คุณสมเกียรติ เป็นชาวสวนผลไม้สามพรานที่ย้ายถิ่นฐาน

มาทำกินในพื้นที่อำเภอปากช่องตั้งแต่เมื่อ 36 ปีก่อน โดยปลูกไม้ผลนานาชนิด เช่น ฝรั่ง มะม่วง ฯลฯ ท้ายสุด ก็ตัดสินใจปลูกน้อยหน่า พันธุ์เพชรปากช่อง บนเนื้อที่ 50 ไร่ แต่หลังจากเจอน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 คุณสมเกียรติวางแผนโค่นต้นน้อยหน่าเพชรปากช่องทิ้ง เพื่อปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 เป็นหลัก เพราะปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตดก รสชาติตรงกับความต้องการของตลาด ให้ผลตอบแทนดี คุ้มค่ากับการลงทุนมากกว่าน้อยหน่าพันธุ์อื่นๆ

“ฝ้ายเขียวเกษตร 2 ติดผลง่ายสุดในบรรดาน้อยหน่าที่ผมเคยปลูกมา หลังปลูก 6 เดือน ก็เริ่มไว้ลูก จัดอยู่ในกลุ่มไม้ผลที่ให้ผลผลิตเร็ว คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะปลูกแค่ปีเดียวก็มีผลผลิตให้เก็บกินได้” คุณ สมเกียรติ กล่าว

ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีลักษณะลำต้น ใบ ดอก และผลใหญ่กว่าน้อยหน่าฝ้ายที่เป็นพันธุ์แม่ แต่เล็กกว่าเพชรปากช่องซึ่งเป็นพันธุ์พ่อ ผิวค่อนข้างเรียบ เนื้อร่วนไม่ติดกัน แยกเป็นพู เหมือนน้อยหน่าฝ้าย ลักษณะเด่นคือ ติดผลดก ผลปานกลาง น้ำหนักผลเฉลี่ย 302.50 กรัม ต่อผล เนื้อมาก เมล็ดน้อย สุกช้า เฉลี่ย 4.50 วัน และอายุหลังการสุกยาวนาน ลักษณะพิเศษของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 คือ ผลสุกช้า เปลือกไม่เละ ไม่แตกง่าย เหมาะสำหรับการขนส่ง

นอกจากนี้ ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีอายุหลังการสุกยาวนาน สามารถยืดอายุการขายได้นานเป็นสัปดาห์ ถือเป็นเสน่ห์สำคัญที่ผูกมัดใจแม่ค้าได้มากที่สุด เพราะช่วยให้แม่ค้ามีช่วงระยะเวลาการขายที่ยาวนานกว่าน้อยหน่าพันธุ์ทั่วไป ทุกวันนี้ คุณสมเกียรติปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 มากเท่าไร ก็มีผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ลักษณะเด่นของ น้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2

คุณสมเกียรติ แยกแยะลักษณะเด่นของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ที่แตกต่างจากน้อยหน่าทั่วไป ได้แก่

มีเเกนไส้ในเป็นสามเหลี่ยม แกะออกได้ง่าย แตกต่างจากน้อยหน่าพันธุ์อื่นๆ ที่มีแกนไส้กลม
ผลอ่อนมีกลิ่นเหม็นเขียว ส่วนผลสุกมีเปลือกสีเขียว ร่องลึก ผลสุกไม่มีสีเหลืองเหมือนกับน้อยหน่าพันธุ์อื่นๆ
ในอดีต เวลาซื้อน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายดั้งเดิมไปฝากใคร ต้องคัดเลือกผลสุกพอประมาณ ผู้รับก็ต้องรีบกินน้อยหน่าฝ้ายในทันที เพราะน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเนื้อสุกเร็วและเปลือกเละได้ง่าย แต่น้อยหน่าลูกผสม “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” ถูกปรับปรุงพันธุ์ให้มีเปลือกเหนียวมาก ทนทานต่อการทำลายของแมลงวันทองได้สบาย ข้อดีอีกอย่างคือ เวลาบริโภคสามารถใช้ช้อนตักเนื้อน้อยหน่าเข้าปากได้ง่าย เพราะเปลือกไม่ทะลุเหมือนกับน้อยหน่าสายพันธุ์อื่น

