คุณสราวุฒิ กล่าวว่า ตนเองเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14 บ้านสันขะเจ๊าะ

ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยตนเอง ภรรยา และลูกสาว จะออกไปเก็บผักสวนครัว ทั้งพริก ผักบุ้ง ยอดฟักทองและไข่เป็ดไข่ไก่ไปขายในตลาด ซึ่งจะขายหมดทุกวัน เป็นรายได้ที่ยั่งยืน ไม่ขัดสน มีรายได้เข้ามาทุกๆ วัน ซึ่งถือเป็นรายได้ประจำของครอบครัวที่มาจากการเก็บพืชผักสวนครัวในบ้านแล้วนำไปขายที่ตลาดในหมู่บ้าน

ส่วนสัตว์เลี้ยงก็ได้นำไข่ไปขายพร้อมทั้งมีการเพาะไก่งวงและไก่ชนเลี้ยงขายให้กับพ่อค้า โดยเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินตามธรรมชาติในพื้นที่รอบๆ สวนและให้อาหารบ้าง ซึ่งจะมีพ่อค้ามารับซื้อที่สวน สร้างรายได้ให้กับครอบครัว 9,000-12,000 บาท ต่อเดือน เลยทีเดียว

คุณเรณู ภรรยาคุณสราวุฒิ กล่าวว่า ที่สวนจะมีผักสวนครัวหลากหลายซึ่งจะนำมาทำอาหารกินกันภายในครอบครัว เป็นการประหยัดอยู่อย่างพอเพียงและยังสามารถนำผลผลิตไปขายในตลาดได้ ส่วนชาวบ้านใกล้เคียงถ้ามาขอเอาไปทำอาหารกินก็ให้ฟรีอีกด้วย ทุกวันนี้ครอบครัวมีความสุขดี ไม่เดือดร้อน ไม่เป็นหนี้ แต่ต้องรู้จักหาให้ได้และจ่ายให้เป็น ถึงจะพอเพียง มีกินที่บ้าน แจกจ่ายแบ่งปัน เหลือแบ่งขาย ทำให้ชีวิตสบาย ไม่เครียด และมีความสุข

คุณสนธิยา ละอองกุล เดิมเป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณพ่อเป็นครู เนื่องจากคุณพ่อจบมาทางด้านการเกษตรจึงทำการเกษตรควบคู่กับการเป็นครู เมื่อตอนเด็ก ๆ คุณสนธิยาชอบช่วยคุณพ่อทำสวนผลไม้ จึงคุ้นเคยและซึมซับเรื่องการทำสวนผลไม้ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน แต่คุณพ่อส่งคุณสนธิยาเข้าไปศึกษาที่กรุงเทพฯ จนจบปริญญาตรีคณะบัญชี และได้ทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ

คุณสนธิยา ได้สมรสกับ ร.ต.อ.มนัส ละอองกุล และย้ายติดตามสามีมารับราชการที่จังหวัดสงขลา จึงย้ายติดตามสามีมาอยู่ที่ จ.สงขลา และได้มาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาห้าแยกสะพานติณสูลานนท์ เมื่อมีเวลาว่างจากงานก็กลับไปดูแลสวนที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นมรดกตกทอดของเธอ และมีความสุขเมื่อเห็นผลผลิต คุณสนธิยา มีความฝันมาแต่เด็กแล้วว่า ถ้ามีโอกาสจะหาซื้อที่ดินที่ จ.สงขลา ทำการเกษตร

ในปี 2558 คุณสนธิยา เริ่มมองหาที่ดินที่จะเริ่มปูทางไปประกอบอาชีพการเกษตรตามที่หวังไว้ แต่ยังทำงานอยู่ที่ธนาคารกรุงเทพ จ.สงขลา เธอซื้อที่ดินที่เป็นที่นาจำนวน 9 ไร่ 2 งาน ที่ ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา เนื่องจากที่ดินที่ซื้อมาเป็นที่นา จึงทดลองปลูกข้าวไปก่อน เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ในการทำนา ประกอบกับราคาข้าวช่วงนั้นตกต่ำ ปีแรกจึงขาดทุน

ต่อมาในปี 2559 จากแรงบันดาลใจที่ได้จากการศึกษาโครงการทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร์ มหาภูมิพลอดุลเดชมหาราชบรมราชชนก จากประสบการณ์ที่ทำนาขาดทุนและเห็นการทำสวนของคุณพ่อที่ปลูกพืชเดี่ยวโดยไม่มีพืชอย่างอื่นเสริม เมื่อประสบปัญหาภัยธรรมชาติหรือผลผลิตล้นตลาด ทำให้ประสบการขาดทุน เธอจึงมีแนวคิดที่จะทำการเกษตรระบบผสมผสานตามศาสตร์พระราชา ต่ในช่วงนั้นยังคงทำงานอยู่ที่ธนาคาร จึงจ้างคนงานเข้ามาทำงานเป็นครั้งคราว

เริ่มเป็นเกษตรกรเต็มตัว

ในปีต่อมา 2560 คุณสนธิยาตัดสินใจลาออกจากธนาคารกรุงเทพ เพื่อจะได้มีเวลามาทำงานอาชีพการเกษตรตามที่ตั้งใจไว้อย่างจริงจัง โดยเน้นในเรื่องการทำการเกษตรแบบผสมผสาน และเน้นเกษตรปลอดภัยเป็นหัวใจสำคัญ

คุณสนธิยา เล่าว่า ในปีเดียวกันนี้ เธอได้สมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ เพื่อเพิ่มทักษะและหาประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจนจบหลักสูตร ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น (ปวช.) สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์ เพื่อจะนำความรู้มาปรับใช้ในสวนของตนเอง ปัจจุบันได้เข้าร่วมโครงการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบทที่วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์

จุดเริ่มต้นทำการเกษตรผสมผสาน

คุณสนธิยา เล่าต่อไปว่า ถึงอย่างไรนาก็ยังต้องทำอยู่ แต่ลดปริมาณพื้นที่ทำนา คงทำแค่พอกินในแต่ละปี ปัจจุบันทำนาแค่สองไร่ ถึงแม้จะทำได้ปีละสองครั้ง แต่เธอทำแค่ครั้งเดียว เพราะหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะปลูกถั่วเขียว ฟักทองและพืชอื่นเป็นพืชหลังนา

จุดเริ่มต้นที่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพราะเรามองดูว่าทุกวันนี้สิ่งที่เราซื้อกินไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้มีความปลอดภัยน้อย ถ้าเราปลูกไว้กินเอง ที่เหลือก็แบ่งปันกันไปหรือนำไปขายให้ชุมชนที่เขาสนใจบริโภคสินค้าปลอดภัยเหมือนที่เราอยากกิน

“มันเป็นความสุข การที่เราทำงานหนักมาตลอดชีวิต แล้วเรามีที่แห่งหนึ่งที่เราสามารถเดินเข้าไปหาความสุขได้ เราต้องสร้างที่แห่งนั้นเมื่อเรายังมีกำลังอยู่ มาทำงานที่เรารัก คิดว่านี่คือความสุขที่แท้จริง”

พื้นที่การเกษตรทั้งหมด 9 ไร่ 2 งาน ได้แบ่งปลูกฝรั่งกิมจู 4 ไร่ ทำนา 2 ไร่ พื้นที่ที่เหลือปลูกไม้ผลอื่น ในร่องสวนก็เลี้ยงปลา ผักปลูกบนแคร่ นอกนั้นปลูกสมุนไพรหลากหลายชนิด โชคดีที่มีแหล่งน้ำที่มีคุณภาพอยู่ใกล้ๆ จึงขุดร่องน้ำภายในสวนไว้เลี้ยงปลา และสูบน้ำขึ้นมาให้น้ำในสวนโดยใช้ระบบ สปริงเกลอร์

สนใจปลูกฝรั่งกิมจูได้ผลผลิตเร็ว

ครั้งแรกคิดว่าจะปลูกพืชอะไรดีจึงจะมีรายได้เร็วและรายได้ดี คุณสนธิยา เล่าว่า ได้ปรึกษากับเพื่อนบ้านซึ่งย้ายมาจาก จ.ราชบุรี เขาแนะนำให้ปลูกฝรั่งกิมจู โดยให้เหตุผลว่าปลูกแค่ 6 เดือนก็เก็บผลผลิตได้แล้ว นอกจากนั้นการปลูกฝรั่งงานไม่หนักเกินไปสำหรับผู้หญิง

คุณสนธิยา เริ่มศึกษาหาความรู้ในการทำสวนฝรั่งกิมจูอย่างจริงจังแล้วตัดสินใจซื้อกิ่งพันธุ์มาจาก จ.ราชบุรี จำนวยน 700 กิ่งในราคากิ่งละ 25 บาท และคิดว่าจะปลูกฝรั่งเป็นพืชหลักในพื้นที่ประมาณ 4 ไร่

พอย่างเข้าปีที่สอง การปลูกฝรั่งของคุณสนธิยาเริ่มพบปัญหาค่อนข้างรุนแรง คือ โรค แมลงศัตรูพืชและเพลี้ยแป้ง จึงใช้สารกำจัดศัตรูพืชฉีดพ่น แต่เธอไม่สามารถทนกลินของสารเคมีได้ ถึงแม้ว่าผลผลิตจะออกมาอย่างสวยงามก็ตาม จึงมีความคิดว่าต้องเลิกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หันมาทำการเกษตรปลอดภัยอย่างจริงจังโดยทำการศึกษาหาความรู้จากสื่อออนไลน์

“ตอนนั้นได้มาเข้ากลุ่มเกษตรกรชุมชนรำแดง ได้พบกับนักวิชาการเกษตรของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขต 8 (สวพ.8) จ.สงขลา นักวิชาการได้แนะนำให้ผสมปุ๋ยใช้เอง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต และแนะนำให้ใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้การระบายน้ำและอากาศในดินดีขึ้น”

ในระยะที่ฝรั่งให้ผลผลิต คุณสนธิยาจะห่อฝรั่งกิมจูด้วยถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ ในสวนฝรั่งของคุณสนธิยามีการแยกประเภทของขยะ แยกส่วนที่ทิ้งและกำจัดขยะออกมาเป็นส่วน ๆ อย่างชัดเจนเพื่อมิให้มีการปนเปื้อนหรือปะปนอยู่ในแปลงผลิตพืช

คุณสนธิยาทำการห่อผลผรั่งทุก 2 สัปดาห์หลังดอกบาน ห่อด้วยถุงพลาสติกและหุ้มด้วยกระดาษอีกชั้นหนึ่ง เพื่อรักษาคุณภาพของผลผลิต หลังจากนั้นหนึ่งเดือนก็เริ่มเก็บผลฝรั่ง โดยเก็บทุกวัน ๆ ละ 20 กก.ขึ้นไป ตามแผนการสั่งซื้อ

คุณสนธิยา บอกว่า ผลผลิตช่วงแรกยังไม่มาก ส่งขายตามตลาดนัด แรก ๆ ผลผลิตไม่ค่อยสวยราคาไม่ค่อยดี แต่มีคนที่รักสุขภาพซื้อไปกินติดใจรสชาติของฝรั่งกิมจู จึงเริ่มมีลูกค้าประจำ

หลังจากที่ทำให้ผลฝรั่งกิมจูสวยขึ้น จึงตัดสินใจหาลูกค้าโดยมุ่งไปที่กลุ่มรักสุขภาพ เจาะตลาดที่ส่วนราชการและบริษัทเอกชนใน จ.สงขลา โรงเรียน ห้างสรรพสินค้าทั้งในบริเวณใกล้เคียงและในตัวจังหวัดสงขลา

ได้รับการรับรอง GAP จาก สวพ.8

จากการจัดระบบการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพในสวนของคุณสนธิยา มีการจัดเก็บปุ๋ยเคมี สถานที่เก็บน้ำส้มควันไม้และชีวภัณฑ์ต่าง ๆ ตลอดจนอุปกรณ์การฉีดพ่น แยกเป็นสัดส่วนอย่างเป็นระบบ

คุณสนธิยา ได้เข้ารวมกลุ่มเกษตรกรชุมชนรำแดง เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้พบปะกับนักวิชาการเกษตร โดยเฉพาะคุณชัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญของ สวพ.8 สงขลา ได้พานักวิชาการหมุนเวีนมาเยี่ยมเยียนกลุ่มเกษตรกร ซึ่งจัดตั้งเป็นหมู่บ้านวิชาการเกษตรในเขตรับผิดชอบมาให้ความรู้แก่เกษตรกรเดือนละครั้ง ซึ่งจะมีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกรกับเกษตรกร และเกษตรกรกับนักวิชาการ

คุณสนธิยา นอกจากจะมีอาชีพหลักคือ การปลูกและจำหน่ายฝรั่งกิมจูแล้วเธอยังเป็นเกษตรกรนักวิจัยท้องถิ่นตำบลรำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา ในโครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการผลิตภัณฑ์พืชที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 8 (สวพ.8) จ.สงขลา คุณสนธิยา บอกอีกด้วยว่า การได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรวิจัยการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การได้ร่วมการวิจัยทำให้ได้มีโอกาสเพิ่มความรู้และประสบการณ์ในการทำการเกษตร นอกจากได้ความรู้ในการจัดการสวนฝรั่งคุณภาพแล้ว

ยังได้มีการพัฒนาการปลูกพืชผักแบบยกแคร่ การปลูกพืชในโรงเรือน และได้เข้าไปเป็นเลขานุการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสินค้าเกษตรพรีเมี่ยมรำแดงที่มีการแปรรูปกล้วยฉาบน้ำตาลโตนด ทำให้ได้ช่วยชุมชน การที่คุณสนธิยาได้ร่วมวิจัยกับ สวพ.8 ทำให้ได้พัฒนาการผลิตพืชจนได้รับรองมาตรฐาน GAP หลายชนิด ทำให้สมาชิกสามารถส่งสินค้าไปขายที่ห้างสรรพสินค้าได้ และได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรสาขา GAP ดีเด่นระดับภาคใต้ตอนล่าง และรางวัลเกษตรกรไร่นาสวนผสมดีเด่นอันดับ 2 ของภาคใต้จากกรมส่งเสริมการเกษตร

สวนฝรั่งของคุณสนธิยาได้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้การทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีบุคคลภายนอกมาศึกษาดูงานการทำการเกษตรตามหลักการปฏิบัติการเกษตรดีที่เหมาะสม เธอยินดีที่จะให้ผู้สนใจเข้าไปศึกษาและดูกิจการในสวน และพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่เพื่อเกษตรกรด้วยกัน

ผู้สนใจจะเข้าศึกษาและชมกิจการในสวนของคุณสนธิยา สามารถติดต่อได้ที่ บ้านเลขที่ 1/1 หมู่ที่ 3 ต.วัดขนุน อ.สิงหนคร จ.สงขลา โทรศัพท์ 08 1850 4127 ภิรมย์ รักเพชร คนเลี้ยงผึ้ง-ผึ้งเลี้ยงคน ณ บ้านนาสาร

บ้านนาสาร ใครๆ ก็ปลูกเงาะกันทั้งนั้น แต่ คุณภิรมย์ รักเพชร นอกจากปลูกเงาะแล้ว ยังเลี้ยงผึ้งอีกด้วย เขารักและชอบผึ้ง จึงเลี้ยงผึ้ง จากนั้นผึ้งกลับมาเลี้ยงเขา ผลพลอยได้อย่างหนึ่ง หากคุณภิรมย์นำผึ้งไปปล่อยสวนเงาะของใคร เงาะสวนนั้นจะดกที่สุด

ก่อนที่จะรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งของคุณภิรมย์ มาทำความรู้จักผึ้งกันก่อนดีไหมคะ

“ผึ้ง” เป็นแมลงที่มีปากกัดแบบกัดเลีย หนวดสั้นเป็นเส้นด้าย มีปีกแบบเยื่อบาง 2 คู่ เป็นสัตว์สังคม โดยจะสร้างรังอยู่รวมกันหลายพันตัว ผึ้งสามารถแบ่งวรรณะออกได้ดังนี้

1.ผึ้งแม่รัง หรือ นางพญา (Queen) จะมีเพียงตัวเดียวภายในรังทำหน้าที่วางไข่ มีส่วนท้องขยายยาวสำหรับอวัยวะสืบพันธุ์ที่อยู่ภายใน ผึ้งนางพญามีเหล็กไน ลักษณะคล้ายเข็มทำให้สามารถต่อยได้หลายครั้ง

2.ผึ้งตัวผู้ (Drone) มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับผึ้งแม่รัง และหลังจากผสมพันธุ์อวัยวะสืบพันธุ์จะหลุดติดไปกับผึ้งแม่รัง ทำให้ผึ้งตัวผู้ตายหลังจากการผสมพันธุ์ ลักษณะทั่วไปผึ้งตัวผู้จะมีตารวมชิดติดกัน ไม่มีเหล็กไน อีกทั้งยังมีขนาดที่ใหญ่กว่าผึ้งงานเล็กน้อย

3.ผึ้งงาน (Worker) เป็นผึ้งเพศเมียที่อวัยวะสืบพันธุ์ไม่เจริญ มีหน้าที่ทำงานทุกอย่างภายในรังผึ้ง โดยลักษณะความแตกต่างระหว่างผึ้งงานกับผึ้งแม่รัง คือ ขนาดที่เล็กกว่า เหล็กไนของผึ้งงานมีลักษณะเป็นตะขอ สามารถต่อยได้เพียงครั้งเดียว เนื่องจากเมื่อผึ้งงานต่อย…อวัยวะภายในจะถูกดึงออกหลังการต่อยและทำให้ผึ้งงานตายในเวลาต่อมา

โดยชนิดของผึ้งสามารถจัดจำแนกตามสัญชาตญาณในการสร้างรังที่แตกต่างกัน เช่น ผึ้งโพรง (Apis cerana) และผึ้งยุโรป (Apis mellifera) จะสร้างรังในที่มืด…ส่วนผึ้งหลวง (Apis dorsta) และ ผึ้งมิ้ม (Apis florea) จะสร้างรังเป็นเดี่ยวๆ ใต้ต้นไม้ หรือตามผาสูง

คุณภิรมย์ รักเพชร อยู่บ้านเลขที่ 120/8 หมู่ที่ 3 ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบอาชีพทำสวน ปลูกเงาะ จุดเริ่มต้นของการเลี้ยงผึ้งนั้น มีคนรู้จักที่เลี้ยงผึ้งมาก่อนจึงได้ทำการศึกษาต่อจากเขา พอมีความรู้คร่าวๆ บวกกับความชอบส่วนตัวจึงตัดสินใจเลี้ยงอย่างจริงจังเพื่อหาประสบการณ์ให้กับตนเอง อีกทั้งเพื่อเพิ่มช่องทางในส่วนของรายได้ที่จะเข้ามาสู่ครอบครัว

“เมื่อก่อนหมู่บ้านก็เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ใครถนัดอะไรก็ทำอย่างนั้น ผมถนัดเรื่องการเลี้ยงผึ้ง ตอนแรกก็เลี้ยงไม่กี่รัง” คุณภิรมย์ กล่าว

คุณภิรมย์ บอกว่า เริ่มแรกซื้อผึ้งพันธุ์อิตาลีทั้งกล่องมา 1 ชุด จากฟาร์มผึ้งจังหวัดชุมพร ประกอบไปด้วยพันธุ์ผึ้งและรังผึ้ง ภายในมีผึ้งทั้งหมดประมาณ 36,000 ตัว ต่อกล่อง ช่วงแรกซื้อมาตั้งไว้เพื่อขยายพันธุ์ โดยจับไข่มาเขี่ยใส่หลอด ประมาณ 10 วัน เพื่อให้ตัวหนอนอ่อนเจริญเติบโตเป็นนางพญาผึ้ง จากนั้นก็นำไปเหน็บใส่รังอื่นๆ เพื่อเพิ่มประชากรผึ้งภายในรังอื่นๆ

“ที่นี่สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปมีพืชสวน เหมาะต่อการเลี้ยงผึ้ง อาทิ ดอกไม้ ต้นเงาะ ต้นยางพารา เป็นต้น…จุดเด่นการเลือกใช้ผึ้งสายพันธุ์อิตาลี เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ขยันหาน้ำหวาน อีกทั้งไม่ดุ ความต้องการทางด้านการขยายพันธุ์ต้องการเท่าไหร่ขยายเท่านั้น ปัจจุบัน มีรังผึ้งประมาณ 400-500 รัง ช่วงการเก็บเกี่ยวน้ำหวานจากผึ้ง 1 อาทิตย์ได้น้ำหวาน ประมาณ 200 ลิตร ต่อ 35 กล่อง การสังเกตเมื่อน้ำหวานได้ที่ หลอดกักเก็บน้ำหวานจะปิด ใช้เวลาในการปิดรังไม่เกิน 1 อาทิตย์”

คุณภิรมย์บอกต่ออีกว่า “ช่วงเดือนมีนาคมถึงช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงที่น้ำหวานเยอะ ผลผลิตที่สามารถนำไปขายได้กว่า 2,000-3,000 ขวด ทางด้านผลผลิตบางส่วนมีการจัดส่งโรงงานภายในประเทศตลอดจนส่งออกไปยังประเทศสเปน…มีการใช้น้ำตาลเข้ามาช่วยในการสร้างน้ำหวานของผึ้ง ปริมาณน้ำตาลที่ใช้เป็นตันๆ โดยการนำน้ำตาลละลายในน้ำใส่ไว้ในจานแล้วตั้งทิ้งไว้ ที่ให้น้ำตาลเพราะไม่มีเกสรดอกไม้ ช่วงนี้จะไม่เก็บน้ำผึ้ง”

คุณภิรมย์ บอกว่า ศัตรูผึ้งหลักๆ ก็จะเป็นพวกไร ตัวต่อ นก เป็นต้น การแก้ไขโดยการใช้ยาเป็นบางช่วง

“คาดการณ์ปี พ.ศ. 2563 ช่วงเก็บเกี่ยวน้ำหวานจะทำการขยายพันธุ์เป็น 700-800 รัง ถ้ากำลังการผลิตถึงก็อยากขยายเป็น 1,000 รัง ในส่วนของการดูแลได้รับความร่วมมือจากสมาชิกภายในครอบครัวร่วมช่วยกันดูแลจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีอยู่ 5 คน” คุณภิรมย์ กล่าว

เงาะที่ผึ้งช่วยผสมเกสรทางด้านการผสมเกสร มีการนำผึ้งไปวางเพื่อการผสมเกสรโดยธรรมชาติ ประมาณ 400-500 ไร่ โดยการตั้งทิ้งไว้รอให้ผึ้งผสมเกสร จนกว่าดอกเงาะจะบานหมด คุณภิรมย์ บอกว่า เงาะที่ได้รับการช่วยผสมเกสรจากผึ้ง ติดผลดก มีความแตกต่างอย่างชัดเจน มีหลายสวนติดต่อให้เขานำผึ้งไปช่วยผสมเกสร แต่ก็ทำได้ไม่ทั่วไป เพราะหากสวนใดมีการใช้สารเคมีมาก จะเป็นอันตรายต่อผึ้ง

ในส่วนของทุเรียนไม่สามารถทำวิธีนี้ได้ เนื่องจากดอกของทุเรียนนั้นจะบานในเวลากลางคืน ส่วนผึ้งจะผสมเกสรช่วงตอนกลางวัน ทางด้านการนำไปใช้ในส่วนของการป้องกันโรค มีการนำผึ้งมาต่อยเพื่อป้องกันโรครูมาตอยด์ เป็นการรักษาโดยใช้พิษผึ้งที่ประกอบด้วยสารทางเคมีที่มีฤทธิ์ไปกระตุ้นร่างกายให้ผลิตสารออกมา ซึ่งมีประโยชน์ในการรักษาโรคและอาการต่างๆ โดยใช้จุดฝังเข็มของการแพทย์แผนจีนที่มีการบันทึกว่าใช้รักษาผู้ป่วยนานกว่า 3,000 ปี

ผลิตผลที่ได้ เจ้าของจำหน่ายเป็นสินค้าโอท็อป ขวดละ 250 บาท ปีหนึ่งผลผลิตน้ำผึ้งมีประมาณ 20 ต้น “เดิมนั้นทำงานรับจ้างอยู่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปี 2552 ช่วงที่อยู่กรุงเทพฯ จะใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุดไปอบรมความรู้เรื่องการเกษตร ไปทั่วทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อย่าง อยุธยา อ่างทอง ลพบุรี ไปหมด เพราะเรามีใจรักและมีความฝันว่า วันหนึ่งต้องกลับบ้านเกิด สร้างรายได้ด้วยการทำเกษตร”

นางผ่องพรรณ พินิตปวงชน อยู่บ้านเลขที่ 53 หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ 087-108-3482 เป็นหนึ่งในเกษตรกรของอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ที่ได้รับเอกสารสิทธิจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ในเนื้อที่ 30 ไร่ กล่าวถึงสิ่งที่เป็นความฝันของชีวิตเมื่อครั้งอดีต

“พอปี 2553 ได้ตัดสินใจกลับบ้านเกิด แม้อยู่กรุงเทพฯ จะมีเงินเดือนเข้ามาให้เราใช้ทุกเดือน แต่ตอนนั้นรู้สึกว่า ที่นี่ไม่ใช่ที่ของเรา กลับบ้านดีกว่า ปล่อยให้สามีอยู่กรุงเทพฯ คนเดียว เรากลับบ้านมาก็ใช้พื้นที่เท่าที่มีอยู่ในบ้านทำเกษตรเล็กๆ น้อยๆ อย่างทำนา ปลูกไผ่ ปลูกผักขาย ให้มีรายได้พอเลี้ยงตัวได้ และจุดที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยนเลย คือ พ.ศ. 2555 ส.ป.ก. ได้คัดเลือกให้รับเอกสารสิทธิจากทางที่ดินทำกิน จำนวน 7 แปลง เนื้อที่รวม 30 ไร่ และเป็นจุดเริ่มต้นทำการเกษตรอย่างจริงจัง”

“และอีกสิ่งที่เราได้ยึดเป็นหลักของชีวิตเลยทั้งตอนที่เริ่มต้นและในวันนี้ คือ การน้อมนำแนวพระราชดำริ ในด้านที่เกี่ยวกับหลักการทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาเป็นหลักนำของชีวิต โดยเฉพาะหลักการทรงงานที่ว่า “ไม่ติดตำรา ทำให้ง่าย” อันนี้อ่านมาและชอบ จำจนขึ้นใจ โดยพระองค์ใช้เป็นหลักในการพัฒนาในโครงการพระราชดำริต่างๆ ซึ่งจะไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย เพราะสภาพปัญหามีไม่เหมือนกัน หากใช้ปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบ ครบถ้วนจะพบวิธีการพัฒนาใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา และทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นสิ่งที่ง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย อันเป็นการแก้ปัญหาด้วยการใช้กฎแห่งธรรมชาติเป็นแนวทางนั่นเอง”

“พี่ดูจากทีวี พระองค์ท่านบอกว่า ถ้าเราอยากกินอะไรต้องปลูกอันนั้น อยากกินผลไม้ชนิดไหน เราต้องปลูกอันนั้น เราอยากกินข้าวก็ต้องปลูกข้าว อยากกินปลาเราต้องเลี้ยงปลานะ”

ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเท ผสานกับความช่วยเหลือและสนับสนุนในการส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยมีสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดแพร่ เป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ ชีวิตการเป็นเกษตรกรของพี่ผ่องพรรณได้พัฒนามาตามลำดับ

“ที่ดินของ ส.ป.ก. ที่ได้รับมาเราก็มาทำเกษตรหลายอย่าง เช่น ทำนา ปลูกผัก และบางส่วนก็แบ่งให้ญาติเข้ามาใช้ประโยชน์ด้วยเพื่อให้เขามีรายได้ โดยญาติเข้ามาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่เขาใช้สารเคมีเยอะ เรามาเห็นแล้วสงสาร สงสารผืนดิน ตอนหลังเลยขอที่คืนมาทำเอง และพอดีว่า ทาง ส.ป.ก. ได้มีโครงการเปิดโรงเรียนชาวนาขึ้น จึงได้สมัครเข้าเรียนด้วย”

โรงเรียนชาวนา เป็นโครงการที่ ส.ป.ก. ได้ดำเนินการในขณะนั้น เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูอาชีพชาวนา เพื่อสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงในภาคเกษตรของไทย โดยมีการถ่ายทอดความรู้ตามหลักวิชาการ เพื่อให้นำไปพัฒนาและปรับรูปแบบการทำนาให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

“โรงเรียนชาวนาทำให้เราได้รับความรู้มากมาย โดยเฉพาะการปลูกข้าวอินทรีย์ ที่ไม่ต้องใช้สารเคมี ปลอดภัยทั้งคนทำและคนกิน ซึ่งตรงกับความสนใจของเราอยู่แล้ว พอเรียนจบจากโรงเรียนชาวนา จึงมาปรับพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นแปลงเกษตรผสมผสาน และอีกส่วนทำนาอินทรีย์มาจนถึงทุกวันนี้” พี่ผ่องพรรณกล่าว

“เพราะได้ทาง ส.ป.ก. เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านความรู้ นอกจากเข้ามาช่วยแนะนำถึงที่บ้านแล้ว ยังเปิดโอกาสให้เราได้ไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ อีกด้วย เช่น การไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น และโครงการเกษตรอินทรีย์ ในปี 2559 พอปี 2560 พาไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ และโครงการปลูกไม้เศรษฐกิจในเขตปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น ทำให้เราได้ความรู้กลับมาพัฒนาอาชีพจนประสบความสำเร็จได้เช่นทุกวันนี้”

พี่ผ่องพรรณ บอกว่า วันนี้ชีวิตสามารถอยู่ดีมีสุข เพราะมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่ เช่น ข้าว ผักเสี้ยว ผักชะอม หน่อไม้ มะม่วง ขนุน ปลา และพืชผักอื่นๆ รวมเป็นเงินประมาณ 220,000 บาท ต่อปี

“เคล็ดลับการทำให้เกิดความสำเร็จนั้น ต้องใช้หลักว่า เราต้องทำไปสังเกตไป อย่างการทำนาอินทรีย์ สิ่งที่รู้อย่างเดียวคือ เราจะไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี เพราะเราเชื่อมั่นว่า สมัยก่อนพ่อแม่เราเขาไม่มีปุ๋ยเคมีเขาก็ทำได้ เหมือนที่เราจะเอาวิถีเดิมๆ สมัยก่อนกลับมาทำใหม่ ให้เขารู้ว่าเราไม่ต้องพึ่งยา เราไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี เราก็อยู่ได้ ทำได้ ถึงแม้ว่าผลผลิตมันอาจจะไม่เต็มที่ แต่เราจะได้ข้าวที่บริสุทธิ์ ข้าวที่สะอาด ข้าวที่ปลอดภัย ดังนั้น สิ่งที่ดีสุดที่จะทำให้ประสบความสำเร็จคือ ต้องลงมือทำ ทำแล้วเรียนรู้ ทำแล้วพัฒนาไปเรื่อยๆ” พี่ผ่องพรรณกล่าวในท้ายที่สุด

ผ่องพรรณ พินิตปวงชน คือ อีกหนึ่งเกษตรกรต้นแบบในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ดำเนินการ โดย ส.ป.ก. พร้อมให้การช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร เพื่อให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของเกษตรกร โดยเฉพาะการสร้างความอยู่ดีกินดี มีรายได้อย่างมั่นคงตลอดไป

พูดถึงผลไม้ ชื่อต้นๆ ที่ผมนึกถึงคือ ฝรั่ง มะละกอ กล้วย เพราะเป็นไม้ผลที่ใช้เวลาปลูกไม่นาน เพียงไม่ถึงปีก็ได้ผลผลิต ตลาดให้การตอบรับที่ดี ผู้บริโภครู้จักและได้ผลผลิตต่อเนื่อง ปลูกครั้งเดียวดูแลดีๆ ก็ให้ผลผลิตได้นาน มีมูลค่าการตลาดที่เพิ่มขึ้นเสมอ

ผมเองก็เคยนำเสนอสวนของเพื่อนๆ GClub Slot มาให้ได้รู้จักกันหลายสวน แต่ละสวนก็มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ผลผลิตหลากหลายสายพันธุ์ การจัดการแต่ละสวนก็มีทั้งเหมือนและต่างกัน ปัจจุบัน สวนเหล่านั้นก็ยังคงเดินหน้าผลิตผลและกิ่งพันธุ์จำหน่ายอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังช่วยเป็นที่ปรึกษาให้มือใหม่ได้หัดปลูก จนประสบผลสำเร็จกันมากมาย

ผมรู้จักน้องอีกคน พยายามทบทวนว่ามาเจอกันในสายนี้ได้อย่างไร วันหนึ่งผมตามหาท่อนไม้หลุมพอ เพื่อนำมาเป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆ ได้เห็นในการชวนคนปลูกต้นไม้ให้กลายเป็นป่า เพราะไม้หลุมพอส่วนมากจะเจอทางใต้เท่านั้น

และก็ไปเจอคนนี้ คุณจิรศักดิ์ โคจีจุล หรือนามเรียกขานในแวดวงเกษตรว่า เชน เบอร์โทร. (081) 397-3513 หนุ่มราชภัฏ สาขาวิชาเครื่องกล จบมาแล้วก็มาเดินหน้าในงานที่พ่อสร้างไว้นั่นคือขายไม้แปรรูปต่างๆ ประกอบกับมีพื้นที่ว่างอยู่ 10 ไร่ ได้ปลูกกระถินณรงค์และกระถินเทพาเพื่อนำไม้มาใช้งาน ซึ่งไม้จำพวกอะเคเซียนี้ ใช้เวลาปลูกไม่นาน เพียง 5-7 ปี ก็ตัดมาใช้งานได้แล้ว

เมื่อตัดไม้ออก พื้นที่ก็ว่างเปล่า จะทำอย่างไรดีหนอ ใจหนึ่งก็อยากทำเกษตร แต่ด้วยสภาพดินในพื้นที่เป็นดินเหนียว ไม่รู้จะแก้อย่างไร ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร แม่จึงบอกว่า “คนเฒ่าคนแก่สอนมา อยากรวยให้ปลูกพร้าวปลูกหมาก อยากยากให้มีเมียสองคน”

“สรุปว่าอยากรวยหรืออยากยากครับ”

“ตอนนั้นตอบยากพี่ ผมไม่รู้จะไปทางไหน แต่ใจชอบฝรั่ง ก็เลยเริ่มต้นกับฝรั่งกิมจู”

“เรียนรู้ยังไง หมายถึงเรามือใหม่ ต้องเริ่มต้นยังไงครับ” “ดุ่มๆ เลยพี่ ซื้อกิ่งพันธุ์มาก็ปลูกเลย ตอนนั้นเชื่อมั่นว่าทำได้แน่ ศึกษามาเยอะ แบบว่าดูยูทูปมาเยอะครับ”

“ได้ผลดีไหมครับ”

“ตายเรียบเกือบหมดสวนครับ เจอรากเน่าไปทั้งแถบ มาแบบตั้งตัวไม่ทันแบบนี้ เล่นเอาท้อเลยพี่”