งานวิจัยเราเริ่มมานานแรกสุดแตงโม สถานีวิจัยอยู่ตามต่างจังหวัด

ภาคเหนือ ภาคอีสาน ส่วนภาคกลางอยู่รังสิต ร้านปุ๋ยเขาแปลกใจทำไมมีเฉพาะแตงโม เราเริ่มต้นแตงโมอย่างเดียว จากนั้นมี แคนตาลูป เมล่อน แตงกวา แตงร้าน พริก ฟักทอง และอื่นๆ”

คุณกิตติพงษ์เล่า และบอกต่ออีกว่า

“แตงโม…เมืองไทยกินรี เป็นหลัก ผลผลิตสูง แข็งแรง ผลผลิต 4-5 ตัน ต่อไร่ ความหวานสูง ปลูกได้ทั่วประเทศ ตัวอื่นๆ ตลาดต่างประเทศ เนื้อส้มมีบ้าง ขายความแปลกใหม่ กลุ่มผิวลายเมืองไทยนิยม 10 กว่าปีก่อน แต่ผิวลายทุกวันนี้ ตลาดทางบังกลาเทศ ศรีลังกา เปลือกเหลืองมีบ้าง เวียดนามใช้ไหว้ เมืองไทยปลูกพอสมควร”

คุณกิตติพงษ์ พูดถึงพืชชนิดอื่นๆ ว่า แคนตาลูป…เด่นสุด sweet d 25 เน้นความหวานเป็นหลัก ใหม่ๆ มีพันธุ์หิมาลัย

ฟักทอง…มีทั้งตลาดเมืองไทยและเมืองนอก ไทยเน้นพันธุ์คางคก นอกจากนี้เริ่มมีทรงยาว

แฟง…ภาคกลางชอบ

ฟักหอม..ภาคอีสานนิยม

มะระ…บ้านเรานิยมมะระจีน ส่วนอินเดีย ศรีลังกา ชอบมะระขี้นกแต่ลูกใหญ่

มะเขือยาว…บ้านเราสีเขียว เมืองนอกสีม่วงเป็นหลัก

“เมล็ดพันธุ์เราวิจัยมามาก แต่ละประเทศชอบไม่เหมือนกัน ทำส่งเมืองนอกด้วย ในเมืองไทยเราแตงโม แคนตาลูป เมล่อน พริกขี้หนู เรามีตัวแทนจำหน่าย มีนักวิชาการเกษตร ให้คำปรึกษา เมล็ดพันธุ์เราเน้นคุณภาพ เมื่อนำไปปลูกประสบความสำเร็จสูง หากคุณภาพไม่ดีเสียหายเยอะ ยอมลงทุนค่าเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นนิดหนึ่ง เปลี่ยนจากพันธุ์ทั่วไป จ่ายเพิ่มไร่ละ 200-300 บาท ผลที่ได้แน่นอน ต้านทานโรค…งานวิจัยสำหรับอนาคตเอาตลาดนำการวิจัย แต่ละประเทศไม่เหมือนกัน อย่างเมืองนอกต้องการสีม่วง ทุกวันนี้มีบริษัทเมล็ดพันธุ์เยอะขึ้น เกษตรกรมีตัวเลือกเยอะขึ้น เกษตรกรได้ประโยชน์” คุณกิตติพงษ์ บอก

แคนตาลูป ลงทุน ต้นละ 10 บาท แต่ทำคุณภาพ…ไม่ใช่เรื่องง่าย

ยุคนี้ พืชที่ให้ผลตอบแทนเร็ว ใช้พื้นที่ปลูกไม่มาก เห็นจะได้แก่ แคนตาลูป เมล่อน งานผลิตพืชชนิดนี้ มีทั้งนอกและในโรงเรือน การซื้อขายก็มีหลายเกรด

ตามริมถนน สนนราคาอาจจะ 2 ผล ราคา 100 บาท

ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ราคาอาจจะสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาท

ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา แหล่งผลิตที่ลงทุนสูง ต้องขายแพงหน่อย แหล่งผลิตใช้ทุนต่ำขายราคาไม่แพง ราคาสูงต่ำ เป็นการสร้างโอกาสให้ผู้บริโภค

ถึงแม้แคนตาลูปให้ผลตอบแทนแก่ผู้ผลิตดี แต่การผลิตให้มีคุณภาพดี ราคาสูง ไม่ใช่เรื่องง่าย

