จากนั้นดูแลจนได้อายุประมาณ 2 ปีครึ่ง มะพร้าวจะเริ่มตกจั่น

ออกมาให้เห็นที่บริเวณยอด คุณบวร บอกว่า ในช่วง 4 จั่นแรกนั้น ยังไม่ต้องสนใจมากนัก เพราะยังไม่สามารถผสมเกสรสมบูรณ์จนติดผล

“พอหมด 4 จั่นไปแล้ว เข้าสู่จั่นที่ 5 มะพร้าวก็จะเริ่มติดลูกให้ผลผลิต ในเรื่องปุ๋ยเราก็ต้องเปลี่ยนด้วย โดยใช้หลักหนักหน้าก่อนหรือโยกหน้า ในช่วง 6 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน แบ่งใส่ปุ๋ยทุก 3 เดือน เป็นปุ๋ยสูตร 25-7-7 และช่วง 6 เดือนหลัง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม แบ่งใส่ปุ๋ยทุก 3 เดือนเหมือนเดิม แต่จะเปลี่ยนเป็นสูตร 14-7-35 ทั้ง 2 สูตรใส่ในอัตราส่วนเดียวกัน 500 กรัม ต่อต้น นอกจากนี้ ยังใส่มูลนกกระทาเพื่อเสริมเข้าไปอีกด้วย ปีละ 2 ครั้ง ในอัตราส่วนต้นละ 2 กิโลกรัม ทำอย่างนี้ไปทุกปีก็จะทำให้ผลผลิตออกมาสม่ำเสมอ” คุณบวร บอกถึงวิธีการใส่ปุ๋ย

ซึ่งเมื่อมะพร้าวตกจั่นจนให้ผลผลิตได้แล้ว คุณบวร บอกว่า จะสามารถตัดผลมะพร้าวได้ทุก 20 วัน หรือตัดผลผลิตได้ 18 ครั้ง ต่อปี

ในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงที่สวนคุณบวร จะใช้วิธีการหมั่นสังเกตดูว่าภายในสวนมีศัตรูที่จะเข้าทำลายหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบกำจัดให้โดยเร็วโดยการฉีดพ่น ถ้าไม่พบการระบาดก็ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่น แต่จะเน้นใช้แมลงธรรมชาติเข้ามาช่วย เช่น การปล่อยตัวห้ำ ตัวเบียน ภายในแปลงปลูกก็จะช่วยกำจัดแมลงอื่นๆ ที่เป็นศัตรูกับมะพร้าวออกไป

ปัจจุบันมะพร้าวน้ำหอม ตลาดมีความต้องการ

ในเรื่องของการตลาดจำหน่ายผลมะพร้าว คุณบวร เล่าว่า ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาสำหรับเขามากนัก เพราะพื้นที่ปลูกอยู่ติดกับตลาดรับซื้อ ดังนั้น จึงทำให้สามารถจำหน่ายมะพร้าวได้ตลอดทั้งปี ซึ่งราคาเมื่อสมัยก่อนกับปัจจุบันเมื่อเทียบกันแล้ว แตกต่างกันค่อนข้างมาก

“ที่นี่ไม่ต้องกลัวเรื่องตลาด เรามีพื้นที่ซื้อขายกันอยู่แล้ว สมัยที่เริ่มทำใหม่ๆ บอกเลยว่า ราคาอยู่ที่ลูกละ 6 สลึงเท่านั้น ราคาไม่ได้สูงเหมือนปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนนั้นราคาไม่สูงแต่ก็พอทำใจได้ เพราะเป็นของยืนต้นที่เราลงทุนปลูกลงไปแล้ว ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีรายได้ในอนาคต โดยราคาปัจจุบันตอนนี้ก็อยู่ที่ประมาณผลละ 20-25 บาท ซึ่งช่วงนี้ผลผลิตก็มีไม่พอจำหน่าย เพราะผลผลิตออกน้อยลง ยิ่งสภาพอากาศร้อนมาก ทำให้การผสมเกสรติดไม่ดี ก็จะทำให้ดอกร่วง เลยทำให้ผลผลิตมีน้อยลงมาด้วย” คุณบวร บอก

