จัดการฟาร์มอย่างไร ให้สามารถเลี้ยงไก่-แกะ-ม้า จำนวนมากได้

อย่างลงตัวสำหรับการจัดการฟาร์มในต่างประเทศ พี่ใหม่ บอกว่า ที่ฟาร์มของตนเองเลี้ยงไก่ไข่จำนวน 7,800 ตัว เลี้ยงแกะเนื้อแม่พันธุ์จำนวน 98 ตัว มีพ่อพันธุ์ 4 ตัว รวมถึงการรับจ้างเลี้ยงม้าให้กับคนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงจำนวน 12 ตัว เนื่องจากเจ้าของม้าไม่มีที่เลี้ยง ตนเองแค่ดูแลให้อาหารและทำความสะอาดคอกม้า

ในช่วงฤดูร้อนจะปลูกหญ้าไว้ให้แกะและม้าได้มากิน และทำหญ้าแห้งไว้ขาย ใน 2 รูปแบบ คือแบบอัดเป็นก้อนกลมๆ ขนาดใหญ่ ซีลด้วยพลาสติก และแบบแห้งแพ็กขายเป็นก้อนสี่เหลี่ยม

โดยมีเนื้อที่ปลูกหญ้าประมาณ 100 ไร่ ในช่วงหน้าร้อนก็จะปล่อยให้แกะขึ้นเขาไปกินหญ้าบนเขา บนเนื้อที่ประมาณ 220 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 โซน เพื่อเปลี่ยนให้แกะและม้ากินสลับกันไป และในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤษภาคมของทุกปี แกะและม้าจะอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยเดิมเพื่อได้รับการดูแลอย่างดีต่อไป

ปัจจุบัน สามีจะทำงานที่ฟาร์มเป็นหลัก มีคนงานคอยช่วยอยู่ 2 คน ส่วนตนเองจะทำงานที่โรงงานเพื่อที่จะได้เงินจากงานประจำมาใช้จ่ายในครอบครัว และสะสมเงินเสียภาษีไว้สำหรับตอนเกษียณอายุจะได้มีเงินมาไว้ใช้ในยามแก่ชรา

ส่วนขั้นตอนในการเลี้ยงไก่ไข่ 7,800 ตัวอย่างไรให้ทั่วถึง ที่ฟาร์มจะเลี้ยงในโรงปิด เน้นใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุม ทั้งในส่วนของอุณหภูมิ การให้อาหาร ให้น้ำ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หากมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นภายในฟาร์ม ระบบจะโทร.แจ้งมาหาเจ้าของในทันที

และในส่วนของการเก็บไข่จะใช้ระบบเปิดสายพานให้ไข่ไหลออกมาจากโรงเลี้ยงไก่ คนเก็บยืนรอเก็บอยู่ข้างนอกฟาร์ม ใช้เวลาเก็บวันละ 2 ชั่วโมง เก็บไข่ได้วันละ 7,200-7,300 ฟอง จะมีคนมารับสัปดาห์ละครั้ง อีกทั้งส่วนของขี้ไก่ ขี้แกะ และขี้ม้า จะนำไปหว่านเป็นปุ๋ยให้กับหญ้าเพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี

ข้อดี-ข้อเสีย ในการทำปศุสัตว์ที่ต่างประเทศ
ข้อดี

รัฐบาลจะมีเงินช่วยจ้างคนงานให้ และสามารถทำประกันภัยได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ บ้าน รถ เครื่องจักรกลการเกษตร ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นเรามีประกันภัย และเกษตรกรหมู่บ้านที่ตนเองอยู่จะมีการจับกลุ่มเพื่อประชุมปรึกษาหารือกันทุกเดือน
ด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปไกล ที่นี่จะใช้เครื่องจักรมากกว่าแรงงานคน เช่น หว่านปุ๋ย จะมีเครื่องหว่าน แยกออกเป็นประเภทชัดเจน เช่น หว่านปุ๋ยคอก อย่างขี้ไก่ ขี้ม้า ก็จะมีเครื่องหว่านต่างหาก ส่วนปุ๋ยขี้แกะ ขี้วัว ที่ทำเป็นน้ำก็มีเครื่องให้ปุ๋ยอีกอย่าง ที่ฟาร์มก็จะมีเครื่องหว่านปุ๋ยทั้ง 3 เครื่อง รวมถึงเครื่องตัดหญ้า เครื่องแพ็กหญ้า และเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตรอื่นๆ อีกมากมาย

อุปสรรคทางด้านสภาพอากาศที่หนาวมาก ที่นี่ดินดี น้ำดี แต่ไม่สามารถปลูกพืชผักผลไม้ได้ตลอดทั้งปีเหมือนที่ประเทศไทย เนื่องด้วยอากาศที่หนาวเย็นจัด ประกอบกับค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าปุ๋ย ค่าน้ำมัน และค่าหัวอาหารสัตว์มีราคาแพง ทำให้มีหลายๆ ฟาร์มเริ่มทยอยปิดตัวลงเพราะรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว ทำงานแล้วเหนื่อยฟรี ปัญหาไม่ต่างจากที่ประเทศไทยสักเท่าไหร่
ปัญหาของการป้องกันกำจัดโรคที่ต้องระวัง เพราะกฎหมายของที่ประเทศนอร์เวย์จะเข้มงวดมากๆ ต้องปฏิบัติตามกฎที่ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจมาตรฐานความสะอาด ความปลอดภัย รวมถึงการเป็นอยู่ของสัตว์ว่ากินดีอยู่ดีไหม มีการทรมานสัตว์หรือฆ่าสัตว์เองหรือไม่ในทุกปี

ไก่ที่เลี้ยงเมื่อครบกำหนดปลดระวางไม่สามารถนำไปขายเป็นไก่เนื้อได้ โดยที่ฟาร์มจะซื้อไก่สาวที่พร้อมไข่มาเลี้ยง ไก่จะอยู่ได้ประมาณ 15 เดือน เมื่อถึงกำหนดการปลดระวางต้องกำจัดแม่ไก่ทิ้งห้ามขายเด็ดขาด เนื่องจากตามกฎของที่นี่ห้ามขายไก่หรืออาหารที่ไม่ผ่าน อย. แต่ที่เมืองไทยเมื่อไก่ครบอายุปลดระวางแล้วสามารถขายแม่ไก่ได้เป็นเงินกลับคืนมา แต่ทางนี้ต้องเสียเงินเพื่อจ้างในการนำไก่ไปทิ้ง ซึ่งข้อตรงนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าที่ประเทศไทยดีกว่า ประกอบกับสภาพอากาศและภูมิประเทศที่ได้เปรียบ สามารถปลูกพืชผักได้ตลอดทั้งปี แต่ที่นอร์เวย์ปลูกผักผลไม้ได้แค่ระยะเวลาสั้นๆ ในช่วงหน้าร้อนแค่นั้น พี่ใหม่ กล่าวทิ้งท้าย

หากท่านใดสนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำปศุสัตว์กับพี่ใหม่ สามารถติดต่อได้ที่เฟซบุ๊ก : ชาวนา นอร์เวย์ และสามารถรับชมวิถีชีวิตเกษตรกรของพี่ใหม่ได้ที่ช่องยูทูป : ชาวนา นอร์เวย์

นายการุณย์ มะโนใจ เกษตรอำเภอเชียงม่วน และ นายสุรชัย ณ มา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ รับผิดชอบตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ลงพื้นที่แปลงฝรั่งพันธุ์กิมจู ของ นายยอด ไชยลังกา ซึ่งมีการผลิตแบบเกื้อกูลกันคือตัดหญ้าในแปลงไปเลี้ยงวัว ได้มูลวัวมาบำรุงต้นฝรั่งต่อช่วยลดต้นทุนการผลิตในการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้งนี้ ได้ให้คำแนะนำในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช

ดูเหมือนว่า ถั่วงอก จะเป็นผักที่ใกล้ตัวคนมากที่สุด เนื่องจากรับประทานกับอาหารได้หลายชนิด ซึ่งถั่วงอกทั่วไป จะมีต้นขาว อวบ อ้วน

แต่ที่นำมาเสนอในคราวนี้ เป็นถั่วงอกต้นเขียวออร์แกนิค ที่จับกลุ่มคนรักสุขภาพ ถั่วงอกต้นเขียวนี้ มีลักษณะ ต้นเรียว ยาว และมีสองใบเล็กงอกออกมาแล้ว

คุณทัศนีย์ เที่ยงนิล เจ้าของไอเดียถั่วงอกต้นเขียว ใช้พื้นที่เล็กๆ ราว 12 ตารางเมตร หลังบ้าน ในเขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ เป็นสถานที่เพาะ

คุณทัศนีย์ มีแนวคิดว่า ถั่วงอกที่เราบริโภคกันทุกวันนี้ มีการใช้สารเคมีมาก จึงคิดเพาะถั่วงอกปลอดสาร หรือ ออร์แกนิค เพื่อตอบโจทย์ สำหรับผู้รักสุขภาพ “เริ่มต้นคือ เป็นคนชอบทานผักใบเขียว ผักทุกชนิด ก็เลยมีความคิดว่าทำไมไม่ปลูกผักทานเอง ก็ไปเจอคลิปการปลูกผักในอินเตอร์เน็ต จึงทดลองปลูก กระทั่งมาต่อยอดเป็นถั่วงอกต้นเขียวอย่างนี้” คุณทัศนีย์ เล่าให้ฟัง

ถั่วงอกต้นเขียว ใช้เวลาเพาะในที่มืด 3 วัน และให้มาเจอแสงรำไรอีก 6 ชั่วโมง ก็จะได้ ถั่วงอกต้นยาว ที่มีใบเล็กๆ ออกมา คุณทัศนีย์ บอกว่า ใช้เงินลงทุนไปราว 3 พันบาทเท่านั้น สำหรับค่าวัสดุอุปกรณ์ และโรงเพาะง่ายๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำเองไม่ต้องจ้าง เริ่มตั้งแต่ วัสดุสำหรับเพาะ เป็นกระสอบป่าน ตัดให้พอดีกับตะกร้า แล้วเย็บริม

ตะกร้าสำหรับเพาะ และชามใส่อาหารสุนัข นำมาเจาะรู สำหรับให้น้ำต้นถั่วงอก เป็นการลดความแรงของน้ำ ส่วนถังใส่น้ำ มีตัวจับเวลา สำหรับให้น้ำถั่วงอก ทุกๆ 3 ชั่วโมง ครั้งละ 1 นาที

การเพาะถั่วงอก เริ่มจาก ล้างเมล็ดถั่วเขียว ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน แล้วแช่ด้วยน้ำอุ่น 6-8 ชั่วโมง จากนั้นล้างด้วยน้ำอุ่นอีกครั้ง แล้วนำมาวางบนวัสดุเพาะ ซึ่งก็คือกระสอบป่ารับแสงแดด เป็นเวลา 6 ชั่วโมงเมื่อได้อายุแล้ว นำมาตัดปลายรากทิ้ง แพ็กใส่กล่องขาย ตอนแรกไปเสนอพ่อค้า เขาบอกว่าผักตัวนี้ ราคาสูงจะรับซื้อได้ราคาเท่านั้น เท่านี้ เราก็ยังไม่ท้อนะ ก็เลยไปหาตลาดโมเดิร์นเทรด แค่ก็มีการหักเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูง จึงตัดสินใจหาตลาดเอง” คุณทัศนีย์ เล่า

และอีกช่องทางการตลาดหนึ่ง ก็โฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊ค ซึ่งก็จะได้ลูกค้าอีกกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งเลยทีเดียว “ปัญหาทุเรียนอ่อน” ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังทั้งมือตัด เจ้าของสวน โรงคัดบรรจุ (ล้ง) แต่ละปีไทยส่งทุเรียนไปขายตลาดจีน จำนวนมากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณผลผลผลิตภาคตะวันออกปี 2565 จำนวน 720,000 ตัน คาดว่าจะทำรายได้กว่า 100,000 ล้านบาท หากตรวจพบทุเรียนอ่อนนอกเหนือจากโรคพืชและแมลง และโควิด-19 จะส่งผลให้จีนระงับการนำเข้า ทำให้ราคาผลผลิตลดต่ำลงเป็นการทำลายตลาดทุเรียนไทย การสร้างนักตัดมืออาชีพจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญที่แก้ปัญหาทุเรียนอ่อน

คุณชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด กล่าวถึงที่มาการจัดฝึกอบรมมือตัดทุเรียน ที่จังหวัดตราด ว่าปี 2565 จังหวัดตราดมีผลผลิตประมาณ 86,765 ตัน พันธุ์ที่นิยมปลูกคือ หมอนทอง ชะนี กระดุม เริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน 2565 เดือนพฤษภาคมออกมากที่สุด จังหวัดตราดมี 2 ตำบลที่ทุเรียนออกก่อนที่อื่นๆ ทุกสายพันธุ์ประมาณ 20-30 วัน คือ ตำบลห้วงน้ำขาวและตำบลอ่าวใหญ่ ปีนี้มีผลผลิต 1,800 ตัน เพราะพื้นที่อยู่ริมทะเล อากาศโปร่ง ดินเป็นดินทราย ที่ผ่านมาจังหวัดตราดมักจะถูกประนามว่าตัดทุเรียนอ่อน ซึ่งเป็นเรื่องจริงเพราะทุเรียนที่ออกก่อนปริมาณน้อยและราคาพุ่งสูงและซัดทอดมือตัดผู้ตัดทุเรียนอ่อน โยนกันระหว่างเจ้าของสวนหรือของล้ง และปัญหาทุเรียนอ่อนยังเกิดขึ้นทุกปี แม้จะมีกฎหมายออกมาควบคุมลงโทษผู้กระทำผิด

“ปัญหาทุเรียนอ่อน ส่วนหนึ่งขาดแคลนมือตัดอาชีพ ส่วนใหญ่จะเป็นมือตัดของล้ง สำนักงานเกษตรจังหวัดตราดจึงร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานตราด สร้างมือตัดทุเรียนอาชีพอิสระ โดยรับสมัครคนรุ่นใหม่ทั่วๆ ไป เจ้าของสวนหรือผู้ต้องการประกอบอาชีพตัดทุเรียนได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติ เพื่อนำไปใช้ได้จริงในสวนของตัวเองหรือสร้างอาชีพที่มีรายได้ค่อนข้างสูงวันละ 1,200-1,500 บาท ที่สำคัญสร้างจิตสำนึกให้รักในอาชีพตัดทุเรียนคุณภาพ ด้วยคุณธรรม เพื่อให้ทุเรียนตราดออกก่อน อ่อนไม่มี” คุณชยุทกฤติ กล่าว

คุณการะเกษ สังเวียนทอง นักวิชาการ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานตราด กล่าวถึงหลักสูตร “เทคนิคการตัดและคัดแยกผลทุเรียน” ใช้เวลา 30 ชั่วโมงว่า จุดประสงค์คือ สร้างองค์ความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ดีในการทำงานสาขาอาชีพการตัดและคัดแยกผลทุเรียน ให้รู้วิธีการเก็บเกี่ยวผลทุเรียนและฝึกปฏิบัติตัดคัดแยกทุเรียนในสวน ผู้สมัครเข้าอบรม 24 คน มีทั้งกลุ่มเกษตรกรและแรงงานคืนถิ่นเป็นคนรุ่นใหม่ ทุกคนผ่านเกณฑ์ประเมินผลได้รับวุฒิบัตรกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในอนาคตอาชีพมือตัดทุเรียนต้องผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียนเป็นการยกระดับฝีมือแรงงาน

“ภาคทฤษฎี ได้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญเรื่องทุเรียน ดร.พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จากนั้นให้ศึกษาจากสวนทุเรียน ลุงอิ๊ด หรือ คุณบรรจง บุญวาที ปราชญ์ชาวบ้าน มีประสบการณ์เรื่องทุเรียนร่วม 50 ปีที่ตำบลห้วงน้ำขาว พื้นที่ที่ผลผลิตออกช่วงต้นฤดูก่อนที่อื่นๆ ทุกปี และผลผลิตอยู่ในช่วงแก่ตัดได้ ฝึกเรียนรู้ดูทุเรียนแก่ ฝึกการขึ้นต้น ปีนต้น ตัด-โยน การขนส่ง เรียงผลทุเรียน เมื่อผ่านการอบรมแล้วนำไปประกอบอาชีพได้เลย ตัดเองหรือรับจ้างตัด เพราะทุเรียนทั่วไปจะตัดได้ช่วงเมษายน-มิถุนายน มือตัดมีรายได้ 1,200 บาทต่อวัน ถ้าฝึกรับ 800 บาทต่อวัน” คุณการะเกษ กล่าว

หลังเก็บเกี่ยวทุเรียนให้คุณภาพดีเพื่อส่งออก

ดร.พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล วิทยากรภาควิชาการ จากศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เริ่มต้นการเข้าสู่เนื้อหาเชิงวิชาการและสรุปเชื่อมโยงความสำคัญ สู่ประเด็นหลักของความรู้ เรื่อง “การจัดการผลผลิต เก็บทุเรียน ทำอย่างไรให้คุณภาพดีเพื่อส่งออก” จากตั้งคำถามน่าสนใจ 5-6 ข้อ เริ่มจากทําไมทุเรียน ตำบลห้วงน้ำขาว ตำบลอ่าวใหญ่ จังหวัดตราด เก็บเกี่ยวได้ก่อน 2. ทําไมต้องคัดเปอร์เซ็นต์แป้ง (น้ำหนักเนื้อแห้ง) 32 เปอร์เซ็นต์ การตัดทุเรียนแก่อายุ 110-120 วัน หนามแห้ง ปลิงบวม แต่ทำไมแป้งยังน้อย สุกแล้วไม่อร่อย 3. ส่งออกใช้ทุเรียนแก่ไปแล้วแตกหมด จริงหรือไม่ 4. ซื้อทุเรียนไปขายได้หมดไม่เน่าเสียแล้วทําไมขาดทุน 5. คัดทุเรียนสวยจากสวน ทําไมไปขาย (จีน) แล้วเน่า มีหนอน 6. ทุเรียนบ่ม ใช้สารเร่งสุก (เอทีฟอน) อันตรายหรือไม่

“ถ้าตัดทุเรียนอ่อนจะได้น้ำหนักและราคาแพงเพราะต้นฤดูผลผลิตมีปริมาณน้อย แต่ทุเรียนที่ออกมาทีหลังปริมาณมหาศาลจะถูกดัมพ์ราคาเราต้องรับผิดชอบร่วมกัน มาตรฐานทุเรียนที่สำคัญ 2 อย่าง คือ คุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร ดังนั้น ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวต้องเหมาะสม ไม่วางทุเรียนบนพื้นหญ้าจะมีเชื้อราได้ สารเร่งสุกใช้มากเกินผลจะแตกเน่าเสีย ทุกอย่างต้องมีการจัดการที่ดี เมื่อตัดทุเรียนแก่ต้องรีบจำหน่ายเพื่อลดความสูญเสียของน้ำหนักและคุณภาพ สินค้าคุณภาพดีจะทำให้มีการซื้อซ้ำ น้ำหนักเปอร์เซ็นต์แป้งหมอนทองขั้นต่ำ 32 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าอร่อยต้อง 35 เปอร์เซ็นต์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นี้ ถ้าให้ความสนใจ เข้าใจและนำไปใช้ผสมผสานกับการตลาดได้” ดร.พีรพงษ์ กล่าว

ปราชญ์ชาวบ้าน

คุณบรรจง บุญวาที หรือ ลุงอิ๊ด อยู่บ้านเลขที่ 123 หมู่ที่ 5 ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด อายุ 69 ปี เริ่มต้นจากมือตัดทุเรียนตั้งแต่อายุ 17-18 ปี สร้างสมประสบการณ์ร่วม 50 ปี ทั้งนายหน้ารับเหมาทุเรียน และสร้างทีมรับจ้างตัดทุเรียนร่วม 100 คน และเป็นเจ้าของสวนทุเรียน ปัจจุบันแบ่งให้ลูกชายไปดูแลส่วนหนึ่ง ที่ทำเองเป็นแปลงดั้งเดิมพื้นที่ 30 ไร่ เกือบทั้งหมดเป็นหมอนทอง บางต้นอายุ 40-50 ปี มีการปลูกแซมต้นที่ตายไป ปี 2565 มีผลผลิตประมาณ 150 ตัน สร้างรายได้ประมาณ 40 ล้านบาท เพราะทุเรียนมีราคาสูงกิโลกรัมละ 250 บาท

ลุงอิ๊ดเปรียบเปรยชื่อ “ทุเรียน” ว่า คือ เรียนไม่จบ มีเทคนิค เคล็ดลับ ความแตกต่างมาก มีปัญหามาให้แก้ไขอยู่ตลอด ไม่มีสูตรสำเร็จ เฉพาะเรื่องการตัดทุเรียนแก่ หลักวิทยาศาสตร์ใช้นับวันดอกบานถึงเป็นลูกตัดได้และวัดเปอร์เซ็นต์แป้งตามมาตรฐาน เช่น กระดุมระยะเวลาดอกบาน 90 วัน เปอร์เซ็นต์แป้ง 27 เปอร์เซ็นต์ พวงมณีดอกบาน 90-100 วัน ชะนี 105-110 วัน เปอร์เซ็นต์แป้ง 30 เปอร์เซ็นต์ และหมอนทองดอกบาน 110-125 วัน เปอร์เซ็นต์แป้ง 32 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับผู้มีประสบการณ์ดูด้วยสายตา เคาะด้วยนิ้ว ไม่ต้องทดสอบ เปอร์เซ็นต์แป้ง รับรองแก่เกินมาตรฐานทุกลูก

“คนเก่งจริงๆ สามารถทำเงินจากทุเรียนได้วันละ 100,000 บาท แต่ถ้าไม่เก่งจริงก็ขาดทุนวันละ 1,000,000 บาทได้เช่นกัน ถ้าเราตัดทุเรียนอ่อนไปส่งล้งและล้งให้เรารับผิดชอบ ทำทุเรียนต้องใจรักกว่าจะถึงวันนี้เคยพลาดมาก่อนและนำมาเป็นบทเรียน ต้องศึกษากันจริงๆ กว่าจะชำนาญ เพราะสภาพพื้นที่ อากาศแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ต้องรอบคอบ ไม่ประมาท หมอนทองที่ตำบลห้วงน้ำขาว ตำบลอ่าวใหญ่ 80-90 วัน เปอร์เซ็นต์แป้งตัดได้ แต่จะใช้กับที่อื่นๆ ไม่ได้” ลุงอิ๊ด กล่าว

เทคนิค เคล็ดลับการตัดทุเรียนแก่

ลุงอิ๊ด บอกว่า ทุเรียนตำบลห้วงน้ำขาว ตำบลอ่าวใหญ่ จะสุกก่อนที่อื่นๆ จึงใช้เกณฑ์การนับวันดอกบานไม่ได้ จึงต้องอาศัยประสบการณ์ ความชำนาญเฉพาะตัวของมือมีดไม่ให้ตัดทุเรียนอ่อน โดยดูลักษณะผลภายนอก 4-5 องค์ประกอบ คือ 1. ดูขั้ว จับขั้ว ขั้วแข็งไม่นิ่ม ตัดออกมาแล้วเห็นขอบขั้ววงในชัดเจน 2. ดูร่องหนาม (พู) จะเป็นร่องพูชัดเจน หนามบีบยุบนิ่ม สีอมเหลือง 3. ดูผิวแห้ง ถ้าทุเรียนถูกแดดจะดูสีไม่ได้ 4. การเคาะผิวฟังเสียง เลือกพูเต็มๆ หนามเขียวๆ เคาะฟังเสียงหรือใช้มือดีดตรงพูเฉียงๆ ฟังเสียงหลวมๆ โปร่ง เพราะเนื้อทุเรียนแก่จะคายน้ำ เนื้อจะยุบ ถ้าอ่อนเสียงจะแน่น และ 5. การดูก้นทุเรียน ขึ้นรูปก้นหอยสีเข้ม ร่องสาแหรกชัด

“ทุเรียนดีต้องสุกพร้อมกันทั้งลูก ต้นเดียวกันจะแก่ไม่พร้อมกัน เพราะสภาพอากาศ บางต้นมี 3-4 รุ่น หรือพวงเดียวกัน 3 ลูกจะมี 3 รุ่น อ่อนแก่ห่างกัน 7-10 วัน เราต้องใช้เชือกฟางที่มัดโยงเต้าลูกทุเรียนคนละสี แยกไว้จะชัดเจนที่สุด เพราะถ้าได้เวลาตัดระยะห่างกัน 3-4 วันจะแยกกันไม่ออก” ลุงอิ๊ด เผยเคล็ดลับ

ลุงอิ๊ด ทิ้งท้ายว่า ถ้าชาวสวนไม่ช่วยกัน อย่างไรทุเรียนอ่อนก็แก้ไม่สำเร็จ อาชีพมือตัดทุเรียนทำงาน 3-4 เดือน มีเงินใช้ทั้งปีหรือเป็นเจ้าของสวนทุเรียนได้ สนใจสอบถามลุงอิ๊ด โทร. 087-135-1207

ผู้เข้าอบรมมีทั้งเจ้าของสวน มือตัดทุเรียนรับจ้างที่มีประสบการณ์ และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่คลุกคลีอยู่กับสวนทุเรียนของครอบครัว ล้วนแต่พร้อมจะก้าวสู่มือตัดทุเรียนอาชีพ

คุณมนัส ญาติพิบูลย์ เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ก่อนหน้านี้ขายให้ล้งมาตัด เมื่อเข้าอบรมทดลองตัดมั่นใจว่าเป็นมือตัดส่งล้งที่ส่งออกได้เพราะจะได้ราคาดีกว่า สอดคล้องกับ คุณพงษ์ศักดิ์ เติมศิริรัตน์ หรือ ไก่ ที่ครอบครัวภรรยาเป็นเจ้าของสวนสะละสมโภชน์ที่เป็นสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตร รับนักท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักกันดี มีสวนทุเรียนส่วนใหญ่ขายให้ล้งหรือขายแกะเนื้อขายออนไลน์บ้าง ด้วยทุเรียนทั้งเบญจพรรณของไทย มูซันคิง จึงคิดตัดทุเรียนคุณภาพวางขายในสวนบ้าง

คุณวัชรพล รูปคมสัน เจ้าของสวน “จ่าแดง” career-evolution.net อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จบปริญญาตรี ปี 2558 ช่วยพ่อทำสวน เงาะ มะยงชิด อะโวกาโด และมีทุเรียน 400 ต้น ต้องจ้างแรงงานตัดทุเรียนขายให้ล้ง ใช้วิธีนับวันดอกบานและกรีดดูเนื้อ เมื่ออบรมได้รับความรู้ด้านการบริหารจัดการ การเก็บเกี่ยวที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับการฝึกปฏิบัติในสวน รู้เทคนิค เคล็ดลับการดูทุเรียนแก่เป็นความรู้ที่สุดยอดมาก คิดว่าจะสร้างแรงงานในสวนเป็นมือตัดเองเพิ่มการขายออนไลน์

คุณสุชาติ อิม มือตัดทุเรียนจากอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เรียนรู้ประสบการณ์มือตัดจากล้ง ต้องสังเกต จดจำเองไม่มีการสอน ฝึกอยู่ 1 ปีเต็ม ออกมารับจ้าง-เหมาตัดทุเรียนเอง ขึ้นปีที่ 3 เมื่อเข้าอบรมอาศัยพื้นฐานที่มีอยู่ เมื่อลุงอิ๊ดมาสอนเทคนิค เคล็ดลับ ทำให้มีความมั่นใจเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น คิดว่าความแม่นยำ 90 เปอร์เซ็นต์ อาชีพมือตัดทุเรียนทำเงินได้ดี 1 ปีทำงาน 3-4 เดือนมีรายได้ 300,000-500,000 บาท และยังมีเวลาไปทำอาชีพเจาะไม้หอมได้อีกด้วย

และทีมเยาวชนโรงเรียนอ่าวใหญ่พิทยาคาร ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด มี อาจารย์จักรกฤษณ์ แท่นยั้ง และนักเรียน 3 คน คือ คุณภานุวัฒน์ เอิบสภาพ อายุ 17 ปี ชั้น ม.5 คุณกรีฑา อินทโชติ อายุ 16 ปี ชั้น ม.4 ซึ่งได้ความรู้ไปช่วยพ่อแม่ทำสวนทุเรียน และ คุณณรงค์กร วินาถา อายุ 14 ปี ชั้น ม.2 ช่วยทำสวนของอาจารย์จักรกฤชณ์ ทั้งหมดกล่าวว่า ได้รับความรู้เบื้องต้นเชิงวิชาการและการปฏิบัติในสวนที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน หากฝึกเป็นมือตัดอาชีพต้องมีใจรักมุ่งมั่นจริงๆ และต้องใช้ระยะเวลาสร้างสมประสบการณ์

“ปัญหาทุเรียนอ่อน” ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังทั้งมือตัด เจ้าของสวน โรงคัดบรรจุ (ล้ง) แต่ละปีไทยส่งทุเรียนไปขายตลาดจีน จำนวนมากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณผลผลผลิตภาคตะวันออกปี 2565 จำนวน 720,000 ตัน คาดว่าจะทำรายได้กว่า 100,000 ล้านบาท หากตรวจพบทุเรียนอ่อนนอกเหนือจากโรคพืชและแมลง และโควิด-19 จะส่งผลให้จีนระงับการนำเข้า ทำให้ราคาผลผลิตลดต่ำลงเป็นการทำลายตลาดทุเรียนไทย การสร้างนักตัดมืออาชีพจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญที่แก้ปัญหาทุเรียนอ่อน

คุณชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด กล่าวถึงที่มาการจัดฝึกอบรมมือตัดทุเรียน ที่จังหวัดตราด ว่าปี 2565 จังหวัดตราดมีผลผลิตประมาณ 86,765 ตัน พันธุ์ที่นิยมปลูกคือ หมอนทอง ชะนี กระดุม เริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน 2565 เดือนพฤษภาคมออกมากที่สุด จังหวัดตราดมี 2 ตำบลที่ทุเรียนออกก่อนที่อื่นๆ ทุกสายพันธุ์ประมาณ 20-30 วัน คือ ตำบลห้วงน้ำขาวและตำบลอ่าวใหญ่ ปีนี้มีผลผลิต 1,800 ตัน เพราะพื้นที่อยู่ริมทะเล อากาศโปร่ง ดินเป็นดินทราย ที่ผ่านมาจังหวัดตราดมักจะถูกประนามว่าตัดทุเรียนอ่อน ซึ่งเป็นเรื่องจริงเพราะทุเรียนที่ออกก่อนปริมาณน้อยและราคาพุ่งสูงและซัดทอดมือตัดผู้ตัดทุเรียนอ่อน โยนกันระหว่างเจ้าของสวนหรือของล้ง และปัญหาทุเรียนอ่อนยังเกิดขึ้นทุกปี แม้จะมีกฎหมายออกมาควบคุมลงโทษผู้กระทำผิด