คุณสมญา ให้ความสนใจกับโกโก้ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2542

อยากศึกษาค้นคว้าทำรายงานเรื่องโกโก้ แต่แหล่งข้อมูลมีน้อยและการเข้าถึงข้อมูลในตอนนั้นยังหาได้น้อยมาก อีกทั้งต้นพันธุ์ก็หายาก จึงทำให้ความสนใจอยากได้โกโก้มาปลูกลดลงไป เมื่อยังไม่มีต้นโกโก้มาปลูก จึงหารายได้ด้วยการปลูกมะนาวใน วงบ่อ ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ทำโรงเพาะเห็ดหอม ผลิตปุ๋ยหมักและดินปลูก

ต่อมาได้รู้จักกับลูกชาย อาจารย์เมืองแก้ว ชัยสุริยะ คือ คุณธีระพล อาจารย์เมืองแก้วนั้น อดีตเป็นนักวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร อดีตผู้อำนวยการสถานีทดลองพืชสวนหลายแห่ง ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการ สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย อาจารย์เมืองแก้วเคยทดลองปลูกโกโก้บนดอยปลูกปนกับกาแฟ ที่บ้านป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จให้เป็นที่น่าพอใจ เพราะปลูกแซมกับกาแฟ จึงทำให้ไม่ได้รับแสงแดดเต็มที่ การเจริญเติบโตเป็นไปได้ช้า

ชาวสวนลิ้นจี่ ในพื้นที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ปลูกโกโก้แซมไว้ในสวนลิ้นจี่ที่มีแสงแดดรำไร แสงแดดประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ทำให้โกโก้ข้อยืด หลังตัดแต่งลิ้นจี่แล้วทำให้โกโก้ออกดอกดี

อาจารย์เมืองแก้ว สนันสนุนการปลูกกาแฟคู่กับกับโกโก้ในภาคเหนือ เนื่องจากช่วงเวลานั้นมีข่าวว่าทางภาคใต้ได้ลดความนิยมปลูกโกโก้และปริมาณการผลิตในประเทศก็มีน้อย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศแต่ละปีในปริมาณสูง จึงเป็นการดีที่จะนำมาปลูกในภาคเหนือหรือทั่วประเทศ และเพื่อให้พืชทางเลือกแก่เกษตรกร

ปี พ.ศ. 2549 เมื่ออาจารย์เมืองแก้วทราบข่าวว่า คุณสมญา สนใจเรื่องโกโก้จากลูกชาย จึงให้ต้นกล้าโกโก้พันธุ์ชุมพร 1 มาจำนวน 100 ต้น มาทดลองปลูกไว้ที่บ้านหมู่บ้านหน้อย ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และประมาณ 70 ต้น ที่เหลือแบ่งให้เพื่อนมีสวนอยู่ใกล้กันไปปลูก

การปลูกโกโก้และการดูแลรักษาตามแนวปฏิบัติของคุณสมญา

การปลูกโกโก้ให้มีระยะห่างระหว่าง 3×3 เมตร รองก้นด้วยปุ๋ยคอกหมักประมาณ 1 ลิตร กับปุ๋ยสูตร 25-7-7 ประมาณ 1 ช้อนแกง ผสมคลุกเคล้ารองหลุมปลูก โกโก้ปลูกง่ายมาก แต่ช่วงแรกปลูก และช่วงให้ผลผลิตจะต้องการน้ำมาก การให้น้ำจะให้เมื่อฝนไม่ตก ให้น้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โกโก้เป็นพืชที่ชอบน้ำและทนน้ำท่วม สังเกตได้จากพื้นที่น้ำขังแฉะเป็นเดือนไม่เหี่ยวเฉาตาย แต่กลับเจริญงอกงาม สามารถทนน้ำท่วมได้นานถึง 5 เดือน