เนื่องจากผลผลิตที่ออกมีปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด อันเกิดจากการผสมเกสรที่ไม่สมบูรณ์ คุณบวร บอกวิธีการแก้ปัญหาให้ฟังว่า แก้ไขด้วยวิธีหาซื้อตัวชันโรงมาปล่อยเลี้ยงภายในสวนแทนการฉีดพ่นอาหารเสริมในการช่วยผสมเกสร เพื่อให้การผสมเกสรเป็นไปง่ายขึ้น และที่สำคัญชันโรงยังสามารถช่วยประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย พร้อมทั้งให้น้ำภายในสวนมากขึ้นเพื่อให้มีความชื้นที่เพียงพอก็จะทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดลง

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพ คุณบวร ให้คำแนะนำเรื่องพื้นที่ปลูกเป็นสิ่งที่สำคัญ รองลงมาคือเรื่องน้ำ เพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องมีอย่างเพียงพอ เพื่อให้มะพร้าวเจริญเติบโตได้ดี และสุดท้ายคือเรื่องสายพันธุ์ต้องเป็นสายพันธุ์ที่เป็นแหล่งเชื่อถือได้ คือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ต้นกล้ามะพร้าวโดยตรง เพราะแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์ ดังนั้น จึงต้องเลือกให้เหมาะสม ซึ่งการปลูกใช้เวลาในการเจริญเติบโต ดังนั้น จึงห้ามผิดพลาด

“การจะเริ่มทำอะไรก็แล้วแต่ ต้องมีการวางแผนที่ดี เพราะทุกอย่างใช้เวลาและเงินทุน ซึ่งการใช้สายพันธุ์มะพร้าวจึงนับว่าสำคัญ ผิดพลาดไม่ได้ หากเราพลาดไปแล้วมาตัดทิ้งแล้วปลูกใหม่ เป็นอะไรที่เสียเวลามาก ดังนั้น ต้องคิดให้รอบคอบ ส่วนน้ำก็อย่าให้ขาด ต้องหาพื้นที่ที่มีน้ำตลอดทั้งปี เพราะมะพร้าวเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ถ้าจะปลูกเชิงการค้าแล้วมีน้ำไม่สมบูรณ์ก็ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร” คุณบวร กล่าวแนะนำ

เกษตรกร ผู้ปลูก ว่านหางจระเข้ จำนวน 20 ไร่ รายนี้ ที่อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี มีคุณลุงประยงค์ สุขสว่าง เป็นเจ้าของแต่ดั้งเดิม

สวนแห่งนี้ เคยปลูกแตงกวา กล้วยหอม หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วฝักยาว แต่พืชเหล่านี้ ต้องลงทุนกับยาฆ่าแมลง และแรงงานมาก
เลยหันมาปลูกว่านหางจระเข้ ที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย และขายได้แน่นอน

ที่ว่าขาย ได้แน่นอน เพราะมีกลุ่มแม่บ้านมารับซื้อ ไปทำน้ำว่านหางจระเข้ วันละ 2,500 กก.ๆละ 4 บาท หรือมีรายได้ 1 หมื่นบาท ทุกวัน

จะว่าไปแล้ว ว่านหางจระเข้ เป็นพืชที่ดูแลง่าย ทนแล้ง และไม่มีโรค เพียงแต่ต้องหมั่นแซะหน่อ เพื่อเป็นขยายพันธุ์ต่อ หรือขายเป็นต้นพันธุ์ไปก็ได้

นี่เป็นพืชอีกตัวที่น่าสนใจ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีตลาดรองรับที่แน่นอน นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้ โครงการ 1 ไร่ 1 แสน หอการค้าจังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายสมบัติ สมบูรณ์เทอดธนา ประธานหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ฝึกทักษะเกษตรกรรมแบบเศรษฐกิจพอเพียง, เพื่อเป็นแหล่งพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรสามารถดำรงชีพได้, เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม

สำหรับโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ของ นายตู้ สมนึก เกษตรกรชาว จังหวัดสุรินทร์ แบ่งพื้นที่ทำการเกษตร ปลูกพืชผสมผสานและเลี้ยงสัตว์ บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ได้อย่างลงตัวและเป็นระเบียบสัดส่วน มีความสวยงามอย่างยิ่ง ประกอบด้วย เลี้ยงสัตว์ สวนผลไม้ นาข้าว ผลผลิตทั้งหมดนำไปจำหน่ายหมุนเวียนสับเปลี่ยนได้ตลอดทั้งปี รายได้ปีละประมาณ 4-5 แสนบาท

ประเด็นร้อนในวงการมะพร้าว ตอนนี้คงหนีไม่พ้น ปัญหาการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูจำนวน 4 ชนิด คือ หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว ลองมาทำความรู้จักแมลงศัตรูพืชเหล่านี้ ว่ามีหน้าตา อุปนิสัย และลักษณะการทำลายเป็นอย่างไร รวมทั้งแนวทางป้องกันและการกำจัดแมลงศัตรูพืชแต่ละชนิด

ดร.พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท นักกีฏวิทยาชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-5583 ต่อ 249 ได้บรรยายในหัวข้อ “การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวอ่อนและมะพร้าวแกงอย่างยั่งยืน” ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง เดินหน้าอุตสาหกรรมมะพร้าวไทยจากฐานชีวภาพ จัดโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

หนอนหัวดำมะพร้าวเป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่สำคัญในแถบเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน กัมพูชา เมียนมา อินโดนีเซีย หนอนหัวดำมะพร้าวเป็นแมลงศัตรูพืชต่างถิ่นที่เข้ามาระบาดในประเทศไทย โดยพบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี 2550 ปัจจุบันพบการแพร่ระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว 29 จังหวัด เนื้อที่ 78,954 ไร่ โดยพบการแพร่ระบาดมากในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา

หนอนหัวดำมะพร้าว เมื่อฟักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก่อนที่จะย้ายไปกินใบมะพร้าว เมื่อหนอนหัวดำโตเต็มที่จะถักใยหุ้มลำตัวและเข้าดักแด้อยู่ภายในอุโมงค์และกลายเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดลำตัว วัดจากหัวถึงปลายท้องยาว 1-1.2 เซนติเมตร ปีกสีเทาอ่อน มีจุดสีเทาเข้มที่ปลายปีก ลำตัวแบน ชอบเกาะนิ่งแบบตัวติดผิวพื้นที่เกาะ เวลากลางวันจะเกาะนิ่งหลบอยู่ใต้ใบมะพร้าว เพศเมีย 1 ตัว วางไข่เป็น กลุ่มครั้งละ 49-490 ฟอง จากนั้นผีเสื้อกลางคืนบินวางไข่บริเวณใบล่างของต้นมะพร้าว

พืชอาหารของหนอนหัวดำมะพร้าว ได้แก่ มะพร้าว ตาลโตนด หมาก อินทผลัม ปาล์มน้ำมัน ปาล์มประดับต่างๆ เช่น ตาลฟ้า หมากเขียว หมากแดง ปาล์มหางกระรอก จั๋ง นอกจากนี้ ยังพบทำลายต้นกล้วยที่ปลูกใต้ต้นมะพร้าว หนอนหัวดำจะเข้าทำลายใบเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น โดยกัดกินผิวใบแก่ ใบมะพร้าวที่ถูกทำลายจะแห้งเป็นสีน้ำตาล ใบย่อยถูกดึงเรียงกันเป็นแพ บางครั้งพบการทำลายรุนแรง โดยหนอนจะกัดกินก้านทางใบ จั่น และผลมะพร้าว ต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายจะมีใบแห้ง มีสีน้ำตาล เมื่อทำลายรุนแรงขึ้น อาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้

แนวทางป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ควรใช้วิธีผสมผสาน สำหรับสวนมะพร้าวทั่วไป กรณีเริ่มพบการระบาด

