งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นผลิตภัณฑ์กาวน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา

จากธรรมชาติ ซึ่งมีคุณสมบัติการติดที่ดี มีความเหนียว มีคุณภาพคงที่ ไม่มีตัวทำลายอินทรีย์ สามารถใช้ติดระหว่างผ้ากับผ้า ผ้ากับยาง และระหว่างวัสดุประเภทอื่นๆ ได้ดี เช่น กระเป๋า พื้นรองเท้าผ้าใบ

ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า ผลงานวิจัยของ ดร. วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ เป็นผลงานที่นำน้ำยางธรรมชาติผสมกับสารยึดติดในกลุ่มฟีนอลิก เรซิน และกัมโรซิน ร่วมกับการใช้สารช่วยการยึดติด เพื่อให้กลุ่มสารอินทรีย์กับตัวทำละลายที่เป็นน้ำเข้ากันได้ดี ด้วยการปรับสูตรน้ำยางข้น เพื่อใช้ทาบนวัสดุทำให้แข็งตัวได้ และมีการเติมสารหน่วงไฟในกาวน้ำยาง ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กาวประเภทนี้ สามารถเกิดไฟลามที่ช้า เพื่อประยุกต์ใช้ในการติดวัสดุให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างสามมิติ และวัสดุที่ได้มีความแข็งแรง มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับกาวสังเคราะห์ได้ นับว่าเป็นการสร้างให้เกิดผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยางมากขึ้น รวมทั้งเกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางพาราของไทย

ในการทำวิจัย ได้ดำเนินการคัด เรซิน 2 ชนิด คือ ฟีนอลิก เรซิน และกัมโรซิน ซึ่งสามารถช่วยปรับปรุงคุณสมบัติในกระบวนการผลิตให้ยางคอมพาวด์ไหลง่าย และทำให้สารตัวเติมผสมเข้ากับยางได้ดีขึ้น ผสมร่วมกับตัวทำละลายที่เป็นน้ำ ไม่ใช้ตัวทำลายอินทรีย์ที่มีพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

การวิจัย ได้นำ เรซิน 2 ชนิด มาผสมกับน้ำยางธรรมชาติ สามารถเพิ่มคุณสมบัติการติดของกาวในตัวละลายที่เป็นน้ำ โดยได้ทดสอบ พบว่า มีคุณสมบัติการติดมากกว่ากาวน้ำที่มีเรซินชนิดเดียวในความเข้มข้นของเรซินเท่ากัน ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบปริมาณของแข็ง (total solid content) ค่าความเป็นกรดด่าง (PH) ค่าความหนืด และประสิทธิภาพของแรงดึงเฉลี่ยจาก peel test 180 ระหว่างผ้ากับผ้าแล้ว ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับส่วนผสมกาวน้ำยางพาราที่เหมาะสม ให้สามารถมีความคงที่ ลดปัจจัยผลกระทบจากคุณภาพน้ำยาง โดยเพิ่มคุณสมบัติการติด เพื่อเพิ่มความเหนียวและความสามารถในการติดแน่น

จุดเด่นของผลงานวิจัยคือ การใช้น้ำยางพาราของประเทศไทยมาใช้ในการผลิตกาว โดยไม่ต้องนำเข้าพอลิเมอร์สังเคราะห์จากต่างประเทศ และไม่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นพิษสูง เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ ที่มีกลิ่นเหม็นรบกวน และมีอันตรายต่อสุขภาพ การใช้น้ำยางพาราในการผลิตกาว จะช่วยลดต้นทุนการผลิต เหนียวติดแน่น ไม่ติดไฟ และสามารถเชื่อมวัสดุที่มีรูพรุนเข้าด้วยกัน ทนต่อการบ่มเร่งได้ดี และเป็นการเพิ่มมูลค่าของน้ำยางพาราและเหมาะสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เพื่อส่งขายทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้ ผลงานวิจัยชิ้นดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำบันทึกข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย “กาวน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำยางธรรมชาติ, ฟีนอลิก เรซิน และกัมโรซิน และกรรมวิธีการผลิต” เลขที่อนุสิทธิบัตร 10454 และลงนามต่อยอดและพัฒนาผลงานวิจัยดังกล่าวให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ เรื่อง “การวิจัยกาวน้ำยางแข็งตัวและไฟลามช้า สำหรับแผ่นบอร์ดจากเศษผ้า” กับ บริษัท สามพิม จำกัด และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับ บริษัท สามพิม จำกัด ลงนามในสัญญารับทุนสนับสนุนโครงการนวัตกรรม

ปีนี้ฝนดี เกษตรกรโดยอาชีพ และผู้สนใจทำเกษตร ต่างลงมือเพาะปลูกกัน “สาขาไม้ผล” ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เพราะมีสิ่งใหม่ๆ ให้ติดตามกัน

มาดูความเคลื่อนไหวในรอบปี 2560 โดยเรียงลำดับตัวอักษร กล้วย…เมื่อปี 2558 แล้งหนัก กล้วยราคาแพง ปี 2559 จึงขยายพื้นที่ปลูกกันมาก โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า ทำให้ปี 2560 ราคากล้วยน้ำว้าลดลงอยู่ในภาวะปกติ

กล้วยหอมทองก็เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผลิตได้ไม่เท่ากับพื้นที่แถบรังสิต เนื่องจากปัจจัยไม่เหมาะสม ไม่มีความเชี่ยวชาญ สิ่งที่ต้องบันทึกไว้คือ บางแห่งมีการซื้อ-ขายกล้วยน้ำว้ากัน หวีละ 60-80 บาท

ปี 2559/2560 เป็นยุคทองของกล้วยน้ำว้า-กล้วยหอมทอง ซึ่งได้ผ่านไปแล้ว

กระนั้นก็ตาม ผู้ที่ยืนหยัดผลิตก็ยังอยู่ได้ ปลูกกล้วยหอมมานานติดต่อกันกว่า 20 ปี เช่น คุณวิไล ประกอบบุญกุล ที่คลองเจ็ด ปทุมธานี นอกจากปลูกเองแล้ว คุณวิไลยังมีแผงจำหน่ายอยู่ที่ตลาดไท

ขนุน…ไม่มีอะไรเคลื่อนไหวมากนัก แหล่งปลูกที่สำคัญอยู่จังหวัดระยองและประจวบคีรีขันธ์ เขาผลิตเพื่อส่งออก หากต้องการขายได้ราคาดี ต้องวางแผนการผลิตให้ออกช่วงที่ล้งต้องการ รวมทั้งดูแลโดยการห่อผล

แคนตาลูป-เมล่อน…การปลูกในโรงเรือนยังขายได้ราคาสูง ผลิตตามออเดอร์ ส่วนการปลูกในแปลง ทำคุณภาพได้ดีก็มี

เนื่องจากคุณภาพของพืชชนิดนี้มีความหลากหลาย จึงมีการคัดเกรด ผลผลิตที่ความหวานสูง เขาส่งห้างสรรพสินค้า ส่วนความหวานต่ำ ขายริมถนน หรือไม่ก็ตามรถเข็น

แตงโม…เกษตรกรที่มีความชำนาญ ทำมา 8-10 ปี ยังคงทำแล้วสร้างรายได้ดีอยู่ แตงโมให้ผลตอบแทนเร็ว ผลผลิตต่อไร่สูง ทุเรียน…ในปี 2560 พื้นที่ปลูกขยายมาก เนื่องจากราคาดี บางจังหวัดทางอีสานก็เผยแพร่ข่าวสารมาก ผู้ผลิตต้นพันธุ์รายใหญ่บางรายทางจังหวัดภาคตะวันออก บอกว่าตนเองจำหน่ายต้นพันธุ์ได้ถึง 1 ล้านต้น ในปีนี้

คุณชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี ให้ความเห็นว่า พื้นที่ปลูกทุเรียนเดิม อย่างจันทบุรีและระยอง ยังคงทำได้ดีอยู่ แต่แหล่งใหม่ควรหาข้อมูลเพิ่ม…คุณชลธี แนะนำว่า แหล่งใหม่ที่ปลูกทุเรียน ควรจะมองดูตลาดท้องถิ่นเป็นหลัก เพราะหากปลูกแล้วขนไปยังศูนย์กลางการรับซื้ออย่างจันทบุรี จะมีต้นทุนเพิ่ม สำหรับพันธุ์ ควรปลูกหลากหลาย ให้ทยอยออก อย่างพวงมณี หมอนทอง ก้านยาว

“พื้นที่ปลูกใหม่เรื่องการซื้อต้นพันธุ์ หากต้นเก่ารากขดการเจริญเติบโตไม่ดี ควรดูเรื่องนี้ด้วยครับ เรื่องน้ำต้องพอ เพราะหน้าแล้งต้องรักษาความชื้น อาจจะต้องปลูกไม้พี่เลี้ยงอย่างกล้วยช่วย เรื่องราคาเมื่อของมีมาก ราคาก็ถูกลงเป็นธรรมดา คาดว่าอีก 3 ปี วัฏจักรเดิมๆ จะกลับมา ถึงแม้มีการส่งออกได้ แต่ช่วงของมีมาก ทางล้งบรรจุหีบห่อไม่ทัน ของนำมากองไว้ เมื่อไม่มีการซื้อช่วงนั้น ราคาก็ไม่ดี” คุณชลธี กล่าว

