คุณเนรมิตร พิทักษ์พงษ์ บอกอีกว่า กาแฟของตนนั้น

มีความพิเศษคือ กลิ่นหอม รสชาติเข้มข้น แต่ไม่ขมมาก เป็นกาแฟบริสุทธิ์ไม่มีส่วนผสมของวัสดุอื่น ท่านที่เคารพครับ!!! จะเห็นว่า การทำการเกษตรหลายอย่าง เช่น ไม้ผลหลากหลายชนิด มีรายได้ต่อเนื่อง รวมทั้งกาแฟแล้วนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่เกษตรกรทั่วไปจะนำมาปรับใช้กับการประกอบอาชีพทางการเกษตรในไร่นาของตนเอง ดังนั้น ท่านที่สนใจสอบถามข้อมูล แลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือสั่งซื้อกาแฟบริสุทธิ์ได้ตามที่อยู่และเบอร์โทร.ที่ให้ไว้ข้างต้นครับ

นักวิจัยของสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร คุณวิชัย โอภานุกุล วิศวกรการเกษตร ได้พัฒนารถยกสูงทำรุ่นมันสำปะหลัง สามารถกำจัดวัชพืช+ใส่ปุ๋ย+กลบดิน ในขั้นตอนเดียวกัน มีจุดเด่นดังนี้

ประหยัดเงินค่าทำรุ่น 30%
ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า
3. ไม่สูญเสียปุ๋ย
ท้องรถสูง 120 เซนติเมตร ใช้กับมันอายุ 1-3 เดือน
5. ล้อปรับความกว้าง ตามร่องมันได้ทุกระยะปลูก
สร้างและซ่อมแซมง่ายในอู่ท้องถิ่น
ปี 2561 ประเทศไทยมีเกษตรกรกว่า 5.2 แสนครัวเรือน ปลูกมันสำปะหลัง 8.6 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 29.3 ล้านตัน และเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอันดับ 1 ของโลก มีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท การปลูกมันมีความจำเป็นต้องกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย เพื่อให้ได้ผลผลิตคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้ยาฆ่าหญ้า (พาราควอต, ไกลโฟเสต) เพราะมีต้นทุนต่ำ แต่เนื่องจากภาครัฐมีนโยบายยกเลิกการใช้ นักวิจัยของสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมจึงพัฒนาเครื่องจักรกลแบบใหม่ใช้ทดแทน เมื่อเทียบวิธีฉีดยาฆ่าหญ้าแล้วใส่ปุ๋ยแบบชาวไร่ปฏิบัติมีค่าใช้จ่าย 1,400 บาท ต่อไร่ หากใช้รถยกสูงเหลือเพียง 950 บาท ต่อไร่ ลดลง 30%

ได้ต้นแบบในปี 2562 มีคุณลักษณะดังนี้ 1. ท้องรถสูงจากพื้น 120 เซนติเมตร 2. ล้อปรับความกว้างตามร่องมันได้ 80, 100, 110, 120 เซนติเมตร 3. ถังปุ๋ยปรับอัตราหยอดได้ 30-80 กิโลกรัม ต่อไร่ 4. จุดศูนย์ถ่วงต่ำ ทำให้ปลอดภัยขณะทำงาน 5. มิติ (กว้างxยาวxสูง) 230x300x230 เซนติเมตร 6. น้ำหนัก 450 กิโลกรัม

ผลการทดสอบที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทำงานได้ 3-4 ไร่ ต่อชั่วโมง หรือ 30 ไร่ ต่อวัน ประสิทธิภาพกำจัดวัชพืช 80-90% ใช้น้ำมัน 1.3-1.5 ลิตร ต่อไร่ ผู้ปฏิบัติงาน 1-2 คน ราคา 280,000 บาท จุดคุ้มทุน 1 ปี

สนใจขอแบบแปลน หรือยืมใช้งาน…ฟรี อย่างที่ทราบกันอยู่ว่า ในอนาคตสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีการคำนวณจากสำนักงานสถิติแห่งชาติว่าจำนวนผู้สูงอายุของไทยจะมีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้สูงอายุไม่น้อยกลัวว่าเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ จะส่งผลให้เป็นภาระของลูกหลาน จึงทำให้ผู้สูงอายุไม่น้อยได้หากิจกรรมยามว่างทำ