คุณสมชาย แก่นเขียว ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท แอ๊ดว้านซ์ซีดส์ จำกัด ซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในวงการแคนตาลูปมานาน บอกว่า ทุกวันนี้ เกษตรกรปลูกแคนตาลูปส่วนหนึ่ง ต้องการผลผลิตที่มีขนาดใหญ่ จึงเร่งปัจจัยการผลิตมากเกินไป อาจจะได้ผลผลิตขนาดใหญ่จริง แต่ความหวานไม่ได้

“ผมอยู่ในวงการวิจัยมา 20 ปีแล้ว ดูแลเรื่องการจัดการแปลงมากกว่า…เกษตรกรทำไซซ์ได้ แต่ทำความหวานไม่ได้ แคนตาลูปและเมล่อนบ้านเรากำลังบูม แต่มีหลายเกรด หวานน้อย ไปจนถึงหวานมาก

…หลักการทำแคนตาลูปและเมล่อนให้มีคุณภาพนั้น ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ไม่เร่งปัจจัยการผลิตมากเกินไป ในช่วงที่พืชชนิดนี้เริ่มได้รับความนิยม เกษตรกรโหมผลิตกัน แต่ประสบปัญหาทำได้ไม่ดีพอ บริษัทจึงตั้งทีมขึ้นมา เริ่มตั้งแต่วิจัยพันธุ์ รวมทั้งวิธีการผลิต จากนั้นไปให้คำแนะนำแก่เกษตรกร ทุกวันนี้ถือว่าได้ผลดีมาก”

คุณสมชายบอก และเล่าต่ออีกว่า

“งานผลิตของเกษตรกรที่เราดูแลอยู่ ชัดเจนดีมาก ผลผลิตที่ได้ 3-4 ตัน ต่อไร่ ราคาซื้อขายแล้วแต่จังหวะ ถ้าขายได้กิโลกรัมละ 20 บาท เกษตรกรได้เงินหลักแสนบาทต่อไร่ ใช้เวลาไม่นาน ถ้าราคาตาย 10 บาท เกษตรกรเดือดร้อน ที่พอใจกันคือ 17-18 บาท ต่อกิโลกรัม ราคานี้จากแปลงปลูก เมื่อถึงคนกินสูงถึงเท่าตัว”

ช่วงที่คุณสมชายตั้งทีมขึ้นมา แล้วให้คำปรึกษากับเกษตรกร ผลิตแคนตาลูปได้ความหวาน 10-11 บริกซ์ ก็สามารถส่งห้างสรรพสินค้าได้ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน มาตรฐานสูงขึ้น ส่งห้างต้องหวาน 14 บริกซ์ขึ้นไป

คุณสมชาย บอกว่า ต้นทุนการผลิตทุกวันนี้ อยู่ที่ต้นละ 10 บาท ซึ่งก็หมายถึง ผลละ 10 บาท นั่นเอง เนื่องจากแตง 1 ต้น ให้ผลได้ 1 ผล ต้นทุนที่ 10 บาท ไม่ได้รวมค่าโรงเรือนแต่อย่างใด

วันที่ไปพูดคุยกับคุณสมชาย แปลงสาธิตที่ปทุมธานี เพิ่งผ่านฝนมาใหม่ๆ แต่ก็เห็นผลผลิตสวยๆ ทั้งแตงโม แคนตาลูปและเมล่อน

คุณสมชาย แนะนำการทำแปลงปลูกว่า ยกแปลงขึ้น ใช้ซาแรนเป็นขอบแปลง สูง 15-20 เซนติเมตร แล้วจึงใช้วัสดุปลูก เน้นขุยมะพร้าว…ขอบแปลงอาจจะมีเกษตรกรบางคนใช้อิฐบล็อก ทำได้ แต่การระบายน้ำไม่ดี

“พันธุ์ของบริษัท ตอนนี้เด่นมากๆ และกำลังได้รับความนิยมคือ สวีทดี 25 เลดี้กรีน หิมาลัย ผู้ปลูกพูดถึงกันมาก แหล่งผลิตของเกษตรกรมีอยู่ทั่วไป เมื่อก่อนอาจจะมีมากที่สระแก้ว ต่อมาขยายมาทางภาคกลาง ภาคเหนือ อีสาน สนใจซื้อเมล็ดพันธุ์ มีจำหน่ายทั่วไป…ที่สระแก้วปลูกซ้ำที่มีปัญหา แต่เราพบเทคโนโลยีใหม่ ปลูกซ้ำที่ได้ รวมทั้งปัจจัยการผลิตที่ทำให้หวาน ของเราก็มี” คุณสมชาย บอก

เรื่องราวของงานผลิตแคนตาลูป น่าสนใจทีเดียว คุณสมชาย บอกว่า ตลาดยังต้องการมาก

ที่พบเห็นอยู่ หวานน้อย อาจจะส่งโรงงาน หรือขายราคาไม่แพง

ส่วนคุณภาพดี รสหวาน ส่งขึ้นห้าง ราคาแพง ถึงแพงมาก ผมมีปัญหาเมื่อปลูกถั่วลิสงไปแล้ว เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยว กลับพบว่า ผลมีขนาดเล็ก และอ่อนนุ่ม ไม่ติดเมล็ด ทำให้ไม่ได้ผลผลิต อยากทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด และผมจะแก้ไขอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ

อาการที่เล่ามา เกิดจากคุณสากลปลูกถั่วลิสงในดินที่ขาดแคลเซียมอย่างรุนแรง ทั้งนี้ ฝักถั่วลิสงที่แข็ง ไม่อ่อนนุ่มนั้น ประกอบด้วย แคลเซียมแพคเตตเป็นส่วนใหญ่ ในโครงสร้างของมันหนีไม่พ้นธาตุแคลเซียมที่มีมากในหินปูน ปูนขาว และเปลือกหอยเผา แล้วบดละเอียด วิธีแก้ไขทำได้โดยใส่ปูนขาวในอัตรา 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ ด้วยวิธีโรยข้างแถว ก่อนต้นถั่วจะออกดอก แล้วกลบโคนต้นให้ปูนขาวอยู่ใกล้ระบบราก และให้ใส่ปูนขาวในอัตราเดียวกันทุกๆ 3 ปี อาการฝักอ่อนนุ่มจะหมดไป

เกร็ดน่ารู้ของถั่วลิสง ถั่วลิสงจะแปลกกว่าถั่วชนิดอื่นๆ คือ หลังผสมเกสรแล้ว ดอกจะแทงเข็ม ภาษาสากลเรียกว่า เพ็ก นำเอาตัวอ่อนลงไปยังพื้นดินบริเวณโคนต้นที่มีความชื้นมากกว่าบริเวณอื่น ดังนั้น ถั่วลิสงจึงให้ผลดีเมื่อปลูกในดินร่วนปนทราย เข็ม 1 อัน จะยาว 12-15 เซนติเมตร ตัวอ่อนปลายเข็มแต่ละอันจะพัฒนาเป็นฝักถั่วลิสง 1 ฝัก น่าอัศจรรย์นะครับ

ในปัจจุบันนี้ พื้นที่ปลูกมะม่วงเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะปลูกพันธุ์น้ำดอกไม้เกือบ 100% เนื่องจากเป็นมะม่วงที่มีการส่งออกมากที่สุด เริ่มจากส่งออกไปญี่ปุ่นประเทศเดียว ต่อมามีการขยายการส่งออกไปยังอีกหลายประเทศ อาทิ นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และบางประเทศในยุโรป

สำหรับตลาดในประเทศไทยพฤติกรรมการบริโภคมะม่วงในตลาดเมืองใหญ่ๆ ที่มีกำลังซื้อสูงมะม่วงต่างประเทศที่มีขนาดผลใหญ่ รสชาติอร่อย ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับและขายได้ราคาดี อย่างเช่น “สวนคุณลี” อยู่ที่ ตำบลคลองคะเชนทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. (081) 886-7398, (056) 613-021

โดย “สวนคุณลี” นั้นเป็นสวนเปิดภาคเอกชนที่เปิดดำเนินการมานานกว่า 10 ปี เป็นสวนเปิดที่ให้เกษตรกรและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมหาความรู้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด มีประสบการณ์การปลูกมะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศแปลกและหายากมานาน

รวมถึงการผลิตมะม่วงนอกฤดู จากที่เคยปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง แต่ปรับเปลี่ยนเป็นมะม่วงทางเลือกสายพันธุ์จากต่างประเทศแทน เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันเรื่องราคาขาย ปัจจุบันมะม่วงแต่ละสายพันธุ์ที่สวนคุณลี เฉลี่ยขายได้ กิโลกรัมละ 50-200 บาท เลยทีเดียว

มะม่วงลูกผสม “ไต้หวัน T1” ในแปลงปลูกมะม่วงของศูนย์ปรับปรุงพันธุ์ไม้ผลเมืองไทนัน เกาะไต้หวัน มีการพัฒนาสายพันธุ์มะม่วงให้สีผิวมีสีแดงมากขึ้น มีพันธุ์มะม่วงลูกผสมพันธุ์ใหม่หลายสายพันธุ์ มะม่วงลูกผสมพันธุ์ใหม่บางสายพันธุ์ของศูนย์แห่งนี้ได้ปรับปรุงพันธุ์ให้ผลมีสีแดงออกม่วงตั้งแต่ระยะผลอ่อน

