คุณสุเมธ จะเริ่มเตรียมแปลงโดยใช้วิธีไถดะด้วย

เพื่อกลับหน้าดิน พลิกกลบวัชพืช ซากใบ-ต้นของมันสำปะหลังที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวลงไปในดิน หลังจากนั้นจะใส่ “ปุ๋ยขี้ไก่แกลบ” ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ ปรับปรุงโครงสร้างให้ดินให้ร่วนซุย สามารถอุ้มน้ำและธาตุอาหารได้ดีขึ้น เสร็จแล้วจะตากดินทิ้งไว้ 10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน ตามด้วยการไถพรวนโดย “ผานเบอร์ 7” เพื่อตีให้ดินละเอียด

จากนั้น จะทำการยกร่องปลูก โดยคุณสุเมธ เลือกใช้ระยะปลูกตามคำแนะนำของนักวิชาการ คือ ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 100-120 เซนติเมตร และระหว่างต้นประมาณ 60-90 เซนติเมตร ช่วยให้ต้นได้รับแสงอย่างเพียงพอทั่วถึงและมีความแข็งแรง โดยก่อนปลูกจะรองพื้นด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15 เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดินเตรียมพร้อมสำหรับการบำรุงพืชในทุกส่วน

ทั้งนี้ “การยกร่อง” มีส่วนในการช่วยเก็บความชื้น และระบายน้ำส่วนเกินในดินได้ดี แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรยกร่องปลูกแคบและแหลมในลักษณะ “สามเหลี่ยม” เนื่องจากเมื่อเข้าช่วง 4-5 เดือน (หลังปลูก) ที่หัวมันสำปะหลังเริ่มขยายใหญ่ขึ้น หัวมันฯ จะลอยโผล่พ้นดินออกด้านข้างร่องได้

ดังนั้น คุณสุเมธจะแก้ปัญหาด้วยการประยุกต์ใช้ลูกกลิ้งเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงรถไถ เพื่อเกลี่ยให้ดินเรียบในลักษณะ “สี่เหลี่ยมคางหมู” ซึ่งการทำแปลงให้เรียบ จะช่วยให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับมันสำปะหลังลงหัว ทั้งยังช่วยให้การวางสายน้ำหยดสม่ำเสมอ ไม่ตกสันร่อง และไม่ทำให้เม็ดปุ๋ยร่วงหล่นไปตามร่องเวลาใส่ปุ๋ยด้วย

ปลูกด้วยระบบน้ำหยด
ช่วยให้มันสำปะหลังลงหัวดี-ได้น้ำหนัก
คุณสุเมธ เผยว่า การปลูกมันสำปะหลังในสมัยรุ่นพ่อแม่นั้น จะพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันนั้นมีปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้การปลูกในรูปแบบเดิมนั้นได้ผลผลิตต่ำ ตนจึงได้นำ “ระบบน้ำหยด” เข้ามาใช้แทน โดยในพื้นที่ 200 ไร่ จะแบ่งล็อคสำหรับให้น้ำเป็นพื้นที่ประมาณ 15 ไร่/ล็อค

ทั้งนี้ มันสำปะหลังเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องได้รับในปริมาณที่สม่ำเสมอ เพราะหากดินมีความชื้นต่ำ จะทำให้มันลงหัวยาก

สำหรับเทคนิคการให้น้ำ คุณสุเมธ แนะนำว่า ในช่วงเริ่มปลูกที่ท่อนพันธุ์ยังไม่แตกตา ควรให้น้ำในปริมาณมาก หรือนานประมาณ 4-5 ชม./ล็อค/วัน เพื่อให้ดินอ่อนตัวง่ายต่อการแทงราก กระทั่งต้นเข้าสู่ช่วงแตกใบแล้ว จะลดปริมาณน้ำลงเหลือ 1-2 ชม./ล็อค/วัน หากให้น้ำมากจะทำให้ต้นล้มได้ง่าย

คุณสุเมธ แนะนำว่า ปริมาณและความถี่ของการให้น้ำมันสำปะหลังนั้น ควรพิจารณาจาก “ความชื้นในดิน” เป็นหลัก ซึ่งส่วนตัวแล้วมีเทคนิคตรวจสอบง่ายๆ โดยการใช้มือขุดดินให้ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร แล้วกำดินขึ้นมา หากดินจับกันเป็นก้อนก็แสดงว่ายังมีความชื้นเพียงพอแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำนาน หรือยืดเวลาการให้น้ำออกไปก่อนได้

