จากตำนานรอยพระพุทธบาท มีบทกลอนจากนิราศพระบาท

ซึ่งท่านสุนทรภู่ได้พรรณนาไว้ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งในช่วงนั้นพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระบรมวงศานุวงศ์ มักจะเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาท ที่จังหวัดสระบุรี อยู่เนืองนิจ โดยสุนทรภู่ได้ติดตามเสด็จเจ้านายพระองค์หนึ่งไป จึงได้รจนาเป็นนิราศพระบาท ช่วงบทต้นพรรณนาไว้ว่า อย่างน้อยที่สุด ก็พอจะเป็นหลักฐานว่าประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทก็มีมาตั้งแต่ต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ถ้าศึกษาตำนานรอยพระพุทธบาทแล้ว พบว่า มีมาตั้งแต่สมัยแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา ในช่วงพุทธศักราช 2163-2171

โดยมีภิกษุชาวสยาม เดินทางไปสักการะพระพุทธบาท ณ เขาสุมนกูฏ ลังกาทวีป ซึ่งภิกษุชาวลังกา กำลังสืบหารอยพระพุทธบาทที่มีในตำนาน 5 แห่ง คือ เขาสุวรรณมาลิก เขาสุมนกูฏ เขาสุวรรณบรรพต เมืองโยนกบุรี และชายฝั่งลำน้ำนัมทานที โดยภิกษุชาวลังกาได้แจ้งว่า มีรอยพระพุทธบาทที่อยู่บนเขาสุวรรณบรรพต บนแผ่นดินสยาม ภิกษุสยามจึงมาทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แล้วพระองค์จึงทรงโปรดให้หัวเมืองกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด ค้นหารอยพระพุทธบาทและเขาสุวรรณบรรพต

ความต่อมา มีการเปิดเผยว่า พบรอยพระบาทเมื่อมีนายพรานคนหนึ่ง ติดตามเนื้อสมันที่ถูกยิงบาดเจ็บหนีขึ้นไปบนเขา และเห็นเนื้อสมันตัวนั้นวิ่งลงมาในสภาพที่ไม่บาดเจ็บ จึงตามเข้าไปสำรวจ พบรอยเท้าคนขนาดใหญ่มีน้ำขังอยู่เต็ม เมื่อนำน้ำมาลูบตัว กลาก เกลื้อน ผื่นคันก็หายไปหมด จึงนำความแจ้งเจ้าเมืองสระบุรี ความทราบถึงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงเสด็จทอดพระเนตร เห็นรอยพระพุทธบาทสมบูรณ์ จึงโปรดให้สร้างมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท และทรงสร้างอุโบสถ พระวิหาร ศาลา อุทิศเป็นเขตพื้นที่สังฆาราม สำหรับพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา และถวายเป็นพื้นที่พุทธเกษตร เพื่อนำผลผลิตจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายบำรุงรักษารอยพระพุทธบาทตลอดสมัย มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีพระมหากษัตริย์ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

จากศรัทธานิยมในการนำดอกหงส์เหินหรือดอกเข้าพรรษาใช้ตักบาตรดอกไม้ในวันเข้าพรรษานั้น ก็เริ่มเป็นที่นิยมขยายพื้นที่ออกไปท้องถิ่นภูมิภาคต่างๆ บ้าง จึงมีการเริ่มปลูกลงแปลงหวังขยายผลผลิตเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งมีเทคนิคการดูแลบำรุงรักษา เพิ่มผลิตผลตอบสนองความต้องการ โดยเฉพาะช่วงฤดูกาลเข้าพรรษา ในแปลงปลูกที่มีอายุต้นเกิน 2 ปี จะมีการตัดแต่ง เนื่องจากจำนวนใบจะหนาแน่น อาจทำให้เกิดโรคได้ จึงต้องตัดแต่งให้ต้นโปร่ง โดยตัดต้นไม่สมบูรณ์หรือตัดใบทิ้งไปบ้าง หากมีการปลูกในแปลงเดิมเกิน 3 ปี ถ้าจะหลีกเลี่ยงโรคและแมลง ก็จำเป็นจะต้องย้ายพื้นที่แปลงใหม่ หรือปลูกพืชอื่นหมุนเวียน เพราะศัตรูต้นหงส์เหินอาจจะมาจากแมลงศัตรูที่สำคัญคือ หนอนและแมลง ซึ่งกัดกินกลีบดอกประดับตั้งแต่เพิ่งแย้มกลีบดอกบาน ก็เสียหายได้ทั้งแปลงปลูก

