จะมีพื้นที่ทั้งหมดโดยได้แบ่งพื้นที่การปลูกไว้อย่างเป็นสัดส่วน

คือจะมีทั้งพื้นที่สำหรับปลูกพุทรานมสด บ้านพัก รวมถึงบ่อหมักปุ๋ย เนื่องจากเราให้ความสำคัญในเรื่องการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และเน้นใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพเป็นหลัก ส่วนเหตุผลที่เลือกมาทำสวนที่วังน้ำเขียวนั้นเนื่องจากที่นี่มีสภาพพื้นที่และภูมิอากาศใกล้เคียงกับเชียงใหม่ คือไม่หนาวและไม่ร้อนจนเกินไป ทำให้เหมาะสำหรับการปลูกต้นพุทรา นอกจากนี้ ที่สวนยังได้แบ่งพื้นที่ทำแปลงทดลองปลูกพืชทางเลือกชนิดอื่นๆ เพื่อให้เกษตรกรและชาวบ้านในพื้นที่เข้ามาลองปลูกและศึกษาหาความรู้ได้อีกด้วย” คุณจ๊อบ บอก

ขั้นตอนการเตรียมดิน และการดูแลหลังลงปลูก

การปลูกและการดูแลต้นพุทรานั้น การเตรียมดินถือเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักสำหรับการเพาะปลูกเลยทีเดียว เพราะการเตรียมดินนั้นไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ช่วยเรื่องการถ่ายเทอากาศหรือทำลายวัชพืชและทำให้ดินร่วนซุยเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มอินทรีย์ที่มีประโยชน์และช่วยปรับปรุงดินให้มีคุณภาพอีกด้วย

“ต้นพุทรา เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย แต่พื้นที่ตรงนี้ดินจะมีลักษณะเป็นดินเหนียวปนกรวดเป็นหลัก ดังนั้น ช่วงระยะแรกในการปลูกจึงต้องมีการไถดิน แล้วขุดหลุม ใส่มูลวัว เพื่อเพิ่มแร่ธาตุก่อนจะนำแกลบหรือกาบมะพร้าวมาล้อมเอาไว้ หลังจากนั้น เว้นระยะไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ดินเซ็ตตัวก่อนจะผสมด้วยดินเดิมของพื้นที่และนำต้นกล้าที่เพาะเอาไว้ลงปลูกได้ตามปกติ” คุณจ๊อบ พูดถึงการเตรียมดิน

นอกจากการเตรียมดินแล้ว การให้น้ำและปุ๋ยก็ถือเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญ โดยที่สวนจะมีการให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดเป็นหลัก แต่สำหรับต้นใหญ่จะเปลี่ยนไปใช้การให้น้ำด้วยสปริงเกลอร์แทน ซึ่งจะให้น้ำวันเว้นวัน หรือ 2 วันครั้ง ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพุทราและสภาพอากาศในช่วงนั้นๆ ส่วนปุ๋ยที่ใช้จะเน้นเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ เนื่องจากกำลังศึกษาเรื่องการใช้ปุ๋ยทางเลือกแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อลดและแก้ปัญหาการทำลายดิน ทั้งยังไม่ทำให้เสียระบบนิเวศอีกด้วย

แต่งกิ่งให้สูง ไม่เกิน 2 เมตร ป้องกันกิ่งหัก-เก็บผลยาก

เนื่องจากลักษณะของต้นพุทราจะมีความสูงที่เหมือนพันธุ์ทั่วไป จึงต้องมีการทำค้าง โดยจะต้องทำเป็นทรงสี่เหลี่ยมและตัดแต่งกิ่งให้เป็นทรงพุ่ม มีความสูงไม่เกิน 2 เมตร การตัดแต่งกิ่งนอกจากจะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้แล้ว ยังช่วยให้ง่ายในการเก็บผลผลิตเพื่อส่งขายด้วย

“สำหรับปัญหาเรื่องแมลงและศัตรูพืช จะมีปัญหาแค่แมลงวันทองเท่านั้น ซึ่งจะมีการแก้ปัญหาด้วยการใช้ยาล่อแมลงวันทอง เป็นกับดักแมลง โดยจะแขวนเอาไว้ตามจุดต่างๆ บริเวณโดยรอบของไร่ แทนการใช้สารเคมี” เจ้าของบอก

