จากการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ในส่วนของกระทรวงทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำเพื่อฟื้นฟู ดูแลรักษาและแก้ไขปัญหาชุมชนที่อาศัยอยู่ในและรอบพื้นที่ป่า เพื่อให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน โดยในพื้นที่จังหวัดน่านมีศูนย์ดังกล่าว จำนวน 8 ศูนย์ โดยแต่ละศูนย์ฯ ก็จะมีการไปจัดตั้ง ฐานปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ซึ่งฐานฯดังกล่าวจะไปตั้งอยู่บนยอดเนิน ครอบคลุมพื้นที่ ที่ถูกบุกรุก เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่าทั้งหมดโดยจะมี เจ้าหน้าที่ของ กรมป่าไม้.และ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช ไปประจำอยู่ ณ.ฐานฯ ดังกล่าว เช่น ศูนย์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข ทั้งนี้ได้มีการแบ่งเขตพื้นที่เพื่อการจัดการ มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ในการดูแลรักษาป่า การจัดตั้งป่าชุมชน การฟื้นฟูพื้นที่ป่าในลุ่มน้ำ 1, 2 ในรูปแบบวนประชารัฐ พื้นที่ลุ่มน้ำ 3, 4, 5 มีการจัด คทช. เพื่อส่งเสริมราษฎรทำกินในพื้นที่ในรูปแบบวนเกษตร การปลูกป่าเศรษฐกิจ และมีการนำรูปแบบโครงการสร้างป่าสร้างรายได้มาขยายผล

โฆษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวต่อถึง การจัดที่ดินทำกินให้กับชุมชน ในพื้นที่ จงหวัดน่าน 7.58 ล้านไร่ ซึ่งมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมสภาพ 1,435,604 ไร่ แบ่งเป็น 1) ป่าเสื่อมสภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,2 จำนวน 917,995 ไร่

2) ป่าเสื่อมสภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำ 3,4,5 จำนวน 517,609 ไร่

ซึ่งพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพดังกล่าวสามารถดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ได้ จำนวน 139,344 ไร่ โดยดำเนินการไปแล้ว 46,596 ไร่

สำหรับส่วนที่เหลือ ท่าน รมว.ทส. ได้สั่งการให้กปม.ได้เร่งดำเนินการอย่างเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติตามแนวทาง คณะกรรมการ คทช. ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าว บางพื้นที่ ก็ได้มีการดำเนินการ ตามคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 อนึ่งขณะนี้ทางกรมป่าไม้ได้เสนอร่างกรอบการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในภาพรวมเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน โดยเป็นการดำเนินงานในรูปแบบวนประชารัฐ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างสามัคคีปรองดอง กระทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป.ย.ป.ท.ส) เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกรอบนโยบายดังกล่าว จะส่งผลให้กรมป่าไม้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาการปลูกพื ชเชิงเดี่ยว และการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินในพื้นที่สูงชันได้อย่างชัดเจนและเห็นผลเป็นรูปธรรม ต่อไป

นายตฤณ แสงสุวรรณ รักษาการแทนรองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะเกษตร กำแพงแสน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการจัดงานชุมนุมยุวเกษตรกรและที่ปรึกษายุวเกษตรกรระดับประเทศ ประจำปี 2560 พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา และคณะกรรมการในฝ่ายต่างๆ นำโดย นายวารินทร์ บุษบรรณ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อปรึกษาหารือในการกำหนดรูปแบบการจัดงาน ชมสถานที่จัดงานในส่วนต่างๆ และสรุปรายละเอียดของการดำเนินงานการจัดงาน ที่ มก.วิทยาเขตกำแพงแสน

ซึ่งงานชุมนุมยุวเกษตรกร และที่ปรึกษายุวเกษตรกรระดับประเทศ ประจำปี 2560 จัดโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ มก.ระหว่างวันที่ 1-5 กรกฎาคม ที่ มก.วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มยุวเกษตรกร สร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นจิตสำนึกรักการเกษตรด้วยกลุ่มยุวเกษตรกรต้นแบบ สร้างความภาคภูมิใจในการเป็นยุวเกษตรกร และเชื่อมโยงเครือข่ายสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร และที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนางานยุวเกษตรกรเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนางานเยาวชนในภาคการเกษตร และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานดีเด่นของกลุ่มยุวเกษตรกรต้นแบบ รวมถึง ผลการดำเนินงานส่งเสริมยุวเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร และงานโครงการสางเสริมการเกษตรที่เกี่ยวข้อง

นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กกจ.ได้รับเรื่องร้องทุกข์จากคนหางานจำนวนหลายรายว่า ได้รับการชักชวนทางเฟซบุ๊กหรือไลน์จากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าเป็นบริษัทจัดหางาน จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศให้ไปทำงานตำแหน่งพนักงานเกษตรเก็บผลผลิต พนักงานนวด แม่บ้านที่ประเทศแคนาดา นิวซีแลนด์ ไอซ์แลนด์ และสเปน มีรายได้ 60,000-150,000 บาท ต่อเดือน และยังมีสวัสดิการที่พักฟรี อาหารฟรี ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง มีค่าล่วงเวลา มีวันหยุดตามกฎหมายกำหนด แต่ต้องเสียเงินค่าบริการและค่าใช้จ่าย 30,00-100,000 บาท ต่อคน ต่อมาปรากฏว่าไม่ได้รับการจัดส่งไปทำงานตามที่ตกลง ซึ่งจากการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ทางทะเบียนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ กกจ.พบว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่แอบอ้างดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตจัดหางาน และไม่ได้จดทะเบียนเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางานของผู้รับอนุญาตจัดหางานแต่อย่างใด จากการสอบถามข้อมูลของคนหางานที่ถูกหลอก พบว่ามีการสร้างความน่าเชื่อถือโดยนำภาพถ่ายสถานที่ทำงานหรือคำบอกเล่าจากแรงงานที่ไปทำงานแล้วประสบความสำเร็จ จึงทำให้หลงเชื่อยอมจ่ายเงิน

“กกจ.ได้ตรวจสอบเฟซบุ๊กที่มีพฤติการณ์โพสต์ข้อความชักชวนคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ที่อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 พร้อมจัดตั้งชุดเฝ้าระวังและตรวจสอบเว็บไซต์ที่มีพฤติกรรมโฆษณาชักชวนคนหางานไปทำงานต่างประเทศ และใช้สายตรวจออนไลน์คอยตรวจสอบ เฝ้าระวังพฤติการณ์ของขบวนการค้ามนุษย์และกลุ่มมิจฉาชีพอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2560 มีผู้ร้องทุกข์ 392 ราย ประเทศที่ร้องทุกข์มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย” นายวรานนท์ กล่าว

นายโอภาศ ธันวารชร กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ยอดขายของบริษัทในช่วงไตรมาสแรกของปี 2560 พบว่า มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ประมาณ 10% ทำให้เชื่อมั่นว่ายอดขายทั้งปีจะทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 55,000 ล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 10% ซึ่งอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่เติบโตดีเนื่องจากกำลังซื้อเกษตรกรดีขึ้น เพราะฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลและได้ผลิตที่ดี

นายโอภาศ กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทให้ความสำคัญกับการส่งเสริมนาแปลงใหญ่ โดยให้เกษตรกรรวมตัวกันเพื่อมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มผลผลิตเพื่อความยั่งยืนและมั่นคง โดยได้มีการสนับสนุนโครงการดังกล่าวแล้ว จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย 1. ที่ราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ 2. ที่หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 3. อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 4. อำเภอร่องกาศ จังหวัดแพร่ และ 5. จังหวัดเชียงราย ซึ่งส่วนนี้กำลังคุยรายละเอียดอยู่ โดยการเข้าไปช่วยเหลือเรื่องนาแปลงใหญ่นั้นจะเน้นให้คำแนะนำ และการให้ยืมเครื่องจักรหากเกษตรกรสามารถึ่งพาตัวเองได้ก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การนอนหลับที่เพียงพอช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้ฟื้นสภาพรู้สึกสดชื่นแจ่มใส เป็นผลดีต่ออารมณ์ความรู้สึกในวันถัดไป โดยทั่วไปคนเราใช้เวลานอนหลับ 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมด คนส่วนใหญ่ต้องการนอนวันละ 8 ชั่วโมง บางคนอาจนอนมากน้อยแตกต่างกัน ในกลุ่มของผู้สูงอายุต้องการนอนวันละ 7-8 ชั่วโมงไม่แตกต่างจากคนทั่วไปเช่นกัน แต่ที่ผ่านมายังมีประชาชนบางส่วนเข้าใจว่าผู้สูงอายุต้องการนอนหลับน้อยกว่าคนวัยอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด

น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ประชาชนทุกคนมีโอกาสเกิดปัญหานอนไม่หลับในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตได้ สถานการณ์ในประเทศไทยพบประชาชนไทยประสบปัญหานอนไม่หลับในช่วงกลางคืนหรือหลับไม่เพียงพอร้อยละ 30-40 และมีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรังร้อยละ 10 ส่วนในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดปัญหานอนไม่หลับ เนื่องจากเซลล์ประสาทในสมองที่ควบคุมการนอนหลับเสื่อมสภาพและมีจำนวนลดลง กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินการสำรวจขนาดปัญหาในระดับชาติครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2556 ผลพบว่าประสบปัญหาการนอนหลับในช่วงกลางคืนร้อยละ 22 หรือพบได้ 1 คน ในผู้สูงอายุทุกๆ 5 คน อาการที่พบมีทั้งเกิดเดี่ยวๆได้แก่หลับยาก หลับๆตื่นๆกลางดึก และเกิดควบคู่กัน 2 อาการขึ้นไป เช่น หลับยากร่วมกับหลับๆตื่นๆ กลางดึก ผู้หญิงจะนอนไม่หลับสูงกว่าผู้ชาย

“ผลกระทบจากการนอนไม่หลับหรือนอนไม่พอ จะเป็นพื้นฐานก่อให้เกิดความเครียดอารมณ์หงุดหงิดง่าย ร่างกายอ่อนเพลีย ขาดสมาธิ ความจำไม่ดี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน การเรียน การตัดสินใจแย่ลง ในผู้สูงอายุอาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่ายขึ้นหากเกิดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมอาจทำให้มีอาการรุนแรง ความจำสับสน หลงวันหลงเวลามากขึ้น ประชาชนจึงไม่ควรมองข้าม และขอแนะนำให้ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับเป็นเวลามากกว่า 1 สัปดาห์ควรพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อให้การรักษาตรงกับต้นเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ ควบคู่กับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการนอน จะช่วยให้อาการดีขึ้น ถ้าปล่อยให้เป็นมาก การรักษาจะยากขึ้น” อธิบดีฯกล่าว

นพ.จุมภฎ พรมสีดา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การนอนไม่หลับเป็นอาการ ไม่ใช่โรค ส่วนใหญ่มักจะมาจาก 3 สาเหตุ ได้แก่ ปัญหาการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ การใช้ยารักษาโรคบางชนิดที่ทานอยู่ประจำ และพฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งต้องแก้ไขตามสาเหตุ สำหรับการป้องกันปัญหานอนไม่หลับและช่วยให้การนอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนะนำให้ประชาชนปฏิบัติ 10 วิธี ดังนี้

1. เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อให้เกิดความเคยชิน
2.ลุกจากที่นอนทันทีเมื่อตื่น การสัมผัสแสงแดดอ่อนๆในตอนเช้า ออกกำลังกายเบาๆหลังตื่นนอน 10 -15 นาที จะช่วยสมองและร่างกายตื่นตัว
3. อาบน้ำอุ่น ดื่มนมหรือดื่มน้ำผลไม้ อ่านหนังสือเบาๆสมองประมาณ 10 นาที ก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง และเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมที่ตึงเครียด
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นอย่างน้อยวันละ 30 นาที ช่วยลดความตีงเครียดร่างกายและอารมณ์
5. จัดห้องนอนให้มืด เงียบ สบาย ปลอดภัย อากาศถ่ายเทดี
6. ควรใช้ที่นอนเวลานอนกลางคืนเท่านั้น ไม่ควรทำงาน ดูทีวีหรืออ่านหนังสือบนที่นอน
7. หากเข้านอนแล้วยังไม่หลับภายใน 15 – 30 นาที ให้ลุกจากที่นอนและทำกิจกรรมให้ความเพลิดเพลินเช่นฟังเพลง อ่านหนังสือ เมื่อรู้สึกง่วงจึงกลับไปนอนใหม่ ไม่แนะนำให้ดูทีวี ดูข่าว เล่นคอมพิวเตอร์ เนื่องจากจะเร้าความรู้สึกตื่นตัว ทำให้นอนไม่หลับ
8. ไม่ควรงีบหลับในช่วงกลางวัน หากจำเป็นไม่ควรงีบเกิน 30 นาที
9. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ก่อนนอน ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนเช่นชา กาแฟ เกินวันละ2 ครั้ง
10. รับประทานอาหารมื้อเย็นเบาๆ เช่นนม น้ำผลไม้ ไม่ควรดื่มน้ำมากก่อนเข้านอนเพราะจะให้ปวดปัสสาวะบ่อย รบกวนการนอน

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานคณะกรรมการจัดงานวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจำปี 2560 ว่า งานวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ปี 2560 จะจัดวันที่ 3 – 5 มิถุนายน 2560 ณ กรมการข้าว กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “ศาสตร์พระราชา นำชาวนาสู่ยุค 4.0” โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจำปี 2560 วันที่ 3 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น.

สำหรับกิจกรรมปีนี้ ประกอบด้วย 1.นิทรรศการ โดยนำศาสตร์พระราชาในแง่มุมต่าง ๆ มาถ่ายทอดสู่ประชาชนให้รับรู้เข้าใจได้ลึกซึ้ง เพื่อให้ประชาชนสามารถน้อมนำไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะการผลิตข้าวและการดำเนินวิถีชีวิตของชาวนา ประกอบด้วย นิทรรศการเทิดพระเกียรติ โดยนำพระราชกรณียกิจที่ทรงงานด้านข้าวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และราชวงศ์นิทรรศการเชิดชูเกียรติชาวนา โดยนำเสนอผลงานชาวนาและสถาบันชาวนาที่ได้รับรางวัลดีเด่น ปี 2560 นิทรรศการวิวัฒนาการของชาวนาจากยุค 1.0 – ยุค 4.0 โดยเสนอให้เห็นภาพรวมตั้งแต่การผลิต การแปรรูปเชิงอุตสาหกรรม จนถึงสู่ผู้บริโภค โดยเป็นการนำเสนอร่วมกันทั้งในส่วนภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน

2.การจัดแสดงวัฒนธรรมประเพณีด้านข้าว อาทิ การจัดพิธีบูชาแม่โพสพและจัดขบวนแห่การแสดงประเพณี 4 ภาค และการจัดลานวัฒนธรรมแสดงวัฒนธรรมประเพณีข้าว

3. การเสวนา ณ เวทีกลาง ซึ่งเป็นไฮไลท์ของการจัดงานในครั้งนี้ โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ การเสวนา หัวข้อ“ชาวนายุค 4.0 และ “การทำนาแปลงใหญ่แบบประชารัฐ” รวมถึงการสาธิตด้านต่างๆ อาทิ การทำนาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แปลงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง การทำกระดาษฟางข้าว

4. การประกวดแข่งขัน ได้แก่ เมนูอาหารจากข้าว การทำข้าวเหนียวมูน การประกวดร้องเพลงเทิดพระเกียรติและเพลงที่เกี่ยวกับข้าวและชาวนา ตลอดทั้งการประกวดภาพถ่าย

สำหรับภูมิภาค กำหนดจัดงาน 4 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ภาคกลางที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท และภาคใต้ที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง

ช่วงหลายปีมานี้ ในแวดวงของอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย ทั้งหน่วยงานกำกับ คือ กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ผลิต คือ ชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลทรายมีการหยิบยกประเด็นการลอยตัวน้ำตาลทราย ภายใต้ภาพใหญ่คือการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายขึ้นมาหารือ ที่จำเป็นต้องปรับแก้เพราะ พ.ร.บ.

อ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งมีการบังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ขณะที่โลกการค้าปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะด้านการค้าโลกที่ดุเดือด มีการช่วงชิงจังหวะแบบหมัดต่อหมัด

เพราะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย ถูกประทับตราว่าเป็นสินค้าการเมืองสำคัญชนิดหนึ่ง มีผลประโยชน์ มีการกำหนดสัดส่วนรายได้จากผลผลิตอ้อย กระบวนการแปรรูปเป็นน้ำตาล ไปจนถึงการนำผลผลิตพลอยได้อย่างกากน้ำตาล (โมลาส) ชานอ้อย ฯลฯ มาสร้างมูลค่า เมื่อมีการหยิบยกประเด็นปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลขึ้นมาทีไร จึงมักถูกต่อต้าน โดยเฉพาะจากกลุ่มชาวไร่ ที่เป็นผู้ผลิตต้นทาง ซึ่งกังวลว่าสัดส่วนแบ่งปันของอุตสาหกรรมที่กำหนดให้ชาวไร่ได้ 70% และโรงงานได้ 30% จะเปลี่ยนแปลงทำให้ชาวไร่ได้รับรายได้ลดลง

แต่ล่าสุด มีแรงกดดันสำคัญที่ทำให้การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายต้องเดินได้จริงจัง มาจากการที่ประเทศบราซิลยื่นเรื่องต่อองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) กล่าวหาไทยอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย จนกระทบต่อตลาดโลกในช่วงปี 2558 โดยประเด็นที่บราซิลจี้ไทย มีทั้งการกำหนดราคาขายปลีก การกำหนดโควต้าเป็น 3 ส่วน คือ น้ำตาลเพื่อการบริโภคในประเทศ หรือโควต้า ก. น้ำตาลที่ส่งออกโดยบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) หรือโควต้า ข. และน้ำตาลเพื่อส่งออก รวมทั้งประเด็นการเพิ่มเงินชาวไร่อ้อยในกรณีที่ชาวไร่ได้รับเงินขั้นต้นต่ำกว่าต้นทุนการผลิตจริง

จนปี 2559 ประเด็นฟ้องร้องเริ่มขยายผล จนรัฐบาลไทยเริ่มกังวลต่อผลกระทบต่อประเทศไทย หากบราซิลชนะคดี เพราะหนึ่งในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น คือ ประเทศไทยอาจต้องเสียเงินค่าปรับจำนวนมหาศาล นี่ยังไม่นับรวมผลกระทบด้านอื่นต่อประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก

รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งด่วนให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งเดินหน้าปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยกรอบสำคัญ คือ การปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.อ้อยฯ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านเวลาที่ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี กระทรวงอุตสาหกรรมจึงเลือกปรับโครงสร้างประเด็นสำคัญอย่างราคาน้ำตาลและโควต้าน้ำตาลทรายก่อน มีผลบังคับใช้ปลายปี 2560 เพื่อใช้กับฤดูกาลผลิต 2560/2561 โดยแนวทางนี้จะเป็นข้อมูลชี้แจงต่อดับเบิลยูทีโอต่อไป

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ อุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ระบุว่า เดือนตุลาคมปีนี้จะมีการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายในประเทศ โดยเปลี่ยนมาอิงราคาตลาดโลก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ชาวไร่อ้อย และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำตาลผลิตสินค้า เพราะจะมีการดูแลให้น้ำตาลทรายเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ และมีมาตรการดูแลของกระทรวงพาณิชย์ด้วย

โดยประเด็นนี้การลอยตัวราคาน้ำตาลทรายในประเทศเดือนตุลาคม 2560 จะเป็นการลอยตัวแบบมีการจัดการ โดยจะมีการตั้งกองทุนดูแลช่วงที่ราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกตกต่ำ กองทุนจะเข้ามาช่วยเหลือชาวไร่อ้อย สำหรับที่มาของเงินนั้นจะจัดเก็บช่วงราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกสูง

ภายหลังประเด็นลอยตัวราคาน้ำตาลทรายถูกนำเสนอ กระทรวงพาณิชย์ โดย สมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ให้ข้อมูลถึงการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายของไทยว่า ปัจจุบันน้ำตาลทรายเป็นสินค้าอยู่ในบัญชีควบคุม ตามประกาศของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ โดยกำหนดราคาเพดานสูงสุดสำหรับขายปลีกไม่เกินกิโลกรัม (กก.) ละ 23.50 บาท แต่หากมีการลอยตัวราคาน้ำตาลทราย ตามกำหนดตั้งแต่เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้เป็นต้นไป ราคาน้ำตาลของไทยจะขึ้นหรือลงตามราคาตลาดโลก ไม่มีการกำหนดราคาเพดานขายปลีกสูงสุดอีกต่อไป

“ราคาขายปลีกน้ำตาลทราย กก.ละ 23.50 บาทในปัจจุบันนั้น จะแบ่งนำเงินเข้าสู่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กก.ละ 5 บาท เพื่อให้รัฐนำไปช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย 160 บาท/ตันอ้อย ดังนั้น เมื่อลอยตัวราคาน้ำตาลทรายแล้วก็จะไม่ต้องนำเงินส่งกองทุนอีกต่อไป”

อย่างไรก็ตาม เมื่อลอยตัวราคาน้ำตาลแล้ว กระทรวงพาณิชย์อาจไม่จำเป็นต้องถอดออกจากการเป็นสินค้าควบคุมก็ได้ เพียงแต่อาจเสนอให้คณะกรรมการกลางพิจารณายกเลิกการกำหนดราคาเพดานขายปลีกสูงสุด เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์ยังคงสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์การขายและราคาอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันและมีการใช้ในปริมาณมาก ทั้งในประเทศและเพื่อส่งออก แต่หากลอยตัวราคาแล้วผู้ประกอบการไม่ยอมปรับราคาขายให้ขึ้นหรือลงตามราคาตลาดโลก กรมจะเชิญมาหารือให้ปรับราคาให้สอดคล้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภค

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายได้ดำเนินการต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการแก้และปรับกฎหมายต่างๆ รองรับการลอยตัวราคาน้ำตาลทราย คาดว่าจะสามารถสรุปได้ภายในเดือนตุลาคมนี้และนำไปสู่การลอยตัวราคาได้จริงในเดือนธันวาคม 2560 ซึ่งเป็นช่วงฤดูหีบอ้อยปี 2560/2561 โดยการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายเป็นไปตามแนวทางการเจรจากับบราซิล ซึ่งก่อนหน้าได้มีการยื่นคำร้องต่อดับเบิลยูทีโอ กล่าวหาไทยอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจึงนำมาสู่การเจรจาเพื่อไม่ให้นำไปสู่การฟ้องร้อง

สำหรับหลักการนำไปสู่การลอยตัวจะต้องยกเลิกระบบโควต้าน้ำตาลทรายซึ่งเดิมกำหนดเป็น 3 ส่วน คือ น้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ (โควต้า ก.) น้ำตาลทรายดิบส่งออก 8 แสนตัน (โควต้า ข.) น้ำตาลทรายส่งออกส่วนที่เหลือจากโควต้า ก. และ ข. (โควต้า ค.) โดยแนวทางใหม่จะป้องกันการขาดแคลนบริโภคในประเทศด้วยการกำหนดให้โรงงานน้ำตาลทรายต้องสต๊อกน้ำตาลทรายขาวรองรับล่วงหน้า 1 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้นำน้ำตาลทรายไปส่งออกทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หากขายออกไปจนทำให้ขาดแคลนจะมีโทษ

สอน.ยังเชื่อว่าระบบโควต้าดังกล่าวจะไม่ทำให้น้ำตาลทรายขาดแคลน เพราะปัญหาที่ผ่านมาราคาน้ำตาลทรายไม่สอดรับกับตลาดโลก เมื่อราคาน้ำตาลต่างประเทศสูงกว่าก็จะทำให้เกิดการไหลออก และหากราคาในประเทศสูงกว่าจะทำให้น้ำตาลไหลเข้า เมื่อราคาในประเทศใกล้เคียงตลาดโลกจะสร้างความสมดุลมากขึ้น นอกจากนี้ การลอยตัวจะนำไปสู่ระบบการซื้อขายที่เสรี กลไกการค้าเสรีจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีโอกาสสอบถาม สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่า การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจะไม่มีการยกเลิกระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 แต่จะเลิกระบบโควต้า เพื่อให้การจัดสรรน้ำตาลมีแค่ใช้ในประเทศ แต่ต้องเพียงพอ และการจัดสรรเพื่อส่งออก แต่สัดส่วนนี้ก็สามารถนำมาขายในประเทศได้ตลอดเวลา ไม่มีความผิด

“ประเด็นราคาน้ำตาลทรายที่บางฝ่ายกังวลว่าจะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบนั้น กระทรวงยืนยันว่าจะดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบแน่นอนหากราคาตลาดโลกปรับขึ้น ขณะเดียวกันก็จะดูแลชาวไร่ไม่ให้ได้รับผลกระทบหากราคาตลาดโลกปรับลดลง”

เมื่อประเด็นการค้ากดดันให้ไทยต้องปรับตัว คงต้องฝากความหวังไว้กับภาครัฐว่าจะดูแลประชาชนให้ได้ใช้น้ำตาลราคาเหมาะสม ราคาไม่แพงจนเกินไป ในฐานะประเทศผู้ผลิตหลักจนสามารถส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก

เอ็มดีใหม่ ธ.ก.ส. เล็งปล่อยสินเชื่อให้สอดคล้องนโนบายการพัฒนาเกษตร เผยพบชาวนาภาคกลางเป็นผู้เช่าที่นา ยากต่อการปรับเปลี่ยนเพื่อทำเกษตรแบบใหม่ ชี้ต้องเร่งหาทางแก้ไข ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ 8.6 หมื่นล. คุมเอ็นพีแอลไม่เกิน 4%

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า pasem.org นโยบายการทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลในการลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร ซึ่งที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าช่วยเกษตรกรประหยัดต้นทุนการผลิตได้ราว 30-40% อย่างไรก็ตาม การอุดหนุนภาคการเกษตรนั้นยังจำเป็นต้องมีบ้างในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน ส่วนการอุดหนุนภาคการเกษตรด้วยการรับจำนำข้าวเปลือกนั้น รัฐบาลชุดนี้จะไม่ทำ เพราะมีการรั่วไหลมาก

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. ต้องสอดคล้องกับนโยบายด้านการพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนึ่งของการพัฒนาภาคเกษตรโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางคือ ชาวนาในภาคกลางจำนวนมากเป็นผู้เช่าที่นา ดังนั้น การปรับพื้นที่เพื่อทำการเกษตรแบบใหม่ เช่น อาจต้องมีการขุดสระน้ำ หรือเปลี่ยนจากการปลูกข้าวไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีมูลค่าสูงกว่า เจ้าของที่นาไม่ยินยอมซึ่งปัญหานี้จะต้องหาแนวทางแก้ไข

นายอภิรมย์ กล่าวว่า นอกจากนี้แนวทางการช่วยเหลือภาคการเกษตรของ ธ.ก.ส. จะแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีรายได้น้อย หรือยากจน โดยใช้ข้อมูลจากการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งในเบื้องต้นมีผู้มีรายได้น้อยมาลงทะเบียนกับ ธ.ก.ส. 5.6 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นเกษตรกร 2 ล้านคน กลุ่มที่ 2 เป็นลูกค้าสินเชื่อของ ธ.ก.ส. ซึ่ง ธ.ก.ส. จะหาแนวทางการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร เช่น การช่วยปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ผ่านการให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยน

นายอภิรมย์ กล่าวว่า กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มเอสเอ็มอีเกษตร ซึ่งเป็นแนวทางของรัฐบาลยกระดับภาคการเกษตรของรัฐบาล โดยปีที่แล้ว ธ.ก.ส. มีโครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอีเกษตร เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับการผลิตภาคการเกษตร โดยใช้การวิจัยและพัฒนานำการผลิต เพื่อเปลี่ยนภาคการเกษตรแบบดั้งเดิมที่อาศัยแรงงาน วัตถุดิบและทรัพยากรน้ำที่สูง ไปสู่การผลิตสมัยใหม่ ต้นทุนการผลิตต่ำลง คุณภาพผลผลิตสูงขึ้น และมีกระบวนการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าจนกระทั่งสามารถส่งไปขายในตลาดโลกได้ โดยปีที่แล้วปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีเกษตรได้ 2 หมื่นราย เป็นวงเงินสินเชื่อ 4 หมื่นล้านบาท

นายอภิรมย์ กล่าวว่า ในปีบัญชีใหม่ของ ธ.ก.ส. เริ่ม 1 เมษายนนี้ ธ.ก.ส. ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ไว้ที่ 8.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อรวม ณ สิ้นปีบัญชี ณ 31 มีนาคม 2560 มียอดรวม 1.2 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ในปีบัญชีใหม่นี้ ธ.ก.ส. ตั้งเป้าคุมเอ็นพีแอลไว้ที่ไม่เกิน 4% ขณะที่ปีบัญชีผ่านมาอยู่ที่ 4.0%