ทางสวนคุณลี ได้ยอดมะม่วงพันธุ์ลูกผสมพันธุ์ใหม่จากแปลงทดลองของศูนย์แห่งนี้มาหลายสายพันธุ์ และเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยได้นำยอดพันธุ์มะม่วงเหล่านั้นมาเสียบฝากไว้กับต้นมะม่วงอาร์ทูอีทู (R2 E2) เวลาผ่านไป 3 ปี มะม่วงลูกผสมของไต้หวันหลายสายพันธุ์ได้เจริญเติบโตและพร้อมที่จะให้ผลผลิต

โดยหนึ่งในนั้นทางสวนคุณลี ได้ตั้งชื่อ มะม่วงลูกผสมว่า T1 (T ย่อมาจาก Taiwan) ฤดูกาลที่ผ่านมา มะม่วง T1 ได้มีการออกดอกและติดผล สิ่งที่สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าในระยะที่ผลมะม่วง T1มีการติดผลเท่ากับนิ้วก้อย ผิวที่ผลจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวมาเป็นสีม่วงแดง โดยเมื่อผลมีขนาดใหญ่ขึ้นสีของผิวจะออกสีม่วงเข้มขึ้น และเมื่อผลแก่จะมีสีม่วงทั้งผล มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัม จัดเป็นมะม่วงรับประทานสุกที่รสชาติอร่อย เนื้อมีสีเหลืองละเอียดเนียน ไม่มีเสี้ยน

มะม่วงพันธุ์ T1(TAIWAN เบอร์ 1) เมื่อผลแก่และนำมาวางขายด้วยผิวผลที่มีสีม่วงเข้มจะดึงดูดผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี และคาดว่าจะเป็นมะม่วงอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีชาวสวนมะม่วงไทยขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้นในอนาคต

ปัจจุบัน ทางแผนกฟาร์มของชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้ขยายพื้นที่ปลูกมะม่วง T1 มากขึ้น ด้วยมั่นใจว่าปลูกและสามารถบังคับให้ออกนอกฤดูในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการบริโภคมะม่วงในประเทศไทย

มะม่วงลูกผสมไต้หวัน T2 (TAIWAN เบอร์ 2) ซึ่งเป็นมะม่วงลูกผสมที่โดดเด่นเรื่องของสีผิวที่มีสีแดงอมม่วงเข้มสลับกับสีเหลืองสด ผิวมันเงา ดึงดูดสายตาเป็นอย่างมาก เป็นสายพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกและติดผลง่าย ติดผลเป็นพวงและติดผลดก ขนาดผลประมาณ 2-3 ผล ต่อกิโลกรัม เนื้อสุกมีสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานจัด เนื้อละเอียดเนียน มีกลิ่นหอม ไม่เหม็นขี้ไต้เลย เนื้อหนา เมล็ดลีบ เป็นสายพันธุ์ที่น่าขยายพื้นที่ปลูกเป็นเชิงการค้าเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันทางสวนคุณลี จังหวัดพิจิตร ได้ขยายพื้นที่ปลูกมะม่วงลูกผสม T1 และ T2 มากขึ้น ด้วยมั่นใจว่าปลูกและสามารถบังคับให้ออกนอกฤดูในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

มะม่วงพันธุ์ “งาช้างแดง” ของแท้ สวนคุณลี ได้มะม่วงพันธุ์งาช้างแดงของแท้มาปลูกและได้ทดลองชิมผลผลิตแล้ว ต้องยอมรับว่า เมื่อผลสุกรสชาติหวานหอม ไม่มีกลิ่นเหม็นขี้ไต้ ที่สำคัญปริมาณเนื้อมากกว่า 90% และเมล็ดลีบเล็กมาก มะม่วงพันธุ์งาช้างแดง ผลใหญ่และยาวมาก วัดความยาวผลได้ถึง 25 เซนติเมตร เนื้อสุกมีรสชาติหวาน หอม เนื้อหนามาก เมล็ดลีบบางเพียง 1 เซนติเมตร เท่านั้นเอง น้ำหนักของเมล็ดไม่ถึง 100 กรัม มีเฉพาะเนื้อมากกว่า 1 กิโลกรัม