ตัดทางใบล่างที่หนอนหัวดำกัดกิน ไปเผาทำลาย
พ่นเชื้อบีทีทันที โดยเลือกใช้สารบีที ที่ขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรแล้วเท่านั้น โดยใช้เชื้อบีที อัตรา 100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ 5 มิลลิลิตร พ่นให้ทั่วบริเวณใต้ใบ โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดที่จะทำลายเชื้อบีที โดยใช้เครื่องพ่นที่ปรับระดับได้ไม่น้อยกว่า 30 บาร์ และพ่นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน
ใช้วิธีปล่อยแตนเบียน โกนีโอซัส นีแฟนติดิส หรือปล่อยแตนเบียน บราคอน ฮีปีเตอร์ ในช่วงเย็น ในอัตรา 200 ตัว ต่อไร่ ต่อครั้ง ให้กระจายทั่วแปลง แตนเบียนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูธรรมชาติ หลักการปล่อยแตนเบียนต้องปล่อยแบบท่วมท้น ปล่อยให้มากที่สุดเท่าที่จะปล่อยได้ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่และปล่อยอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งช่วงฤดูฝนที่หนอนหัวดำลดการแพร่ระบาดก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้ประชากรหนอนหัวดำเพิ่มจำนวนมากขึ้น วิธีนี้จะช่วยให้การกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น

พื้นที่ที่มีหนอนหัวดำมะพร้าวระบาดรุนแรง ก่อนจะปล่อยแตนเบียน 2 สัปดาห์ เกษตรกรควรใช้สารเคมีให้ครอบคลุมพื้นที่ก่อน โดยวิธีฉีดสารเข้าต้นควบคู่ไปกับการพ่นสารทางใบ แต่ต้องเป็นสารที่กรมวิชาการเกษตรได้ศึกษาวิจัยและได้แนะนำให้ใช้ หากดำเนินการไม่ครอบคลุมพื้นที่ เช่น ฉีดเฉพาะต้นสูง แมลงจะอพยพลงมาขยายพันธุ์บนมะพร้าวต้นเตี้ย ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่มีที่สิ้นสุด

กรณีพบหนอนหัวดำแพร่ระบาดรุนแรงในสวนมะพร้าว ทำให้ต้นมะพร้าวเหลือทางใบที่มีสีเขียวน้อยกว่า 13 ทางใบ ซึ่งจะทำให้มะพร้าวเริ่มสูญเสียผลผลิต ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลง โดยฉีดพ่นทางใบหรือยอด และฉีดสารเคมีเข้าลำต้น

การพ่นทางใบ

พื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงของหนอนหัวดำรุนแรงและไม่มีการปล่อยแตนเบียน กรณีต้นมะพร้าวต่ำกว่า 12 เมตร ควรฉีดพ่นทางใบ ด้วยสารกำจัดแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น สารฟลูเบนไดเอไมด์ 20% WG อัตรา 5 กรัม หรือคลอแรน ทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือสปินโนแสด 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือลูเฟนนูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่งผสมสารอัตราที่กำหนดผสมน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง โดยพ่นสารเคมีให้ทั่วทรงพุ่ม จะสามารถป้องกันหนอนหัวดำได้ประมาณ 2 สัปดาห์ สารเคมีทั้ง 4 ตัวนี้ มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนผีเสื้อโดยเฉพาะ ขณะเดียวกัน สารเคมีกลุ่มนี้ไม่มีสารตกค้างในน้ำและเนื้อมะพร้าว

“การเลือกใช้สารเคมีประเภทพ่นทางใบ ควรเลือกใช้ ฟลูเบนไดเอไมด์ หรือคลอเรนทรานิลิโพรล เป็นลำดับแรก เนื่องจากมีพิษต่ำต่อผึ้ง ส่วนสปินโนแสด มีพิษสูงต่อผึ้ง ไม่ควรใช้ในแหล่งเลี้ยงผึ้ง หรือช่วงมะพร้าวดอกบาน และลูเฟนนูรอน ไม่ควรใช้ในแหล่งที่มีการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากมีพิษสูงต่อกุ้ง อาจมีผลทำให้กุ้งไม่ลอกคราบ” ดร.พฤทธิชาติ กล่าว

วิธีฉีดสารเข้าต้น

กรณีต้นมะพร้าวที่สูงตั้งแต่ 12 เมตรขึ้นไป แนะนำให้ฉีดสารเข้าต้นโดยใช้สารอีมาเมกติน เบนโซเอต 1.92% EC เข้มข้น ไม่ต้องผสมน้ำฉีดเข้าที่ลำต้นมะพร้าว (trunk injection) อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อต้น การเจาะรูต้นมะพร้าว แนะนำให้เกษตรกรใช้สว่านที่ดัดแปลงจากเครื่องตัดหญ้า โดยส่วนปลายตัดใบพัดออก แล้วดัดแปลงใส่ดอกสว่านแทน

ใช้สว่านเจาะรูต้นมะพร้าว ให้เอียงลงประมาณ 45 องศา จำนวน 2 รู ให้ตรงกันข้ามและต่างระดับกันเล็กน้อย เจาะรูให้ลึก 10 เซนติเมตร ตำแหน่งของรูอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร แล้วฉีดสารฆ่าแมลงลงไปรูละ 15 มิลลิลิตร ปิดรูด้วยดินน้ำมัน วิธีนี้จะป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวได้นานมากกว่า 3 เดือน (วิธีการนี้สามารถป้องกันกำจัดได้ทั้งด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว และหนอนหัวดำมะพร้าว) และไม่มีปัญหาสารเคมีตกค้างในน้ำและเนื้อมะพร้าว

กรมวิชาการเกษตร ไม่แนะนำให้ใช้วิธีฉีดสารเคมีเข้าลำต้นกับต้นมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร ประเภทมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ และมะพร้าวที่ทำน้ำตาล เพราะอาจมีผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอมเป็นที่นิยมบริโภคสดทั้งน้ำและเนื้อ มักมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 8-10 เมตร หรือสูงไม่เกิน 15 เมตร

แมลงดำหนามมะพร้าว

แมลงดำหนามมะพร้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียและปาปัวนิวกินี เป็นศัตรูพืชต่างถิ่นที่เข้ามา ระบาดในประเทศไทย เมื่อปี 2547 พบการแพร่ระบาดรุนแรงในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร และนครศรีธรรมราช

ลักษณะการทำลาย แมลงดำหนามมะพร้าวทั้งตัวหนอนและตัวเต็มวัย จะกัดกินยอดอ่อนที่สุดของใบมะพร้าวที่ยังไม่คลี่ใบ ทำให้ยอดอ่อนของมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต เมื่อมีการทำลายรุนแรง ใบมะพร้าวแห้งเป็นสีน้ำตาล จะมองเห็นยอดมะพร้าวเป็นสีขาวโพลนชัดเจน เรียกว่า “โรคหัวหงอก” พบการระบาดทำลายได้ทั้งมะพร้าวต้นเล็กและต้นสูงที่ให้ผลผลิตแล้ว

แมลงดำหนามมะพร้าว สามารถควบคุมโดยใช้ชีววิธี โดยอาศัยศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียน แมลงหางหนีบ เชื้อราเขียว และเชื้อราบิวเวอร์เรีย รวมทั้งการใช้สารเคมี กรณีมะพร้าวที่สูงตั้งแต่ 12 เมตรขึ้นไป ให้ฉีดสารเข้าต้นด้วย สารอีมาเมกติน เบนโซเอต 1.92% EC เข้มข้น ไม่ต้องผสมน้ำ อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อต้น วิธีนี้ไม่แนะนำให้ใช้กับมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร ประเภทมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ และมะพร้าวที่ทำน้ำตาล

ด้วงแรดมะพร้าว

ด้วงแรดมะพร้าว มักพบในแหล่งปลูกมะพร้าว พืชตระกูลปาล์ม มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดมะพร้าวชนิดเล็ก พบได้บ่อยทั่วทุกภาคของประเทศไทย และด้วงแรดมะพร้าวชนิดใหญ่ พบในเขตภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมา

ลักษณะการทำลาย ตัวเต็มวัยจะเจาะใบมะพร้าวที่บริเวณโคนทางใบที่ 2 หรือใบที่ 3 ทะลุเข้าไปถึงยอดอ่อน ตรงกลางหรือทำลายบริเวณยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบมะพร้าวที่คลี่แตกใบใหม่ขาดแหว่ง มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมคล้ายถูกกรรไกรตัด ถ้าด้วงกัดกินทางใบจะทำให้ทางใบพับ มะพร้าวชะงักการเจริญเติบโตและอาจเป็นเหตุให้โรคและแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นเข้าทำลายต่อไป

การป้องกันกำจัด 1. ใช้วิธีเขตกรรม กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยเผาหรือฝังซากตอหรือลำต้นของมะพร้าว และเกลี่ยกองซากพืช หรือกองมูลสัตว์ ให้กระจายออกโดยมีความหนาไม่เกิน 15 เซนติเมตร 2. ใช้ชีววิธี โดยใช้เชื้อราเขียว (Metarไhizium anisopliae) สร้างกับดักราเขียวโดยใช้ขุยมะพร้าว ที่หมักแล้วผสมกับหัวเชื้อราเขียว เพื่อล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนจะถูกเชื้อราเขียวเข้าทำลายและตายในที่สุด 3. การใช้สารเคมี กรณีมะพร้าวที่สูงตั้งแต่ 12 เมตรขึ้นไป ให้ฉีดสารเข้าต้นด้วยสารอีมาเมกติน เบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อต้น วิธีนี้ห้ามใช้กับมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร เช่น มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ และมะพร้าวที่ทำน้ำตาล

ด้วงงวงมะพร้าว หรือด้วงไฟ

ด้วงงวงมะพร้าว หรือด้วงไฟ ที่พบในแหล่งปลูกมะพร้าว พืชตระกูลปาล์ม มี 2 ชนิด คือ ด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก พบทำลายบริเวณลำต้น และด้วงงวงมะพร้าวชนิดใหญ่ พบทำลายมะพร้าวบริเวณยอดอ่อน

ลักษณะการทำลาย ด้วงงวงมะพร้าวจะขยายพันธุ์อยู่ภายในคอมะพร้าวและพบบ้างที่โคนลำต้น ทำให้ต้นตาย อาการบ่งชี้ที่แสดงว่าต้นถูกด้วงงวงมะพร้าวทำลายคือ ยอดอ่อนเหี่ยวแห้ง ใบเหลือง การป้องกันกำจัดคือ อย่าให้ด้วงแรดทำลายมะพร้าว เพราะรอยแผลที่ด้วงแรดเจาะจะเป็นช่องทางให้ด้วงงวงเข้าวางไข่และทำลายจนต้นตายได้ แนะนำให้ดูแลทำความสะอาดแปลงมะพร้าว

การใช้สารเคมี กรณีมะพร้าวที่สูงตั้งแต่ 12 เมตรขึ้นไป ให้ฉีดสารเข้าต้นด้วยสารอีมาเมกติน เบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อต้น วิธีนี้ห้ามใช้กับมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร เช่น มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ และมะพร้าวที่ทำน้ำตาล

ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร ได้เสนอแนะให้เกษตรกรใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน โดยสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการปฏิบัติงานเจาะต้น เช่น สวมอุปกรณ์ป้องกันเสียง ถุงมือนิรภัย หมวกนิรภัย แว่นนิรภัย หน้ากากป้องกันฝุ่นและสารเคมีที่ได้มาตรฐาน ถุงมือยางกันสารเคมี

“ มะพร้าว ” เป็นพืชที่ปลูกกันทั่วไปทุกภาคของไทย มีผลผลิตตลอดทั้งปี นำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของมะพร้าว เช่น เนื้อมะพร้าว ใช้ทำอาหารทั้งคาวและหวาน น้ำมะพร้าวอ่อนใช้ดื่มแก้กระหาย ใบมะพร้าวใช้ห่อขนม จักสาน หลังคา ต้นมะพร้าวใช้แทนไม้ในการก่อสร้าง กะลาใช้ทำเครื่องดนตรีและถ่านที่มีคุณภาพ รากใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ หรืออมบ้วนแก้เจ็บคอ น้ำมันมะพร้าวใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจใช้ทาบำรุงผม น้ำมะพร้าวใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้อาเจียนเป็นโลหิตและบวมน้ำ ทำเป็นน้ำส้มสายชู

อีกหนึ่งแนวทางเพิ่มมูลค่ามะพร้าวที่น่าสนใจ คือ การทำไวน์มะพร้าว โดยทั่วไป ผลไม้ที่นำมาผลิตเป็นไวน์ส่วนใหญ่ นิยมใช้ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น กระเจี๊ยบ หม่อน สตรอว์เบอร์รี่ องุ่น ฯลฯ เพราะทำได้ง่าย แต่การทำไวน์จากมะพร้าว ซึ่งมีความหวานและกลิ่นหอม จึงทำได้ยากกว่าผลไม้อื่น เพราะต้องใช้เทคนิคพิเศษ เพื่อให้ได้ไวน์ที่มีคุณภาพ และมีรสชาติอร่อย จึงขอนำเสนอเทคนิคการทำไวน์มะพร้าวใน 2 รูปแบบ จากภูมิปัญญาชาวบ้านและผลงานวิจัยของ ม.แม่โจ้

การผลิตไวน์มะพร้าวน้ำหอมบนต้น จากภูมิปัญญาชาวบ้าน จ.ขอนแก่น

นายสมร ไชโยธา อยู่บ้านเลขที่ 73 หมู่ที่ 3 บ้านท่าเรือ ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ได้ค้นพบวิธีการ “ผลิตไวน์มะพร้าวน้ำหอมติดอยู่บนต้น” ได้อย่างน่าทึ่ง และเพิ่มมูลค่าของมะพร้าวน้ำหอม เมื่อทำเป็นไวน์แล้วสามารถขายได้ราคาสูง

ย้อนกลับเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน คุณพ่อของคุณสมรเคยทำไวน์มะกอกบนต้น เพราะมีความเชื่อว่า เป็นยาอายุวัฒนะ โดยใช้ต้นมะกอกป่า (ใช้ผลทำส้มตำ) ขนาดโต ใช้สิ่วเจาะเข้าไปในลำต้นให้เป็นแอ่งหลังจากเจาะแล้วจะมีน้ำหยดลงมาขังอยู่ที่แอ่ง จากนั้นใส่แป้งเหล้าเข้าไปหนึ่งก้อน แล้วใช้กิ่งมะกอกทำเป็นลิ่มตอกปิดไว้ จะทำในช่วงเข้าพรรษาเมื่อออกพรรษาก็นำมาดื่มกิน

คุณสมรจึงเกิดแรงบันดาลใจนำความรู้ที่ได้จากคุณพ่อ นำมาผลิตไวน์มะพร้าวน้ำหอมติดอยู่บนต้น ปรากฎว่าได้ไวน์มะพร้าวที่มีรสชาติดีเช่นกัน คุณสมรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำคัญคือ แป้งข้าวหมาก (ยีสต์) เหล้าขาวหรือเหล้าฝรั่ง เข็มฉีดยาขนาดใหญ่พร้อมไซริงจ์ ตะปูห้า เทปกาว บันได ต้นมะพร้าวและผลอ่อน

ขั้นตอนการทำ เริ่มจากใช้ยีสต์ ก้อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้วครึ่ง ใช้ครึ่งก้อนบดให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวขวดกั๊กคือ ประมาณ 150 ซีซี คนให้เข้ากัน จากนั้นใช้ตะปูตอกเข้าที่บริเวณด้านบนของผลมะพร้าวอ่อนจำนวน 2 รู และใช้ไซริงจ์ดูดส่วนผสมและฉีดเข้าไปที่ผลมะพร้าวอ่อนที่ยังติดอยู่บนต้น ผ่านทางรอยตอกของตะปู โดยฉีดเข้าไปปริมาณ 1.5 ซีซี ต่อผล จากนั้นใช้เทปกาวปิดรูทั้งสองรู ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วัน

จากนั้นตัดลงมาใช้มีดเฉือนที่ส่วนหัวของผล ใส่หลอดดูด ดูดเอาของเหลวภายในผลมะพร้าว ซึ่งก็คือไวน์นั่นเอง จะได้ไวน์มะพร้าวน้ำหอมที่รสชาติอร่อย ซึ่งเหล้าขาวขนาด 150 ซีซี (ขวดกั๊ก) สามารถผลิตไวน์มะพร้าวน้ำหอมได้ประมาณ 100 ผล

ทีมนักวิจัย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกอบด้วย รศ.ศิรินทร์ญา ภักดี นายประพันธ์ ปันพันธุ์ นางสมใจ ประทุมเทพ ประสบผลสำเร็จในการคิดค้นและทดลองทำ “ไวน์จากมะพร้าวน้ำหอม ” ที่มีรสชาติยอดเยี่ยมและมีกลิ่นหอม

การผลิตไวน์มะพร้าวของ ม.แม่โจ้ เริ่มจากจัดเตรียมอุปกรณ์สำคัญ ได้แก่ 1. ขวดแก้วสำหรับหมัก ขนาด 10 ลิตร เกษตรกรที่มีประสบการณ์แล้วอาจจะเพิ่มปริมาณการผลิต โดยการหมักในถังบรรจุน้ำดื่มที่มีขายทั่วไป หาจุกปิดที่ช่วยระบายก๊าซที่เกิดจากการหมัก แต่อากาศจากภายนอกจะเข้าไปไม่ได้ 2. หัวเชื้อสำหรับหมักไวน์ 3. เนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว

ขั้นตอนการเตรียมหัวเชื้อ สมัครไฮโลออนไลน์ เริ่มปอกมะพร้าวเพื่อนำน้ำมะพร้าวเทลงในภาชนะโดยผ่านการกรองจากผ้าขาวบาง เติมเชื้อลงไปเพื่อปรับให้มีความเป็นกรด จากนั้นตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 24 ชั่วโมง

ขั้นตอนการหมัก เติมหัวเชื้อในน้ำมะพร้าว ปริมาตร 8 ลิตร ปรับความหวานให้ได้ 20 บริกซ์ (หน่วยวัดความหวาน) เติมเนื้อมะพร้าวที่ขูดกว้าง ประมาณ 1 นิ้ว ยาว 2 นิ้ว หนา 0.25 นิ้ว ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อจะได้มีกลิ่นหอม หากใส่เนื้อมะพร้าวมากจะเหลือพื้นที่สำหรับน้ำมะพร้าวน้อย จากนั้นจึงปิดฝาด้วยจุกที่อากาศผ่านออกได้แต่อากาศภายนอกเข้าไม่ได้ หมักไว้นาน 10-15 วัน จึงดูดออกมาพักให้ตกตะกอน จากนั้นจึงนำไปพาสเจอไรซ์ เพื่อฆ่าเชื้อ เป็นอันเสร็จขั้นตอนแรก จากนั้นจึงถึงขั้นตอนการบ่ม การบ่มจะนานเท่าไรก็ได้ ยิ่งบ่มนานก็จะได้รสชาติที่ดี กลมกล่อม หอมหวาน

การหมักจะต้องใช้ภาชนะที่ทึบแสง หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เนื่องจากการหมักนาน ๆ กระที่เกิดอยู่ภายใน อาจจะกัดกร่อนโลหะ เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ในอนาคตต่างประเทศนิยมบ่มในถังไม้โอ๊ก แต่เมืองไทย สามารถประยุกต์ใช้โอ่งมังกรและใช้ฝาถังน้ำพลาสติกได้ ซึ่งการคาดฝาโอ่งปิดปากจะต้องปิดให้แน่นหนา มีช่องหรือรูระบายให้ก๊าซออก แต่อากาศภายนอกเข้าไม่ได้เท่านั้น

ไวน์ทั่วไปจะมีความหวาน ประมาณ 9 บริกซ์ มีแอลกอฮอล์ 13 ทั้งนี้ การทำไวน์สามารถเพิ่มความหวานได้ สำหรับการทำไวน์เพื่อสุขภาพ ควรมีความหวาน ประมาณ 13 บริกซ์ มีแอลกอฮอล์ ประมาณ 9 เหมาะสำหรับสุภาพสตรี ผู้สูงอายุ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทรศัพท์ 0-5387-8223, 0-5349-8179 โทรสาร 0-5387-8225 ทุกวันเวลาราชการ