จะเห็นได้ว่าปุ๋ยชีวภาพ จะช่วยปรับปรุงดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของพืช ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีที่ส่งผลต่อคุณภาพดินและสภาพแวดล้อม ลดภาวะมลพิษที่ มาจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถผลิตใช้เองในครัวเรือน และชุมชน

ผศ.สมบูรณ์ ประสงค์จันทร์หลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สภาพธรรมชาติ ดินในภาคกลางของประเทศไทยเป็นดินเหนียว ธาตุโพแทสเซียม (K) พอเพียงกับความต้องการของต้นข้าว ดังนั้น กรมการข้าว จึงแนะนำให้ใช้ปุ๋ย สูตร 16-20-0 (N-P-K) ถ้าใส่ธาตุโพแทสเซียม (K) ลงไปด้วยจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ ส่วนดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายถึงดินทราย ดินประเภทนี้จะขาดธาตุโพแทสเซียม (K) ดังนั้น คำแนะนำของกรมการข้าว ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-8 จึงจะได้ผลผลิตดี อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้บ้าง เช่น ฟางข้าว เศษไม้ใบหญ้า หรือปุ๋ยมูลสัตว์ เพื่อช่วยให้ดินร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดินในนาอีกทางหนึ่ง

มารู้จักกับปุ๋ยกันอีกสักนิด ปุ๋ยเคมีที่มีขายทั่วไป เช่น สูตร 15-15-15 เกษตรกรนิยมเรียกว่า ปุ๋ยสิ้นคิดความจริงแล้ว ปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ทั้งนี้ ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) นำขึ้นมาจากใต้พิภพ ส่วนปุ๋ยยูเรีย (N) มีโครงสร้างเหมือนกับน้ำปัสสาวะของมนุษย์ทุกประการ ปุ๋ยยูเรียได้จากผลพลอยได้ของกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

ทั้งนี้ ธาตุไนโตรเจน (N) ทำให้ใบเขียว ต้นเติบโตขึ้น ธาตุฟอสฟอรัส (P) บำรุงรากและเร่งการออกดอก ส่วนธาตุโพแทสเซียม (K) เร่งกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลไปยัง ผล ต้น หรือ หัว ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช เพิ่มเติมปุ๋ย สูตร 15-15-15 หมายถึง ปุ๋ยน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ต้นไม้นำธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ไปใช้ประโยชน์ได้ (15+15+15) 45 กิโลกรัม ส่วนเกินอีก (100-45) 55 กิโลกรัม เรียกว่า สารตัวเติม

มะละกอ สามารถบริโภคได้ทั้งดิบและสุด โดยเฉพาะการบริโภคมาะกอดิบมีปริมาณมากถึง 80,000 ตัน ต่อปี มากกว่าการบริโภคแบบสุก ซึ่งมีปริมาณ 50,000 ตัน ต่อปี สำหรับมะละกอสุกมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมแปรรูปหลายชนิด เช่น บรรจุกระป๋องทำฟรุตสลัดแช่อิ่ม อบแห้ง เป็นต้น โดยผลผลิตมะละกอมากกว่าร้อยละ 90 ใช้บริโภคภายในประเทศ

ความต้องการบริโภค
มะละกอเพื่อการบริโภคสุกส่วนใหญ่ผู้บริโภคมีความต้องการมะละกอที่มีรสชาติหวาน เนื้อไม่เละ เนื้อสีแดงได้รับความนิยมกว่าเนื้อสีเหลือง สำหรับขนาดผลนั้น มีตั้งแต่ 1 กิโลกรัมขึ้นไป เช่น พันธุ์แขกดำ พันธุ์เรดเลดี้ พันธุ์ฮอลแลนด์ เป็นต้น ส่วนพันธุ์ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1 กิโลกรัม เช่น พันธุ์ขอนแก่น 80 และพันธุ์ฮาวาย เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกเพื่อส่งตลาดต่างประเทศและตลาดเฉพาะ

