จากชีวิตลูกจ้าง สู่เกษตรกรเจ้าของสวนเงาะเริ่มแรกเดิมทีเป็นลูก

อยู่ภายในสวนทางภาคใต้ จึงได้พอเรียนรู้สิ่งต่างๆ เกี่ยวกับการทำสวนมาบ้าง เมื่อรู้สึกว่าอยู่ไกลจากบ้านมากเกินไป จึงได้หาโอกาสกลับมาอยู่บ้าน พร้อมทั้งทดลองปลูกพืชในพื้นที่ว่างที่มีอยู่ เมื่อปี 2545

“ก่อนหน้านั้นที่เราเลิกเป็นลูกจ้างเขา เราก็มาปลูกพวกพืชไร่ก่อน ผลปรากฏว่าราคาผลผลิตทางด้านนี้ไม่ตอบโจทย์ ยิ่งทำรู้สึกว่าไม่คุ้ม ก็เลยมาค่อยๆ ปรับพื้นที่เป็นไม้ผลจำพวกเงาะแทน ช่วงนั้นก็เริ่มที่ 200 ต้น พอเจริญเติบโตขึ้นโดนลมพัดโค่นไป ก็เหลืออยู่จริงตอนนี้ประมาณ 150 ต้น ก็สามารถให้ผลผลิตได้ดี” คุณทองดี บอกถึงที่มา

คุณทองดี เล่าต่อว่า เงาะที่นำมาปลูกจะต้องรอให้ต้นมีอายุประมาณ 3-4 ปี จึงจะเริ่มให้ผลผลิตเก็บขายได้ โดยเวลานี้ก็ได้ไม้ผลชนิดอื่นมาปลูกด้วย คือ ทุเรียน ซึ่งทุเรียนที่ปลูกจนให้ผลผลิตสามารถขายได้มีอยู่ประมาณ 30 ต้น และได้เพิ่มพื้นที่ปลูกไปอีกประมาณ 50 ต้น

“พอผลผลิตที่ออกมาขายจนหมดแล้ว เราก็จะเตรียมดูแลต้นให้สมบูรณ์ ด้วยการตัดแต่งกิ่ง จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยบำรุงเป็นสูตรเสมอ 15-15-15 เดือนละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้ต้นเงาะมีความสมบูรณ์ สามารถออกผลผลิตได้ในฤดูกาลถัดไป ส่วนเรื่องการรดน้ำ เงาะถือว่าเป็นพืชที่ขาดน้ำไม่ได้ ต้องมีน้ำผลผลิตถึงจะดี เราจะดูที่หน้าดิน ถ้าแห้งก็จะให้น้ำตามความเหมาะสม” คุณทองดี บอก

เมื่อผ่านการดูแลต้นเงาะเข้าสู่ต้นเดือนมกราคม คุณทองดี บอกว่า ไม้จะเริ่มออกดอกให้เห็นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในช่วงนี้จะเปลี่ยนปุ๋ย เป็นสูตร 8-24-24 โดยเน้นให้มีตัวกลางและท้ายสูง จากนั้นผ่านเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ต้นก็จะเริ่มติดผล ก็จะเตรียมการฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อบำรุงในเรื่องของการดูแลการติดผล เดือนละ 2-3 ครั้ง และที่สำคัญในเรื่องของการให้น้ำ ต้องหมั่นดูแลอย่าให้ขาดจนกว่าผลผลิตจะแก่ ซึ่งผลผลิตจะออกขายได้เมื่อเข้าสู่เดือนมิถุนายน

ในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงนั้น คุณทองดี บอกว่า ช่วงที่อากาศร้อนในเดือนมีนาคม-เมษายน ศัตรูของเงาะที่ต้องระวังคือ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย จะฉีดพ่นยาป้องกันตามอาการที่เกิด ซึ่งช่วงนี้สำคัญมากต้องดูแลเป็นพิเศษ

ผลไม้จากดินภูเขาไฟ รสชาติดี ตลาดต้องการ

คุณทองดี เล่าถึงเรื่องของการตลาดให้ฟังว่า ในช่วงแรกที่เริ่มทำสวนใหม่ๆ เมื่อผลผลิตเริ่มมีให้เก็บขาย จะนำไปขายเองตามตลาดนัด เพื่อให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าเสียก่อน ซึ่งผลตอบรับจากการขายผลผลิตค่อนข้างดี ต่อมาไม่ต้องนำออกไปขายที่ไหนอีกเลย โดยมีพ่อค้าแม่ค้ามาซื้อถึงสวนกันเลยทีเดียว

“ตอนนี้ก็ถือว่าเงาะยังเป็นผลไม้ที่บ้านเรายังนิยมกินอยู่ ซึ่งราคาที่ผมขายอยู่หน้าสวน ก็อยู่ที่กิโลกรัมละ 30-35 บาท เมื่อเทียบกับสมัยก่อนแล้ว ราคาปัจจุบันนี่ถือว่าดีมาก ซึ่งสมัยก่อน กิโลกรัมละ 8-10 บาท ถือว่าเดือนมิถุนายนเงาะที่นี่ก็จะเริ่มให้ผลผลิตแก่ขายได้ โดยสวนผมต่อปีเฉลี่ยแล้ว ได้ผลผลิตประมาณ 40-50 ตัน ก็สามารถเป็นอาชีพที่มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ ส่วนทุเรียนก็ขายผลผลิตได้อยู่ที่กิโลกรัมละ 90-100 บาท ก็พอสามารถขายทำเงินได้เช่นกัน” คุณทองดี กล่าวถึงเรื่องตลาด

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกเงาะเป็นอาชีพสร้างรายได้ คุณทองดี แนะนำว่า สิ่งที่สำคัญของการปลูกเงาะคือ เรื่องแหล่งน้ำต้องมีอย่างเพียงพอ จึงจะทำให้ผลผลิตดีมีคุณภาพ ส่วนเรื่องอื่นๆ สามารถเรียนรู้และสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ เท่านี้ก็จะทำให้ประสบผลสำเร็จได้ไม่ยาก ขอให้มีการจัดการที่ดี

ในวันนี้ กล้วยไข่ กลายเป็นผลไม้ขายดี ติดตลาด ไม่แพ้ กล้วยชนิดต่างๆ ความจริง กล้วยไข่ เป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย หากใครมีพื้นที่ว่างในสวนหลังบ้าน ก็สามารถหาพันธุ์กล้วยไข่มาปลูกและบำรุงรักษาให้เจริญเติบโตได้ไม่ยาก แค่ใช้เวลาปลูกดูแลไม่นานก็จะได้ผลผลิตให้เก็บกินและเก็บขายได้

การปลูก-ดูแล
กล้วยไข่ เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไปในพื้นที่ราบ ต้นกล้วยไข่เติบโตได้ดี ในสภาพดินร่วนซุยค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ “ฤดูฝน” เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการปลูกกล้วยไข่ เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ปลูกต้นกล้วยไข่ในพื้นที่โล่งมากเกินไป เพราะหากเจอปัญหาลมพัดแรง จะเสี่ยงทำให้ต้นกล้วยไข่หักโค่นล้ม หรือหักครึ่งต้นได้ในระยะตกเครือ หากเป็นไปได้ ควรปลูกไม้กันลมไว้ด้วยจะยิ่งดี

ก่อนปลูก ควรไถดะไถแปรทั้งแปลง ตากดินไว้ 5-7 วัน ขุดหลุมลึกและกว้าง 50 เซนติเมตร คลุกดินที่ขุดขึ้นจากหลุมกับปุ๋ยคอกเก่า รองก้นหลุมด้วยใบไม้หรือฟางข้าวแห้ง เกลี่ยดินที่ผสมไว้กลับลงหลุมวางหน่อกล้วยลงหากต้องการให้ต้นกล้วยตกเครือในทิศทางเดียวกัน ให้หันรอยแผลที่ตัดแยกจากต้นแม่ไปทิศทางเดียวกัน กลบหน่อกล้วยให้ลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร กลบดินเหยียบอัดพอแน่น พูนกลบดินให้สูงเหนือผิวดินเป็นรูปหลังเต่าป้องกันน้ำขังและขณะรดน้ำหรือฝนตกชุก ในระยะฝนทิ้งช่วงควรให้น้ำเป็นครั้งคราว

ต้นกล้วยไข่มีการเจริญเติบโต แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก นับจากเริ่มปลูกจนต้นกล้วยตั้งตัวได้ ระยะนี้ต้นกล้วยต้องการน้ำและอาหารมาก ซึ่งจะมีผลต่อการให้ผลผลิตกล้วย ระยะที่ 2 เริ่มจากหลังการตั้งตัวจนถึงก่อนการตกเครือเล็กน้อย อาหารส่วนใหญ่จะนำไปผลิตหน่ออ่อน ระยะที่ 3 จากระยะตกเครือไปจนถึงผลแก่ จะเห็นว่าต้นกล้วยต้องมีการสะสมอาหารไว้ในปริมาณสูงตลอดทั้ง 3 ระยะจึงจะให้ผลดี

การให้ปุ๋ย
หากปลูกต้นกล้วยไข่ ในแหล่งดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเคมีบำรุงดินด้วย ครั้งแรกใส่หลังจากต้นกล้วยไข่ตั้งตัวแล้ว 1 เดือน เลือกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราครึ่งกิโลกรัม ต่อต้น และใส่อีกครั้งในระยะตกเครือ ด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา ครึ่งกิโลกรัม ถึงหนึ่งกิโลกรัม ต่อต้น ตลอดระยะการปลูกต้องหมั่นกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องตัดหญ้าเป็นวิธีดีที่สุด ส่วนวิธีขุดสับจะมีผลเสียคือเป็นการทำลายระบบรากของต้นกล้วย

การให้ผลผลิต
เมื่อต้นกล้วยไข่เริ่มแทงหน่อเมื่อมีอายุ 5-6 เดือน ให้ตัดแต่งหน่อกล้วย โดยเลือกหน่อไว้เพียง 2 หน่อเพื่อทดแทนต้นแม่โดยเลือกหน่อที่อยู่คนละด้านของต้นแม่ เนื่องจากมีระบบรากที่แข็งแรง ส่วนการตัดแต่งกิ่งและใบ แนะนำให้ตัดใบที่แห้งและใบที่เป็นโรคทิ้งไปให้เหลือเก็บไว้ในระยะเครือจวนแก่เพียง 4-5 ใบ ก็พอ

กล้วยจะเริ่มให้ปลีเมื่อมีอายุ 8-12 เดือน นับจากวันปลูก สังเกตการออกปลีจะเห็นมี ใบธง จะมีขนาดเล็กกว่าใบทั่วไปและตั้งตรง ก้านปลีเริ่มยืดยาวออก ปลีมีน้ำหนักมากขึ้นจึงโน้มห้อยลง ปลีจะเริ่มบานให้เห็นดอก ไล่เวียนจากโคนมายังปลาย เมื่อได้รับการผสมเกสร ดอกจะพัฒนาเป็นผลกล้วย รวมระยะเวลาการบานใช้เวลา 10-15 วัน จากนั้นให้ตัดปลีที่ยังไม่บานออก

เมื่อต้นกล้วยไข่เริ่มให้ผลผลิต เครือกล้วยมีน้ำหนักมาก แนะนำให้ใช้ไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนก็ได้ ค้ำต้นกล้วยไข่ เพื่อป้องกันลมพัดโยก ไม่ให้ต้นกล้วยไข่หักพับลงด้วย ในแต่ละเครือจะมีหวีสมบูรณ์อยู่ประมาณ 5-6 หวี และหนึ่งหวีมีประมาณ 10-16 ลูก เฉลี่ยแล้วในหนึ่งเครือจะมีผลกล้วย 70 ผล โดยประมาณ การเก็บเกี่ยว ตัดเครือเมื่อครบ 90 วัน

การเก็บเกี่ยว
หลังจากปลีกล้วยแทงออกจากปลีโผล่พ้นยอด ให้เก็บไม้ค้ำออกจนหมดแปลง ตัดเครือด้วยมีดคม นำปลายเครือตั้งขึ้นให้โคนอยู่ด้านล่าง ควรปฏิบัติอย่างนุ่มนวลอย่าให้กล้วยช้ำ ปล่อยให้ยางไหลออกไม่ไปเปอะเปื้อนผลกล้วย เมื่อน้ำยางแห้งจึงเคลื่อนย้ายเข้าเก็บในโรงเรือน ก่อนส่งขายหรือมีผู้รับซื้อมาซื้อถึงที่

โรคแมลงศัตรูพืช
“โรคตายพราย” คือ โรคพืชสำคัญของพืชตระกูลกล้วย โรคตายพราย เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง ระยะที่ระบาดรุนแรงมักเกิดขึ้นกับต้นกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือน อาการที่พบ ก้านใบแก่จะมีสีเหลือง ต่อมาขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วไป ใบอ่อนมีอาการเหลืองไหม้ หรือตายนึ่งบิดเป็นคลื่น ใบจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ กล้วยที่ติดเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ แก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามซีด หากตัดขวางที่ลำต้นจะพบเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราปรากฏให้เห็น

การป้องกันกำจัด เลือกพื้นที่ปลูกอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้ต้นกล้วยอ่อนแอเกิดโรคได้ง่าย ในดินที่เป็นกรดต้องใส่ปูนขาวเพื่อลดความเป็นกรดของดินลง ต้นที่เป็นโรคควรตัดและเผาทำลายทิ้งไป ระยะที่เกิดโรคต้องลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลง สิ่งสำคัญต้องคัดเลือกหน่อพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีโรคชนิดนี้ระบาดมาก่อน

“ด้วงงวงไชเหง้า” คือแมลงศัตรูที่สำคัญของกล้วยไข่ ด้วงงวงไชเหง้า ในระยะตัวหนอนจะทำลายเหง้ากล้วยอย่างรุนแรง หากเหง้ากล้วย 1 ต้นมีหนอน 5 ตัวจะทำให้ต้นกล้วยตายลงในที่สุด แมลงตัวเต็มวัยเป็นด้วงงวงชนิดหนึ่ง

วิธีป้องกันและกำจัด หมั่นทำความสะอาดในแปลงปลูกกล้วยโดยเฉพาะกาบและใบที่เน่าเปื่อย ต้องกำจัดให้หมดเพราะจะเป็นที่วางไข่ของแมลงชนิดนี้ เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วย เฮ็พตาคลอ ตามอัตราแนะนำราดลงบริเวณโคนต้น การระบาดจะหมดไป

พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา รวมพื้นที่กว่า 1.9 ล้านไร่ ซึ่งลุ่มน้ำปากพนัง จัดเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์มากแหล่งหนึ่งของภาคใต้

คุณทวี ศรีเกตุ เกษตรกรรุ่นใหม่ ผู้มีดีกรีในระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ชาวตำบลคลองกระบือ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และทำการเกษตรในรูปแบบของการเกษตรผสมผสาน รวมถึงการเพาะพันธุ์ปลานิล ปลาทับทิมและปลาดุก มาตลอดชีวิตของการเป็นเกษตรกร ซึ่งเมื่อถูกจุดประกายด้วยพืชพื้นถิ่นของปากพนัง คือ “ทุเรียนน้ำ หรือ ทุเรียนเทศ” ก็เริ่มศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง

“ผมเห็นคนซื้อทุเรียนเทศมา ในราคาลูกละ 60 บาท ผมรู้สึกว่ามันแพงมาก เพราะบริเวณชุมชนที่ผมอยู่อาศัยมีหลายต้น เป็นพืชพื้นถิ่น ผลก็หล่นแตกเละเยอะมาก แต่พอได้คุยกับคนแก่ก็ทราบว่า เนื้อทุเรียนเทศมีสรรพคุณช่วยรักษาโรครำมะนาด เพราะเนื้อมีวิตามินซีสูงมาก ช่วยเรียกน้ำนมในผู้หญิงหลังคลอด ใบใช้รักษาเหาและอาการไอเรื้อรัง หลังจากนั้นไม่นาน ผมไปเจอที่ตลาดอตก. ราคาทุเรียนเทศ กิโลกรัมละ 300 บาท หลังจากนั้นผมตั้งใจว่า จะทำสวนทุเรียนเทศจริงจัง”

คุณทวี เก็บเมล็ดทุเรียนเทศมาเพาะกล้าเอง ก่อนลงปลูกครั้งแรก จำนวน 600 ต้น และเดินเข้าหาสถาบันการศึกษาที่มีนักวิจัยศึกษาสารในทุเรียนเทศ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากทุเรียนเทศ เป็นการต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมานาน

เหตุที่ต้องเดินหน้าเข้าหานักวิจัย เนื่องจากคุณทวี ทราบว่าคุณประโยชน์จากผลและใบทุเรียนเทศมีมากก็จริง แต่ผลต่อเนื่องจากสารบางชนิดที่อยู่ในใบทุเรียนเทศ สามารถทำลายอวัยวะภายในร่างกายได้ จึงตัดสินใจปรึกษากับนักวิจัย เพื่อศึกษาวิจัยให้การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทุเรียนเทศนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง

ทุเรียนเทศ เป็นพืชพื้นถิ่นของภาคใต้ เมื่อมีการปลูกจริงจัง โดยการเพาะเมล็ด คุณทวี ลงปลูกครั้งแรกจำนวน 600 ต้น เหตุที่ต้องเพาะจากเมล็ด เพราะต้องการพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเดิมเป็นทะเล ดินที่อยู่ลึกลงไปประมาณ 2 เมตร เป็นดินเค็ม คุณทวีต้องการให้รากลึกลงไปกินแร่ธาตุที่มีอยู่ เพื่อให้มีผลต่อใบทุเรียน ซึ่งจะเป็นแหล่งเก็บสารหลายชนิด ที่สามารถนำมาสกัดใช้ประโยชน์ได้

ระยะเวลาเพาะกล้า 5 เดือน จากนั้นนำลงปลูก ระยะห่างที่เหมาะสม คือ 3×3 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกได้เกือบ 100 ต้น ช่วงลงแปลงใหม่ๆ ควรรดน้ำให้พอชุ่ม 2-3 วันต่อครั้ง หากน้ำไม่ถึงจะทำให้ต้นทุเรียนเทศแห้งตาย จากนั้นให้ปุ๋ยเคมีในการเร่งโต แต่การให้ปุ๋ยเคมีจะให้จนถึงช่วงอายุของต้นทุเรียน 2 ปี จากนั้นงดให้สารเคมีเด็ดขาด

ต้นทุเรียนเทศ อายุ 2 ปีขึ้นไป รดน้ำสัปดาห์ละครั้งหรือมากกว่า ไม่เกิดอันตรายกับต้นทุเรียนเทศ เพราะทุเรียนเทศเป็นพืชชอบน้ำ ให้ผลดีในฤดูฝน

เมื่อต้นทุเรียนเทศ อายุ 2 ปีครึ่ง-3 ปี เริ่มเก็บใบได้ ซึ่งการเก็บใบให้สังเกตอายุใบกลางๆ สีไม่เข้มเกินไป หากใบอ่อนหรือแก่เกินไป สารที่อยู่ในใบทุเรียนเทศจะลดลง ไม่เหมาะสำหรับการนำไปใช้

การเก็บใบทุเรียนเทศ ใช้แรงงานคนในการเก็บโดยการใช้กรรไกรตัด มีแผ่นรองบริเวณรอบโคนต้นรับใบที่ตัดออก ในการตัดใบแต่ละครั้งตัดเพียง 30-40 เปอร์เซ็นต์ของต้น และตัดทุก 3-4 วัน ได้ใบทุเรียนเทศครั้งละประมาณ 3-4 กิโลกรัม ควรเหลือใบเลี้ยงลำต้นไว้ เพราะเราต้องการผลทุเรียนเทศด้วย ภายหลังตัดใบแล้วเสร็จ นำใบไปล้าง ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ นำไปหั่นโดยใช้เครื่องหั่น ซึ่งการใช้เครื่องหั่นใบเป็นการนวดใบทุเรียนเทศไปในตัว เช่นเดียวกับหลักการทำชาที่ต้องนวดใบชา และเมื่อถูกความร้อนจะทำให้สารที่อยู่ในใบสกัดออกมาได้ง่าย

ใบทุเรียนเทศสด น้ำหนัก 4 กิโลกรัม เมื่ออบแห้งแล้วเหลือเพียงใบทุเรียนเทศอบ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม

เมื่อทุเรียนเทศโตเต็มที่จะสูงประมาณ 6-7 เมตร และเริ่มให้ผลเมื่ออายุประมาณ 3 ปีครึ่ง แต่ควรบำรุงรักษาต้นด้วยการตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ต้นไม่สูงมาก การเก็บใบจะทำได้สะดวก โดยการตัดแต่งกิ่งทำควรหลังจากเก็บผลแล้ว

ทุเรียนเทศ ก็เหมือนพืชทั่วไปที่มีโรคและแมลง คุณทวี บอกว่า ที่พบมีเพียง 2 ชนิด คือ หนอนผีเสื้อกินใบอ่อน หากพบจะจับออกแล้วทิ้งลงคูน้ำให้ปลากิน ส่วนหนอนไชลำต้น ต้องใช้น้ำหมักจากเมล็ดทุเรียน ซึ่งหมักจากกากน้ำตาล อีเอ็ม เมล็ดทุเรียน และยาเส้น ฉีดเข้าลำต้น จะทำให้หนอนไชลำต้นตาย

“ใบทุเรียนเทศ สามารถขายใบสดได้ในราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่เราไม่ได้ขาย เพราะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากทุเรียนเทศ เช่น ใบทุเรียนเทศอบแห้งพร้อมชง น้ำทุเรียนเทศเข้มข้น สบู่ครีมทุเรียนเทศ แชมพูสารสกัดจากใบทุเรียนเทศ ทั้งหมดได้มาตรฐาน GAP GMP และ อย. ซึ่งทำให้ผมมีรายได้แต่ละปีมากกว่า 1 ล้านบาท”

แม้จะมีข้อกังวลว่า การบริโภคทุเรียนเทศทั้งใบและเนื้ออาจมีสารบางชนิดที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะในร่างกาย แต่คุณทวี การันตีด้วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการนำนวัตกรรมมาใช้ทำลายสารที่มีผลต่ออวัยวะในร่างกายให้หมดไป แต่ยังคงเหลือสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไว้ครบถ้วน

“มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการทำเครื่องอบไมโครเวฟพลาสม่า ซึ่งเครื่องอบดังกล่าว เมื่อนำใบทุเรียนเทศเข้าอบแล้ว พบว่า สารในกลุ่มที่มีผลต่อร่างกายหายไป แต่สารตัวอื่นที่มีคุณประโยชน์อยู่ครบ ซึ่งเป็นเรื่องดี และทำให้ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อีกหลายชนิดออกมา”

ปัจจุบัน สวนทุเรียนเทศที่คุณทวีปลูกไว้ รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากทุเรียนเทศ สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และเครือข่าย Young Smart Farmer จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้และศึกษาดูงานเรื่องทุเรียนเทศ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ปีนี้เป็นปีที่ผลไม้ยอดนิยมของไทย อย่าง ทุเรียน มีผลผลิตมากมายออกสู่ตลาด ราคาดี ชาวสวนแฮปปี้ ผู้บริโภคยิ้มได้ เป็นฤดูกาลแห่งความสุขของชาวสวนทุเรียน โดยเฉพาะการส่งออกทุเรียนไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งต้องคัดคุณภาพให้เยี่ยม หรือที่เรียกกันว่า เกรดส่งออก

แต่ในวงเสวนา เรื่อง คุณภาพทุเรียนไทย จะไปถึง 4.0 หรือ อยู่ที่ 0.4 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ก็ยังหยิบยกปัญหาที่พบในการทำคุณภาพทุเรียนไทยเพื่อการส่งออกให้ได้มาตรฐาน เพราะแม้จะมีการตรวจสอบคุณภาพอย่างไร ก็อาจมี “ทุเรียนอ่อน” หลุดออกสู่ตลาด ลดทอนมาตรฐานทุเรียนไทยในสายตาต่างประเทศลง

คุณชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี ให้ข้อคิดเห็นถึงการผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออกอย่างยั่งยืน ว่า ทุเรียนยังคงเป็นพืชที่สร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรดีกว่าพืชอื่น แต่จะเป็นไปได้ดีก็ต่อเมื่อเกษตรกรมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่หากจะให้ไปถึง 4.0 นั้น คิดว่ายังห่างไกล ต้องมีการพัฒนาอีกมาก ซึ่งมีอีกหลายสายพันธุ์ ไม่เฉพาะพันธุ์หมอนทอง ที่อาจเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการส่งออกได้

ด้าน ผศ.ดร. รณฤทธิ์ ฤทธิรณ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ยังมองเห็นศักยภาพของชาวสวนทุเรียนไทยว่า สามารถทำคุณภาพทุเรียนได้ถึง 4.0 ซึ่งการควบคุมคุณภาพทุเรียนของเกษตรกรยังคงใช้วิธีการนับอายุ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีปัจจัยที่ทำให้การนับอายุคลาดเคลื่อน เกิดการเบี่ยงเบน ทำให้ทุเรียนไม่ได้คุณภาพ ทั้งนี้ ได้คิดค้นเทคโนโลยีอินฟราเรดย่านใกล้ (NIR Technology) สำหรับคัดทุเรียนคุณภาพ ซึ่งมั่นใจในเทคโนโลยีชิ้นนี้จะช่วยให้สามารถคัดทุเรียนคุณภาพ และช่วยให้ทุเรียนไทยไปถึง 4.0 ได้แน่นอน

สำหรับ รศ. สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองแห่งชาติ แสดงความเห็นถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและการส่งออก กรณีที่ทุเรียนไทยไม่ได้คุณภาพการส่งออกว่า เห็นด้วยกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยคัดคุณภาพทุเรียน เพราะสามารถคัดแยกได้แม่นยำ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ก็เปรียบเสมือนการปรับโครงสร้างของเกษตรกรและการตลาด ซึ่งหากสามารถคัดแยกทุเรียนคุณภาพได้แล้ว ราคาก็จะสูงขึ้น และเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าการเสวนา จะมุ่งนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการคัดคุณภาพทุเรียน เพื่อให้ได้มาตรฐาน และเป็นการปรับโครงสร้างเกษตรกรและการตลาดได้ยกระดับมากขึ้น แต่ ศ.ดร. จริงแท้ ศิริพานิช อาจารย์ประจำภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน แนะนำให้ใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมาช่วย ได้แก่ การลดอุณหภูมิก่อนนำทุเรียนเข้าตู้คอนเทนเนอร์ การใช้สารเอทิลีนกับทุเรียนในความเข้มข้นต่ำลง การปรับการระบายอากาศ เพื่อไม่ให้มีการสะสมสารเอทิลีน การขนส่งให้ใช้เส้นทางบกเพื่อใช้เวลาขนส่งสั้นลง เป็นต้น

คุณไพบูลย์ วงศ์โชติสถิต นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย กล่าวว่า ในระยะ 5 ปีข้างหน้า ทุเรียนพันธุ์หมอนทองยังคงเป็นพันธุ์เศรษฐกิจของไทย แม้ว่าหลายประเทศจะผลิตได้เช่นเดียวกันก็ตาม ซึ่งการผลิตได้ทุกประเทศหมายความว่า ทุกประเทศคือคู่แข่งของเรา แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถผลิตได้ทุเรียนคุณภาพเท่าประเทศไทย และหากจะพัฒนาให้มีสายพันธุ์อื่นขึ้นมาก็ควรรีบทำโดยเร็วที่สุด เพื่อเป้าหมายการเป็นประเทศส่งออกทุเรียน อันดับ 1 ของโลก

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ต่อคณะรัฐมนตรี โดยจะใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการวิจัย การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการผลิตสินค้าและบริการเกษตรอินทรีย์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการตลาดสินค้าและบริการ และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรฯ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ปี 2560-2564 มีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในปี 2564 ไม่น้อยกว่า 1,333,860 ไร่ และมีจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 96,670 ราย เพิ่มสัดส่วน ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศ ร้อยละ 40 และตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 60 รวมทั้งยกระดับ กลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้านเพิ่มขึ้น โดยมุ่งให้ความสำคัญกับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่มีความพร้อมเป็นผู้นำต้นแบบในการดำเนินการเพื่อให้มีอาหารปลอดภัยและได้มาตรฐาน โดยทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมกันบูรณาการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้

นายประยูร อินสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด เป็นสถาบันเกษตรกรที่มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่หันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์แทนการปลูกพืชแบบสารเคมี เพื่อให้ชาวบ้านมีความปลอดภัยทั้งคนปลูกและคนกิน พร้อมทั้งจัดหาตลาดชุมชนเพื่อเป็นจุดจำหน่ายผลผลิตให้กับเกษตรกร ซึ่งปัจจุบันได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคที่หันมาสนใจเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ และพิถีพิถันกับการเลือกซื้อพืชผักผลไม้อินทรีย์ไปบริโภคจำนวนมาก และเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสซื้อหาสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2546 จากการประเมินผลการยกระดับสหกรณ์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานระดับชั้น 1 สมาชิกแรกตั้ง 202 คน ทุนแรกตั้ง 1,138,774.00 บาท ปัจจุบันสหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิก จำนวน 306 คน สหกรณ์มีทุนดำเนินงาน 5,405,454.16 บาท

นายประยูร อินสกุล กล่าวถึงผลของการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ต่อไปว่า สหกรณ์ได้ส่งเสริมสมาชิกปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นบ้านและผักสวนครัว และผลไม้ส่วนหนึ่ง รวมถึงยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปลูกข้าวอินทรีย์ ประเภท ข้าวกล้องและข้าวไรซ์เบอรี่ โดยสหกรณ์ดำเนินธุรกิจ 6 ด้าน เป็นธุรกิจรวบรวมและแปรรูปผลผลิตมากที่สุด รองลงมาเป็นธุรกิจรวบรวมผลิตผล การให้สินเชื่อ เพื่อการประกอบอาชีพแก่สมาชิก การรับฝากเงิน การจัดหาสินค้าและปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการทำเกษตรอินทรีย์มาจำหน่ายให้สมาชิก และยังดำเนินการจัดหาตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าการเกษตรอินทรีย์ ให้แก่สมาชิกด้วย

ทั้งนี้ ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ตลาดในโรงเรียนดาราวิทยาลัย ตลาดในโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ตลาดนัดเจเจมาร์เก็ต ซึ่งจำหน่ายในวันเสาร์ ตลาดในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมู่บ้าน Land and House ใกล้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และช่องทางการจำหน่ายข้าวอินทรีย์ ได้แก่ ร้านค้าสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด, และยังเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทาง website / Face book / Line, รวมถึงส่งไปจำหน่ายยัง ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์และเครือข่ายร้านค้าสหกรณ์ในจังหวัดและต่างจังหวัด และยังได้ร่วมกับสำนักงานสสส.นำผลผลิตไปจำหน่ายที่ตลาดเกษตรอินทรีย์ ณ บริเวณโครงการจริงใจมาร์เก็ต และที่ตลาดต้องชม ซึ่งร่วมกับพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ด้วย

โครงการเด่นในปี 2560 สหกรณ์ดำเนินการส่งเสริมและให้บริการสมาชิกในด้านการประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน PGS ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องการรับรองร่วมกับมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย มีการอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิก ดังนี้ 1. หลักสูตรการเรียนรู้เรื่องการผลิตในระบบอินทรีย์ 2. การลดต้นทุนการผลิตพืชด้วยการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนในครัวเรือนและการผลิตจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 3. การนำผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิกมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 4. พัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับกลุ่มสมาชิก 5. ประชาสัมพันธ์ตลาด โดยเน้นสร้างความเข้าใจในระบบเกษตรอินทรีย์ให้กับผู้บริโภค เช่น ผู้บริโภคสัญจรไร่นา

นายประยูร อินสกุล กล่าวถึงโครงการที่สหกรณ์ได้ดำเนินการร่วมกับกรมฯ และหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และโครงการเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น โดยสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด เข้าร่วมโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการผักปลอดภัย/อินทรีย์ในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์เข้ามาดูแลสนับสนุน รวมถึงยังมีโครงการระบบการตรวจสอบย้อนกลับกับกรมวิชาการเกษตร โครงการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) กับกรมพัฒนาที่ดินและมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย รวมถึงยังเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการรับรองการผลิตสินค้าภายใต้โครงการเฝ้าระวังมาตรฐานสินค้าเกษตรของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และการกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรด้วย

ในช่วงที่ผ่านมานั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญและถือเป็นภารกิจเร่งด่วนในขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์และการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ และส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นในอนาคต

นางผ่องพรรณ สะหลี NOVA88 เจ้าของสวนฮ่มสะหลี อยู่บ้านเลขที่ 112/2 หมู่ 1 ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ หนึ่งในสมาชิกสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด เล่าว่า เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นนาข้าว จำนวน 2 ไร่ 70 ตารางวา ต่อมาได้มีการขุดบ่อ และขุดร่องทำสวน โดยเริ่มทำสวนมาตั้งแต่ปี 2556 ตอนแรกปลูกผักไว้กินเอง ต่อมาก็เริ่มก็ปลูกเยอะขึ้นๆ โดยจะเน้นปลูกผักสวนครัว เช่น ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วลันเตา พริกขี้หนู จิงจูฉ่าย ผักบุ้ง ผักตามฤดูกาล หรือผักเมืองหนาว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น มะม่วง ลำไย กล้วย มะพร้าว หม่อน อัญชัน เสาวรส อย่างละไม่ กี่ต้น โดยยึดการทำเกษตรแบบผสมผสานและหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงเป็นแบบอย่าง เริ่มจากการขุดร่อง ปลูกหญ้าแฝก และปลูกพืชผักอินทรีย์มาจนถึงปัจจุบัน

ซึ่งในส่วนของสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือในเรื่องของจัดหาตลาดให้เกษตรกรไปจำหน่ายผลผลิต ทุกวันนี้ทำให้มีพืชผักไปวางขายที่กาดแม่โจ้ และตลาดเจเจ ขายเฉพาะ วันศุกร์-อาทิตย์ มีรายได้ 8,000 กว่าบาทต่อสัปดาห์

“รู้สึกภูมิใจที่ได้มีอาชีพเกษตรกร มีชีวิตอย่างพอเพียง และยังเป็นเกษตรกรต้นแบบให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆ อีก ซึ่งในอนาคตมีโครงการจะขยายพื้นที่ปลูกพืชผักอินทรีย์เพิ่มขึ้นอีกด้วย เนื่องจาก ความต้องการของผู้บริโภคมีมากขึ้น จึงอยากจะเชิญชวนให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชอินทรีย์กันมากขึ้น เพราะจะช่วยให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย และส่งผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกรและยังมีรายได้ดีกว่าการปลูกพืชด้วยสารเคมีอีกด้วย ” นางผ่องพรรณ กล่าว