โกโก้เป็นพืชที่ต้องการร่มเงาเมื่อขณะต้นยังเล็กชอบแสงแดดรำไร แต่ถ้าอยู่กลางแจ้งจะเจริญเติบโตช้าในช่วงแรก ในร่มรำไรจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า ต้นอยู่กลางแจ้งออกผลดกกว่าต้นที่อยู่ในที่ร่มรำไร ถ้าร่มมากเกินไปจะออกดอกช้า ได้ผลน้อยมาก

การให้ปุ๋ย ช่วงแรกปุ๋ยคอกปีละครั้ง ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ใช้สูตร 25-7-7 เข้าปีที่ 3 จึงใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-6 ครั้งละ 2 กำมือ โกโก้มีปัญหาโรคแมลงและศัตรูพืชน้อยมาก เพราะลักษณะใบค่อนข้างใหญ่และแข็ง ขนาดมดแดงไม่มาทำรัง มีแมลงกัดกินน้อย แต่มีหนอนเจาะลำต้นทำให้ยืนต้นตายได้ จึงต้องคอยสังเกตเมื่อพบขุยเนื้อไม้ที่หนอนเจาะตามต้นปรากฏให้เอาก้นบุหรี่ชุบน้ำอุดรู หนอนจะตาย สัตว์ศัตรูตัวฉกาจคือกระรอก ชอบมากินลูกโกโก้ระยะที่ผลห่าม

การตัดแต่งมีการตัดแต่งบ้างเป็นบางครั้ง แต่ถ้าต้นใดดูแล้วมียอดกิ่งก้านจะสูงขึ้นทำให้การเก็บจะลำบากจึงตัดแต่งต้นนั้น ตัดแต่งให้ทรงกางฝ่ามือหงายต้นจะได้เตี้ยเพื่อจะเก็บผลง่าย

ต้นโกโก้อายุ 3 ปีก็ให้ผล สามารถเก็บเกี่ยวผลต่อไปได้ทุก 15 วันตลอดทั้งปี เมื่อมีผลผลิตโกโก้จำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2555 คุณสมญา จึงปรึกษากับพ่อและแม่คือ คุณสมนึก และ คุณกาวิลยา สอนวัฒนา เรื่องการแปรรูปโกโก้ คุณสมญาได้ศึกษาค้นคว้าถึงขั้นตอนต่างๆ ในการแปรรูปโกโก้ และทดลองทำกันเองในครอบครัว

ขั้นตอนเริ่มจากการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากโกโก้เป็นพืชอุตสาหกรรมที่กระบวนการแปรรูปไม่ต่างไปจากกาแฟมากนัก ดังนั้น จึงต้องเริ่มจากการหมัก การตาก การกะเทาะเปลือก การคั่ว และการแปรรูป

การเก็บเกี่ยว ผลโกโก้เป็นผลกลมยาวรีปลายแหลมและผลป้อมรีปลายไม่แหลม ผลห้อยลงตามกิ่งและลำต้น ผลมีความกว้างประมาณ 7-11 เซนติเมตร และความยาวประมาณ 12.5-22 เซนติเมตร ผิวผลแข็งขรุขระ เมื่อผลแก่มีเปลือกผลสีเหลืองอ่อนๆ ปล่อยให้มีสีเหลืองทั้งผลประมาณ 70-80% ซึ่งผลจะเป็นไม่อ่อนไม่แก่เกินไป เก็บระยะนี้จะได้เมล็ดที่คุณภาพดี ถ้าปล่อยให้แก่เหลืองทั้งผล เมล็ดจะแก่จัดและเริ่มจะงอกอยู่ในผลเมื่อนำมาหมักมักจะเกิดเชื้อราเขียวเข้าไปภายในเมล็ด และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายทั้งชุดที่หมักก็ได้จนต้องทิ้งทั้งชุด วิธีเก็บเกี่ยวควรใช้กรรไกรคมๆ ตัดขั้วผล เนื่องจากขั้วโกโก้เหนียวมาก เก็บด้วยการดึงผลจนเปลือกฉีกเป็นแผลบริเวณนั้นจะไม่ออกดอก

ผลโกโก้มีเมล็ดประมาณ 20-60 เมล็ด เรียงเป็นแถว 5 แถว ยาวตามแกนกลางของผล ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2 -2.5 เซนติเมตร มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวลื่นๆ คล้ายกับเนื้อของกระท้อนที่หุ้มเมล็ดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสมันหวานนิดๆ ส่วนนี้เป็นที่ชื่นชอบของกระรอกที่มาเจาะผลเข้าไปกินทำความเสียหายทั้งผล

การหมัก เมื่อเก็บผลโกโก้มาแล้ว ผ่าผลแกะเมล็ดออกจากผล นำเมล็ดมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาว มาหมักในตะกร้าหรือเข่งพลาสติกบุรูตะกร้าด้วยใบตองโดยรอบและปิดมิดไม่ให้น้ำเข้าหรือความชื้นเข้าได้ คอยคนเพื่อกลับพลิกขึ้น การหมักนั้นห้ามล้างเมล็ดและห้ามให้น้ำถูกเมล็ดอย่างเด็ดขาด หมักทิ้งไว้ 2-3 วัน การหมักเพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้ที่มีกลิ่น รส และคุณภาพที่ดี

การตาก เป็นการทำเมล็ดให้แห้ง อาจใช้การตากแดดหรือเตาอบ การตากแดดให้ตากบนเสื่อหรือบนลานซีเมนต์ อย่าให้เมล็ดวางทับกันหนามาก ให้หนา 2-3 เซนติเมตร เพื่อจะให้เมล็ดได้แห้งสนิททั่วทั้งเมล็ด การตากแดดใช้เวลา 2-3 วัน และต้องคอยกลับเมล็ด อย่าให้โดนฝนระหว่างการตาก หลังจากการตากจนเมล็ดแห้งดีแล้ว เมล็ดจะต้องมีความชื้นไม่เกิน 7.5% ภายในเมล็ดจะเปลี่ยนสีเป็นสีโกโก้หรือสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นใส่เก็บไว้ในกระสอบรอการแปรรูปต่อไป

การคั่ว เมล็ดโกโก้แห้งจะถูกนำมาคั่วประมาณ 10-30 นาที ที่อุณหภูมิ 120-130 องศาเซลเซียส ถ้าคั่วจำนวนน้อยใช้เตาไมโครเวฟก็ได้ ขั้นตอนการคั่วมีผลกระทบต่อรสชาติสุดท้ายของโกโก้ด้วย

การสี หรือ การกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ด หลังจากคั่วเสร็จแล้วจึงนำมาสีหรือกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดเพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดหลุดออกไป เมล็ดจากการสีหรือกะเทาะจะแตกออกเปลี่ยนไปจากรูปร่างเดิม สีด้วยเครื่องสีที่ดัดแปลงขึ้นมาเอง เริ่มแรกทดลองทำไม่มากใช้การบี้แกะด้วยมือ

การบด เริ่มแรกใช้ครกตำ ต่อมาใช้เครื่องปั่นแห้ง หลังจากนั้น ใช้เครื่องบดหินซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้สำหรับการบดเมล็ดโกโก้คั่วโดยเฉพาะ จึงทำให้ได้เนื้อโกโก้ (cocoa mass) ที่สามารถนำมาทำช็อกโกแลตได้คุณภาพสูง เมื่อบีบเนื้อโกโก้เอาน้ำจะได้เนยโกโก้ (cocoa butter) จากนั้นนำกากเนื้อโกโก้ที่เหลือจากการบีบแล้วไปปั่นละเอียดจนเป็นผงคล้ายแป้งเป็นโกโก้ผง (cocoa powder) สำหรับชงดื่มต่อไป ถ้าเป็นช็อกโกแลตเกรดสูงจะไม่มีแยกไขมันหรือเนยออก

ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นเองจากโกโก้

เมล็ดโกโก้อบแห้งแบบแกะเปลือก ได้รับคำแนะนำจากคุณธีระพลให้ลองทำ เนื่องจากในจากต่างประเทศนิยมรับประทานกัน แต่เมืองไทยยังถือเป็นของใหม่ไม่มีใครทำกัน อบแห้งโดยไม่ต้องใส่เครื่องปรุงรสแต่งรสชาติแต่อย่างใด เวลาจะรับประทานบี้หรือแกะเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งหลุดออกอย่างดายไม่ต่างอะไรกับแกะเปลือกถั่วปากอ้าคั่ว เมล็ดโกโก้อบแห้งแล้วบรรจุในถุงพลาสติกสุญญากาศ น้ำหนัก 100 กรัม ถุงบรรจุออกแบบสวยงามให้ง่ายต่อการฉีกเปิดออก รสชาติหอมมัน ติดรสขมไม่มาก ฝรั่งนักท่องเที่ยวในเชียงใหม่นิยมรับประทาน นอกจากฝรั่งนักท่องเที่ยวแล้วคนไทยก็ชอบซื้อไปเป็นของฝาก เนื่องจากเป็นสินค้าแปลกใหม่ สรรพคุณทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย ลดการง่วงนอนเหมาะกับที่จะรับประทานขณะขับรถยนต์ และพวกผู้ชายยังเชื่อว่าช่วยเพิ่มจำนวนน้ำเชื้ออสุจิ ทำให้รู้สึกคึกคัก ผู้ชายจึงนิยมรับประทานกัน สำหรับผู้ที่เคยรับประทานแล้วบอกว่ากินเพียงวันละ 4-5 เม็ด จะให้ความรู้สึกว่าเหมือนอยากสูบบุหรี่

ใช้เมล็ดโกโก้ที่คั่วและกะเทาะเปลือกแล้วเข้าเครื่องบดจนได้เนื้อโกโก้ (cocoa mass) นำเนื้อโกโก้แมสมาอุ่นจนละลาย ผสมกับน้ำตาลมะพร้าวปั่นจนละเอียด ผสมให้เข้ากันแล้วเทใส่พิมพ์ แช่ตู้เย็นประมาณ 4 ชั่วโมง ก็จะได้ช็อกโกแลตโฮมเมด แกะรับประทานได้ต่อไป ส่วนการทำช็อกโกแลตนมนำเนื้อโกโก้แมสมาอุ่นจนละลาย ผสมกับน้ำตาลมะพร้าวปั่นเติมนมผงปั่นจนละเอียดผสมให้เข้ากันแล้วเทใส่พิมพ์ แช่ในตู้เย็นประมาณ 4 ชั่วโมง เช่นกัน

สินค้าที่คุณสมญามีจำหน่าย ได้แก่ เมล็ดโกโก้อบแห้ง, โกโก้กะเทาะเปลือก (cocoa nibs) เนื้อโกโก้ รับทำช็อกโกแลตโฮมเมด, โกโก้ผง, ช็อกโกแลตเจ (vaggiechoco) เนยโกโก้ และจำหน่ายต้นกล้าพันธุ์และผลโกโก้ พร้อมทั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องบดเมล็ดโกโก้

ด้วงสาคู เป็นแมลงกินได้ที่มาแรง มีการเพาะเลี้ยงกันมากในแถบจังหวัดภาคใต้ เป็นที่นิยมบริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เนื่องจากสามารถเพาะเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก ขนาดของตัวหนอนค่อนข้างโต มีน้ำหนัก ขายได้ราคาดี เป็นแมลงเศรษฐกิจที่น่าสนใจทั้งในด้านการเพาะเลี้ยง ซึ่งมีวงจรชีวิตสั้นและนำไปบริโภคเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่นๆ

สำหรับด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Rhynchophorus ferrugineus Oliver วงศ์ Curculionidae อันดับ Coleoptera เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งจำพวกแมลงที่มีชื่อเรียกว่า ด้วงงวง ด้วงไฟ ด้วงมะพร้าว ทางภาคใต้เรียกว่า ด้วงสาคู หรือด้วงลาน