ในการเก็บเกี่ยวหรือตัดดอกหงส์เหิน จะเลือกตัดดอกที่บานเต็มที่ แต่ไม่แก่เกินไป คือพิจารณากลีบดอกประดับที่บานไม่ถึงปลายช่อดอกที่ยังมีสีสดใส ไม่เหี่ยวโรย โดยใช้กรรไกรตัดก้านช่อดอก หรือตัดตั้งแต่ต้นเหนือผิวดิน สูงมากกว่า 2 นิ้ว ตัดแต่งใบให้เหลือใบบนเพียง 1 ใบ แล้วมัดรวมเป็นกำ ประมาณ 10 ก้านช่อดอก แช่น้ำไว้ในที่ร่ม หรือถ้าหากบรรจุกล่อง ก็ควรผึ่งลมในที่แห้งและร่ม โดยวางช่อดอกตามแนวนอนเรียงสลับหัวท้ายให้เป็นระเบียบ ปิดฝากล่องไม่ให้กดทับแน่นเกินไป สามารถนำส่งไปรษณีย์หรือขนส่งในที่เก็บไม่มีอุณหภูมิสูง ก็ส่งไประยะทางไกลได้ โดยดอกยังสดชื่นดี

ดอกหงส์เหิน ฟังชื่อแล้วมีพลังพลานุภาพให้อารมณ์ที่มีความเคลื่อนไหวหรือพุ่งขึ้นสู่ที่สูง ฟังดูแล้วมีศักดิ์ศรี สง่างาม ถ้าหากวางอยู่บนพื้นบนดินหรือในแปลง ก็พูดจาบรรยายเชิงบวกได้ กลายเป็นว่า “เหิรฟ้ามาสู่ดิน” แต่พอเรียกชื่อเป็น “ดอกเข้าพรรษา” ก็กลายเป็นอารมณ์สะอาด สงบ และอยู่ใน “อารามบุญ” จึงไม่ว่าจะเรียกชื่อไหน ก็ฟังแล้วเป็น “บุญตาพาสู่บุญใจ” ทุกชื่อดอกทั้งนั้นนะคุณโยม!

หงส์เหมราชเอย สง่าผ่าเผยงามสคราญ ณ แดนหิมพานต์ หวงตัวรักวงศ์วาน หิมพานต์สถาน สำราญมา

หงส์ร่อนผกเผิน บินดั้นเมฆเหิรเกินปักษา กางปีกกวักลมท่วงทีสมสง่า เหินลมล่องฟ้านภาลัย

หงส์ทรงศักดิ์เรือง ยามเจ้าย่างเยื้องงามกระไร สวยงามวิไล สวยเกินนกใดใด เยื้องไปแห่งไหน สวยสอาง

หงส์ลงเล่นธาร ต้องสระสนาน ธารสุรางค์ ลงสระอโนดาตชำระร่าง ไซร้ขนปีกหาง สรรพางค์กาย

