จับมือร่วมกับเพจข่าว สาระ-ดี Today จัดกิจกรรมเสวนา

“คนไทยยุคนี้กินผักนะจ๊ะ by สาระ-ดี Today” ส่งเสริมคนไทยรักสุขภาพในยุคดิจิตอล เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา บริษัท บีทูเอส จำกัด และบริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด จับมือร่วมกับเพจข่าว สาระ-ดี Today จัดกิจกรรมเสวนา “คนไทยยุคนี้กินผักนะจ๊ะ by สาระ-ดี Today” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชวนผู้สนใจมาล้อมวงนั่งสนทนากันในเรื่องของโภชนาการและสุขภาพในยุคคนไทยดิจิตอล โดยเป็นการจัดกิจกรรมคืนกำไรสู่สังคม โดยมี คุณอดิเรก ราชกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายปฏิบัติการ

บริษัท บีทูเอส จำกัด และ คุณเอกระพีร์ สุขกุลพิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ร่วมเปิดงาน พร้อมด้วยวิทยากรและแขกรับเชิญ อาทิ คุณพศิษฐ์ คณาศิริชัยนนท์ นักกำหนดอาหารและวิทยากรเครือข่ายคนไทยไร้พุง และ คุณจริยาภรณ์ วงศ์สวัสดิ์ หรือ แม่แอร์ เจ้าของเพจ Thelovelyair.com ซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการ Mother&Care มาร่วมสนทนาให้สาระความรู้กับผู้ร่วมฟังเสวนาในครั้งนี้ด้วย โดยภายในงานมีทั้งกิจกรรมเสวนา เล่นเกม การทำอาหารโดย เชฟหมีดำ และรับของที่ระลึกมากมาย ซึ่งได้จัดขึ้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2561 เวลา 12.00-15.00 น. ณ ร้านหนังสือ B2S สาขาเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว

โดย คุณอดิเรก ราชกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท บีทูเอส จำกัด ได้กล่าวถึงการร่วมมือกันทางด้านธุรกิจและจับมือกันทำกิจกรรม ไว้ว่า

“บริษัท บีทูเอส เล็งเห็นถึงคุณค่าของการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ซึ่งปัจจุบันเด็กไทยส่วนใหญ่มีนิสัยไม่รับประทานผัก ส่งผลให้เด็กๆ ที่รับประทานผักน้อยมักมีความเสี่ยงต่อการท้องผูกและเจ็บป่วยได้ง่าย เราจึงอยากเห็นเด็กไทยมีสุขภาพที่แข็งแรง จึงได้ร่วมมือกับทาง จีเอ็ม อินเตอร์ฟู้ดส์ นำเสนอผลิตภัณฑ์เป็นขนมผักกรอบพร้อมรับประทานให้กับเด็กๆ และทุกคนในครอบครัวได้รับประทานผักง่ายขึ้น อีกทั้งลูกค้าสามารถหาซื้อที่ร้านหนังสือบีทูเอสได้ด้วย

“ในส่วนของการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ ทางบีทูเอส เรามีพื้นที่คอมมูนิตี้ที่คอนเน็กต์กิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกับพาร์ตเนอร์ชื่อดังต่างๆ จัดกิจกรรมเวิร์กช็อปเพื่อสร้างความสัมพันธ์และประสบการณ์ที่ดีให้ทุกคนในครอบครัวเป็นประจำทุกสัปดาห์อยู่แล้ว อาทิ กิจกรรมบอร์ดเกม, เล่านิทาน , การวาดและระบายสี และในครั้งนี้จากการที่เราได้ร่วมมือกับ จีเอ็ม อินเตอร์ฟู้ดส์ จัดกิจกรรมเสวนา “คนไทยยุคนี้กินผักนะจ๊ะ by สาระ-ดี Today” ขึ้น ซึ่งเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก และในอนาคตก็จะมีกิจกรรมเสวนาสัญจรไปตามสถานที่ต่างๆ กับทางบีทูเอสอีกด้วย สำหรับลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถติดตามรายละเอียดข่าวสารได้ที่ Facebook : b2sthailand และ b2sthinkspace ทั้ง 2 เพจของเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง”

ทางด้าน คุณเอกระพีร์ สุขกุลพิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรม และการจับมือร่วมกันเป็นคู่ค้ากับบีทูเอส ว่า

“จีเอ็ม อินเตอร์ฟู้ดส์ ได้นำผลิตภัณฑ์ขนมผักกรอบสุญญากาศ 5 สายพันธุ์ ภายใต้แบรนด์ Deedy เข้าไปวางจำหน่ายกับทางร้านหนังสือบีทูเอสด้วย ซึ่งหลังจากที่ได้นำไปวางจำหน่าย ก็ได้รับการตอบรับที่ค่อนข้างดี เพราะเป็นเทรนด์รักษาสุขภาพของคนยุคนี้ จึงได้เกิดแนวความคิดในการจัดกิจกรรมทางด้านโภชนาการและสุขภาพขึ้นกับทางร้านหนังสือบีทูเอส ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของเพจข่าว สาระ-ดี Today ที่ให้ความรู้ทางด้านโภชนาการอาหารและสุขภาพ นอกเหนือจากข่าวสารด้านอื่นๆ ด้วย จึงเกิดเป็นกิจกรรมเสวนา “คนไทยนี้ยุคนี้กินผักนะจ๊ะ by สาระ-ดี Today” ขึ้น และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก”

ละมุด จัดเป็นไม้ผลขนาดกลาง มีเส้นผ่าศูนย์กลางพุ่ม อยู่ระหว่าง 4-8 เมตร ไม่สลัดใบ ความสูงของต้นจะแตกต่างกันไปตามพันธุ์ อยู่ระหว่าง 9-15 เมตร ต้นแผ่กิ่งก้านสาขาแข็งแรง กิ่งเหนียวไม่หักง่าย ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี กรมส่งเสริมการเกษตร สำรวจพบว่า แหล่งปลูกละมุด ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดราชบุรี รองลงมาคือสุโขทัย และนครราชสีมา ที่เหลือปลูกกระจัดกระจายอยู่ใน 31 จังหวัด ที่ผ่านมา ไทยเคยส่งออกละมุดแช่แข็งและผลละมุดสดไปยังประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บูรไน และยุโรป

สำหรับ ละมุด ที่ปลูกในเมืองไทย สามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพันธุ์ผลเล็ก ได้แก่ พันธุ์มะกอก พันธุ์ปราจีน พันธุ์สีดา ส่วนพันธุ์ผลขนาดกลาง ได้แก่ พันธุ์กระสวยมาเล พันธุ์ดำเนิน พันธุ์นมแพะ และกลุ่มผลใหญ่ ได้แก่ พันธุ์กำนัน พันธุ์ ทช01 พันธุ์ CM19 พันธุ์สาลี่เวียดนาม และพันธุ์ตาขวัญ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีจุดเด่น-จุดด้อย ที่แตกต่างกันออกได้ ได้แก่

พันธุ์มะกอก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ละมุดกรอบ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีรสชาติดี รสหวาน หอม กรอบ แต่มีขนาดผลเล็ก ผลมีลักษณะกลมเมื่อยังเล็กอยู่ เมื่อโตขึ้นก็จะค่อยๆ ยาวเหมือนผลมะกอก จัดอยู่ในกลุ่มขนาดผลเล็ก คือ 45 กรัม ต่อผล ผลมีผิวสีน้ำตาลอมเหลืองเมื่อแก่จัด ผลสุกเนื้อในจะแข็งกรอบ มีสีน้ำตาลอมแดง เนื้อละเอียด ผิวไม่นิ่ม ให้ผลดก อายุเก็บเกี่ยว 6 เดือน ผลสุกจัดความหวาน 17 องศาบริกซ์ เกษตรกรก็นิยมปลูกกันเป็นอาชีพมาก เพราะมีรสชาติดีและเป็นที่นิยมของตลาด

พันธุ์กระสวยมาเลย์ มีขนาดผลกลาง 150-250 กรัม ต่อผล รูปร่างผลยาวรี สีเปลือกค่อนข้างเหลือง ลักษณะเนื้อเมื่อสุกละเอียด ค่อนข้างเละ สีเนื้อน้ำตาลแดง อายุเก็บเกี่ยว 8-9 เดือน

พันธุ์ CM19 จากประเทศมาเลเซีย นิยมเรียกกันติดปากว่า “ละมุดยักษ์มาเล” มีขนาดผลใหญ่ ประมาณ 200-300 กรัม ต่อผล ขนาดผลค่อนข้างโต ลักษณะผลมีทั้งรีและกลมในต้นเดียวกัน สีเปลือกผลน้ำตาลเข้ม เนื้อละเอียดสีน้ำตาล เนื้อละมุดจะไม่กรอบเมื่อสุก อายุเก็บเกี่ยว 8-9 เดือน

พันธุ์ ทช.01 เกิดจากการคัดเลือกพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์ ทช.01 มีขนาดผลใหญ่เฉลี่ย 200 กรัม ต่อผล อายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน เมื่อสุกเนื้อจะไม่กรอบ สีเปลือกน้ำตาลเข้ม สีเนื้อในน้ำตาลแดง

พันธุ์ไข่ห่าน ขนาดผลใหญ่มาก ขนาดคล้ายกับไข่ห่าน เปลือกผลบาง เนื้อสีน้ำตาลอ่อน รสชาติหวานเย็น มีปริมาณเนื้อมาก เมื่อสุกเนื้อค่อนข้างหยาบไม่แข็ง กรอบ ให้ผลได้ไม่ดก

โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตละมุดอย่างมีคุณภาพ โดย คุณสุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน และคณะ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย พบว่า การตัดแต่งทรงพุ่มละมุดทุกกรรมวิธี สามารถช่วยให้ผลผลิตที่มีผลขนาดใหญ่มากกว่าการไม่ตัดแต่งทรงพุ่มเลย วิธีการตัดแต่งแบบเปิดแกนกลางและการตัดแต่งแบบครึ่งวงกลม ทำให้ได้ผลผลิตละมุดมีขนาดผลโตขึ้นมากว่าการตัดแต่งทรงพุ่มแบบทรงเหลี่ยม และแบบฝาชีหงาย

นอกจากนี้ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ละมุดพันธุ์มะกอก ที่ปลูกจากกิ่งตอน หากใส่ปุ๋ยคอก ในอัตรา 2 กิโลกรัม ต่อต้น ร่วมกับใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในอัตรา 6-2-3 กิโลกรัม ต่อต้น ในต้นละมุดอายุ 1-2 ปี จะทำให้ต้นละมุดมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี และมีขนาดทรงพุ่มเพิ่มเร็วขึ้น ให้ผลผลิตมากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีที่อัตราต่ำกว่านี้ ให้ผลผลิตได้ในปีที่ 2

ด้านการจัดการน้ำ พบว่า การให้น้ำต้นละมุดตั้งแต่เริ่มปลูก จะทำให้ละมุดมีการเจริญเติบโตได้ดี แตกตาดอกและตาใบมากขึ้น สำหรับต้นละมุดที่เพิ่งปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำทุกๆ วันในตอนเย็น ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสภาพความชุ่มชื้นของดินและสภาพแวดล้อมต่างๆ ส่วนต้นละมุดที่ให้ผลผลิตแล้ว การให้น้ำจะไม่มีผลกระทบต่อการออกดอกติดผลแต่อย่างใด

ถึงแม้จะทนต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่ต้นละมุดก็ต้องการน้ำอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ละมุดออกดอกและดอกกำลังบาน ในช่วงที่ผลแก่และเริ่มจะสุก หากมีฝนตกจะทำให้ความหวานลดลงบ้างเล็กน้อย แต่ยังจัดว่ายังหวาน เมื่อฝนเริ่มหาย อย่างไรก็ตาม การบังคับน้ำหรือการอดน้ำ ควรกระทำในช่วงหน้าหนาวในระยะผลแก่ก่อนจะทำการเก็บผล ประมาณ 20 วัน เพื่อเร่งให้ผลละมุดมีความหวานมากขึ้นและเนื้อกรอบ ส่วนการให้น้ำหรือบังคับน้ำเพื่อเร่งการออกดอกนั้น ไม่มีความจำเป็น เพราะละมุดมีนิสัยที่มีการติดดอกออกผลมากอยู่แล้ว

ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลออกไปในแต่ละรุ่น ต้นละมุดจะมีการสะสมอาหารพร้อมที่จะออกดอกติดผลได้ในรุ่นต่อไป ในช่วงฤดูแล้งนั้นควรจะให้น้ำเป็นระยะๆ อย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง และก่อนจะหมดฤดูฝน เกษตรกรควรนำเศษหญ้ามาสุมโคนต้นเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นของดินไว้ให้นาน และช่วยไม่ให้แสงแดดส่องถึงพื้นดิน น้ำที่รดลงไปจะมีการระเหยออกมาน้อย ช่วยประหยัดน้ำ และประหยัดแรงงานในการให้น้ำได้อีกทางหนึ่ง

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สภาพพื้นที่ปลูกข้าวจังหวัดชัยนาท ส่วนใหญ่จะเป็นนาที่อาศัยน้ำจากชลประทาน อย่างไรก็ตาม พบว่ามีพื้นที่นาบางส่วนในอำเภอวัดสิงห์ ระบบชลประทานเข้าไม่ถึง จึงจำเป็นต้องอาศัยแหล่งน้ำจากปริมาณน้ำฝนที่ตกตามฤดูกาล เกษตรกรจึงทำนาได้เพียงปีละครั้ง ดังนั้น เกษตรกรจึงได้ปรับใช้พันธุ์ข้าวที่แตกต่างจากพื้นที่ข้าวทั่วไป ซึ่งพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรให้ความนิยมมานานคือ “ขาวเจ๊ก” ข้าวพื้นเมืองสายพันธุ์ดี รสชาติอร่อยและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ไม่แพ้ข้าวหอมมะลิ

สำหรับชื่อพันธุ์ “ขาวเจ๊ก” มาจากในอดีตซึ่งมีผู้ได้พันธุ์ข้าวจากเกษตรกรเชื้อสายจีน ต่อมาก็นำไปปลูกขยายพื้นที่ขึ้นเรื่อยๆ และบอกต่อกันมาว่าเป็นพันธุ์ข้าวขาวของตาเจ๊ก จนเรียกกันว่า “ขาวตาเจ๊ก” และกลายเป็น “ขาวเจ๊ก” ในที่สุด ด้วยมีลักษณะเป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเบา เก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน สามารถทนต่อน้ำหลากฤดูนาปีในช่วงที่มีฝนตกชุกได้ดีเป็นข้าวเจ้านาปีที่มีเมล็ดค่อนข้างยาว ใหญ่ และอ้วน ที่สำคัญสีของเปลือกเมล็ดเป็นสีฟางอ่อนสวย ด้วยความที่เป็นข้าวพื้นเมืองคุณภาพดี แต่คนทั่วไปยังไม่รู้จักข้าวพันธุ์นี้มากนัก

จากการลงพื้นที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 จังหวัดชัยนาท (สศท.7) เพื่อติดตามการดำเนินงานและผลสำเร็จของการรวมกลุ่ม ในสหกรณ์การเกษตรทุ่งวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการคงคุณภาพ อนุรักษ์ข้าวท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย โดยได้ส่งเสริมให้สมาชิกปลูกข้าวพันธุ์ขาวเจ๊ก และรับประกันราคาขั้นต่ำ ตันละ 10,000 บาท ซึ่งจากการพูดคุยสัมภาษณ์ นางสาวกำไร เขียวฉาย ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรทุ่งวัดสิงห์ ทราบว่าสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องผลิตข้าวตามข้อกำหนดของสหกรณ์ คือ ปลอดสารพิษ โดยจะปรับราคารับซื้ออย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ราคาข้าวในตลาด แต่จะไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท/ตัน ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 22 ราย พื้นที่ปลูก 233 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวขาวเจ๊กในพื้นที่จังหวัดชัยนาทอยู่ที่ 2,787 บาท/ไร่ ผลผลิต 379 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรได้กำไร 956 บาท/ไร่

ด้าน นายชีวิต เม่งเอียด ผู้อำนวยการ สศท.7 กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ ทางกลุ่มสหกรณ์ยังได้จัดออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวสารและข้าวกล้องชนิดต่างๆ โดยใช้วัสดุธรรมชาติ อาทิ ถุงกระดาษ และผักตบชวา เพื่อจำหน่ายเป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ ซึ่งราคาข้าวสารที่ขายมีการแยกประเภทแบบอัดสุญญากาศ ราคาขายอยู่ที่ 35 บาท/กิโลกรัม ไม่อัดสุญญากาศ 30 บาท/กิโลกรัม โดยมีต้นทุนการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสารบรรจุถุงขาย ประมาณ 28 บาท/กิโลกรัม

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ผลผลิตข้าวขาวเจ๊กชัยนาท มีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เนื่องจากเป็นข้าวอายุยาว 120 วัน ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ต้องการทำนา 2 ครั้ง หันไปปลูกข้าวพันธุ์อื่นที่อายุสั้นแทน อย่างไรก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์และทางการค้า กรมการข้าวได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร โดยได้รับหนังสือคุ้มครองการขึ้นทะเบียนพันธุ์

ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช ปี พ.ศ. 2519 (ร.พ.2) เลขที่ 908/2559 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 ใช้ชื่อว่าพันธุ์ข้าวขาวเจ๊กชัยนาท โดยรวมชื่อจังหวัดเข้าไปด้วย อีกทั้งทางจังหวัดชัยนาทได้เห็นถึงความสำคัญ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานจัดทำคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “ข้าวขาวเจ๊กชัยนาท” ซึ่งขณะนี้สหกรณ์ทุ่งวัดสิงห์ อยู่ระหว่างดำเนินการยื่นคำขอขึ้นทะเบียน สำหรับเกษตรกรและท่านที่สนใจ สามารถขอรับคำแนะนำหรือเลือกซื้อสินค้าได้ที่ สหกรณ์การเกษตรทุ่งวัดสิงห์ จำกัด เลขที่ 79 หมู่ที่ 9 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โทร. 0 5646 1620 หรือติดต่อโดยตรงที่ นางสาวกำไร เขียวฉาย ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรทุ่งวัดสิงห์ โทร. 06 3954 9555

23 พฤศจิกายน 2561 – สยามสแควร์ กรุงเทพฯ / เริ่มแล้ว!! งานสุดอลังการ “ขับเคลื่อน THAILAND 4.0 ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม : THAILAND 4.0 IN THE MAKING” ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2561 เพื่อแสดงผลงานในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมด้วยวิทยาศาสตร์ฯ ใน 4 ด้าน “สร้างคน แก้จน เสริมแกร่ง สู่ภูมิภาค” หวังกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระยะสั้นและระยะยาว พร้อมเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มภาคภูมิ ตอกย้ำจุดยืนรัฐบาลใช้นวัตกรรมพลิกโฉมประเทศ ตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0

ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ ได้กล่าวว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ พาชาติก้าวข้ามกับดักกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางสู่ประเทศรายได้สูง โดยใช้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อนำไทยสู่ประเทศพัฒนาแล้ว

หากสังเกตจะพบว่าในประเทศที่มีรายได้สูงนั้น ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีการพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น อิสราเอล หรือแม้กระทั่งเกาหลีใต้ ที่เมื่อก่อนเคยอยู่ในระดับเดียวกับประเทศของเรา ก็พัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และล่าสุด ประเทศจีน ที่เคยถูกมองว่าเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าราคาถูก ไม่มีคุณภาพ ปัจจุบันกลายเป็นประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีไปแล้ว ประเทศไทยก็จะต้องก้าวไปในทิศทางเดียวกันกับประเทศเหล่านี้ ซึ่งเรากำลังเดินก้าวไปข้างหน้า เห็นได้จากตัวชี้วัดสำคัญ คือสัดส่วนการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาของไทยที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง เปรียบเทียบให้เห็นภาพ คือช่วงระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2544-2554 เพิ่มขึ้น เพียง 0.1% จาก 0.26% เป็น 0.37% แต่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2556-2559 มีการเติบโต เพิ่มขึ้น 0.4% จาก 0.47% ในปี 2556 เป็น 0.78% ในปี 2559 คิดเป็นเม็ดเงินลงทุน 113,527 ล้านบาท และตั้งเป้าไว้ว่าจะทะลุ 1% ในปี 2561

รองนายกฯ กล่าวย้ำว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และได้มอบหมายให้กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว โดยต้องทำให้คนไทยทุกคนเข้าใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเด็กไทยจะต้องรู้ว่าวิทยาศาสตร์สำคัญกับชีวิตพวกเค้า เห็นความจำเป็นในการเรียน STEM เพราะ STEM จะเป็นพื้นฐานของอาชีพในอนาคต คนรุ่นใหม่จะต้องเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ รวมทั้งจะต้องมีทักษะฝีมือในการลงมือทำ เพราะการทำธุรกิจในปัจจุบันนั้น แข่งขันกันที่ความคิดและการใช้ทักษะและเทคโนโลยีในการทำธุรกิจ เป็นต้น

นอกจากการสร้างความสามารถในการแข่งขันแล้ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นจะต้องช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนในสังคมทุกระดับและทุกพื้นที่ในประเทศ ให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งกลุ่มพี่น้องเกษตรกรและคนทั่วไปในสังคม โดยจะต้องนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงไปช่วยเหลือคนในทุกระดับ และทำให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเค้า และจะสร้างประโยชน์กับชีวิตพวกเค้าได้ เช่น เกษตรกรจะต้องนำเทคโนโลยีไปใช้ เพื่อเพิ่มผลผลิต คาดการณ์ราคาผลผลิตทางการเกษตรและลดต้นทุนการผลิตได้

จากโจทย์ทั้ง 2 เรื่องที่ผมได้กล่าวมานี้ รัฐบาลจึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวผ่านกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ใน 13 ภารกิจสำคัญ ด้วยการสร้างกลุ่มนักรับเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า Startup และนักประดิษฐ์ (Maker) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนโยบายสร้างประเทศสู่การเป็น Startup Nation และ Makers Nation เตรียมคนไทยให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนเพื่อให้เห็นภาพของอาชีพในอนาคต (Career for the Future) การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่ประเทศไทยมีศักยภาพและคนทั้งประเทศได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง

การพัฒนาเทคโนโลยีรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย การสร้างระบบ Big Data และ AI การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวเทียม THEOS เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนชุดใหม่ เป็นต้น และการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เพื่อเป็นรากฐานสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยยกระดับการพัฒนาของประเทศไทยในที่สุด

การยกระดับความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ และการกระจาย ความเจริญสู่พื้นที่ต่างๆ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์มาสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับชุมชนในพื้นที่ทั่วประเทศ การพัฒนา Smart Farmer ด้วยระบบ IoT การพัฒนาย่านนวัตกรรม (Innovation Districts) 16 แห่งทั่วประเทศไทย เช่น ย่าน CyberTech ที่ปุณณวิถี ย่านนวัตกรรมการแพทย์ที่โยธี เป็นต้น การพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Regional Science Park) และการพัฒนาเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)

ในวันนี้ ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้นำผลงานมาแสดงให้ทุกคนเห็นว่าประเทศไทยจะเดินไปข้างหน้าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างแน่นอน ผมเชื่อว่าการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นเวทีเผยแพร่ นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้าง เกิดการพัฒนาภูมิปัญญาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างแท้จริง และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมตรงกับความต้องการของผู้บริโภค สามารถสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สร้างเงิน สร้างงาน สร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่สูงขึ้น

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเพิ่มเติมว่าการจัดงานในครั้งนี้เพื่อแสดงผลงานในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม โดยนำเสนอนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โดยการจัดแสดงผลงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย 4 โซนนิทรรศการหลัก ได้แก่ โซนวิทย์สร้างคน โซนวิทย์แก้จน โซนวิทย์เสริมแกร่ง และโซนวิทย์สู่ภูมิภาค ซึ่งพื้นที่ 4 โซนนี้ ได้นำเสนอผลงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 13 ด้านสำคัญ และไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด! ได้แก่ TREE of WISDOM ต้นไม้ interactive แห่งอนาคต

ครั้งแรกกับการเชื่อมต่อความคิดและอารมณ์ให้กลายเป็นภาพและสีที่จับต้องได้ ซึ่งเชื่อม Neuro Sensing คลื่นสมองออกมาแสดงผลเป็นการเปลี่ยนสีสันของต้นไม้ LED ขนาดใหญ่ สุดตระการตา ทำให้บริเวณลาน slope SQ1, FreakLab ผลงาน interactive ที่ผสาน Science & Arts และ digital technology ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งจะกระจายอยู่ทั่วทั้งงาน, INSECT WORLD โลกแห่งแมลง อยู่บริเวณสวน Park @Siam, Thai Space Consortium: โครงการความร่วมมือ “ดาวเทียมไทย” สู่ห้วงอวกาศ บริเวณลาน Hard Rock Café และ Robot Contest โดยสมาคม TRS บริเวณสวน Park @Siam ซึ่งนอกจากผลงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ

ทั้ง 13 กลุ่มแล้วนั้น ยังมีการนำเสนอผลงานของหน่วยงานพันธมิตร สถาบันการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และบริษัทชั้นนำของประเทศอีกมากมายที่นำผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาแสดงในงานครั้งนี้ รวมทั้งมีกิจกรรมบันเทิงอีกมากมายตลอดการจัดงาน อาทิ การประชันแร็พของสองแร็พเปอร์ชื่อดัง SIRPOPPA และ NANA, มินิคอนเสิร์ตจากเก้า จิรายุและวงแม่ยายยิ้ม, การพูดคุยถึงไลฟ์สไตล์ในยุค 4.0 กับสองนักแสดงดัง สน-ยุกต์ ส่งไพศาลและ เอสเธอร์ สุปรีย์ลีลา, การแสดง Science Show, การแสดงดนตรีจากนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำ, Street Show เป็นต้น