“น้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ไม่มีปัญหาเรื่องแมลงวันทอง เพราะน้อยหน่าพันธุ์นี้มีเปลือกหนา ทำให้แมลงวันทองวางไข่ได้ยากมาก ยกเว้นกรณีที่เกษตรกรปล่อยน้อยหน่าผลแก่ไว้คาต้น อายุประมาณ 120 วัน หลังติดดอก เมื่อผลน้อยหน่าสะสมแป้งไว้มาก ทำให้ผลแตก ขั้วแตก เปิดโอกาสให้แมลงวันทองเข้าไปวางไข่ ทำให้ผลผลิตเสียหายในที่สุด” คุณสมเกียรติ กล่าว

การเก็บเกี่ยว

น้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีอายุการเก็บเกี่ยว 100-120 วัน นับจากวันที่ติดดอก เกษตรกรนิยมเก็บผลสุกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป หากยังไม่สะดวก สามารถยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปได้อีกเป็นสัปดาห์ แต่การเก็บผลแก่ในระยะดังกล่าว มักได้ผลผลิตคุณภาพไม่ดี สังเกตได้จากร่องผลมีรอยตื้น เจอปัญหาผิวแตกลายงา ขั้วมีอาการแตกร้าว เนื้อน้อยหน่าจะหนาขึ้น และมีเนื้อแป้งเยอะขึ้น ชิมแล้วจะรู้สึกว่ามีรสมันมากขึ้น มีรสอร่อยน้อยลง

หากต้องการบริโภคน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 ที่มีรสชาติอร่อย คุณสมเกียรติ แนะนำว่า ควรเลือกซื้อน้อยหน่าที่เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 100 วัน นับจากวันที่ติดดอก เรียกว่าเก็บผลผลิตได้ไวกว่าน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง ที่มักเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 120 วัน นับจากวันที่ติดดอก

ฝ้ายเขียวเกษตร 2 อร่อยสุดยอด

คุณสมเกียรติ บอกว่า น้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 เมื่อเปรียบเทียบรสชาติกับน้อยหน่าสายพันธุ์อื่นๆ ถือว่า กินขาด แต่หากเปรียบเทียบขนาดผลแล้ว ถือว่ามีขนาดผลเล็กกว่าน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง เพราะน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อผลเพียงแค่ 1.8 กิโลกรัม เท่านั้น ขณะที่น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องมีขนาดผลใหญ่ยักษ์กว่า โดยมีน้ำหนักเฉลี่ยต่อผล ประมาณ 2.4 กิโลกรัม

“น้อยหน่าไซซ์ยักษ์เหมาะสำหรับทำโชว์ผลหรือประกวดผลผลิตเป็นหลัก เพราะโดยทั่วไปแม่ค้านิยมซื้อขายน้อยหน่าที่มีขนาดผลไม่ใหญ่มาก น้ำหนักเฉลี่ยผลละครึ่งกิโลกรัมเท่านั้น รสชาติความหวานของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 สูงกว่า 10 บริกซ์ เรียกว่ารสหวานกว่าน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายดั้งเดิม แต่ระดับความหวานใกล้เคียงกับเพชรปากช่อง” คุณสมเกียรติ บอก

หากใครผ่านไปทางปากช่องก็สามารถแวะเข้าเยี่ยมชมสวนน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ของคุณ สมเกียรติได้ทุกวัน หากมีข้อสงสัยเรื่องการปลูกดูแล หรือสนใจอยากได้พันธุ์น้อยหน่าฝ้ายเขียว เกษตร 2 ไปลองปลูก ก็ติดต่อสอบถามจาก

