คุณนิพนธ์ บอกด้วยว่า จะเร่งดำเนินการสำรวจให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

เพื่อนำไปเชื่อมโยงและกำหนดในแผนที่ท่องเที่ยวร่วมกับผู้ประกอบการและเครือข่ายต่อไป โดยระดมพลังจากเจ้าของต้นมังคุด พระ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำในท้องถิ่น ประธาน ศพก. โดยการอำนวยความสะดวกและจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจ ถ่ายภาพ จับพิกัด GPS และจัดหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อจัดทำ Story มังคุดโบราณ เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยววิถีเกษตร และท่องเที่ยวชุมชนที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้

คุณวิเชียร มัชณิกะ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอลานสกา หมู่ที่ 1 ตำบลลานสกา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เล่าว่า ศักยภาพของอำเภอลานสกาอยู่ท่ามกลางหุบเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีอากาศบริสุทธิ์ มีน้ำสะอาด มีธรรมชาติที่งดงาม ทั้งน้ำตก ถ้ำ ภูเขา แหล่งน้ำธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และอาชีพการเกษตรที่หลากหลาย หรือ “สวนสมรม” หรือเกษตรผสมผสาน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมั่นคงทางอาหารของคนลานสกาที่มีพร้อม และอยู่ใกล้กับตัวเมืองนครศรีธรรมราช แค่ 20 กิโลเมตร ใกล้สนามบิน ใกล้สถานีรถไฟ ทำให้ลานสกาเป็นเสน่ห์ทางการท่องเที่ยวอยู่ในลำดับต้นๆ ของจังหวัด

จังหวัดนครศรีธรรมราช มีศักยภาพทางการเกษตร เป็นพื้นที่ที่มีมังคุด เงาะ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด จำปาดะ สะตอ พืชผักพื้นเมืองที่ปลอดสารพิษ สินค้าแปรรูปทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อ เช่น ทุเรียนกวน มังคุดกวน สะตอดอง ลูกประดอง โดยเฉพาะมังคุดโบราณ และมังคุดภูเขาที่เป็นสินค้าทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของอำเภอลานสกาที่มีความเป็นที่สุดอยู่ในตัว

ท่านใดสนใจอยากมีส่วนร่วมและเสริมพลังชีวิตตามสโลแกน “เกิดมาหนึ่งชาติขอได้กราบพระธาตุเมืองนครฯ” และผู้เขียนต่อให้ว่า “และได้มานอนลานสกา” (อากาศดีที่สุดในประเทศไทย) “และได้ทานมังคุดโบราณ ลานสกา” แม้เพียงผลเดียวจะเกิดเป็น “ไตรความสุข” ความเป็นที่สุดและมงคลชีวิต จะเกิดขึ้นกับตัวท่านและครอบครัวเมื่อได้สัมผัส ณ บัดนั้น

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยส่งออกผลิตภัณฑ์ผลไม้ปี 2559 มูลค่าสูงถึง 119,630 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 ผลิตภัณฑ์ผลไม้สดมาแรง สัดส่วนส่งออกมากที่สุดร้อยละ 27 ที่มูลค่า 32,412 ล้านบาท ในจำนวนนี้ร้อยละ 52 มีทุเรียนเป็นพระเอก สร้างมูลค่าส่งออกราว 16,800
ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ลำไย มังคุด เงาะ และลองกอง คาดปี 2560 ผลไม้สดจะส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 40,000 ล้านบาท

ส่วนผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งแนวโน้มส่งออกโตแบบก้าวกระโดด ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 53 ที่มูลค่าราว 10,910 ล้านบาท ชี้ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ ในอนาคตจะปรับเป็นแบบผง หรือพร้อมชงมากยิ่งขึ้น หนุนพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก ระยอง จันทบุรี และตราด ใช้จุดแข็งเป็นพื้นที่ผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพ พัฒนาคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปสู่ตลาดส่งออกควบคู่ไปด้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปอย่างยั่งยืน

