จัดระเบียบอินทผลัม สร้างมาตรฐานเพื่อการค้าภายหลังเมื่อมีองค์กร

กลางที่เข้ามาจัดระเบียบ มาตรฐาน เพื่อให้มีความเท่าเทียมกันทุกแห่ง จึงมีการกำหนดจัดแบ่งเกรดผลอินทผลัมออกตามคุณภาพและขนาดตามมาตรฐานกลางดังนี้ ถ้าผลที่มีขนาด 15-18 กรัม เป็นเกรด A, ขนาด 12-15 กรัม เกรด B, ขนาด 10-12 กรัม เกรด C แล้วถ้าต่ำกว่า 10 กรัม เป็นเกรด D ทั้งนี้ ทุกเกรดต้องมีความหวานไม่ต่ำกว่า 29 บริกซ์

“เมื่อเห็นการเข้ามาจัดการเรื่องมาตรฐานแล้วบอกได้ว่าเริ่มมีความยากเข้ามาไม่เหมือนสมัยก่อนแล้ว ดังนั้น ขอบอกว่าถ้าท่านต้องการเดินเข้ามาในเส้นทางอินทผลัมไม่ต้องรีบ อย่าเร่ง เพราะไม่ง่าย แล้วผมไม่คิดว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ ยกเว้นคุณมีใจสู้เต็มที่แล้วถ้าทำสำเร็จก็ปิดประตูเจ๊งได้เลย เพราะทุกอย่างมีแต่รายได้เข้ามา

คิดง่ายๆ ถ้าคุณขายเพียงกิโลกรัมละ 80 บาทก็ไม่ทันแล้ว เพราะอย่างบาฮีปลูกใช้เวลาเพียง 2 ปีจะได้ผลผลิตเริ่มต้นประมาณ 20-30 กิโลกรัม แล้วปลูกไร่ละ 25 ต้น ถ้าคุณปลูกสัก 5 ไร่ ได้กี่ต้น ได้เงินเท่าไร”

เจ้าของสวนอินทผลัมรายนี้ชี้ให้เห็นถึงการลงทุนปลูกอินทผลัมว่าไม่ต้องใช้เงินลงทุนอะไรมากมาย การปลูกระยะห่าง 8 คูณ 8 เมตร ใช้จักรยานหรือมอเตอร์ไซค์วิ่งทำงานภายในสวนก็ได้ หรือใส่ปุ๋ยก็ให้คนในครอบครัวช่วยกันยังได้ อีกทั้งการจัดตารางดูแลต้นอินทผลัมก็ไม่ได้ยุ่งยาก แล้วทำซ้ำเหมือนกันทุกวัน

“กิจกรรมการปลูกอินทผลัมเป็นงานที่ซ้ำๆ ทุกปี ใส่ปุ๋ยแบบเดิม รดน้ำแบบเดิม ผสมเกสรเหมือนเดิม ดูแล้วอาจง่ายกว่าการปลูกมะนาวเสียด้วย เพียงแต่อินทผลัมเป็นของใหม่ที่ทุกคนเพิ่งรู้จักก็เลยคิดว่ายาก อีกทั้งยังเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตตลอดทุกปี ถ้าใส่ใจยิ่งได้มาก นับเป็นมรดกส่งให้ลูกหลานต่อไปได้

สิ่งเหล่านี้ฟังดูง่ายแต่ในทางปฏิบัติเริ่มต้นไม่ง่ายเลย เพราะอย่างน้อยคุณต้องลงมือทำเองทั้งหมด ต้องผ่านการเรียนรู้ฝึกปฏิบัติอย่างแท้จริงด้วยตัวเอง แต่ถ้าผ่านช่วงการเรียนรู้ไปแล้ว ในขั้นต่อไปคือความชำนาญแล้วจะไม่มีอะไรยากอีกต่อไป”

ปลูกได้ไม่ทั่วประเทศ เพราะอินทผลัมไม่ชอบความชื้นแฉะ

สำหรับแหล่งปลูกอินทผลัมในไทยก็ไม่ได้ปลูกกันทุกภาค ภาคที่ดูจะได้เปรียบทางภูมิศาสตร์สักหน่อยคือภาคกลาง หรือทางอีสานก็ได้ ทางภาคเหนือตอนล่างจะดี แต่เหนือตอนบนในบริเวณภูเขายิ่งแย่ ทางใต้น่าจะประมาณเพชรบุรีหรือชุมพร หรือถ้าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามปลูกได้เพียงครึ่งประเทศเพราะเจอพายุเข้าก็จบ

เหตุผลที่บอกเช่นนี้เพราะโดยธรรมชาติของอินทผลัมไม่ชอบความชื้นแฉะ อุณหภูมิที่ชอบประมาณ 32-38 องศา อันนี้ปลูกได้ไม่ตาย แต่คุณภาพผลผลิตจะออกมายังไงตอบไม่ได้ ส่วนอุณหภูมิที่ไม้ผลชนิดนี้ชอบมากคือ 18 องศา ช่วงเดือนที่เหมาะมากคือประมาณธันวาคม-มกราคม

“ดังนั้น ถ้าสวนคุณอยู่ในตำแหน่งที่มีอากาศหรืออุณหภูมิในตอนเช้าประมาณ 18 องศาติดต่อกันสัก 7 วันเพื่อให้เกิดการสร้างตาดอกเก็บไว้ที่ซอกกาบใบแล้ว รับประกันได้ว่าในปีนั้นผลผลิตที่คุณหวังไว้เป็นไปตามจริงแน่ คุณได้เห็นเงินก้อนแน่”

ความหวานไม่เป็นอันตราย แถมยังมีสรรพคุณมากมายต่อสุขภาพ

หลายคนที่เพิ่งรู้จักอินทผลัมเมื่อได้ลองชิมต่างบอกตรงกันว่าหวาน เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องบอกว่าถึงแม้อินทผลัมจะมีรสหวาน แต่ไม่อันตรายต่อสุขภาพ ในทางตรงกันข้ามกลับมีประโยชน์มากด้วย (ยกเว้นห้ามรับประทานมากเกินไป) ที่พูดเช่นนี้เพราะได้อ่านงานวิจัยของหลายสถาบันแล้ว

“อย่างคนที่รับประทานอินทผลัมวันละไม่กี่เมล็ดร่วมกับอาหารสุขภาพต่างๆ ภายในเวลา 5 วันปรากฏว่าน้ำหนักลดลง เพราะอินทผลัมที่มีขนาดผลใหญ่จำนวน 7 ผล มีแคลอรีหรือพลังงานเท่ากับข้าวแกง 1 จาน ฉะนั้น ในวงการสุขภาพจึงให้เครดิตอินทผลัมว่าเป็นอีกหนึ่งผลไม้สุขภาพที่น่าสนใจ”

คุณอนุรักษ์ บอกว่า การแปรรูปอินทผลัมสามารถทำได้หลายอย่าง ถ้าช่วงไหนที่คุณไม่พอใจราคาขายแล้วยังไม่ต้องการขายก็นำอินทผลัมสดไปเก็บในตู้เย็นในช่องแช่แข็งจะพบว่าภายในเวลา 5 วันนำมารับประทานแล้วจะมีความกรอบ มีเนื้อคล้ายไอศกรีม อาจจะสุกเล็กน้อย มีความฉ่ำ และทุกวันนี้ที่สวนของผมมีออเดอร์ส่งให้เอสแอนด์พี เพื่อนำไปประยุกต์กับเมนูอาหารได้มากมาย

รวมตัวกันจัดตั้ง “กลุ่มปลูกอินทผลัมภาคตะวันตก (WDP)” เจาะตลาดในและต่างประเทศ สำหรับการรวมตัวของผู้ปลูกอินทผลัมจากจังหวัดทางภาคตะวันตก หรือในชื่อเรียกว่า “กลุ่มปลูกอินทผลัมภาคตะวันตก (WDP)” นอกจากจะร่วมกันขายผลสดแล้วยังวางแผนเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นน้ำอินทผลัมหรืออินทผลัมอบกรอบ โดยได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ดึงเฉพาะน้ำออกจากผลจึงไม่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างอื่นเสีย ซึ่งเมื่อคุณรับประทานแล้วจะรู้สึกคล้ายกับการรับประทานทุเรียนอบกรอบ

นอกจากนั้น ยังแปรรูปเป็นผงในรูปแบบเดียวกับซีรีแล็คที่ใส่ชงกับน้ำร้อนดื่ม สำหรับเป็นอาหารเสริม แล้วยังมีแบบผงที่มีลักษณะเดียวกับคอฟฟี่เมต เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะของอินทผลัมที่มีแป้งกับเส้นใยอาหารและน้ำตาลอยู่แล้วเมื่อนำมาผสมกับกาแฟได้ทันทีโดยไม่ต้องปรุงอะไรอีก

คุณอนุรักษ์ แสดงความเป็นห่วงแล้วไม่สบายใจว่า มีหลายคนยังไม่รู้จักอินทผลัมเป็นอย่างดี พอได้รับฟังข้อมูลจากแห่งต่างๆ ที่แนะนำก็หลงเชื่อ เพราะคนเหล่านั้นมีเจตนาไม่ดีมาหลอกเอาเงิน อย่าไปเชื่อถ้าเขาบอกว่ามีต้นพันธุ์เพาะเนื้อเยื่อแท้จำหน่ายในราคาถูก ความจริงในประเทศไทยยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัมในตอนนี้ได้ ดังนั้น หากมีใครมาแอบอ้างว่าสวนของเขาเพาะต้นเนื้อเยื่อได้ขอให้คิดไว้ก่อนล่วงหน้าว่าถูกหลอก

พร้อมทั้งยังระบุว่าต้นพันธุ์เพาะเนื้อเยื่อทุกต้นที่นำมาจากตะวันออกกลางมีหลักฐานการผลิตเป็นแถบบาร์โค้ดที่ตรวจสอบกลับแหล่งที่มาได้ ฉะนั้น กว่าท่านจะรู้ตัวว่าถูกหลอกอาจเสียเงินไปจำนวนมากแล้ว จึงฝากไว้ว่าเมื่อใดที่ท่านเจอเรื่องเหล่านี้ ขอให้โปรดได้ใช้ความระมัดระวัง อย่าด่วนตัดสินใจ ถามคนที่อยู่ในวงการที่เชื่อถือได้เสียก่อน

“การเดินทางอยู่บนอาชีพอินทผลัมอย่าเพียงคิดว่าต้องมีความเข้าใจอย่างเดียว ควรต้องเข้าถึงด้วย เริ่มต้นอย่าทำมาก ค่อยๆ เพิ่ม แล้วควรศึกษาปัญหาระหว่างทำด้วยตัวเอง จนเกิดความชำนาญทางเทคนิคและอื่นๆ ถ้าถามว่าปลูกอินทผลัมง่ายไหม ผมตอบว่าง่าย เพราะคลุกคลีกันมายาวนานเป็นสิบปี

ฉะนั้น ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าอินทผลัมยังมีอนาคตอีกยาวไกล เพราะที่พูดมาเป็นเพียงภาพรวม แต่ต่อไปในอนาคตมองว่าอินทผลัมยังอาจมีอะไรทำได้มากกว่านี้” คุณอนุรักษ์ กล่าวปิดท้าย

การปลูกมะม่วงแบบประสบการณ์จริง เป็นการรวบรวมเอาเทคนิคและวิธีการจากชาวสวนมะม่วงที่ประสบความสำเร็จ นำมาเรียบเรียงเพื่อให้ผู้อ่านอ่านง่าย และนำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติได้จริง

มะม่วง เป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกสภาพ แต่หากจะปลูกมะม่วงในเชิงพาณิชย์และเพื่อการส่งออกจะต้องเลือกพื้นที่ที่ค่อนข้างดอน น้ำไม่ท่วมขัง กรณีพื้นที่เป็นที่ลุ่มจะต้องยกร่องเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เพราะนิสัยของมะม่วงแม้จะทนต่อสภาพน้ำท่วมขังแต่หากน้ำท่วมนานๆ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลผลิต อีกประการที่สำคัญคือแปลงมะม่วงที่มีน้ำท่วมขังมักเกิดปัญหาโรคเข้าทำลายได้ง่ายกว่าแปลงปลูกที่มีการระบายน้ำดี

การเตรียมพื้นที่ปลูก “พื้นที่ดอน” การปลูกมะม่วงในพื้นที่ดอนจะต้องปรับพื้นที่ให้ค่อนข้างเรียบเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน เก็บเศษไม้และก้อนหินออกให้หมด จากนั้นให้ไถดินตากไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

การวัดระยะปลูก ก่อนอื่นจะต้องดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก นักวิชาการหลายท่านต่างแนะนำให้วัดระยะแถวในแนวเหนือ-ใต้ หรือปลูกมะม่วงแบบขวางตะวันเพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึงทุกต้น แต่บางครั้งสภาพพื้นที่ของเราไม่อำนวยก็สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ได้

ระยะปลูกที่เหมาะสมโดยทั่วไปแล้ว จะใช้ระยะระหว่างต้น 6 เมตร และระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 45 ต้น แต่อาจมีเกษตรกรบางรายปรับระยะปลูกใหม่ให้ชิดกว่าเดิม เป็นระหว่างต้น 5 เมตร และระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 52 ต้น ได้จำนวนต้นมะม่วงเพิ่มจากเดิม 7 ต้น ต่อไร่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อย แต่การปลูกระบบนี้ชาวสวนจะต้องควบคุมทรงต้นให้ดี

“พื้นที่ลุ่ม” สำหรับในพื้นที่ลุ่มอาจจะมีความยุ่งยากเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มที่มีประวัติน้ำท่วมขังสูง ถ้าระดับน้ำเคยท่วมสูงมากจะต้องทำคันกั้นน้ำให้สูงกว่าระดับที่น้ำเคยท่วมมาก่อนประมาณ 0.5-1 เมตร ก่อนแล้วจึงยกร่อง แต่หากน้ำขังไม่มากให้ใช้วิธีการยกร่องอย่างเดียวก็พอ การขุดร่องโดยทั่วไปแล้วควรจะต้องให้สันร่องมีความกว้างประมาณ 5 เมตร ตัวร่องน้ำกว้างประมาณ 1.50-2 เมตร ส่วนความลึกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ละแปลง ที่ต้องกำหนดให้มีสันร่องกว้างๆ ก็เพื่อความสะดวกของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในระยะห่อผลและเก็บผลผลิต ผู้เขียนเคยไปพบแปลงมะม่วงแปลงหนึ่งที่ปลูกแบบยกร่อง แต่มีสันร่องที่ค่อนข้างแคบมากทำให้มีปัญหาในการปฏิบัติงาน คนงานไม่สามารถห่อผลผลิตได้ เพราะไม่มีพื้นที่ในการตั้งบันได ทำให้เสียโอกาสในการผลิตมะม่วงคุณภาพดีๆ เพราะไม่ได้ห่อผล

การเตรียมหลุมปลูก หากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ แนะนำให้ใช้เครื่องเจาะหลุมช่วยจะเป็นการประหยัดเวลาและช่วยประหยัดค่าแรงงานไปได้มาก เครื่องเจาะที่นิยมใช้โดยทั่วไป จะมีขนาดหลุมกว้าง 50-75 เซนติเมตร เจาะลึกลงไปประมาณ 50 เซนติเมตร แต่หากเป็นการปลูกไว้ตามสวนหลังบ้าน แบบบ้านละ 1-2 ต้น ให้ใช้จอบขุดหลุมกว้าง, ยาวและลึก 50 เซนติเมตร ก็พอ หลังขุดหลุมเสร็จให้หาปุ๋ยคอกเก่ามาผสมกับดินที่ขุดขึ้นมา ต้นละ 1-2 บุ้งกี๋ พยายามใช้จอบผสมคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยคอกให้เข้ากันดี เพราะหากผสมไม่ดีอาจมีปัญหาทำให้มะม่วงที่ปลูกใหม่ตายเพราะปุ๋ยคอกได้

เมื่อผสมเสร็จให้โกยดินที่ผสมลงในหลุมเหมือนเดิม โดยพูนดินให้เป็นในลักษณะหลังเต่า ทิ้งเวลาไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงเริ่มปลูกมะม่วงได้ แต่บางครั้งพบเกษตรกรบางรายใช้วิธีขุดหลุมแล้วปลูกเลย ปุ๋ยคอกจะนำมาใส่ทีหลัง วิธีนี้ก็สามารถทำได้โดยเฉพาะคนที่ปลูกในพื้นที่มากๆ และไม่สามารถหาแรงงานในการเตรียมหลุมได้

พันธุ์มะม่วงที่น่าปลูก เกษตรกรหลายรายมักตั้งคำถามว่า “จะปลูกมะม่วงพันธุ์อะไรดี” คำถามนี้ยังไม่มีใครกล้าตอบแบบฟันธงได้ เพียงแต่สามารถให้คำแนะนำเพื่อประกอบการตัดสินใจว่า ควรจะเลือกปลูกพันธุ์อะไรดี แต่จากข้อมูลทั้งภาครัฐและเอกชนต่างยอมรับว่าพันธุ์มะม่วงที่มีผู้นิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุดของบ้านเราในปัจจุบันนี้ ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้ (ทั้งพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 และน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นมะม่วงบริโภคผลสุก) เพราะเป็นพันธุ์ที่ตลาดมีความต้องการสูง ขายได้ราคา มีตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองตลาดต่างประเทศเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนมะม่วงในกลุ่มบริโภคผลดิบหรือมะม่วงมัน เช่น เขียวเสวย, แรด, ฟ้าลั่น, เพชรบ้านลาด, มันขุนศรี ฯลฯ พื้นที่ปลูกมีไม่มากนักและกำลังลดลงเรื่อยๆ เพราะขายได้ราคาต่ำกว่าพันธุ์น้ำดอกไม้ เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการน้อย

การเตรียมกิ่งพันธุ์ มีปราชญ์หลายท่านพูดว่า “การเริ่มต้นที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” การทำสวนมะม่วงก็เช่นกัน ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อกิ่งพันธุ์จะต้องแน่ใจว่ากิ่งพันธุ์ที่เราจะซื้อมาปลูกนั้นดีจริง เกษตรกรสวนมะม่วงหลายรายมีวิธีในการเลือกซื้อกิ่งพันธุ์ดังนี้

1.จะต้องเป็นกิ่งพันธุ์แท้ตรงตามพันธุ์ที่เราต้องการ ปัญหาเรื่องการซื้อมะม่วงพันธุ์หนึ่งแล้วได้อีกพันธุ์หนึ่งไปแทนเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะกิ่งพันธุ์ที่ออกมาขายกันใหม่ๆ ราคาแพงๆ หากซื้อไปแล้วเป็นพันธุ์ปลอมนอกจากจะเสียเงินเสียเวลาแล้วยังช้ำใจไปอีกนาน ในเรื่องนี้ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ในช่วงที่มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองออกขายใหม่ๆ คนแห่กันปลูกกันมาก ปลูกไปได้ไม่นานมะม่วงที่ออกมากลับไม่เป็นพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง แต่เป็นมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 แทน ดังนั้น ก่อนซื้อจะต้องซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้

เป็นกิ่งแข็งแรงสมบูรณ์ กิ่งมะม่วงที่จะนำมาทำพันธุ์จะต้องเป็นกิ่งที่แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงรบกวน ถ้าเป็นกิ่งใหญ่จะต้องมีขนาดสมดุลกับต้นตอ ไม่ใช่กิ่งใหญ่แต่ต้นตอเล็กมาก จะพบปัญหาด้านการเจริญเติบโต การเลือกกิ่งพันธุ์จะต้องเป็นกิ่งที่ตัดชำมาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ใบไม่เหี่ยวแห้ง กิ่งที่ดีใบจะต้องเขียวเป็นมัน แสดงว่าระบบรากขยายดีพร้อมปลูก

ต้องขยายพันธุ์จากต้นที่ไม่เคยราดสารแพคโคลบิวทราโซลมาก่อน เพราะหากเราใช้กิ่งพันธุ์ที่ผ่านการราดสารฯมาปลูกมักพบปัญหากิ่งเลื้อยและต้นไม่ค่อยเจริญเติบโต เวลาซื้อให้สังเกตง่ายๆ หากพบว่ากิ่งพันธุ์ที่ซื้อมามีลักษณะเลื้อยยอดไม่ตั้งเหมือนมะม่วงปกติแสดงว่าขยายพันธุ์มาจากต้นที่ผ่านการราดสารมาแล้วควรหลีกเลี่ยง
การปลูก เมื่อเราได้กิ่งพันธุ์มาแล้ว ก่อนปลูกประมาณ 1-2 วัน ต้องงดน้ำเพื่อให้ดินในถุงแห้ง ป้องกันดินแตกเวลาปลูก (ดูว่าให้แค่พอแห้ง ไม่ใช่ปล่อยจนมะม่วงเหี่ยว) ก่อนปลูกอาจรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 16 – 16 – 16 ต้นละประมาณ 1 ช้อน ถ้าปลูกแปลงใหญ่ แนะนำให้ขุดหลุมให้เสร็จเสียก่อนแล้วค่อยปลูกทีหลัง เพื่อความสะดวกในการเล็งต้นให้เป็นแนวตรงกัน ที่สำคัญก่อนปลูกเวลาวางกิ่งพันธุ์ ห้ามให้กิ่งพันธุ์ล้มหรือนอนเพราะกิ่งพันธุ์จะตายได้ง่าย ต้องวางกิ่งพันธุ์ให้ตั้งเท่านั้น

การให้น้ำมะม่วงที่ปลูกใหม่ การปลูกมะม่วงในระยะแรกจะต้องให้น้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ มีหลายท่านสอบถามว่าจะต้องรดน้ำกี่วันต่อครั้ง คำตอบคือ ให้ดูจากความชื้นของดินเป็นหลัก กรณีปลูกมะม่วงหน้าฝนอาจจะไม่ต้องรดน้ำเลยก็ได้ แต่หากเป็นช่วงฤดูแล้งอาจจะต้องรดน้ำ 5-7 วัน ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและอากาศ ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรหลายท่านใช้ฟางข้าวมาคลุมที่โคนต้นมะม่วงเพื่อลดการระเหยของน้ำ ทำให้ดินมีความชื้นได้นานขึ้นเว้นระยะเวลาในการรดน้ำนานออกไปได้

สิ่งที่ต้องจำไว้เสมอสำหรับมะม่วงปลูกใหม่ก็คือ ห้ามขาดน้ำโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแตกใบอ่อนหากขาดน้ำต้นมะม่วงอาจตายได้และต้นมะม่วงที่ได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอจะมีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าต้นมะม่วงที่ขาดน้ำอย่างเห็นได้ชัด

การใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกมะม่วงไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน หรือสังเกตเห็นว่ามะม่วงเริ่มแตกใบอ่อน ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 อัตราต้นละประมาณ 1 ช้อนแกง โดยใส่กระจายให้ทั่วต้นแล้วรดน้ำจนปุ๋ยละลายและให้ใส่ซ้ำทุก 2 เดือน เพื่อให้ต้นมะม่วงมีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่อเนื่อง ส่วนปุ๋ยคอกนั้นให้ใส่อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จากประสบการณ์ผู้เขียนเคยพบแปลงมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ได้รับการใส่ปุ๋ยดูแลอย่างดี อายุต้นประมาณ 3 ปี แต่มีขนาดทรงต้นใหญ่กว่ามะม่วงทั่วไป สามารถให้ผลผลิตได้เร็วกว่า

การฉีดพ่นสารเคมี เป็นเรื่องจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยสำหรับการปลูกมะม่วงแบบการค้าคือ การใช้สารเคมี เพราะโรคแมลงนั้นร้ายกาจรุนแรงกว่าที่จะใช้วิธีทางชีวภาพ ดังนั้น การใช้สารเคมีจึงเป็นทางเลือกที่เกษตรกรชาวสวนมะม่วงส่วนใหญ่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูของมะม่วง มะม่วงปลูกใหม่ชาวสวนจะฉีดพ่นโคนต้นด้วยสารฟิโปรนิลเพื่อป้องกันปลวกมากัดกินขุยมะพร้าวที่อยู่บริเวณราก ซึ่งจะทำให้รากมะม่วงไม่มีที่ยึดเกาะ กิ่งจะแห้งตายได้ ที่สำคัญปลวกยังชอบเข้ามากัดทำลายหลักค้ำยันต้นทำให้ต้นมะม่วงโค่นล้มได้ง่าย

ใบอ่อนแตกใหม่ ถ้าจะให้เจริญเติบโตดีต้องฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันโรคแมลงโดยทั่วไปแล้วเกษตรกรจะยึดหลักดังนี้

1.ฉีดปุ๋ยทางใบ เพื่อให้ใบอ่อนสมบูรณ์ ที่ใช้กันมากคือ ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 21-21-21 หรือ 20-20-20 หรือ 18-6-6 อัตราตามคำแนะนำข้างฉลาก

2.ฉีดยาฆ่าแมลง เพราะช่วงใบอ่อนมักมีแมลงมาทำลายที่พบบ่อยๆ ก็คือ เพลี้ยไฟ, หนอนกัดกินใบ, แมลงค่อมทอง, ด้วงกรีดใบ ฯลฯ ศัตรูเหล่านี้กำจัดไม่ยากหากเราหมั่นตรวจแปลงบ่อยๆ จะสามารถแก้ไขได้ทัน

แต่สำหรับเกษตรกรแล้วจะใช้วิธีฉีดป้องกันดีกว่า เรียกได้ว่ายังไม่เห็นตัวแมลงก็ฉีดกันแล้ว ยากลุ่มที่ใช้กันมากที่สุด ได้แก่ ไซเปอร์เมทริน (เช่นโกลน็อค), เซฟวิน-85 ฯลฯ หลายครั้งที่เกษตรกรลืมดูแลมะม่วงช่วงแตกใบอ่อนแมลงเหล่านี้ก็จะเข้ามาทำลายทำให้ต้นมะม่วงโตช้ากว่าที่ควรจะเป็น

3.ฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อรา ในช่วงใบอ่อน นอกจากแมลงจะเข้าทำลายแล้ว โรคที่พบมากที่สุดก็คือ โรคแอนแทรคโนสทำลายใบอ่อน ทำให้ใบเสียหายต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรป้องกันโดยการฉีดพ่นยาเชื้อรา เช่น อโรไซด์, แอนทราโคล ฯลฯ

ผลไม้เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่สูงทางภาคเหนือมีหลากหลายชนิด ซึ่งพลับเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรบนพื้นที่สูงนิยมปลูก ดังเช่น บ้านแม่แฮ ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ที่ได้รับการส่งเสริมการปลูกจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ เพื่อสร้างรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ เริ่มมีการปลูกพลับมาตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2470 แต่การปลูกพลับเป็นการค้านั้น เริ่มจากมูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำพลับพันธุ์ต่างๆ มาทดลองปลูกและศึกษาวิจัยเมื่อ พ.ศ. 2512 ที่สถานีวิจัยดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ และส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูกเป็นอาชีพทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ปลูกพลับส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในพื้นที่โครงการหลวง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยส้มป่อย ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง จ.เชียงราย

พันธุ์พลับที่ปลูกในประเทศไทย มีทั้งชนิดพลับฝาด ผลจะมีรสฝาด ตั้งแต่ระยะผลพลับยังอ่อนจนถึงผลแก่แต่ยังไม่สุกนิ่มเพราะมีสารแทนนินชนิดละลายน้ำได้ เป็นส่วนประกอบอยู่ โดยปกติผลพลับฝาดจะมีปริมาณแทนนิน อยู่ 0.80-1.94 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักผล เมื่อรับประทานดิบๆ จะทำให้เซลล์ของแทนนินแตกเกิดรสฝาดและเหนียวติดปาก ในทางการค้าจะนำไปผ่านกระบวนการขจัดความฝากในขณะที่ผลแก่แต่ยังไม่สุกนิ่มเพื่อทำให้สารแทนนินเปลี่ยนไปอยู่ในรูปไม่ละลายน้ำและบริโภคได้ในขณะที่ผลยังแข็งอยู่ ปริมาณสารแทนนินนี้จะมีมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ พันธุ์พลับฝาด ได้แก่ พันธุ์ซือโจ หรือพี 2 พันธุ์ฮาชิยา และโทเนวาเซ่ เป็นต้น

พลับหวาน ผลจะมีรสหวาน ไม่มีรสฝาด ถึงแม้ว่าผลจะยังไม่สุกนิ่ม เมื่อผลแก่สามารถเก็บจากต้นมารับประทานได้เลย โดยไม่ต้องใช้วิธีการขจัดความฝาด พันธุ์พลับหวาน ได้แก่ พันธุ์ฟูยู พันธุ์จิดร พันธุ์อิซึ และเฮียะคุมะ เป็นต้น

นอกจากพลับจะแบ่งเป็นพลับฝาดและพลับหวาน ยังแบ่งตามชนิดสีเนื้อคงที่ เป็นพลับที่สีของเนื้อคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะมีการผสมเกสรจนติดเมล็ดหรือไม่ก็ตาม แต่จะสังเกตเห็นจุดสีเข้มเป็นจุดเล็กๆ ในบางพันธุ์ พลับหวานชนิดสีเนื้อคงที่สามารถรับประทานได้ในขณะที่ผลยังแข็ง

ส่วนพลับชนิดเนื้อสีเปลี่ยนแปลง สีเนื้อของผลจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการผสมเกสร จนเกิดเมล็ดโดยเนื้อผลจะเปลี่ยนจากสีเหลืองอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดงบริเวณรอบๆ เมล็ดที่เกิดขึ้น แต่ถ้าการผสมเกสรไม่ดี วนที่ไม่ได้รับการผสมจะไม่มีเมล็ดและเนื้อผลบริเวณนั้นจะมีสีเหลืองอ่อนหรือหากมีเพียงเมล็ดเดียวที่ได้รับการผสมก็จะปรากฏสีน้ำตาลแดงให้เห็นเฉพาะรอบๆ บริเวณเมล็ดเท่านั้น

สำหรับพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้เป็นพันธุ์การค้า คือ พลับฝาด พันธุ์ซือโจ หรือ พี 2 เป็นพลับฝาดชนิดสีของเนื้อคงที่ นำเข้าจากประเทศไต้หวัน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยต้องการความหนาวเย็นไม่ยายนานนัก ปลูกเป็นการค้าได้ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 900 เมตรขึ้นไป ใบแก่ก่อนร่วงจะมีสีส้มแดง ผลมีลักษณะทรงสีเหลี่ยมค่อนข้างแบน เนื้อผลสีเหลืองอ่อน น้ำหนักผลประมาณ 80-140 กรัม ไม่ค่อยมีเมล็ด ติดผลค่อนข้างดก ผลผลิตมีคุณภาพดีมากซึ่งมีสีเหลืองสม่ำเสมอทั้งผลในขณะที่ผลยังแข็งอยู่และหลังขจัดความฝาดแล้วเนื้อผลยังรักษาความกรอบได้ดี ความหวานประมาณ 17 องศาบริกซ์ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกมากที่สุด ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด

พลับหวาน พันธุ์ฟูยู เป็นพลับหวานชนิดสีเนื้อคงที่ พันธุ์ที่โครงการหลวงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก มีการนำพันธุ์เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา นิยมปลูกเป็นการค้าในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่ในประเทศไทยยังมีการปลูกและมีผลผลิตน้อยมาก เพราะเป็นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตช้ามาก และต้องการอากาศที่หนาวเย็น พื้นที่ที่เหมาะสำหรับปลูกพันธุ์นี้จะต้องมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตรขึ้นไป

นอกจากนี้ยังมีปัญหาขั้วแตก ผลผลิตจึงเสียหายมากเมื่อโดนน้ำฝน ใบพลับพันธุ์ฟูยูมีสีเขียวเข้ม ฐานใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกไม่สมบูรณ์เพศ มีทั้งดอกตัวผู้และตัวเมีย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นดอกตัวเมีย สามารถติดผลได้โดยไม่ต้องผสมเกสร ดอกตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ กลีบดอกสีเขียวอ่อน มองเห็นรังไข่ได้อย่างชัดเจน ผลมีลักษณะกลมแบนเล็กน้อยมี 4 พู มีเมล็ด 2-4 เมล็ด เมื่อสุกผลมีสีเหลืองสดจนถึงอมส้ม รสหวาน เนื้อกรอบ ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ และเก็บเกี่ยวได้ประมาณกลางเดือนกรกฎาคม ถึงต้นเดือนกันยายน พลับพันธุ์ฟูยูในประเทศไทยมีน้ำหนักผล ประมาณ 150-200 กรัม

และพลับหวาน พันธุ์เฮียยะคูเมะ เป็นพลับหวานชนิดสีเนื้อของผลเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันมีการปลูกน้อยเช่นกัน เพราะยังติดผลได้ไม่ดีนัก ลักษณะผลค่อนข้างยาวคล้ายรูปหัวใจ และขนาดค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักประมาณ 150-200 กรัม ผลมีสีเหลืองแต่ก้นผลจะมีรอยเส้นเป็นขีดสีดำทำให้ดูไม่สวยงาม แต่คุณภาพในการรับประทานสดดี เมื่อดอกได้รับการผสมเกสรหรือติดเมล็ด สีของเนื้อใกล้ๆ บริเวณที่ติดเมล็ดจะมีน้ำตาลแดงและไม่มีรสฝาด แต่บริเวณที่ไม่มีเมล็ดเนื้อผลจะมีสีเหลืองอ่อนและมีรสฝาดมาก ซึ่งถ้าดอกได้รับการผสมเกสรไม่ทั่วถึงจะมีการติดเมล็ดน้อย ในผลนั้นจะมีส่วนที่มีรสหวานและรสฝาดอยู่ด้วยกัน ซึ่งลักษณะนี้เมื่อสังเกตจากภายนอกจะไม่ทราบ ดังนั้นก่อนที่จะนำผลมารับประทานหรือจำหน่าย ต้องนำไปขจัดความฝาด เพื่อความแน่ใจโดยการบ่มด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์อื่นๆ ที่อยู่ในระหว่างการศึกษาทั้งพลับหวาน และพลับฝาด อีกหลายสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ไจแอนท์ฟูยู จิโร อั้งไส ไนติงแกล จากประเทศญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เพื่อนำมาปลูกในประเทศไทย

ศูนย์พัฒนาโครงการแม่แฮ ต.แม่นาจร อ.แม่เจ่ม จ.เชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า การปลูกเริ่มต้นจากการเตรียมต้นตอพลับเต้าซื่อหรือต้นที่มีความทนทานโรคและหาอาหารเก่ง อายุประมาณ 6-12 เดือน ขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 12 นิ้ว ความกว้างระหว่างแปลงประมาณ 8-10 เมตร ต่อไร่จะปลูกได้ต้นพลับได้ประมาณ 45 ต้น หลังจากที่ขุดหลุมเรียบร้อยแล้วนำปุ๋ยคอกรองก้นหลุมแล้วนำต้นเต้าซื่อที่เตรียมไว้มาปลูก ใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี สามารถเปลี่ยนยอด โดยนำยอดพลับที่คัดเลือกคุณภาพมาแล้วมาเสียบ หลังจากเสียบยอดอีกประมาณ 2-3 ปี พลับจะให้ผลผลิต แต่ในปีแรกผลผลิตที่ได้ยังมีจำนวนน้อย

ส่วนการตกแต่งกิ่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ใส่ปุ๋ยคอกรอบต้น ล้างแปลงด้วยปิโตรเลียมออยล์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยหอย สารเคมี หลังจากนั้น ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ต้นพลับจะเริ่มแตกใบออกพร้อมติดผล มีการฉีดพ่นสารป้องกันเพลี้ยไฟ และใส่ปุ๋ยคอกอีกรอบ จากนั้นจะใส่ปุ๋ยอีกประมาณ 2 ครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต

ตั้งแต่ติดผลจนถึงเก็บเกี่ยวผลใช้ระยะเวลา 5-6 เดือน ประมาณเดือนสิงหาคม – กันยายน โดยแต่ละต้นเก็บได้ 3 รุ่น แต่ละรุ่นประมาณ 50 กิโลกรัม เฉลี่ยแล้วต่อต้นในหนึ่งฤดูกาลจะเก็บได้ประมาณ 150-200 กิโลกรัม ภายหลังที่เก็บเกี่ยวแล้วจะคัดขนาดและสีผิวให้ได้คุณภาพที่ดีใส่ถุงพลาสติกใสแล้วอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถนำมาจำหน่ายได้ โดยการบ่ม จะใช้เวลา 4-6 วัน หลังจากที่ใส่ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถรับประทานได้ ซึ่งจะไม่มีรสชาติฝาด ในกรณีที่พลับยังฝาดอยู่เนื่องจากว่าการเปิดถุงพลับเพื่อรับประทานอาจจะเปิดก่อนกำหนดที่ความฝาดจะหมด สำหรับราคาพลับประมาณกิโลกรัมละ 20-25 บาท

นอกจากที่ทางศูนย์ฯ จะทำการวิจัยและปลูกภายในศูนย์ฯ ยังส่งเสริมให้กับเกษตรกร โดยจัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้เกษตรกรที่สนใจได้เข้ามาศึกษา ซึ่งทำให้เกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในการปลูกพลับ ที่สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ต่อยอดจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮได้อีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจจากที่อื่นๆ มาศึกษาเรียนรู้ต่อไป

ผู้สนใจ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผมอยากทราบข้อมูลการผลิตและการส่งออกของสินค้าเกษตรบ้านเราในภาพรวม ทั้งพืชเศรษฐกิจ การปศุสัตว์ และประมง ว่ามีความเป็นไปอย่างไร ที่ผ่านมาเห็นแต่รายงานสินค้าเกษตรบางชนิดเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีปัญหาทั้งนั้น ผมคิดว่าข้อมูลภาพรวม นอกจากจะเป็นประโยชน์กับผมแล้ว ยังเผื่อแผ่ไปถึงผู้บริหารบ้านเมืองและของตัวเกษตรกรเอง ดังนั้น ผมจึงขอรบกวนคุณหมอเกษตร กรุณาหาข้อมูลดังกล่าวให้ทราบด้วย ผมขอขอบคุณมาเป็นการล่วงหน้า

ตอบ คุณสุวัฒน์ ชัยศิริธรรม

คำถามของคุณเป็นคำถามที่ดีมาก ข้อมูลต่อไปนี้ ผมรวบรวมมาจากรายงานประจำปี ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผมถือโอกาสขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอข้ามไปที่ญี่ปุ่นก่อนครับ ผมชอบใจที่เขาสรุปว่า ญี่ปุ่นเองผลิตอาหารได้เองเพียง 45 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น อีก 55 เปอร์เซ็นต์ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น เขาจึงมีแผนการผลิตและการนำเข้าสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบอย่างน่าชื่นชม กลับมาเข้าเรื่องของเราต่อครับ ผมจะนำสินค้าเกษตรที่สำคัญที่เราผลิตได้ การใช้บริโภคภายในประเทศและการส่งออกของปีการผลิต พ.ศ. 2560/2561 ตามลำดับ ดังนี้

ข้าว นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศก็ว่าได้ fixcounter.com ปริมาณการผลิต รวมทั้งนาปี และนาปรัง ได้ 32 ล้านตันข้าวเปลือก เมื่อแปรรูปเป็นข้าวสารแล้วมีปริมาณ 24 ล้านตัน โดยใช้บริโภคภายในประเทศ 11 ล้านตันข้าวสาร และส่งออกในปริมาณ 11 ล้านตันเท่ากัน ทั้งนี้ ลูกค้าสำคัญคือ จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และฮ่องกง ด้วยพอใจในคุณภาพ อีกทั้งราคาส่งออกใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง ประกอบด้วย เวียดนาม ปากีสถาน และเมียนมา โดยมีเกษตรกรที่เป็นชาวนา รวม 3.7 ล้านครัวเรือน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปริมาณการผลิต 4.7 ล้านตัน แต่ปริมาณความต้องการภายในประเทศสูงถึง 8.0 ล้านตัน ต้องนำเข้าในรูปของกากข้าวโพดที่เหลือจากขบวนการผลิตเอทานอลจากสหรัฐอเมริกา เข้ามาทดแทนในส่วนที่ต้องการ เนื่องจากขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์

มันสำปะหลัง ปริมาณการผลิต 30 ล้านตัน มันสด ต้องการใช้ภายในประเทศ 10 ล้านตัน ส่วนที่เหลือส่งออกในรูปมันเส้น และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ เนื่องจากต้นปี 2559 เกิดภาวะแห้งแล้งทำให้พื้นที่บางแห่งได้รับความเสียหาย เกษตรกรบางส่วนจึงหันไปปลูกอ้อย ข้าวโพด และสับปะรดแทน ทำให้ปริมาณการผลิตลดลง

อ้อยโรงงาน ปริมาณการผลิต 92 ล้านตัน แปรรูปเป็นน้ำตาลได้ 9.9 ล้านตัน ต้องการใช้ภายในประเทศ 2.6 ล้านตัน ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น เมียนมา และกัมพูชา เนื่องจากประสบปัญหาฝนแล้ง เมื่อปี 2559 ทำให้ต้นอ้อยไม่สมบูรณ์ การนำเข้าโรงงานไม่ทัน ผลผลิตโดยรวมลดลง

สับปะรดโรงงาน ปริมาณการผลิต 2.1 ล้านตัน ใช้บริโภคภายในประเทศ 0.23 ล้านตัน ส่วนที่เหลือส่งออกในรูปสับปะรดกวน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ปัจจุบัน ประเทศไทยผลิตสับปะรดได้เป็นอันดับหนึ่งแซงขึ้นหน้าฟิลิปปินส์มาแล้วหลายปี เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) ทำให้ราคาจำหน่ายสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทั้งฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยรวมแล้วผลผลิตเพิ่มขึ้น

ถั่วเหลือง ปริมาณการผลิต 0.13 ล้านตัน แต่ความต้องการใช้ภายในประเทศ 2.8 ล้านตัน จึงต้องนำเข้าอีกเกือบ 2.7 ล้านตัน ปัญหาการผลิตได้น้อย ด้วยปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ อีกทั้งต้นทุนการผลิตสูง ไม่จูงใจจชาวนาให้มาปลูกพืชชนิดนี้