ฝรั่ง…เป็นพืชที่ปลูกแล้วให้ผลผลิตเร็ว ขายได้ไม่ยาก ซื้อหาได้ทั่วไป หากราคาจูงใจ ผู้ผลิตสามารถผลิตให้มีคุณภาพได้ไม่ยาก

พันธุ์ยอดนิยม ยังคงเป็นพันธุ์กิมจู แป้นสีทองลดน้อยลง ส่วนหวานพิรุณ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น

มะม่วง…ผู้ผลิตเพื่อการส่งออก ตั้งเป็นกลุ่มขึ้นมา แล้วขึ้นกับทางสมาคม ยังคงไปได้ดี เช่นที่ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น เชียงใหม่…ที่ปลูกมากคือรอยต่อ 3 จังหวัด เพชรบูรณ์ พิจิตร และพิษณุโลก พื้นที่รวมกว่า 2 แสนไร่…เมื่อ 3-5 ปีที่ผ่านมา มีมะม่วงผลขนาดใหญ่ สีสวย มานำเสนอซึ่งได้รับความสนใจมาก ส่วนใหญ่พันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ

มะพร้าวน้ำหอม…เนื่องจากหนอนหัวดำระบาด ประกอบกับมีการส่งออกไปต่างประเทศมากขึ้น ทำให้มะพร้าวน้ำหอมราคาสูงมาก จากสวนบางช่วงขายได้ผลละ 20 บาท ส่งผลให้ต้นพันธุ์ขายกันสูงถึง 150 บาท ต่อต้น ช่วงปลายปีสถานการณ์คลี่คลายลง ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมมีมากขึ้น ปี 2560 ผู้บริโภคต้องจ่ายค่อนข้างแพงในการซื้อมะพร้าวน้ำหอม

มะละกอ…การตลาดมะละกอขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก ซึ่งพื้นที่เพิ่มขึ้นและลดลงเร็วมาก เนื่องจากมะละกอเป็นพืชอายุสั้น เกษตรกรบางรายปลูกแล้วเก็บเพียงคอเดียวก็ตัดทิ้งแล้ว ส่วนหนึ่งตัดทิ้งหนีโรคใบด่างวงแหวน

มะนาว…เนื่องจากมะนาวแพงช่วงแล้ง สาเหตุช่วงฝนการออกดอกติดผลไม่ดี เมื่อผู้ผลิตจับจุดได้ จึงปลูกกันในวงบ่อ แล้วทำให้ออกดอกช่วงที่ออกยาก…เพราะปลูกกันมาก ไปไหนก็พบการปลูกในวงบ่อ ด้วยเหตุนี้ราคาจึงไม่แพงดังเดิม โอกาสต่อไปความสมดุลคงมีมากขึ้น ระหว่างผลผลิตกับความต้องการบริโภค

มะเดื่อฝรั่ง…ทราบว่าปลูกได้ผลดีกว่า 10 ปีมาแล้ว แต่ผลผลิตที่นำออกจำหน่ายยังไม่เหมือนที่เกิดขึ้นกับพืชชนิดอื่น อย่างแก้วมังกร ลิ้นจี่…ทางสมุทรสงคราม อากาศไม่หนาวเย็นพอที่จะออกดอกมา 2-3 ปีแล้ว ปี 2560 โทรศัพท์เรียนถาม คุณปัญญา พวงสวัสดิ์ (28 พฤศจิกายน 2560) ได้รับคำตอบว่า ยังไม่แน่ เพราะหนาวขยักขย่อน ไม่ต่อเนื่อง…ส่วนลิ้นจี่ทางเหนือ และอีสานอย่างนครพนม มีผลผลิตให้เก็บทุกปี อาจจะมากบ้างน้อยบ้าง

ลำไย…ทางเหนือ ผลิตลำไยปี หากผลผลิตมีมากๆ จัดการไม่ดีก็ล้นตลาดได้เหมือนกัน ส่วนที่จันทบุรี โป่งน้ำร้อน สอยดาว และสระแก้ว ยังคงผลิตกันได้ดีอยู่ อาจจะมีปัญหาเรื่องการจ่ายเงินบ้าง

คุณชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี ให้ข้อมูลว่า ที่จันทบุรีผลิตลำไยได้ทั้งปี แต่ช่วงปลายฝนผลผลิตมีมากเป็นพิเศษ เกษตรกรแหล่งน้ำมีน้อย ถือโอกาสผลิตโดยใช้น้ำฝน ประกอบกับทางจีนมีผลไม้บางชนิดออกมา ราคาจึงไม่สูงเท่าที่ควร แต่เมื่อถึงช่วงหลังปีใหม่ไปแล้ว จนถึงตรุษจีนราคาดีขึ้น การซื้อ-ขายกันนั้น ดูใบ หากสมบูรณ์ดี ก็ตกลงราคากันเลย

ลองกอง…เนื่องจากพื้นที่ปลูกมาก ผลผลิตมีมาก ราคาจึงไม่ดีอย่างก่อน ในบรรดาไม้ผลด้วยกัน เวลาเกษตรกรนำผลผลิตลองกองไปจำหน่าย ผู้ซื้อคัดเกรดหลายเกรดมาก แต่ที่หัวๆ ราคาดี มีไม่มากนัก

ส้มโอ…แหล่งปลูกคุณภาพดี รสชาติอร่อย มีน้อยลงไปทุกที เช่นที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม แต่แหล่งใหม่ที่ปลูกได้ในเกรดส่งออกก็มีเช่นกัน อย่างอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อำเภอเกษตรสมบูรณ์ และบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ…ส่วนลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปลูกส้มโอทับทิมสยาม ได้รสชาติเยี่ยมยอด ขายได้ราคาดี

สตรอเบอรี่…พื้นที่กระจายไปหลายจังหวัด นอกจากเชียงใหม่ เชียงราย แล้ว ทางอีสาน อย่าง นครพนม นครราชสีมา ก็มีปลูกเช่นกัน

ที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีเกษตรกรจากเชียงใหม่มาเช่าที่ปลูก เพื่อจำหน่ายผลผลิตให้นักท่องเที่ยว ผลผลิตมีตั้งแต่เดือนธันวาคมไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ ของอีกปี

ส้มโชกุน หรือสายน้ำผึ้ง…เนื่องจากมีปัญหาเรื่องโรครุมเร้า โดยเฉพาะกรีนนิ่ง ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างฮวบฮาบ ราคาจึงแพง แหล่งปลูกสำคัญยังอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ แต่ที่น่าแปลกใจมากนั้น ที่ตลาดพระราม 5 ซึ่งขายผลไม้คุณภาพ ติดป้ายทุกปีว่า “ส้มภูเรือ” ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริง นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านลงสำรวจพื้นที่เพื่อจัดเสวนาเกษตรสัญจร ไม่มีสวนส้มโชกุน หรือสายน้ำผึ้งเหลือแม้แต่สวนเดียวหลายปีมาแล้ว

อะโวกาโด…งานวิจัยทางวิชาการเริ่มต้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันหน่วยงานหนึ่งที่น่าสนใจมาก เป็นของกรมส่งเสริมการเกษตร อำเภอพบพระ จังหวัดตาก แหล่งปลูกที่สำคัญอยู่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอพบพระ อำเภอเมือง จังหวัดตาก และภาคเหนือตอนบน อย่าง เชียงใหม่ เชียงราย…อะโวกาโด ไม่เป็นที่ฮือฮาหวือหวา แต่ก็พัฒนาขึ้นทีละน้อย คนเริ่มกินเป็น ผลผลิตที่มีคุณภาพยังไม่มากนัก ขณะที่ต้นพันธุ์ยังแพงอยู่ โดยเฉพาะต้นเสียบยอด ขายกัน 250-500 บาท ต่อต้น

อินทผลัมกินผล…หลังจาก โกหลัก หรือ คุณศักดิ์ ลำจวน ได้เผยแพร่อินทผลัมจนเป็นที่ฮือฮา

มาถึงปี 2560 งานปลูกพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะเรื่องของพันธุ์ ผู้ปลูกบางรายมีรายได้จากการขายผลผลิตหลายล้านบาท ทั้งๆ ที่พื้นที่ปลูกเพียง 7 ไร่

ในวงการไม้ผล ปี 2560 อินทผลัมกินผลได้รับความสนใจสูง…คุณปรีชา ธรรมชูเชาวรัตน์ เกษตรกรผู้จำหน่ายพันธุ์บอกว่า อินทผลัมกินผลพันธุ์บาฮี ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำหน่ายต้นละ 1,500 บาท กระนั้นก็ตาม ของมีไม่พอจำหน่าย

โดยรวมแล้ว อินทผลัมกินผลที่ให้ผลผลิต อายุต้นของเกษตรกร ให้ผลมาไม่เกิน 3 ปี ตัวเลขผลผลิต 50-80 กิโลกรัม ต่อต้น ราคาขาย กิโลกรัมละ 500 บาท ผู้ปลูกเองบอกว่า ราคาสูงเพราะของมีน้อย ถึงแม้ราคาถอยลงมา กิโลกรัมละ 100 บาท ก็ยังอยู่ได้สบาย

กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้รับคำถามอยู่เสมอว่า ปลูกอะไรดี ทำอะไรดี…หาคำตอบยากมาก

ผู้ที่สนใจทำอะไรสักอย่างต้องคำนึงถึง

หนึ่ง ตัวเองชอบจริงไหม มีเวลาให้กับงานมากน้อยแค่ไหน

สอง ปัจจัยเหมาะสมมากน้อยเพียงไร ไม่ว่าที่ดิน ทุน แรงงาน

สาม เทคโนโลยีเพียงพอหรือไม่

สี่ เบื้องต้นควรมีตลาดในท้องถิ่น

หากมีปัจจัยเหล่านี้ ก็ควรพิจารณา

ส่วนท่านที่ทำเกษตรอยู่แล้ว ก็ควรจะรักษาสิ่งที่มีอยู่ไว้ และพัฒนาให้ก้าวหน้า หรือปรับปรุงเสริมแต่งให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน

งานเกษตรสาขาไม้ผล เมื่อเปรียบเทียบกับทางพืชไร่ ผลตอบแทนต่อหน่ายที่ได้จะมากกว่า แต่เรื่องของทุนและเทคโนโลยีที่ลงไป ต้องใช้มากกว่า

ราคาซื้อ-ขาย ผลผลิตทางการเกษตรที่พบอยู่ ของมีน้อย ขายได้ราคาสูง ของมีมากๆ ขายได้ราคาถูก กฏเกณฑ์นี้มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจะมีไปถึงอนาคต…เรื่องราคาซื้อ-ขาย ได้รับการพูดถึงและแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็มีแนวโน้มที่ดี ส่วนหนึ่งเพราะมีการสื่อสารสมัยใหม่เข้ามาช่วย

งานทางด้านไม้ผล ยังคงมีความสำคัญ และได้รับความสนใจ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน “ เกษตรกร” นับเป็นอาชีพที่งานหนัก เหนื่อย ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เกษตรกรคนหนึ่งจะประสบความสำเร็จได้ หากไม่มีใจรักในอาชีพการเกษตร อุทิศแรงกายและแรงใจ ทำงานฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคในแต่ละวันด้วยความวิริยะอุตสาหะ

“ อนาวิน รุ่งโรจน์พันทวี” หนุ่มชาวเขาเผ่าอาข่า เป็นตัวอย่างคนสู้ชีวิตที่ใช้ความอดทน มุ่งมั่น เอาชนะความยากลำบากต่างๆ จนประสบความสำเร็จในธุรกิจกาแฟ สามารถส่งออกเมล็ดกาแฟไปขายต่างประเทศ ในชื่อการค้าของตนเอง “กาแฟชาวอาข่า” อนาวินได้รับเลือกเป็นหนึ่งใน “เกษตรคนแกร่ง” จากฟอร์ด ประเทศไทยเพื่อร่วมถ่ายทอดเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นต่อไป

อนาวินเกิดและเติบโตในบ้านแม่จันใต้ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นชุมชนที่สืบทอดอาชีพปลูกฝิ่นมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย เขาตระหนักดีว่า การปลูกฝิ่นเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมาย และเป็นสารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน อนาวินมุ่งมั่น “เปลี่ยนแดนฝิ่น ให้กลายเป็นถิ่นกาแฟ ”

อนาวินขอตัวอย่างกล้ากาแฟจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดเชียงรายนำมาปลูกในที่ดินของตัวเองและปลูกชาอัสสัมและผลไม้เมืองหนาวอื่นๆ เช่น บ๊วย ท้อ เชอร์รี่ พลับ ส้ม ฯลฯ เป็นพืชร่วมแปลง สร้างจุดเด่นให้กับกาแฟอาข่าเพราะเมล็ดกาแฟมีกลิ่นหอมและมีรสชาติผลไม้ติดไปด้วย ไม่มีปัญหาตัวมอดกินเมล็ดกาแฟ เพราะปลูกในสภาพอากาศหนาวเย็นทำให้มอดไม่สามารถอยู่ได้ และไม่ใช้กระสอบจากหมู่บ้านอื่นมาใช้บรรจุเมล็ดกาแฟอาข่า

ชีวิตชาวไร่กาแฟของอนาวิลไม่ได้ราบรื่นนัก เพราะมีผู้ปลูกกาแฟเพิ่มขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันสูง โดนพ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อเมล็ดกาแฟ แถมถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของการทำลายระบบนิเวศน์ ทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อนสารเคมี ทั้งๆ ที่การปลูกกาแฟไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลงเลย

“ผมรู้สึกท้อใจมาก หากไม่ได้ปลูกกาแฟ ก็ไม่รู้จะทำอะไรกิน กาแฟกับชาเป็นแหล่งรายได้หลัก ผมใช้ความบริสุทธิ์ใจเข้าสู้ ทำมาหากินอย่างไรก็บอกเขาไปตามความจริง จนภาครัฐเชื่อว่า เราพูดความจริง ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เรามีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเพราะปลูกชากาแฟเป็นรายได้หลัก ”

เมื่อไร่กาแฟเริ่มอยู่ตัว อนาวิลลงทุนเปิดร้านกาแฟเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม โดยเช่าพื้นที่ในเมืองเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ก่อนขยายกิจการเปิดร้านกาแฟบนต้นไม้ในที่ดินของตัวเอง รายได้ส่วนหนึ่งมอบให้กับมูลนิธิหัวใจอาข่าที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาเพื่อจะสร้างอนาคตที่ดีให้กับประเทศชาติต่อไป

อนาวิลกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน แกร่งในการยืนหยัดต่อสู้ เอาชนะสิ่งกีดขวาง ท้าทายทุกอุปสรรคจนประสบความสำเร็จ จึงได้รับเลือกจากฟอร์ด ประเทศไทยให้เป็นหนึ่งใน “เกษตรคนแกร่ง” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมอาชีพเกษตรกร ที่มีความแกร่งทั้งกายและใจในการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เช่นเดียวกับ ฟอร์ด เรนเจอร์ กระบะ “เกิดมาแกร่ง” ที่มีเครื่องยนต์อันทรงพลัง พร้อมช่วงล่างและสมรรถนะการขับขี่เหนือระดับ ผสมผสานกับเทคโนโลยีอันล้ำสมัยเพื่อความปลอดภัย ตอบโจทย์เรื่องการบรรทุกงานหนัก สามารถใช้งานได้สมบุกสมบันในทุกรูปแบบของงานเกษตร

“ ที่ผ่านมา ชีวิตการทำไร่กาแฟของผมเจออุปสรรคมาไม่น้อย ในแต่ละวันเจอเส้นทางที่ยากลำบาก ทั้งขึ้นเขา ลงเขา ลุยน้ำ ลุยโคลน แต่ผมหมดห่วงเพราะผมเชื่อมั่นสมรรถนะฟอร์ด เรนเจอร์ รู้สึกปลอดภัยทุกครั้งที่ขับ ทั้งบรรทุกปุ๋ย ต้นกล้า เมล็ดกาแฟและสิ่งของอื่นได้เต็มที่ แกร่งถูกใจผมจริงๆ” เกษตรคนแกร่งกล่าว

“ ผมดีใจและรู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้ ได้เผยแพร่ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านแม่จันใต้และโปรโมทอาชีพเกษตรกร ผมหวังว่าแคมเปญนี้ของฟอร์ดจะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้คนที่ทำอาชีพเดียวกับผม ได้ใช้ความแกร่งในตัวเอาชนะทุกอุปสรรคเหมือนกับผม”

ฟอร์ดได้เชิญชวนผู้เป็นเจ้าของ ฟอร์ด เรนเจอร์ ทุกท่าน ร่วมกันส่งเรื่องราวความแกร่งในแบบฉบับของตัวคุณกับ ฟอร์ด เรนเจอร์ คู่ใจ ผ่านเฟซบุ๊กฟอร์ด ประเทศไทยและสื่อพันธมิตร ระหว่างวันที่ 1-17 ธันวาคม พ.ศ.2560 โดยฟอร์ดและสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทยได้คัดเลือกสุดยอดเกษตรกรคนแกร่ง 3 คนสุดท้าย เพื่อร่วมโหวตกันบนเฟซบุ๊กฟอร์ด ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 20-27 ธันวาคม ผู้ชนะการโหวต นอกจากจะได้ขึ้นทำเนียบ “เกษตรคนแกร่ง” ของฟอร์ดแล้ว ยังจะได้รับการจัดทำเป็นวิดีโอเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นต่อไป พร้อมรับแพ็คเกจการบำรุงรักษารถฟอร์ดมูลค่า 50,000 บาทอีกด้วย

คุณกมลวิศว์ แก้วแฝก ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้ข้อมูลว่า ได้มีการส่งเสริมการเพาะเห็ดแครงในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เพราะเห็ดแครงถือเป็นเห็ดพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือหรือภาคใต้ โดยแต่ละพื้นที่จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เดิมทีเห็ดแครงถือว่าเป็นเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ต่อมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจึงทำให้หาเห็ดแครงได้ไม่ง่ายจากแหล่งธรรมชาติ จึงได้มีการส่งเสริมขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรได้เพาะเลี้ยงเห็ดแครง เพื่อให้ผู้บริโภคที่สนใจได้มีเห็ดชนิดนี้ไว้รับประทาน และที่สำคัญยังสามารถเป็นรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงได้อีกด้วย

“เห็ดแครง ถือว่าเป็นเห็ดที่มีคุณประโยชน์ สามารถเป็นได้ทั้งอาหารและยา เห็ดแครงเป็นเห็ดที่เพาะเลี้ยงง่าย ใช้เวลาเพียงแค่ 7 วัน ซึ่งถือว่าใช้เวลาค่อนข้างสั้น จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่สนใจ หรือเกษตรกรทั่วไปที่อยากมีรายได้เสริมจากการเพาะเห็ดแครง เพราะปัจจุบันเราก็มีแหล่งเรียนรู้ อยู่ที่ อ.ต.ก. สงขลา โดยได้มีการสนับสนุนเปิดสอน เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาถึงวิธีการต่างๆ เพราะอนาคตเห็ดแครงจะต้องเป็นพืชเศรษฐกิจที่จะนำมาทำเป็นอาหาร เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญให้กับผู้ที่รักสุขภาพ ที่เวลานี้กำลังมีมากขึ้น” คุณกมลวิศว์ กล่าว

ซึ่ง คุณกมลวิศว์ กล่าวทิ้งท้ายให้ฟังว่า ขณะนี้สินค้าที่เป็นเห็ดแครงยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงได้มีการส่งเสริมการเพาะเห็ดแครงอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้มีปริมาณที่มากขึ้นจนสามารถจำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ จึงอยากจะส่งเสริมให้เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปหันมาผลิตเห็ดแครง โดยอาจจะเริ่มจากทดลองทำไว้รับประทานเองที่บ้าน และเมื่อสินค้ามีมากขึ้นก็จะสามารถทำออกมาจำหน่ายเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้

องค์ความรู้สู่การสร้างอาชีพ

คุณจิตสุภา ยวงใย อ.ต.ก. จังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่า ทางองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่เลขที่ 424 หมู่ที่ 2 ตำบลพะวง อำเมือง จังหวัดสงขลา ได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้กับผู้ที่สนใจอยากจะเพาะเลี้ยงเห็ดแครง โดยทางผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) คือ คุณกมลวิศว์ แก้วแฝก ได้จัดทำเป็นโครงการศูนย์การเรียนรู้การเพาะเห็ดแครงอินทรีย์ขึ้นมา เนื่องจากเมื่อต้นปี 2560 ที่ผ่านมาเกิดปัญหาในเรื่องของราคายางพาราตกต่ำ จึงได้มีการส่งเสริมให้มีการเพาะเห็ดแครงขึ้น เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับบุคคลที่ต้องการมีรายได้เสริมจากการเพาะเห็ดแครง

อาจารย์บรรลุ บุญรอด เป็นผู้เชี่ยวชาญการเพาะเห็ดแครง ให้ข้อมูลว่า เห็ดชนิดนี้มีหลักการเพาะที่คล้ายกับการเพาะเห็ดทั่วๆ ไป แต่จะมีในเรื่องของการใช้สูตรอาหารที่มากกว่า และมีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้นเมื่อเทียบกับเห็ดอื่นๆ ซึ่งเห็ดแครงธรรมชาติในปัจจุบันค่อนข้างมีจำนวนที่น้อยลง เพราะขอนไม้ในยุคนี้มีไม่มากเหมือนสมัยก่อน เพราะเกษตรกรที่มีก็จะนำขอนไม้เหล่านั้นไปจำหน่าย จึงทำให้ขอนไม้ที่จะทำให้เห็ดแครงขึ้นลดน้อยลง ต่อมาจึงได้มีการเพาะมากขึ้นเพื่อเป็นการทดแทนจากของธรรมชาติ

“การทำหัวเชื้อของเห็ดแครง ก็มีหลักการทำทั่วไปเหมือนกับเห็ดนางฟ้า ก็จะมีการทำหัวเชื้อในวุ้น เสร็จแล้วก็เอามาทำในเมล็ดธัญพืช พอหัวเชื้อเราเสร็จเรียบร้อย เราก็จะนำหัวเชื้อมาใส่ลงในก้อนที่มีไว้ให้เชื้อเดิน โดยมีสูตรที่ทางศูนย์กำหนดไว้แล้ว สำหรับผู้ที่มาฝึกอบรมสามารถนำไปใช้ทำได้” อาจารย์บรรลุ กล่าว

โดยสูตรอาหารทำก้อนเชื้อเห็ดแครง มีดังนี้

ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 50 กิโลกรัม
ภูไมท์ 2 กิโลกรัม
ดีเกลือ 100 กรัม
ปรับความชื้นด้วยน้ำ 50-60 เปอร์เซ็นต์
โดยนำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมน้ำให้ได้ความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์ ให้สังเกตเมื่อกำส่วนผสมด้วยมือให้แน่นแล้วคลายมือออก หากส่วนผสมยังคงรูปไม่แยกออกจากกัน แสดงว่าส่วนผสมใช้ได้ จากนั้นนำส่วนผสมบรรจุลงในถุงพลาสติก สำหรับใช้เพาะเห็ด ขนาด 6.5×10 นิ้ว ลงไป 3 ใน 4 ของถุง เฉลี่ยน้ำหนักประมาณ 600 กรัม ต่อถุง ปิดปากถุงด้วยจุกพลาสติก นำไปนึ่งฆ่าเชื้อในหม้อนึ่ง ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง แล้วจึงพักให้เย็นลง นำเข้าห้องเขี่ยเชื้อโดยเร็ว ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง เพราะจะเกิดการปนเปื้อนจากเชื้อราชนิดอื่นๆ จากนั้นบ่มไว้อีก 12-20 วัน เส้นใยสีขาวจะเดินเต็มก้อนเชื้อเห็ด พร้อมให้นำไปเปิดดอกได้

การเปิดดอกเห็ดแครงนั้น เว็บ Royal GClub จะนำก้อนเชื้อเห็ดมาไว้ภายในโรงเรือนที่ควรมีขนาด 4 เมตร ยาว 8 เมตร และสูง 2.50 เมตร โดยวางก้อนเชื้อเห็ดบนชั้น เปิดฝาจุกพลาสติกออก รัดปากถุงด้วยเชือกฟางให้แน่น พร้อมทั้งกรีดด้านข้างก้อนเชื้อเห็ดให้ทะลุตามแนวเอียง 45 องศา ถุงละ 4-6 รอบ ในช่วงนี้ให้รดน้ำสะอาดลงที่พื้นและผนัง เพื่อเพิ่มความชื้นภายในโรงเรือน และเมื่อมองเห็นว่าเส้นใยบริเวณรอยกรีดสมานกันดี จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน แล้วจึงรดน้ำที่ก้อนเชื้อเห็ดโดยใช้หัวฉีดเจทสเปรย์ หากไม่สะดวกให้ใช้ถังฉีดพ่นปุ๋ยหรือสารเคมี (แต่ต้องล้างให้สะอาด) แทน

จากนั้นรักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนไว้ที่ 30-35 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ เพราะจะทำให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตได้ดี หลังจากที่ฉีดพ่นน้ำทุกวันจนครบ 8 วัน ก็สามารถเก็บเห็ดแครงรุ่นแรกจำหน่ายได้

ซึ่งการเก็บดอกเห็ดแครงหลังเปิดดอก 7-8 วัน จะเก็บเกี่ยวได้ 2 รุ่น โดยการตัดดอกจะต้องใช้มีดที่มีความคมและสะอาด โดยตัดให้ผิวถุงก้อนเชื้อเห็ดและนำดอกเห็ดออกมาให้หมด หลังจากนั้น กระตุ้นให้ออกดอกอีกครั้ง ด้วยการสเปรย์น้ำสะอาดไปที่ก้อนเชื้อเห็ดทุกวัน ติดต่อกัน 7 วัน เห็ดจะออกดอกให้เก็บเกี่ยวได้อีกครั้ง แต่ขนาดของเห็ดแครงจะเล็กลงและมีคุณภาพด้อยลงไปจากครั้งแรก เมื่อเก็บเกี่ยวเห็ดชุดที่ 2 จนหมดแล้ว ควรรื้อก้อนเชื้อเห็ดชุดนี้ออก แล้วนำชุดใหม่เข้ามาแทน ซึ่งผลผลิตเฉลี่ยต่อถุง อยู่ที่ 1-1.5 ขีด