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า ในปี 2559 ที่ผ่านมา ประเมินว่าไทยมีปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ผลไม้ทั้งหมด 2.8 ล้านตัน มูลค่า 119,630 ล้านบาท มีอัตราเติบโตร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปี 2558 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ13 ของมูลค่าส่งออกอาหารไปต่างประเทศทั้งหมด โดยมีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน เวียดนาม และฮ่องกง ตามลำดับ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าส่วนใหญ่ของสหรัฐกว่าร้อยละ 80 เป็นการนำเข้าน้ำผลไม้ และสับปะรดกระป๋อง แตกต่างจากจีนและฮ่องกง ที่การนำเข้าส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 และร้อยละ 80 ตามลำดับ เป็นการนำเข้าผลไม้สดจากไทย โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็นผลไม้ที่ชาวจีนนิยมบริโภคอย่างมาก ส่วนเวียดนามมีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงที่สุดถึงร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็นการนำเข้าในลักษณะเพื่อไปขายต่อให้กับประเทศจีนซึ่งมีพรมแดนติดกับเวียดนาม

“หากพิจารณาตามผลิตภัณฑ์การส่งออกจะพบว่า ผลิตภัณฑ์ผลไม้สดมีสัดส่วนการส่งออกสูงที่สุด คือมีมูลค่า 32,412 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27 ของการส่งออกผลิตภัณฑ์ผลไม้ทั้งหมด ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 โดยการส่งออกส่วนใหญ่เป็นการส่งออกทุเรียนสดกว่าร้อยละ 52 ของมูลค่าการส่งออกผลไม้สดทั้งหมด หรือในราว 16,800 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ลำไย มังคุด เงาะ และลองกอง เป็นต้น โดยในปี 2560 นี้ คาดว่าจะมีมูลค่าส่งออกถึง 40,000 ล้านบาท โดยทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้

สำหรับผลิตภัณฑ์ผลไม้อื่นๆที่มีสัดส่วนการส่งออกรองจากผลไม้สด ได้แก่ น้ำผลไม้ คิดเป็นร้อยละ 23 มีมูลค่าราว 27,256 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 สับปะรดกระป๋อง สัดส่วนร้อยละ 18 มูลค่า 21,074 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และผลไม้อบแห้ง สัดส่วนร้อยละ 9 มีมูลค่าราว 10,910 ล้านบาท โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดคือร้อยละ 53 เนื่องจากผู้ประกอบการมีการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต ทำให้สินค้ามีความหลากหลายมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคในต่างประเทศหันมานิยมบริโภคผลไม้อบแห้งเป็นขนมคบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ ส่งผลให้การส่งออกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันไทยมีการส่งออกผลไม้อบแห้ง เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากตุรกี และสหรัฐฯ ตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน จีน และฮ่องกง เป็นต้น”

นายยงวุฒิ กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมผลไม้มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น และเอกลักษณ์ของผลไม้เขตร้อนของไทยที่มีความหลากหลาย โดยคาดว่าในอนาคตตลาดผลไม้แปรรูปที่มีลักษณะเป็นขนมคบเคี้ยวที่ทานได้ง่าย เช่น ผลไม้ทอด ทอฟฟี่ผลไม้ และผลไม้อบแห้ง จะมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ตอบโจทย์กระแสการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่กำลังมาแรง ทั้งนี้ในส่วนของน้ำผลไม้ คาดว่าในอนาคตจะปรับไปในรูปแบบของผลิตภัณฑ์แบบผง หรือพร้อมชงมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้บริโภค และยังเป็นการลดต้นทุนค่าขนส่งของผู้ประกอบการอีกด้วย