“ไข่มุกแดง” มะม่วงยักษ์พันธุ์ใหม่ ที่มีน้ำหนักผลถึง 3 กิโลกรัม ขณะนี้ไต้หวันได้เริ่มมีการเผยแพร่มะม่วงพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า “พันธุ์หงจู” หรือถ้าแปลและเรียกชื่อเป็นภาษาไทย มีชื่อว่า “พันธุ์ไข่มุกแดง” เป็นมะม่วงประเภทรับประทานผลสุกเหมือนกับพันธุ์อี้เหวิน เบอร์ 6

และเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดผลใหญ่มาก มีน้ำหนักผลเฉลี่ยตั้งแต่ 1,500-3,000 กรัม ลักษณะผลทรงกลมใหญ่ เมื่อสุกเนื้อละเอียดเนียน รสชาติหวาน โดยผิวผลมีสีแดงเข้ม สีสวยมาก และกำลังได้รับความนิยมปลูกแพร่หลายมากขึ้น

และมีการปรับปรุงมะม่วงสายพันธุ์นี้และส่งเสริมเผยแพร่ให้เกษตรกรไต้หวันปลูกมานานประมาณ 5 ปี เกษตรกรไต้หวันเริ่มขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น เพราะตลาดมีความต้องการมะม่วงสายพันธุ์นี้มากขึ้น

ซึ่งทางสวนคุณลีได้ซื้อผลมะม่วงพันธุ์ไข่มุกแดงดิบกลับมาประเทศไทย และนำมาบ่มให้สุกและรับประทาน ผลปรากฏว่า มีรสชาติหวานและมีเนื้อละเอียดเนียน ที่สำคัญจัดเป็นสายพันธุ์มะม่วงที่เมล็ดลีบ เนื้อเยอะมาก ปัจจุบันเกษตรกรไต้หวันนำยอดมะม่วงพันธุ์ไข่มุกแดงไปเสียบฝากท้องต้นมะม่วงอ้ายเหวินกันมากขึ้น

มะม่วงไต้หวัน “พันธุ์อี้เหวิน เบอร์ 6” มีถิ่นกำเนิดที่ไต้หวัน และเป็นมะม่วงลูกผสมระหว่าง พันธุ์ “จินหวง” กับมะม่วงพันธุ์ “อ้ายเหวิน” มะม่วงลูกผสม “พันธุ์อี้เหวิน เบอร์ 6”

ต้นพันธุ์ที่ปลูกในสวนคุณลี ได้เริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลปรากฏว่าเป็นมะม่วงที่มีลักษณะเด่นและรสชาติดี คือ มีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 1-1.5 กิโลกรัม บริโภคได้ทั้งดิบและสุก ในระยะผลดิบหรือห่ามจะมีรสชาติหวานมัน (ไม่มีเปรี้ยวปน) ระยะผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวานหอม ไม่เละ ไม่มีเสี้ยน และไม่มีกลิ่นขี้ไต้ ที่สำคัญสีของผลมีสีม่วงดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็น จัดเป็นมะม่วงแปลกและหายาก ปลูกและให้ผลผลิตได้ในประเทศไทย

มะม่วงพันธุ์อี้เหวิน เบอร์ 6 เป็นมะม่วงอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ปลูกง่ายและเริ่มให้ผลผลิตเมื่อต้นมีอายุเฉลี่ยได้ 3-4 ปี จากการสังเกตพบว่า ออกดอกและติดผลดีทุกปี

พันธุ์ “จินหวง” และ พันธุ์ “อ้ายเหวิน”

ไต้หวัน ปลูกในเชิงพาณิชย์อยู่ 2 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ “จินหวง” และ พันธุ์ “อ้ายเหวิน” ซึ่งเป็นพันธุ์เดียวกับพันธุ์เออร์วิน ไต้หวันปลูกมะม่วงพันธุ์เออร์วินเพื่อการส่งออก คนไต้หวันเรียกมะม่วงพันธุ์ “เออร์วิน” ว่า “อ้ายเหวิน” และเป็นสายพันธุ์มะม่วงที่ไต้หวันมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ถูกใจคนญี่ปุ่น และส่งออกไปขายญี่ปุ่นมากที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมของทุกปี ผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือนกรกฎาคม

มะม่วงสายพันธุ์นี้จัดเป็นมะม่วงที่มีผลขนาดปานกลาง ความยาวของผลประมาณ 12 เซนติเมตร น้ำหนัก 300 กรัม ต่อผลโดยประมาณ รูปร่างค่อนข้างยาวรีหรือรูปไข่ ติดผลดกมาก ระยะผลดิบจะมีจุดปะสีแดงบริเวณไหล่และแก้มผล ผิวผลสุกมีสีแดงปะสีเลือดนก จัดเป็นมะม่วงรับประทานผลสุก เมื่อสุกเนื้อมีสีเหลืองทอง ไม่มีเสี้ยน กลิ่นไม่แรง รสชาติหวาน ความจริงแล้วมะม่วงพันธุ์เออร์วินนิยมบริโภคกันทั่วโลก

ในส่วนของมะม่วง พันธุ์ “จินหวง” นั้น ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า มะม่วงพันธุ์จินหวงเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไต้หวันและได้มีการนำพันธุ์มาปลูกในประเทศไทย ลักษณะทรงผลกลมยาว ก้นผลงอนและค่อนข้างแหลม ผลมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักผล ประมาณ 600-1,300 กรัม ต่อผล ประกอบด้วยเนื้อ ประมาณ 83% รับประทานได้ทั้งดิบและสุก เมื่อผลแก่จัดจะมีรสชาติมัน และเมื่อผลสุกสีของผลจะมีสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวานและได้ใช้ชื่อภาษาไทยว่า “พันธุ์นวลคำ”

ความจริงแล้วมะม่วงจินหวงที่ห่อผลด้วยถุงคาร์บอนชุนฟงจะทำให้สีผิวมีสีเหลืองสวยเหมือนกับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง และถ้าจะบริโภคให้มีรสชาติหวานอร่อยที่สุด ควรจะเก็บผลผลิตมะม่วงพันธุ์จินหวงที่ความแก่ประมาณ 80% ขึ้นไป

“เคนซิงตัน ไพรด์” มะม่วงที่ปลูกมากที่สุดในออสเตรเลีย พื้นที่ปลูกมะม่วงในประเทศออสเตรเลียเองจะมีการปลูกมะม่วงหลักๆ อยู่ 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ “เคนซิงตัน ไพรด์” (Kensington Pride) และพันธุ์ “อาร์ทูอีทู”

ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า คนออสเตรเลียนิยมบริโภคมะม่วงพันธุ์เคนซิงตัน ไพรด์ มากที่สุด ผลผลิตมะม่วงสายพันธุ์นี้มีผลผลิตเฉลี่ยประมาณปีละ 1.65 ล้านกิโลกรัม
มีผลผลิตในแต่ละปีมากกว่ามะม่วงอาร์ทูอีทูที่ปลูกในออสเตรเลียหลายเท่า

คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักมะม่วงสายพันธุ์นี้ ทั้งที่มะม่วงพันธุ์ “เคนซิงตัน ไพรด์” จัดเป็นมะม่วงที่มีเนื้อละเอียดและรสชาติหวานอร่อย มีกลิ่นหอมมาก ไม่มีกลิ่นขี้ไต้ และสามารถปลูกให้ผลผลิตดีในประเทศไทย มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 300-500 กรัม ต่อผล

ในอนาคตมะม่วงพันธุ์เคนซิงตัน ไพรด์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์มะม่วงที่ปลูกมากที่สุดในประเทศออสเตรเลีย จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการส่งออกมะม่วงไทย เพราะตอบสนองต่อการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลในการบังคับให้ออกนอกฤดูได้เป็นอย่างดี

ส่วนมะม่วง “อาร์ทูอีทู” นั้น เป็นมะม่วงที่มีขนาดผลใหญ่กว่าพันธุ์เคนชิงตัน ไพรด์ น้ำหนักผลเฉลี่ย 800-1,500 กรัม เมื่อสุกรสหวานรับประทานอร่อย ผิวผลเมื่อโดนแดดในช่วงผลเล็กสีผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง เป็นมะม่วงที่โตดีในบ้านเราและตอนนี้เป็นสายพันธุ์มะม่วงหลักที่สวนคุณลีปลูกเป็นเชิงการค้าเพื่อขายให้กับพ่อค้าส่งออก ราคาเฉลี่ย 50-100 บาท (ตามขนาดผลและสีผิว)

มะม่วงยักษ์ “อัลฟองโซ” มะม่วงสายพันธุ์ดีจากแม็กซิโก ขนาดผลใหญ่ 1.5-2 กิโลกรัม เป็นมะม่วงอีกสายพันธุ์หนึ่งที่โดดเด่นที่ขนาดผลใหญ่ สีผลสุกมีสีเหลืองสวย (ยิ่งห่อผลด้วยถุงห่อคาร์บอนชุนฟง สียิ่งสวยเป็นสีเหลืองทอง) รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ซึ่งทำให้รสชาติเข้มข้น ถูกปากคนไทย การออกดอกติดผลง่ายตามฤดูกาล และจากการทดลองบังคับโดยการราดสารฯ พบว่า ตอบสนองสารราดได้ดี

“มะม่วงแก้วขมิ้น” ขายกิโลกรัมละ 50 บาท มะม่วงแก้วขมิ้น ความจริงแล้วมะม่วงชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศกัมพูชา ช่วงที่มีการนำผลผลิตมาขายในบ้านเราใหม่ๆ เรียกมะม่วงแก้วเขมร

ปัจจุบัน นำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว มีความพิเศษคือ เป็นมะม่วงปลูกรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก ผลมีขนาดใหญ่กว่ามะม่วงแก้วของไทยอย่างชัดเจน เป็นมะม่วงติดผลดกได้ปีละ 2 ครั้ง เนื้อผลแก่จัดหรือสุกเมื่อผ่าจะเป็นสีเหลืองเข้มคล้ายสีของขมิ้น จึงถูกเรียกชื่อว่า “มะม่วงแก้วขมิ้น”

รสชาติช่วงผลดิบสับเป็นชิ้นๆ จิ้มเกลือพริกป่น หรือรับประทานกับน้ำปลาหวานกรอบมันปนเปรี้ยวและหวานเล็กน้อย ฉ่ำน้ำ เนื้อไม่แข็งหยาบกระด้างหรือเหนียวเหมือนมะม่วงรับประทานผลดิบบางสายพันธุ์

พ่อค้าขายผลไม้รถเข็นปัจจุบันนิยมเอา “มะม่วงแก้วขมิ้น” ปอกและเฉาะขาย ผลละ 30-50 บาท ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อรับประทานอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ส่วนใหญ่จะมีแหล่งปลูกเก็บผลส่งเข้าจำหน่ายที่ตลาดไทแบบต่อเนื่องไม่ขาดระยะ เพราะติดผลปีละ 2 ครั้งนั่นเอง

เมื่อผลสุก เนื้อสุก ไม่เละ รสชาติหวาน หอม ไม่มีเสี้ยน อร่อยมาก รสชาติหวานกว่ามะม่วงแก้วสุก แต่จะนิยมรับประทานผลดิบมากกว่าผลสุก ปลูกต้นเดียวมีผลให้ผู้ปลูกเก็บรับประทานได้ตลอด แถมเวลาติดผลจะเป็นพวง 3–5 ผล ต่อพวง โรงงานทำมะม่วงดอง เพื่อทำมะม่วงแช่อิ่ม มีเท่าไรรับหมด เพราะรสชาติและน้ำหนักดีเยี่ยม

สนใจต้นพันธุ์มะม่วงต่างประเทศสายพันธุ์แท้ ติดต่อได้ที่ สวนคุณลี จังหวัดพิจิตร โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398 ประเดิมปักษ์แรกของปี 2561 ด้วยการพาเที่ยวแบบธรรมชาติ เที่ยวแบบได้รับความรู้กลับมา ขึ้นกับผู้รับว่าจะนำไปต่อยอดใช้หรือเพื่อการสะสมความรู้ในตนเอง เป็นการเที่ยวชนิดที่ได้รับความสุข ความเพลิดเพลิน เสมือนการพักผ่อน แต่เป็นการลับสมองไปในตัว

ประเทศไทยเรา มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก เนื้อที่ทั้งหมดราว 513,115 ตารางกิโลเมตร พื้นที่มากขนาดนี้ หากมีปัจจัยพร้อมพอ เชื่อว่าไม่น่าจะมีท่านใดพลาดโอกาสในการเปิดโลกทรรศน์

ในยุคที่ความคล่องตัวในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว ค้นหาง่ายด้วยปลายนิ้วมือ ในบางครั้งอาจไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า ก็สามารถจัดการกับทริปการเดินทางอันแสนสุขได้ไม่ยาก แต่ถ้าจะให้ดี การเตรียมตัวสำหรับการเดินทางทุกครั้ง ย่อมดีอยู่แล้ว

ปักษ์พาเที่ยวปักษ์นี้ ไม่ได้เตลิดออกไปไกลเกินกว่าเนื้อหาในภาคเกษตรกรรมของเล่ม ผู้อ่านสามารถตัดสินได้ด้วยเนื้อหาต่อไปนี้

หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยตรงนั้นเห็นจะไม่มี จะมีข้องเกี่ยวบ้างก็อยู่ที่นโยบายของแต่ละกรม เท่าที่ทราบมีหลายหน่วยงานที่เจียดงบประมาณนำไปพัฒนาหน่วยงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ หรือแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อเติมไฟไม่ให้การพัฒนาพื้นที่เป็นการจัดการโดยสูญเปล่า อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

กรมวิชาการเกษตร ที่ดูเหมือนเป็นงานด้านวิชาการ งานนโยบาย งานยุทธศาสตร์ งานขับเคลื่อน งานวิจัย ก็ยังมี

ปี 43 จับมือพันธมิตร
เปิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรนำร่อง

โดยปกติ กรมวิชาการเกษตร มีหน่วยงานที่ทำงานด้านวิชาการ มีการพัฒนาและวิจัยพืช เพื่อนำผลงานวิจัยไปส่งต่อให้กับกรมอื่นในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้นำไปต่อยอด และนำไปเผยแพร่ให้กับเกษตรกรหรือผู้สนใจนำไปใช้ หน่วยงานเหล่านั้นตั้งกระจายไปทั่วประเทศ

และมีนักวิจัยที่มีความชำนาญเฉพาะด้านศึกษาวิจัยและพัฒนาพืชตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่นั้นๆ อาทิ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก, ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร, ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี หรือศูนย์ควบคุมยางสุราษฎร์ธานี เป็นต้น

ด้วยการพิจารณาความเหมาะสมของหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบ ปรับหรือเรียกได้ว่า เพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สถาบันวิจัยพืชสวน จึงเป็นหน่วยงานที่ได้รับเลือกให้เป็นแม่งานรับผิดชอบในการพิจารณาเลือกหน่วยงานในสังกัดของกรมวิชาการเกษตรด้วยกัน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

คุณสมบัติ ตงเต๊า ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร รับหน้าที่มาดูแลโดยตรง ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ ว่า ปี 2543 ยุคที่การท่องเที่ยวในประเทศกำลังขยายตัว กรมวิชาการเกษตรได้จับมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นพันธมิตรในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายใต้มาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.)

เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ และส่งเสริมการสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศระยะยาว ทำให้มีงบประมาณจากโครงการครั้งนั้นจำนวนหนึ่ง ดำเนินโครงการไทยเที่ยวไทยและท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเน้นไปที่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร และให้สถาบันวิจัยพืชสวนเป็นผู้พิจารณาเลือกหน่วยงานที่มีความเหมาะสมและมีความพร้อมในการพัฒนา ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า มีหน่วยงาน 9 แห่ง ที่มีความเหมาะสม

ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สมัคร GClub สถานที่ทดลองเกษตรที่สูงวาวี ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่จอนหลวง) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย (ภูเรือ) ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี

ในการปรับปรุงครั้งนั้น ทั้ง 9 แห่ง ได้จัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สถานที่จอดรถ ถนน ห้องน้ำ ห้องอาหาร ศาลาชมวิว หรือศาลาพักผ่อน รวมถึงที่พัก เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้าไปเยี่ยมชม

โดดเด่นงานวิจัย
ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร

ทำไมต้องเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของกรมวิชาการเกษตร คุณสมบัติ กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรมีจุดเด่น คือ งานวิจัยที่เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ ซึ่งเมื่อนักวิชาการทำงานวิจัย เก็บข้อมูล และได้ผลในเชิงวิจัยแล้ว การเผยแพร่งานวิจัยส่งต่อไปยังผู้สนใจหรือเกษตรกรมีช่องทางไม่มากนัก อาจอาศัยการจัดสัมมนาเชิงวิชาการในการเผยแพร่งานวิจัยไปยังนักวิชาการของกรมส่งเสริมการเกษตร

หรือในโอกาสที่กรมกองอื่นเชิญมา นอกจากนี้ แต่ละสถานที่ยังมีพื้นที่ทำแปลงวิจัยจริง มีความหลากหลายของพันธุ์พืชที่เจริญเติบโตได้ดีและมีเฉพาะถิ่น ซึ่งเปิดให้เข้าชมเพื่อศึกษาเรียนรู้จากของจริง ทั้งยังมีนักวิชาการให้ความรู้ไปพร้อมๆ กัน จึงเป็นโอกาสอันดีที่ได้เผยแพร่ให้กับนักท่องเที่ยวที่สนใจ เกษตรกรเข้าไปสัมผัสพันธุ์พืชของจริง และได้รับความรู้ในเชิงวิชาการ สามารถนำไปต่อยอดได้ ทำให้งานวิชาการหรืองานวิจัย ไม่เป็นเพียงงานวิจัยขึ้นหิ้งอีกต่อไป