ลักษณะตัวเต็มวัย ด้วงสาคูตัวเต็มวัยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 2.2-3.5 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมส้ม หรือสีน้ำตาลปนดำ ปากยาวบอบบาง มีงวงโค้ง มีจุดแต้มสีน้ำตาลแต้มกระจายบริเวณด้านบนของอกปล้องแรก ซึ่งจุดแต้มนี้มีหลายรูปแบบ ปีกคู่หน้ามีริ้วรอยเป็นเส้นๆ ตามความยาวของปีก ปีกคลุมไม่มิดส่วนปลายท้อง ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน โดยที่ตัวผู้จะมีขนมองเห็นได้ชัดเจน และมีลักษณะเป็นแนวบริเวณส่วนกลางตามความยาวของงวง

ทั้งนี้ รูปแบบการเลี้ยงด้วงสาคูในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ การเลี้ยงด้วงสาคูแบบดั้งเดิม โดยใช้ท่อนสาคู/ท่อนลาน เป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ และการเลี้ยงด้วงสาคูแบบประยุกต์ โดยใช้การเลี้ยงในกะละมัง

เลี้ยงด้วงสาคูแบบดั้งเดิม
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงด้วงสาคูแบบดั้งเดิม ว่า วิธีการนี้จะต้องมีอุปกรณ์การเลี้ยงที่สำคัญ ประกอบด้วย

– ท่อนสาคู หรือท่อนลาน ความยาวท่อนละ 50 เซนติเมตร
– พ่อ-แม่พันธุ์ด้วงสาคู ตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 4 ตัว
– ฝักบัว หรือสายยางสำหรับรดน้ำ

สถานที่สำหรับวางท่อนสาคู หรือท่อนลาน อาจเป็นลานกว้างหรือทำเป็นโรงเรือนก็ได้ การจัดการเลี้ยงด้วงสาคูแบบดั้งเดิม สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการเลี้ยงด้วงสาคูคือ ความสะอาดและการจัดการอย่างเป็นระบบ จึงประสบความสำเร็จ โดย

– สถานที่ ควรเป็นที่น้ำไม่ท่วมขัง บริเวณที่เลี้ยงสามารถวางตากแดด ตากฝนได้ แต่ต้องมีกระดานทำจากกาบต้นไม้ที่เลี้ยงครอบปิด

– เตรียมท่อนสาคู หรือท่อนลาน ใช้เป็นท่อนเลี้ยงด้วงสาคู ตั้งตรงเรียงไว้บริเวณที่จะเลี้ยง มีความห่างพอเหมาะแก่การดูแล

– นำพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคูที่เลี้ยงได้ปล่อยลงในท่อนสาคู หรือท่อนลาน จำนวนท่อนละ 3 คู่ อัตราตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 4 ตัว จากนั้นปิดด้านบนของท่อนสาคู หรือท่อนลาน

– รดน้ำด้วยฝักบัว หรือสายยางรดน้ำ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 40-45 วัน จะสามารถจับตัวหนอนด้วงสาคูออกจำหน่ายได้ เลี้ยงด้วงสาคูแบบประยุกต์ในกะละมัง
การเลี้ยงด้วงสาคูแบบประยุกต์ โดยใช้การเลี้ยงในกะละมัง ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) แนะนำนว่า อุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงประกอบด้วย

1. กะละมัง พร้อมฝาปิด
2. กิ่งทางปาล์มสด
3. เครื่องบดสับทางปาล์ม
4. ถังหมัก
5. สูตรอาหารเสริม
6. พ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคู
7. อุปกรณ์อื่นๆ

ส่วนขั้นตอนการจัดการเลี้ยงด้วงสาคู มีขั้นตอนดังนี้

นำกิ่งทางปาล์มสดปลอดเปลือกและเข้าเครื่องสับบด

นำกิ่งทางปาล์มสดสับละเอียดแล้วนำมาหมักในถังหมัก ไม่น้อยกว่า 3 วัน

นำกิ่งทางปาล์มสดสับที่หมักแล้ว ผสมกับสูตรอาหารเสริมพอประมาณ คลุกเคล้าให้เข้ากัน บรรจุใส่กะละมังอัดให้แน่นพอประมาณ

ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคู 5 คู่ อัตรา ตัวผู้ 5 ตัว ตัวเมีย 5 ตัว

หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคูแล้ว ทิ้งไว้ 25-30 วัน ก็สามารถจับหนอนด้วงสาคูออกจำหน่ายได้ สำหรับในส่วนของสูตรอาหารเสริมผสมทางปาล์มสด ทางศูนย์ได้ให้ข้อแนะนำในการเตรียมอาหารสำหรับการเลี้ยง ใน 1 กะละมัง โดยจะประกอบด้วย

– EM 1 ช้อนโต๊ะ
– กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
– อาหารหมู 0.5 กิโลกรัม
– น้ำ 2 ลิตร
– รำข้าว 0.5 ลิตร

ขั้นตอนการผสมอาหารเลี้ยงด้วงสาคู

เตรียมทางปาล์มสดสับหมัก 1 กะละมัง

เตรียมสูตรอาหารเสริมคือ EM กากน้ำตาล น้ำ อาหารหมู และรำข้าว ตามอัตราส่วนที่กำหนด ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ทั้งนี้อาหารหมู และรำข้าว ต้องแช่น้ำทิ้งไว้ก่อน ประมาณ 20-30 นาที

นำทางปาล์มสดสับหมักตาม ข้อ 1 มาผสมกับสูตรอาหารเสริม ตาม ข้อ 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน

นำส่วนผสมที่ได้ใส่กะละมัง อัดให้แน่นพอประมาณ

ก็จะได้อาหารผสมเลี้ยงด้วงสาคูที่มีประสิทธิภาพ 1 กะละมัง อีกเทคนิคที่เกษตรกรผู้สนใจต้องรับรู้ นั่นคือ การผลิตพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคู ซึ่งทางศูนย์ได้ให้ข้อแนะนำถึงขั้นตอนการผลิตพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคูว่า

เตรียมอาหารผสม คือ ทางปาล์มสดสับหมักผสมกับสูตรอาหารเสริม 1 กะละมัง

นำอาหารผสมรองก้นกะละมัง หนาประมาณ 1 นิ้ว

นำเปลือกมะพร้าวปอกแช่น้ำมาวางเรียงในกะละมังและใส่อาหารผสมลงไป ทำอย่างนี้ให้ได้ 2 ชั้น ใน 1 กะละมัง

ปล่อยตัวหนอนด้วงสาคู อายุ 35-40 วัน ใส่ในกะละมังที่เตรียมไว้ ประมาณ 100 ตัว

ปล่อยทิ้งไว้รอให้ตัวหนอนเข้าฝักดักแด้ ประมาณ 20- 30 วัน

เก็บฝักดักแด้ออกมารวมกันอีกกะละมัง เพื่อรอให้ตัวด้วงเจาะออกจากฝักดักแด้ 5-10 วัน

จับตัวด้วงรวบรวมอีกกะละมัง คัดแยกเพศเพื่อรอผสมพันธุ์ก่อนนำไปปล่อยในกะละมังเลี้ยงต่อไป

ทั้งนี้ ระหว่างการรวบรวมตัวด้วง เพื่อรอการผสมพันธุ์ให้กล้วยและน้ำเป็นอาหาร สำหรับในส่วนของผลตอบแทน ผลผลิตด้วงสาคูที่นิยมนำไปบริโภคเป็นด้วงที่อยู่ในระยะหนอนวัยสุดท้ายก่อนเข้าดักแด้ โดย 1 กิโลกรัม มีประมาณ 200 ตัว จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 200-250 บาท ส่วนดักแด้จำหน่ายกิโลกรัมละ 250-300 บาท