“เมื่อพิจารณาผลไม้จำแนกตามวัตถุดิบที่สำคัญทางเศรษฐกิจของไทย พบว่าที่มีแนวโน้มการส่งออกดี ได้แก่ สับปะรด ลำไย ทุเรียน มังคุด มะพร้าว และมะม่วง โดยสับปะรด ร้อยละ 68 ส่งออกในรูปสับปะรดกระป๋อง รองลงมาได้แก่ น้ำสับปะรดร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือได้แก่ สับปะรดกวน และสับปะรดอบแห้ง ร้อยละ12 ขณะที่ลำไย ร้อยละ 62 ส่งออกในรูปลำไยสด รองลงมาได้แก่ ลำไยอบแห้งร้อยละ 34 ส่วนที่เหลือได้แก่ ลำไยกระป๋องและลำไยแช่แข็ง ตามลำดับ เช่นเดียวกับทุเรียน ที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 86 ส่งออกในรูปทุเรียนสด รองลงมาได้แก่ ทุเรียนแช่แข็งร้อยละ13 ส่วนที่เหลือได้แก่ทุเรียนอบแห้งร้อยละ 2 และทุเรียนกวนอีกเพียงเล็กน้อย โดยมังคุดร้อยละ 99 ส่งออกในรูปมังคุดสด และมีเพียงร้อยละ 1 ส่งออกเป็นมังคุดแช่แข็ง สำหรับมะพร้าวร้อยละ 82 ส่งออกในรูปของกะทิสำเร็จรูป ส่วนที่เหลือเป็น มะพร้าวผลสด และมะพร้าวฝอยตามลำดับ และมะม่วงร้อยละ 80 ส่งออกในรูปมะม่วงสดและมะม่วงกระป๋อง รองลงมาได้แก่ มะม่วงอบแห้งร้อยละ 15 และมะม่วงแช่แข็งร้อยละ 6 ตามลำดับ”

นายยงวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า อุตสาหกรรมผลไม้จัดเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สร้างรายได้ให้ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เพราะนอกจากจะส่งออกเป็นผลไม้สดเกรดพรีเมียมไปจำหน่ายยังต่างประเทศแล้ว ผลไม้ส่วนที่เหลือจากความต้องการ ยังสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสินค้าแปรรูปต่าง ๆ ได้มากมายหลายประเภท โดยเมื่อเร็วๆนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้สถาบันอาหารรับเป็นหน่วยร่วมดำเนินการ เพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูประดับคุณภาพดีเยี่ยมชายฝั่งตะวันออก ทั้งในหมวดผลไม้แปรรูป และเครื่องดื่ม โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกคลัสเตอร์กลุ่มแปรรูปผลไม้คุณภาพชายฝั่งตะวันออกที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ส่งผลิตภัณฑ์เข้าร่วม ทั้งนี้ต้องใช้วัตถุดิบหลักเป็นผลไม้หรือพืชท้องถิ่นคุณภาพดีที่มีแหล่งเพาะปลูกอยู่ในพื้นที่ กระบวนการผลิตสินค้าต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน หรือได้รับอนุญาตผลิตอาหารตามที่กฎหมายกำหนด

โดยได้มีการมอบเครื่องหมาย “ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูประดับคุณภาพดีเยี่ยม” (East coast quality fruit products : ECF) ให้แก่ผู้ประกอบการ 11 ราย รวม 16 ผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการคัดสรรโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ทุเรียนหมอนทองอบกรอบตราแม่ลี้, ทุเรียนทอดตราป้าแกลบ, ทุเรียนกวน ทุเรียนสุกกรอบตราจ๊าบ, ทุเรียนฟรีซดรายตรา Fruitural, กล้วยหอมทองอบกรอบ ทุเรียนอบกรอบ ขนุนทองประเสริฐอบกรอบตราฟรุ๊ตคิง, ทุเรียนอบกรอบ ขนุนอบกรอบตรา KTV, ทุเรียนอบกรอบ ฟรีซดราย ตราบีฟรุ๊ต, น้ำสำรองผสมดอกคำฝอย ตราต้นตำรับ, น้ำมังคุดสูตร Extra สูตร Balance ตรา Xanberry, น้ำมังคุดสูตร 33% ตราไทยสโนว์ และเนื้อลูกสำรองชนิดแห้งพร้อมชงดื่ม ตรา J House

ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาคลัสเตอร์ ในการสร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผลไม้คุณภาพและขยายช่องทางการจำหน่าย โดยสมาชิกได้มีความสนใจร่วมกันในความพยายามที่จะสร้างแบรนด์ท้องถิ่น สินค้าคุณภาพของคลัสเตอร์ให้เป็นที่รู้จักแก่ลูกค้าเป้าหมาย เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของสมาชิกให้แข่งขันกันพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม สามารถสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้แก่สมาชิกคลัสเตอร์และเครือข่ายอย่างยั่งยืน นับเป็นกิจกรรมที่เกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน

ไม่มีใครเข้าใจความเจ็บปวดของเกษตรกรเท่ากับเกษตรกรด้วยกัน และไม่มีใครแก้ปัญหาของชาวนาได้ยั่งยืนเท่ากับชาวนาเอง “กฤษณะ เทพเนาว์” ประธานกลุ่ม และผู้ก่อตั้งกลุ่มผลิตข้าวเม่า บ้านหนองบัว ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งนับว่าเป็นชุมชนเข้มแข็งที่สามารถพลิกฟื้นจากข้าวธรรมดาที่ราคาขายเดิมทีอยู่ที่ 10 บาท จนมาแปรรูปขายได้ในราคากิโลกรัมละ 400 บาท

กฤษณะ บอกว่า ผมเป็นเพียงชาวนาคนหนึ่งที่ทนทุกข์กับปัญหาราคาข้าว หนี้สิน วนเวียนอยู่เช่นนี้ทุกปี จนรู้สึกว่าชีวิตชาวนาช่างต่ำต้อยด้อยค่า จนตอนหลังไปร่วมโครงการพลังปัญญา ที่มีภาคีร่วมกันจาก 5 หน่วยงานหลัก อาทิ มูลนิธิมั่นพัฒนา, กองทัพบก, เอสซีจี, สวทช. และหอการค้าไทยเมื่อ 3 ปีก่อน กระทั่งได้เรียนรู้ วิธีคิด ทบทวนตนเอง จนเกิดความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง โดยใช้ทรัพยากรที่มีภูมิปัญญาอยู่

“จากเดิมเราอยู่กับตัวเองทุกวัน และมองว่าเราถูกเอารัดเอาเปรียบ เป็นเกษตรกรที่ตามกระแสสังคม อะไรแพงก็ปลูกสิ่งนั้น แต่ตอนหลังมาค้นพบว่ายิ่งทำมาก ก็ยิ่งจนมาก ยิ่งมีปัญหามาก วนเวียนเช่นนี้ จนเกิดการคิดที่เป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น หากอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่เรายังทำทุกอย่างแบบเก่า ก็ยากที่จะเกิดสิ่งใหม่ การกระทำที่มาจากความคิดที่หยาบ ย่อมไม่ก่อให้เกิดผลอันประณีต”

จึงเกิดการคิดนอกกรอบ และยึดหลัก “ง่าย-ไว-ใหม่-ใหญ่-มีความสุข” จึงเกิดขึ้น
โดยมองสินค้าใกล้ตัวคือข้าว โดยพิจารณาพบว่าข้าวเปลือกราคาอยู่ที่ 9-10 บาท/กิโลกรัม หากอยากให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นก็ขายข้าวสารได้ราคา 20-30 บาท/กิโลกรัม แต่ในแง่การแข่งขัน ข้าวสารในท้องตลาดมีเจ้าตลาดรายใหญ่มากมายที่ชุมชนไม่สามารถเข้าไปแข่งขันได้ หากจะขายในชุมชนเอง จะไม่เกิดการพัฒนา จนมองเห็นตลาดสินค้าแปรรูปจากข้าวคือ “ข้าวเม่า”

ซึ่งราคาข้าวเม่าดิบอยู่ที่ 50 บาท/กิโลกรัม และหากนำไปแปรรูป ราคาจะสามารถกระโดดไปได้อีกเป็นกิโลกรัมละ 400 บาท โดยผ่านกรรมวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนในชุมชนทำกันเป็นอยู่แล้ว

“ข้าวเม่า” ไม่ใช่ของใหม่ในชุมชน หรือในประเทศไทย ทุกภาคมีวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเม่า แต่ข้าวเม่าจะนิยมในช่วงเทศกาลเท่านั้น ไม่ได้บริโภคกันอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน ช่วงแรกตลาดที่จำหน่ายคือคนในชุมชนเอง โดยแบ่งหน้าที่กันคือชาวนามีหน้าที่ปลูกข้าว และจำหน่ายข้าวในช่วงที่รวงข้าวยังเป็นข้าวน้ำนม ให้แก่กลุ่มที่เป็นผู้ผลิตข้าวเม่า ซึ่งเป็นคนในชุมชนที่มีเครื่องตำอยู่ที่บ้าน ประมาณ 60 ครัวเรือน

