คุณสิริกาญจน์ บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกรว่า

เมื่อก่อนตนเองประกอบอาชีพเป็นนักเขียนมานานกว่า 10 ปี มีความสามารถหลากหลายที่นอกจากจะเป็นนักเขียนแล้วยังสามารถทำงานในส่วนของคอมพิวเตอร์กราฟิก รวมถึงงานอาร์ตเวิร์กต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมาทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยความราบรื่นมาตลอด จนกระทั่งเมื่อ 3-4 ปี ที่แล้วต้องประสบกับยุคที่เปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพสื่อจากบนกระดาษไปเสพสื่อบนโซเชียลแทน ส่งผลถึงต้นฉบับถูกลดลงจนเกิดปัญหาชีวิตเรื่องของรายจ่าย จึงตัดสินใจกลับบ้าน

“ในช่วงปีแรกของการกลับมาอยู่บ้านพี่ก็ได้ลงทุนทำธุรกิจเปิดร้านสื่อสิ่งพิมพ์แต่ก็ไปไม่รอด พ่อและแม่เห็นแล้วสงสารและบอกว่าให้หยุดพักไม่ต้องพยายามวิ่งตามสิ่งที่ไกลตัวให้อยู่แบบพอเพียงก็ได้ หลังจากนั้น แม่จึงชวนพี่ทำเกษตร พี่ก็ได้บอกกับแม่ไปว่าจะทำได้อย่างไร พี่ไม่มีความรู้เรื่องเกษตรเลย แม่ก็บอกว่าไม่เป็นไร แม่พอมีความรู้อยู่บ้างจากการที่ได้เข้าไปอบรมโครงการเกษตรอินทรีย์ 459 ซึ่งแม่ของพี่เป็นรุ่นแรกของโครงการเริ่มจัดตั้งในปี 59 โครงการนี้ได้เข้ามาช่วยปรับวิธีคิดเรื่องของกระบวนการทำเกษตรอินทรีย์ และหลังจากนั้น พี่จึงมีโอกาสได้เข้าอบรมโครงการเป็นรุ่นที่ 2 แล้วได้กลับมาทดลองปลูกผักข้างบ้าน เริ่มจากทำพื้นที่เล็กๆ และค่อยๆ ขยายทำไปเรื่อยๆ” เจ้าตัวบอก

คุณสิริกาญจน์ เล่าต่ออีกว่า หลังจากที่เริ่มลงมือทำเกษตรไปทีละก้าว จนเริ่มเกิดความชำนาญและมีความคิดที่อยากจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มแต่เงินทุนไม่พอ จึงตัดสินใจไปกู้เงินจาก ธ.ก.ส. เพื่อมาขยายพื้นที่การทำเกษตรให้มากขึ้น ซึ่ง ธ.ก.ส. ไม่เพียงแต่ให้เงินทุนสนับสนุน แต่ยังเข้ามาช่วยในเรื่องของการให้ความรู้ ติดตามผล รวมไปถึงการช่วยหาตลาดด้วย จนทำให้ปัจจุบันนี้สวนของตนเองมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากพื้นที่ไม่กี่ตารางวาขยับขยายได้จนถึง 5 ไร่ เลือกปลูกทุกอย่างที่กินได้ ไม่ว่าจะเป็นพืชผักสวนครัว

ผักพื้นบ้าน ผักสลัด รวมถึงการเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งแนวคิดการทำเกษตรผสมผสานถือว่าตอบโจทย์ชีวิตมากทั้งด้านอาหารและรายได้ที่ไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย และนอกจากรายได้จากการขายพืชผักแล้ว ยังมีรายได้ในส่วนของการทำปุ๋ยหมัก ดินเพาะกล้า รวมถึงการทำน้ำยาอเนกประสงค์ เช่น น้ำยาล้างจาน แชมพู เข้ามาเป็นรายได้เสริมอีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะหยิบจับอะไรทุกอย่างกลายเป็นเงินไปหมด และก็ต้องขอบคุณที่ทาง ธ.ก.ส. ได้ทำโครงการที่ดีมากๆ ถ้าไม่มีโครงการนี้ตนเองก็ยังไม่รู้ทิศทางการดำเนินชีวิตว่าจะเดินไปทางไหน แต่เมื่อทาง ธ.ก.ส. เข้ามาโดยที่มีคุณประเสริฐ ปิ่นนาค คอยเข้ามาให้ความรู้ บอกแนวทางตลอดว่าควรไปทิศทางไหน ก็รู้สึกอุ่นใจมากขึ้นเปรียบเสมือนมีเพื่อนคู่คิดอยู่ข้างกายตลอดเวลา

เกษตรอินทรีย์ 459 โครงการดีๆ
ช่วยเกษตรกรเริ่มต้นชีวิตใหม่
“ต่อไปในอนาคต คนจะตกงานเยอะ อาชีพเกษตรจะเป็นอาชีพแรกที่คนจะเลือกเข้ามา และพี่มองเห็นว่าพี่ก็เป็นหนึ่งในต้นแบบนั้น การทำเกษตรไม่ยาก ขอแค่รู้ว่าทำอย่างไรให้ได้ผล ซึ่งโครงการเกษตรอินทรีย์ 459 ตอบโจทย์หมดทุกอย่าง เกษตรอินทรีย์ 459 คือชีวิต คือความยั่งยืนในการสร้างแหล่งอาหาร สร้างทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผัก เป็นสัตว์เลี้ยงทำได้หมด เพราะเป็นกระบวนการที่ชัดเจน ถ้าเกษตรกรนอกจากทำนา ทำอาชีพหลักแล้ว หันมาทำเกษตรอินทรีย์ 459 ควบคู่กันไปเขาจะอยู่ได้ ซึ่งตรงนี้แหละจะเป็นเงินที่เราเอาไปใช้หนี้ได้ เพราะถ้าเราจ่ายอย่างเดียวก็เป็นเงินพอกหางหมู เอาตรงนี้ไปใช้หนี้ใช้สิน ภาระก็เบาลง” คุณสิริกาญจน์ กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อเข้าอบรมที่ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 บ้านเต่าไหเหนือ ตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ สามารถติดต่อ คุณสิริกาญจน์ รุ่งแจ้ง ได้ที่เบอร์โทร. (087) 198-0694

จากผลงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์สะตอพันธุ์พื้นเมืองจนได้สะตอพันธุ์ตรัง 1 ของศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จนมีผู้จองต้นพันธุ์สะตอ ตรัง 1 จำนวนกว่า 70,000 ต้น แต่ยังไม่สามารถผลิตสนองความต้องการของเกษตรกรผู้จองเข้ามาได้

คุณสมสุข ศรีวะปะ เป็นเกษตรกรชาวสวนยาง มีอาชีพเพาะกล้ายางพาราจำหน่ายอยู่บ้านเลขที่ 62/1 หมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ดร. บุญชนะ วงศ์ชนะ ขณะนั้นเป็นนักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษอยู่ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ปัจจุบันนี้ท่านย้ายไปดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ได้ให้กิ่งพันธุ์ผมมา ก็ได้นำมาติดตาบ้าง เสียบข้างบ้าง ได้ประมาณ 300 ต้น ซึ่งได้เตรียมต้นกล้าไว้ 400-500 ต้น ต้นกล้าสะตอมีอายุประมาณ 8 เดือน ความสูงเฉลี่ยประมาณ 80-100 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์ต้นกล้าสะตอ

คุณสมสุข บอกว่า การผลิตต้นกล้าในระยะแรกผลิตได้น้อย เนื่องจากแปลงกิ่งพันธุ์มีจำนวนจำกัด ต้องพยายามดูลักษณะเด่นของแต่ละต้น เช่น การออกช่อดอก ดูว่าต้นไหนออกดอกไว ประมาณ 2-3 ปี จึงจะมีช่อดอกให้เห็น เราก็จะนำกิ่งพันธุ์ของต้นเหล่านั้นนำมาเป็นต้นกล้า เลี้ยงอยู่ประมาณ 8-10 เดือน จึงจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ซึ่งเป็นเวลานานพอสมควร

การเลี้ยงกิ่งพันธุ์ดีใช้เวลา 5-8 เดือน เพื่อเลือกกิ่งที่เหมาะสมกับต้นกล้า คือให้ขนาดของตาสะตอใกล้เคียงกับต้นกล้าที่จ พื้นที่ที่เหมาะสม กับการปลูกสะตอ

ภาคใต้เป็นดินแดนของสะตอ คุณสมสุขบอกแต่ก็สามารถปลูกได้หลายภาค เช่น ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเหนือ ก็มีผู้นำไปปลูก เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ในภาคอีสาน ก็มีผู้นำไปปลูก เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ เป็นต้น