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวถึงสถานการณ์การผลิตและความต้องการใช้มะพร้าวของไทย ปี 2564 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนมีนาคม 2564) ซึ่งคาดการณ์ว่า จะมีผลผลิตมะพร้าวรวม 0.876 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีผลผลิต 0.827 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6) โดยผลผลิตปีนี้ ทยอยออกสู่ตลาดมาตั้งแต่เดือนมกราคม และจะออกมากไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2564 คิดเป็นปริมาณรวม 0.644 ล้านตัน (ร้อยละ 73 ของผลผลิตทั้งประเทศ) ในขณะที่ความต้องการใช้ยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ประมาณ 1.269 ล้านตัน จึงคาดว่า ในปีนี้จะมีการนำเข้ามะพร้าวและผลิตภัณฑ์ 0.418 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ความต้องการใช้ในช่วงครึ่งปีแรกยังคงชะลอตัว ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มลดลง โดยพบว่า ราคามะพร้าวที่เกษตรกรขายได้ในเดือนมิถุนายน 2564 เฉลี่ย 10.67 บาท/ผล ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีราคาผลละ 12.98 บาท หรือลดลงร้อยละ 18

สำหรับการบริหารจัดการนำเข้ามะพร้าว คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ได้มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 เห็นชอบการกำหนดช่วงเวลานำเข้ามะพร้าวผลตามกรอบความตกลง AFTA ปี 2564 ในช่วงที่ 1 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ และ ช่วงที่ 2 เดือนกันยายน – ธันวาคม (รวม 6 เดือน) ทั้งนี้ เพื่อให้สัดส่วนการนำเข้าและการรับซื้อผลผลิตในประเทศมีความสมดุลกับปริมาณผลผลิต และไม่กระทบต่อราคามะพร้าวผลที่เกษตรกรขายได้ ซึ่งต่อมา คณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าว ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ได้มีการพิจารณาช่วงเวลานำเข้ามะพร้าวผลตามกรอบความตกลง AFTA ปี 2564 ช่วงที่ 2 คือ ช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม 2564 โดยจะใช้ผลการรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในประเทศของผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าว ในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 มาประกอบการพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้า

“ผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีความต้องการนำเข้ามะพร้าว ภายใต้ความตกลง AFTA ช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม 2564 ควรรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในประเทศให้มากขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านราคาและปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดกระจุกตัวในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม โดยผู้ประกอบการต้องขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมทั้งขอให้จัดส่งเอกสารเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา มายัง สศก. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าว ภายในวันที่ 13 สิงหาคมนี้

ทั้งนี้ ท่านสามารถ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร โทร. (02) 579-0611 ได้ตลอดในวันและเวลาราชการ” รองเลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้าย

“ทฤษฎีใหม่” ทฤษฎีที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยใช้แนวคิดแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตร ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้วางรากฐานและพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้มีชีวิตอยู่โดยหลุดพ้นบ่วงแห่งความยากจน

หลายชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ปรับใช้กับอาชีพเพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยให้กับครอบครัว ดังเช่น คุณณรงค์ กลิ่นถือศีล ที่วันนี้เขาหันหลังให้กับเงิน เดินกลับมารับหน้าที่เป็นหมอดินอาสาประจำตำบลทุ่งบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พัฒนาสานอาชีพเกษตรกรรมต่อ

คุณณรงค์ หรือ คุณป๊อป เรียนจบด้านศิลปะ เคยทำงานออกแบบดิสเพลย์สินค้าให้บริษัทเอกชนในกรุงเทพฯ ก่อนเป็นทหารรับใช้ชาติ 2 ปี เมื่อหมดหน้าที่ตั้งใจกลับไปหางานทำใหม่อีกครั้งในกรุงเทพฯ แต่จังหวะนั้นทางบ้านมีหนี้สินจากการลงทุนทำนา

“หนี้สินที่เกิดขึ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ หมดไปกับปัจจัยการผลิต อาทิ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนพืช และสารเคมีต่างๆ เพราะครอบครัวมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีน้อย จะฉีดพ่นสารเคมีหรือใส่ปุ๋ยจะกำหนดตามระยะเวลา ตามรอบที่เคยทำมา ซึ่งบางช่วงเวลาต้นข้าวไม่ได้ต้องการสารเคมีบางตัว ส่งผลต่อต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยที่ปริมาณข้าวกลับได้เท่าเดิม บางปีลดลง” คุณป๊อป เล่าถึงการผันตัวมาทำการเกษตร

คุณป๊อป หันหลังจากเมืองกรุง กลับบ้านเกิดที่ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มาช่วยพ่อแม่ทำการเกษตร ภายใต้แนวคิด “เงินดิน” แทน “เงินเดือน” ทั้งๆ ที่ตัวเองขณะนั้นมีความรู้การทำนาไม่มาก แม้ครอบครัวจะทำนามายาวนาน แต่ตนเองไม่เคยทำมาก่อน แต่การเข้ามารับช่วงต่อ เขากลับมีหลักคิดว่านาของเขาจะต้องไม่ทำลายธรรมชาติและไม่ทำร้ายผู้คนเด็ดขาด

“ผมย้อนกลับไปคิดถึงรุ่น ปู่ ย่า ตา ยา ว่าที่ผ่านมาพวกเขาทำการเกษตรกันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี ผลผลิตยังออกมาดีและมีคุณภาพได้ ถึงแม้ยุคจะเปลี่ยนผ่านมาถึงปัจจุบันที่ความต้องการด้านอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ผลิตหลายคนเพิ่มปริมาณโดยที่ไม่คิดถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค”

บทเรียนที่ผ่านมาผลักดันให้คุณป๊อปสนใจทำเกษตรอินทรีย์ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทุกประเภท โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามามีบทบาทให้ความรู้อบรม การบริหารจัดการพื้นที่ทำการเกษตร การทำนาอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะการวิเคราะห์ดิน ตรวจแร่ธาตุในดิน รวมถึงการทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เกื้อกูลกันอย่างลงตัว พื้นที่นากว่า 60 ไร่ คุณป๊อป ปรับแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ นาข้าว 40 ไร่ อีก 20 ไร่ ประยุกต์มาปลูกสร้างที่อยู่อาศัย โรงสีข้าว ถมดินสร้างทางเดิน ปลูกผัก ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ และขุดสระทำประมง กักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง เพื่อสร้างห่วงโซ่อาหารที่ปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

“ปัจจุบันเราทำรูปแบบผสมผสาน กระบวนการทุกอย่างภายในฟาร์มที่ผลิตออกมาสามารถใช้วนอยู่ในฟาร์มได้ ทุกอย่างเน้นทำเป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ รอบแปลงนาข้าวขุดร่องน้ำ ปลูกไม้ขนาดกลางและใหญ่ เป็นแนวป้องกันลม คันบ่อปลูกหญ้าแฝกเพิ่มความชุ่มชื้น ผสมกับปลูกกล้วยหอม มะละกอ และพืชผักสวนครัวอื่นๆ ซึ่งการปลูกผสมผสานนี้ ทำให้เรามีรายได้เข้ามาตลอด ทั้งสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติอีกทางหนึ่ง”

คุณป๊อป นำแนวทางที่อบรมมาประยุกต์ใช้ในแปลงนา หยุดใช้สารเคมี ไม่เผาตอซังข้าว ใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลวัว หมู ไก่ เป็ด ที่เลี้ยงไว้ นำวัสดุเหลือใช้ในไร่นามาใช้เป็นอาหารสัตว์ ส่วนหนึ่งนำไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 และใช้น้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ทำให้ธาตุอาหารในดินสมบูรณ์ขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและมีรายได้เพิ่มขึ้น

พูดถึงรายได้ คุณป๊อป บอกว่า มีรายได้เข้ามาทุกวัน พืชผัก อย่างชะอม ไข่จากเป็ดและไก่ คือรายได้รายวัน รายเดือนเป็นกล้วยหอม มะละกอ ส่วนรายปีคือข้าว ที่แม้ปริมาณผลผลิตน้อยกว่าแปลงนาทั่วไป แต่มีคุณค่าทางอาหารและความปลอดภัยสูง ข้าวที่ผลิตจากแปลงนาที่ลด ละ เลิกสารเคมีแห่งนี้ สร้างทั้งกำไรชีวิตให้กับเขาและครอบครัว