ซึ่งงานทางการเกษตรถ้าหากทำในช่วงที่เกษียณแล้ว พืชบางชนิดอาจจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ไม่ทัน อาจต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าสู่วัยเกษียณ เพื่อเป็นอาชีพรองรับเมื่อต้องเกษียณจากงานอย่างเต็มตัว เมื่อออกจากงาน พืชที่ปลูกสามารถให้ผลผลิตได้ทันที จึงเป็นเสมือนกิจกรรมยามว่างที่สร้างเงินและความสุขไปพร้อมกัน

ดร. ชวัลวิทย์ แจ่มขำ อยู่บ้าน เลขที่ 289 หมู่ที่ 10 ตำบลผ่านศึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นผู้ที่ได้เริ่มทำการเกษตร คือ สวนมะพร้าวน้ำหอม โดยเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเกษียณอายุราชการจะมาถึง ได้ปลูกและหาแหล่งพันธุ์เรื่อยๆ จนเมื่อเกษียณเต็มตัว ทำให้ ดร. ชวัลวิทย์ มีผลผลิตอย่างมะพร้าวน้ำหอมพร้อมจำหน่าย เกิดรายได้แม้ไม่ได้ทำงานประจำ

ดร. ชวัลวิทย์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนจบการศึกษาทางด้านการเกษตร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่บ้านกร่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก) และศึกษาต่อไปถึงจบปริญญาเอก ในช่วงแรกทำงานรับราชการเป็นเกษตรตำบล ต่อมาจึงได้ย้ายมาทำงานเป็นรองปลัดอยู่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งด้วยจบการศึกษาทางด้านการเกษตร และมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับทางด้านนี้ จึงมีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้วว่า อยากจะมีสวนเป็นของตนเอง เพื่อเป็นอาชีพยามว่างหลังวัยเกษียณ

“เราจะรู้เลยว่า คนที่จบเกษตร ก็จะมีความตั้งใจอยู่แล้วว่า เมื่อเกษียณจากงานแล้ว จะทำอาชีพอะไรรองรับเมื่อวัยเกษียณ ซึ่งผมก็ได้มาเลือกสร้างสวนมะพร้าวอยู่ที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เหตุที่เลือกที่นี่เพราะภรรยาผมเป็นคนพื้นที่นี้ โดยได้ซื้อที่ดินบางส่วนเอาไว้ด้วย ก็เลยคิดที่จะสร้างสวนมะพร้าวให้เติบโตก่อนที่เราจะเกษียณออกมา ก็เลยได้ที่นี่ทำสวนเก็บเกี่ยวผลผลิต” ดร. ชวัลวิทย์ เล่าถึงที่มา

เลือกสายพันธุ์มะพร้าว
ที่เป็นแหล่งเชื่อถือได้
ก่อนที่จะลงมือปลูกมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ที่เตรียมไว้ ดร. ชวัลวิทย์ เล่าว่า จะต้องไปหาซื้อสายพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการเสียก่อน ซึ่งต้นกล้ามะพร้าวที่ดีต้องได้จากต้นแม่พันธุ์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จึงจะทำให้มีความสมบูรณ์ของพันธุ์ค่อนข้างดี โดยในพื้นที่ที่ปลูกจะเน้นในเขตน้ำชลประทาน จึงทำให้มีน้ำดูแลต้นมะพร้าวตลอดทั้งปี

“วิธีการปลูก ในขั้นตอนแรกก็จะทำพื้นที่แปลงให้มีถนนเป็น 4 แปลง โดยปลูกมะพร้าวอยู่บริเวณริมถนนก่อน จากนั้นจึงนำไปปลูกลงในพื้นที่แปลง โดยให้มีระยะห่าง ประมาณ 6×7 เมตร จะได้ประมาณ 40 ต้น ต่อไร่ รองก้นหลุมปลูกด้วยขี้ไก่ จากนั้นก็รดน้ำดูแลไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้อายุให้ผลผลิตได้” ดร. ชวัลวิทย์ บอกถึงวิธีการปลูก

ซึ่งระยะเวลาการเจริญเติบโตของมะพร้าวน้ำหอมภายในสวน ดร. ชวัลวิทย์ บอกว่า ใช้เวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง ต้นจะเริ่มเติบโตเต็มที่พร้อมให้ผลผลิตได้ โดยการติดผลผลิตภายในสวนใหญ่จะมีผึ้งและแมลงเป็นตัวช่วยในเรื่องการผสมเกสร จึงทำให้ต้นมะพร้าวแต่ละต้นค่อนข้างติดผลผลิตดี

การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝนเป็นปุ๋ยขี้ไก่และปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ผสมกับ สูตร 21-0-0 ส่วนการป้องกันโรคและแมลง ต้นมะพร้าวน้ำหอมที่ยังไม่ออกผลผลิต มีการใช้ยากำจัดเพื่อช่วยให้ต้นมีความสมบูรณ์ กันจากศัตรูจำพวกหนอนหัวดำและด้วง เมื่อมะพร้าวเริ่มออกจั่นเพื่อติดผลก็จะหยุดใช้สารเคมีทันที

“มะพร้าวต่อต้นจะให้จั่นอยู่ที่ 15-18 จั่น ต่อปี ซึ่งใน 1 ปี สำหรับที่สวนออกประมาณ 12 ทะลาย ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งที่สวน 1 ทะลาย จะมีประมาณ 10 ผล ที่สวนก็มีผลผลิตออกขายต่อเดือนก็ประมาณ 2,000 ผล โดยนำเงินที่ขายได้มาเลี้ยงภายในสวนก่อน พอเริ่มมีผลผลิตมากขึ้น คราวนี้ก็จะเป็นผลผลิตที่เลี้ยงดูเราในอนาคต” ดร. ชวัลวิทย์ อธิบาย

ในเรื่องหลักการทำตลาดมะพร้าวน้ำหอม ดร. ชวัลวิทย์ บอกว่า จะเน้นทำการตลาดหลากหลายแบบ เช่น ให้พ่อค้ามาติดต่อซื้อผลผลิตที่สวน และบางส่วนจะส่งให้พ่อค้าแม่ค้าที่อยู่แถวตลาดลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เก็บอาทิตย์ละ 400-500 ผล มีพ่อค้าเข้ามาตัดถึงสวน ให้ผลละ 8 บาท

“ที่สวนตอนนี้ราคามะพร้าวขายอยู่ในราคาที่หลากหลาย ตั้งแต่ 8-20 บาท ทำตลาดแบบทั้งขายส่งและขายปลีก เพื่อที่ให้พ่อค้าแม่ค้าเขาไปทำการตลาดได้ ซึ่งตอนนี้ในอำเภออรัญประเทศเองก็สามารถขายได้เรื่อยๆ ซึ่งผลตอบรับก็ถือว่าดีมาก เพราะภายในตลาดโรงเกลือมีร้านค้าค่อนข้างมาก ดังนั้น แม่ค้าที่ขายของในตลาดเขาก็ต้องใช้มะพร้าวอย่างน้อย ร้านละ 1 ผล เพราะเซ่นไหว้เจ้าที่ก่อนเปิดร้าน จึงทำให้มะพร้าวสามารถขายได้ตลอดที่อรัญประเทศ” ดร. ชวัลวิทย์ บอก

ช่วงก่อนเข้าฤดูฝนเล็กน้อย ยาวนานต่อเนื่องไปตลอดฤดูฝน จนปิดท้ายฤดูฝนที่ประมาณเดือนกันยายนหรือตุลาคม เป็นช่วงที่เม็ดเงินแพร่สะพัด กระจายรายได้เข้าสู่แหล่งผลิตกล้าไม้ทั่วประเทศ ทั้งแหล่งเล็กแหล่งใหญ่ แจกฟรี หรือ ซื้อขาย ก็นับเป็นวงจรการผลิตกล้าไม้ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างทั่วถึง

ที่กล่าวรวมถึงแหล่งแจกกล้าไม้ฟรี และอยู่ในวงจรการผลิตกล้าไม้ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการแจกกล้าไม้ฟรี มีบุคลากรสำหรับเพาะพันธุ์กล้าไม้ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องซื้อหรือสั่งทำจากเกษตรกรภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้มีจำนวนกล้าไม้ตามงบประมาณที่รัฐสนับสนุนสำหรับแจกจ่ายให้กับผู้สนใจหรือเกษตรกรตามปีงบประมาณนั้นๆ

กล้าไม้เศรษฐกิจทั่วไป อาจจะหาได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับกล้าไม้ป่า แม้จะมีแหล่งแจกกล้าไม้ฟรีของหน่วยงานภาครัฐก็ตาม แต่ความต้องการในเนื้อไม้ไม่เคยลดลง ทำให้กล้าไม้ป่าเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะแหล่งแจกกล้าไม้ฟรีมีจำนวนกล้าไม้ที่จำกัด และมีจำนวนชนิดไม่มากพอ หากผู้สนใจต้องการกล้าไม้ในชนิดที่มากกว่านั้น แหล่งเพาะกล้าไม้จะรองรับได้ดีกว่า

หากจะเอ่ยถึงแหล่งเพาะกล้าไม้ที่มีกล้าไม้หลากหลายในอันดับต้นๆ ของประเทศ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ก็น่าจะติดอันดับ เพราะเป็นแหล่งเพาะกล้าที่มีเกษตรกรผู้เพาะกล้าและมีจำนวนซื้อขายกล้าไม้ต่อปีหลายสิบล้านต้น ในที่นี่คงต้องพาเข้าไปถึงยังแหล่ง ซึ่งสำรวจแล้วพบว่ากล้าไม้วังทองที่ขึ้นชื่อ ไม่ได้ตั้งวางไปทั่วอำเภอวังทอง แต่มีเฉพาะตำบลดินทอง เขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เท่านั้น

พื้นที่ตำบลดินทอง เดิมเป็นหมู่บ้านในตำบลวังทอง มีแม่น้ำวังทองเป็นแนวเขต ต่อมาปี 2523 กระทรวงมหาดไทย ประกาศแยกหมู่บ้านดินทองออกจากตำบลวังทอง และให้ใช้ชื่อว่า ตำบลดินทอง ซึ่งเหตุที่ชื่อว่าตำบลดินทอง เนื่องจากผืนดินบริเวณนี้เป็นดินสีแดงและเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกไม้ทุกชนิด นอกจากนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลดินทองยังเป็นที่ราบ เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชไร่และพืชสวน เกษตรกรในพื้นที่มีอาชีพหลัก คือ ทำนา และมีอาชีพเสริม คือ เพาะพันธุ์กล้าไม้ ซึ่งปัจจุบันเกือบทุกครัวเรือนยกระดับอาชีพเสริมขึ้นมาเป็นอาชีพหลักไปแล้ว เพราะแม้กระทั่งสินค้าที่เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ยังเป็นผลิตภัณฑ์จากการเพาะชำกล้าไม้

จากการพูดคุยกับ คุณสุเทพ แสนประสิทธิ์ กำนันตำบลดินทอง ที่เอ่ยปากบอกกับ “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ว่า เป็นคนหนุ่มที่เพิ่งมาทำงานในหน้าที่กำนันได้ไม่ถึงปี แต่ก็มีแนวคิดรวบรวมเกษตรกรผู้เพาะกล้าไม้ในตำบลดินทองทั้งหมด ตั้งเป็นกลุ่มเพาะชำกล้าไม้ตำบลดินทอง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า และเพื่อต่อรองราคาวัตถุดิบจำเป็นที่นำมาใช้ในงานเพาะกล้าไม้ อันเป็นช่องทางหนึ่งในการลดต้นทุนการเพาะกล้าไม้ของเกษตรกร

“ผมเกิดและโตที่นี่ ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นชาวบ้านเขาทำอาชีพเพาะกล้าไม้ขายกันมาก่อนแล้ว ก็น่าจะทำกันเป็นอาชีพไม่ต่ำกว่า 50 ปี เริ่มจากสถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ส่งเสริมให้คนปลูกต้นไม้ด้วยการแจกกล้าไม้ แต่คนของหน่วยงานที่ทำหน้าที่เพาะกล้าไม้ไม่มี จึงขอให้ชาวบ้านเพาะกล้าไม้แล้วรับซื้อไปด้วยงบประมาณของหน่วยงาน แล้วจึงนำมาแจกตามจำนวนงบประมาณที่ได้ในแต่ละปี หลังสถานีรับซื้อไปแล้ว ก็ยังพอเหลือกล้าไม้อยู่ พอวางขาย ก็มีคนมาขอซื้อ ชาวบ้านเห็นเป็นช่องทางสร้างรายได้ ก็เพาะเกินจำนวนที่สถานีต้องการ นำมาขายเป็นรายได้เสริม”

จากจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาซื้อ ขยายออกไปเกือบทั่วประเทศที่สั่งซื้อกล้าไม้จากที่นี่ เช่น ตลาดต้นไม้รังสิต คลอง 15 ตลาดต้นไม้สวนจตุจักร เป็นต้น

สัก ยางนา กันเกรา ประดู่ กฐินเทพา พยอม หว้า พะยุง ตะเคียน มะค่า แคนา กฤษณา มะฮอกกานี รัง แดง ขี้เหล็ก ฯลฯ หาได้จากที่นี่

จาก 1 เพิ่มเป็น 10 จาก 10 เพิ่มเป็น 100 ราย ปัจจุบันมีมากกว่า 200 ราย

จำนวนค่อยๆ เพิ่มขึ้น ถามว่า เพิ่มขึ้นเพราะเหตุใด

กำนันสุเทพ ให้เหตุผลว่า เพราะการขายกล้าไม้ได้เม็ดเงินเร็ว เห็นเม็ดเงิน ในระยะเวลาไม่กี่เดือน ไม่เหมือนการทำนา ทำสวน หรือทำไร่ ที่ต้องรอรอบผลผลิตจึงขายได้เงิน และยังไม่แน่ใจว่าจะได้กำไรจากการลงทุนในแต่ละรอบการผลิตหรือไม่ แต่สำหรับกล้าไม้ที่ขายไป ไม่กี่เดือนก็ได้เงิน มีคนมาซื้อถึงบ้าน จ่ายเงินสด เห็นเงินเร็วกว่ารอรอบการผลิต ทำให้หลายบ้านเปลี่ยนอาชีพจากการทำนา ทำไร่ ทำสวน มาเพาะกล้าไม้ขายอย่างเดียว

ในอดีต กล้าไม้มีไม่กี่รายที่เพาะขาย ราคากล้าไม้จึงจัดว่าได้กำไรดีมาก กำไรต่อถุงกล้าไม้ 15-18 บาท จำนวนซื้อแต่ละครั้งไม่น้อยกว่าหลักหมื่น ขึ้นหลักแสน ไปถึงหลักล้านต้น เมื่อคำนวนเม็ดเงินที่ได้ในการซื้อขายแต่ละครั้ง ก็เป็นเม็ดเงินจำนวนไม่น้อย

จำนวนผู้ขายที่เพิ่มมากขึ้น เป็นทางเลือกให้กับลูกค้า แต่สำหรับผู้ขายแล้วหมายถึงรายได้ที่ลดหายไป การแข่งขันที่สูงขึ้น ส่งผลให้กล้าไม้ราคาถูกลง คุณสุเทพ บอกว่า ไม่มีเกษตรกรรายใดเพาะกล้าไม้มาแล้วอยากให้กล้าไม้ถูกวางทิ้งไว้นาน เพราะต้นไม้ยิ่งโตมากเท่าไหร่ โอกาสถูกซื้อน้อยลงมากเท่านั้น และถ้าไม่มีคนซื้อ ก็เท่ากับทิ้งเงินที่เป็นต้นทุนไป

“กล้าไม้ที่ขายไม่ได้ ถ้าโตขึ้นหน่อยก็ต้องเปลี่ยนถุง เปลี่ยนดิน ต้องขยับเปลี่ยนที่วาง ไม่อย่างนั้นรากจะลงดิน ก็ต้องมาตัดรากอีก ต้นไม้ที่ตัดรากลูกค้าก็ไม่ค่อยอยากได้ เพราะนำไปปลูกก็เจริญเติบโตไม่ค่อยดี หรือเติบโตได้แต่ก็ไม่ค่อยแข็งแรง ฉะนั้น ขายได้ก็ต้องรีบขาย”

ปัจจัยผู้ค้าที่เพิ่มจำนวนขึ้น ทำให้ราคาซื้อขายเปลี่ยนไป จากถุงละ 10-20 บาท เหลือเพียงราคาถุงละ 1.50-2 บาทเท่านั้น คุณสุเทพ ยืนยันว่า หากต้องการขายให้ได้กำไร ควรขายในราคาอย่างน้อยถุงละ 3 บาท มิฉะนั้นจะเข้าเนื้อขาดทุน แต่ก็มีเกษตรกรหลายรายที่ยอมขายในราคาขาดทุน เพราะไม่ต้องการให้กล้าไม้เหลือทิ้งข้ามปี เป็นภาระค่าใช้จ่ายตามมาอีกมาก

แม้ว่าตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จะเป็นแหล่งที่มีดินอุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันวัตถุดิบที่ใช้สำหรับเพาะกล้าไม้ เกษตรกรต้องควักกระเป๋าซื้อทั้งหมด นับตั้งแต่ ดิน (หน้าดิน) แกลบ ถุง เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง นอกจากนี้ ยังมีค่าแรงคนงานในขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ ค่ากรอก ร้อยละ 12 บาท ค่าแรงยกขึ้นรถ ร้อยละ 10 สตางค์ เป็นต้น

กำนันตำบลดินทอง บอกกับเราว่า ในอดีตชาวบ้านจะเข้าป่าไปเก็บเมล็ดพันธุ์นำมาเพาะกล้าเอง ไม่ต้องซื้อขาย แต่เมื่อเกษตรกรเพาะกล้าไม้เพิ่มมากขึ้น ก็มีเกษตรกรบางรายหัวใส เก็บมาจำนวนมากแล้วนำมาขายต่อ รายที่ไม่สะดวกเข้าไปเก็บเมล็ดพันธุ์เองก็พร้อมซื้อเมล็ดพันธุ์ต่ออีกทอด ความหลากหลายของไม้ป่าที่แหล่งเพาะกล้าไม้วังทอง เป็นผลพวงให้เกษตรกรที่นี่ยังคงเข้าป่าเก็บเมล็ดพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดใกล้เคียง และเดินทางออกไปไกลถึงป่าในจังหวัดแถบภาคอีสาน เพื่อนำมาขายให้กับเกษตรกรเพาะกล้าไม้ในพื้นที่ตำบลดินทอง

คุณมาลัย สิงห์อุดร ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ตำบลดินทอง ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ตำบลดินทองมีเกษตรกรเพาะกล้าไม้ขายทั้งตำบล แต่ในพื้นที่หมู่ 7-9 เป็นกลุ่มเกษตรกรที่เพาะกล้าไม้ขายเป็นอาชีพมากที่สุด สำหรับความยากง่ายของการเพาะกล้าไม้ป่านั้น ขอแนะนำว่า กล้าไม้ป่าที่โตแล้วไม่ต้องกังวล แต่ระหว่างที่เพาะ นำลงถุงกล้า เป็นกล้าไม้เล็กๆ ต้องได้รับการดูแลอย่างดี ไม่อย่างนั้นก็ตายเสียเปล่า เริ่มจากการหว่านกล้าลงแปลง ใช้ยาราดซ้ำป้องกันเชื้อรา เมื่อกล้าที่หว่านแปลงเริ่มงอกขึ้นมา แล้วค่อยเลือกเด็ดออกมาเสียบกับถุงกล้าที่เตรียมดินไว้แล้ว

“ระยะเวลาที่เริ่มเพาะตั้งแต่หมดฤดูฝน ลงเพาะในแปลง จากนั้นเตรียมดิน กรอกถุงรอ ขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่เริ่มเพาะจนเสียบในถุง รดน้ำ ให้กล้าพร้อมจำหน่าย ก็เข้าฤดูฝนพอดี กล้าไม้จะเริ่มขายดีตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม เพราะเป็นช่วงฤดูฝนที่คนนิยมปลูกต้นไม้ โดยไม่ต้องรดน้ำ อาศัยน้ำฝนช่วงดูแลได้”

ตัวอย่างไม้ป่ายอดนิยมอย่างต้นสัก ราคาขายอยู่ที่ปี๊บละ 150 บาท เมื่อนำมาเพาะแล้วอัตราการงอกร้อยละ 70-80 ขึ้นกับความซื่อสัตย์ของพ่อค้าขายเมล็ดพันธุ์ ทำให้เกษตรกรต้องเลือกซื้อพ่อค้าประจำ เพื่อมั่นใจว่าได้เมล็ดพันธุ์แก่มากพอสำหรับการเพาะ

ในแต่ละปี เกษตรกรแต่ละรายมีกำลังการผลิตกล้าไม้ที่ไม่เท่ากัน คุณสุเทพ บอกว่า กำลังการผลิตมากหรือน้อย ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่สำหรับวางกล้าไม้ด้วย เพราะถ้าไม่มีพื้นที่ การเช่าพื้นที่วางกล้าไม้ก็ไม่คุ้มค่า เพราะต้นทุนการผลิตจะสูงมากขึ้นไปอีก แต่โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3 แสนต้น ในรายที่มีพื้นที่และขยันมาก สามารถผลิตกล้าไม้ได้ถึงปีละประมาณ 5 แสนต้น

ทุกปี ความต้องการกล้าไม้จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อย ขึ้นกับกระแสการปั่นของพ่อค้าที่รับกล้าไป หากต้องการให้ต้นไม้ชนิดใดได้รับความนิยมในช่วงนั้นๆ ก็จะเชียร์ต้นไม้นั้นให้กับลูกค้า แต่ไม้ที่คงความนิยมไม่เสื่อมคลาย คือ สักและพะยุง

คุณสมคิด วรรณทวี เจ้าของร้านขายกล้าไม้รายแรกของตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเพาะกล้าไม้ป่าขายมาตั้งแต่ปี 2535 บอกว่า เกษตรกรในพื้นที่ตำบลดินทองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ การเพาะกล้าไม้เริ่มจากหน่วยงานราชการมีนโยบายแจกกล้าไม้ให้กับประชาชนฟรี เพื่อนำไปปลูก หน่วยงานราชการจึงจ้างวานให้ชาวบ้านใกล้เคียง เพาะกล้าไม้และรับซื้อ จึงเป็นที่มาของแหล่งเพาะกล้าไม้ของตำบลดินทอง

“เมื่อก่อนป้าเป็นลูกจ้างอยู่ในหน่วยงานทางป่าไม้ ก็เห็นเขาจ้างชาวบ้านเพาะกัน เราเห็นว่ามีรายได้ เลยเพาะกล้าขายบ้าง หลังลาออกจากการเป็นลูกจ้างในหน่วยงาน ก็ออกมาเพาะกล้าไม้ขายเป็นอาชีพจนถึงปัจจุบัน”

แม้ว่ากล้าไม้ในพื้นที่ตำบลดินทอง จะเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศว่าเป็นแหล่งไม้ป่าที่มีครบทุกชนิด แต่ปัญหาการเพิ่มจำนวนเกษตรกรผู้เพาะกล้าไม้ยังคงไม่ยุติ ซึ่งจะส่งผลให้ราคากล้าไม้ที่ตกต่ำอยู่แล้ว ตกต่ำลงไปได้อีกในอนาคต คุณสุเทพ ในฐานะกำนันตำบลดินทอง จึงมีแนวคิดสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม สำหรับการต่อรองซื้อวัตถุดิบ เพื่อให้ต้นทุนการผลิตถูกลง มีความน่าเชื่อถือจากกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ โดยรวมกลุ่มเกษตรกรจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจเพาะชำกล้าไม้ตำบลดินทอง

“เกษตรกรผลิตกล้าไม้มีมากกว่า 200 ราย แต่ที่รวมกลุ่มด้วยกันมีประมาณ 80 ราย ส่วนที่ไม่รวมกลุ่มอาจเป็นเพราะมีลูกค้าประจำอยู่แล้ว อย่างไรก็ขายกล้าไม้ได้ แต่เกษตรกรรายใดที่ยืนอยู่บนความเสี่ยง เมื่อรวมกลุ่มเราจะช่วยกันต่อรองราคาวัตถุดิบ เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง เช่น แกลบดำ ขนาด 1 รถสิบล้อ ราคา 4,500 บาท สามารถต่อรองให้เหลือเพียง 3,000-3,500 บาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้ลูกค้ามั่นใจ เพราะการสั่งกล้าไม้ในจำนวนหลักแสนขึ้นไป จำเป็นต้องมีการวางมัดจำ เพื่อไม่ให้เกิดการทิ้งงานและลูกค้าไม่รับกล้าไม้ตามที่ตกลง เพื่อเป็นกติการะหว่างกัน แสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์และแหล่งที่มา”

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุเทพ แสนประสิทธิ์ กำนันตำบลดินทอง โทรศัพท์ 081-2833310 และ 089-7033380 พื้นที่ลาดเชิงเขา และมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นตัวชี้ว่า ไม่ใช่พืชทุกชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในถิ่นนี้ ถ้าจะให้ดีต้องปลูกพืชที่มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม ผลผลิตที่ได้จากการปลูกพืชจึงจะงอกเงยเห็นผลที่ชัดเจน

ไม้ผลอย่าง อะโวกาโด ยังคงเป็นพืชที่หลายคนมองว่า ปลูกง่าย หากพื้นที่มีความเหมาะสมมากพอ ทั้งยังเก็บผลผลิตได้ยาวนาน ไม่ต้องรื้อแปลงปลูกใหม่ เป็นไม้ผลที่ยืนต้นเช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่น คุณวิทุน ขยันใหญ่ยิ่ง ที่อดีตเป็นเด็กในพื้นถิ่นตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่ปัจจุบัน มีความยิ่งใหญ่ตามนามสกุล เพราะเขาเป็นหนุ่มที่มีความขยันใหญ่ยิ่งจริงๆ ทำให้ทุกวันนี้ คุณวิทุน เปรียบได้กับผู้นำด้านเกษตรและสุขภาพของชุมชนในถิ่นนั้น

นับตั้งแต่วัยเยาว์ คุณวิทุนมีความโดดเด่นในหลายเรื่อง สมัครยูฟ่าเบท ทำให้ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนเยาวชนเข้ารับการอบรมเรื่องการรักษาสุขอนามัยเบื้องต้น ตามโครงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีรับสั่งให้คัดเลือกเยาวชนเข้ารับการอบรม เพื่อนำกลับมาดูแลสุขภาพและถ่ายทอดให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ครั้งนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของคุณวิทุน ในการเป็นผู้นำและการก้าวออกสู่โลกภายนอก แสวงหาประสบการณ์ นำกลับมาใช้ในท้องถิ่นของตนเอง

นอกจากโครงการด้านสุขภาพที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับการอบรมแล้ว คุณวิทุนได้เริ่มสมัครเข้ารับการอบรมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอีกหลายโครงการ ด้วยความสนใจเป็นส่วนตัว ทำให้มีความรู้และประสบการณ์ติดตัวนำกลับมาใช้มากมาย

พื้นที่อำเภอแม่ลาน้อยในอดีต เป็นพื้นที่ที่ชาวไทยภูเขาหลายกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ และอาชีพที่มีคือ การทำไร่เลื่อนลอย ครอบครัวของคุณวิทุนเองก็เช่นกัน การทำไร่เลื่อนลอยก็เป็นอาชีพที่พอจะสร้างรายได้ได้ แต่เมื่อความเจริญเข้าถึงในพื้นที่ คุณวิทุนออกไปหาประสบการณ์และนำกลับมาใช้ ทำให้มีการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมในชุมชนได้ เช่น ครอบครัวของคุณวิทุนเอง ก็เปลี่ยนจากการทำไร่เลื่อนลอย มาตั้งหลักแหล่ง และหันมาปลูกพืชที่โครงการหลวงเข้ามาส่งเสริม เช่น กะหล่ำปลี นาขั้นบันได ข้าว กาแฟ รวมถึงไม้ผลบางชนิด ที่เหมาะกับพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมาก

“หลังจากโครงการหลวงเข้ามาส่งเสริมเรื่องอาชีพในทางเกษตรกรรม ผมก็เปลี่ยนมาปลูกกาแฟ ปลูกนานถึง 4 ปี เพราะได้รับการส่งเสริมและให้คำปรึกษาที่ดีจากโครงการหลวง แต่เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว ได้ผลผลิตดีมาก แต่ประสบปัญหาไม่มีแรงงานเก็บเกี่ยว เมล็ดกาแฟที่ได้เมื่อเก็บไม่ทันก็แห้งคาต้น ประสบการณ์สอนผมว่า ผมปลูกเยอะเกินไป แรงงานไม่พอ ดังนั้น การปลูกกาแฟจึงไม่ใช่คำตอบที่เหมาะสมในอาชีพ”

คุณวิทุนยกเลิกแปลงกาแฟทั้งหมด แล้วเปลี่ยนเป็นปลูกอะโวกาโดแทน จากการศึกษาก่อนลงปลูกอะโวกาโด พบว่า ดินมีความเสื่อมโทรมสูงมาก แต่สภาพพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกอะโวกาโด จึงตัดสินใจว่า การปรับปรุงดินไปพร้อมๆ กับลงปลูกอะโวกาโดก็ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถทำไปพร้อมกันได้ เมื่อศึกษาลึกไปกว่านั้น ก็พบว่า พันธุ์อะโวกาโดที่เหมาะสมคือ พันธุ์แฮส และพันธุ์บัคคาเนีย

“อะโวกาโดเป็นพืชที่ผลผลิตราคาดี มีทรงพุ่มใหญ่ แต่ภูมิต้านทานต่ำ โดยเฉพาะระบบรากมีความอ่อนแอมาก เมื่อเทียบกับไม้ผลชนิดอื่นๆ”