สะตอชอบดินเหนียวร่วนระบายน้ำได้ดี ไม่ชื้นแฉะ ทางภาคใต้ส่วนมากเกษตรกรจะปลูกไว้ในบริเวณบ้าน ประมาณ 3-5 ต้น หรือปลูกตามแนวดิน แต่ระยะหลังมีเกษตรกรหลายรายสนใจปลูกเป็นไร่

สำหรับผู้ที่จะปลูกเป็นไร่ ควรใช้ระยะปลูก 7×7 เมตร หรือ 8×8 เมตร กรณีที่ปลูกเป็นพืชแซม ต้องปลูกห่างจากพืชหลักไม่ต่ำกว่า 7 เมตร และต้องเป็นต้นไม้ที่ไม่บดบังแสงแดด การใส่ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในช่วง 1-3 ปีแรก ในระยะแรกปลูกควรใส่ 2-3 เดือน ต่อครั้ง ถ้าหลังเก็บเกี่ยวแล้วใช้สูตร 15-15-15 เหมือนเดิม ก่อนออกดอก 2-3 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 8-24-24 อย่างไรก็ตาม ในปีแรกถ้าเข้าหน้าแล้งควรให้น้ำด้วย สะตอจะได้โตอย่างต่อเนื่อง

คุณสมสุข อธิบายว่า ในช่วง 1-2 ปี เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก หลังจากปลูกได้ 1 ปี ให้ตัดลำต้นที่ความสูง 1.2-1.5 เมตร หรือในขณะที่ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว สะตอจะแตกกิ่งก้านสาขาออกไปกว้างมาก และจะทำให้กิ่งรุ่นที่ 2-3 ห้อยลงมามาก และควรค้ำลำต้นให้ตรงในช่วง 1-2 ปีเท่านั้น

สะตอจะออกช่อดอกที่ปลายกิ่ง ถ้าเราทำให้ปลายกิ่งแตกออกมากจะได้หลายช่อ และสะดวกในการเก็บเกี่ยว ดังนั้น การตัดแต่งกิ่งในช่วงแรกจึงมีความสำคัญ การผลิตนอกฤดูของสะตอ พันธุ์ตรัง 1

สะตอ พันธุ์ตรัง 1 สามารถออกดอกได้มากกว่า 1 ครั้งในรอบปี ช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม นอกฤดูช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน การออกฝักอย่างสม่ำเสมออยู่ที่การดูแลรักษา คุณสมสุข บอก

คุณสมสุข อธิบายต่อไปว่าการนำสะตอพันธุ์ตรัง 1 ไปปลูกในภาคอื่นๆ เช่น ภาคอีสาน ผลผลิต รูปร่างฝัก จำนวนเมล็ด อาจจะเปลี่ยนไปแต่ไม่มากนัก ถ้าไม่แล้งในระยะฝักอ่อน ในภาคอีสานสะตอจะออกฝักตอนเข้าฤดูฝนเหมือนภาคใต้ แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงต้องให้น้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม

สำหรับการจำหน่าย คุณสมสุข บอกว่า ชาวบ้านนิยมขายเป็นฝัก ช่วงนอกฤดูราคาดี ขายได้ฝักละ 10 บาท ถ้าในฤดูฝักละ 3-5 บาท ทางภาคตะวันออกและภาคอีสาน ขายได้ราคาแพงกว่าภาคใต้ ขายเป็นกิโลกรัม ประมาณ 60-80 บาท ต่อกิโลกรัม และมีพ่อค้ามารวบรวมไปขายที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย

ปัจจุบัน คุณสมสุขมีต้นพันธุ์อยู่ประมาณ 50 ต้น มีสะตอพันธุ์ตรัง 1 ปลูกไว้ในสวน 20 ต้น และปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้ผลิตต้นกล้าได้หลายพันต้น มีผู้สั่งไปปลูกทั้งภาคเหนือ อีสาน และภาคตะวันออก เป็นการเผยแพร่สะตอพันธุ์ตรัง 1 อันเป็นผลงานปรับปรุงพันธุ์สะตอของศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เกษตรกรที่สนใจปลูกสะตอพันธุ์ตรัง 1 ติดต่อได้ที่ไร่นายสมสุข ศรีวะปะ เลขที่ 62/1 หมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง 92140 โทรศัพท์ 089-873-5131 หรือ คุณธนัชญา ศรีวะปะ โทรศัพท์ 095-256-3193