เมื่อตำเป็นข้าวเม่าดิบจะจำหน่ายกิโลกรัมละ 50 บาท ให้แก่แม่ค้าจากพื้นที่อื่นๆ รวมไปถึงชาวนา หรือลูกเมีย ที่มาขายสินค้าในตลาดนอกเวลาทำนา มาแปรรูปเป็นข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าแปรรูปอื่นๆ เพื่อจำหน่ายต่อไป ซึ่งเป็นการหมุนเวียนรายได้ ภายในชุมชน และเป็นการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำในสินค้าตัวเดียว

แม้ช่วงแรกจะมีปัญหาเรื่องของการจำหน่ายสินค้าตัดราคากันเองในชุมชน สุดท้ายจึงมีการพูดคุยกันเพื่อรวมกลุ่มกันผลิต มีการตกลงเรื่องของราคา มาตรฐาน แนวคิด และความฝันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จากเดิมที่ผลิตโดยมีเงินเป็นตัวตั้ง ต่างคนต่างทำ ก็เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำให้ข้าวเม่าของชุมชนเป็นข้าวเม่าคุณภาพดี มีมาตรฐาน มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ทั้งด้านรสชาติ คุณภาพข้าว เช่น มีการวางแผนพัฒนาไปสู่ข้าวเม่าอินทรีย์ เพื่อหนีตลาดข้าวเม่าเดิมที่เริ่มมีการผลิตเยอะขึ้น ทั้งยังรองรับตลาดต่างประเทศ รวมถึงตลาดบนที่มีความต้องการสินค้าที่มีความใส่ใจต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ทางชุมชนข้าวเม่ายังมองไปถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เนื่องจากขั้นตอนสำคัญในการผลิตข้าวเม่าขั้นตอนหนึ่งคือการคั่ว ซึ่งต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิง และพลังงานที่ชุมชนสามารถหยิบมาใช้ได้อย่างง่ายดาย ใกล้มือ และต้นทุนต่ำที่สุดคือฟืน

แต่เมื่อมีการขยายตลาด เพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น ทางชุมชนมีความตระหนักว่าป่าไม้ที่มีอยู่จะถูกรุกราน และถูกแผ้วถาง โดยช่วงแรก ทางกลุ่มจึงปรึกษากับหน่วยงานต่างๆ เพื่อหาทางออก แต่เนื่องจากอุปสรรคเรื่องของต้นทุน และเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง ท้ายที่สุดชุมชนจึงตั้งคำถามขึ้นมาว่า…ทำไมต้องให้คนอื่นมาปลูกป่าเพื่อเรา?

ทำไมชุมชนไม่หาวิธีรองรับความเสี่ยงในอนาคตด้วยตนเอง? จนเกิดเป็นแนวคิดปลูกต้นไม้ตาม หัวไร่ปลายนา เพราะชาวบ้านในพื้นที่แทบทุกบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรมีพื้นที่หัวไร่ปลายนาที่ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร ก็เลยใช้พื้นที่เหล่านั้นปลูกต้นไม้ โดยนำแนวคิดการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ กฤษณะ บอกว่าจนกลายเป็นความยั่งยืนตามมา เพราะเราทำงานร่วมกัน โดยยึดหลักของการแบ่งปัน ทำให้เกิดการกระจายวงกว้างในมิติต่างๆ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม สังคม รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม

“ที่ผ่านมาเราทำงานโดยใช้กำลังมากกว่าปัญญา เราทำงานหนัก แต่ได้ผลผลิตน้อย ชีวิตก็ไม่มีความสุข แต่เมื่อเราทำงานโดยใช้ปัญญา อาศัยความร่วมมือกันของคนในชุมชน เราทำงานน้อยลง ได้ผลผลิตที่มากขึ้น เรามีความสุขมากขึ้น ทำให้มีเวลามองสิ่งรอบตัว ชื่นชมธรรมชาติ จิตวิญญาณมีความประณีตมากขึ้น มีหัวจิตหัวใจที่จะบำรุงดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่ได้มุ่งแต่เรื่องปากท้องอย่างเดียวอีกต่อไป ชุมชนก็จะยั่งยืน สังคมมีคุณภาพ สิ่งแวดล้อมก็ได้รับการใส่ใจเกิดความยั่งยืนในทุกมิติ”