วันนี้บนพื้นที่ 60 ไร่ ได้พัฒนากลายเป็นโรงเรียนชาวนาของเยาวชน ตำบลทุ่งบัว เป็นแปลงนาสาธิตเกษตรกรรมธรรมชาติ ที่ใช้คัดเลือกและอนุรักษ์ข้าวสายพันธุ์ “นครชัยศรี” ที่เกือบสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ การปลูก การสี จนไปถึงการตลาดที่เริ่มต้นจากตลาดในชุมชน เพื่อให้คนในพื้นที่ได้บริโภคของที่ดีและปลอดภัย

“การทำงานทุกอาชีพมีความสำคัญหมดทุกอาชีพ มีเกียรติ การได้รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของอาชีพตนเอง มันย่อมนำมาถึงความภาคภูมิใจของตนเอง ในการที่เราเลือกแล้วในอาชีพนั้น ผมภูมิใจในอาชีพชาวนา ได้รักษาเกียรติของชาวนา ก็คือการได้ทำข้าวที่ปลอดภัย”

“จากอาชีพคนเมือง พลิกตัวเองจนกลายเป็นเกษตรกรต้นแบบ ที่ผ่านการเรียนรู้ ลงมือทำ ผ่านช่วงเวลาท้อแท้ ผิดหวัง ท้อใจ เหมือนคนทั่วไป ถึงอย่างนั้นก็ไม่เคยท้อถอย จนสามารถลุกขึ้นยืนหยัดอย่างสง่างาม ด้วยการสานต่ออาชีพของบรรพบุรุษ” คุณป๊อป ฝากทิ้งท้าย

สอบถามข้อมูล หรือเข้าศึกษาดูงาน ได้ที่ คุณป๊อป หรือ คุณณรงค์ กลิ่นถือศีล ประธาน ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอนครชัยศรี บ้านเลขที่ 108/1 หมู่ที่ 8 ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ข่าวดีต้อนรับวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (22 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา) นักวิชาการไทยค้นพบพืชวงศ์ขิง 8 ชนิดใหม่ของโลก อาทิ “กระเจียวจรัญ”, “กระเจียวรังสิมา”, “ขมิ้นน้อย”, “ขมิ้นพวงเพ็ญ” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ขิงและนักพฤกษศาสตร์ของไทย นอกจากนี้ ยังพบพืชวงศ์ขิงที่มีการรายงานใหม่ในประเทศไทยอีก 1 ชนิด เตรียมศึกษาอนุรักษ์ระยะยาว

รศ.ดร.สุรพล แสนสุข นักวิจัยสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช และ ผศ.ดร.ปิยะพร แสนสุข นักวิจัยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า ได้รับทุนวิจัยจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อดำเนินโครงการองค์ความรู้พื้นฐานโครโมโซมของพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย โดยในช่วง ปี 2563 ที่ผ่านมา ได้สำรวจและเก็บข้อมูลพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย เพื่อนำตัวอย่างพืชมาศึกษาโครโมโซม และได้ตรวจสอบลักษณะพืชเพื่อจำแนกพืชให้ได้ชื่อวิทยาศาสตร์พืชแต่ละชนิด แบ่งเป็นสกุลขมิ้นหรือสกุลกระเจียว (Curcuma) 6 ชนิด และสกุลเปราะ (Kaempferia) 2 ชนิด มีลักษณะพืชที่แตกต่างและไม่ตรงกับพืชชนิดอื่นๆ ถือพืชชนิดใหม่ของโลก โดยผู้วิจัยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พืชตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช และได้ตีพิมพ์ในวารสาร Biodiversitas เรียบร้อยแล้ว

ชนิดที่ 1 ขมิ้นน้อย หรือ “Khamin-Noi” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma chantaranothaii Boonma & Saensouk พบทางเป็นพืชป่าจากจังหวัดนครนายก ที่นำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วประเทศไทย ชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้ตั้งเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ดร. ประนอม จันทรโณทัย ซึ่งท่านเป็นนักพฤกษศาสตร์ไทยที่มีชื่อเสียงในแวดวงพฤกษศาสตร์ของประเทศไทยและของโลก

ชนิดที่ 2 กระเจียวรังสิมา หรือ “Krachiao Rangsima” หรืออีกชื่อคือ “บุษราคัม หรือ Bussarakham” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma rangsimae Boonma & Saensouk พบในจังหวัดนครนายก สระบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และนครราชสีมา ชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้ตั้งเป็นเกียรติแก่ คุณรังสิมา ตัณฑเลขา ผู้อำนวยการโปรแกรมอาวุโส โปรแกรมการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติบุคคลที่อยู่เบื้องหลังและสนับสนุนงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

ชนิดที่ 3 ขมิ้นพวงเพ็ญ หรือ “Khamin-Puangpen” เว็บบาคาร่า UFABET มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma puangpeniae Boonma & Saensouk พืชชนิดนี้อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวกขมิ้นหรือกระเจียว พืชชนิดนี้พบที่จังหวัดราชบุรี ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้เป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษาพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย

ชนิดที่ 4 กระเจียวจรัญ หรือ “Krachiao Charan” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma charanii Boonma & Saensouk อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวกขมิ้นหรือกระเจียว พืชชนิดนี้พบที่จังหวัดลพบุรี ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้เป็นเกียรติแก่ ดร. จรัญ มากน้อย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ขิง โดยเฉพาะสกุล Curcuma ในประเทศไทย

ชนิดที่ 5 พญาว่าน หรือ “Phraya Wan” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma phrayawan Boonma & Saensouk พบที่จังหวัดนครนายก และปลูกเป็นพืชสมุนไพรทั่วไทย ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้ตามชื่อพื้นเมืองที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ “พญาว่าน”

ชนิดที่ 6 กระเจียวม่วง หรือ “อเมทิสต์” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma purpurata Boonma & Saensouk พบที่จังหวัดศรีสะเกษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้ตามสีม่วงของดอกพืช

รศ.ดร. สุรพล กล่าวต่อว่า สำหรับพืชวงศ์ขิงที่พบเพิ่มเติมแต่อยู่ในสกุลเปราะ (Kaempferia) 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 7 นิลกาฬ หรือ “Nillakan” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Kaempferia nigrifolia Boonma & Saensouk พืชชนิดใหม่ของโลกนิลกาฬนี้ได้ตั้งขึ้นตามลักษณะเด่นของพืชคือ ใบมีสีดำ พบทางภาคกลางของประเทศไทย ได้ศึกษาโดย รศ.ดร. สุรพล แสนสุข คุณธวัชพงศ์ บุญมา และ ผศ.ดร. ปิยะพร แสนสุข ชื่อพื้นเมือง คือ นิลกาฬ หรือ Nillakan ตั้งขึ้นตามลักษณะเด่นของพืชคือ ใบมีสีดำ ดังนั้น ลักษณะเด่นคือ ใบสีดำ ดอกสีม่วง

ชนิดที่ 8 ว่านกระชายดำเทียม มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Kaempferia pseudoparviflora Saensouk and P. Saensouk ลักษณะเด่นของพืชคือ ใบมีใบเดียว ก้านช่อดอกสั้น และช่อดอกอัดแน่น พบทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ศึกษาโดย รศ.ดร. สุรพล แสนสุข และ ผศ.ดร. ปิยะพร แสนสุข ชื่อพื้นเมืองคือ ว่านกระชายดำเทียม

และ ชนิดสุดท้าย เป็นพืชวงศ์ขิงที่มีการรายงานใหม่ในประเทศไทย 1 ชนิด คือ ว่านหัวน้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma peramoena Souvann. & Maknoi. พบครั้งแรกที่ สปป. ลาว และมีการพบในประเทศไทยที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ลักษณะเด่น ช่อดอกอัดแน่น ดอกสีขาวปนสีชมพูอ่อน กลีบปากมีแถบสีเหลือง