สูตรระเบิดหัวมันฯ ให้ได้ 7 ตัน/ไร่
พิสูจน์แล้ว ได้ผลผลิตดีจริง
ปกติแล้วเรานิยมเรียกส่วนที่อยู่ใต้ดินของมันสำปะหลังว่า “หัว” แต่ความจริงแล้วส่วนนี้คือ “รากสะสมอาหาร” ที่ทำหน้าที่สะสมอาหารในรูปของแป้งเอาไว้จนมีลักษณะอวบอ้วน ซึ่งถ้านับเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังจะมีระยะเวลาสะสมอาหารนานถึง 12 เดือน ดังนั้น พืชชนิดนี้จึงต้องการธาตุอาหารในการบำรุงหัวค่อนข้างสูง

แต่ปัญหาสำคัญที่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่ต้องเผชิญ คือ “ดินเสื่อมโทรม” ทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 4-5 ตัน/ไร่ หรือยิ่งถ้าขาดน้ำก็อาจลดลงเหลือเพียง 3 ตัน/ไร่เท่านั้น ซึ่งหากต้องการทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น จำเป็นต้องปรับปรุงทั้งเรื่องโครงสร้างดินให้โปร่ง มีอากาศไหลเวียนไม่แน่นทึบ และเติมธาตุอาหารในดินให้เพียงพอ

คุณสุเมธ เผยว่า สมัยรุ่นพ่อแม่นั้นจะบำรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยสูตรเสมอทั่วไป แต่ในรุ่นของตนนั้นมีการศึกษาเรื่องธาตุอาหารเพิ่มเติม จนพบว่าการบำรุงธาตุอาหารให้ตรงกับความต้องการของพืชในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต มีส่วนช่วยให้ได้ผลผลิตดี จึงได้เปลี่ยนมาใช้ “ปุ๋ยสั่งตัด” แทน เพื่อให้บำรุงธาตุอาหารได้ตรงความต้องการของพืชมากยิ่งขึ้น โดยมีสูตรดังนี้

– ช่วงอายุ 1-3 เดือน เป็นระยะที่เน้นการบำรุงต้นและใบ คุณสุเมธจะใช้ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0, สูตร 18-46-0 และ สูตร0-0-60 (อัตราส่วน 1:1:1) ปริมาณ 50 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเร่งให้ต้นและพุ่มใบ สมบูรณ์ สามารถสังเคราะห์แสงได้เต็มที่ รวมถึงทำให้ระบบรากเจริญเติมโตแข็งแรง พร้อมลงหัว

ทั้งนี้ การบำรุงมันสำปะหลังในช่วงนี้ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าช่วงที่มันลงหัว เนื่องจากมันฯ จะมีรากแขนงและรากฝอยมากที่สุดหลังจากอายุ 45 วัน และหลังพ้น 4 เดือนไปแล้ว รากฝอยจะหลุดร่วงจนเกือบหมด เหลือเพียงหัว ทำให้การดูดซึมธาตุอาหารทางรากหลังจากนี้เริ่มน้อยลง แต่จะรับอาหารจากการสังเคราะห์แสงแทน ดังนั้น หากต้นและใบไม่สมบูรณ์ จะทำให้การสร้างอาหารน้อยตามไปด้วย

– ช่วงอายุ 4-5 เดือน เป็นระยะลงหัว หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกกันว่า “ระยะระเบิดหัว” คุณสุเมธ จะใช้ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0, สูตร 18-46-0 และ สูตร0-0-60 (อัตราส่วน 1:1:3) ปริมาณ 50 กิโลกรัม/ไร่ โดยการปรับเพิ่มอัตราส่วนปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 0-0-60 ให้มากขึ้นนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการช่วยขยายหัว เพิ่มน้ำหนัก เร่งการสะสมแป้ง ช่วยให้มันสำปะหลังมีเปอร์เซ็นต์แป้งที่สูง

