คุณโจเซฟ แวน อาชเช่ย์ กรรมการบริหาร สมาคมพืชสวนนานาชาติ

กล่าวว่า “สมาคมพืชสวนนานาชาติ หรือเรียนสั้นๆ ว่า ISHS เป็นสมาคมที่มีสมาชิกในเครือข่ายมากกว่า 7,000 รายจากทั่วโลก สมาชิกของเรามาจากหลากหลายสถาบันและนานาภูมิภาค มากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยมีพันธกิจหลักในการเป็นศูนย์รวมข้อมูลที่ทันสมัยสำหรับความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวกับกับพืชสวนศาสตร์ วัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการวิจัยในทุกสาขา และส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และนักเทคนิคมารวมตัวกันเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดการประสานงานด้านการวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการในระดับสากลต่อไป”

คุณโจเซฟ กล่าวต่อไปว่า “ทางสมาคมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ผสานความร่วมมือกับผู้จัดงานฮฮร์ติ เอเชีย นับเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันระหว่างสมาคมพืชสวนระดับสากลร่วมกับผู้จัดงานที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเกษตรของภูมิภาค การทำงานร่วมกันในครั้งนี้จะสร้างโอกาสให้องค์ความรู้ใหม่ๆ งานวิจัยที่สำคัญได้เผยแพร่ออกไปสู่ตลาด ก่อให้เกิดความตื่นตัวทางด้านการใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ปัญหาต่างๆ ในภาคธุรกิจเกษตรเอเชียได้อย่างสมบูรณ์ ในฟอรั่มที่จะเกิดขึ้นนี้ทางสมาคมมุ่งเน้นผลประโยชน์สูงสุดไปที่ นักวิทยาศาสตร์เกษตรพืชสวน นักพฤษศาสตร์ กระทรวง และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบัณฑิตวิทยาลัยผู้เพิ่งสำเร็จการศึกษาในภาควิชาที่เกี่ยวข้อง ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าฟอรั่มที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้จะประสบความสำเร็จอย่างดีตามที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งหวังไว้ครับ”

คุณมานูเอล มาดานิ ผู้จัดการโครงการ ฮอร์ติ เอเชีย กล่าวว่า “อุตสาหกรรมภาคเกษตรกำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นข่าวดีที่ภาคอุตสาหกรรมนี้จะถูกขับเคลื่อนสู่อนาคตด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมสมัยใหม่ ตลอดจนการกระตุ้นธุรกิจเกิดใหม่เช่นสตาร์ทอัพ การแบ่งปันวิสัยทัศน์ร่วมกันทำให้เป้าหมายที่วางไว้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียกำลังตื่นตัวในเรื่องของความปลอดภัยในอาหาร และมีการแข่งขันที่พุ่งสูงขึ้นในธุรกิจการส่งออก และมีความมุ่งมั่นในการสร้างห่วงโซ่อาหารอย่างยั่งยืน

ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ส่งเสริมกัน ไม่ว่าจะเป็น การจัดหาสรรทรัพยากรน้ำ, การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนกระบวนการแช่เย็น เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าคุณภาพของผลิตผลจะสดใหม่และมีคุณภาพสูงสุด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการเพาะพันธุ์, การคงความสดใหม่ของผลผลิต, การพัฒนาปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ให้เป็นที่ต้องการในท้องตลาด, การป้องกันศัตรูพืชด้วยสารชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างห่วงโซ่อาหารที่ยั่งยืนในอนาคตอันใกล้นี้ทั้งสิ้น”