จนกลายเป็นอีกชุมชนเข้มแข็ง และพัฒนาตนเอง กระทั่งมองเห็นความยั่งยืนในทุกมิติ โดยผ่านกระบวนการคิดว่า…ทุกการทำงาน มีปัญหาให้แก้ แต่ทุกครั้งทำให้เกิดการพัฒนา นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ (พณ.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการพาณิชย์จังหวัดสำรวจผลผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าผลไม้ในพื้นที่ เพื่อวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการบริโภคผลไม้ตามฤดูกาล การเชื่อมโยงตลาดระหว่างจังหวัด รวมทั้งส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านและประเทศคู่ค้า

โดยชุมพรเป็นแหล่งรวบรวมผลไม้ภาคใต้ ทั้งทุเรียน มังคุด ลองกอง และเงาะ ทุเรียนภาคใต้จะส่งไปจำหน่ายในประเทศจีน ประมาณ 65% ที่เหลือจำหน่ายในกทม. ส่วนมังคุดมีทั้งส่งออกจำหน่ายภายในประเทศและเข้าโรงงานแปรรูป ผลผลิตภาคใต้ในปีนี้จะลดลงจากปีก่อนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะลองกอง และเงาะ เนื่องจากอากาศแปรปรวน คาดว่าราคาผลไม้ของภาคใต้จะอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องเช่นเดียวกับภาคตะวันออก

สับปะรดเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากในปีที่ผ่านมาผลผลิตราคาดีมาก เช่น สับปะรดห้วยมุ่น อุตรดิตถ์ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 250% เมื่อเทียบกับปี 2559 จึงสงผลกระทบต่อราคาในปีนี้ กระทรวงพาณิชย์ให้พาณิชย์จังหวัดสำรวจปริมาณการผลิต เพื่อประกอบการวางแผนการตลาดในปีต่อไป ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัว ซิสเต็มแพลตฟอร์ม 2017 สร้างมาตรฐานใหม่แห่งความเป็นเลิศด้านการผลิต สร้างความเป็นต่อให้ภาคอุตสาหกรรมยุคไทยแลนด์ 4.0

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 3 กรกฎาคม 2560 – ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านระบบบริหารจัดการพลังงานและออโตเมชัน เปิดตัว System Platform 2017 ภายใต้แบรนด์ Wonderware ให้มาตรฐานใหม่สำหรับความเป็นเลิศด้านการผลิตสำหรับองค์กรภาคอุตสาหกรรม เสริมแกร่งในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ นำ IIoT (Industrial Internet of Things) หรือ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งสำหรับภาคอุตสาหกรรมมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการทำงานให้รวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น โดยแพลตฟอร์มระบบงานแบบเน็กซ์เจนนี้ มียูสเซอร์ อินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่าย แสดงข้อมูลทางด้านกราฟฟิกได้ดียิ่งขึ้น และให้ระบบเนวิเกชันที่ฉลาดยิ่งขึ้น

โดยความสามารถเหล่านี้ได้ถูกผสานรวมอยู่ในสายผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยขยายขีดความสามารถให้กับทั้งโซลูชันใหม่และโซลูชันเดิมที่มีอยู่ในแง่มุมที่เชื่อมโยงการทำงานเข้ากับส่วนงานวิศวกรรม ส่วนปฏิบัติการ ในสายงานเกี่ยวข้องที่สร้างคุณค่าให้กับอุตสาหกรรม (Industry Value Chain) ผ่านระบบดิจิทัลได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้ System Platform 2017 ให้ความสามารถใหม่ที่โดดเด่นสำหรับผู้พัฒนาระบบและผู้ใช้แพลตฟอร์มระบบงานชั้นนำในอุตสาหกรรมขององค์กร ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานอยู่ในโรงงานทั่วโลกมากกว่า 100,000 แห่ง รวมถึงคู่ค้าและพันธมิตรที่ให้บริการด้านการติดตั้งกว่า 4,000 ราย และผู้พัฒนาระบบจำนวน 160,000 ราย

บริษัทในภาคอุตสาหกรรมกำลังถูกท้าทายด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลที่รวบรวมมาจากอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ในภาคอุตสาหกรรม หรือ IIoT (Industrial Internet of Things) เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจได้ครบทุกมุมมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ระบบเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการ (OT-Operational Technology) ที่ใช้รองรับแอปพลิเคชันด้านอุตสาหกรรมก็ต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้แสดงผลลัพธ์ข้อมูลเป็นภาพได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งต้องผสานการทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันด้านไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน

“System Platform 2017 footballsoftpro.com เสนอแนวทางใหม่ที่เป็นการปฏิวัติวิธีการสร้างแอปพลิเคชันอุตสาหกรรมและเนื้อหาที่นำกลับมาใช้ได้อีก คล้ายๆ กับวิธีการพัฒนาเว็บเพจสมัยใหม่” นอร์ม ธอร์ลักสัน รองประธาน HMI & Supervisory Software หน่วยธุรกิจด้านอุตสาหกรรม ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “งานวิศวกรรมดังกล่าวสามารถทำได้โดยไม่ต้องปรับแต่งระบบและไม่ต้องเขียนสคริปต์ขึ้นใหม่แต่อย่างใด และยังให้การทำงานที่ผสานรวมกับทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อุตสาหกรรมที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความสามารถดังกล่าวนับว่าเป็นการสร้างความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมและการดำเนินงานโดยที่ไม่ต้องเพิ่มต้นทุนในการเป็นเจ้าของ”

System Platform 2017 ให้โมเดลการใช้ซอฟต์แวร์แบบใหม่ที่ให้ความเรียบง่ายแก่ผู้ใช้งาน อีกทั้งยังสามารถใช้คำสั่งได้ง่าย (Top Directives) ให้โมเดลที่นำมาใช้ได้อย่างยืดหยุ่น ช่วยสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจได้เร็วขึ้น ช่วยให้บริษัทในภาคอุตสาหกรรมขยายขีดความสามารถในการดำเนินงานได้เร็วขึ้น อีกทั้งช่วยเร่งเวลาให้สามารถนำเทคโนโลยีโมบิลิตี้ และคลาวด์รวมถึง IoT ใหม่สำหรับภาคอุตสาหกรรมมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว การเปิดตัวครั้งนี้ยังเป็นการนำเสนอ วิสัยทัศน์ด้าน EcoStruxure ของชไนเดอร์ อิเล็คทริคในการมอบความสามารถด้านซอฟต์แวร์ และระบบวิเคราะห์ชั้นนำของอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการปฏิรูปไปสู่ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

System Platform 2017 ภายใต้แบรนด์ Wonderware ให้ประโยชน์โดยสรุปดังต่อไปนี้ สร้างได้ง่าย (Easy to Build) – เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างเพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายขีดความสามารถสำหรับ Supervisor, SCADA, MES และการพัฒนาแอปพลิเคชัน IoT สำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ไม่ถูกจำกัดอยู่ในกรอบการทำงานแบบเดิม
ใช้งานง่าย (Easy to Use) – มี Visualization Client รุ่นเน็กซ์เจน ที่มาพร้อมยูสเซอร์ อินเตอร์เฟซอันทันสมัย สร้างขึ้นเฉพาะเพื่องานกราฟฟิกที่สมบูรณ์ ให้ประสิทธิภาพสูง
เป็นเจ้าของได้ง่าย (Easy to Own) – ด้วยวิธีการทำงานที่เป็นโมดูลมากขึ้น พร้อมทั้งมีการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง จึงช่วยให้มั่นใจได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าจะสามารถทำงานร่วมกับระบบอื่นๆก่อนหน้าที่อยู่ภายใต้ Wonderware ได้ดีเช่นกัน ช่วยลดการดาวน์ไทม์ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงแอปพลิเคชันหรือการเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบการผลิต อีกทั้งช่วยลดต้นทุนการเป็นเจ้าของ

“เนื่องจาก System Platform เป็นองค์ประกอบสำคัญของ EcoStruxure ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงช่วยเพิ่มความสามารถให้กับบริษัทที่กำลังอยู่ในช่วงของการเดินทางไปสู่การปฏิรูปดิจิทัล ช่วยเปลี่ยนโฉมธุรกิจให้มีความคล่องตัวมากขึ้นและตอบสนองได้เร็วขึ้น ในระหว่างที่ลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบดิจิทัล” นายธอร์ลักสัน กล่าว