จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่ดำเนินงานปลูกพืช

ปลูกพืชผักหลายชนิดหมุนเวียนกันในพื้นที่จำกัดภายในบ้านของตนเอง พืชผักสวนครัวบางชนิดปลูกบริเวณรั้วบ้าน จนเรียกได้ว่าใช้พื้นที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ผักคะน้า มะเขือเทศ มะเขือพวง ข่า ตะไคร้ กะเพรา โหระพา ผักสลัด พริกสด กล้วย พริกขี้หนู เห็ด เพาะต้นทานตะวันอ่อน ถั่วฝักยาว เพาะต้นกล้าไม้กระถาง ฯลฯ การปลูกพืชดังกล่าว

ได้นำเอาระบบการปลูกพืชตามหลักวิชาการที่ได้เรียนรู้มาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มาใช้ในแปลงเกษตรของตนเอง เช่น การปลูกพืชผักในเรือนโรง การปลูกในแปลงที่ใช้พลาสติกคลุมป้องกันวัชพืช ประหยัดการใช้น้ำ ได้รับคำแนะนำจากกรมพัฒนาที่ดินให้ผลิตปุ๋ยหมักไส้เดือนดินและน้ำหมักไส้เดือนดินมาใช้กับพืชผัก มีการแปรรูปผลผลิตหลายชนิดเป็นน้ำบรรจุขวดพร้อมดื่ม

จากผลงานที่ผ่านมา ประมาณ 5 ปี แปลงพืชผักอินทรีย์แห่งนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครัวเรือนต้นแบบ เป็นศูนย์เรียนรู้ประจำตำบลชมพู มีเกษตรกรจากตำบลอื่นมาศึกษาดูงาน เฉลี่ยเดือนละ 2 กลุ่ม สมาชิกรวมตัวกันเป็นกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์ สมาชิก 50 คน

ทุเรียน ผลไม้ยอดนิยมของไทย ถูกยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งผลไม้ ”(king of fruit) เพราะมีลักษณะเด่นโดนใจผู้บริโภค ทั้งเนื้อสีเหลืองทอง ดูสวยงาม รสชาติหวานมัน เคี้ยวนุ่มลิ้น เคี้ยวอร่อยกินเพลินจนแทบหยุดไม่ได้ ทำให้ทุเรียนไทยเป็นสินค้าขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โกยรายได้เข้าประเทศมากกว่าปีละ 3,500 ล้านบาท โดยเฉพาะ“ หมอนทอง” เป็นทุเรียนพันธุ์ดีที่สุด เหมาะสำหรับทานผลสดและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

สำนักงานเกษตรอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้ยกย่องให้ สวนทุเรียนหมอนทองของ คุณลุงเสด ใจดี ปราชญ์ไม้ผล แห่งอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการดูแลจัดการสวนทุเรียนคุณภาพ เพราะมีลักษณะเด่นที่น่าสนใจไว้ดังนี้

1.การเตรียมสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์พวกขี้ไก่ ปุ๋ยหมักชีวภาพและใช้ประโยชน์จากกิ่งและใบทุเรียนที่ตัดแต่งออก โดยสุมไว้ใต้ทรงต้น ปล่อยให้ผุพัง ทำให้ดินดีขึ้นแล้วก็กลายเป็นปุ๋ยทุเรียน

ปุ๋ยหมักชีวภาพทำจากวัสดุหาง่ายในพื้นที่ เช่น ใบตำลึงหรือผักบุ้ง กล้วยน้ำว้า น้ำตาลทรายแดง นำไปหมักให้สลายตัวจนได้ที่ สามารถใช้เป็นปุ๋ยทางใบ หรือทางดิน ทำให้ทุเรียนได้รับฮอร์โมนและธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์และเป็นสารไล่แมลงศัตรูทุเรียนบางชนิดได้อีกด้วย
มีการให้น้ำทุเรียนตลอดปี แต่ให้ในระดับที่เหมาะสมตามช่วงเวลา แสงแดด และฤดูกาล ช่วยให้ทุเรียนมีความแข็งแรง สามารถได้รับธาตุอาหารจากดินตลอดฤดู ช่วยในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ และปรับสภาพแวดล้อมในดินให้เหมาะสม มีผลต่อจำนวนประชากรของไส้เดือนดินที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ต่อต้นทุเรียนแบบถาวร
การใส่ปุ๋ยเคมีพิจารณาตามความต้องการของต้นทุเรียน โดยการสังเกตดูใบและปริมาณผลผลิตที่ตัดออกจากสวน/ต้น การใส่ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต

การตัดแต่งผลทุเรียนเพื่อเลี้ยงไว้ในปริมาณที่พอเหมาะ เลือกขนาดของกิ่งที่ไว้ผล จำนวนผลทุเรียน/กิ่ง จำนวนผลทุเรียน/ช่อ และการเลือกตัดแต่งผลที่ไม่ต้องการทิ้งไป 6. มีการวางแผนการผลิตและบริหารจัดการสวนอย่างเป็นระบบ ตรวจสอบค่าใช้จ่าย รายรับทางระบบบัญชี และประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่โดยการเรียนรู้และประเมินผล 7. จุดเน้นที่พัฒนาคุณภาพผลผลิตอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์ต่อคู่ค้า และเป็นผู้นำด้านความรู้และการปฏิบัติในชุมชนและบุคคลทั่วไป

ตัดแต่งช่อผล : เทคนิคการเพิ่มคุณภาพ
จากประสบการณ์การทำสวนทุเรียนกว่า 50 ปี ทำให้ลุงเสดได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงว่า ไม่ควรเก็บทุเรียนจนเต็มต้นเพราะจะทำให้อาหารไม่พอไปเลี้ยงผล ทำให้ผลทุเรียนมีขนาดเล็ก พูไม่เต็มและผลบิดเบี้ยว ปัจจุบันสวนแห่งนี้ เลือกที่จะตัดแต่งผลทุเรียนไว้เพียง 60-80 ผลต่อต้น เท่านั้นโดยคำนวณขนาดของต้นทุเรียนและดูจำนวนกิ่งใหญ่ที่จะเอาไว้ผลด้วย

การตัดแต่งลูกทุเรียน จะทำการตัดแต่งผล 4 ครั้ง ตามระยะการเติบโตของลูกทุเรียน ครั้งที่ 1 ระยะที่ผลทุเรียนอ่อนมีขนาดเท่ากับไข่นกกระทา จะตัดผลอ่อนที่มีหางแย้ (ส่วนที่ยื่นจากปลายผลทุเรียนอ่อนยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ดูคล้ายปลายหางแย้) ที่โค้งบิดเข้าหาผลทิ้งไป เลือกเอาไว้เฉพาะผลทุเรียนที่มีหางแย้ตรงเท่านั้น เพื่อให้ได้ผลทุเรียนที่สมบูรณ์ พูเต็มทุกด้าน หากเลือกผลอ่อนที่หางแย้บิดเบี้ยวไว้จะได้ทุเรียนที่มีทรงผลบิดเบี้ยว บางส่วนของผลจะลีบ ไม่มีเนื้อหรือไม่เต็มพู (ทรงแป้ว) ไม่ได้คุณภาพ ขายไม่ได้ราคา

ครั้งที่ 2 ตัดแต่งผลหลังจากครั้งแรกประมาณ 15-20 วัน ดูว่าขนาดผลทุเรียนประมาณไข่ไก่ รูปทรงผลจะเริ่มชัดเจนขึ้นกว่าครั้งแรก ก็ยังคงเลือกตัดผลทุเรียนที่มีหางแย้บิดเบี้ยวออกทิ้งไป คำนวณว่าเอาไว้ 60-80 ลูก ต่อต้น อาจเผื่อไว้อีกนิดหน่อยก็ได้ การเลี้ยงผลจะเลือกไว้เฉพาะกับกิ่งที่ใหญ่ โดยเฉลี่ยก็ราวๆ 2-4 ผล ต่อกิ่ง เท่านั้น

ครั้งที่ 3 ตัดแต่งผลทุเรียนเมื่อมีขนาดของผลเท่ากับกระป๋องนมโดยประมาณ เลือกตัดผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนมากแต่จะมีหลงเหลือมาไม่มากนัก ผลทุเรียนเกือบทั้งหมดค่อนข้างสมบูรณ์ดีแล้ว ครั้งที่ 4 นั้น จะดูว่า มีผลทุเรียนที่บิดเบี้ยว ทรงไม่ได้คุณภาพหลงเหลืออีกหรือไม่ หากพบก็ตัดทิ้งไป ปกติก็จะมีสัก 1-3 ผล ต่อต้น เท่านั้น แต่หากพอรับได้ก็จะเก็บไว้ตัดขายต่อไป

ให้น้ำ ให้ปุ๋ยสม่ำเสมอ
เพื่อให้ได้ผลผลิตทุเรียนคุณภาพดี ต้องเริ่มจากเตรียมต้นแม่ให้สมบูรณ์เสียก่อนโดยให้น้ำและให้ปุ๋ยตลอดปี หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรจะรีบบำรุงต้นทันที เริ่มจากตัดแต่งกิ่งที่โทรม กิ่งตายและกิ่งที่ไม่ต้องการออกก่อน เติมน้ำและให้ปุ๋ยควบคู่กันไป โดยให้ปุ๋ยขี้วัวต้นละ 10 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยสูตร 12-12-17+2 อัตราต้นละ 2 กิโลกรัม โดยหว่านปุ๋ย ห่างจากโคนต้นทุเรียนสัก 1 เมตร และให้ปุ๋ยหมักชีวภาพ (ปุ๋ยจุลินทรีย์) พร้อมกับน้ำ อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร สลับกับการฉีดพ่นทางใบ เพื่อให้ต้นทุเรียนสะสมอาหารให้เพียงพอกับการออกดอกรุ่นต่อไป

ที่นี่ปุ๋ยหมักชีวภาพ ใช้เอง โดยการหมักใบตำลึงหรือผักบุ้งหั่นหรือบดละเอียด 3 กิโลกรัม กล้วยน้ำว้าสุกหั่นหรือบดละเอียด 3 กิโลกรัม น้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลแดง 2 กิโลกรัม นำส่วนผสมทั้งหมดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี นำไปหมักในภาชนะปิดฝา ทิ้งไว้สัก 15 วัน แล้วจึงเติมน้ำลงไปอีก 20 ลิตร คนให้เข้ากัน หมักต่อทิ้งไว้ 15-20 วัน กรองเอากากออกจะได้น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นไว้ใช้ต่อเชื้อในปริมาณที่มากขึ้น

วิธีการขยายเชื้อทำน้ำหมักใช้ คือใช้น้ำหมักหัวเชื้อ 10 ลิตร ผสมน้ำตาลทรายแดง 10 กิโลกรัม หมักกับน้ำ 200 ลิตร คนให้เข้ากันดี หมักในภาชนะปิดฝาอีก 1-5 เดือน ก็นำออกมาใส่หรือฉีดต้นทุเรียนได้ การใช้กับทุเรียน คือใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร ผสมน้ำ 100 ลิตร ไปฉีดพ่นทางใบเพื่อช่วยให้ทุเรียนได้ปุ๋ยเร็วขึ้น ส่วนอีกทางก็ให้ไปพร้อมกับการให้น้ำระบบสปริงเกลอร์ ต้นละประมาณ 80-100 ลิตร ต่อครั้ง เทคนิคคือจะให้น้ำในทรงพุ่มเท่านั้น ไม่กระจายถึงปลายทรงพุ่ม เพราะจะทำให้ทุเรียนแตกใบอ่อน ไม่สร้างดอกสร้างผล วิธีการนี้จะทำให้ทุเรียนได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่ ลองใช้มือปาดหน้าดินดูจะพบว่ามีรากทุเรียนเล็กๆ เส้นสีขาวแผ่กระจายเต็มไปหมดเลย นั่นแสดงว่าใช้ได้ สำหรับกิ่งและใบทุเรียนที่ตัดแต่งออกก็นำสุมไว้บริเวณใต้ต้นทุเรียน ปล่อยให้มันจะผุพังสลายตัวเป็นอินทรียวัตถุและเป็นปุ๋ยในที่สุด