คุณสุเมธ เผยว่า การใส่ปุ๋ยถูกช่วงเวลาตามความต้องการของพืช จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นได้ โดยหลังจากเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยตรากระต่ายในอัตราส่วนข้างต้น สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นจากเดิม 5 ตัน/ไร่ เป็น 7 ตัน/ไร่ ทั้งยังสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีขึ้น เนื่องจากเมื่อพืชได้รับการบำรุงตรงตามความต้องการ จะทำให้ได้ผลผลิตดี คุ้มค่าการลงทุน ไม่สิ้นเปลือง บำรุงในส่วนที่พืชอาจไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์

ใช้เครื่องจักรควบคู่แรงงานคน
ช่วยประหยัดเวลาและต้นทุน
มันสำปะหลังจะเจริญเติบโตเต็มที่จนสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 10-12 เดือน โดยส่วนใหญ่แล้วฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป

สำหรับวิธีในการเก็บเกี่ยว คุณสุเมธ เลือกประยุกต์ใช้รถไถแทรกเตอร์ที่มีอยู่แล้วร่วมกับแรงงานคน ผ่านการติดตั้งชุดอุปกรณ์เสริมแทน โดยวิธีการคือ จะนำรถไถแทรกเตอร์ ติดตั้ง “ชุดตัดต้นมันสำปะหลัง” ไว้ที่ส่วนหน้าของรถ ทำหน้าที่ตัดต้นมันขณะเก็บเกี่ยว ส่วนด้านหลังของรถจะติดตั้ง “ชุดผานหัวหมู” ทำหน้าที่จะขุดหรือดันหัวมันขึ้นมาจากดิน โดยหลักการทำงานคือ เวลาที่รถแทรกเตอร์วิ่งคร่อมแนวต้นมันสำปะหลัง ก็จะตัดต้นมันและขุดหัวมันขึ้นมาพร้อมกัน

สำหรับผลผลิตส่วนใหญ่ จะส่งไปที่โรงงานแป้ง ซึ่งมีการรับซื้อตลอดทั้งปี แต่ต้องยอมรับว่าราคานั้นจะมีสูง-ต่ำขึ้นอยู่กับกลไกลตลาด คุณสุเมธ จึงเน้นว่าการปลูกมันสำปะหลังให้ประสบความสำเร็จและสร้างผลกำไรได้นั้น เกษตรกรต้องควบคุมต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น โดยทั้ง 2 สิ่งนั้นสามารถทำควบคู่กันได้ แต่ต้องอาศัยการวางแผนและการจัดการอย่างเหมาะสม

แม้ว่าการทำเกษตรสำหรับมือใหม่นั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่หากมีความพยายามในการศึกษาหาความรู้ มีความช่างสังเกต ประยุกต์ใช้หลักวิชาการ เทคโนโลยี ควบคู่กับภูมิปัญญาดั้งเดิมอย่างที่คุณสุเมธปฏิบัติ และที่สำคัญคือใช้แนวทางการบำรุงผลผลิตให้ได้น้ำหนักอย่างตรงจุด ก็จะสามารถเริ่มต้นเส้นทางเกษตรกรได้อย่างมั่นคงได้ในที่สุด

คุณวุฒิชาติ เดชาเศรษฐ หรือ คุณปาล์ม อดีตหนุ่มแบงก์ ลาออกจากงานมาปลูกอะโวกาโดพันธุ์แฮสส์ (Hass) 300 ไร่ ในพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ใช้เวลาปลูกดูแล 3 ปีครึ่ง เก็บผลสดออกขายตลาดออนไลน์และห้างโมเดิร์นเทรด ผลผลิตตกเกรด แปรรูปเป็นนมสดอะโวกาโด โดนใจคนรักสุขภาพ ตอนนี้ผลผลิตมีเท่าไรก็ไม่พอขาย

เดิมทีครอบครัวคุณปาล์มมีกิจการสวนยางพาราในพื้นที่อำเภอพบพระ ตอนหลังเจอปัญหายางราคาตก จึงโค่นต้นยางทิ้ง ต่อมาภรรยาคุณปาล์มแนะนำให้เขาปลูกอะโวกาโด (avocado) ซึ่งเป็นไม้ผลที่มากคุณประโยชน์และดีต่อสุขภาพ ซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็น king of fruits เป็นสินค้าขายดี ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มผู้รักสุขภาพทั้งหลาย

“ผมเชื่อภรรยา จึงตัดสินใจปลูกอะโวกาโด พันธุ์แฮสส์ (Hass) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีรสชาติดีที่สุด เนื้อหนึบ รสชาติมัน เต็มเปี่ยมไปด้วยไขมันดี ระยะแรก ผมปลูก 50 ไร่ก่อน ปรากฏว่า ต้นอะโวกาโดที่ปลูกเจริญเติบโตได้ดี จึงขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มเติมอีก 250 ไร่ ปัจจุบันผมปลูกอะโวกาโดรวม 7,500 ต้น บนเนื้อที่ 300 ไร่ น่าจะเป็นแปลงใหญ่ที่ปลูกอะโวกาโดมากที่สุดในพื้นที่อำเภอพบพระ” คุณปาล์ม กล่าว

อะโวกาโด พันธุ์แฮสส์ (Hass) เป็นไม้ผลที่มีลำต้นตั้งตรง ทรงพุ่มสม่ำเสมอ ปลายใบแหลม รูปร่างผลเป็นรูปไข่กลับ ผิวขรุขระมาก เมื่อแก่ผิวของผลมีสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีดำออกม่วง รสชาติดี เนื้อเหนียว ไม่มีเส้นใย สีของเนื้อมีสีเหลืองเข้ม เมล็ดมีขนาดเล็ก น้ำหนักผลตั้งแต่ 150-250 กรัม โดยทั่วไปเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 9-10 เดือน

หากใครอยากกินผลอะโวกาโดให้อร่อย แนะนำวิธีการ “ดูความสุก” ของผลอะโวกาโดแบบง่ายๆ ดังนี้ ผลสีเขียวสด ยังไม่สุก สีเขียวอมม่วง รอ 1-2 วัน พร้อมกิน ส่วนผลสีเขียวอมน้ำตาล-สีน้ำตาลเข้ม สุกเนื้อนิ่ม พร้อมกินได้เลย

หากใครสนใจอยากปลูกอะโวกาโด คุณปาล์ม มีคำแนะนำว่า ควรปลูกในพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 600-700 เมตร เนื่องจากอะโวกาโดจัดอยู่ในกลุ่มไม้ผลเมืองหนาวที่ต้องการสภาพอากาศที่มีความเย็นพอสมควร เช่น จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ฯลฯ ก่อนปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยขี้วัว เพื่อบำรุงดิน ปลูกต้นอะโวกาโดในระยะห่าง 10×10 เมตร หรือไร่ละ 16 ต้น

คุณปาล์ม ปลูกอะโวกาโดพันธุ์พื้นเมืองก่อน หลังปลูกจนได้อายุปีครึ่ง จึงค่อยมาเปลี่ยนยอดด้วยอะโวกาโดพันธุ์แฮสส์ ที่เป็นต้นพันธุ์คุณภาพดีมาจากออสเตรเลีย เนื่องจากปลูกอะโวกาโดในระยะห่างค่อนข้างมาก ระหว่างที่ต้นยังเล็ก สามารถใช้พื้นที่ว่างในแปลงปลูกพืชอื่นเสริมรายได้ระหว่างรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีกทาง เช่น ปลูกพริก มันฝรั่ง ข้าวโพด ฟักทอง เป็นต้น

ต้นอะโวกาโดใช้เวลาปลูกดูแล 3 ปีครึ่ง ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ ในระยะแรกผลผลิตไม่มาก จะมีผลผลิตคุณภาพดีแค่ 3 กิโลกรัมต่อต้น จะมีรายได้ขั้นต่ำต้นละ 3,000 บาท โดยทั่วไปต้นอะโวกาโดจะให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นตามอายุ หลังจากอายุ 7-8 ปีขึ้นไป จะมีผลผลิต 20-30 กิโลกรัม รายได้ 25,000 บาทต่อต้น ถือว่าเป็นไม้ผลที่ให้ผลตอบแทนที่ดี และมีโอกาสเติบโตทางการตลาดได้อีกมากในอนาคต

หลังหมดฤดูเก็บเกี่ยว คุณปาล์มจะบำรุงต้นโดยใส่ปุ๋ยคอก ทุก 3-4 เดือนต่อครั้ง ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ทุกเดือนประมาณ 4 กำมือต่อต้น รดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที หากเป็นช่วงฤดูร้อนจะเปิดให้น้ำมากขึ้น ประมาณ 40 นาที เพื่อป้องกันปัญหาผลร่วง

ช่วง 1 ปีแรก หลังจากนั้นให้น้ำ ให้ปุ๋ยตามกำหนด ต้องคอยใส่ใจดูแลป้องกันโรคและแมลงศัตรูอะโวกาโด เช่น โรครากเน่า ซึ่งเกิดเชื้อราในดิน หากระบายน้ำในดินไม่ดีหรือเกิดน้ำท่วมขัง เชื้อโรคนี้ก็จะเริ่มระบาด สังเกตได้จากอาการใบเล็กลง ใบเหี่ยวและร่วง ผลมีขนาดเล็กลง

วิธีป้องกันคือ ใช้ต้นตอที่ปลอดโรคหรือมีความต้านทานโรครากเน่าได้ดี รดน้ำในปริมาณที่เหมาะสม แค่พอชุ่ม แต่ไม่แฉะ นอกจากนี้ ยังมีหนอนผีเสื้อ มักระบาดในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม ต้นที่ถูกกัดกินใบมากจะไม่ออกดอก เพราะเสียอาหารที่สะสมไป สามารถป้องกันกำจัดโดยจับดักแด้และตัวแก่ไปเผาทำลาย

ปัจจุบัน คุณปาล์มพัฒนาตลาดอะโวกาโดร่วมกับพันธมิตรทางการค้าคือ คุณหนึ่ง หรือ คุณอิทธิพล กำลังมาก โดยคุณหนึ่งรวบรวมผลผลิตอะโวกาโดจากเกษตรกรในพื้นที่อำเภอพบพระ ส่งขายห้างสรรพสินค้าชั้นนำและตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ เช่น ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต สาขาเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ เซ็นทรัลบางนา เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ เซ็นทรัลชิดลม ฯลฯ

ซึ่งคุณหนึ่งบอกว่า อะโวกาโดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่ขายดี เป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพโดยเฉพาะอะโวกาโดพันธุ์แฮสส์ขายดี เพราะมีรสชาติอร่อย ถูกใจผู้บริโภค

ที่ผ่านมา คุณปาล์มและคุณหนึ่งได้คัดอะโวกาโดคุณภาพดี เกรดเอ เฉลี่ย 5 ผลต่อกิโลกรัม จำหน่ายผ่านตลาดโมเดิร์นเทรดแล้ว ยังขายผลสดในราคากิโลกรัมละ 195 บาท ผ่านตลาดออนไลน์คือ เฟซบุ๊ก

ส่วนผลสดตกเกรดที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ของห้างสรรพสินค้าจะถูกนำมาแปรรูปปั่นเป็นเครื่องดื่มพร้อมดื่ม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เรียกว่า “นมสดอะโวกาโด” ภายใต้เครื่องหมายการค้า Wellness avocado ขายปลีกขวดละ 90 บาท ปรากฏว่าขายดีต่อเนื่อง เพราะมีรสชาติอร่อย ถูกใจกลุ่มคนรักสุขภาพทุกช่วงวัย

ปัจจุบัน สวนอะโวกาโดของ คุณวุฒิชาติ เดชาเศรษฐ หรือ คุณปาล์ม ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 151 หมู่ที่ 13 ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก 63160 หากใครสนใจอยากแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการปลูกดูแลอะโวกาโดพันธุ์แฮสส์กับคุณปาล์ม หรือสนใจแวะเยี่ยมชมสวนแห่งนี้ ติดต่อล่วงหน้ากับคุณปาล์มได้ทางเบอร์โทร. 098-496-5915

คุณสุจิตรา ฉ่ำเพชร หรือ ป้าอร หญิงเหล็กของวงการผักอินทรีย์ จังหวัดลพบุรี เปิดเผยเคล็ดลับในการทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตที่ดี ป้าอร บอกว่า “ดินเป็นปัจจัยการปลูกที่สำคัญ เกษตรอินทรีย์เน้นที่การเตรียมดินให้สมบูรณ์

เนื่องจากที่สวนเลี้ยงหมูป่าไว้ ก็จะเอาฉี่ของหมูป่านี่แหละมาใส่ถังไว้ในถัง 20 ลิตร ส่วนมูลหมูป่าตัดใส่ถุงปุ๋ยปิดปากถุง นำมาใส่ในถังนี้ด้วย ใส่ พด.1 ไป 1 ซอง เติมฉี่หมูไปเรื่อยๆ จนเต็มถัง ปิดฝาไว้ในร่มไว้ประมาณ 1 เดือน ก็จะนำมาใช้ได้ อัตราการใช้ 1 กระป๋องปลากระป๋อง ต่อน้ำ 20 ลิตร รวมจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 กระป๋อง และน้ำส้มควันไม้อีก 2-3 กระป๋อง ของทั้ง 3 อย่างรวมกันแล้วนำมาราดบนดิน แล้วใช้จอบพรวนดินให้เข้ากันก็สามารถหว่านเมล็ดผักได้เลย ส่วนมูลหมูในถุงก็เอามาหว่านในแปลงเช่นกัน สำหรับเมล็ดพันธุ์ของผักซองที่ซื้อมาให้ล้างด้วยน้ำเปล่าลงในโถส้วมเพื่อไม่ให้สารที่เคลือบเมล็ดมาปะปนในแหล่งน้ำหรือในดินของเราอีก ส่วนเมล็ดที่มีขนาดเล็ก เช่น ผักขม ผักสลัด ผักชีลาว ไม่ต้องล้าง”

น้ำลายปลวก
ทุกๆ ครั้งที่มีการเก็บผักก็จะทำเช่นนี้กับแปลงในมุ้ง เมื่อเก็บผักได้ 2 รอบ ก็จะนำน้ำลายปลวกซึ่งป้าอรได้ทำไว้ โดยเอาเศษกิ่งไม้มาวางกองไว้เรื่อยๆ จนกองสองประมาณ 1.5 เมตร ก็จะทำกองใหม่เป็นหย่อมๆ ไว้ ใช้ พด.1 ผสมน้ำราดไว้ หมั่นดูแลอย่าให้กองแห้งมาก ก็จะมีปลวกเข้ามากัดกินเนื้อไม้จนผุกร่อนเป็นผงหล่นลงมาใต้กองไม้ก็จะตักเอาส่วนนี้มาโรยลงในแปลงเพื่อเป็นการเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน ผักชีไทยซึ่งปกติใช้เวลา 45 วัน ถ้าทำแปลงให้สมบูรณ์อย่างนี้จะใช้เวลาไม่ถึงเดือนก็สามารถถอนผักชีขายได้แล้ว การใช้จุลินทรีย์และน้ำส้มควันไม้นี้ทำให้แปลงผักของป้าอร แทบจะไม่ต้องพักแปลงเลย เนื่องจากมีความสมดุลของธรรมชาติ

คุณณัฐวรรณ ทองเกล็ด หรือ พี่แหม่ม ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์เพชรบูรณ์ อยู่บ้านเลขที่ 95 หมู่ที่ 4 ตำบลประดู่งาม อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ อดีตสาวแบงค์ หันเอาดีด้านงานเกษตร ปรับปรุงพื้นที่ปลูกพืชไร่ของครอบครัวบางส่วนมาปลูกผักอินทรีย์ โดยมีมะเขือเทศ 3 สี สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี บนพื้นที่เพียง 2 ไร่ และครั้งนี้เธอจะมาบอกเล่าประสบการณ์การปลูกมะเขือเทศอินทรีย์ยังไงให้ได้มาตรฐานส่งห้าง และขายให้ได้ในราคากิโลกรัมละ 50-70 บาท ตลอดทั้งปี

คุณณัฐวรรณ ทองเกล็ด หรือ พี่แหม่ม เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรว่า อดีตตนเคยทำงานเป็นพนักงานธนาคารมาก่อน แต่เมื่อวันหนึ่งถึงจุดอิ่มตัว ก็ต้องหาอาชีพมารองรับ นั่นก็คือ อาชีพการเป็นเกษตรกร เนื่องจากพื้นฐานที่บ้านเป็นเกษตรกรอยู่แล้ว คุณพ่อเป็นเกษตรกรปลูกพืชเชิงเดี่ยว บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ และมองว่าถ้าออกมาทำอาชีพดั้งเดิมของที่บ้านก็น่าจะมีหนทางไปได้ดี จึงได้ตัดสินใจปรับปรุงพื้นที่บางส่วนของคุณพ่อมาทำเกษตรในแบบของตนเอง เพราะดูจากประสบการณ์ของคุณพ่อที่ปลูกพืชไร่มาตลอด ก็จะมีรายได้เข้ามาเป็นรายปีอย่างเดียว จึงอยากที่จะปรับเปลี่ยนวิถีการปลูกพืชแบบใหม่ พยายามเลือกปลูกพืชล้มลุก ที่สามารถสร้างรายได้เป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ได้ ซึ่งสาเหตุที่เลือกปลูกมะเขือเทศอินทรีย์ก็เพราะว่ามีตลาดรองรับอยู่แล้ว จากการที่ได้ร่วมโครงการกรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์ ที่ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมผลักดันให้ทำเกษตรปลอดภัย และปรับเปลี่ยนพัฒนาขึ้นเป็นเกษตรอินทรีย์ มีห้างสรรพสินค้าเป็นตลาดรองรับ

ซึ่งเกษตรกรหลายท่านอาจจะมองว่า การทำเกษตรแบบอินทรีย์นั้นมีความยุ่งยากไม่ถนัด แต่จะไปถนัดการผลิตสินค้าในปริมาณมากๆ ผลิตให้ได้มากๆ ซึ่งวิธีการนี้จะเหมาะกับการปลูกพืชไร่ที่ปลูกแล้วไม่ต้องดูแลมาก แต่ถ้าเป็นพืชผักมองว่าทำเยอะแล้วไม่ไหว ในทีนี้ไม่ได้หมายความว่าดูแลไม่ไหว แต่หมายความถึงเรื่องของราคาด้วย เพราะว่าผลผลิตตลาดล่างราคาค่อนข้างผันผวน เกษตรกรไม่สามารถควบคุมระบบหรือราคาได้เอง จึงได้หันมามองตลาดที่แหวกแนวกว่าในพื้นที่ ทำตลาดบนส่งเข้าห้าง หรือตลาดเฉพาะที่มีกลุ่มลูกค้าทางออนไลน์ ที่สามารถควบคุมกำหนดราคาได้เอง และสามารถควบคุมปริมาณการผลิตได้โดยที่ไม่ต้องผลิตล้นเกินความจำเป็น แต่เราผลิตตามความต้องการของตลาดและให้เหลือส่วนที่สูญเสียน้อยที่สุด นี่คือ มุมมองที่แตกต่าง

ปลูกพืชตามวิธีคิดของคนรุ่นใหม่
พี่แหม่ม เผยถึงวิธีคิดและการจัดการแปลงปลูกพืชตามสไตล์คนรุ่นใหม่ว่า yourme.net ตนได้มีการขอแบ่งพื้นที่ปลูกพืชมาจากคุณพ่อ เพื่อมาทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 18 ไร่ เลือกปลูกมะเขือเทศเป็นพืชสร้างรายได้หลัก มีอ้อยคั้นน้ำ และพืชผักชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดเป็นพืชเสริม ด้วยอีกหนึ่งเหตุผลนอกจากเรื่องการตลาด เพราะเมื่อก่อนเคยได้ทดลองปลูกพืชผักหลายชนิดแล้ว แต่พอได้ทำจริงๆ จึงได้รู้ถึงปัญหาว่าหากจะผลิตมะเขือเทศให้ได้ผลผลิตหมุนเวียนออกตลอดทั้งปี เราไม่สามารถทำพืช 4-5 ชนิด ในเวลาเดียวกันได้ เพราะการที่จะบริหารจัดการให้ผักทุกชนิดหมุนเวียนออกตลอดทั้งปีค่อนข้างยาก จึงตัดสินใจลดพื้นที่การปลูกพืชผักชนิดอื่นลง และพุ่งเป้าไปที่มะเขือเทศ ปลูกอย่างไรไม่ให้ผลผลิตขาดตลาด ตอนนี้จึงโฟกัสไปถึงการฝึกฝนวิชาการปลูก การดูแล ให้มีความชำนาญขึ้นไปเรื่อยๆ

เทคนิคปลูกมะเขือเทศส่งห้าง
เจ้าของเผยเทคนิคการปลูกมะเขือเทศอินทรีย์ว่า ปัญหาสำหรับการปลูกมะเขือเทศแบบหมุนเวียนตลอดทั้งปีคือ ช่วงฤดูฝน ถ้าไม่มีโรงเรือน แล้วฝนตกลงมาเมื่อไร ต่อให้ที่ผ่านมามีการดูแลประคบประหงมดูแลดีขนาดไหน ผลผลิตก็จะเสียหายอยู่ดี

ยกตัวอย่าง สมมุติว่าพรุ่งนี้ถึงเวลาที่ต้องเก็บผลผลิต แต่ถึงเวลากลางคืนก่อนวันเก็บเกี่ยวฝนเกิดตก ตอนเช้ามาผลผลิตจะแตกเสียหาย เพราะอิ่มน้ำมากเกินไป นี่คือ ปัญหาหลักๆ ของการปลูกมะเขือเทศ ทางสวนจึงได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับฤดูฝนด้วยการทำโรงเรือนสำหรับปลูกมะเขือเทศขึ้นมา โดยลักษณะของโรงเรือนไม่ต้องใช้งบที่แพงมากนัก ขอแค่เพียงบังแดดบังฝนได้ ยังไม่ต้องไปกังวลกับโรคและแมลง ตรงนี้สามารถควบคุมได้ง่ายกว่า โดยมีการจัดสรรแบ่งเป็นแปลงปลูกมะเขือที่ได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์ จำนวน 2 ไร่ เลือกปลูกเป็นมะเขือเทศ 3 สี ได้แก่ มะเขือเทศราชินี (สีแดง) มะเขือเทศเชอรี่ (สีเหลือง) และมะเขือเทศเชอรี่สีนิล (สีน้ำตาลแดง) โดยการปลูกจะแบ่งปลูกเป็นคอร์ป ให้มีผลผลิตเก็บได้ทุกสัปดาห์

ขั้นตอนการปลูก
ลักษณะการปลูกมะเขือเทศของที่สวน จะปลูกทั้งในโรงเรือนและนอกโรงเรือน แบ่งตามความเหมาะสมของฤดูกาล ถ้าเป็นฤดูฝนจะปลูกในโรงเรือน ส่วนถ้าเป็นช่วงปลายฝนต้นหนาวที่เป็นฤดูของมะเขือเทศ จะเลือกปลูกนอกโรงเรือนเพราะปัญหาลูกแตกเสียหายจะไม่เกิดในช่วงนี้

การเตรียมแปลงปลูกนอกโรงเรือน
อันดับแรก เริ่มที่การเตรียมดิน ไถแปรแล้วหว่านปุ๋ยคอกแล้วไถกลบหมักดินทิ้งไว้ 1 เดือน เพื่อให้หญ้าที่หลงเหลือในแปลงเกิดขึ้น และเป็นวิธีการช่วยกำจัดวัชพืชในแปลงได้ดี เมื่อครบระยะเวลา 1 เดือน แล้วไถพรวนขึ้นร่องเตรียมแปลงปลูก ระยะห่างระหว่างหลุม ประมาณ 50-60 เซนติเมตร ความกว้างระหว่างแถว 1.50 เมตร ซึ่งในระหว่างช่วงที่เตรียมแปลงปลูก ให้เพาะกล้าทิ้งไว้ และในระหว่างการปลูกจะมีการขึงตาข่าย ตอกหลักทำค้างให้มะเขือเทศด้วย

การดูแลหลังลงแปลงปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว
ระบบน้ำ…เป็นระบบน้ำหยด เริ่มให้น้ำตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ในช่วงแรกจะใช้วิธีการรดน้ำวันเว้นวัน เพราะมะเขือเทศไม่ชอบน้ำชุ่ม แต่ต้องให้น้ำเรื่อยๆ และปริมาณน้ำที่ให้ในโรงเรือนและนอกโรงเรือนจะแตกต่างกัน ปลูกนอกโรงเรือนจะต้องให้น้ำมากหน่อย ในปริมาณการรดน้ำแต่ละครั้ง ประมาณ 1-2 ชั่วโมง