ปลูกพุทรานมสด สร้างรายได้ ดังไกลถึงต่างประเทศ

ในส่วนของการเก็บผลผลิต จะมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว 5-6 เดือน เพราะพุทรานมสดจะเริ่มออกผลในช่วงเดือนสิงหาคม แต่จะออกอย่างเต็มที่ในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม ก่อนจะเบาบางลงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ โดยผลผลิตของไร่จุ่นจันทร์นั้นจะแบ่งตลาดออกเป็น 2 กลุ่ม คือการส่งขายภายในประเทศ และการส่งออกไปยังต่างประเทศ สำหรับการส่งขายในประเทศนั้นจะมีทั้งการส่งขายในบริเวณใกล้เคียงอย่าง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ รวมไปถึงภูเก็ต พัทยา และจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ด้วย ส่วนการส่งออกก็จะมีกลุ่มลูกค้าทั้งประเทศไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

“ราคาของผลผลิตต้องยอมรับว่าการขึ้นลงจะขึ้นอยู่กับราคาจากตลาดกลางเป็นหลัก ทำให้มีราคาที่ไม่แน่นอน แต่โดยปกติแล้ว พุทรานมสด จะสามารถขายส่งได้ในราคาประมาณกิโลกรัมละ 40-60 บาท แต่ในส่วนของราคาปลีกนั้น จะมีราคาสูง 80-120 บาท และนอกจากการส่งขายในบริเวณใกล้เคียงและส่งออกขายต่างประเทศแล้ว ที่สวนยังมีผลพุทรานมสดวางขายที่หน้าร้านด้วย โดยจะขายในราคาเพียงกิโลละ 80 บาท เท่านั้น” คุณจ๊อบ พูดถึงการขาย

นอกจาก พุทรานมสด ที่วางขายในราคาไม่แพงแล้ว ที่ไร่จุ่นจันทร์ยังมีผลไม้และสินค้าอื่นๆ ให้นักท่องเที่ยวเลือกสรรอีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลผลิตของทางไร่เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น มะละกอ น้ำผึ้ง ไวน์ผลไม้สด รวมถึงผลไม้อบแห้ง หรือสินค้าแปรรูปจากทางเชียงใหม่ และสำหรับผู้ที่สนใจหรือต้องการที่จะปลูกพุทรานมสด ทางสวนก็มีต้นกล้าขาย ในราคาต้นละ 200 บาท

ผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชม ซื้อผลผลิตหรือกิ่งพันธุ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ หน่อไม้ฝรั่ง เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกได้ดีในเมืองไทย เพราะหน่อไม้ฝรั่งเป็นพืช ที่ต้องการแสงแดดจัด อุณหภูมิกลางวัน 24-25 องศาเซลเซียส ส่วนกลางคืนไม่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 1,600 มิลลิเมตร ต่อปี ปัจจุบันมีแหล่งปลูกสำคัญอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ระยอง และนครราชสีมา

แหล่งผลิตที่เหมาะสมสำหรับผลิตหน่อไม้ฝรั่งคือ ไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง มีแหล่งน้ำสะอาดอย่างพอเพียงตลอดปี เป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน มีความอุดมสมบูรณ์สูงจนถึงปานกลาง ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 75 เซนติเมตร มีความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 6.0-7.5 หรือมีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างอย่างอ่อนๆ เกือบเป็นกลาง

การเตรียมดินปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ด้วยวิธีไถดะไถแปร และตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์ แล้วไถพรวนย่อยดินให้แตกละเอียด พร้อมหว่านปูนขาว อัตรา 100-150 กิโลกรัม ต่อไร่ พร้อมใส่ปุ๋ยคอกเก่าอัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ไถคลุกเคล้าลงในดินอย่างทั่วถึง

การเตรียมต้นกล้า

ปัจจุบันนิยมเพาะหน่อไม้ฝรั่งในถุงเพาะกล้าสีดำ ขนาด 4×6 นิ้ว ภายในถุงบรรจุวัสดุ ประกอบด้วย ขี้เถ้าแกลบ ดินร่วนที่สะอาด แกลบดิบ และปุ๋ยคอกเก่าอัตรา 1 : 2 : 1 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน อัดวัสดุดังกล่าวพอแน่นให้ปริมาณวัสดุอยู่ใต้ระดับของถุงเพาะชำประมาณ 4-5 เซนติเมตร นำเมล็ดที่แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากการทำลายของโรคและแมลงศัตรู หุ้มด้วยผ้าขาวบางสะอาด รดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่ม ลมพัดผ่านไม่แรง ควรระวังอย่าให้ถูกแสงแดด หากต้องการให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น แนะนำให้แช่เมล็ดลงในน้ำร้อนที่อุณหภูมิระหว่าง 50-55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ก่อนหุ้มด้วยผ้าขาวบาง ใช้เวลา 3-4 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกให้เปิดผ้าขาวบางออก นำเมล็ดเพาะลงในถุงเพาะชำพร้อมวัสดุที่เตรียมไว้ เปิดปากหลุมลึก 2-3 เซนติเมตร นำเมล็ดที่งอกแล้วกลบดินตื้นๆ รดน้ำพอชุ่ม แต่ระวังอย่าให้แฉะ วางถุงให้เป็นแถวเพื่อสะดวกในการเข้าไปจัดการในแปลง

การปลูกดูแล

ระยะแรกพรางแสงให้ต้นอ่อนบ้าง แต่เมื่อตั้งตัวได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องพรางแสง ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสังเกตเห็นว่าต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-8-12 อัตราหนึ่งส่วนสี่ช้อนโต๊ะ ต่อกล้า 1 ถุง โรยรอบโคนต้น ระวังอย่าให้ปุ๋ยเคมีสัมผัสโคนต้น เพราะจะทำให้ต้นหน่อไม้ฝรั่งเน่าตาย สาเหตุที่ตายเนื่องจากปุ๋ยเคมีมีความเข้มข้นมากกว่าน้ำในเซลล์พืช เมื่อเมล็ดปุ๋ยไปแตะหรือสัมผัสกับเซลล์พืช เมล็ดปุ๋ยจะดูดน้ำออกจากเซลล์พืชตลอดเวลา ทำให้ต้นพืชขาดน้ำ ต่อมาจะเกิดรอยแผลทำให้เชื้อโรคในดินเข้าไปทำลายเซลล์พืชซ้ำเติม ต้นไม้จะตายในที่สุด

หลังการใส่ปุ๋ย แนะนำให้รดน้ำตามทันที หมั่นรดน้ำและกำจัดวัชพืช ครบอายุ 3 เดือน นำปลูกลงในแปลงได้ การย้ายกล้าปลูก ใช้ระยะปลูก 50×150 เซนติเมตร ส่วนขนาดความยาวของแถวปลูกขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแปลงปลูก ตัดยอดต้นกล้าให้มีความสูง 15 เซนติเมตร เปิดหลุมลึก 15 เซนติเมตร ขนาดกว้างเท่ากับหรือใหญ่กว่าขนาดถุงเพาะกล้าเล็กน้อย รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่าอัตรา 2 กระป๋องนม และปุ๋ยสูตร 15-15-15 หนึ่งส่วนสี่ช้อนโต๊ะ กลบดินบางๆ แล้วฉีกถุงเพาะชำออก ระวังอย่าให้รากต้นกล้ากระทบกระเทือน วางลงหลุมกลบดินอัดพอแน่น รดน้ำพอชุ่ม จากนั้นหมั่นให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด

เมื่อต้นหน่อไม้ฝรั่งเริ่มตั้งตัวให้ทำราวป้องกันลมพัดต้นจนหักล้ม ด้วยวิธีปักลำไม้ไผ่หัวและท้ายแปลง ผูกเชือกขนาบต้นทั้งสองด้าน อายุครบ 1 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่ โรยข้างลำต้นพร้อมพูนดินรอบโคนต้น แล้วรดน้ำตาม ใส่ปุ๋ยอีก 3 ครั้ง ทุกเดือน ด้วยปุ๋ยชนิดและอัตราเดียวกับการใส่ครั้งแรก ระยะเก็บหน่อที่ได้คุณภาพ ควรเก็บเมื่อมีอายุ 10 เดือน นับตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอก ระยะนี้ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่ และต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกเก่า ปุ๋ยหมัก หรือเศษซากพืชอัตรา 1,500-2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ แบ่งใส่ปีละ 2 ครั้ง พร้อมกับพูนโคนยกระดับรอบแถว ย่างเข้าปีที่สองให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตราเท่ากับปีที่หนึ่ง และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 200 กิโลกรัม ต่อไร่ แบ่งใส่ 4 ครั้ง ทุกๆ 3 เดือน

การเก็บเกี่ยว

การเก็บหน่อ ให้ถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออกจากแปลงทิ้งไป ทอดระยะไว้อีก 20 วัน หน่อไม้เกิดขึ้นจะแข็งแรง อวบสมบูรณ์ คัดเลือกไว้กอละ 4-5 ต้น เท่านั้น เวลาที่เก็บหน่อที่ดีที่สุดคือในช่วง 06.00-09.00 น. โดยการถอนด้วยมือ ระวังอย่าให้หน่อช้ำ หน่อที่ได้อย่าให้ถูกน้ำ นำหน่อวางในตะกร้าเอียงทำมุม 45 องศา เมื่อเก็บหน่อได้ปริมาณพอเพียงแล้ว นำเก็บในร่มที่อากาศถ่ายเทได้ดี ระวังอย่าให้ส่วนปลายของหน่อเปียกแฉะ แล้วจึงนำมาคัดขนาดและตัดโคนหน่อให้เสมอกัน กำเป็นมัดห่อด้วยกระดาษแล้วผูกเชือก วางลงในตะกร้า ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำ คลุมหน่อไม้ฝรั่งไว้ จะเก็บได้นาน 2 ชั่วโมง ก่อนนำส่งขายตลาดต่อไป หน่อไม้ฝรั่งจะให้หน่อสูงสุดในปีที่ 3 จากนั้นให้รื้อแปลงปลูกใหม่ การปลูกหน่อไม้ฝรั่งซ้ำที่เดิมมักเกิดโรคระบาด ดังนั้น จึงแนะนำให้ปลูกพืชอื่นลงในแปลงทดแทนเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคและแมลงลง

ด้านตลาด

ตลาดต้องการหน่อไม้ฝรั่งที่มีขนาดมาตรฐาน พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ บร็อคอิมพรู๊ฟ บร็อคอิมพีเรียล อะพอลโล ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟแคลิฟอร์เนีย เบอร์ 500 และยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟแคลิฟอร์เนีย เบอร์ 157 มาตรฐานหน่อไม้ฝรั่งจัดมาตรฐานไว้ 2 เกรด คือ เกรดเอ หน่อต้องตรง ยอดแน่น ปราศจากโรคและแมลง หน่อต้องเขียวตลอด ในหนึ่งกิโลกรัมมีหน่อจำนวน 34-71 หน่อ และ เกรดบี ส่วนประกอบอื่นเหมือนกับเกรดเอ ยกเว้นขนาดของหน่อ 1 กิโลกรัม มี 100-154 หน่อ

ปัญหาโรคแมลง

“ โรคลำต้นไหม้ “ เป็นโรคระบาดสำคัญของหน่อไม้ฝรั่ง เกิดจากการทำลายของเชื้อรา อาการของโรค เกิดเป็นแผลยาวสีม่วงหรือน้ำตาลเป็นแนวเดียวกับลำต้น เมื่อการระบาดรุนแรงแผลจะเชื่อมต่อกัน ทำให้เป็นแผลไหม้ขายไม่ได้ราคา มักเกิดรุนแรงในช่วงที่มีฝนตกชุก

วิธีป้องกันและกำจัด เมื่อพบการระบาดระยะแรกให้ถอนต้นเป็นโรคและเผาหรือฝังทำลาย การระบาดที่รุนแรง ให้ฉีดพ่นด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ที่ลำต้นและใบ 2 ครั้ง เว้น 5-7 วัน และงดใช้สารดังกล่าวก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 2 สัปดาห์

“หนอนกระทู้หอม” เป็นแมลงศัตรูสำคัญของหน่อไม้ฝรั่ง หนอนกระทู้หอมเป็นตัวหนอนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ตัวเต็มวัยหลังจากผสมพันธุ์แล้ว ผีเสื้อเพศเมีย จะวางไข่เป็นกลุ่มสีขาวตามใบ ก้านใบและส่วนที่เป็นยอดอ่อน และจะฟักออกเป็นตัวภายใน 3-4 วัน แล้วเข้ากัดกินส่วนต่างๆ ของต้นหน่อไม้ฝรั่ง ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงจนเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ ต่อมาจะเข้าดักแด้อาศัยอยู่ในดิน วิธีป้องกันกำจัด แนะนำให้ไถพรวนและตากดินก่อนปลูกเพื่อทำลายดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน เมื่อพบกลุ่มไข่ของผีเสื้อให้จับทำลาย การระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสทูริงเยนซิส อัตรา 40-60 ซีซี ต่อน้ำหนึ่งปี๊บ เมื่อพบตัวหนอน 1 ต้น ต่อกอ 2 ครั้ง เว้นระยะ 5 วัน และต้องหยุดฉีดพ่น ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 วัน

โดยปกติแล้วภาคเกษตรกรรมไม่ได้ต่างจากภาคธุรกิจอื่นที่จำเป็นต้องยึดกลไกตลาดซึ่งประกอบด้วยผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้บริโภค แต่ในภาวการณ์ปัจจุบันถือว่าภาคเกษตรกรรมมีส่วนสำคัญเพราะเป็นแหล่งผลิตอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ทั้งโลก

ขณะเดียวกัน หากผลิตอาหารที่ไม่ปลอดภัยก็อาจนำไปสู่การบั่นทอนสุขภาพ พร้อมกับโรคภัยต่างๆ ตามมา ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงมีความพยายามที่จะใส่ใจต่อสุขภาพร่างกายด้วยการเริ่มต้นที่การบริโภคอาหาร แล้วหันมาใส่ใจแล้วเลือกซื้อกับแหล่งผลิตอาหารต้นทางที่มีความเชื่อถือได้เท่านั้น

แนวทางนี้จึงมีลักษณะสอดคล้องกับความคิดของคนกลุ่มหนึ่งที่ว่า “รู้จักเขา เรามีสุข” ด้วยระบบตลาดของการเกษตรในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีชื่อเรียกว่า “FARM•TO” (ฟาร์มโตะ)

คุณอาทิตย์ จันทร์นนทชัย หรือ คุณโต ผู้ดูแล FARM•TO ให้ข้อมูลว่า ฟาร์มโตะคือช่องทางการขายผลผลิตเกษตรรูปแบบใหม่ที่เชื่อมเกษตรกรและผู้บริโภคเข้าหากัน ผ่านวิธีการ “ร่วมเป็นเจ้าของผลผลิตการเกษตร” เพื่อให้ทั้งคู่ได้ช่วยเหลือและดูแลผลผลิตไปด้วยกัน โดยหากผู้บริโภคต้องการใกล้ชิดผลผลิตก็สามารถเดินทางมาเยี่ยมชมแล้วเช็กพิกัดพื้นที่การเพาะปลูกได้จากในระบบ กระทั่งเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะจัดส่งผลผลิตให้ผู้บริโภคตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนและบางชนิดสินค้าเกษตรจะมีการนัดรับผลผลิตบริเวณพื้นที่การเพาะปลูก

นอกจากนั้นแล้ว ฟาร์มโตะยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้ตั้งราคาขายผลผลิตด้วยตัวเองเพื่อแก้ปัญหาภาระหนี้สินและราคาผลผลิตตกต่ำ ทำให้เกษตรกรได้พัฒนาตัวเองและเรียนรู้ที่จะสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเองในอนาคต ส่วนผู้บริโภคก็จะได้ความมั่นใจในคุณภาพที่สดใหม่เพราะร่วมดูแลและเห็นการเจริญเติบโตไปจนถึงได้รับผลผลิต

ทั้งนี้ ฟาร์มโตะเชื่อว่าการรับรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเพาะปลูกให้แก่กันจะทำให้คุณค่าผลผลิตที่ได้รับเพิ่มสูงขึ้น เพราะไม่ใช่แค่รสชาติที่อร่อยสดใหม่ แต่มันคือมิตรภาพที่ส่งผ่านจากหัวใจของเกษตรกรถึงมือผู้บริโภค

คุณโต แจงว่า เมื่อเราร่วมเป็นเจ้าของผลผลิตไปพร้อมเกษตรกร เราก็จะได้เฝ้าดูผลผลิตเติบโตไปพร้อมคนปลูกตัวจริง เพราะเกษตรกรจะส่งภาพผลผลิตจากฟาร์มมาให้ดูอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับมีป้ายชื่อผู้จองปักไว้ หลังจากนั้น เมื่อผลผลิตค่อยๆ เจริญเติบโตงอกงาม ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยได้เห็นต้นข้าวเติบโตจนเป็นสีทอง หรือสตรอเบอรี่ตั้งแต่ลูกจิ๋วจนสุกเป็นสีแดงสดพร้อมกิน ก็จะได้เห็นไปพร้อมกับเกษตรกรผู้ปลูกผ่านระบบออนไลน์ชนิดเรียลไทม์ จึงช่วยให้ผลผลิตมีคุณค่าและน่าไว้วางใจเพิ่มขึ้นสำหรับผู้บริโภคด้วย

“การร่วมเป็นเจ้าของหมายถึง การที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อผลผลิตคุณภาพแบบล่วงหน้า แล้วร่วมเป็นเจ้าของผลผลิตไปพร้อมเกษตรกรตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยว วิธีนี้ช่วยลดภาระหนี้สินให้เกษตรกรเพราะเกษตรกรไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาลงทุน ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เพราะมุ่งให้เกษตรกรเป็นผู้คำนวณและกำหนดราคาผลผลิตตั้งต้นเอง จึงรู้ต้นทุนที่แท้จริงก่อนกำหนดราคาขายที่เป็นธรรม”

ทั้งนี้ การร่วมเป็นเจ้าของไม่ใช่เพียงแค่ได้เห็นการเติบโตของผลผลิตผ่านภาพที่เกษตรกรส่งมา แต่จะได้รู้อย่างละเอียดว่าสิ่งที่คุณสั่งจองมีแหล่งมาจากไหน ตลอดจนยังสามารถไปเยี่ยมชมผลผลิตได้ถึงสวนและฟาร์มของเกษตรกร วิธีนี้จะทำให้เราได้เห็นว่าพื้นที่ปลูกเป็นแบบไหน ได้เห็นผลผลิตของจริงตั้งแต่แรกปลูกจนเติบโต ทำให้รู้ที่มาที่ไปแล้วบริโภคได้อย่างมั่นใจ แถมยังเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคที่สั่งจองผลผลิตชนิดนั้นได้ร่วมกิจกรรม ตั้งแต่การร่วมลงมือปลูก การดูแลใส่ปุ๋ย หรือแม้แต่การเก็บผลผลิต แล้วอย่างนี้จึงถือว่ามีความพิเศษอย่างที่ไม่เหมือนใคร

โดยขั้นตอนง่ายๆ ในการร่วมเป็นเจ้าของผลผลิต จะเริ่มจากให้ท่านเลือกผลผลิตของเกษตรกร ที่ต้องการบริโภค แล้วชำระเงินตามขั้นตอนในระบบ จากนั้นเกษตรกรจะอัพเดตส่งภาพ ป้ายชื่อ และการเจริญเติบโตของผลผลิตในช่วงต่างๆ ส่งตรงถึงท่านทางระบบออนไลน์

ในกรณีที่ท่านมีเวลาว่างแล้วต้องการพบปะพูดคุยกับเกษตรกรรายนั้นก็สามารถเดินทางไปเยี่ยมชม และร่วมกิจกรรมการเพาะปลูก ตามตารางที่เกษตรกรนัดหมาย กระทั่งเมื่อถึงเวลาที่เก็บผลผลิต ผู้บริโภครอรับผลผลิตที่จัดส่งไปให้ถึงบ้าน และบางสินค้าเกษตรไปรับผลผลิต จากมือเกษตรกรที่ฟาร์ม

FARM•TO ทำมานานเกือบ 2 ปี มีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมกว่า 10 ราย มีประเภทผลผลิตมากกว่า 20 ชนิด ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 500 ราย ทั้งนี้ เกษตรกรแต่ละราย แต่ละประเภทต้องมีเกณฑ์กำหนดสำหรับการเข้าร่วมเป็นครอบครัวเดียวกับ FARM•TO ไม่ว่าจะพิจารณาจากคุณสมบัติส่วนตัว ลักษณะประเภทของเกษตรกรรมนั้นว่าได้รับการรับรองมาตรฐานอะไรมาบ้าง

สำหรับผลประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับคืออันดับแรกไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าเป็นสมาชิก เพียงแต่ต้องมีคุณสมบัติและผ่านเกณฑ์การพิจารณา จากนั้นทางทีมงานจะจัดทำแผนการตลาดให้ทุกอย่าง เมื่อได้รับเงินจากลูกค้าแล้วจะแบ่งให้เกษตรกรนำไปลงทุนก่อนจำนวนครึ่งหนึ่ง ของยอดเงินที่ลูกค้าสนใจจองเข้ามา จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องไปกู้เงินมาลงทุน เมื่อเก็บผลผลิตส่งขายแล้วจะจ่ายครึ่งที่เหลือให้เมื่อลูกค้าได้รับของแล้ว

คุณโต บอกว่า ผู้บริโภคที่รักสุขภาพรวมถึงชอบการเพาะปลูกจะเหมาะกับลักษณะของ FARM•TO มาก เพราะมีหลายคนชอบและอยากทำเกษตรแต่ขาดโอกาส โดยผู้บริโภคที่เป็นผู้จองสามารถติดต่อพูดคุยหรือแวะเวียนไปพบกับเกษตรกรได้ที่แหล่งผลิต สำหรับธุรกิจที่เห็นว่าเหมาะมากคือร้านอาหารเพราะตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงมาก ซึ่งจะได้ของดีมีคุณภาพและมีจำนวนที่ต้องการตลอดเวลา

“แนวทางนี้ถือเป็นมิติใหม่ของตลาดเกษตรเพื่อรองรับการเข้าสู่โหมดไทยแลนด์ 4.0 เพราะที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีใครที่สามารถซื้อสินค้าอินทรีย์แบบเข้าถึงตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยว ดังนั้น เป็นแนวทางที่ช่วยได้ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคให้ต่างได้สมหวังตามที่ต้องการ เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค” คุณโต กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดหรือเข้าไปดูกิจกรรมของ FARM•TO ได้ที่ FARMTO THAILAND COMPANY LIMITED เลขที่ 5/12 หมู่ที่ 8 ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี หน่อไม้ฝรั่ง เป็นพืชผักที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงชนิดหนึ่ง ประเทศไทยส่งออกทั้งแช่แข็งและบรรจุกระป๋อง ตามสถิติที่ผ่านมา มีพื้นที่เพาะปลูก 25,000 ไร่ ปริมาณการผลิต 37,685 ต้น ประเทศผู้นำเข้ามากที่สุดและลดหลั่นกันไปตามลำดับ ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา

ส่วนอาการของโรคที่คุณเล่ามา เรียกว่า โรคลำต้นไหม้ในหน่อไม้ฝรั่ง เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง การระบาดมักพบในฤดูฝนที่มีความชื้นในอากาศสูง สปอร์ของโรคสามารถปลิวไปในอากาศและไหลไปตามน้ำได้ มีความสามารถอาศัยอยู่ในซากได้ข้ามปี

วิธีป้องกันกำจัด ให้รักษาความสะอาดในแปลงปลูกอยู่เสมอ ต้องถอนต้นที่เป็นโรคออกมาเผาทำลายทิ้งไป ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม หากปลูกพืชหมุนเวียนในแปลงได้จะยิ่งดี

การใช้สารเคมี ให้เป็นตัวเลือกสุดท้ายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง ให้ฉีดพ่นด้วยคาร์เบนดาซิม 50 เปอร์เซ็นต์ เอสซี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ สลับกับคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ 80 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ห่างกัน 1 สัปดาห์ และต้องห้ามฉีดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 5-7 วัน ครับ

สวัสดีครับ แฟนพันธุ์แท้เทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับนี้จะได้นำท่านเข้าสู่พื้นที่เมืองหนองหารหลวง…จังหวัดสกลนคร ด้านอาชีพเกษตรกรรมมีหลากหลาย เนื่องมาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้เกิดผลผลิตการเกษตรมากมาย ผมจะขอพาท่านไปเที่ยวชมสวนมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรที่ทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายล้านบาท

คุณยอดชาย บุญรักษา เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน ของจังหวัดสกลนคร “แบบอย่างของเกษตรกร มีการพัฒนาสู่การเกษตรที่ทันสมัย ใส่ใจเทคโนโลยี พลิกปฐพีให้เป็นทอง” ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

จากเด็กหนุ่มที่สู้ชีวิต ในครอบครัวเกษตรกรมาตั้งแต่วัยเยาว์ อาชีพการเกษตรจึงอยู่ในสายเลือดของ คุณยอดชาย บุญรักษา เกษตรกรรุ่นใหม่ อายุ 42 ปี

ความคิดริเริ่มในการทำสวนมะม่วงเพื่อส่งออก

อดีตเดิมเคยทำสวนมะขามหวาน แต่เนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศไม่ดี ทำให้ผลผลิตของมะขามหวานเสียหาย และราคาตกต่ำ จึงคิดหาพืชอื่นมาปลูกทดแทน ปี 2540 ได้ศึกษาหาความรู้จากการไปอบรมการผลิตมะม่วงนอกฤดูกับบริษัทเอกชน และได้อ่านในเอกสารวิชาการทางราชการ ได้ตัดสินใจนำมะม่วงน้ำดอกไม้ทะวาย เบอร์ 4 มาปลูกทดแทนมะขามหวาน และจำหน่ายผลผลิตเอง ต่อมาในปี 2548 ได้พัฒนาการผลิตด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติ จนทำให้ผลผลิตออกมาเป็นที่พอใจ มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด และได้พัฒนาตนเองเป็นผู้ส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้ ในเขตพื้นที่อำเภอวาริชภูมิ ไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี

คุณยอดชาย มีพื้นที่ปลูกมะม่วงมากกว่า 30 ไร่ ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ทะวาย เบอร์ 4 และน้ำดอกไม้สีทอง ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ตามระบบมาตรฐาน GAP ให้กับบริษัทเอกชน ได้ผลผลิตปีละ 25-30 ตัน ปริมาณผลผลิตมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพ ดิน ฟ้า อากาศ ราคาจำหน่ายให้กับบริษัทคือ เกรดมาตรฐาน

– ผลผลิตมะม่วงนอกฤดู มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เบอร์ 4 กิโลกรัมละ 65 บาท

– ผลผลิตมะม่วงนอกฤดู มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง กิโลกรัมละ 70 บาท

– ผลผลิตมะม่วงในฤดู มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เบอร์ 4 กิโลกรัมละ 40 บาท ผลผลิตมะม่วงในฤดู มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง กิโลกรัมละ 45 บาท

– ในการผลิตมะม่วง ผลผลิต ร้อยละ 70 ขายให้กับบริษัทส่งออก ที่เหลือ ร้อยละ 30 จำหน่ายภายในประเทศ ราคาจำหน่ายน้ำดอกไม้สีทอง เบอร์ 4 กิโลกรัมละ 23 บาท น้ำดอกไม้สีทอง กิโลกรัมละ 25 บาท

กิจกรรมด้านการเกษตรอื่นๆ

ปี 2548 ปลูกยางพารา 65 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว

ปี 2557 ปลูกพุทราสามรส 3 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว ประวัติการฝึกอบรม/สัมมนา

ปี 2549 อบรมเกี่ยวกับการส่งออกเขตการค้าเสรี AFTA, NAFTA จังหวัดมหาสารคาม

ปี 2553 อบรม/สัมมนา ผู้ผลิตมะม่วงส่งออกให้บริษัทเอกชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ปี 2554 อบรมหลักสูตรเกษตรอาสา ของอำเภอวาริชภูมิ จนถึงปัจจุบัน แผนการดำเนินงานในอนาคต

– ได้รับการสนับสนุนกล่องบรรจุมะม่วง งบโครงการเกษตรจังหวัดสกลนคร

– ปลูกพืชแซม เพื่อเพิ่มรายได้ ขนาดที่มะม่วงยังไม่ให้ผลผลิต เช่น เผือกหอม กล้วยหอมทอง

– ใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงนอกฤดู เพื่อการส่งออก

– ใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วง ตามระบบ GAP

การบริหารจัดการ

– ลดความเสี่ยงด้วยการควบคุมคุณภาพ และสร้างมาตรฐานผลผลิตการเกษตร

เริ่มที่กระบวนการผลิต การปลูก การเสียบยอด การผลิตสารอินทรีย์ใช้เอง และลดการใช้สารเคมี
การจัดการผลผลิต เก็บด้วยมือ คัดขนาดใส่ตะกร้าที่มีวัสดุรองกันผลช้ำ
การจัดการด้านการตลาด
– บริษัทรับซื้อโดยตรง เพื่อส่งออกต่างประเทศ

– พ่อค้ามารับซื้อเข้าสู่ตลาดในประเทศ เช่น ตลาดไท

– ขายส่งให้พ่อค้าในท้องถิ่น

กิจกรรมช่วยเหลือชุมชน

– ร่วมงานประเพณี ทั้งให้เป็นเงินและผลผลิตมะม่วงสุก เช่น ทำข้าวเหนียวมะม่วง แจกในงาน

– สมทบทุนสร้างถาวรวัตถุ สาธารณะต่างๆ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

– ใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่เผาเศษไม้ หญ้า ในพื้นที่เกษตร

– ทำปุ๋ยหมักใช้เอง จากเศษกิ่งไม้ ใบไม้ หญ้า ลดการใช้ปุ๋ยเคมี

– ผลิตน้ำหมักชีวภาพ จากผลผลิตการเกษตรที่คัดออกภายในสวนเพื่อลดต้นทุนการผลิต แผนการเพิ่มผลผลิตในอนาคต

-คุณยอดชาย บุญรักษา สมัครเว็บแทงบอล ได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ โดยการนำเอาศักยภาพของพื้นที่มาดัดแปลง เช่น ปลูกพืชที่พึ่งพาอาศัยกันได้ เช่น นำผักหวานมาปลูกในสวนมะม่วง จะได้มีผักหวานขายในช่วงที่มะม่วงยังไม่ให้ผลผลิต ปลูกเผือก ปลูกกล้วยหอม การทำปุ๋ยน้ำหมัก และทำเชื้อราฆ่าเชื้อโรค และสารชีวภัณฑ์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

จากการส่งผลงานเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน ในปี 2560 ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด และระดับเขต

นี่เป็นส่วนหนึ่งที่นำมาเสนอ หากท่านใดสนใจที่จะเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ก็สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร…แล้วพบกันฉบับหน้านะครับ… ยอดชาย บุญรักษา คนสกลนคร ผลิตมะม่วงส่งออก ใส่ใจเทคโนโลยี พลิกปฐพีให้เป็นทอง ตามไปดู โครงการ 9101 กับผู้นำชุมชนคนรุ่นใหม่ พัฒนาอาชีพให้ชุมชน เห็ดเด่นมากๆ

สวัสดีค่ะ หลายท่านอาจจะเคยได้ยิน “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน” กันมาแล้ว ซึ่งโครงการนี้มีความหมายคือ 9 หมายถึง รัชกาลที่ 9 และ 10 หมายถึง รัชกาลที่ 10 คือในหลวงรัชกาลปัจจุบัน และ 1 คือ ปีที่ 1 ในรัชกาลปัจจุบัน