตาล
เจ้าของ บอกว่า ก่อนที่จะไปรู้ถึงเทคนิคการปลูกทำให้ชมพู่หวาน ผิวสวย จะต้องรู้ถึงธรรมชาติของต้นชมพู่ก่อน ชมพู่เป็นพืชที่ปลูกดูแลไม่ยาก เพราะเป็นพืชที่หากินเก่ง ทนต่อสภาพน้ำท่วมได้ดีมาก ถ้าน้ำท่วมสามารถทิ้งต้นไว้ได้เลย 3 เดือน แช่ขังไปได้เลยต้นไม่ตาย เป็นพืชที่ปลูกง่าย แต่ช่วงแรกสำคัญต้องให้น้ำอย่าให้ขาด หลังจาก 1 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยคอกบำรุง

การดูแลให้ผิวสวย รสหวาน ชมพู่ใช้เวลา 3 เดือน ในการผลิดอกออกผล ดอกผลิจนใกล้บานใช้เวลา 1 เดือน และใช้เวลาบานจนห่อได้อีก 1 เดือน ก่อนห่อผลให้ฉีดน้ำล้างช่อดอก เพื่อทำความสะอาดช่อดอก จากนั้นเริ่มห่อผลชมพู่ได้เลย ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตให้งดน้ำอย่างน้อย 5-7 วัน และต้องเก็บชมพู่ที่แก่เพื่อคุณภาพ

วิธีการห่อให้ผลสวย ห่อครั้งแรกห่อด้วยถุงมืดทั่วไป ห่อเสร็จเริ่มให้อาหารทางใบ หรือทางโคนต้น สามารถให้ได้เลย เปรียบเสมือนผู้หญิงเวลาตั้งครรภ์ ต้องมีการบำรุงเป็นพิเศษ ต้นชมพู่ก็เช่นกันเพราะตอนนี้ต้นมีลูก จำเป็นต้องมีการบำรุงให้ดี ให้อาหารทุกๆ 7 วัน เป็นฮอร์โมน ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ก่อนเก็บผลผลิต 3-5 วัน ให้เปลี่ยนจากถุงมืดเป็นถุงใส เมื่อเปลี่ยนจากถุงมืดเป็นถุงใส ชมพู่จะมีการคายน้ำมากขึ้น เพราะอยู่ในอากาศร้อน เมื่อชมพู่คายน้ำมากขึ้น สีสันก็จะสวยมากขึ้น เพราะพืชสามารถสังเคราะห์แสงได้ด้วยตัวเอง และประโยชน์อีกอย่างคือ ทำให้เจ้าของสวนเก็บง่ายขึ้น ถุงใสจะช่วยให้มองเห็นได้ง่ายขึ้นว่าชมพู่ช่อนี้เป็นอย่างไร ลูกใหญ่หรือลูกเล็ก หวานน้อยหรือหวานมาก

“ที่สวนต้องการเก็บของสดที่สุด ถ้าออเดอร์สั่งบ่าย จะตัดตอนเช้า ถ้าสั่งเช้าจะเก็บเย็นไว้นิดหน่อยและเก็บตอนเช้าเพิ่ม เพราะต้องการให้ชมพู่สดที่สุด ถ้าเก็บไว้ก่อนชมพู่ถ้าเด็ดจากขั้วที่ต้นแล้ว อยู่ในอุณหภูมิปกติได้ไม่เกิน 3 วัน เข้าวันที่ 2 ผลจะเริ่มนิ่ม เพราะในผลชมพู่มีน้ำเยอะ จึงมีการคายน้ำได้เร็ว