สวนทุเรียน GAP ผลผลิตคุณภาพดี ขายได้กำไรสูง
สวนทุเรียนหมอนทองแห่งนี้ ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 780 ต้น ปลูกทุเรียนกระดุมบ้างเล็กน้อย เพราะออกก่อนและแก่เร็วกว่าเพื่อน นอกจากนี้ยังปลูกมังคุดกับลองกองอีกประมาณ 200 กว่าต้น เพื่อเป็นเงินเดือนคนงานและค่าใช้จ่ายในครัวเรือน แต่รายได้หลักนั้นมาจากทุเรียนหมอนทอง รวมเป็นเงินมากกว่า 3 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีผลกำไรก้อนโต เพราะการดูแลจัดการสวนลักษณะนี้ มีต้นทุนค่อนข้างต่ำ ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก

การปฏิบัติในสวน คุณลุงเสดเป็นคนจัดการทุกด้าน ตั้งแต่การใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ตัดแต่งกิ่ง ดอก ผล ซึ่งะวางแผนการทำงานไว้อย่างเป็นขั้นตอนตลอดทั้งปี แล้วมอบหมายให้ลูกหลานและคนงานไปทำ คอยแนะนำ ควบคุมดูแลและลงมือทำไปด้วย ให้เป็นไปตามช่วงเวลาและกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ จนที่สุดถึงการขายผลผลิต ในลักษณะขายทุเรียนแบบเหมายกสวน

เนื่องจากสวนแห่งนี้ ปลูกดูแลในลักษณะทุเรียนปลอดสารพิษ ผ่านการรับรองแปลงผลิตตามระบบ GAP จากกรมวิชาการเกษตร ทุเรียนทุกลูกมีสภาพสมบูรณ์เต็มพู เปลือกบาง เนื้อมากเมล็ดลีบ เนื้อสีเหลืองทองสวยงาม เหนียวเนียน รสชาติหวานมัน กลิ่นหอม เส้นใยในเนื้อน้อย เนื้อแห้งร่อน ไม่ติดพู แกะง่าย จับถือไม่เปื้อนมือ (ไม่ติดมือ) เก็บไว้ได้นาน สุกเนื้อไม่เละ ไม่เน่าไม่เสียง่าย ผิวสะอาดทุกลูก ปราศจากโรคและแมลงศัตรู สารปนเปื้อน จุดเด่นดังกล่าว ทำให้สินค้าทุเรียนหมอนทองของสวนแห่งนี้ ขายได้ ขายดี ส่งเข้าประกวดงานผลไม้ประจำปีจังหวัดระยองก็คว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้วหลายครั้ง ผู้สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ลุงเสด

ยุคแรกๆมีการขยายพันธุ์มะม่วงโดยการเพาะเมล็ด ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามากมาย มาระยะหลังๆส่วนใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่งและเสียบยอด เพื่อให้ผลผลิตตรงตามพันธุ์

ในบรรดาพันธุ์ไม้ผลที่มีอยู่ มะม่วงถือว่ามีพันธุ์หลากหลาย มีผู้บันทึกชื่อและลักษณะพันธุ์มะม่วงไว้ไม่น้อย

ขอแบ่งพันธุ์มะม่วง โดยอาศัยเรื่องของเวลา ที่มา ประเภท และความนิยม ได้แก่ พันธุ์มะม่วงปี 2427,พันธุ์มะม่วงที่รวบรวมข้อมูลโดยกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร,พันธุ์มะม่วงที่แบ่งตามประเภทของการกิน,พันธุ์มะม่วงต่างประเทศ,พันธุ์มะม่วงออกผลทะวาย และพันธุ์มะม่วงยอดนิยม

รายชื่อของพันธุ์มะม่วง อาจจะมีพ้องกันหรือตรงกันบ้าง เพราะผู้ปลูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วมาตั้งชื่อเอง พร้อมกับบอกว่า ผสมและคัดเลือกพันธุ์เอง เช่นนำเข้ามาปลูกที่นครราชสีมาได้ชื่อหนึ่ง ปลูกที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ได้อีกชื่อหนึ่ง ปลูกที่เชียงใหม่ ได้ชื่อที่แตกต่างออกไป

พันธุ์มะม่วงเมื่อปี 2427 พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้บรรยายชื่อพันธุ์มะม่วงเป็นกาพย์ยานี 11 เมื่อปี พ.ศ.2427 ไว้ดังนี้ ตัวอักษรที่เน้น คือพันธุ์มะม่วงที่พบในปี พ.ศ.2427(ตัวสะกดใช้ของเดิม เมื่อปี พ.ศ.2427) ปัจจุบันส่วนหนึ่งยังมีปลูกกันอยู่ แต่ส่วนใหญ่ได้ล้มหายตายจากไปแล้ว

พันธุ์มะม่วงรวบรวบข้อมูลโดยกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กระทวงเกษตรและสหกรณ์ แก้ว แก้วจุก แก้วชัยภูมิ แก้ว007 กระแตลืมรัง กระสวย กล้วย กาละแม กระล่อน กระล่อนป่า กระล่อนทอง การะเกด กำปั่น แก้มแดง แก้วขาว แก้วเขียว แก้วทะวาย แก้วสามปี แก้วลืมคอน แก้วลืมรัง แก้วหอม

ขอช้าง ขาวนิยม เขียวมรกต เขียวใหญ่ ขายตึก ขี้ไต้ ขี้ทุบ ขุนทิพย์ เขียวไข่กา เขียวภูเก็ต เขียวเสวย เขียวเสวยรจนา ไขตึก คล้ายเขียวเสวย คอนกแก้ว ค้างคางลืมรัง คำ คุ

งาขาว งาเขียว งาช้าง งาดาบ งาแดง งาท้องเรือ งาหม่น เงาะ งามเมืองย่า

จันทร์เจ้าขา จำปา เจ้าคุณทิพย์ เจ้าพระยา เจ้าเสวย

ช้างตกตึก โชคโสภณ โชคอนันต์ โชคอนันต์ก้านชมพู โชควิเขียร

ตลับนาค ตะเพียนทอง ตับเป็ด ตาเตะหลาน แตงกวา เตี้ยทะวาย เตี้ยทอง

ทะวาย ทะวายเดือนเก้า ทองดี ทองขาว ทองขาวกลม ทองขาวยาว ทองเจ้าพัฒน์ ทองดำ ทองดำกลายพันธุ์ ทองดำมีร่อง ทองแดง ทองทะวาย ทองประกายแสด ทองปลายแขน ทองไม่รู้วาย ทุเรียน ทูลถวาย เทพนิมิตร เทพรส

นวลจันทร์ นวลแตง นาทับ น้ำดอกไม้ น้ำดอกไม้ทะวาย น้ำดอกไม้เบอร์ 4 น้ำดอกไม้เบอร์ 5 น้ำดอกไม้พระประแดง น้ำดอกไม้นายตำรวจ น้ำดอกไม้หมอไมตรี น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้สุพรรณ น้ำตาลจีน น้ำตาลเตา น้ำตาลปากกระบอก น้ำตาลทราย น้ำตาลทรายหนัก น้ำผึ้ง

พญาลืมเฝ้า พญาเสวย พรวน พรวนขอ พราหมณ์ พราหมณ์ขายเมีย พราหมณ์ก้นขอ พราหมณ์เนื้อแดง พราหมณ์เนื้อเหลือง พัดน้ำผึ้ง พิมเสน พิมเสนขาว พิมเสนกลายพันธุ์ พิมเสนแดง พิมเสนเปรี้ยว พิมเสนมัน พิมเสนมันทะวาย พิมเสนมันดำ เพชรบ้านลาด เพชรปทุม

ฟ้าลั่น ฟ้าแอปเปิ้ล แฟบ

มณโฑ มะปราง มะลิลา มันบางขุนศรี มันค่อม มันทะวาย มันทะวายนักรบ มันทองเอก มันทะลุฟ้า มันบ้านลาด มหาชนก มันพิเศษ มันสะเด็ด มันสายฟ้า มันหมู มันหยด มันหวาน มันแห้ว มันอยุธยา เมล็ดนิ่ม แม่ลูกดก แมวเซา

ยายกล่ำรจนา ระเด่นขาว ระเด่นเขียว แรดล่า ลิ้นงูเห่า ลูกกลม ลูกแดง ลูกโยนพระอินทร์ เล็บมือนาง

ศรีสยาม ศาลายา สังขยา สามปี สามฤดู สายทิพย์ สายน้ำค้าง สายฝน สาวน้อยกระทืบหอ สำปั่น สีส้ม แสงทอง หงษ์ทอง หงษ์สา หงสาวดี

สาวน้อยลืมผัว สีดา สุวรรณเลขาหนองแซง หนังกลางวัน หนังหม่น หมอนทอง หวานน้ำผึ้ง หอยแครง หอระฆัง หินทอง แห้ว แห้วหลวงอิงค์

อกร่อง อกร่องทะวาย อกร่องกะทิ อกร่องขาว อกร่องเขียว อกร่องทอง อกร่องทองดำกลาย อกร่องไทรโยค อกร่องพิกุลทอง อกร่องภรณ์ทิพย์ อกร่องมัน อกร่องหอมทอง อ่อนมัน อินทรชิต

กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำข้อมูลเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2546 ดังนั้นพันธุ์ที่นำชื่อมาลงไว้ ยังคงมีอยู่อย่างแน่นอน พันธุ์มะม่วงแบ่งตามประเภทของการกิน
แบ่งได้เป็นมะม่วงกินดิบและกินสุก

มะม่วงกินดิบหรือมะม่วงมัน…รสชาติของมะม่วงมัน บางพันธุ์มันตั้งแต่ผลขนาดเล็ก บางพันธุ์มันตอนผลแก่จัด มะม่วงมันที่รู้จักกันดีได่แก่พิมเสนมัน เขียวเสวย ศาลายา ทูนถวาย มันทองเอก สายฝน เขียวสะอาด ฟ้าลั่น หนองแซง เพชรบ้านลาด มันหวาน บางขุนศรี มันขายตึก เจ้าคุณทิพย์ แห้ว

มะม่วงกินสุก…ได้แก่อกร่อง ทองดำ น้ำดอกไม้ หนังกลางวัน โชคอนันต์ ศรีสยาม เป็นต้น

มะม่วงแปรรูป…ได้แก่มะม่วงแก้ว แก้วขมิ้น โชคอนันต์ แอปเปิ้ล อาดัมส์ อา-ปิง อัลฟองโซ ฮารูมานิส แบงแกนปอลลี บรูกร์ คาราบาว แคร์ลี เชาซา

ดัทเชอรี่ เดวิส-เฮเดน ดันแคน เอ็ดเวิร์ด ฟลอริกอน เกลนน์ โกเวีย เฮเดน เออร์วิน เคียทท์ เคนท์ เคนซิงตัน ลิลี ลิปเปนส์

ลองวา มายา นีลัม ออทท์ ปาล์มเมอร์ โป๊ป รูบี เซนเซซัน ซันเซท เทวา เท็นบาเกีย ทอมมี-แอทกินส์ ซิลล์ เออร์วินXหนังกลางวัน เคียทท์Xหนังกลางวัน เคียทท์Xแก้ว ปาล์มเมอร์Xแก้ว อาร์ทูอีทู แก้วขมิ้น ก๊ากฮัวหร็อก

มีการนำพันธุ์มะม่วงจากต่างประเทศเขามาปลูกในประเทศไทยนานแล้ว โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมวิชาการเกษตร วัตถุประสงค์ก็เพื่อหาพันธุ์ที่เหมาะสม หากถูกปากคนไทยก็ขยายพันธุ์ แนะนำให้เกษตรกรปลูกเสียเลย อีกวัตถุประสงค์หนึ่ง เพื่อการปรับปรุงพันธุ์

ที่ผ่านมา มะม่วงต่างประเทศในไทย ไม่ถูกปากคนไทยนัก

แต่ระยะหลังๆที่มาแรงคือมะม่วงอาร์ทูอีทู จากประเทศออสเตรเลีย มะม่วงพันธุ์ใหม่
การได้มาซึ่งมะม่วงพันธุ์ใหม่นั้น เกิดจากการผสมและคัดเลือกพันธุ์

ที่ผ่านมา ในเมืองไทยการผสมและคัดเลือกพันธุ์โดยคนนั้น ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นฝีมือการผสมโดยแมลงในธรรมชาติ จากนั้นคนได้คัดเลือกพันธุ์มาปลูก ตัวอย่างมะม่วงโชคอนันต์ มะม่วงมหาชนก

มะม่วงพันธุ์ใหม่ในเมืองไทย ระยะหลังที่ได้จากการผสมและคัดเลือกมีไม่มากนัก

ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ

ผู้นำเข้ายุคหลังมีความเชี่ยวชาญกว่าผู้นำเข้ายุคแรกๆ หมายถึงรู้ใจคนปลูกคนกินในประเทศ

มะม่วงนำเข้ายุคหลังจึงมีลักษณะดังนี้

หนึ่ง.ผลขนาดยักษ์ใหญ่

สอง.สีสันสะดุดตา ทั้งผิวผลและเนื้อใน

สาม.ออกดอกติดผลดก

สี่.รสชาติเท่ากับหรือดีกว่าของเดิมที่ไทยมีอยู่

มะม่วงที่ได้รับการกล่าวถึงมาก เห็นจะได้แก่มะม่วงอาร์ทูอีทู มะม่วงแก้วขมิ้น

ส่วนพันธุ์อื่นๆ ผู้นำเข้า เปลี่ยนชื่อต่างประเทศ เว็บพนันออนไลน์ เป็นมะม่วงไทย เช่นมะม่วงงาช้างแดง มะม่วงจักพรรดิ มะม่วงไต้หวัน 1 เป็นต้น พันธุ์มะม่วงออกดอกติดผลทะวาย
เป็นมะม่วงที่มีผลผลิตทะยอยออกตลอดปี แต่ปริมาณที่ออกแต่ละครั้งอาจจะไม่มากนัก ทำให้ผู้ปลูกสามารถเก็บกินอย่างต่อเนื่อง มะม่วงทะวายมีทั้งที่เป็นมะม่วงกินดิบคือรสชาติมัน และมะม่วงกินสุก ที่รู้จักกันดีเช่นพิมเสนมันทะวาย น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ศาลายา โชควิเชียร เพชรปทุม สามฤดู โชคอนันต์ เป็นต้น

พันธุ์มะม่วงยอดนิยม
คำว่ายอดนิยมในที่นี้ หมายถึงคนในประเทศนิยมกิน และสามารถส่งออกต่างประเทศไทย ซึ่งได้แก่มะม่วงอกร่อง น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย และฟ้าลั่น

มะม่วงอกร่องทอง

ลักษณะทรงพุ่มต้น (canopy) ปานกลาง (medium)

ลักษณะเปลือกลำต้น (bark texture) เรียบ (smooth) การเลื้อยของกิ่ง (climbing of branch) ไม่เลื้อย (no)

รูปร่างของใบ (leaf shape) ขอบขนาน (oblong) ปลายใบ (leaf apex) เรียวแหลม (acuminate) ฐานใบ (leaf base) แหลม (acute) ขอบใบ (leaf margin) คลื่น (undulate)

การออกดอก (flowering) มาก (abundant) การติดผล (fruit setting) มาก (abundant) ผลผลิตต่อต้นเมื่ออายุ 10 ป (yield) 500 ผล อายุการเก็บเกี่ยว (harvesting index) 100 วัน ฤดูกาลผลิต (fruiting season) ในฤดูกาล (season)