สำหรับมะละกอเพื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นพันธุ์ที่ใช้สำหรับการบริโภคสุก มีความต้องการเนื้อสีแดงและสีเหลือง น้ำหนักผลมากกว่า 0.8 กิโลกรัมขึ้นไป มีความหนาเนื้อ 2 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งพันธุ์มะละกอบริโภคสุกและจำหน่ายในตลาดมีเพียงไม่กี่พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์แขกดำ และพันธุ์ปลักไม้ลาย ดังนั้น การพัฒนามะละกอพันธุ์ใหม่สำหรับการบริโภคผลดิบและผลสุก รวมทั้งการเพิ่มลักษณะอื่นๆ เช่น ความต้านทานโรคจุดวงแหวน จะเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอต่อไป

ในปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์มะละกอในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งจากวิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน การคัดเลือกพันธุ์โดยเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอ และการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการถ่ายยีนให้แก่ต้นพืช พันธุ์มะละกอที่นิยมมากในปัจจุบัน คือ กลุ่มโซโล ได้แก่ พันธุ์ ‘Sunrise’, ‘Kapoho’ และ ‘Waimanalo’ เป็นต้น เนื่องจากผลที่มีขนาดเล็กเหมาะสมบริโภคเพียงคนเดียว มะละกอในกลุ่มนี้จะมีค่า TSS 13-16 เปอร์เซ็นต์ และเป็นมะละกอที่มีความสำคัญต่อการส่งออกมาก

นอกจากมะละกอผลเล็กแล้ว ยังมีมะละกออีกกลุ่มซึ่งมีผลขนาดใหญ่ นิยมบริโภคในตลาดท้องถิ่น เนื่องจากผลมีขนาดใหญ่จึงไม่เหมาะในการส่งออก ซึ่งพบพันธุ์เหล่านี้ในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ ‘Batu Arang’, ‘Subang 6’, ‘ Sitawan’ ของมาเลเซีย ‘แขกดำ’, ‘แขกนวล’, ‘โกโก้’ และ ‘สายน้ำผึ้ง’ ของไทย ‘Cavite Special’ ของฟิลิปปินส์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์มะละกอผลใหญ่ที่เป็นที่นิยมในส่วนต่างๆ ของโลก เช่น ‘Coorg Honey dew’, ‘Maradol’, ‘Red Lady#786’, ‘Tainung’ เป็นต้น โดยพันธุ์เหล่านี้มักจะมีรูปร่างผลทรงกระบอกหรือรูปยาวรี มีน้ำหนักผล 1-6 กิโลกรัม พันธุ์ ‘แขกดำ’ เป็นพันธุ์ที่นิยมมากในประเทศไทย เนื้อผลสุกสีแดง ผลขนาด 1.2 กิโลกรัม และค่า TSS 10.6 เปอร์เซ็นต์ สำหรับพันธุ์ ‘Honey dew’ ปรับปรุงพันธุ์โดย Indian Institute of Horticultural Research รูปร่างผลยาว น้ำหนัก 2-3.5 กิโลกรัม เนื้อสุกสีเหลือง ช่องว่างผลมาก

การปรับปรุงพันธุ์
กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับปรุงพันธุ์มะละกอที่เหมาะสำหรับบริโภคสดและการแปรรูป คือ พันธุ์แขกดำศรีสะเกษ เนื้อสีแดง พันธุ์แขกดำท่าพระ เนื้อสีเหลือง และพันธุ์ขอนแก่น 80 ซึ่งเป็นมะละกอผลเล็ก เหมาะสำหรับบริโภคสุก ซึ่งปลูกเป็นการค้าอย่างแพร่หลายในหลายพื้นที่ของประเทศ

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ที่จะคัดเลือก มะละกอพันธุ์ที่จะคัดเลือกมะละกอพันธุ์แท้มาจากมะละกอลูกผสม ให้ผลผลิตสูงกกว่าพันธุ์แขกดำศรีสะเกษอย่างน้อยร้อยละ 10 คุณภาพดี เหมาะสำหรับการบริโภคสดและแปรรูป จึงได้มีการรวบรวมสายพันธุ์มะละกอจากแหล่งปลูกสายพันธุ์จากแหล่งปลูกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2530 จำนวน 33 สายพันธุ์ ปลูกคัดเลือกและผสมตัวเองจนกระทั่งเป็นสายพันธุ์แท้ หลังจากนั้นได้ผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์แท้เหล่านี้ สร้างลูกผสมลูกที่ 1 (F1) ได้จำนวน 11 คู่ผสม และปลูกคัดเลือกลูกผสมในศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ในระหว่างปี 2543-2548

หลังจากนั้น ได้ปลูกรุ่นที่ 2 (F2) คัดเลือกลูกผสมที่มีลักษณะดี จำนวน20 สายพันธุ์ ผสมตัวเองเพื่อให้ได้มะละกอสายพันธุ์แท้ จนกระทั่งถึงรุ่นที่ 5 (F5) สามารถคัดเลือกได้มะละกอสายพันธุ์ดี จำนวน 8 สายพันธุ์ จึงได้นำมะละกอสายพันธุ์แท้เหล่านี้ปลูกเปรียบเทียบเพื่อทดสอบศักยภาพของสายพันธุ์ในด้านการเติบโต ผลผลิตและคุณภาพใน 3 สายพันธุ์ แหล่งปลูก ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี

พบว่า มะละกอพันธุ์ VR05 ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ปากช่องกับแขกดำ มีจากเจริญเติบโตดีและผลผลิตสูงกว่าพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 30.8 กิโลกรัม ต่อต้น ในขณะที่พันธุ์แขกดำศรีสะเกษมให้ผลเฉลี่ย 27.5 กิโลกรัม ต่อต้น โดยแต่ละพันธุ์ VR05 มีลักษณะดังนี้ น้ำหนักผล 1.8 กิโลกรัม เนื้อสีส้มแดง ความหนาเนื้อ 3.34 เซนติเมตร ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) 10.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมะละกอสายพันธุ์ VR05 นี้ เป็นมะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสำหรับบริโภคผลสดและแปรรูป

สถาบันวิจับพืชสวนได้นำข้อมูลการคัดเลือกพันธุ์เสนอคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร และคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อปี พ.ศ. 2562 โดยให้ชื่อว่า มะละกอพันธุ์ศรีสะเกษ 1

ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์
การผสมพันธุ์ ดำเนินการในปี พ.ศ. 2543-2548 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างมะละกอพันธุ์ต่างๆ ได้มะละกอลูกผสม จำนวน 11 คู่ผสม นำเมล็ดมาเพาะและปลูกคัดเลือกรุ่นที่ 1 (F1) ในศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ เก็บเมล็ดในรุ่นที่ 2 (F2)

คัดเลือกพันธุ์ลูกผสม ดำเนินการในปี พ.ศ. 2550-2555 ปลูกคัดเลือกมะละกอ รุ่นที่ 2 ใช้ระยะ 2×2.5 เมตร โดยปลูกเป็นแถวเดียว บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูง เส้นผ่านศูนย์กลาง ทรงพุ่ม และเส้นรอบวงโคนต้น บันทึกข้อมูลผลผลิตและคุณภาพของผลมะละกอ ได้แก่ สีเนื้อ น้ำหนักผล จำนวนผลต่อต้น น้ำหนักผลต่อต้น เปอร์เซ็นต์ช่องว่าง ค่า TSS หรือความหวาน ความหนาของเนื้อ และข้อมูลอื่นๆ เช่น การเข้าทำลายของโรคแมลง คัดเลือกต้นที่มีลักษณะดี ผลผลิตสูง จำนวน 20 สายพันธุ์ เก็บเมล็ดพันธุ์แยกต้น และนำมาปลูกแบบต้นต่อแถว จนกระทั่งถึง รุ่นที่ 5 (F5) โดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์ ดังนี้

1.รูปร่างผลเรียวยาวหรือรูปทรงกระบอก

2.ความหนาเนื้อมากกว่า 2.5 เซนติเมตร

3.ช่องว่างภายในผลแคบน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร

4.เนื้อสุกสีเข้ม เช่น แดง ส้มแดง

5.รสชาติหวาน มีค่า TSS (ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้) มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์

สามารถคัดเลือกได้มะละกอสายพันธุ์ดี ในปี พ.ศ. 2555 จำนวน 8 สายพันธุ์

ทดสอบปพันธุ์ในแหล่งปลูกต่างๆ ดำเนินการในปี พ.ศ. 2557-2558 ทดสอบพันธุ์ที่คัดเลือกได้ในพื้นที่ต่างๆ 3 แห่ง ได้แก่ แปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 9 กรรมวิธี กรรมวิธีประกอบด้วยมะละกอที่คัดเลือกไว้ในปี พ.ศ. 2555 จำนวน 8 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบ 1 พันธุ์ คือ แขกดำศรีสะเกษ ใช้ระยะปลูก 2×2.5 เมตร บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพการผลิต

จากการปลูกทดสอบทั้ง 3 แหล่ง พบว่า มะละกอสายพันธุ์ VR05 ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นสูง โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 2 ปี เท่ากับ 30.8 กิโลกรัม ต่อต้น สูงกว่าพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ผลผลิต 2 ปี เท่ากับ 27.5 กิโลกรัม ต่อต้น หรือสูงกว่าร้อยละ 12 ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ย 1.8 กิโลกรัม รสชาติหวาน เหมาะให้เกษตรกรปลูกสำหรับบริโภคสุกและส่งตลาดในประเทศ เนื้อหนาเฉลี่ย 3.34 เซนติเมตร เหมาะจะใช้แปรรูปในโรงงานผลไม้กระป๋อง

ลักษณะประจำพันธุ์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : การเจริญเติบโตเป็นต้นเดี่ยว ความสูงต้นเมื่อผลแรกสุก 135.5 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่ม 152 เซนติเมตร ความยาวแผ่นใบ 73.0 เซนติเมตร ความกว้างแผ่นใบ 75.0 เซนติเมตร ดอกสีขาวครีม มีกลีบดอก 5 กลีบ ทรงผลรูปแท่ง ผิวผลเมื่อสุกสีส้มเหลือง เนื้อสุกสีส้มแดง

ลักษณะทางการเกษตร : ดอกแรกบานหลังปลูกเฉลี่ย 122 วัน อายุเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 153 วัน น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.8 กิโลกรัม ความยาวผลเฉลี่ย 32.9 เซนติเมตร ความกว้างผลเฉลี่ย 11.4 เซนติเมตร ความหนาเนื้อเฉลี่ย 3.34 เซนติเมตร ความหวาน หรือ TSS 10.4 เปอร์เซ็นต์ จำนวนผลต่อต้น เฉลี่ย 17.3 และผลผลิตเฉลี่ย 30.8 กิโลกรัม ต่อต้น

ลักษณะเด่น : ให้ผลผลิตสูง 30.8 กิโลกรัม ต่อต้น สูงกว่าพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบร้อยละ 12 ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผล 1.8 กิโลกรัม เนื้อหนา 3.34 เซนติเมตร เหมาะสำหรับบริโภคสดและแปรรูป

พื้นที่ปลูกที่เหมาะสม : ปลูกได้ดีในพื้นที่ทั่วไปที่มีการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะดินร่วนปนทราย ไม่เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ลุ่มต่ำ ดินระบายน้ำไม่ดี

(คณะศูนย์วิจัยประกอบด้วย : นางสาวรัชนี ศิริยาน, นายธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, นางสาวสุภาวดี สมภาค และ นางสาวณัฐนดา โสพิลา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี/นายสุพัฒธณกิจ โพธิ์สว่าง ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่/นายเพียงพนธ์ วานิช ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชศรีมา/นายอุดม คำชา, นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ, นายอุทัย นพคุณวงศ์, นางวิไล ปราสาทศรี, นายประเสริฐ อนุพันธ์ และนายสกล พรมพันธ์ ข้าราชการบำนาญ)

ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มะม่วงในหลายพื้นที่เริ่มออกดอกและติดผลอ่อนแล้ว โดยเฉพาะมะม่วงการค้าของไทย อย่าง มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งหลังจากนี้ไปก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการห่อผลมะม่วงด้วยถุงห่อคาร์บอน เพื่อทำให้มะม่วงน้ำดอกไม้มีผิวสวยและป้องกันแมลงวันทองได้ หลังจากที่ติดผลเท่าขนาดไข่ไก่ เกษตรกรก็จะต้องวางแผนเตรียมห่อผลให้กับมะม่วง ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญช่วงเวลาหนึ่งที่ต้องใช้ความละเอียดในการห่อผลเพื่อให้ผลมะม่วงมีผิวที่สวย จึงขอยกตัวอย่างการห่อมะม่วงของมะม่วงน้ำดอกไม้ (ซึ่งมะม่วงสายพันธุ์อื่นก็ใช้วิธีการห่อแบบเดียวกัน)

มะม่วงน้ำดอกไม้ จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ “มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4” และ “น้ำดอกไม้สีทอง” โดยทั่วไปแล้วราคาน้ำดอกไม้สีทองจะสูงกว่าน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 ซึ่งความแตกต่างก็จะเป็นที่สีเปลือก น้ำดอกไม้เบอร์ 4 จะมีสีผิวเขียวเข้มมากกว่าส่วนน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งน้ำดอกไม้สีทองผิวเปลือกจะออกสีเหลืองมากกว่า และเมื่อสุกสีจะแตกต่างชัดเจน (กรณีไม่ห่อผล) โดยมะม่วงน้ำดอกไม้ทั้งหมดจะห่อผลด้วยถุงห่อคาร์บอนทั้งหมด เพื่อให้ผิวมีสีเหลืองสวยทั้งหมดเป็นที่ต้องการของตลาดและป้องกันแมลงวันทองทำลาย

ส่วนรสชาติน้ำดอกไม้เบอร์ 4 รสชาติจะหวานฉ่ำกว่า และเนื้อนิ่มกว่า ส่วนน้ำดอกไม้สีทองจะออกหวาน แต่ไม่หวานจัดเท่าน้ำดอกไม้เบอร์ 4 และเนื้อจะแข็งกว่า ในเรื่องความนิยม เบอร์ 4 นั้น จะได้รับความนิยมมากในผู้ที่รับประทานกับข้าวเหนียวมูนจะเข้ากันมาก เพราะรสชาติที่หวานจัด ส่วนน้ำดอกไม้สีทองนั้น ความนิยมก็ไม่ได้แพ้กัน เนื่องจากผิวที่เหลืองสวยงามกว่าเนื้อมะม่วงค่อนข้างทนต่อสภาพอากาศ เก็บไว้ได้นานกว่า แม้รสชาติจะเป็นรองเบอร์ 4 แต่ก็เป็นที่นิยมส่งออกไปยังต่างประเทศ เพราะผิวสวย แล้วยังเก็บรักษาได้นาน เนื้อแข็งกว่าเบอร์ 4 นั่นเอง

ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ ต้องห่อผล

ทุกวันนี้ถ้าเราปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำดอกไม้สีทอง หรือน้ำดอกไม้เบอร์ 4 เพื่อการส่งออก หรือขายในประเทศ ก็ต้องห่อผลให้ผิวมะม่วงมีสีสวย หรือยกตัวอย่างตลาดในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นตลาดไท, ตลาดสี่มุมเมือง ถ้ามะม่วงของเราไม่ห่อผลเขาก็จะไม่รับซื้อ หรือซื้อก็จะถูกตีราคาถูกเป็นมะม่วงยำ แล้วบางสวนห่อผลมะม่วงโดยใช้ถุงคาร์บอน ไม่มีความรู้ในการห่อผล ขาดประสบการณ์ คิดเอาเองว่ามันต้องเป็นอย่างไร บางสวนห่อมะม่วงไปนับหมื่นถุง แต่พอถึงเวลาเก็บเกี่ยว แกะถุงคาร์บอนออกมากลับพบว่า มะม่วงที่ห่อไว้มีแต่เพลี้ยแป้งเต็มไปหมดก็มี

“สวนคุณลี” จังหวัดพิจิตร จึงมีข้อแนะนำดีๆ มาปฏิบัติ พบว่าแก้ไขปัญหาเพลี้ยแป้งนั้นไม่ยากเลยสักนิด “เพลี้ยแป้ง” เป็นแมลงประเภทปากดูด เช่นเดียวกับเพลี้ยหอย แต่มีรูปร่างที่พิเศษเฉพาะตัว สังเกตได้ง่าย คือ มีผงแป้งหรือเส้นใยละเอียดเหมือนปุยฝ้าย ปกคลุมลำตัวให้เห็นเป็นสีขาวเด่นชัด การป้องกันและกำจัด เพียงแต่เราต้องรู้จักการใช้สารเคมี คือใช้ยากลุ่ม “มาลาไธออน” ฉีดสลับกับ “อิมิดาโคลพริด” หรือสาร “สารบูโปรเฟซิน” การใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้ง เพื่อควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ควรมุ่งไปในทางป้องกัน และบริหารจัดการปริมาณของเพลี้ยก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับพืช เพราะเหตุว่า ถ้าปล่อยให้เพลี้ยแป้งมีปริมาณมากแล้ว จะควบคุมได้ยากที่สุด เพลี้ยแป้งสามารถหลบซ่อนตามส่วนต่างๆ ของต้นพืช อีกทั้งเกราะ หรือแป้งบนตัว ช่วยป้องกันสารเคมีให้เพลี้ยรอดตายได้

แต่อย่างไรก็ตาม การหมั่นตรวจพืชอย่างละเอียดและการรู้จักเลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพ ใช้ให้ถูกที่ ถูกเวลา ก็สามารถลดความเสียหายจากการทำลายของเพลี้ยแป้งลงได้มาก เพื่อให้การควบคุมปริมาณเพลี้ยได้ผลลดลงได้รวดเร็ว ก็อาจมีความจำเป็นต้องฉีดพ่นสารเคมีติดต่อกันทุกๆ สัปดาห์ โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ที่พบเพลี้ยแป้งบนต้นพืช เพราะจะควบคุมตัวอ่อนที่เรียกว่า “ตัวคลาน” ไม่ให้เพิ่มปริมาณและเติบโตเป็นตัวเต็มวัยที่จะไปวางไข่รุ่นต่อไป ระหว่างการฉีดพ่น อาจมีการสลับสารเคมีที่ต่างกลุ่มกัน เพื่อป้องกันการ “ดื้อยา” สารเคมีที่มีประสิทธิภาพดี กับการกำจัดเพลี้ยแป้ง คือ สารกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตแมลง เช่น สารบูโปรเฟซิน เป็นสารระงับการลอกคราบของแมลงออกฤทธิ์ได้ทั้ง ถูกตัวตายและกินตาย เหมาะกับช่วงที่มีปริมาณ “ตัวคลาน” เยอะ หรือตอนต้นฤดูปลูก

และข้อดีของสารเคมีกลุ่มนี้ สมัครแทงบอลออนไลน์ จะออกฤทธิ์ต่อตัวอ่อนของแมลงเท่านั้น จึงไม่มีพิษต่อตัวห้ำ ตัวเบียน ในธรรมชาติ สารกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ เป็นสารประเภทดูดซึม เช่น อิมิดาโคลพริด เป็นสารเคมีที่มีพิษต่อระบบประสาทของแมลง จึงเป็นสารที่ต่างกลุ่มการออกฤทธิ์กับสารระงับการลอกคราบ

ในช่วงที่เราฉีดพ่นมะม่วงระยะสะสมอาหาร (ยังไม่ออกดอก) ก็จะเริ่มมีการใช้ยากลุ่มนี้คุมไปตลอด จะเป็นการกำจัดและป้องกันเพลี้ยแป้งไว้แต่ต้น ซึ่งพบว่าเพลี้ยแป้งจะบางเบาจนเกือบจะไม่มีเลยทีเดียว เหมือนการตัดวงจรการระบาดออกไปแต่แรก แต่การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งให้ได้ผลดีที่สุด ก็ต้องย้อนไปกำจัดจุดเริ่มต้นของเพลี้ยแป้งคือ กำจัด “มด” โดยเฉพาะมดดำ ที่มันจะคาบเอาเพลี้ยแป้งที่มันอาศัยอยู่บริเวณใต้ใบหญ้า ใต้โคนต้นมะม่วง ขึ้นไปบนต้นมะม่วงเพื่ออาศัยกินสิ่งขับถ่ายของเพลี้ยแป้ง จึงทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยแป้งในมะม่วงนั้นเอง

ดังนั้น ชาวสวนต้องเริ่มที่กำจัดมดให้ได้เสียก่อน ก่อนที่มดจะคาบเพลี้ยแป้งขึ้นต้นมะม่วง ตัวยาที่ฉีดได้ผลดีมาก คือ ยากลุ่ม “คาร์บาริล” (เช่น S-85, เซฟวิน 85) ฉีดทั้งต้นมะม่วงและบริเวณดินโคนต้นมะม่วง เมื่อมดหมดไปเพลี้ยแป้งก็น้อยมาก ทำให้เราฉีดยากลุ่มมาลาไธออนและเมโทมิลน้อยลง ทำให้แทบจะไม่เจอปัญหาเพลี้ยแป้งอีกเลย

ก่อนห่อทุกครั้ง ต้องฉีดพ่นล้างโรค-แมลงเสียก่อน

ด้วยการพ่นสารเอ็นทรัส หรือ ฟลิ้นท์+แอนทราโคล เพื่อป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนส และต้องพ่นสารมาลาไธออน (เช่น แซดมาร์ค) อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง เพราะหากไม่ฉีดพ่นสารกำจัดโรคแมลงตอนนี้ เมื่อเราห่อถุงไป โรคแมลงจะติดอยู่บนผิวมะม่วงโดยที่เราไม่สามารถรู้ หรือมองเห็นได้ ส่วนการห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้อย่างไรให้ผลสวย ซึ่งระยะการห่อผลนั้น ผลมะม่วงน้ำดอกไม้จะต้องมีขนาดเท่าไข่ไก่ หรือถ้านับอายุจากวันที่ดอกบานจนเป็นผลอ่อนที่เริ่มห่อผลได้ ก็ราวๆ 45 วัน ซึ่งผลมะม่วงน้ำดอกไม้จะยาว ประมาณ 7 เซนติเมตร หลังจากห่อผลได้ประมาณ 50-60 วัน ก็จะเก็บเกี่ยวจำหน่ายได้ แต่การแก่ของผลถ้าเป็นอากาศร้อนมาก อาจจะใช้เวลาเพียง 50 วัน ในถุงห่อ แต่ถ้าอากาศค่อนข้างเย็นในบางพื้นที่ อาจจะให้เวลา 60 วันขึ้นไป เป็นต้น เกษตรกรต้องแกะสุ่มดูเป็นระยะเพื่อหาทางแก้ไข