คุณมานูเอล กล่าวอีกว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับสมาคมพืชสวนนานาชาติ ภายในงานฮอร์ติ เอเชีย 2018 ที่จะถึงนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าเราพร้อมแล้วที่จะเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีการเพาะปลูกพืชสวนในระดับภูมิภาคพร้อมนำเสนอหลากหลายวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการนำเทคโนโลยีเรือนกระจกเข้ามาใช้ในเขตชุมชนเมือง ตลอดจนการทำเกษตรอินทรีย์ต่างๆ งาน ฮอร์ติ เอเชีย 2018 ครั้งที่ 6 หรืองานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพืชพรรณ ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และกล้วยไม้ ระดับนานาชาติ จะจัดระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2561 ณ ไบเทค กรุงเทพ ประเทศไทย โดยจัดพร้อมกันกับงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ซึ่งเป็นงานแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลและเครื่องมือการเกษตรระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 ภายในงานพบผู้ประกอบการจากบริษัทชั้นนำมากกว่า 300 บริษัท คาดการณ์ว่าจะดึงดูดผู้เข้าชมงานมากกว่า 8,500 ราย และผู้ซื้อรายสำคัญกว่า 500 รายทั่วเอเชีย”

คุณมานูเอล มาดานิ เสริมว่า “องค์ความรู้ต่างๆ ที่ทางสมาคมพืชสวนนานาชาติจะนำมาแบ่งปันให้ผู้เข้าชมงานจะเป็นความรู้ระดับอุตสาหกรรมภาพรวมและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เหมาะกับวงการเกษตรทั้งในประเทศและนานาชาติ การที่สมาคมได้เข้ามาเป็นเจ้าภาพจัดงานฟอรั่มวิชาการในครั้งนี้ นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่น่าจับตามอง เพราะทั้งนักวิทยาศาสาตร์และผู้เชี่ยวชาญในวงการจะมารวมตัวกันที่งานฮฮร์ติ เอเชียมากถึง 150-200 คน ซึ่งจะนำมาซึ่งแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเกษตรพืชสวนในระดับสากลที่ทรงประสิทธิภาพ คับคั่งไปด้วยคอนเนคชั่นของคนในวงการที่หาตัวจับได้ยาก ผมมั่นใจว่าการร่วมมือกันในครั้งนี้จะสร้างโอกาสและความท้าทายครั้งใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเกษตรในอีกหลายปีข้างหน้าทีเดียวครับ”

จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งทั่วโลกรายใหม่ที่ตรวจพบในปี 2012 เกือบ 6 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 800,000 คน มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน และโรคอ้วน

งานศึกษาวิจัยนี้ถูตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Diabetes & Endocrinology ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำทางการแพทย์เผยว่า ในบรรดาโรคมะเร็ง 12 ชนิดที่ตรวจพบนั้นสาเหตุ 1 ใน 3 มาจากโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ซึ่งจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า

และยังพบว่าโรคอ้วนเป็นสาเหตุทำให้เป็นมะเร็งมากกว่าโรคเบาหวานถึง 2 เท่าอีกด้วย ถึงแม้ว่าทั้งสองโรคจะมีความเกี่ยวเนื่องกันก็ตาม
นอกจากนี้ยังพบว่า โรคอ้วนและโรคเบาหวานทำให้ผู้ชายเป็นมะเร็งตับมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และทำให้ผู้หญิงราว 1 ใน 3 เป็นมะเร็งมดลูก และมะเร็งเต้านมด้วย

ทั้งนี้นักวิจัยยังเตือนว่า แนวโน้มของการเป็นมะเร็งจากโรคดังกล่าวจะมีเพิ่มมากขึ้นในผู้หญิง 30 เปอร์เซ็นต์ และในผู้ชาย 20 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาไม่เกิน 20 ปี

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าในอดีตการสูบบุหรี่จะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ซ แต่ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ควรจะจะตระหนักว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และโรคอ้วนนั้นมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็งด้วย

นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งดำเนินการแก้ปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อปลูกยางพารา และลดปริมาณน้ำยางพาราจากพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก ทั้งในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อนำมาฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าที่มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมโดยเฉพาะกลุ่มนายทุน ดังนั้น เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนในการควบคุมปริมาณน้ำยางพาราจำนวนประมาณ 300,000 ตัน/ปี ควบคู่การแก้ไขปัญหากลุ่มราษฎรผู้ยากไร้ จึงได้ประสานงานกับการยางแห่งประเทศไทย สำรวจการถือครอบครอง เพื่อจะนำข้อมูลไปจัดสรรที่ดินทำกิน ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)

“มาตรการแก้ไขปัญหาสวนยางพาราในพื้นที่ป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดออกมา 6 แนวทาง ได้แก่ 1.) เร่งรัดดำเนินคดีสวนยางพารานายทุนที่อยู่ในพื้นที่ป่า 1.32 ล้านไร่ ซึ่งปัจจุบันดำเนินคดีไปแล้ว 160,000 ไร่ 2.) ควบคุมพื้นที่ที่ถูกดำเนินคดีทั้งหมดไม่ให้มีการกรีดน้ำยาง 3.) ลดการกรีดยางในพื้นที่รับผิดชอบของ อ.อ.ป. จำนวน 86,000 ไร่ โดยในปี 2560 – 2561 จะดำเนินการลดพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 20,000 ไร่ คาดว่า จะช่วยลดปริมาณน้ำยางได้ประมาณ 1,500 ตัน/ปี และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องปีละ 5% จนกว่าจะสามารถลดพื้นที่ปลูกยางพาราได้ทั้งหมด 4.) เร่งรัดดำเนินการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) สำหรับราษฎรผู้ยากไร้ที่ทำสวนยางพาราในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3 , 4 , 5 มีพื้นที่ประมาณ 3.6 ล้านไร่ 5.) เร่งรัดดำเนินการ แก้ไขปัญหาราษฎรผู้ยากไร้ที่ทำสวนยางพาราในพื้นที่ป่าลุ่มน้ำชั้น 1 , 2 ในรูปแบบสิทธิทำกินแบบมีเงื่อนไข โดยการปลูกไม้ท้องถิ่นผสมผสานกับไม้ยางพารา และ 6.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย จะเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาราษฎรผู้ยากไร้ที่ทำสวนยางพารา ตามแนวทางในข้อ 4 และ ข้อ 5” รองปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ กล่าวเพิ่มเติม

ด้าน ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. เผยว่า การดำเนินการร่วมกันระหว่าง กยท. และกระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะต้องมีการทำโซนนิ่งพื้นที่ปลูกยางที่เหมาะสม เพราะสถานการณ์ราคายาง ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการส่งออกยางพาราในรูปวัตถุดิบ ซึ่งระดับราคาถูกกำหนดจากความต้องการซื้อ-ขาย และความต้องการใช้ยางพาราของโลก ซึ่งเราไม่สามารถไปกำหนดความต้องการใช้ได้ เพราะเป็นตัวแปรที่ขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการขยายตัวของประเทศผู้ใช้ แต่สิ่งที่ประเทศไทยสามารถดำเนินการได้ คือ การสร้างสมดุลของปริมาณผลผลิตให้มีความเหมาะสม จากการพยากรณ์การใช้ยางพาราของโลก แต่ละปีจะเติบโตประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์ แต่การเพิ่มของปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า เนื่องจากในช่วงปี 2553 ยางพารามีราคาสูงมาก ชาวสวนยางทั้งไทยและต่างประเทศที่สามารถปลูกยางได้ ก็หันมาปลูกยางเป็นจำนวนมาก และช่วงเวลานี้มีที่ผลผลิตออกมาพร้อมกันมากจึงมีผลต่อราคา

“นโยบายที่รัฐบาลได้มอบไว้ คือ ทำอย่างไรให้สามารถสร้างสมดุลของผลผลิตและความต้องการใช้ให้ได้ และการดูแลเกษตรกรให้ทั่วถึง ส่วนในเรื่องพื้นที่ปลูกยางที่บุกรุกเข้าไปในพื้นที่ของราชการ เช่น ป่าไม้หรืออุทยาน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1 ล้านกว่าไร่ จึงเป็นเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องเข้าไปดำเนินการควบคุม ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อปริมาณของผลผลิตในแต่ละช่วงปีได้” ผู้ว่าการ กยท. กล่าวทิ้งท้าย

ททท.ตรัง เปิดแผนการตลาด 4 โครงการเด่น เด้งรับ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” เผยนักท่องเที่ยว เกือบ 1.5 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 8.2 พันล้าน ไฮซีซั่นยอดจองห้องพักเกือบเต็ม 100%

นางสาวกรุณา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตรัง เปิดเผยว่า ในปี 2559 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง จำนวน 1,465,811 คน แบ่งเป็น คนไทย 1,280,599 คน ชาวต่างชาติ 185,212 คน สร้างรายได้ 8,214 ล้านบาท ทั้งนี้ กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามามากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สวีเดน เยอรมนี มาเลเซีย ฝรั่งเศส และเดนมาร์ก

ขณะที่สถิติในช่วง 9 เดือนในปี 2560 (มกราคม-กันยายน) จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.81 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลมีมติให้ปี 2561 เป็น “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560-1 มกราคม 2562
สำหรับแผนการตลาดท่องเที่ยวของ ททท. สำนักงานตรัง ปี 2561 ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมการตลาด 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่ม silver age (ผู้มีอายุ 55-70 ปี) กลุ่มครอบครัว และกลุ่มวัยทำงาน กับการดำเนินงาน 4 โครงการหลัก คือ 1.โครงการเก๋ายกก๊วน ชวนเที่ยวตรัง โดยร่วมกับผู้ประกอบการจัดกิจกรรมเสนอขายแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลยอดนิยมและใหม่ และแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 2.โครงการพาลูกตะลุยเที่ยว เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในเมืองตรังยังกะลุย โดยร่วมกับผู้ประกอบการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ ๆ 3.โครงการเมืองตรังยังกะลุย โดยร่วมกับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่นำเสนอขายความหลากหลายของสินค้าทางการท่องเที่ยว ของจังหวัดตรัง และ 4.โครงการเที่ยวตรังไม่เสียเที่ยว กระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดา โดยเน้นแพ็กเกจโปรโมชั่นพิเศษจากโรงแรม ที่พัก บริษัทนำเที่ยว ร้านอาหาร และสายการบิน

“แผนงานการส่งเสริมด้านการตลาดที่วางไว้ มุ่งเน้นส่งเสริมให้จังหวัดตรังเป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้ามาเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาล แผนการตลาดท่องเที่ยวภาพรวมของ ททท. ปี 2561 และสอดรับกับทิศทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง และเชื่อมั่นว่าในปีหน้าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่าปีที่ผ่านมา” นางสาวกรุณากล่าว

นายณัฐนนท์ โพธิเมธานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปิดฤดูการท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง ยอดจองโรงแรมหลายแห่งเกือบเต็ม 100% เชื่อมั่นว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านคน และมีรายได้กว่า 8,000 ล้านบาท

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 ที่ศาลาโครงการ SML 2555 ศูนย์รวบรวมผลผลิตการเกษตร บ้านคลองหงาว หมู่ 9 ต.หาดยาย อ.หลังสวน จ.ชุมพร ตัวแทนสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพบ้านห้วยทรายขาว ประมาณ 40 คน นำโดย นายธนชัย น่วมยิ้ม ประธานกลุ่ม และ นายอภินันท์ บุญสนอง กรรมการกลุ่ม พร้อมตัวแทนวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพบ้านปากทรง ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร อีกประมาณ 10 คน นำโดย นายจันเพชร จิตติราช ประธานกลุ่มฯ ร่วมกันหารือเพื่อหาแนวทางเคลื่อนไหวให้รัฐบาลเร่งหามาตรการป้องกันทุเรียนอ่อนออกสู่ท้องตลาด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทุเรียนชุมพรมีราคาตกต่ำลงทุกวัน

นายอภินันท์ กล่าวว่า ขณะนี้ทุเรียนชุมพรโดยเฉพาะพันธุ์หมอนทองกำลังมีราคาตกต่ำลงอย่างมาก เนื่องจากมีการตัดทุเรียนที่ไม่มีคุณภาพออกจำหน่าย โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาตรวจสอบในเรื่องการตัด การซื้อ และการขายทุเรียนอย่างจริงจัง จึงอยากให้หน่วยงานระดับจังหวัดเข้ามาดูแลเรื่องคุณภาพของทุเรียนเป็นหลัก ทั้งที่ในความเป็นจริงเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่วนใหญ่ตัดทุเรียนที่มีคุณภาพ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังมีการตัดทุเรียนอ่อนออกจำหน่าย จนทำให้มีการพูดว่าทุเรียนชุมพรเป็นทุเรียนที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของทุเรียนให้เป็นในทิศทางเดียวกันด้วย

นายอภินันท์ กล่าวต่อไปว่า การเข้ามาเหมาสวนตัดทุเรียนของพ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นตัวแทนของล้งที่ส่วนใหญ่เป็นการร่วมทุนระหว่างชาวจีนกับคนไทย เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ได้ทุเรียนด้อยคุณภาพ เพราะมักจะมีการตัดทุเรียนทั้งสวนพร้อมๆ กันทีเดียวและใช้เวลาไม่นาน ทั้งที่ทุเรียนในสวนเดียวกันไม่ได้ออกดอกพร้อมๆ กัน หากตัดวันที่ 1 ก็ควรต้องเว้นไปประมาณ 7-10 วันถึงจะตัดทุเรียนที่ได้ขนาดได้อีก แต่ที่ผ่านมาผู้ที่เข้ามาตัดทุเรียนไม่มีความรู้ในเรื่องทุเรียน จึงมีทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดอยู่เสมอ ส่งผลต่อราคาทุเรียนที่เคยขึ้นสูงถึงกิโลกรัมละ 140 บาท แต่ขณะนี้เหลือแค่กิโลกรัมละ 90 บาทเท่านั้น

“ส่วนการทำทุเรียนนอกฤดูที่เรียกว่า “ทุเรียนทวาย” ที่ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าทุเรียนตามฤดู เกษตรกรหลายคนก็ไม่กล้าทำ เพราะจากเดิมที่เคยตั้งเป้าว่าทุเรียนทวายจะมีราคาดีกว่าทุเรียนตามฤดูคือกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 100 บาท แต่ขณะนี้ราคาเหลือแค่กิโลกรัมละ 85-90 บาท หากทำไปก็ต้องขาดทุนอย่างแน่นอน” นายอภินันท์ กล่าว

นายอภินันท์ กล่าวว่า สรุปสาเหตุที่ทำให้ทุเรียนชุมพรมีราคาตกต่ำคือ 1.การตัดทุเรียนอ่อนของชาวสวนเองและผู้ที่รับจ้างตัด 2.การเหมาตัดทุเรียนยกแปลงในรอบเดียวของล้งโดยไม่มีผู้มีความรู้ 3.การนำทุเรียนจากจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาจำหน่ายโดยไม่มีการตรวจสอบ 4.ยังไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบการซื้อขายทุเรียนอย่างจริงจัง 5.ยังไม่มีการกำหนดราคากลางที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร 6.ยังไม่มีการกำหนดน้ำหนักทุเรียนเป็นมาตรฐานเดียวกัน และ 7.ล้งหรือบริษัทส่งออกยังไม่มีการทำบ่อบำบัดน้ำเสียของสารเคมี จึงขอเรียกร้องให้จังหวัดเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้โดยด่วนและต้องเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนด้วย เพราะหากราคาทุเรียนยังคงตกต่ำเรื่อยๆ เช่นนี้ ชาวสวนคงอยู่ไม่ได้และอาจจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องต่อไป

“การแก้ปัญหาทุเรียนอ่อนต้องมีการตรวจสอบตั้งแต่ตอนก่อนตัด ไม่ใช่สุ่มตรวจทุเรียนที่ตัดออกไปจำหน่ายแล้วในช่วงกลางฤดูเหมือนที่ผ่านมา และยังไม่มีการตรวจสอบว่าล้งหรือบริษัทใดบ้างที่มีการส่งออกทุเรียน จึงทำให้มีทุเรียนอ่อนออกสู่ท้องตลาดจนถูกตีกลับและทำให้ทุเรียนมีราคาตกต่ำลง เกษตรกรทุกคนไม่ใช่คนนำทุเรียนไปส่งถึงเมืองจีนจึงไม่ใช่คนกำหนดราคา หากบริษัทบอกว่าขณะนั้นรับซื้อได้ราคาเท่าใด เกษตรกรก็ต้องขายในราคานั้น” นายอภินันท์ กล่าว

นางสาวแก้วตา ชุ่มน้อย เจ้าของล้งรับซื้อทุเรียน “โชครุ่งเรือง” ในตลาดมรกต ต.วังตะกอ อ.หลังสวน ซึ่งได้เข้าร่วมหารือกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนทั้งสองกลุ่ม กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ก็คือ ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง ส่วนชาวสวนก็ต้องคิดว่าปัญหาเรื่องนี้คือปัญหาของทุกคน ขณะที่ล้งต้องการทุเรียนที่ดีมีคุณภาพ ไม่มีล้งใดต้องการตัดทุเรียนอ่อนที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ทั้งชาวสวนและล้งรับซื้อทุเรียนหันหน้ามาพูดคุยกัน โดยมีหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยแนะนำ จะแก้ไขที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ และการแก้ไขต้องเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนที่ผลผลิตจะออกสู่ท้องตลาด หากผลผลิตไม่มีคุณภาพต้องฉีดสเปรย์แล้วโยนทิ้งออกนอกระบบทันที สรุปก็คือต้องแก้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ไม่ใช่แก้ที่กลางทางเหมือนที่กำลังทำอยู่

รัฐมนตรีเกษตรฯ สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และข้อเท็จจริงการผลิตปาล์มให้เป็นเอกภาพ แนะเกษตรกร ควรตัดปาล์มสุก เพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมัน และช่วยรักษาเสถียรภาพราคา

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยเกี่ยวกับความกังวลของเกษตรกรต่อปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันที่จะเพิ่มมากขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2560 – มกราคม 2561 ว่าขณะนี้ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น เกษตรกร สมาคมโรงสกัดน้ำมันปาล์ม และGISTDA ลงพื้นที่สำรวจผลผลิตในแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2560 เพื่อติดตามสถานการณ์และข้อเท็จจริงของการผลิตที่ชัดเจนและได้ข้อมูลที่เป็นเอกภาพ เพื่อส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ได้มีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วย มาตรการ ระยะสั้น มอบหมายให้กระทรวงพลังงานออกประกาศปรับสัดส่วนการใช้ไบโอดีเซล จาก B5 เป็น B7 ซึ่งจะมีการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 12,000 ตัน โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2560 และกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในขอความร่วมมือกรมธุรกิจพลังงานให้ประสานผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ปรับสำรองไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น และให้สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มและสมาคมไบโอดีเซล รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบไม่ต่ำกว่า กิโลกรัมละ 22 บาท รวมทั้งห้างค้าส่ง-ปลีก สมัยใหม่ (Modern Trade) งดจัดรายการส่งเสริมการขายน้ำมันพืชปาล์ม

ระยะยาว ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบปี 2560–2579 ซึ่ง ครม. มีมติรับแล้วเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559 โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีเป้าหมายที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) การเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันต่อไร่และการลดต้นทุนการผลิต 2) การส่งเสริมการทำปาล์มคุณภาพเพื่อเพิ่มอัตราการสกัดน้ำมันจากร้อยละ 17 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2579 และ 3) การเพิ่มช่องทางการใช้น้ำมันปาล์มให้เพิ่มมากขึ้น เช่น การเพิ่มสัดส่วนการใช้ไบโอดีเซลเป็น B10 การพัฒนาอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เป็นต้น

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ elhogarprovegan.org ได้มีนโยบายยกกระดาษ A4 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้เกษตรกรทั่วไปมีต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ผลผลิตได้มาตรฐานมีตลาดรองรับสินค้าเกษตรที่แน่นอน โดยการส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องการผลิตปาล์มน้ำมันคุณภาพ ตลอดจนเชื่อมโยงการผลิต การตลาด ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปาล์มน้ำมันแปลงใหญ่ ผู้ตัดปาล์ม ลานเท กับโรงสกัดน้ำมันปาล์ม ที่จะร่วมกันยกระดับคุณภาพเปอร์เซ็นต์น้ำมันเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐาน เพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมัน โดยประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการตัดปาล์มสุก เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมัน ซึ่งเปอร์เซ็นต์น้ำมันทุกๆ 1 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรจะได้รับราคาเพิ่มขึ้น 0.30 บาท/กิโลกรัม โดยปัจจุบันเกษตรกรที่ตัดปาล์มคุณภาพ (ปาล์มสุก) ได้รับราคาอยู่ระหว่าง 4.20 – 4.50 บาท/กิโลกรัม ซึ่งหากเกษตรกรชาวสวนปาล์มให้ความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะส่งผลโดยตรงต่อราคาผลปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ในราคาที่สูงขึ้น และนำไปสู่การผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้มาตรฐานในระดับต่างๆ

เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 29 พ.ย. น.ส.พะเยาว์ เมืองงาม ผอ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จ.สงขลาเปิดเผยว่าศูนย์ฯได้ออกประกาศเตือนภัยฉบับที่ 26 ลงวันที่ 29 พ.ย.เรื่องคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยและฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซียกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย เข้าปกคลุมภาคใต้ตอนล่างและจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามัน

“ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย. บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีฝนชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และ จ.นราธิวาส ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดดังกล่าว ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ปริมาณน้ำฝนสะสม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง”

น.ส.พะเยาว์กล่าวว่าคลื่นลมในอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเล ระมัดระวังอันตรายที่เกิดจากลมแรง และคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย.

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่จังหวัดนราธิวาส ระดับน้ำในแม่น้ำโก-ลก ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เพิ่มสูงขึ้นจากตลิ่งกว่า 2 เมตร เจ้าหน้าที่ต้องเร่งนำประชาชนในชุมชนกือดาบารู ท่ากอไผ่ หัวสะพาน โปฮงยามู และบือเร็ง ออกไปพักอาศัยที่ศูนย์อพยพผู้ประสบอุทกภัย โรงเรียนเทศบาล 4 และโรงเรียนเทศบาล 1 ซึ่งล่าสุดมีจำนวนทั้งสิ้น 250 คน

ขณะที่ถนนเจริญเขต บริเวณศาลเจ้าเเม่โต๊ะโมะหน้าโรงแรมมารีน่า โรงแรมธารา และสถานบันเทิงในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก น้ำจากแม่น้ำโก-ลกได้เอ่อล้นเข้าท่วมเต็มพื้นที่ลุ่มต่ำระดับน้ำสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งรถทุกชนิดยังสามารถสัญจรได้ตามปกติ ยกเว้นภายในศาลเจ้าแม่โต้ะโมะที่ระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตร
ด้านจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” และทหารจากหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 30 และเจ้าหน้าที่กองช่างเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกได้ช่วยกันบรรจุทรายใส่กระสอบสำหรับนำไปแจกจ่ายให้กับบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น