ทรงหงส์อ่อนงอน ปกปิดช้อนเชยฉอ้อน ช้อนโอบกายเคล้าคู่กันผันเรียงราย พร้อมกันว่ายแหวกธาร ว่ายน้ำฉ่ำกาย ต่างผันผายพากันว่ายฟ้าเบิกบาน เหิรสู่แดนแสนสราญ ถึงหิมพานต์อันสุขใจ บทเพลงท่วงทำนองงามสง่า ให้ความรู้สึกทรงศรีสูงศักดิ์ จินตนาการสู่นางพญา หากแต่ถ้ามองเป็นตัวหงส์ ก็คนจะมองเห็นเหมือนพญาหงส์เยื้องย่างได้ยินในเสียงเพลงแล้วไม่ต้องจินตนาการใดใด ดังกับรู้สึกว่านั่งอยู่ ณ ขอบสระอโนดาต มีโอกาสวางเท้าสัมผัสน้ำ นั่งดูฝูงหงส์เล่นน้ำ สรงสนาน ล่องลอยแหวกว่ายดังว่า จวนจะลืมแดนหิมพานต์ ที่เหินลงมาจากแดนสถานตน

จินตลีลาจากฝูงหงส์ในบทเพลงนี้ บันทึกเสียงครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 กว่า 66 ปีมาแล้ว ก็ยังไพเราะสง่างาม เพียงแต่ว่าทั้งผู้แต่งและผู้ขับร้อง ไม่ได้อยู่รอรับฟังคำชื่นชม เพราะท่านอาจจะเหินผ่านแดนหิมพานต์ไปสู่สัมปรายภพ ณ แดนสุขาวดี ทิ้งไว้ซึ่งความไพเราะธำรงศักดิ์ศรีไว้ทั้งท่วงทำนอง เนื้อร้อง และน้ำเสียงอันเหนือจะพรรณนาเชิดชู

สำหรับ “หงส์เหิน” ที่นำมาใช้เรียกชื่อของดอกเข้าพรรษานี้ ก็ชวนให้มองเห็นความสวยสง่างามของช่อดอกยามลมพัดแกว่งไกวสยายกลีบดอก ดั่งหงส์ขยับปีกเยื้องกราย เมื่อก้านช่อดอกส่ายเล่นลมก็ดั่งว่าจะเหินฟ้าหรือเหินลงมาดินเช่นกัน ทั้งหงส์เหินจากแดนหิมพานต์ และหงส์เหินเดินบนแปลงดิน ก็งามสง่าสูงศักดิ์ศรีไม่แพ้กันทุกปีวันเข้าพรรษา

เพราะบรรจุภัณฑ์ที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน ไม่ได้มีประโยชน์เพียงเพื่อรองรับการบรรจุหรือขนส่งผลิตภัณฑ์ไปถึงมือผู้บริโภคอย่างปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังต้องเปี่ยมไปด้วยประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสมหรือความสวยงาม เพื่อดึงดูดใจลูกค้าและสื่อถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์ ดังนั้น การออกแบบที่ดี จึงถือเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่ไม่อาจมองข้ามไปได้

เมื่อวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารอเนกประสงค์ เอสซีจี สำนักงานใหญ่ บางซื่อ เราได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์รอบชิงชนะเลิศของโครงการ “SCG Packaging x Wallpaper* The Challenge 2017” ภายใต้แนวคิด “ความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นจริง” โดยคัดสรรผลงานที่ดีที่สุด 12 ผลงาน จากกว่า 326 ผลงานของนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศที่เข้าร่วมประกวดมาตัดสินกันในวันนี้ เพื่อให้ได้ที่สุดของบรรจุภัณฑ์ซึ่งตอบโจทย์อันท้าทายจากผู้ผลิตสินค้าจริง 4 โจทย์ ได้แก่ การออกแบบบรรจุภัณฑ์บรรจุสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งที่ปรับเป็น Display ได้ ให้กับซอสภูเขาทอง (ฝาเขียว) และซอสพริก ตราศรีราชาพานิช การออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ให้กับข้าวและน้ำแกงสำเร็จรูปตรารอยไทย เรดี้ สุดท้ายคือการตั้งชื่อแบรนด์ ออกแบบโลโก้ และออกแบบบรรจุภัณฑ์กล่อง UHT ให้กับเครื่องดื่มน้ำหัวปลี

โดยผู้ชนะเลิศ The Best of The Challenge จากแต่ละโจทย์ จะได้รับทุนการศึกษารางวัลละ 50,000 บาท และโอกาสในการเดินทางไปร่วมงาน Dutch Design Week ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเปิดประสบการณ์ด้านการออกแบบ พร้อมโล่และเกียรติบัตร ส่วนผู้ที่ได้คะแนนรองลงมาของแต่ละโจทย์ รับทุนการศึกษารางวัลละ 30,000 บาท นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการเพิ่มรางวัลพิเศษจากผู้ผลิตสินค้าเป็นทุนการศึกษารางวัลละ 15,000 บาท ให้กับผู้ที่ได้คะแนนลำดับที่ 3 ของแต่ละโจทย์ รวมทั้งยังมอบรางวัล The Popular Challenge เป็นทุนการศึกษา 10,000 บาท อีกด้วย สรุปมูลค่ารางวัลทั้งสิ้นกว่า 1,000,000 บาท

ลูกค้าจริง บรีฟจริง คอมเมนต์จริง กิจกรรมประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยความร่วมมือของ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง กับ นิตยสารวอลเปเปอร์ ฉบับภาษาไทย จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 แต่ความพิเศษของปีนี้ คือ การนำโจทย์จากลูกค้าจริงของ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง อย่าง กลุ่มบริษัทอำพลฟูดส์ เจ้าของแบรนด์ “รอยไทย เรดี้” และ “เครื่องดื่มน้ำหัวปลี” ที่รอชื่อแบรนด์จากการประกวดครั้งนี้ และ บริษัทไทยเทพรส จำกัด (มหาชน) เจ้าของแบรนด์ “ซอสภูเขาทอง (ฝาเขียว)” และ “ซอสพริก ตราศรีราชาพานิช” ที่มามอบโจทย์การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่มีความท้าทายแตกต่างกัน ให้กับน้อง ๆ นิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศที่สนใจเข้าร่วมสร้างประสบการณ์จากการประกวดครั้งนี้

มากกว่าแค่การแข่งขัน น้อง ๆ ที่ผ่านเข้ารอบ 24 คนสุดท้ายยังได้ร่วม Workshop ให้ความรู้ในเรื่องที่ห้องเรียนอาจไม่มีสอน ทั้งเรื่องของเทรนด์และหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองด้านการตลาด รวมทั้งยังเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้ไปเยี่ยมชมโรงงานการผลิตบรรจุภัณฑ์ และได้ลองขายงานเสมือนการทำงานจริงในสายวิชาชีพ พร้อมรับฟังคำคอมเมนท์เพื่อนำไปปรับแก้ก่อนมาถึงรอบชิงชนะเลิศ จากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการตลาด ได้แก่ คุณธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่

เอสซีจี แพคเกจจิ้ง คุณเรวัฒน์ ชํานาญ บรรณาธิการบริหาร นิตยสารวอลเปเปอร์ ฉบับภาษาไทย คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นายกสมาคมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทย และ Executive Creative Director จาก Prompt Design รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Director of the Brand Center และอาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการตัดสินจากเจ้าของแบรนด์อีก 2 ท่าน คือ คุณธนวัฒน์ วิญญรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยเทพรส จำกัด (มหาชน) และดร.เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัทอำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ซึ่งนับว่าเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าอย่างยิ่ง

พรีเซนท์งานวันตัดสิน ร่วมลุ้นราวกับเรียลลิตี้โชว์

ในวันงานฯ ซึ่งเป็นรอบชิงชนะเลิศนั้น จะมีเวลาให้น้อง ๆ ที่ฝ่าด่านการคัดเลือกมาอย่างเข้มข้นจนเหลือ 12 คนสุดท้าย (โจทย์ละ 3 คน) ได้นำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการและผู้สนใจเข้าร่วมฟัง คนละ 5 นาที บรรยากาศเป็นไปอย่างเข้มข้นเมื่อต้องนำเสนอผลงานให้อยู่ภายในเวลาที่กำหนด รวมทั้งต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการที่เน้นย้ำให้น้อง ๆ ได้นึกถึงโจทย์สำคัญในการออกแบบครั้งนี้ ที่จะต้องสามารถนำบรรจุภัณฑ์ไปปรับใช้และวางจำหน่ายได้จริง เช่น มีการสอบถามความสะดวกของลูกค้าผู้ใช้งานจริงหรือไม่ หรือร้านจำหน่ายสินค้ายินดีจะจัดวาง Display บรรจุภัณฑ์สินค้าตามที่เราออกแบบมาหรือไม่เป็นต้น ดังนั้น สิ่งที่น่าสนใจของการรับฟังคอมเมนท์ต่าง ๆ จึงเป็นการได้รู้ว่าการออกแบบที่ดีต้องตอบโจทย์ให้ครบ ตั้งแต่การทำให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์สามารถผลิตได้จริงในราคาสมเหตุสมผล ความดึงดูดใจผู้ซื้อเพื่อให้ร้านค้าขายสินค้าได้ การคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ ที่สำคัญคือต้องสอดคล้องกับแนวคิดของแบรนด์และมีความเชื่อมโยงร้อยต่อกันได้ในทุกองค์ประกอบของสิ่งที่ลูกค้าเห็น เช่น ขวดบรรจุภัณฑ์ กล่องบรรจุภัณฑ์ และชั้นวางสินค้า เป็นต้น

เติมแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ของตำนานในวงการ

วันเดียวกันระหว่างรอประกาศผลการแข่งขัน มีอีกหนึ่งกิจกรรมที่ผู้คนต่างให้ความสนใจไม่แพ้กัน นั่นก็คืองาน Design Talks 2017 ที่ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ร่วมกับ นิตยสารวอลเปเปอร์ ฉบับภาษาไทย จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ โดยครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคุณทาคุ ซาโตะ (Taku Satoh) หนึ่งในนักออกแบบผู้ทรงอิทธิพลจากญี่ปุ่น ผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบดีๆ มากมาย ทั้งบรรจุภัณฑ์นมสดของ Meiji หมากฝรั่ง Lotte Xylitol ขวดเครื่องดื่ม Calpis ไปจนถึงแคมเปญโฆษณา Pleats Please และ Bao Bao ของ Issey Miyake ตลอดจนร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์ด้านการออกแบบในชื่อ 21_21 Design Sight ที่โตเกียว

บรรยากาศของการบรรยายเป็นไปด้วยความเป็นกันเอง และไม่วิชาการจนเกินไป โดยคุณทาคุเน้นย้ำว่า “ทุกอย่างในชีวิตล้วนแต่เป็นการออกแบบ” ไม่สามารถจัดกลุ่มเป็นศาสตร์แยกจากสิ่งใดได้ พร้อมยกตัวอย่างผลงานของตนที่ทำร่วมกับแบรนด์ระดับโลกมากมาย ตลอดจนบอกเล่าถึงความสำคัญของการสร้างเรื่องราวให้กับการออกแบบ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ก่อนปิดท้ายด้วยช่วงตอบคำถามจากผู้ร่วมงานที่ต่างอยากฟังทรรศนะของคุณทาคุ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานออกแบบของตัวเอง

ผู้ชนะบอกเป็นเสียงเดียว: ได้โอกาสและประสบการณ์

เมื่อถึงช่วงของการประกาศผล น้อง ๆ ผู้เข้ารอบ 12 คนสุดท้าย รวมทั้งเพื่อน ๆ ที่เข้ารอบ 24 คนสุดท้ายที่มาร่วมเอาใจช่วย และผู้เข้าร่วมงานต่างได้ลุ้นไปพร้อม ๆ กัน จนเมื่อการประกาศผลเสร็จสิ้น ก็ได้มีการถ่ายภาพหมู่แห่งความประทับใจของน้อง ๆ ร่วมกับเหล่าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยรอยยิ้มแห่งความสุข มาลองฟัง 2 ใน 4 ของผู้ชนะเลิศที่ได้รับรางวัล The Best of Challenge พูดถึงประสบการณ์ในการเข้าร่วมการประกวดครั้งนี้

นายนิธิธัช พันธุรังษี จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้ชนะเลิศจากโจทย์ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับซอสภูเขาทอง (ฝาเขียว) เผยความรู้สึกหลังได้รับรางวัลว่า “ดีใจอย่างคาดไม่ถึงเลยครับ เพราะเหตุผลที่ผลมาสมัครเข้าประกวดงานนี้ แค่อยากจะนำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้จริงกับงานของบริษัทใหญ่ และอยากเจอเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน แต่กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่ได้รับกลับเหนือความคาดหมายไปมาก นอกจากรางวัลที่ได้แล้ว การเข้าร่วมประกวดครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ สำหรับผม เพราะเหมือนได้มาเติมความรู้เรื่องการตลาดกลับไปทำให้งานดีขึ้น และทำให้ผมได้ชัดเจนกับตัวเองมากขึ้นว่าในอนาคตอยากจะเป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างแน่นอน”

สำหรับผลงานการออกแบบของนิธิธัช มาในแนวคิด “Mountain of Tastes” หรือภูเขาแห่งความอร่อย เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ทำอาหารเองน้อยลง และลบภาพเก่าของผลิตภัณฑ์ที่คนส่วนใหญ่คิดว่าสามารถใช้ทำได้แค่การผัดอาหาร ด้วยการปรับโฉมขวดให้เทใช้งานได้ง่าย มี QR code ข้างขวดให้สามารถติดตามเมนูอาหารหรือแชร์ภาพร่วมสนุกได้ ส่วนรูปลักษณ์ของการออกแบบก็สื่อสารได้เป็นอย่างดีว่าภูเขาแห่งความอร่อยนั้นมาจากนานาเมนูที่ซอสนี้สามารถเพิ่มรสชาติให้ได้ ต่อเนื่องจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ร้านค้าสามารถใช้สื่อสารกับลูกค้าไปในทางเดียวกัน และเพิ่มโอกาสทางการขายได้เป็นอย่างดี

ในอีกมุม นางสาวธนาภรณ์ กุศลมโนมัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของรางวัลชนะเลิศจากโจทย์ตั้งชื่อแบรนด์ ออกแบบโลโก้ และออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับเครื่องดื่มน้ำหัวปลี เครื่องดื่มบำรุงสำหรับสตรีเพื่อผลิตน้ำนมให้กับบุตร ซึ่งจะถูกพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มบริษัทอำพลฟูดส์นั้น เธอตั้งชื่อผลิตภัณฑ์นี้ว่า ENMILK for MOM (เอ็นมิลค์ ฟอร์ มัม) ที่สื่อถึงการบำรุงร่างกายของคุณแม่ให้พร้อมกับการให้นมบุตร ขณะเดียวกันบุตรก็จะได้รับสารอาหารที่ดีจากนมแม่เช่นกัน ผสานกับโลโก้ที่พัฒนารูปทรงของหัวปลี อ้อมอกแม่ และหยดน้ำนมเข้าด้วยกันในโทนสีชมพู ขาว ที่มีความสวยงาม แต่ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า เพราะเธอได้ทำการสืบค้นข้อมูลก่อนการออกแบบว่าคุณแม่สมัยใหม่นิยมศึกษาหาข้อมูลของสินค้าที่ตนจะซื้อใช้อย่างละเอียด และต้องการสินค้าที่มีความน่าเชื่อถือนั่นเอง

ธนาภรณ์เล่าว่าที่เลือกทำโจทย์นี้เพราะเป็นงานเชิงเร้าอารมณ์ (emotional) ที่ตนถนัด และมีความท้าทาย ก่อนกล่าวปิดท้ายว่า “ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่สร้างเวทีนี้ขึ้นมา ถือเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากสำหรับหนู เพราะในเมืองไทยยังไม่ค่อยมีเวทีที่เปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่อย่างเราได้ลองออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับการขายได้จริง และการเปิดโอกาสให้ได้นำเสนอผลงานบนเวทีที่เสมือนการฝึกให้เราได้โน้มน้าวใจนักลงทุนแบบนี้ก็ตรงกับความสนใจในธุรกิจแนวสตาร์ตอัพของหนูอยู่ด้วยค่ะ”

สุดท้ายนี้ต้องฝากขอบคุณไปยังองค์กรที่จัดกิจกรรมดีๆ แบบนี้ทั้ง เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของคนและการออกแบบ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ นิตยสารวอลเปเปอร์ ฉบับภาษาไทย ผู้เป็นสื่อกลางให้กับวงการนักออกแบบไทย คณะกรรมการ ตลอดจนบริษัทเจ้าของโจทย์ที่ได้ร่วมผนึกกำลังกันฝึกความเป็นมืออาชีพให้น้อง ๆ นิสิตนักศึกษา ซึ่งในอนาคตอันใกล้ เราอาจได้เห็นผลผลิตของน้อง ๆ จากเวทีนี้ที่กลายเป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์หน้าใหม่แห่งวงการก็เป็นได้

ผลงานวิจัยเรื่อง “นิเวศวิทยาของยุงและแมลงวันคอกสัตว์และนัยยะความเป็นไปได้ในการใช้สารสกัดพืชเพื่อควบคุมแมลงพาหะนำโรค” ของ ศาสตราจารย์ ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.) ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าทีม พร้อมด้วยทีมวิจัย ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศผลงานวิจัยเด่น ประจำปี 2559 ด้านวิชาการ ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดขึ้นยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น อันจะเป็นต้นแบบที่ดีของการทำงานวิจัยที่ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ตั้งใจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ หัวหน้าทีมวิจัย เข้ารับโล่เกียรติยศผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2559 ด้านวิชาการ จาก พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่

วันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ณ โรงแรม รอยัล ออร์คิด เชอราตัน โฮเท็ล แอนด์ ทาวเวอร์ โดยข้อมูลผลงานวิจัยดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อแผนยุทธศาสตร์ด้านนโยบายทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ ในการวางแผนการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย อันเป็นโรคติดต่อที่มียุงก้นป่องเป็นพาหะและเป็นอันตรายที่คร่าชีวิตเป็นล้านคนในแต่ละปี

ศาสตราจารย์ ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ กล่าวว่า การจัดการยุงพาหะนำโรคมาลาเรียให้ได้ผล จำเป็นต้องมีข้อมูลของยุงพาหะนำโรคในด้านต่าง ๆให้ครบถ้วน ซึ่งยุงพาหะนำโรคมาลาเรีย ทั้ง 7 ชนิด จัดเป็นยุงพาหะชนิดที่ซับซ้อน ไม่สามารถจำแนกชนิดได้โดยลักษณะทางกายภาพหรือรูปร่างสัณฐานภายนอก ดังนั้นการมีแผนที่ทางภูมิศาสตร์แสดงการกระจายตัวของยุงพาหะนำโรคมาลาเรียทั้ง 7 ชนิด จึงมีความสำคัญในการวางแผนจัดการและควบคุมโรค จากผลการวิจัย ทีมวิจัยได้ศึกษาจำแนกสารเคมีในการควบคุมยุงพาหะนำโรคตามแนวคิดใหม่เป็นครั้งแรก และได้พัฒนาแผนที่ทางภูมิศาสตร์ของยุงพาหะนำโรค ที่ต้านทานต่อสารเคมี นอกจากนี้ได้พัฒนาแผนที่ภูมิศาสตร์ของยุงพาหะนำโรคมาลาเรียในประเทศไทยที่จำแนกด้วยเทคนิคทางด้านโมเลกุลเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ถือเป็นแผนที่การกระจายของยุงพาหะนำโรคมาลาเรียที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทยในขณะนี้ ซึ่งแผนที่ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการวางแผนการควบคุมโรคมาลาเรียแบบกำหนดทิศทางใช้เป็นข้อมูลในการจัดแบ่งพื้นที่การระบาดของโรคมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำที่สุดของประเทศไทย

กรมส่งเสริมสหกรณ์ปั้นนักส่งเสริมสหกรณ์ประจำอำเภอสู่การเป็น Smart Officer เสริมสร้างบทบาทในการทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานราชการกับหน่วยงานต่างๆ อำเภอ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกพื้นที่ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำนโยบายของรัฐบาลลงไปขับเคลื่อนให้บรรลุตามเป้าหมาย ส่งผลต่อความกินดีอยู่ดีของสมาชิกสหกรณ์ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ billspayroll.com เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะหน่วยงานในระดับพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดและเข้าถึงประชาชน กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้แต่งตั้งนักส่งเสริมสหกรณ์ประจำอำเภอทำหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ระดับอำเภอ เพื่อให้การปฏิบัติงานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในความรับผิดชอบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อำเภอที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งขับเคลื่อนงานนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงภารกิจด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ต่าง ๆ มีความเข้มแข็ง เป็นองค์กรหลักระดับอำเภอ สามารถนำนโยบายของรัฐบาลลงไปช่วยเหลือดูแลสมาชิกและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ จึงได้การจัดฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนานักส่งเสริมสหกรณ์ระดับอำเภอสู่การเป็น Smart Officer” ให้กับนักส่งเสริมสหกรณ์ประจำอำเภอทั่วประเทศ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ อาทิ การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สู่การพัฒนาสหกรณ์ แนวทางส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ตามภารกิจของกรมส่งเสริมสหกรณ์ การทำงานร่วมกับหน่วยงานในระดับอำเภอ การกำกับดูแลกิจการสหกรณ์ที่ดีตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ ระเบียบ และข้อบังคับของสหกรณ์ แนวทางการพัฒนาสหกรณ์สู่ความเข้มแข็ง การส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร และการส่งเสริมสหกรณ์

โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้นักส่งเสริมสหกรณ์ประจำอำเภอสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติงานส่งเสริมและกำกับดูแลสหกรณ์ และมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานและการเป็นข้าราชการที่ดี ตามคุณลักษณะของ Smart Officer คือต้องมีความรู้ทางวิชาการและความเชี่ยวชาญในหน้าที่งานตามภารกิจของกรมฯ สามารถบริหารจัดการงานและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารระหว่างภาครัฐกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งอย่างมั่นคงและยั่งยืน

“นักส่งเสริมสหกรณ์ต้องทำงานกับประชาชนในระดับพื้นที่ ต้องทำงานในเชิงสังคม ทั้งสหกรณ์ในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรล้วนแล้วแต่มีความสำคัญทั้งหมด เพราะมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน ในอนาคตกรมฯตั้งเป้าหมายที่จะเชื่อมโยงสหกรณ์ในภาคการเกษตรและนอกภาคเกษตรเข้าด้วยกัน โดยสหกรณ์นอกภาคการเกษตรจะเป็นแหล่งกระจายสินค้าคุณภาพดีจากสหกรณ์การเกษตรสู่สมาชิกและประชาชนทั่วไปได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังมีภารกิจในการยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์

ซึ่งกรมฯได้ออกเกณฑ์กำกับสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยน และอยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือเพื่อให้นักส่งเสริมสหกรณ์นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน สิ่งสำคัญคือ นักส่งเสริมสหกรณ์ควรวิเคราะห์สถานภาพของสหกรณ์ที่อยู่ในความดูแล เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนการทำงาน สามารถให้คำแนะนำแก่สหกรณ์ได้ว่ายังต้องพัฒนาในด้านใดหรือต้องปรับปรุงส่วนใดที่ยังบกพร่องให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น เป้าหมายของการพัฒนาสหกรณ์ไม่ได้มุ่งหวังการแสวงหากำไร แต่ต้องพัฒนาสหกรณ์ให้เข้มแข็ง สามารถดูแลสมาชิกให้อยู่ดีกินดีมีความสุขอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งจะส่งผลทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อระบบสหกรณ์ในที่สุด”อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว