งานภาครัฐในเรื่องข้าว อ้อย และสินเชื่อเพื่อเกษตรกร

รวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยผลักดันเชิงนโยบายและการจัดกิจกรรมในพื้นที่จริงให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn ลดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาในที่โล่งของภาคการเกษตร ซึ่งตั้งเป้าพื้นที่ภาคการเกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ ให้ปลอดการเผา 100% ภายในระยะเวลา 3 ปี

ภายในงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา มีการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ แนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งในงานสัมมนาแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่

ช่วงที่ 1 Showcase Best Practice : หัวข้อ ถ้าวันนั้น…ไม่หยุดเผา การสัมภาษณ์เกษตรกรต้นแบบในการปลูกข้าวและอ้อยแบบปลอดการเผา ที่เปลี่ยนจากการทำการเกษตรแบบเดิมมาเป็นแบบรักษ์โลก

ช่วงที่ 2 Government Policy: Lecture of Pollution Problem and Policy ปาฐกถาพิเศษจากผู้แทนภาครัฐด้านนโยบายและโครงการสนับสนุนเกษตรปลอดการเผาเพื่อเกษตรกร โดย กรมการข้าว หัวข้อ ข้าวไทย…ไปต่อไม่รอแล้วนะ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หัวข้อ ชาวไร่อ้อย 4.0 ของ มัน ต้อง เป็น และสยามคูโบต้า หัวข้อ Zero Burn Solution : เทคโนโลยีเกษตรปลอดการเผาเพื่ออนาคต และช่วงที่ 3 Panel Discussion : หัวข้อ Agri Circular Economy คิดก่อน…(เผา)…ทิ้ง เสวนาที่ช่วยสร้างความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม (ดิน อากาศ) และสุขภาพ เพื่อเพิ่มรายได้จากการนำสิ่งเหลือใช้มาสร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยกรมควบคุมมลพิษ กรมพัฒนาที่ดิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสยามคูโบต้า

นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบปลอดการเผา การสร้างรายได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว ใบอ้อย และใบข้าวโพด โดยแบ่งออกเป็น 2 โซน ได้แก่

โซน Zero Burn Solution ด้วยวิธี KUBOTA (Agri) Solutions พืชข้าวและอ้อย ด้วยการนำเอานวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร Machinery Solutions และองค์ความรู้ด้านการเกษตร Knowledge Solutions มาปรับใช้ และโซน Zero Burn Benefits นิทรรศการให้ความรู้และประโยชน์ของการทำเกษตรแบบปลอดการเผา จากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรทั่วประเทศเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการทำเกษตรที่ไม่เผา ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัสดุเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยว

นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าว ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับสยามคูโบต้า เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 เพื่อให้ความรู้ ส่งเสริม และทำกิจกรรมร่วมกันในการสนับสนุนชาวนาทำเกษตรแบบปลอดการเผา โดยกรมการข้าวได้วางมาตรการหลักไว้ 3 เรื่อง ได้แก่

ส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ให้ชาวนา
การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และ
มาตรการทางกฎหมาย โดยในปี 2562 นี้ มีเป้าหมายนำร่องใน 6 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท และปทุมธานี ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศ
นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย กำกับ ดูแล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่องและอุตสาหกรรมชีวภาพ จึงได้นำเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมติรับทราบและเห็นชอบ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 โดยจะดำเนินการใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่

มาตรการทางกฎหมาย
การสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ และ
มาตรการภาคสมัครใจ นอกจากนี้ ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับสยามคูโบต้า องค์กรชาวไร่อ้อย สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เพื่อกำหนดแนวทางจัดการเกษตรแบบปลอดการเผาใบอ้อย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมาอีกด้วย
สำหรับงานสัมมนา Agri Forum 2019 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้เกษตรกรได้เห็นอุปกรณ์ เทคนิคและนวัตกรรมให้นำไปปรับใช้ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน ที่จะนำไปสู่การเกษตรแบบปลอดการเผาอย่างยั่งยืน

ด้าน นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 และ 10 กรกฎาคม 2562 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับสยามคูโบต้า เพื่อกำหนดแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรในการปล่อยสินเชื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ในโครงการเกษตรปลอดการเผา

นอกจากนี้ ธนาคารยังมีผลิตภัณฑ์สนับสนุนโครงการดังกล่าวเพิ่มเติม ได้แก่ สินเชื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Green Credit) สินเชื่อเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรสู่ความยั่งยืน ซึ่งในงานสัมมนา AGRI FORUM 2019 ธนาคารพร้อมที่จะสนับสนุนและดูแลเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรปลูกข้าวโพดที่ยังไม่มีเจ้าภาพในขณะนี้ เพราะถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างการรับรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคการเกษตรที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์แนวโน้มการตลาดของสินค้าเกษตรในปัจจุบันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นควบคู่ไปกับการช่วยลดปัญหามลพิษ

สมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย ออกโรงย้ำการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาของไทยอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลอย่างเข้มแข็งของภาครัฐ ตามมาตรฐานสากลด้วยระบบไบโอซีเคียวริตี้ (Bio Security) ช่วยป้องกันโรค เพิ่มผลผลิต รักษาสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบย้อนกลับได้ ผลิตอาหารปลอดภัยให้ผู้บริโภคทั่วโลก

นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ที่ปรึกษาสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทยและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ เปิดเผยถึง กรณีที่มีการเผยแพร่สารคดีการทำฟาร์มกุ้งในสื่อสังคมออนไลน์ ขององค์กรสากลแห่งหนึ่งเมื่อปี 2555 และมีการแชร์ข้อมูลเก่าโดย Free High Quality Documentaries ที่นำเสนอการทำฟาร์มกุ้งของไทยทำลายป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อม ใช้แรงงานผิดกฎหมายละเมิดมนุษยธรรม มีการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่มีการควบคุมนั้น เป็นการนำเสนอที่ “ไม่ถูกต้อง” ขาดความรับผิดชอบ โดยนำเสนอข้อมูลด้านเดียว ไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดของสังคมและทำลายภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมการส่งออกกุ้งไทย ซึ่งไม่สอดคล้องกับการทำฟาร์มและการผลิตในปัจจุบัน

เกษตรกรไทยทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งภายใต้การกำกับดูแลของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีนโยบายชัดเจนส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประสานความร่วมมือกับเกษตรกรและภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด ผ่านสมาพันธ์ สมาคม ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดต่างๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตและป้องกันโรค ทั้งส่งเสริมเกษตรกร ผู้ส่งออก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่การผลิตให้ตระหนักถึงความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก ในฐานะผู้ผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรโลก นายบรรจง กล่าว

“ประเทศไทยมีการดำเนินธุรกิจฟาร์มกุ้งทั้งของเกษตรกรรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ตามกฎหมายของกรมประมงและมาตรฐานสากล ครอบคลุมเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวทางการผลิตอาหารปลอดภัยให้ผู้บริโภคทั่วโลก ตลอดจนภาคแรงงานได้มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้แรงงานได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล” นายบรรจง กล่าวย้ำ

ซึมซับกลิ่นอายวัฒนธรรมโบราณ เสน่ห์เมืองรองที่ห้ามพลาด ณ ดินแดนเจ็ดลุ่มน้ำ จังหวัดอำนาจเจริญ กับ “จ๊อบ – นิธิ สมุทรโคจร” ชวนแวะเส้นทางบุญสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ ศาลหลักเมือง เอาฤกษ์เอาชัย พร้อมกราบไหว้ขอพรพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอย่าง พระมงคลมิ่งเมือง อันเป็นสถานที่สำคัญที่ชาวอำนาจเจริญเคารพนับถือ

เที่ยวอำนาจเจริญ เพลิดเพลินวัฒนธรรมกับศิลปะการฟ้อนรำแบบม่วนๆ จากบรรดาสาวสวยประจำ “หมู่บ้านหนองไฮน้อย” สนุกสนานกับหุ่นเชิดหมอลำที่เหล่าพ่อบ้านตั้งใจกระตุกเชือกให้หุ่นเต้นลำสุดแปลก จากนั้นไปเบิ่งของดี ชิมเมนูปลาร้าแจ่วบอง และดับความเผ็ดร้อนด้วยกล้วยตากที่มีรสชาติทั้งหอม หวาน เหนียว นุ่ม พร้อมชมวิวชิลริมน้ำกันที่แก่งคันสูงที่อยู่ไม่ไกลจาก “หมู่บ้านหินขัน” จากนั้นตามไปเยือน “หมู่บ้านนาล้อม” ช็อปปิ้งหมวกสานกกเท่ๆ ราคาเบาๆ พร้อมลิ้มรสขนมไทยประจำพื้นถิ่นอย่างข้าวเกรียบมะม่วงและขนมตาลที่ยั่วยวนชวนน้ำลายหก ปิดท้ายความสุขอย่างเรียบง่าย เรียนรู้วิถีชีวิตกลุ่มจักสานที่มีความผูกพันกับการดำรงชีพของพี่น้อง “หมู่บ้านเวียงหลวง” สืบทอดภูมิปัญญาการสานกระเชอและมวยนึ่งข้าว เครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีสไตล์ความเป็นอีสานดั้งเดิม พร้อมเปิบของดีสูตรเด็ดลาบไก่โบราณ ที่เขาบอกกันว่า แซ่บหล๊ายหลาย

ดำเนินวิถีแห่งความสุขบนชีวิตที่เรียบง่าย ในสไตล์ม่วนคัก ฮัก ISAN ได้พร้อมกัน ในรายการ สมุดโคจร On The Way : ม่วนคัก ฮักISAN – อำนาจเจริญ วันเสาร์ ที่ 31 สิงหาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 28 (3SD) หรือติดตาม

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ดร.นรีรัตน์ รัตนพรวิเศษกุล ประธานกรรมการ บริษัท ไทยพาวิลเลี่ยน คอร์ปอเรท จำกัด และ คุณสมศักดิ์ รารองคำ นายกสมาคมเชฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกัน ในการบรรลุเป้าหมายภารกิจการประชาสัมพันธ์ครัวไทยสู่ครัวโลก โดยใช้จุดแข็งของทั้งสององค์กรในการพัฒนาตลาดในประเทศจีน ผ่านช่องทางการสื่อสารทางการตลาดของบริษัท ไทยพาวิลเลี่ยน และบริษัท Siam Pavilion Enterprise Management (Shenzhen)

ซึ่งเป็นศูนย์กลางการส่งออกสินค้าไทยในประเทศจีน โดยมี Mr.Cheng Jun เป็นผู้รับผิดชอบในประเทศจีน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมมือกันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอาหารไทยสู่ประเทศจีน และสร้างโอกาสการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารไทยแปรรูป ซึ่งเป็นการช่วยขยายช่องทางการส่งออกสินค้าเกษตรและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอาหารไทยให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งยังช่วยเพิ่มชื่อเสียงอาหารไทยให้มากขึ้นด้วย

การลงนาม MOU ครั้งนี้ เป็นความตั้งใจของทั้งสององค์กร ที่จะนำมาตรฐานครัวไทยสู่ประเทศจีน นอกจากอาหารแปรรูป ที่ทางบริษัท ไทยพาวิลเลี่ยน คอร์ปอเรท ได้วางแผนงานการกระจายสินค้าครอบคลุมทั้งประเทศจีน และยังได้เริ่มธุรกิจร้านอาหารไทยที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ให้เข้าถึงอาหารไทยได้สะดวก ด้วยการสนับสนุนจากสถาบันอาหารในการพัฒนาสูตร การพัฒนาฝีมือพ่อครัว แม่ครัว จากสมาคมเชฟไทยฯ หลังพิธีลงนามท่านอุปนายกสมาคม เชฟบุญชิด ศรสุวรรณ ได้สาธิต การทำผัดไทย ที่มีเอกลักษณ์ในรสชาติดั้งเดิม,

การทำส้มตำผักกรอบ จากขนมผักกรอบ แบรนด์ DEEDY (ดีดี้) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ทำจากผัก 5 สายพันธุ์ 3 รสชาติ ของบริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ ฟู้ดส์ จำกัด ให้เป็นเมนูสำหรับคนรักสุขภาพ ให้สื่อมวลชนไทยและจีนได้ลองชิม ซึ่งในงานครั้งนี้ คุณปกรณ์ พงศ์วราภา ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ คุณเอกระพีร์ สุขกุลพิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่

บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ ฟู้ดส์ ได้ไปร่วมงานและนำผลิตภัณฑ์ขนมผักกรอบมาให้ผู้บริหารและผู้มีเกียรติทุกท่านได้ทดลองชิมในงานด้วย ซึ่ง ดร.นรีรัตน์ และ Mr.Cheng ผู้บริหาร บริษัท ไทยพาวิลเลี่ยนฯ รวมไปถึงเชฟจากสมาคมเชฟไทยฯ อาทิ คุณสุริยันต์ ศรีอำไพ เลขาธิการสมาคมฯ โดยต่างให้ความชื่นชมในรสชาติของผลิตภัณฑ์ และในอนาคตอันใกล้นี้ บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ ฟู้ดส์ จะร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกับบริษัท ไทยพาวิลเลียนฯ เพื่อนำขนมผักกรอบ แบรนด์ DEEDY (ดีดี้) ไปวางจำหน่ายในร้านค้าที่ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งใหม่ของกรุงปักกิ่งด้วย

ผู้บริโภคและร้านค้าที่สนใจขนมผักกรอบ DEEDY สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ ฟู้ดส์ จำกัดนายคมสัน เจริญอาจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานเปิดงาน “การระดมสมองการบริหารจัดการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน (สับปะรด)” ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดขึ้น โดยมี นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวรายงานถึงกรอบการดำเนินงานของ วว. ทั้งนี้

งานระดมสมองดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแผนธุรกิจศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน เทคโนโลยีของศูนย์เพื่อเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน ตลอดจนการกำหนดแผนการบริหารจัดการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ระหว่างหน่วยงานราชการส่วนจังหวัด หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด กลุ่มวิสาหกิจแปรรูป บริษัทส่งออก บริษัทประชารัฐร่วมกับ วว. เพื่อสร้างแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ฯ ให้ตรงกับความต้องการของทุกภาคส่วน ในด้านการผลิตผลสดและแปรรูปสับปะรดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้ยั่งยืนต่อไป (วันที่ 29 ส.ค. 2562 ณ โรงแรมหาดทอง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)

“…วว. และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการวิจัยพัฒนา เพื่อพัฒนาจังหวัด ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ทั้งนี้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญ มีมูลค่าผลผลิตปีละหลายหมื่นล้านบาท ผลผลิตเฉลี่ยในแต่ละปีประมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งมากเป็นครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งประเทศ ผลผลิต 80% ส่งเข้าโรงงานแปรรูป อีกประมาณ 20% บริโภคภายในประเทศ แต่การส่งออกสับปะรดสดไปต่างประเทศยังมีปริมาณน้อยมาก

เนื่องจากปัญหาหลายประการ ได้แก่ คุณภาพไม่สม่ำเสมอ การปนเปื้อนสิ่งสกปรก โรคแมลง รวมทั้งปัญหาเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว และอายุการเก็บรักษา วว. เป็นหน่วยงานที่มีผลงานวิจัยและองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน (สับปะรด) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559-2562 โดยบูรณาการองค์ความรู้งานวิจัยภายใน วว. เพื่อนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้แก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์กับการผลิตสับปะรดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อย่างครบวงจร…” นายสายันต์ ตันพานิช กล่าว

รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวต่อว่า วว. สร้างศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน มุ่งเน้นการคัดบรรจุสับปะรดให้ได้มาตรฐาน นับเป็นโรงคัดบรรจุผลสดที่ทันสมัยแห่งแรกของประเทศไทย มีขนาดกำลังการผลิต 3 ตัน ต่อชั่วโมง เครื่องจักรสายการผลิตสับปะรดผลสด ประกอบด้วย เครื่องคัดขนาด เครื่องตัดแต่งคัดผลดีผลเสีย อุโมงค์ลมทำความสะอาด เครื่องเคลือบผิว สายพานลำเลียงการบรรจุ เครื่องรัดกล่อง เครื่องลดอุณหภูมิ และห้องเย็น ที่สามารถใช้งานได้จริงในพื้นที่และเป็นศูนย์เรียนรู้ ศึกษาดูงานของผู้ผลิตผู้ประกอบการสับปะรดจากพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีบริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปสับปะรด ซึ่งมีห้องแปรรูปที่เป็นไปตามมาตรฐาน GMP เครื่องจักรแปรรูป ประกอบด้วย เครื่องคั้นน้ำ เครื่องฆ่าเชื้อ เครื่องบดย่อย เครื่องกวน และเครื่องอบแห้ง เป็นต้น

อนึ่ง ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน “สับปะรด” ดำเนินงานโดย วว.อยู่ในระหว่างดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP เพื่อการส่งออกสับปะรดผลสด คาดว่าภายในเดือนธันวาคม 2562 ศูนย์ฯ จะปรับปรุงแล้วเสร็จและผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP ทั้งนี้ กำหนดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป

29 สิงหาคม 2562 – ราชบุรี : ธุรกิจแพ็เกจจิ้ง เอสซีจี ร่วมกับอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ขับเคลื่อนและขยายผลชุมชนต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อผลักดันอำเภอบ้านโป่งสู่อำเภอต้นแบบที่มีการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิผล มุ่งดำเนินโครงการปีแรกในพื้นที่นำร่อง 17 แห่ง ตั้งเป้าลดขยะลงร้อยละ 40

นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอบ้านโป่ง ซึ่งเป็นประธานเปิดโครงการขับเคลื่อนขยายผลหมู่บ้านหรือชุมชนต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืนอำเภอบ้านโป่ง (Ban Pong Circular Community) กล่าวว่า “อำเภอบ้านโป่งต้องการขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอย จึงร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 17 แห่ง และเอสซีจี ดำเนิน “โครงการขับเคลื่อนชุมชนต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยอำเภอบ้านโป่ง” ด้วยการให้ความรู้กับคนในชุมชนผ่านการศึกษาตัวอย่างและการเป็นพี่เลี้ยงจากชุมชนต้นแบบบ้านรางพลับ ตำบลกรับใหญ่ เพื่อให้คนในชุมชนสามารถจัดการขยะในชุมชนตนเองได้ โดยตั้งเป้าให้มีชุมชนต้นแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งละ 1 ชุมชน และนำไปสู่การสร้างแนวทางการจัดการขยะชุมชนระดับอำเภอได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

“การขับเคลื่อนโครงการ Ban Pong Circular Community จะเริ่มจากการคัดเลือกหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีความพร้อมมา 1 หมู่บ้าน จากแต่ละ อปท. เพื่อจัดตั้งเป็นคณะทำงานจัดการขยะอย่างยั่งยืนระดับอำเภอ และเชิญผู้แทนคณะกรรมการหมู่บ้านหรือผู้นำชุมชนทั้ง 17 แห่ง มาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่บ้านรางพลับ ซึ่งมีการจัดการขยะและการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าจนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดโครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ระดับประเทศของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมีศักยภาพที่จะขยายองค์ความรู้ให้ชุมชนอื่นๆ และยังได้ร่วมกับเอสซีจีในการนำความรู้และประสบการณ์ด้านการจัดการขยะมาถ่ายทอดให้ชุมชนนำไปขยายผลในหมู่บ้านของตนเอง โดยปีแรกที่ดำเนินการ จะตั้งเป้าลดขยะที่ส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ในชุมชนต้นแบบ 17 แห่งลงร้อยละ 40” นายทศพล กล่าวเพิ่มเติม

ด้าน นายสหรัฐ พัฒนวิบูลย์ ผู้อำนวยการโรงงานบ้านโป่ง บริษัท สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด ในธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีดำเนินธุรกิจตามแนวคิดการจัดการทรัพยากรและการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้แนวทางของ SCG Circular Way ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ใช้ให้น้อย ใช้ให้นาน หรือนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ยังมุ่งถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าวไปยังกลุ่มต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในวงกว้าง โดยเอสซีจีมีโรงงานผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์แห่งแรกซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านโป่งมานาน จึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมสนับสนุนและขับเคลื่อนการจัดการขยะ เพื่อพัฒนาอำเภอบ้านโป่งซึ่งเปรียบเสมือนบ้านที่เราต้องดูแลให้สามารถเป็นอำเภอต้นแบบด้านการจัดการขยะได้”

“การสนับสนุนครั้งนี้ เอสซีจีได้ร่วมส่งเสริมความรู้ให้ประชาชนเรื่องการคัดแยกขยะเพื่อหมุนเวียนนำขยะที่ดีกลับมาเป็นทรัพยากรใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า และร่วมสร้างทีมงานที่เข้มแข็งเพื่อผลักดันให้โครงการสำเร็จ และสร้างอำเภอบ้านโป่งให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและเป็นต้นแบบที่ดี ซึ่งที่ผ่านมา เอสซีจีได้ร่วมสนับสนุนการพัฒนาการจัดการขยะของบ้านรางพลับ วันนี้เอสซีจีจึงนำบ้านรางพลับมาเป็นต้นแบบโดยนำองค์ความรู้และแนวทางการดำเนินการไปประยุกต์และปฏิบัติอย่างเหมาะสม เพื่อขยายผลกระบวนการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” นายสหรัฐ กล่าวสรุป

ทั้งนี้ “โครงการขับเคลื่อนชุมชนต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยอำเภอบ้านโป่ง” เริ่มดำเนินงานด้วยการจัดอบรมให้ อปท. 17 แห่ง เมื่อวันที่ 20 และ 23 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนจากเอสซีจี และสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการขยะและบรรจุภัณฑ์ในชุมชน และจะเริ่มดำเนินโครงการสร้างชุมชนต้นแบบตามแผนในเดือนสิงหาคม 2562 ถึงกรกฎาคม 2563 โดยตั้งเป้าลดขยะครัวเรือนซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์จากอาหารและผักผลไม้ ให้ลดลงร้อยละ 40

ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารอื่นๆ ของเอสซีจีได้ที่ https://scgnewschannel.com / Facebook: scgnewschannel / Twitter: @scgnewschannel หรือ Line@: @scgnewschannel

บริษัท ครีเดนซ์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าภายใต้ กลุ่มวังขนาย แนะนำ น้ำตาลกรวด ผลิตจากอ้อยที่คัดสรรเป็นพิเศษด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัย สะอาด บริสุทธิ์ ถูกหลักอนามัย ขนาดพอเหมาะ รสหวานกลมกล่อม ใช้ประกอบอาหารประเภทต้ม ตุ๋น หรือสำหรับใช้ปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น รังนก หรือเครื่องดื่มสมุนไพรต่างๆ เพิ่มความหอมหวานแก่อาหารและเครื่องดื่มให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น บรรจุถุงซิบล็อค ขนาด 500 กรัม สะดวกในการใช้และการเก็บรักษา มีจำหน่ายที่ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำทั่วไป โปรโมชั่นสุดคุ้ม!!! ซื้อ 1 แถม 1 ระหว่างวันที่ 3-14 กันยายน 2562 ที่ฟู้ดแลนด์ทุกสาขา

องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานที่สุดแห่งมหกรรมสินค้าเกษตรคุณภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี “ORTORKOR SMART EXPO 2019” ตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพ (อ.ต.ก. Fair) สร้างไอคอนตลาดสดต้นแบบ ที่รวบรวมสุดยอดสินค้าเกษตรคุณภาพระดับประเทศ การันตีคุณภาพด้วยมาตรฐาน อ.ต.ก. พร้อมเผยโฉมสินค้านวัตกรรมการเกษตร และตลาด อ.ต.ก. ในยุคดิจิทัล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0 ตื่นตาตื่นใจกับผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตร กว่า 212 บู๊ธ พร้อมพบกับ ‘Ortorkor Smart Pavilion’ พื้นที่แสดงศักยภาพ ผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสินค้าเกษตร สินค้าภายใต้แบรนด์ Best of Ortorkor ค้นหาคู่ค้า-สร้างโอกาสเติบโตสู่ภาคธุรกิจในการเจรจาธุรกิจ และเปิดโอกาสเพิ่มพูนความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ ขยายขีดความสามารถให้กับเกษตรกรไทย บนเวทีอบรมสัมมนา, เสวนา, เวิร์คช็อป และสนุกสนานกับการแสดงและกิจกรรมมากมายตลอด 4 วันเต็ม ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562 เวลา 11.00-21.00 น. ณ อิมแพ็ค ฮอลล์ 7 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี