จากการหารือร่วมกันครั้งนี้นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของบุคลากร

กรมส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ที่จะได้พัฒนาความรู้ความสามารถด้านงานวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยจะได้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งข่าวสารไปยังหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดต่อไป

หรือหากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. โทร. (02) 579-7435 หรือคลิกเพื่อดูรายละเอียดที่เว็บไซต์

เมื่อเวลา 13.00 น. ของเมื่อวานนี้ (20 ก.ย. 62) ที่บริเวณไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เขตปทุมวัน นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบ ภายใต้ “โครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม” ปี 2562 โดยกล่าวว่า “สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการฯ ขึ้น เพื่อเป็นการนำกระบวนสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยมาพัฒนาศิลปวัฒนธรรมที่มีในชุมชน

อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการอนุรักษ์รักษาศิลปะวัฒนธรรม ไปพร้อมกับพัฒนาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างมากมายให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สร้างอาชีพสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยใช้การค้นหาและถอดรหัสอัตลักษณ์ของแนวคิดศาสตร์ 4 DNA ซึ่งเป็นการคิดรอบด้านมีหลักสำคัญคือค้นหาตัวตนของแต่ละชุมชนจากมิติต่างๆ นำมาศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาสินค้า และบริการทางวัฒนธรรมในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ตราสินค้า โลโก้ โทนสี ลวดลายผ้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน ฯลฯ

ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นจะมีความทันสมัยและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งเสริมเศรษฐกิจของผู้ประกอบการในชุมชนในให้เติบโต โดยโครงการฯ ดังกล่าว จัดทำขึ้นภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในแต่ละจังหวัด เสริมสร้างความสัมพันธ์ของประชาชนในทุกภาคส่วน

โดยในปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินโครงการฯ ใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ระยอง สมุทรสงคราม และนครศรีธรรมราช รวมทั้งสิ้น 43 อำเภอ ทำให้ได้ผลงานการออกแบบที่โดดเด่น มีการเผยแพร่องค์ความรู้ และการพัฒนาต่อยอดไต้อย่างเป็นรูปธรรม นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่จังหวัด อาทิ การออกแบบผลิตภัณฑ์และสินค้า การตกแต่งภายใน โล่รางวัล และอื่นๆ สร้างรายได้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง สำหรับในปี 2562 มี 4 จังหวัด ที่เข้าร่วม ได้แก่ สมุทรสาคร นครราชสีมา เชียงราย และเพชรบุรี รวม 61 อำเภอ

ซึ่งเป็นผลงานต้นแบบที่ได้นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ และเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทางสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ยังได้ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ในการให้ความรู้แก่ชุมชนเพื่อจะได้เข้าใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการทำข้อตกลงโอนลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการให้กับจังหวัดพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับมอบ ซึ่งผลงานที่ได้รับนั้นจะได้นำไปใช้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป”

ด้าน นางสาววิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่า “สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจโดยตรง ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และจังหวัดในพื้นที่ต่างๆ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการให้ความรู้กับประชาชนหรือชุมชน ที่จะพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมด้วยงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และถอดรหัส ด้วยศาสตร์ 4DNA

ซึ่งโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม นับเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศโดยใช้มิติทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นต้นน้ำ นำมาต่อยอดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ ไปสู่การออกแบบในหลากหลายมิติ เป็นการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรม ที่มุ่งหวังให้เป็นแนวทางในการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรม เป็นการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้แล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมในทุกภาคส่วน ได้เกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเองด้วย”

ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง อดีตคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้คิดค้นแนวคิดศาสตร์ 4 DNA กล่าวว่า “โลกกำลังเข้าสู่ยุค City Branding หากเราไม่เริ่มสำรวจอัตลักษณ์ประจำเมือง ก็จะถูกเมืองที่มีศักยภาพสูงหรือมีการลงทุนมากกว่า กลืนกินในไม่ช้า ซึ่งแนวคิดศาสตร์ 4 DNA เป็นการสำรวจและวิจัยตั้งแต่พฤติกรรมของคนจนถึงระดับวัฒนธรรม และได้แปลงข้อมูลทั้งหมดให้กลายเป็นคอนเซ็ปท์ของแต่ละชุมชน จนทำให้เกิดอัตลักษณ์ประจำถิ่น ที่สามารถประยุกต์ใช้สร้างแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจในหลากหลายมิติ มีเรื่องราวให้คนในท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจ หรืออาจกล่าวได้ว่า 4 DNAคือการระดมความคิดจากทุกภาคส่วนในการกำหนดอัตลักษณ์ อาทิ ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สังคม เศรษฐกิจ จากนั้นนำไปสู่การออกแบบรอบทิศ ได้แนวทางศาสตร์ 4 DNA เฉพาะแต่ละชุมชนในการไปใช้ประโยชน์รอบด้าน”

ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว ทางกระทรวงวัฒนธรรม ได้มีการผลักดันให้เกิดประโยชน์ในระดับมหภาคมากยิ่งขึ้น โดยกำลังร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงพาณิชย์, การท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงมหาดไทย ในการนำผลงานการออกแบบนำไปต่อยอดด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชน ซึ่งในปี 2563 สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้มีแนวทางในการต่อยอดในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจ, เมืองรอง และเมืองการท่องเที่ยวที่สำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาไปสู่ Creative City และการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (MICE) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ภูเก็ต สุโขทัย และราชบุรี ต่อไป

กรุงเทพฯ 20 กันยายน 2562 – บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจการเกษตรครบวงจรของประเทศไทย ระดมพนักงานบริษัทฯ แพ็กถุงยังชีพจำนวน 300 ชุด เพื่อส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี ใน “โครงการปันน้ำใจ เจียไต๋อาสา” โดยภายในถุงยังชีพ นอกจากอาหารสำเร็จรูปและอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพแล้ว ยังบรรจุเมล็ดพันธุ์คุณภาพของเจียไต๋ เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน คะน้ายอด ผักบุ้ง และแตงกวา เพื่อเพิ่มโอกาสในการฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูกและช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรในพื้นที่ประสบภัย

ด้วยประสบการณ์กว่า 98 ปี ในธุรกิจเกษตร เจียไต๋ยึดมั่นในค่านิยมของบริษัทนั่นคือการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร และมอบความมั่นใจให้กับผู้บริโภค กิจกรรมแพ็คถุงยังชีพ ภายใต้โครงการปันน้ำใจ เจียไต๋อาสา ในครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำคำมั่นสัญญาของเจียไต๋ในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนให้กับผู้คนในทุกภาคส่วนของสังคม

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีเปิด “โครงการจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟูดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย” ณ สำนักชลประทานที่ 7 จ.อุบลราชธานี ว่า จากอิทธิพลพายุ “โพดุล” และพายุ “คาจิกิ” ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2562 เป็นต้นมา ทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ จำนวน 21 จังหวัด ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรประมาณ 3.36 ล้านไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 30,773 ไร่ สัตว์ได้รับผลกระทบ 1.86 ล้านตัว รวมเกษตรกร 6 แสนกว่าราย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจัดทำ “โครงการจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการ การดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัยหลังน้ำลด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และสร้างการรับรู้การเตรียมการด้านการเกษตรตามหลักวิชาการ รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับกิจกรรมในวันนี้ มีจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่ 21 จังหวัด เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 7,760 คน โดยจิตอาสาของจังหวัดอุบลราชธานีเข้าร่วม 500 คน ซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จำนวน 8 กลุ่ม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 บุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะร่วมกันเข้าสำรวจความเสียหายด้านการเกษตรในพื้นที่ เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว กิจกรรมที่ 2 จัดหน่วยเคลื่อนที่ลงปฏิบัติการ ให้คำแนะนำ เพื่อการฟื้นฟู ดูแลพื้นที่เสียหาย และยังไม่สามารถทำการเกษตรได้ ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมพร้อมบำรุงรักษา

และฟื้นฟูผลผลิตให้กลับสู่ภาวะปกติ กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนเครื่องมือ เครื่องจักร ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ รถขุด รถบรรทุกน้ำ เป็นต้น ช่วยเหลือเกษตรกรในการสูบน้ำ ปรับทางน้ำ เพื่อช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรและชุมชนให้มีความพร้อมที่จะทำการเกษตร กิจกรรมที่ 4 สนับสนุนอุปกรณ์และองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งในช่วงก่อนน้ำลดและหลังน้ำลด เพื่อให้พร้อมสำหรับการผลิต และสนับสนุนให้มีการบำบัดน้ำเสียทั้งในพื้นที่ของเกษตรกรและแหล่งน้ำของชุมชน เพื่อช่วยรักษาสภาพแวดล้อมและช่วยให้เกิดการยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรในระยะต่อไป

กิจกรรมที่ 5 สนับสนุนปัจจัยการผลิตพันธุ์พืช พันธุ์ผัก กล้าพันธุ์พืชผัก-ไม้ผล และพันธุ์สัตว์ เพื่อให้เกษตรกรนำไปทำการผลิตในเบื้องต้น ผลิตอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน ซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน ในระหว่างที่การผลิตใหม่ยังไม่ให้ผลผลิต กิจกรรมที่ 6 ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อช่วยฟื้นฟูรักษาระบบนิเวศ รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารชองชุมชนได้อย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 7 สนับสนุนการซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักรกลทางการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้งานในการทำการเกษตรได้ตามปกติ และกิจกรรมที่ 8 สำรวจงานก่อสร้างทางด้านชลประทาน เช่น ฝาย เส้นทางส่งน้ำ ประตูระบายน้ำ เพื่อดำเนินการซ่อมแซมบำรุงรักษาไม่ให้เกิดความเสียหาย รวมทั้งวางแผนการก่อสร้างอาคารชลประทานเพิ่มเติม เพื่อป้องกันภัยพิบัติและการบริหารจัดการน้ำในระยะต่อไป

“รัฐบาลมีความห่วงใยพี่น้องประชาชน กระทรวงเกษตรฯ จึงจัดโครงการดังกล่าว เพื่อบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบอุทกภัยทั้งระยะเผชิญเหตุและระยะฟื้นฟู ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติและประกอบอาชีพได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย มี 15 จังหวัด เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังเหลืออีก 6 จังหวัด ที่ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ และยโสธร” นายเฉลิมชัย กล่าว

ทำความรู้จัก ‘เชฟอ๊อฟ – ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์’ แห่งร้านวังหิ่งห้อย แชมป์อันดับ 1 ‘The Next Iron Chef Thailand 2019’
เชฟอ๊อฟ – ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ แห่งร้านวังหิ่งห้อย แชมป์ใหม่ป้ายแดง จากรายการ The Next Iron Chef Thailand 2019 ที่ได้ฝ่าฟันสมรภูมิการแข่งขันอันดุเดือด ในที่สุดเชฟอ๊อฟก็สามารถรังสรรค์คอร์สอาหารที่มีเอกลักษณ์จนเอาชนะใจคณะกรรมการได้อยู่หมัด ซึ่งประกอบไปด้วย 5 เมนู ได้แก่

คอร์สที่ 4 : Main – กุ้งย่างซอสมะขามกับห่อหมกล็อบสเตอร์

คอร์สที่ 5 : Dessert – สะตอกาแล็ต

ต้องยกให้คอร์สขนมหวานถือว่าเป็นทีเด็ด เพราะกรรมการบางท่านไม่เคยได้ลิ้มลองที่ไหนมาก่อนอย่าง ‘สะตอกาแล็ต’ ที่ตอนแรกเชฟอ๊อฟเอ่ยปากบอกว่า ไม่ถนัดการทำอาหารด้วยสะตอ แต่สุดท้ายก็สามารถสร้างสรรค์เมนูออกมาได้อย่างน่าสนใจ

กว่าจะคว้าชัยชนะมาได้อย่างน่าภาคภูมิใจนั้น เชฟอ๊อฟ ต้องผ่านการประลองฝีมือกับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 15 ท่าน จนสามารถเอาชนะผู้แข่งขันแต่ละท่านมาได้อย่างสวยงาม สู่การเข้ารอบชิงชนะเลิศ 2 คน สุดท้าย ที่ต้องพบกับ ‘เชฟพฤกษ์ – พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร’ อาจาร์ยจากสถาบันชื่อดังด้านการสอนทำอาหาร แม้จะเจอศึกหนักในรอบสุดท้าย แต่เชฟอ๊อฟก็สามารถทำสำเร็จ และคว้าแชมป์ อันดับ 1 มาครอง โดยชัยชนะครั้งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาด ‘เชฟเตย–สหรัฐ แตงไทย’ และ ‘เชฟจอม–วายุภักษ์ ม่วงจร’ ที่ร่วมมือกันทำงานอย่างมุ่งมั่นตั้งแต่จานแรกจนถึงจานสุดท้าย

ย้อนเบื้องหลังความสำเร็จของเชฟอ๊อฟกับเส้นทางการทำอาหารที่ไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกครั้งไป ใครจะรู้ว่าแชมป์คนนี้เคยลองผิดลองถูกกับการเปิดร้านอาหารของตัวเองมากว่า 6 ร้าน ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงร้าน ‘Frazz’ ในประเทศฟิลิปปินส์ร้านเดียวที่เปิดให้บริการอยู่ โดยนำเสนออาหารสไตล์ Filipino Caribbean Cuisine แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจเดินทางกลับมาที่ประเทศไทย เพื่อมาดูแลครอบครัว และเป็น Executive Chef อยู่ที่ร้านอาหารชื่อดัง อย่าง วังหิ่งห้อย

วังหิ่งห้อย คือร้านอาหาร Fine Dining ที่จะทำให้คุณได้ใกล้ชิดและรายล้อมไปด้วยธรรมชาติ ท่ามกลางหมู่มวลหิ่งห้อยนับร้อยตัว พร้อมเสิร์ฟอาหารที่เปลี่ยนคอนเซ็ปต์ ตาม ‘ธาตุแห่งชีวิต‘ ดิน น้ำ ลม ไฟ โดยตอนนี้ เชฟอ๊อฟกำลังรังสรรค์เมนูภายใต้ธีมไฟ ที่จะเปิดสำรองที่นั่งไปจนถึงวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคมนี้ และจากนั้นจะเริ่มคอร์สอาหารธีม Finale กับบทสรุปของทั้ง 4 ธาตุ ที่ผ่านมา ซึ่งจะเปิดให้ได้สัมผัสความอร่อย ตั้งแต่วันอังคารที่ 15 ตุลาคม เป็นต้นไป หลังจากนั้นจะปิดให้บริการหลังช่วงเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากทางร้านจะเปิดให้บริการเพียง 18 เดือน ตามวงจรชีวิตของหิ่งห้อยเท่านั้น

โดยท่านสื่อมวลชนสามารถติตตามเมนูสุดพิเศษของเชฟอ๊อฟ – ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ แชมป์อันดับ 1 ‘The Next Iron Chef Thailand 2019’ ได้แล้ว ที่ร้านวังหิ่งห้อย

สถานที่ : ร้านวังหิ่งห้อย บริเวณสนามไดร์ฟกอล์ฟเก่า R.C.A Driving Range ถนนกำแพงเพชร 7 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

เวลาเปิด–ปิดบริการ : ตั้งแต่ 18.30-24.00 น. จากสถานการณ์ปลากะพงราคาตกต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยแต่เดิมเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงเคยขายได้ราคากิโลกรัมละ 130 – 140 บาทขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับไซด์หรือขนาดความต้องการของตลาด) จนกระทั่งตั้งแต่เมื่อประมาณต้นเดือนที่ผ่านมา กลับพบว่าราคาปลากะพงจากฟาร์มเพาะเลี้ยงตกลงมาอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 60 – 80 บาท ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากะพง ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตต้นทางเป็นอย่างมาก

นายปราโมทย์ มงคลชีวะ อายุ 56 ปี สมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ผู้เพาะเลี้ยงปลากะพง และประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงปลากะพงบนเนื้อที่กว่า 40 ไร่ มานาน 3 – 4 ปี บอกว่า ปีนี้ราคาปลากะพงตกต่ำมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้เกษตรกรที่เคยเพาะเลี้ยงปลากะพงเพียงอย่างเดียว เพื่อการจำหน่ายให้กับตลาด ต้องหาทางรอดด้วยการเปลี่ยนมาเป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น กุ้ง หอย ปู และ ปลาอื่นๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังต้องมีการเรียนรู้เรื่องของการนำสัตว์น้ำที่เลี้ยงไว้ไปแปรรูป เพื่อจะได้มีช่องทางการตลาดมากยิ่งขึ้น ส่วนเรื่องของอาหารก็ต้องให้แบบธรรมชาติมากขึ้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพราะหากเพาะเลี้ยงปลากะพงในรูปแบบที่มุ่งเน้นการให้อาหารหรือดูแลรักษาเพื่อการค้าอย่างเช่นในอดีตนั้น ก็จะทำให้เกษตรกรเกิดภาวะขาดทุนไม่สามารถที่จะเพาะเลี้ยงต่อไปได้อีก

เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากะพงยังบอกอีกว่า ทุกวันนี้แม้ราคาปลากะพงจากต้นทางจะตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย แต่กลับพบว่าราคาปลากะพงที่จำหน่ายในตลาดและตามร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ นั้น ก็ไม่ได้ลดลงเลย

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ราคาปลากะพง (ต้นทาง) ในประเทศไทยตกต่ำลงนั้น ทางตนเองก็ไม่แน่ใจว่าสาเหตุที่ชัดเจนเกิดจากอะไร แต่เท่าที่วิเคราะห์เบื้องต้นน่าจะมาจากนำเข้าปลากะพงจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจากประเทศมาเลเซีย ที่พบว่ามีอยู่ในตลาดของไทยอย่างล้นหลาม จึงส่งผลกระทบต่อราคาปลากะพงที่มาจากฟาร์มของเกษตรกรไทยนั่นเอง

ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลหันมาช่วยเกษตรกรไทยด้วยการเพิ่มมาตรการลดการนำเข้าปลากะพงจากต่างประเทศ เพื่อให้ราคาปลากะพงของเกษตรกรไทยขยับขึ้นได้อีก แล้วเกษตรกรไทยผู้เพาะเลี้ยงปลากะพงจะได้คงอยู่ต่อไป

เอสซีจี โดยธุรกิจเคมิคอลส์ ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและบ้านฉาง จังหวัดระยอง จำนวน 34 องค์กร จัดกิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล จังหวัดระยอง ประจำปี 2562 หรือ International Coastal Cleanup 2019 (ICC 2019) เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องขยะคือทรัพยากร พร้อมส่งเสริมการคัดแยกและการทิ้งขยะอย่างถูกต้องเพื่อลดปัญหาขยะในทะเล ซึ่งประเทศไทยติดอันดับ 6 ของโลก นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยขยะพลาสติก แก้ว และโลหะจะถูกคัดแยกเพื่อนำไปรีไซเคิล ส่วนขยะทั่วไปจะนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานหรือหมักเป็นแก๊สและปุ๋ยเพื่อการเกษตรต่อไป

ภายในงานมีจิตอาสากว่า 4,500 คน ร่วมเก็บขยะชายหาด นอกจากนี้ ผู้ร่วมงานยังจะได้รับความรู้จากนิทรรศการการจัดการปัญหาขยะและการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกและการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง มุ่งแก้ปัญหาขยะในทะเลอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยลงร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2570 ตามนโยบายของภาครัฐ

ทั้งนี้ วันเสาร์ที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล หรือ International Coastal Cleanup ซึ่งมีการจัดกิจกรรมเก็บขยะชาดหาดพร้อมกันทั่วโลก ซึ่งจังหวัดระยองได้จัดกิจกรรมนี้มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 สำหรับในปีนี้ จิตอาสาได้ร่วมกันเก็บขยะชายหาดตลอดระยะทางกว่า 15.1 กิโลเมตร ณ บริเวณชายหาดแสงจันทร์-แหลมเจริญ อำเภอเมือง และบริเวณหาดน้ำริน-หาดพยูน-หาดพลา อำเภอบ้านฉาง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดระยอง ภายใต้เคมเปญ #PullingOurWeight ซึ่งหมายถึงการรวบรวมปริมาณขยะที่หลุดรอดสู่ท้องทะเลกลับคืนสู่วงจรการบริหารจัดการขยะที่เหมาะสมและครบวงจร

ด้าน ดร.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่ที่รวมตัวกันทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อชายฝั่งทะเล และช่วยสร้างจิตสำนึกการคัดแยกขยะเพื่อหมุนเวียนใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาขยะในทะเลของประเทศ”

จังหวัดระยองถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ทั้งยังเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยม ระยองมีปริมาณขยะทั้งจังหวัดต่อเดือนเฉลี่ย 30,000 ตัน คิดเป็นขยะพลาสติกประมาณ 9,000 ตัน จึงมีความสำคัญอย่างมากที่ทุกฝ่ายต้องร่วมด้วยช่วยกันคัดแยกและบริหารจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้ขยะหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อมและชายหาดต่างๆ

ด้าน ว่าที่ร้อยตรีพิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า “กิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากลมีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนแผนพัฒนาจังหวัดด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางระยองโมเดลที่มีเป้าหมายจะทำให้ขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้หมดโดยไม่มีขยะพลาสติกไปหลุมฝังกลบเลยภายใน 5 ปี”

ตลอด 16 ปี ของกิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากลที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการ หน่วยงาน และประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมเพิ่มขึ้นทุกปี สามารถเก็บขยะได้แล้วกว่า 8 แสนชิ้น รวมน้ำหนักทั้งสิ้นกว่า 89,000 กิโลกรัม โดยข้อมูลของขยะที่เก็บได้จะถูกส่งไปยังองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรวมกับประเทศอื่นๆ ในการแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหาขยะในทะเลอย่างยั่งยืน

ด้าน นายเจริญชัย ประเทืองสุขศรี กรรมการผู้จัดการบริษัท อาร์ไอแอล 1996 จำกัด และบริษัท ระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า “ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้รณรงค์และสร้างจิตสำนึกเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเริ่มต้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานที่มุ่งเน้นให้เกิดการ “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ซึ่งเอสซีจีได้ขยายผลแนวคิดดังกล่าวไปสู่ชุมชน รวมถึงเครือข่ายอื่นๆ ที่สนใจ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาขยะในทะเลแล้ว ยังส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

ทั้งนี้ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาขยะในทะเลมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินกิจกรรมเก็บขยะชายหาดมากว่า 20 ปี ภายใต้ชื่อโครงการ “หาดงามตา ปลากลับบ้าน” นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พัฒนาทุ่นกักขยะลอยน้ำเพื่อใช้กักขยะในบริเวณแม่น้ำ ป้องกันไม่ให้ขยะจากบกไหลสู่ทะเล โดยจะวางทุ่นร่วมกับ ทช. ใน 13 จังหวัดนำร่อง โดยตั้งเป้ากักขยะก่อนไหลลงสู่ทะเลให้ได้ 30 ตัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน สำหรับขยะพลาสติกที่รวบรวมได้จากการเก็บบริเวณชายหาดชุมชนและภายในบริษัทจะถูกนำมาใช้ในการทำถนนพลาสติกรีไซเคิล และทดลองผลิตเป็นท่อสำหรับสร้างบ้านปลารีไซเคิลอีกด้วย”

กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ แพะ แกะ โคกเจริญ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี เกิดจากการรวมตัวของผู้เลี้ยงแพะ แกะ ในพื้นที่ ปัจจุบัน มีสมาชิก 38 ราย มีพ่อพันธุ์ 31 ตัว แม่พันธุ์ 1,331 ตัว แยกเป็นแพะขุน 211 ตัว ที่เหลือจะเป็นแกะ และแพะเล็ก 420 ตัว รวมแพะทั้งกลุ่มทั้งสิ้น 1,995 ตัว

โดยการเลี้ยงแพะของกลุ่ม สามารถแบ่งประเภทการเลี้ยงได้ 2 ประเภท คือ 1. เลี้ยงเพื่อขุน และ 2. เลี้ยงเพื่อเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์คุณศักดา พานสายตา ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ แพะ แกะ โคกเจริญ กล่าวว่า หลังจากเกิดวิกฤตภัยแล้งในพื้นที่ ส่งผลให้สมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยก่อนหน้านี้ เกษตรกรในอำเภอโคกเจริญส่วนใหญ่ทำอาชีพหลัก คือการปลูกพืชไร่ อาทิ ข้าวโพด และมันสำปะหลัง

แต่ด้วยวิกฤตภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตพืชไร่ไม่ดี จึงหันมาเลี้ยงแพะเป็นรายได้เสริม

“นอกจากแพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายแล้ว สภาพพื้นที่ของอำเภอโคกเจริญยังมีความเหมาะสม เพราะมีสภาพที่แห้งแล้ง ซึ่งแพะชอบและสามารถเจริญเติบโตได้ดี”