การนำมาบริโภค ก่อนนำมาปรุงอาหารบริโภค ให้นำตัวหนอนด้วงสาคู เลี้ยงในอาหาร กากมะพร้าวขูด 1-2 วัน แล้วนำตัวหนอนมาล้างน้ำและแช่เกลือทิ้งไว้ 10-30 นาที เพื่อล้างสิ่งสกปรกทั้งภายในและภายนอกตัวหนอนออก และล้างด้วยน้ำปูนใสอีกครั้ง

จากนั้นจึงนำมาลวกน้ำร้อนก่อนนำไปผัด โดยไม่ต้องใส่น้ำมัน ให้น้ำมันสีดำๆ ในตัวหนอนด้วงออกให้หมด จนกว่าน้ำมันจากตัวหนอนด้วงเป็นสีใส แล้วนำไปล้างน้ำอีกครั้ง จึงค่อยนำไปปรุงอาหารได้ตามใจชอบ เช่น คั่วเกลือ ทอดน้ำมัน ผัดขี้เมา เป็นต้น และถ้าปรุงอาหารเสร็จแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น จะได้ตัวหนอนด้วงที่มีรสชาติดีขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำที่ควรระวังในการเลี้ยงด้วย เนื่องจากแมลงชนิดนี้เป็นศัตรูพืชที่เข้าทำลายต้นปาล์ม มะพร้าว ลาน และสาคู จึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเต็มวัยเล็ดลอดสู่ธรรมชาติโดยเด็ดขาด

อดีตพนักงานจัดสวน และยังเป็นเจ้าของสวนยางพารา อาศัยอยู่ที่ อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา หัวใสนำกาบมะพร้าวเหลือใช้มาทำดินคุณภาพสูงขาย ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ดินนาหม่อม” ขายดิบขายดี ต้องสั่งจองล่วงหน้า นอกจากนั้นยังปลูกผักสวนครัวในวัสดุเหลือใช้ อย่างเช่น ตะกร้า กระสอบปุ๋ย รางน้ำเก่า สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ถูกจริตคนกรุงแห่มาขอซื้อ เพราะสวยงามและกินได้ อนาคตต่อยอดเปิดร้านอาหารเพื่อสุขภาพ

คุณอมร ตรีรัญเพ็ชร ปัจจุบัน อายุ 55 ปี บอกกับเราว่า ในอดีตประกอบอาชีพมาแล้วหลายอาชีพ ล่าสุดหันมาทำสวนยางพารา 10 กว่าไร่ ที่ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา จากการสังเกตเห็นว่า แถวบ้านมีกาบมะพร้าวเหลือใช้เยอะมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเลือกที่จะเผาทิ้ง เลยคิดนำมาใช้ประโยชน์ นั่นเป็นที่มาของการทำดินขาย

“ผมเห็นแถวบ้านมีกาบมะพร้าวแห้งเหลือใช้เยอะมาก SIXBETG8.COM เลยคิดว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำดินปลูกต้นไม้ ส่วนผสมมี กาบมะพร้าวแห้งสับ ขุยมะพร้าว หน้าดิน ขี้เถ้าแกลบ ขี้ไก่แกลบ น้ำหมักชีวภาพ นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน กลายเป็นดินใช้ปลูกต้นไม้ได้ทุกชนิด อาทิ ไม้ดอก ไม้ผล ไม้ประดับ”
สำหรับน้ำหมักชีวภาพ คุณอมร ผสมเอง มีขี้ปลา หัวปลา กากน้ำตาล และเชื้อ พด.1 และ พด.2

จุดเด่นของดินที่ผสมขุยมะพร้าว สามารถเก็บความชื้นได้ดี มีแร่ธาตุอาหาร และจุลินทรีย์ที่เหมาะสมกับต้นไม้ทุกชนิด ไม่มีสารเคมี และสารพิษปนเปื้อน ขายส่ง กระสอบละ 25 บาท (12 กิโลกรัม)

นอกจากจำหน่ายดินแล้ว คุณอมร ยังปลูกผักสวนครัวในกระสอบปุ๋ย ในตะกร้า และในรางน้ำเก่า 20 ชนิด อาทิ มะเขือเทศ มะเขือพวง พริก แตงกวา ผักชี ขึ้นฉ่าย ใบบัวบก ผักสลัด ผักชีฝรั่ง

“ผมอยากพิสูจน์ให้ลูกค้าเห็นว่า ดินที่ทำขึ้นมานั้นมีคุณภาพสูง และปลูกต้นไม้ได้จริง เมื่อปลายปีที่แล้วทดลองปลูกผักสวนครัว ปลอดสารพิษ โดยใช้ภาชนะเหลือใช้ เช่น ตะกร้า กระสอบปุ๋ย รางน้ำเก่า ปรากฏเพื่อนบ้านเห็น ต่างชื่นชอบและขอซื้อ ตั้งแต่นั้นเลยทำขายเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งเฉพาะรายได้จากการขายผัก เฉลี่ยวันละ 200-300 บาท”

คุณภัชรวดี เจริญฤทธิ์ อยู่บ้านเลขที่ 49/3 หมู่ที่ 5 ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนยางพารา พื้นที่เกือบ 3 ไร่ ในช่วงราคายางพาราตกต่ำ หันมาปลูกขึ้นฉ่ายไร้ดิน เป็นรายแรกของอำเภอหาดสำราญ สร้างรายได้เป็นอย่างดีในช่วงราคายางพาราตกต่ำ โดยมีรายได้มากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน และสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

คุณภัชรวดีเป็นคุณนายสารวัตร แต่คิดต่างโดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนยางพารา หันมาปลูกผักขึ้นฉ่ายแบบไร้ดิน ซึ่งเกษตรกรรายอื่นๆ ในอำเภอหาดสำราญ ยังไม่มีใครทำ และส่วนใหญ่จะปลูกพืชผักอายุสั้น เช่น แตงกวาหรือถั่วฝักยาว เพราะคิดว่าการปลูกพืชแบบนี้จะดูแลยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า แต่ความจริงแล้วเป็นการลงทุนแค่ครั้งเดียวสำหรับค่าวัสดุอุปกรณ์

โดยคุณภัชรวดี เล่าว่า เริ่มต้นทดลองปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนยางพาราจำนวน 2 งาน และได้ศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและสอบถามเพื่อนๆ ก่อนที่จะลงมือทำ เริ่มจากการนำเมล็ดผักขึ้นฉ่ายมาลงแปลงเพาะปลูก ขนาด 1.5×4 เมตร โดยใช้ท่อพีวีซีเจาะหลุม ทดลองผิดทดลองถูกอยู่หลายครั้งจนประสบความสำเร็จ จากนั้นก็ทำต่อมาเรื่อยๆ ปัจจุบันขยายโรงเรือนเพิ่มในพื้นที่เกือบ 3 ไร่ มีแปลงปลูกทั้งหมด 24 แปลง

การปลูกขึ้นฉ่ายในแปลงเพาะปลูก ขนาด 1.5×4 เมตร ใช้ท่อพีวีซีเจาะหลุม แปลงละประมาณ 300 ต้น โดยใช้ระบบน้ำไหลเวียน พร้อมให้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 1 : 20 ลิตร สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ฉีดพ่น ซึ่งหลังจากใช้เวลาปลูกประมาณ 50-60 วัน ก็สามารถเก็บขายได้ในราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท แต่หากเป็นหน้าฝน ขึ้นฉ่ายก็จะมีราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 150-200 บาท แล้วแต่ขนาดลำต้น สามารถเก็บขึ้นฉ่ายขายได้วันละมากกว่า 100 กิโลกรัม สร้างรายได้เป็นอย่างดีในช่วงราคายางพาราตกต่ำ โดยมีรายได้มากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน และสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย