คุณอุทัย เล่าว่า ตั้งแต่บรรพบุรุษก็ปลูกพริกขาวชัยบุรีถึงฤดูฝน

พริกจะเหลือเก็บขายได้น้อย เพราะเมื่อถูกน้ำฝนพริกจะเน่า ผลออกได้ไม่มาก เกษตรกรจึงเลือกปล่อยทิ้งหรือไถดินตาก เพื่อรอลงกล้าพริกต้นใหม่ โดยเฉพาะระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม ของทุกปี น้ำท่วมสูง ไม่สามารถปลูกพริกได้ เกษตรกรผู้ปลูกพริกจะเริ่มเพาะกล้าพริกไว้ เพื่อลงปลูกในช่วงน้ำลด ประมาณเดือนมกราคม ของทุกปี

พื้นที่ปลูกพริกของคุณอุทัย เป็นพื้นที่ยกร่องสูง หน้ากว้าง 6 เมตร ความยาวตลอดพื้นที่ไร่ที่มี คือ 13 ไร่ การเพาะกล้าพริก เพาะในหลุมเพาะกล้า หลุมละ 3-4 เมล็ด เมื่อกล้าพริกเริ่มเติบโต ให้เลือกต้นกล้าที่แข็งแรงที่สุดไว้เพียงต้นเดียว และปล่อยให้กล้าพริกเติบโตในถาดเพาะกล้า ประมาณ 25 วัน ระหว่างเพาะกล้าพริก ให้เตรียมไถแปลงปลูก เพื่อตากดินไว้

หลังน้ำลด ปลายเดือนธันวาคม หรือ ต้นเดือนมกราคม ของทุกปี เกษตรกรจะนำกล้าพริกลงปลูกยังแปลงปลูก โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพที่หมักจากสมุนไพรในท้องถิ่นรองก้นหลุม หรือ ใช้ขี้วัว ขี้ไก่ ฟางข้าว ตามแต่จะหาวัตถุดิบได้ในท้องถิ่น

ระยะห่างระหว่างต้น อยู่ที่ 50 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถว อยู่ที่ 100 เซนติเมตร

เหตุผลที่ไม่ปลูกต้นพริกชิดเกินไป เพราะจะทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงโคนต้น ส่งผลให้ไม่ติดดอกและผล

คุณอุทัย ให้ปุ๋ยเดือนละครั้ง การให้ปุ๋ยเลือกใส่ที่โคนต้น โรยให้รอบ ใช้ปุ๋ยชีวภาพเป็นหลัก หากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี จะนำมาผสมกับปุ๋ยชีวภาพตามสัดส่วน ปุ๋ยชีวภาพ : ปุ๋ยเคมี ในอัตรา 9 : 1 เพื่อลดต้นทุน และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้าง รวมทั้งช่วยให้ดินปลูกมีสภาพดี ไม่สูญเสียแร่ธาตุในดินไปมากเหมือนกับการใช้สารเคมีทั่วไป

การรดน้ำ ใช้เครื่องรดน้ำทยอยรดน้ำไล่จากต้นแปลงถึงปลายแปลง คุณอุทัย บอกว่า รดน้ำไม่ควรรดให้ชุ่มเกินไป หากดินแฉะมาก จะทำให้รากพริกเน่า ควรรดพอประมาณ เหมือนรดผ่านๆ เพราะรดน้ำทั้งเช้า-เย็น และทุกวัน พริกจึงได้รับน้ำมากเพียงพอแล้ว

เมื่อพริกเริ่มออกดอก ให้ระวังโรคและแมลง โดยเฉพาะเพลี้ยไฟ แอนแทรกโนส และโรคราขาว ซึ่งที่ผ่านมา โรคและแมลงศัตรูพริก ไม่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพริกในเขตพื้นที่ตำบลชัยบุรีเลยแม้แต่น้อย เพราะพื้นที่นี้ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ยิ่งเมื่อเกษตรกรลดการพึ่งพิงสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้ว ยิ่งทำให้ธรรมชาติดูแลกันเองได้อย่างไม่มีปัญหา

ลุงจรัส ให้ข้อมูลว่า พื้นที่เกษตรกรรมของตำบลชัยบุรี เป็นพื้นที่ที่มีการรณรงค์ลดละเลิกสารเคมีในพื้นที่เกษตรกรรม โดยเลือกใช้สารชีวภาพในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมาแทน เช่น น้ำหมักสมุนไพร ใช้สำหรับฉีดในช่วงที่พริกขาวชัยบุรีออกดอก และสมุนไพรสามารถนำมาฉีดพ่นเพื่อป้องกันศัตรูพืชได้ตลอดเวลา ไม่มีสารสะสมในเม็ดพริก และประโยชน์ที่ได้รับ คือ ผู้บริโภคได้บริโภคผักปลอดสาร ส่วนผู้ผลิตอย่างเกษตรกรก็ได้ลดต้นทุนการผลิตลง

“พริกขาวชัยบุรี ปลูกง่าย ดูแลง่าย โรคและแมลงศัตรูพริกพบน้อยมาก การใช้สมุนไพรฉีดพ่นเมื่อพริกเริ่มออกดอก ได้ผลดีมาก น้อยครั้งที่ประสบปัญหาเพลี้ยไฟ ซึ่งปัญหาโรคและแมลงชาวบ้านที่ปลูกพริกไม่กังวล แต่ปัญหาที่กังวลมากที่สุด คือ ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ซึ่งทำให้ขาดรายได้จากการปลูกพริกนาน 2-3 เดือนทีเดียว” คุณอุทัย กล่าว

วิธีแก้ปัญหาของคุณอุทัย ซึ่งคุณอุทัยคาดว่าได้ผล คือ การปลูกพริกแบบยกร่อง เป็นการยกแปลงปลูกให้สูงจากพื้น และสูงจากระดับน้ำท่วมทุกปี โดยความสูงของแปลงอาศัยการประเมินความสูงของระดับน้ำที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การปลูกพริกยกร่องสูง หลายแปลงในตำบลชัยบุรี ประสบความสำเร็จไปแล้ว ส่วนแปลงของคุณอุทัย จะเริ่มในฤดูกาลหน้า

คุณอุทัย อธิบายว่า หลังจากการลงกล้าพริก ประมาณ 90 วัน พริกจะเริ่มติดผล เมื่อเม็ดพริกเริ่มมีสีเหลืองหรือสีส้มจางๆ บนเม็ดพริก แสดงว่าเริ่มเก็บขายได้แล้ว ซึ่งการเก็บพริกในพื้นที่ 13 ไร่ของคุณอุทัย จำเป็นต้องจ้างแรงงานเก็บ 15-20 คน เก็บพริกหมดทั้ง 13 ไร่ ใช้เวลาประมาณ 3 วัน จากนั้นเว้นช่วงให้พริกสุกเก็บจำหน่ายได้ ประมาณ 1-2 วัน ก็เริ่มเก็บพริกจำหน่ายได้ใหม่

“ในการเก็บแต่ละครั้ง ใช้เวลา 3 วัน เก็บเม็ดพริกได้ครั้งละประมาณ 600 กิโลกรัม แบ่งค่าเก็บให้กับแรงงานที่จ้างมา กิโลกรัมละ 10-20 บาท ขึ้นกับราคาพริกที่จำหน่ายได้ในช่วงนั้นๆ สำหรับพริกที่เก็บแล้ว ไม่จำเป็นต้องนำมาคัดขนาดใหม่ เพราะแม่ค้ารับซื้อทุกขนาดคละกันไป และเข้ามารับซื้อพริกถึงแปลง ให้ราคาขึ้นกับฤดูกาล หากเป็นช่วงที่พริกขาวชัยบุรีให้ผลผลิตจำนวนมาก ราคาพริกอาจตกลง เหลือเพียงกิโลกรัมละ 50 บาท แต่ถ้าพริกขาวชัยบุรี ให้ผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย อาจได้ราคากิโลกรัมละ 220 บาททีเดียว”

ที่ผ่านมา ราคาพริกขาวชัยบุรีในแปลงของคุณอุทัย ให้ราคาต่อกิโลกรัมสูงมาก เนื่องจากคุณอุทัยสามารถทำให้พริกขาวชัยบุรีให้ผลผลิตนอกฤดูกาล จึงจำหน่ายได้ราคาดี ซึ่งพริกขาวชัยบุรี ก็ให้ผลผลิตตลอดปี ทำให้คุณอุทัยมีรายได้ในแต่ละปีหลายล้านบาท

พื้นที่ปลูกพริกขาวชัยบุรี ในพื้นที่ตำบลชัยบุรี โดยเฉพาะหมู่ 2 หมู่ 4 หมู่ 5 และหมู่ 7 เคยมีพื้นที่ปลูกมากเกือบ 2,000 ไร่ แต่จากปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในทุกปี เกษตรกรผู้ปลูกพริกบางรายถึงกับถอดใจ เปลี่ยนไปปลูกปาล์มแทน ทำให้ปัจจุบันเหลือพื้นที่ปลูกพริกประมาณ 600 ไร่เท่านั้น

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกพริกขาวชัยบุรี พริกพื้นเมืองที่การันตีความเผ็ด หอม ในเครื่องแกงของชาวใต้ ได้ที่ คุณลุงจรัส สงกลิ่น อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง หรือโทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 087-1071146

ชะอม เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม แต่เคยมีพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลําต้นได้ 1.2 เมตร ไม้ชะอมทีปลูกตามบ้าน จะพบในลักษณะไม้พุ่ม และเจ้าของมักตัดแต่งกิ่งเพือให้ออกยอดไม่สูงเกินไป จะได้เก็บยอดได้สะดวก ตามลําต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่ 2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อย

วิธีการขยายพันธุ์ชะอม
สามารถทำได้โดย การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง หรือการโน้มกิ่งชะอมฝังดินทำให้แตกรากใหม่เกิดเป็นต้นใหม่เพิ่มขึ้น เกษตรกรสามารถทำการขยายพันธุ์เองได้ หรือหาซื้อกิ่งพันธุ์ได้ตามร้านขายกิ่งพันธุ์ไม้ทั่วไป วิธีการปลูกชะอม ถ้าใช้กิ่งตอนจะนิยมยกร่องแล้วขุดหลุมปลูกบนร่อง

ทั้งนี้ เพราะป้องกันน้ำท่วมขังทำให้รากชะอมเน่าตายได้ โดยทั่วไปจะปลูกห่างกันต้นละประมาณ 30-50 เซนติเมตร เป็นแถวเป็นแนวหรือปลูกเป็นแปลงระยะห่างของแถวประมาณ 1 เมตร ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ จะนิยมปลูกแบบแถวคู่ ระยะห่างของแถว 1 เมตร แต่ถ้าปลูกริมรั้วบางครั้งก็ใช้แถวคู่ ระยะห่างระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร

การดูแลและการเก็บยอดชะอม
เมื่อปลูกชะอมได้ประมาณสัก 3 เดือน ให้รดน้ำวันเว้นวัน ต้นชะอมจะชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะเพราะจะทำให้รากเน่าตายได้ ชะอมก็จะเริ่มแตกยอดอ่อนมาให้เก็บไปขายหรือใช้บริโภคได้แล้ว และเมื่อเก็บยอดชะอมไปขาย ชะอมก็จะแตกยอดใหม่มาเรื่อย ๆ ควรดูแลรักษาต้นชะอมโดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหลังจากปลูกชะอมได้ 2-3 เดือน จะทำให้ต้นชะอมแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี

การกระตุ้นการแตกยอดอ่อนของชะอม
เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยยูเรีย เพื่อกระตุ้นการแตกยอดใหม่ของชะอม แต่ควรใช้ในอัตราที่น้อยและต้องใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักด้วยจะทำให้ดินดีมีความอุดมสมบูรณ์มาก ต้นชะอมจะเจริญเติโตดีด้วยการกระตุ้นการแตกยอดอ่อนของชะอม

อีกวิธีหนึ่งก็คือใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่หมักจากยอดอ่อนของพืชชนิดต่างๆ ปริมาณการใช้อัตราส่วนน้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำ 40 ลิตร รดทุก 7 วัน ชะอมจะแตกยอดอ่อนได้ดี และช่วยให้ต้นแข็งแรงดีด้วย แต่ก็ควรใส่ปุ๋ยหมักในดินให้กับต้นชะอมด้วยจะดีมาก จากการปลูกชะอมโดยวิธีธรรมชาตินี้เกษตรกรทำกันมานานแล้วเป็นอย่างนี้สืบต่อเรื่อยมา

วิธีการปลูกชะอม 1 ต้น ร้อยยอด
ต้นชะอมเป็นไม้เลื้อยจะแตกยอดตามกิ่งและเกษตรกรจะเก็บยอดอ่อนไปจำหน่ายหรือบริโภค ฉะนั้นการปลูกชะอมก็ไม่จำเป็นต้องปลูกหลายต้น แต่เราจะปลูกต้นชะอม 1 ต้น แล้วปล่อยให้ชะอมมันเลื้อยทอดยอดไปเรื่อยๆ โดยเราก็จะจับลำต้นชะอม ให้ทอดยอดสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วใช้เชือกฟางมัดไว้กับหลักที่ปักไว้เป็นแถวห่างกันระยะ 50 เซนติเมตร ให้ต้นชะอมเลื้อยขนานกับพื้นดินสูง 50 เซนติเมตร ยาวไปเรื่อยๆ โดยปักหลักมัดกิ่งไม่ให้ล้ม ชะอมก็จะออกยอดตามลำต้นยาวไปเรื่อยๆ เรียกว่าปลูกชะอม 1 ต้น แต่เก็บได้ร้อยยอด

เป็นการประหยัดพื้นที่ปลูกชะอม และถ้าเราจะเปลี่ยนหลักไม้ไปปลูกผักหวานแทนข้างๆ หลักที่ปักไว้ ก็จะมีผักอีกชนิดหนึ่งไว้รับประทานได้อีกด้วย และนี่ก็คือการจัดการการปลูกผักวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

ราวเดือนกันยายน-ตุลาคม ทุกปีที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นช่วงของลางสาดที่ได้เวลาออกสู่ตลาดอย่างคึกคัก โดยเฉพาะพันธุ์ลิปะใหญ่ เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของเกาะสมุย เรียกขานกันในพื้นที่ว่า ลางสาดหอมสมุย ที่ปลูกมาพร้อมกับมะพร้าว มีจุดเด่นตรงรสหวาน หอม ลูกใหญ่ เนื้อผลสีน้ำผึ้ง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแม้จะนำไปปลูกที่อื่นก็ไม่อร่อยเท่าที่สมุย

แต่น่าเสียดายไม้ผลดั้งเดิมประจำถิ่นชนิดนี้ที่บรรพบุรุษปลูกตกทอดกันมาเป็นเวลานับร้อยปีนับวันจะลดลงเนื่องจากมีผลไม้ทางเลือกหลายชนิดที่ได้รับความนิยม จึงเป็นความกังวลของชาวสมุยเกรงว่าหากไม่ร่วมมือกันปลูกเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์กันไว้ ในอนาคตอาจไม่มีเหลือให้ลูกหลานได้ภูมิใจ

ในฐานะคนสมุย อย่าง คุณเศวต วิชัยดิษฐ์ ก็มีความกังวลเรื่องดังกล่าวอยู่ไม่น้อย จึงชักชวนชาวสมุยเปิดโครงการขยายพันธุ์ลางสาดขึ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการอนุรักษ์ลางสาดพันธุ์ลิปะใหญ่ ซึ่งเป็นพันธุ์เก่าแก่ของเกาะสมุยไว้ เพื่อให้เป็นไม้ผลอัตลักษณ์ของเกาะสมุย สร้างความภูมิใจให้แก่ชนรุ่นต่อไป

จุดเด่นของลางสาดพันธุ์นี้คือ ความหอม หวาน ผลใหญ่ เนื้อขาวสีน้ำผึ้ง อันเกิดจากต้นลางสาดได้สารอาหารสมบูรณ์ที่เกิดจากทรัพยากรธรรมชาติบนเกาะสมุย และที่สำคัญพื้นที่ของตำบลลิปะใหญ่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ เมื่อมีน้ำหลากเข้าพื้นที่จะพัดโคลนทะเลเข้ามาทับถมทุกปี

ลางสาดลิปะใหญ่ ปลูกและขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดที่เลือกจากต้นที่ให้ผลผลิตสมบูรณ์ที่สุด จากนั้นนำเมล็ดมาล้างด้วยน้ำเปล่าลอกให้เหลือแต่เมล็ดด้านใน นำไปผึ่งลมให้แห้ง (ห้ามตากแดด) ประมาณ 2-3 วัน ขณะเดียวกันให้เตรียมแปลงเพาะ ด้วยการใช้ปุ๋ยหมักมูลสัตว์คลุกกับหน้าดิน หว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะ กลบด้วยปุ๋ยหมักอีกชั้นประมาณ 1 นิ้ว แล้วใช้หญ้าหรือฟางคลุมเพื่อรักษาความชื้น รดน้ำทุกวัน ประมาณ 15 วัน จะเริ่มมียอดโผล่

จากนั้นรดน้ำต่อไปอีก ประมาณ 2 เดือน จึงได้ต้นกล้า แล้วย้ายต้นกล้าไปปลูกอีกแปลงที่ได้เตรียมดินใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เป็นโรงเรือนที่มุงด้วยซาแรนเพื่อไม่ให้ต้นกล้าโดนแดดมาก ใช้เวลาดูแลต้นกล้า ประมาณ 12 เดือน จะได้ต้นกล้าสูงประมาณ 1 ศอก ให้ขุดใส่ถุงดำก่อน โดยรดน้ำทิ้งไว้ ประมาณ 2 เดือน เพื่อให้รากปรับสภาพ แล้วจึงย้ายไปปลูกในแปลงจริง

โดยพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกลางสาด 25 ต้น ปลูกระหว่างต้นมะพร้าว ให้ลางสาดอยู่ข้างกล้วยเพื่อให้ใบกล้วยบังแดด ขุดหลุมลึก 1 ศอก กว้างครึ่งศอก ใช้ปุ๋ยหมักที่ผสมคลุกหน้าดินใส่รองก้นหลุมประมาณครึ่งหลุม นำต้นลางสาดที่อยู่ในถุงดำใส่ลงในหลุม ต้องให้ปากถุงดำอยู่ต่ำกว่าปากหลุม ประมาณ 3-5 นิ้ว แล้วตัดถุงดำออก เติมปุ๋ยหมักลงไปอีกในถึงปากหลุม ใส่ปุ๋ย สูตรเสมอ 15-15-15 สักกำมือ โรยรอบโคนห่างสักศอก แล้วตัดหญ้าหรือใช้ทางมะพร้าวคลุมโคนต้น เพื่อรักษาความชื้น ให้รดน้ำ 2-3 วัน ต่อครั้ง รดพอชุ่ม เมื่อผ่านไป 1 ปี ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ในปริมาณกำมือ ห่าง 1 ศอก ใส่ปีละ 2 ครั้ง

เมื่อเข้าสู่ปีที่ 7 ลางสาดจะเริ่มมีดอกและผสมเกสร ให้ทำความสะอาดโคนต้น แล้วเปิดเพื่อตากหน้าดินให้แห้ง ใช้เวลาประมาณ 15 วัน จนใบมีลักษณะเหี่ยวเฉา อย่างถ้าเปิดโคนต้น วันที่ 1 มีนาคม ให้ทิ้งไว้จนถึง วันที่ 15 มีนาคม เมื่อเห็นว่าใบเหี่ยวเฉา ใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 เพื่อเปิดตาดอก แล้วเริ่มให้น้ำทุกวันสม่ำเสมอ ประมาณ 15 วัน จะเริ่มแทงช่อดอก ประมาณ วันที่ 1-10 เมษายน พอวันที่ 15 เมษายน ดอกจะบาน แล้วประมาณเดือนพฤษภาคมจะเห็นมีผลขนาดเท่าหัวไม้ขีด จากนั้นจึงใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงทุกส่วนของต้น โดยจำนวนปุ๋ยที่ใส่ ให้ดูตามลักษณะอายุต้น โดยเฉลี่ยถ้าต้นอายุ ประมาณ 8-10 ปี จะใส่ประมาณกำมือ โรยรอบทรงพุ่ม

“ถ้าลางสาดแทงช่อเดือนเมษายน จะสุกพร้อมเก็บผลผลิตได้ ประมาณ วันที่ 1-10 กันยายน หรือประมาณ 5-6 เดือน หลังออกดอก ซึ่งไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ให้รดน้ำอย่างเดียว ทั้งการรดน้ำต้องดูสภาพอากาศด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนเก็บผลผลิตควรงดให้น้ำล่วงหน้า 5-7 วัน”

คุณเศวต ชี้ว่าลางสาดแต่ละต้นจะสุกไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการแทงช่อดอก ดังนั้น เมื่อถึงช่วงเวลาเก็บใช้วิธีสุ่มชิมผลในแต่ละต้น เพื่อดูว่าพร้อมเก็บได้หรือยัง วิธีเก็บใช้บันไดพาดต้น ใช้มีดตัดที่ก้านช่อผลอย่างระมัดระวัง ปริมาณผลผลิตต่อต้น ถ้าอายุเฉลี่ย 8-10 ปี ได้ประมาณ 30-50 กิโลกรัม ถ้าอายุต้นเกิน 10 ปี จะได้ประมาณ 70-80 กิโลกรัม ต่อต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาด้วย

อย่างไรก็ตาม ความแก่พร้อมเก็บไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าจะส่งไปขายที่ไหน ถ้าขายในเกาะ จะเก็บประมาณ 90% แต่ถ้าขนส่งไปขายที่อื่น จะเก็บที่ความสุก 80% เพื่อให้สุกพอดีเมื่อถึงปลายทาง ทั้งนี้ระยะเวลาเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่เดือนกันยายนไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม

เจ้าของสวนลางสาดบอกเพิ่มเติมอีกว่า การปลูกลางสาดไม่ถูกรบกวนจากโรคหรือแมลงศัตรูเลย จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารป้องกัน ถือเป็นลางสาดไร้สาร นับเป็นข้อดีในเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ราคาขายลางสาด แบ่งตามคุณภาพเป็น 3 ระดับ คือ A B และ C กำหนดราคาขาย ตั้งแต่ 50, 60 และ 70 บาท ต่อกิโลกรัม ตามเกรด คุณเศวต ชี้ว่า ราคาขายลางสาดตอนนี้สูงกว่าเมื่อก่อน เนื่องจากผลผลิตในตลาดน้อยลงมาก แล้วเป็นที่พอใจของชาวบ้าน เพราะการปลูกลางสาดมีต้นทุนไม่สูง

คุณเศวต วิตกว่าการปลูกลางสาดที่สมุยจะลดลงไปเรื่อย เพราะมีไม้ผลชนิดอื่นที่ปลูกแข่งขันกัน แล้วยังกังวลว่าถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป ในอนาคตอาจไม่เห็นลางสาดเกาะสมุยแน่ ดังนั้น เขาจึงมีแนวทางอนุรักษ์ฟื้นฟูการปลูกลางสาดสมุยให้กลับมาอีก ด้วยการตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ลางสาด พร้อมกับทำหน้าที่เป็นประธานศูนย์ฯ เพื่อจัดโครงการและถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรในพื้นที่

“ลางสาดที่สมุย ยังไงก็ขายได้ ขายดีราคาสูงด้วย เพราะผลผลิตมีเพียงปีละครั้ง ปลูกกันน้อย ลูกค้าส่วนมากเป็นชาวสมุยและนักท่องเที่ยว เวลามีผลผลิตลูกค้าจะแย่งกันซื้อ เพราะจุดเด่นของลางสาดสมุยคือ ลูกใหญ่ เนื้อมาก หวาน หอม ลูกขาว น้ำใส ถ้าสุกเต็มที่เนื้อผลจะมีสีน้ำผึ้ง และในช่วงปลายปีหากท่านผู้อ่านมีโอกาสเดินทางไปเที่ยวเกาะสมุย อย่าลืมแวะไปชิมลางสาดหอมเกาะสมุยกัน” คุณเศวต กล่าวทิ้งท้าย

ในวันนี้ กล้วยไข่ กลายเป็นผลไม้ขายดี ติดตลาด ไม่แพ้ กล้วยชนิดต่างๆ ความจริง กล้วยไข่ เป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย หากใครมีพื้นที่ว่างในสวนหลังบ้าน ก็สามารถหาพันธุ์กล้วยไข่มาปลูกและบำรุงรักษาให้เจริญเติบโตได้ไม่ยาก แค่ใช้เวลาปลูกดูแลไม่นานก็จะได้ผลผลิตให้เก็บกินและเก็บขายได้

การปลูก-ดูแล
กล้วยไข่ เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไปในพื้นที่ราบ ต้นกล้วยไข่เติบโตได้ดี ในสภาพดินร่วนซุยค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ “ฤดูฝน” เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการปลูกกล้วยไข่ เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ปลูกต้นกล้วยไข่ในพื้นที่โล่งมากเกินไป เพราะหากเจอปัญหาลมพัดแรง จะเสี่ยงทำให้ต้นกล้วยไข่หักโค่นล้ม หรือหักครึ่งต้นได้ในระยะตกเครือ หากเป็นไปได้ ควรปลูกไม้กันลมไว้ด้วยจะยิ่งดี

ก่อนปลูก ควรไถดะไถแปรทั้งแปลง ตากดินไว้ 5-7 วัน ขุดหลุมลึกและกว้าง 50 เซนติเมตร คลุกดินที่ขุดขึ้นจากหลุมกับปุ๋ยคอกเก่า รองก้นหลุมด้วยใบไม้หรือฟางข้าวแห้ง เกลี่ยดินที่ผสมไว้กลับลงหลุมวางหน่อกล้วยลงหากต้องการให้ต้นกล้วยตกเครือในทิศทางเดียวกัน ให้หันรอยแผลที่ตัดแยกจากต้นแม่ไปทิศทางเดียวกัน กลบหน่อกล้วยให้ลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร กลบดินเหยียบอัดพอแน่น พูนกลบดินให้สูงเหนือผิวดินเป็นรูปหลังเต่าป้องกันน้ำขังและขณะรดน้ำหรือฝนตกชุก ในระยะฝนทิ้งช่วงควรให้น้ำเป็นครั้งคราว

ต้นกล้วยไข่มีการเจริญเติบโต แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก นับจากเริ่มปลูกจนต้นกล้วยตั้งตัวได้ ระยะนี้ต้นกล้วยต้องการน้ำและอาหารมาก ซึ่งจะมีผลต่อการให้ผลผลิตกล้วย ระยะที่ 2 เริ่มจากหลังการตั้งตัวจนถึงก่อนการตกเครือเล็กน้อย อาหารส่วนใหญ่จะนำไปผลิตหน่ออ่อน ระยะที่ 3 จากระยะตกเครือไปจนถึงผลแก่ จะเห็นว่าต้นกล้วยต้องมีการสะสมอาหารไว้ในปริมาณสูงตลอดทั้ง 3 ระยะจึงจะให้ผลดี

การให้ปุ๋ย
หากปลูกต้นกล้วยไข่ ในแหล่งดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเคมีบำรุงดินด้วย ครั้งแรกใส่หลังจากต้นกล้วยไข่ตั้งตัวแล้ว 1 เดือน เลือกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราครึ่งกิโลกรัม ต่อต้น และใส่อีกครั้งในระยะตกเครือ ด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา ครึ่งกิโลกรัม ถึงหนึ่งกิโลกรัม ต่อต้น ตลอดระยะการปลูกต้องหมั่นกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องตัดหญ้าเป็นวิธีดีที่สุด ส่วนวิธีขุดสับจะมีผลเสียคือเป็นการทำลายระบบรากของต้นกล้วย

การให้ผลผลิต
เมื่อต้นกล้วยไข่เริ่มแทงหน่อเมื่อมีอายุ 5-6 เดือน ให้ตัดแต่งหน่อกล้วย โดยเลือกหน่อไว้เพียง 2 หน่อเพื่อทดแทนต้นแม่โดยเลือกหน่อที่อยู่คนละด้านของต้นแม่ เนื่องจากมีระบบรากที่แข็งแรง ส่วนการตัดแต่งกิ่งและใบ แนะนำให้ตัดใบที่แห้งและใบที่เป็นโรคทิ้งไปให้เหลือเก็บไว้ในระยะเครือจวนแก่เพียง 4-5 ใบ ก็พอ

กล้วยจะเริ่มให้ปลีเมื่อมีอายุ 8-12 เดือน นับจากวันปลูก caseyrace.com สังเกตการออกปลีจะเห็นมี ใบธง จะมีขนาดเล็กกว่าใบทั่วไปและตั้งตรง ก้านปลีเริ่มยืดยาวออก ปลีมีน้ำหนักมากขึ้นจึงโน้มห้อยลง ปลีจะเริ่มบานให้เห็นดอก ไล่เวียนจากโคนมายังปลาย เมื่อได้รับการผสมเกสร ดอกจะพัฒนาเป็นผลกล้วย รวมระยะเวลาการบานใช้เวลา 10-15 วัน จากนั้นให้ตัดปลีที่ยังไม่บานออก

เมื่อต้นกล้วยไข่เริ่มให้ผลผลิต เครือกล้วยมีน้ำหนักมาก แนะนำให้ใช้ไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนก็ได้ ค้ำต้นกล้วยไข่ เพื่อป้องกันลมพัดโยก ไม่ให้ต้นกล้วยไข่หักพับลงด้วย ในแต่ละเครือจะมีหวีสมบูรณ์อยู่ประมาณ 5-6 หวี และหนึ่งหวีมีประมาณ 10-16 ลูก เฉลี่ยแล้วในหนึ่งเครือจะมีผลกล้วย 70 ผล โดยประมาณ การเก็บเกี่ยว ตัดเครือเมื่อครบ 90 วัน

การเก็บเกี่ยว
หลังจากปลีกล้วยแทงออกจากปลีโผล่พ้นยอด ให้เก็บไม้ค้ำออกจนหมดแปลง ตัดเครือด้วยมีดคม นำปลายเครือตั้งขึ้นให้โคนอยู่ด้านล่าง ควรปฏิบัติอย่างนุ่มนวลอย่าให้กล้วยช้ำ ปล่อยให้ยางไหลออกไม่ไปเปอะเปื้อนผลกล้วย เมื่อน้ำยางแห้งจึงเคลื่อนย้ายเข้าเก็บในโรงเรือน ก่อนส่งขายหรือมีผู้รับซื้อมาซื้อถึงที่

โรคแมลงศัตรูพืช
“โรคตายพราย” คือ โรคพืชสำคัญของพืชตระกูลกล้วย โรคตายพราย เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง ระยะที่ระบาดรุนแรงมักเกิดขึ้นกับต้นกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือน อาการที่พบ ก้านใบแก่จะมีสีเหลือง ต่อมาขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วไป ใบอ่อนมีอาการเหลืองไหม้ หรือตายนึ่งบิดเป็นคลื่น ใบจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ กล้วยที่ติดเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ แก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามซีด หากตัดขวางที่ลำต้นจะพบเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราปรากฏให้เห็น

การป้องกันกำจัด เลือกพื้นที่ปลูกอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้ต้นกล้วยอ่อนแอเกิดโรคได้ง่าย ในดินที่เป็นกรดต้องใส่ปูนขาวเพื่อลดความเป็นกรดของดินลง ต้นที่เป็นโรคควรตัดและเผาทำลายทิ้งไป ระยะที่เกิดโรคต้องลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลง สิ่งสำคัญต้องคัดเลือกหน่อพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีโรคชนิดนี้ระบาดมาก่อน

“ด้วงงวงไชเหง้า” คือแมลงศัตรูที่สำคัญของกล้วยไข่ ด้วงงวงไชเหง้า ในระยะตัวหนอนจะทำลายเหง้ากล้วยอย่างรุนแรง หากเหง้ากล้วย 1 ต้นมีหนอน 5 ตัวจะทำให้ต้นกล้วยตายลงในที่สุด แมลงตัวเต็มวัยเป็นด้วงงวงชนิดหนึ่ง

วิธีป้องกันและกำจัด หมั่นทำความสะอาดในแปลงปลูกกล้วยโดยเฉพาะกาบและใบที่เน่าเปื่อย ต้องกำจัดให้หมดเพราะจะเป็นที่วางไข่ของแมลงชนิดนี้ เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วย เฮ็พตาคลอ ตามอัตราแนะนำราดลงบริเวณโคนต้น การระบาดจะหมดไป