“การที่คนเราจะมาทำเกษตร ต้องร้อนให้เป็น เย็นให้พอ รอให้ได้” เป็นคติประจำใจของ คุณอลงกรณ์ บุพสังข์ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 185 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนจะผันตัวมาทำการเกษตรเหมือนเช่นทุกวันนี้ เดิมทีเรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ซึ่งดูห่างไกลจากเรื่องเกษตรมากพอสมควร ก่อนจะมาถึงจุดนี้ได้ล้มลุกคลุกคลานมาไม่น้อย แต่ไม่เคยถอดใจ จนในที่สุดทุกวันนี้สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ด้วยการทำการเกษตร

คุณอลงกรณ์ บุพสังข์ เล่าว่า เมื่อก่อนทำงานเกี่ยวกับเบื้องหลัง ทำงานในกองละคร จนกระทั่งมีช่วงเวลาหนึ่งเกิดความรู้สึกว่าอยากกลับบ้าน แต่ตอนนั้นยังไม่มีเงินทุน จึงลาออกแล้วหันไปหางานทำใหม่ ได้มีโอกาสไปทำงานอยู่ที่เชียงคาน ทำงานบริการอยู่ที่โรงแรม แต่ไปเห็นว่าคนเชียงคานเขาอยู่บ้าน แต่ก็มีรายได้เพราะการทำเกษตร จึงหันมาย้อนมองที่บ้านตนเองก็มีพื้นที่ว่างอยู่ แถมยังมีต้นทุนเป็นความรู้ทางด้านการเกษตร เพราะคุณพ่อและคุณแม่เป็นเกษตรกรมาตั้งแต่จำความได้ จึงตั้งใจเก็บเงินทุนได้ก้อนหนึ่งแล้วตัดสินใจกลับมาบ้านเกิด ในปี 2556

เริ่มแรกมาตัดสินใจลงทุนทำกล้วยหอมในพื้นที่นาหลังจากที่ไปดูงานมาจากจังหวัดเพชรบุรี จึงตัดสินใจเอากล้วยหอมลง 5 ไร่ ผลปรากฏว่าตัดได้ไม่ถึง 10 ต้น นอกนั้นต้องตัดทิ้งทั้งหมด เพราะพื้นที่นาที่ตนเองมีอยู่เป็นดินเหนียว

“ตอนนั้นก็เรียกว่าเจ๊งเถอะครับ แต่เราเจ๊งแบบได้ความรู้ ปัญหาคือ เราไปเรียนรู้มาจากที่อื่น แต่มาทำที่นี่ซึ่งพื้นที่มันไม่เหมือนกันอยู่แล้ว” เขาเล่าถึงความผิดพลาดของตนเองในตอนนั้น และสร้างหนี้สินให้มากมาย

คุณอลงกรณ์ เล่าต่อว่า จึงหันกลับมาศึกษาใหม่อีกครั้ง ตัดสินใจเรื่องของพืชที่ให้ผลผลิตได้เรื่อยๆ จึงเริ่มปลูกฝรั่งเป็นอย่างแรก ลงปลูกประมาณ 30 กว่าต้น เพราะเล็งเห็นแล้วว่า ฝรั่งปลูก 6 เดือน สามารถเก็บผลได้เลย ต่อมาจึงปลูกหม่อนกินผล แต่ไม่ได้ขายผล เน้นไปขายต้นพันธุ์ และเริ่มวางแผนที่จะทำสวนหม่อนให้คนมาเที่ยว เปลี่ยนพื้นที่การเกษตรเป็นการทำเกษตรเชิงท่องเที่ยวในอนาคต

ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้ในช่วงแรกจะนำไปขายที่ตลาดของจังหวัด ต่อมาได้ย้ายมาขายที่โรงพยาบาลศรีประจันต์ที่เปิดเป็นตลาดพื้นที่สีเขียวให้เกษตรกร และด้วยความที่ตลาดใกล้บ้าน จึงหันมามองแนวทางพืชชนิดอื่นๆ บ้าง ก็เลยเริ่มปลูกพริก มะเขือ ผักพื้นบ้านในเวลาต่อมา

ปลูกพืชแบบเกษตรปลอดภัย การปลูกพืชบริเวณรอบบ้าน คุณอลงกรณ์ เล่าว่า เน้นเป็นการปลูกพืชที่ปลอดภัย พืชทุกชนิดจะไม่ใช้สารเคมี เพราะหันมาใช้น้ำหมักที่ทำขึ้นเองและสารชีวภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้สูตรมาจากการอบรมและศึกษาด้วยตนเอง จากการซื้อหนังสือมาอ่าน เปิดช่องยูทูบ (YouTube) เพื่อใช้ในการศึกษา ต้องมีการศึกษาและปรับตัวเรื่อยๆ เพราะพื้นที่ภาคกลางมีข้อเสียคือ มีแมลงค่อนข้างเยอะ แถมยังมีแมลงทุกฤดู

“การทำการเกษตรปลอดภัย หรือเกษตรอินทรีย์ อันดับแรกที่ต้องมีคือ ใจ เพราะว่ามันต้องใช้เวลา มันนานก็จริง แต่ว่าเมื่อสำเร็จแล้ว ระบบนิเวศจะช่วยเหลือตัวของมันเอง เราไม่ต้องไปพึ่งสารเคมีเหมือนคนอื่นเลย” คุณอลงกรณ์ บอก

พื้นที่ในการทำการเกษตรของคุณอลงกรณ์มีทั้งหมด 16 ไร่ มีนาข้าว 10 ไร่ แบ่งออกเป็นปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ปลูกไว้กินเอง 1 ไร่ อีก 9 ไร่ ปลูกไว้ขาย ซึ่งได้ผลผลิตประมาณ 7 ตันกว่าๆ และพื้นที่ส่วนที่เหลืออีก 6 ไร่ คือ การปลูกพืชบนคันนา

“ถ้าเราไปดูแปลงนาคนอื่น เขาจะไม่ใช้พื้นที่ตรงคันนา แต่คันนาของเราใหญ่ เพราะเราเอาไว้ปลูกพืชในระหว่างที่เราทำข้าวได้” เขาเล่าให้ฟัง “ข้าว 120 วันเกี่ยว ระหว่างนั้นเรากินอะไร? มันมีโจทย์เสมอ เราต้องหาเงินใช้ในทุกๆ วัน”

ด้วยเหตุผลนี้เอง เขาจึงหันมาปลูกมะเขือและถั่วฝักยาว ผักที่สามารถเก็บผลผลิตได้ในทุกวัน จึงทำให้มีรายได้เป็นรายวันตลอด ซึ่งตอนนี้กำลังจะวางแผนปลูกฝรั่งและน้อยหน่าบนคันนาเพิ่มอีกด้วย เรียกได้ว่าทุกอย่างที่ปลูกนั้นสามารถนำมาแปรรูปได้ เช่น สายบัวในน้ำ นอกจากสามารถเก็บไปขายแบบเป็นกำแล้ว ยังสามารถนำมาแกงขาย ทุกอย่างจะถูกแปรรูปโดยคนในครอบครัว ไม่ต้องจ้างแรงงานจากข้างนอก เป็นวิธีการลดต้นทุนได้อีกหนึ่งทางด้วย

สับปะรด พืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ส่งออกครองอันดับ 1 ในตลาดโลกมาอย่างยาวนาน แต่สถานการณ์การผลิตในประเทศกลับลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอด มีปัญหาที่ทับถมและสะสมมากมาย โดยเฉพาะราคาสับปะรดโรงงานที่ไม่ค่อยจะสมดุลกับต้นทุนการผลิตของชาวไร่ มักจะสวิงมาก ไม่เสถียรเท่าที่ควร ประกอบกับผลผลิตต่อไร่ที่ชาวไร่ทั่วไปทำได้ยังต่ำกว่าศักยภาพการผลิตของพืชชนิดนี้ ผลผลิตเฉลี่ยที่ 4-5 ตัน ต่อไร่ นั้นนับว่าต่ำมาก จึงสะท้อนกลับมาที่ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า รายได้ของชาวไร่ไม่คุ้มกับการลงทุน เสียโอกาสมากในรอบปีการเพาะปลูก จำเป็นต้องพัฒนาวิธีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นจากเดิม

ด้วยวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกว่าเดิม จึงจะส่งผลต่อรายได้ที่เพิ่มขึ้น คุณชาญวิทย์ วงษ์สมุทร กูรูสับปะรดปัตตาเวีย ของจังหวัดระยอง มีวิธีการปลูกสับปะรดอย่างไร ได้ผลผลิต ไร่ละ 10-12 ตัน โมเดลนี้อาจพลิกผันวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ หากคนสายสับปะรดนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสม ตามไปดูรายละเอียดกันครับ

สับปะรดไทย : ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำเกินไป

ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร แสดงให้เห็นว่า ผลผลิตสับปะรดของชาวไร่ไทย ไม่ค่อยขยับขึ้นแม้เวลาจะผ่านมาหลายปี หากข้อมูลตรงนี้เป็นจริง ต่อไปจะยิ่งลำบากจากรายได้ที่ไม่คุ้มการลงทุน ชาวไร่สับปะรดจะเลิกราหายไปแบบโดมิโน่ ข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สรุปสถานการณ์สับปะรดของประเทศไทย ปี 2561 ไว้ ดังนี้

พื้นที่ปลูกทั้งประเทศ รวม 575,580 ไร่, พื้นที่เก็บเกี่ยว 568,394 ไร่ ผลผลิตรวม 2,350,887 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศ 4,138 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยผลผลิตเฉลี่ยรายภาคเป็นดังนี้

ต้องยอมรับว่า ผลผลิตสับปะรดต่อไร่ของบ้านเรานั้นยังต่ำมาก เมื่อเทียบกับผลผลิตสับปะรดของประเทศที่ผลิตสับปะรดเป็นการค้า

ยุทธศาสตร์การพัฒนาสับปะรดไทย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดยุทธศาสตร์สับปะรด ปี 2560-2565 เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า “จะยกระดับผลผลิตเฉลี่ยสับปะรด จาก 3-4 ตัน ต่อไร่ ขึ้นเป็น 5-6 ตัน ต่อไร่ และจะลดต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับที่ต่ำลงมา” ส่วนวิธีการปฏิบัตินั้น ยังไม่ชัดเจนว่าให้ทำยังไง ชาวไร่ไปจัดการกันเอาเอง ส่วนงานวิจัยและพัฒนาสับปะรดด้านเขตกรรม ที่จะเน้นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้ได้สูงสุด ในจุดที่เหมาะสมกับต้นทุนและกำไร ก็ยังไม่เห็นมีรายงานหรือข้อมูลเผยแพร่สู่ชาวไร่ที่เป็นรูปธรรม ยังคงมีช่องว่างทางความรู้เพื่อการตัดสินใจลงทุน และปฏิบัติที่เหมาะสมอีกหลายด้านหลายประเด็น

คุณชาญวิทย์ วงษ์สมุทร ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา ชาวไร่สับปะรดระดับแนวหน้าของจังหวัดระยอง ปลูกสับปะรดปัตตาเวียมานานกว่า 20 ปี เป็นอีกผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการทำไร่สับปะรด เน้นปลูกเพื่อขายโรงงานแปรรูป และแบ่งผลผลิตตัดขายผลสดบ้างสัก 20-30 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตรวม คุณชาญวิทย์ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ผ่านทางผู้เขียนไว้อย่างหมดไส้หมดพุง เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนสายสับปะรดนำไปต่อยอด นำไปพัฒนาการผลิตตามสภาพความพร้อมของแต่ละคน เพื่อผลผลิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม

คุณชาญวิทย์ ปลูกสับปะรดได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่าไร่ละ 10 ตัน ขณะที่ผลผลิตของชาวไร่ทั่วไปทั้งประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5 ตัน ต่อไร่ เท่านั้น ผลผลิตระดับนี้หากนำราคารับซื้อของโรงงานแปรรูปมาคำนวณกับต้นทุนที่ลงไป ชาวไร่เกือบไม่มีกำไรจากการลงทุนในรอบปีกว่าๆ ต่อรุ่น บางปีหรือบ่อยครั้งที่ขาดทุนกันไป นี่ขนาดว่ายังไม่ได้บวกต้นทุนค่าแรงในครอบครัว ค่าหน่อพันธุ์ และอีกจิปาถะรวมไปด้วยเลย ต้นทุนแฝงเหล่านี้ต่างหากที่ชาวไร่ไม่ต้องจ่าย จึงอยู่รอดได้กับอาชีพนี้ ดังนั้น ต้นทุนที่แท้จริงตามหลักเศรษฐศาสตร์คงใช้กันไม่ค่อยได้กับชาวไร่สับปะรด จะมีแต่ภาคธุรกิจเท่านั้นที่คิดทุกอย่างพร้อมกำไรที่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็ไม่มีใครเปิดเผย เป็นความลับทางการค้าโดยสิ้นเชิง

สถานการณ์แบบนี้มีทางเดียวที่ชาวไร่สับปะรดจะไปรอด คงต้องหันมาพัฒนากระบวนการผลิตของตัวเอง หรือรีโนเวทกันใหม่เลย หากจะเป็นมืออาชีพที่แท้จริง และมีความมั่นคงทางอาชีพได้ ไม่ใช่ทำมาหากินแบบโชคช่วย รอคอยฝนฟ้าอำนวยไปในแต่ละรอบปีการผลิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สับปะรดเป็นพืชเงินพืชทองหากทำอย่างประณีต ดูแลอย่างทั่วถึง ลงทุนตามสมควร ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพราะพืชนี้ให้ผลผลิต่อไร่ที่สูงมาก แต่เป็นพืชที่มีอายุยาวข้ามปีกว่าจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องมองที่ค่าเสียโอกาส และความเสี่ยงที่อาจมีมาตลอดไทม์ไลน์การผลิตในแปลง หากปลูกแล้วไม่ได้ผลผลิตออกมาตามเป้าหมาย หรือที่ควรจะได้รับ ผลตอบแทนจะไม่ได้ หรือได้ไม่คุ้มกับจุดที่จะได้กำไรสูงสุด หากทำแล้วรายได้ปิ่มต้นทุน ไม่นานชาวไร่จะหมดทุน หมดกำลังใจ ปรับเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นกันหมดแน่นอน

คุณชาญวิทย์ วงษ์สมุทร ได้ให้ข้อมูลเชิงแนวทางที่ทำมาว่า ปลูกสับปะรดอย่างไร จึงได้ผลผลิต ไร่ละ 10-12 ตัน เขาสรุปประเด็นหลักไว้ 4 จุดเน้น คือ

การเตรียมพื้นที่/เตรียมดิน
การเตรียมหน่อพันธุ์
การดูแลรักษา และ
เป้าหมายการผลิตและการจัดการ
เตรียมพื้นที่และเตรียมดินให้ดีไว้

สับปะรดโตไว ได้ตัดผลเร็ว

พื้นที่ใหม่ต้องปรับสภาพให้ราบเรียบ เว็บบอล UFABET ไม่มีหลุมบ่อ หรือแอ่งที่น้ำท่วมขังได้ เพราะสับปะรดจะเน่าตาย โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ผลผลิตจะหายไป มีต้นทุนเพิ่มและเสียเวลาจากการปลูกซ่อมแซม จึงต้องปรับพื้นที่ให้ลาดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้น้ำไหลไปได้ หากพื้นที่ลาดเอียงมาก และพื้นที่แปลงใหญ่ต้องทำร่องระบายน้ำไว้ด้วย เพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำฝน ไม่เช่นนั้นแปลงปลูกสับปะรดจะเสียหายในวงกว้าง ส่วนดินนั้นหลายแปลงมีการปลูกพืชติดต่อกันมาหลายปี ดินจึงขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อสับปะรด ดินจะแน่นแข็ง ดูดซับน้ำได้น้อย จึงต้องเติมพวกปุ๋ยอินทรีย์ลงไป เพื่อช่วยปรังปรุงสภาพดินให้มีความสมบูรณ์ขึ้น

คุณชาญวิทย์ ใส่ปุ๋ยขี้ไก่แกลบลงไป โดยไถกลบคลุกลงไปในช่วงเตรียมดิน ประมาณว่า ใส่ไร่ละ 1-2 ตัน สับปะรดจะงามเร็วและทนแล้งกว่าแปลงที่ไม่ใส่ขี้ไก่แกลบ ส่วนแปลงสับปะรดเก่าหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วจะปั่นตีต้นเก่าด้วยโรตารี่ จนแหลกละเอียด แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จึงไถกลบลงดินด้วยผาล 3 รวม 2 รอบ แล้วจึงไถด้วยผาล 7 อีกรอบ เพื่อย่อยดินให้ร่วนซุยมากขึ้น จากนั้นจึงยกแปลงปลูกพร้อมที่จะปลูกสับปะรดต่อไป

หากซื้อหน่อที่มาจากภายนอก ต้องคัดเลือก/ดูแปลงที่ปลอดจากโรคเหี่ยว การเตรียมต้องนำมาคัดแยกขนาดออกเป็นหน่อใหญ่ หน่อกลาง และหน่อเล็ก แล้วนำลงปลูกแยกแปลงกัน โดยปลูกอย่างต่ำที่ 8,000 ต้น ต่อไร่ ด้วยระยะปลูก 25x50x90 เซนติเมตร (ระยะต้นxระยะแถวxระยะแถวคู่) แยกแปลงกันตามขนาดของหน่อ เพื่อที่สับปะรดแต่ละแปลงจะเติบโตไปด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ ไม่แตกต่างกันมาก จะส่งผลต่อการทำกิจกรรมอื่นที่จะต้องทำต่อเนื่องกันไป จะช่วยลดเวลาการทำงานลงได้ มีความสะดวกในการทำงาน และลดต้นทุนได้อีกส่วนหนึ่ง จุดนี้มันสำคัญมาก เป็นต้นทางของความสำเร็จในการปลูกสับปะรดแบบมืออาชีพ

“ผมเลือกหน่อปลูกที่เป็นไซซ์ใหญ่ น้ำหนักตั้งแต่ 500 กรัม ขึ้นไป เพราะเติบโตเร็วกว่า ทำให้ฉีดฮอร์โมนเร่งการออกดอกได้เร็วขึ้น พอเข้าปลายฤดูฝนก็เร่งให้ออกดอกได้ก่อนใคร แต่ก็ต้องดูความสมบูรณ์ของต้นสับปะรดด้วย หรือไม่ก็มีอายุต้นสับปะรดที่ 8-10 เดือน ต้นต้องสมบูรณ์เต็มที่ ถึงจะฉีดฮอร์โมนเร่งการออกดอก เพื่อให้ชัวร์ว่าจะได้สับปะรดที่มีผลขนาดใหญ่ตามที่ต้องการ เพราะสับปะรดผลใหญ่กับผลเล็ก โรงงานรับซื้อในราคาที่แตกต่างกันมาก ช่วงนี้สับปะรดผลใหญ่ ราคา 10.6-12 บาท ต่อกิโลกรัม ขณะที่ผลเล็ก ราคา 2.50 บาท ต่อกิโลกรัม ได้เงินต่างกันมากเลย หากปลูกแบบมั่วคละหน่อในแปลงเดียวกัน ทั้งหน่อใหญ่ กลาง เล็ก จะได้สับปะรดลูกเล็กจำนวนมาก เพราะหน่อเล็กหรือหน่อกลางจะโตไม่ทัน และไม่สมบูรณ์เท่าหน่อใหญ่ที่ปลูกปะปนกัน”

การควบคุมวัชพืช… หลังจากปลูกสับปะรดเสร็จแล้ว และดินมีความชื้นเพียงพอ เราต้องฉีดสารควบคุมหญ้า(วัชพืช) ทันที อย่าปล่อยให้หญ้าขึ้นและโตมาก เพราะตัวสารเคมีจะได้ซึมลงหรือสัมผัสกับหน้าดิน มีผลต่อการยับยั้ง (คุม) การงอกของเมล็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดยทั่วไปจะฉีดสารควบคุมหญ้าหลังจากปลูกสับปะรดไปประมาณ 1 เดือน โดยฉีดทั้งบนแปลงปลูกสับปะรดและระหว่างช่องทางเดินระหว่างแถวคู่ ใช้สารไอวาร์เอ็ก (โบรมาซิล) 700 กรัม กับสารคาร์แม็ก (ไดยูรอน) 2 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1,500 ลิตร หลังจากนั้น หากมีหญ้าขึ้นจะใช้แรงงานถากเก็บ ประมาณ 2-3 ครั้ง ควบคุมวัชพืชได้หมด สับปะรดจะโตเร็วมากขึ้นด้วย

ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหาร เสริมสร้างลำต้น… ผลผลิตสับปะรดจะดีหรือไม่ อยู่ที่ต้นสับปะรดได้รับธาตุอาหารที่เพียงพอ ต้นที่โตสมบูรณ์ จะส่งผลต่อการสร้างดอกและผลที่สมบูรณ์ต่อไป มีจำนวนผลย่อยมากตามลักษณะของแต่ละพันธุ์ ซึ่งธาตุอาหารต้องมากพอที่จะสร้างและขยายผลย่อยได้โตเต็มที่ ดังนั้น จึงต้องใส่ธาตุอาหารหลักให้ครบถ้วนและเป็นสัดส่วนที่สับปะรดต้องการ ซึ่งคุณชาญวิทย์ มีการใส่ปุ๋ยสับปะรด ดังนี้

ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังจากปลูกและฉีดสารควบคุมหญ้าแล้ว ปุ๋ยที่ใส่เป็น สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 จำนวน 200 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ย สูตร 21-0-0 จำนวน 150 กิโลกรัม แล้วนำใส่ต้นสับปะรด ต้นละ 15 กรัม (ช้อนแกง ตักแบบพูน) โดยใส่ที่กาบล่าง หรือวางบนดินให้ชิดโคนต้นสับปะรดมากที่สุด เพื่อปุ๋ยจะละลายลงดิน เพื่อที่รากสับปะรดจะดูดไปใช้ได้เร็วยิ่งขึ้น