จากนั้นเดินทางต่อไปที่ วัดศรีโพธิ์ชัย ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว

ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อายุมากกว่า 400 ปี เกิดขึ้นพร้อมกับการตั้งชุมชนแห่งนี้ ซึ่งลักษณะของอุโบสถจะคล้ายกับวัดเชียงของ เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว

อีกทั้งวัดแห่งนี้มีงานประเพณีที่มีชื่อเสียง คือ ประเพณีงานแห่ต้นดอกไม้ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงสงกรานต์ ซึ่งมีความเชื่อว่าการนำดอกไม้มาบูชาพระรัตนตรัยนั้น จะทำให้อยู่ดีมีสุข ฝนตกตามฤดูกาล บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและชุมชน ที่สำคัญ งานประเพณีนี้เราจะได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ตั้งแต่การประดิษฐ์ต้นดอกไม้ ไปจนถึงการแห่ ซึ่งจะต้องใช้คนหามตั้งแต่ 4 คน ไปจนถึง 10 คน ตามขนาดของต้น

สถานที่ขึ้นชื่ออีกแห่ง “พระธาตุศรีสองรัก” อำเภอด่านซ้าย สร้างขึ้นเพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างกรุงศรีอยุธยา และกรุงศรีสัตนาคนหุต ที่จะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน จากนั้นเดินทางต่อไปที่วัดโพนชัย เพื่อเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ผีตาโขน และเดินทางไปพักผ่อน รับประทานอาหารที่ Cafe de Mena ซึ่งเป็นคาเฟ่ของคนรุ่นใหม่ชาวเลย ที่เข้าไปศึกษาต่อในเมืองหลวง แต่มีแนวคิดที่จะกลับมาพัฒนาบ้านเกิด รวมถึงยังนำเด็ก ๆ ในชุมชนโดยรอบมาเรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ ด้วย เช่น การทำน้ำหมักปุ๋ยตามธรรมชาติ เป็นต้น

ปิดท้ายที่ อำเภอภูเรือ เพื่อชมวัดสมเด็จภูเรือมิ่งเมือง ซึ่งเป็นพระอารามที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้พระราชทานเงินซื้อที่ดินสร้างวัด และวัดป่าห้วยลาด ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในมหามงคลสมัยที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในปี 2550

“เชวัง โชเพล ดอร์จิ” เอกอัครราชทูตภูฏาน ประจำประเทศไทย กล่าวหลังจากการเยี่ยมชมพื้นที่ว่า ได้เรียนรู้ว่าประชาชนที่เลยสามารถรักษาวัฒนธรรมและประเพณีได้เป็นอย่างดี ทำให้มีชีวิตขึ้นมา ไม่สูญหายไป และจากการนำเสนอข้อมูลของผู้ว่าราชการจังหวัด เห็นว่าเมืองเลยเป็นเมืองที่น่าเที่ยว ต้องเติมคำว่าน่ารักไปด้วย สำหรับตนจะนำประสบการณ์ที่ได้ไปแบ่งปันให้คนอื่น ๆ รวมถึงอยากให้นักเรียนภูฏานมาเรียนที่จังหวัดเลย เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

“ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ” รองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า ที่เลือกพื้นที่พิเศษจังหวัดเลย เพราะว่ามีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นคล้ายคลึงกับราชอาณาจักรภูฏาน โดยเฉพาะอำเภอนาแห้ว ที่ชุมชนท้องถิ่นมีความเคร่งครัดในพุทธศาสนา มีการถือศีล ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ในช่วงวันโกนและวันพระ เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปในราชอาณาจักรภูฏาน เหมือนเป็นคู่แฝด

สำหรับการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (MOU) ระหว่างประเทศไทยกับราชอาณาจักรภูฏานนั้น วันที่ 6-9 ธันวาคม 2560 อพท.ประเทศไทยจะเดินทางไปพบผู้อำนวยการสภาการท่องเที่ยวแห่งราชอาณาจักรภูฏาน (Tourism Council of Bhutan : TCB) เพื่อพูดคุยข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ พิธีลงนามความร่วมมือจะไม่เกินปลายเดือนธันวาคม หรืออย่างช้าไม่เกินเดือนมกราคม 2561 นี้

ด้าน “ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม” ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า จังหวัดเลยได้ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา ดังวิสัยทัศน์ของจังหวัดที่ว่า เมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน ภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแนวทาง ไทยเลย 4.0 หรือ THAILOEI 4.0 ทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่ 1.เมืองแห่งการท่องเที่ยวและกีฬา 2.เมืองแห่งสุขภาวะ ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพอนามัย 3.เมืองแห่งการเกษตรแบบผสมผสาน 4.เมืองแห่งการลงทุนและการค้า 5.เมืองของทุกคน 6.เมืองแห่งศิลปะและวัฒนธรรม เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภาษาถิ่น ให้ยั่งยืน 7.เมืองแห่งการศึกษา และ 8.เมืองแห่งคุณธรรม

ถือเป็นโอกาสดีที่ไทย-ภูฏานได้กระชับความสัมพันธ์ รวมถึงการร่วมมือด้านการท่องเที่ยวลงลึกถึงระดับชุมชนร่วมกันด้วยในช่วงท้ายฤดูกาลทำนา ก่อนเริ่มเก็บเกี่ยวข้าว ชาวมอญจะนิยมนำข้าวช่วงตั้งท้องซึ่งถือว่าเป็นของดี ของประเสริฐ เป็นเลิศในหมู่อาหารทั้งปวง มาทำขนมพิเศษที่มีให้ได้ลิ้มรสเพียงปีละหน ทั้งนี้ก็เพื่อมุ่งถวายพระภิกษุสงฆ์เป็นสำคัญ

วิธีทำขนมชนิดนี้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของชาวมอญในชุมชนอย่างมาก เพราะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยาก เริ่มจากการนำรวงข้าวตั้งท้องมาตำในครกแล้วขยำเอาน้ำนมข้าว (ด๊าจเต๊าะห์เซาะห์) ออกมา เคี่ยวรวมกับเครื่องหวานชั้นเลิศ ได้แก่ นม น้ำผึ้ง น้ำตาล และอื่นๆ จนได้น้ำนมข้าวข้นหอมหวานมัน น่ากินยิ่งนัก

น้ำนมข้าวนี้มีลักษณะข้นคล้ายสังขยา กินเป็นเครื่องจิ้ม จึงต้องทำของกินอีกอย่างคู่กัน นั่นคือข้าวเหนียวห่อใบไผ่ต้ม (คล้ายขนมจ้าง) เอาไว้จิ้มกินกับน้ำนมข้าว

ปัจจุบันขนมชนิดนี้กำลังจะหากินได้ยากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะนับวันผู้ประกอบอาชีพทำนามีแต่จะลดลง ทำให้ผู้สืบสานวัฒนธรรมด้านอาหารที่เนื่องด้วยการทำนามีจำนวนน้อยลง แต่ก็ยังมีผู้พยายามอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวมอญอยู่ เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง

การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดกระบี่ ผุดไอเดีย ประสานระหว่างสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ผลิตยางแผ่นรมควัน จับมือผู้ประกอบกิจการยางด้านผลิตภัณฑ์ แปรรูปรองเท้าแตะจากยางพาราจำหน่าย ป้อนกลุ่มนักท่องเที่ยว และธุรกิจโรงแรมในจังหวัด สร้างรายได้เพิ่มมูลค่า พร้อมจำหน่ายแน่!!! ปลายปีนี้

นายพิสิษฐ สุขอนันต์ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ในปัจจุบันที่สภาวะราคายางมีความผันผวน ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ได้มอบนโยบายให้ กยท.จ. สนับสนุนให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางสามารถประกอบอาชีพการทำสวนยางได้อย่างยั่งยืน คือ การไม่พึ่งพาแค่ราคายางในการขายวัตถุดิบเท่านั้น ดังนั้น การแปรรูปยางพาราสู่ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ ให้เกิดการใช้จริงและเพิ่มมูลค่า จึงเป็นทางออกที่ทำให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล กยท. มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง ดำเนินการแปรรูปยางพาราไปสู่ผลิตภัณฑ์ โดยมีการขึ้นทะเบียนทั้งในส่วนของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง ซึ่งจากข้อมูลนี้ กยท.จ.กระบี่จึงมีแนวคิดในการเชื่อมผสาน ในส่วนของสถาบันเกษตรกรที่แปรรูปยางแผ่นรมควันเพื่อจำหน่ายอยู่แต่เดิม กับผู้ประกอบกิจการยาง ที่มีความพร้อมในด้านอุตสาหกรรมการผลิตและเครื่องจักร ดำเนินการผลิตให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถออกจำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มมูลค่า

นายพิสิษฐ กล่าวต่อว่า สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ที่เข้าร่วม ได้แก่ สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านบางบอน จำกัด สหกรณ์กองทุนสวนยางปากน้ำ จำกัด และสหกรณ์กองทุนสวนยางน้ำจานสามัคคี จำกัด นำยางแผ่นรมควันชั้น 3 แปรรูปเป็นยางคอมปาวด์ ส่งให้ผู้ประกอบกิจการยางภาคเอกชนนำไปผลิตเป็นรองเท้าแตะ และส่งให้ทางสถาบันเกษตรกรจำหน่ายภายใต้แบรนด์ของกลุ่มสถาบันเกษตรกรเอง โดยทาง กยท. เป็นตัวกลางในการประสาน และสนับสนุนเงินทุน สินเชื่อ สวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง ตาม พรบ.การยางแห่งประเทศไทย มาตรา 49 (3) รวมถึงหาตลาดในการจำหน่ายรองเท้าแตะยางพารา โดยเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว และแหล่งธุรกิจโรงแรมที่มีความต้องการใช้รองเท้าแตะเพื่อบริการให้แก่แขกที่มาเข้าพัก คาดว่าพร้อมจำหน่ายในช่วงประมาณปลายปีนี้

นายพิสิษฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง ร่วมมือกันแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายแล้ว กยท.จ.กระบี่ ยังส่งเสริมให้เกษตรกรทำอาชีพเสริมปลูกพืชแซมหรือพืชร่วมยาง เป็นการทำเกษตรแบบผสมผสานแทนการปลูกเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวไร่ สับปะรด เป็นต้น หรือแม้แต่การทำปศุสัตว์ร่วมสวนยาง เช่น เลี้ยงแพะ โดย กยท.จ.กระบี่ ได้จัดโครงการอบรมการเลี้ยงแพะในสวนยางทั้งหมด 8 รุ่น แบ่งเป็นอำเภอละ 1 รุ่น มีวิทยากรจากปศุสัตว์ประจำอำเภอ มาถ่ายทอดความรู้ในการเลี้ยงแพะอย่างถูกวิธี เกษตรกรที่ผ่านการอบรมสามารถไปรับพันธุ์แพะจากสมาคมผู้เลี้ยงแพะของจังหวัดกระบี่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเกษตรกรสามารถขอรับเงินสนับสนุนตามมาตรา 49 (5) เพื่อให้เกษตรกรไปขยายพันธุ์ต่อยอด ซึ่ง กยท. พร้อมสนับสนุน ส่งเสริม ให้คำแนะนำ พี่น้องเกษตรกรที่มีความสนใจประกอบอาชีพเสริม หรือต้องการแปรรูปยางพาราอย่างเต็มที่ นายพิสิษฐ กล่าวปิดท้าย

ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่านวัตกรรมสมัยใหม่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เพราะจากสิ่งที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่ นอกจากจะช่วยในเรื่องของการอำนวยความสะดวกแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงานของผู้ใช้งานอีกด้วย โดยสิ่งประดิษฐ์สมัยใหม่เริ่มคิดค้นให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยที่ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ซึ่งปัญหาเรื่องของธรรมชาติที่เสื่อมโทรมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ก็จะช่วยทำให้สภาพแวดล้อมที่มีอยู่ดีขึ้น และไม่เสื่อมสภาพลงไปจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น การปล่อยน้ำเสีย การปล่อยมลภาวะควันพิษที่ส่งผลเสียต่อสภาพอากาศ จึงทำให้ในขณะนี้เริ่มมีหายบริษัทหรือภาคอุตสาหกรรมและที่เล็กลงมาก็คือภาคครัวเรือนเริ่มมีการใส่ใจในเรื่องของการรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การช่วยกันบำบัดน้ำเสีย การรักษามลพิษทางอากาศ ตลอดไปจนถึงกลิ่นที่รบกวนชุมชน

คุณนพชัย วีระมาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า ทางบริษัทมีความรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องของนวัตกรรมที่สามารถเป็นสิ่งที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จึงได้ก่อตั้งบริษัท อินโนว์ กรีน โซลูชั่น จำกัด ภายใต้แบรนด์ อิน กรีน (In green) โดยในตัวผลิตภัณฑ์จะเน้นการแก้ปัญหาในภาคของธุรกิจที่จะช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงาน และช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวล้อม โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ทำจะเทคโนโลยีในเรื่องของโอโซนที่นำมาช่วยในการประหยัดพลังงาน

“โอโซนถือว่ามีคุณสมบัติที่ดีมากในเรื่องของการช่วยปรับคุณภาพน้ำ โดยสามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งการบำบัดในเรื่องของน้ำและการนำน้ำที่ใช้แล้ว มาบำบัดด้วยโอโซนก็จะช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้น ซึ่งสามารถทำให้น้ำไม่มีกลิ่นและได้ค่าตามมาตรฐานที่กำหนดรวมไปถึงในเรื่องของการปรับสภาพอากาศที่ผ่านการกรองด้วยโอโซนด้วย ดังนั้นการนำโอโซนมาใช้จึงช่วยลดในเรื่องของโลหะหนักในน้ำได้ ปัจจุบันก็มีหลายๆ พื้นที่มีการนำโอโซนมาใช้มากขึ้น จึงเป็นการช่วยสร้างทิศทางในอนาคตของภาคธุรกิจต่อไป” คุณนพชัย กล่าว

โดยปัจจุบันได้มีลูกค้าที่ได้นำนวัตกรรมชิ้นนี้ไปใช้แล้วมากกว่า 30 ราย เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล หรือจะเป็นธุรกิจโรงแรม ตลอดไปจนถึงหน่วยงานธนาคารและการประปาส่วนภูมิภาค

ซึ่งในภาคครัวเรือนที่ไม่ได้มองเป็นเรื่องไกลตัวในเชิงอุตสาหกรรม คุณนพชัย บอกว่า ได้นำโอโซนมาใช้ในเรื่องของเครื่องล้างผักที่สามารถใช้ได้ภายในครัวเรือน จึงได้มีเครื่องล้างผักที่มีคุณสมบัติช่วยในเรื่องของการทำลายสารเคมีต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ภายในผักได้ ด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างของสารที่เป็นพิษกลายเป็นไม่มีพิษ

“เมื่อเราทำเป็นเครื่องล้างผักโอโซนที่ใช้ภายในครัวเรือน ผลตอบรับก็ถือว่าค่อนข้างดีมาก แต่ด้วยความที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จึงมีคำถามจากผู้สนใจมากมาย ว่าจะมั่นใจอย่างไรเมื่อนำมาใช้แล้วจะล้างหมด ซึ่งในเรื่องนี้เราได้ทำการวิจัยแล้วจากสถาบันที่เชื่อถือได้ว่า เมื่อล้างผักด้วยโอโซนผักไม่มีสารพิษตกค้างแน่นอน และที่สำคัญน้ำที่ผ่านการล้างผักแล้ว เมื่อปล่อยลงไปในธรรมชาติ ยังไม่มีพิษต่อธรรมชาติ ยังช่วยในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย” คุณนพชัย บอกถึงประโยชน์ของโอโซน

ในส่วนของการนำไปใช้ในภาคการเกษตรนั้น คุณนพชัย บอกว่า เริ่มมีการนำไปใช้เพื่อปรับสภาพน้ำเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง โดยให้น้ำที่ใช้เลี้ยงมีความสะอาดไม่มีเชื้อโรคและที่สำคัญสามารถใช้ได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องพักน้ำไว้เหมือนสมัยก่อน ซึ่งก็กำลังมีการทดลองใช้ในเรื่องนี้กันอยู่ เพื่อให้รองรับต่อการใช้งานได้จริงในอนาคตข้างหน้า

ดังนั้น ในอนาคตข้างหน้าการใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมจะไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว ที่ทำเฉพาะคนใดคนหนึ่ง แต่จะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยกันรักษา เพื่อให้วันข้างหน้าการใส่ใจและรักษาธรรมชาติเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ โดยเริ่มจากภาคในครัวเรือนและขยายไปยังพื้นที่ต่างๆ ในทุกภาคส่วนในการเลือกใช้นวัตกรรมให้คุ้มค่าไปพร้อมๆ กับการประหยัดต้นทุนในระยะยาวได้อีกด้วย

วันที่ 30 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจาก อ.กงหรา จ.พัทลุงว่า ในช่วงกลางดึกที่ผ่านมา ได้เกิดฝนกตกหนัก และทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่บ้านน้ำทรายแดง หมู่ที่ 2 ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง น้ำป่าไหลทะลักบ้านหมู่บ้านฉับพลัน ชาวบ้านที่นอนหลับอยู่ต่างสะดุ้งตื่น รีบเก็บข้าวของ ทรัพย์สินที่มีค่าหนีน้ำ

ขณะที่มีอีกหลายรายไม่สามารถเคลื่อนย้ายข้าวของได้ทันจนเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ที่นอน เครื่องใช้ไฟฟ้า เก้าอี้ อุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าต่างๆได้รับความเสียหายจำนวนมาก นางพรรณี อินยายศ อายุ 37 ปี อยู่บ้านเลขที่ 114 หมู่ที่ 2 ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง กล่าวว่า ขณะกำลังหลับ ฝนตกลงมาหนักมาก ประมาณ ตี 1 มีป่าน้ำไหลหลากเข้ามาในบ้าน น้ำมาเร็วมาก จึงได้เรียกให้เพื่อนบ้านมาช่วยขน แต่ขนได้บางส่วน ที่เหลือเสียงหายทั้งหมด

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงนี้หลังมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเสร็จสิ้นแล้วชาวบ้านในพื้นที่ ต.กระเบื้อง อ.ชุมพลบุรี โดยเฉพาะผู้ชายมักจะพากันนำ “อีจู้” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ดักจับปลาไหล ที่สานมาจากไม้ไผ่ โดยข้างในมีกระบอกไว้ใส่เหยื่อล่อปลาไหล ส่วนกระบอกด้านนอกมีรูไว้ให้ปลาไหลมุดลอดเข้าไปกินเหยื่อ ก่อนจะติดกับไม่สามารถออกมาจากอีจู้ได้

นอกจากนี้ ยังมีอีจู้อีกแบบซึ่งดัดแปลงมาจากตาข่าย ทำในลักษณะคล้ายกัน โดยไม่ต้องสานไม้ไผ่ให้เสียเวลาอีกด้วย ซึ่งแต่ละคนจะแบกอีจู้ไปใส่ตามแหล่งน้ำต่างๆคนละไม่ต่ำกว่า 15-20 กระบอกขึ้นไป โดยชาวบ้าน มักจะนำอีจู้ไปดักปลาไหล ในช่วงเวลาประมาณบ่ายสองโมง และไปเก็บอีกทีในช่วงเช้ามืดของทุกวัน แต่ละวันก็จะได้ปลาไหลกลับมาประกอบอาหาร และเหลือไว้ส่งขายให้ตลาดปลาในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 100 บาท สร้างรายได้เสริมให้อีกทาง และหลังจากชาวบ้านดักปลาไหลมาได้ ก็นำมาประกอบอาหารด้วยการต้มเปรต พร้อมกับให้นายสนอง ตะคุณรัมย์ นายก อบต.กระเบื้อง อ.ชุมพลบุรี และทีมงานร่วมชิมต้มเปรตกันอย่างเอร็ดอร่อยอีกด้วย

นายสำเพียง สรสิทธิ์ อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33 ม.1 บ.กระเบื้องใหญ่ ต.กระเบื้อง อ.ชุมพลบุรี ชาวบ้านที่ดักปลาไหล เปิดเผยว่า อุปกรณ์ดังกล่าวเรียกว่าอีจู้ ตนสานขึ้นมาเอง ปกติจะใส่ดักปลาไหลในช่วงหน้าหนาว หลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ วันหนึ่งๆจะได้ปลาไหลไม่เท่ากัน บางวันได้มากถึง 10 กิโลกรัม บางวันก็ไม่ถึง ชาวบ้านแถวนี้เขามักจะหากินแบบนี้กัน พอได้เยอะก็จะนำไปขายส่งที่ตลาดปลา บริเวณ 4 แยกทางพาด ต.กระเบื้อง อ.ชุมพลบุรี ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งปลาไหลสามารถทำได้หลายเมนู อาทิ ผัดเผ็ด ต้มเปรต ปิ้ง ยิ่งถ้าปิ้งเสร็จมาต้มส้ม ยิ่งแต่แซ่บ หอมอร่อยมาก แหล่งที่ปลาไหลชอบอยู่และชาวบ้านมักจะไปดักใส่ปลาไหล จะแหล่งน้ำที่มีน้ำไม่มากนัก เป็นป่าหญ้า ป่าบุ่งรกๆ

ด้าน นายบัญญัติ พะนิรัมย์ อายุ 54 ปี ชาวบ้านที่ดักปลาไหล อยู่บ้านเลขที่ 34 ม.1 บ.กระเบื้องใหญ่ ต.กระเบื้อง อ.ชุมพลบุรี กล่าวว่า ตนดักปลาไหลมา 20 ปีแล้ว ใส่มาทุกปี ใส่ในช่วงหน้าหนาว ช่วงเสร็จหน้านา ใส่ประมาณ 2 เดือน นี้ เพราะรสชาติจะมันอร่อย เวลาต้มจะเปื่อยดี ส่วนเหยื่อจะเป็นหอยเชอรี่ เอามาตำหรือทุบให้เปลือกแตก ผสมกับไส้เดือนสับนิดหน่อย พอให้มีกลิ่นล่อปลาไหล ซึ่งปลาไหลที่ถูกดักด้วยอีจู้ จะไม่ได้กินเหยื่อแต่อย่างใดและไม่ต้องขยะแขยง เพราะข้างในอีจู้จะมีกระบอกใส่อาหารอยู่ข้างในอีกชั้น เมื่อปลาไหลเข้าไปก็ไม่สามารถกินได้และก็ออกมาไม่ได้ ซึ่งปลาไหลนั้น สามารถดูดกินได้เฉพาะน้ำเท่านั้น ไม่เหมือนกับบั้งลันที่ทำจากท่อ พีวีซี เพราะเมื่อปลาไหลเข้าบั้งล้น จะสามารถกินเหยื่อได้โดยตรง เพราะไม่มีที่ดักกรอง หากเราจะนำไปทำอาหารก็ต้องให้ขังไว้สัก 2 คืนก่อน

นายสนอง ตะคุณรัมย์ นายก อบต.กระเบื้อง กล่าวว่า วิถีชีวิตของชาวบ้านตำบลกระเบื้อง ช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะพากันออกหาปลาไหล เพื่อนำไปขายในหมู่บ้านและตลาดปลาบ้านหนองพิมาน ตำบลกระเบื้อง ซึ่งส่วนมากชาวบ้านจะหาปลาไหลเป็นหลัก เพราะปลาไหลที่อำเภอชุมพลบุรีจะมีรสชาติอร่อย เนื้อนิ่มหอมมัน ส่วนเมนูอาหารที่ทำจากปลาไหลนั้น ก็มีหลายอย่าง เช่น ต้มเปรตปลาไหล หลามไหล ผัดเผ็ด หรือนำไปปิ้ง ย่าง ก็อร่อยเช่นกัน ในแต่ละวันชาวบ้านสามารถดักจับมาขาย มีรายได้เฉลี่ยแล้ววัน 7-8 กิโลกรัมต่อคน ส่งขายตลาดในกิโลกรัมละ 100 บาท มีรายได้ต่อวันประมาณเกือบหนึ่งพันบาท ขายดีเพราะผู้คนนิยมบริโภคปลาไหลกันในช่วงนี้

นอกจากนี้ ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกๆปี childbrides.org อำเภอชุมพลบุรี จะมีการจัดงานปลาไหลข้าวใหม่หอมมะลิของดีชุมพลบุรีขึ้น โดยมีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 ธ.ค. โดยวันที่ 16 ธ.ค. จะเป็นขบวนแห่และวันที่ 17 ธ.ค.ก็จะประกวดอาหารที่ทำจากปลาไหล หลากหลายเมนูเด็ด หากใครอยากจะมาชิมอาหารเมนูปลาไหล ก็สามารถมาลิ้มรสชาติได้หน้าที่ว่าการอำเภอชุมพลบุรีได้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในพื้นที่ อ.ชุมพลบุรี ในช่วงหน้าหนาวชาวบ้านในพื้นที่มักจะชอบดักจับปลาไหลมาทำกินเป็นประจำทุกปี จนกลายมาเป็นงานประจำปีของอำเภอชุมพลบุรี คืองาน”เทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ และงานกาชาด ประจำปี 2560” ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 ธ.ค.60 โดยปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 20 ที่บริเวณหน้าที่ว่าการ อ.ชุมพลบุรี

โดยภายในงานมีกิจกรรมต่างๆมากมาย อาทิ นิทรรศการของดีเมืองชุมพลบุรี ผลิตภัณฑ์ OTOP เช่น ผ้าไหม ข้าวหอมมะลิ ปลาไหล ขบวนแห่ประเพณีวิถีชีวิตของชาวชุมพลบุรี ขบวนรถตกแต่งด้วยเมล็ดข้าวหอมมะลิ และขบวนฟ้อนรำวัฒนธรรมประเพณี การแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น การประกวดเทพีปลาไหล การประกวดมะละกอใหญ่ ยาว หนัก การแสดงดนตรี หมอลำ การแสดงของนักเรียน การแข่งขันส้มตำ การประกวดข้าวหอมมะลิ การประกวดปลาไหลใหญ่ ยาว หนัก และการประกวดผ้าไหม โดยเฉพาะการแข่งขันจับปลาไหลนานาชาติ เป็นต้น

ญี่ปุ่นไล่เช็กบิลผู้ถือใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แต่ไม่ทำจริง ลุ้นนักลงทุนไทยเจอปัญหาหรือไม่ ด้านบีพีซีจีบอกเจอปัญหาสายส่งเต็มจ่อขายทิ้ง 40 MW หากต้องรอสายส่งนาน เผยเทรนด์ใหม่ตั้งแผงโซลาร์กระจายจุดเล็ก ๆ ลดข้อจำกัดเรื่องที่ดิน

ภายหลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นเดินหน้าส่งเสริมพลังงานทดแทนโดยวางเป้าหมายที่ 50,000 เมกะวัตต์ เพื่อทดแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหวและสึนามิ ขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นกำลังเจอปัญหาเหมือนกับประเทศไทยคือ การเร่ขายใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ และเตรียมมาตรการสำหรับโครงการที่ไม่คืบหน้า

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้หน่วยงานด้านพลังงานของญี่ปุ่นได้ส่งสัญญาณถึงผู้ประกอบการที่ได้ใบอนุญาตพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้รีบดำเนินการตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากมีการตรวจสอบแล้วพบว่ามีการนำใบอนุญาตมาขายในตลาดให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งหากยังไม่มีความคืบหน้า รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมดำเนินการ3 เรื่อง คือ 1) รวบรวมกำลังผลิตที่ยังไม่ดำเนินการ มาเปิดรับซื้อใหม่อีกครั้งในปี 2561 นอกจากนี้ยังเตรียมปรับลดราคาค่าไฟฟ้าที่จะรับซื้อให้ลดลงอีก จากเดิมที่ 24 เยน/หน่วย หรือประมาณ 8 บาท/หน่วย พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขด้านระบบสายส่งเพิ่มเติม โดยผู้ผลิตไฟฟ้าจะต้องยื่นประมูลขอใช้สายส่ง เนื่องจากญี่ปุ่นเริ่มมีปัญหาสายส่งไม่พอรองรับ

ทั้งนี้มีนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมาก ซึ่งบางส่วนได้พัฒนาโครงการและผลิตไฟฟ้าเข้าระบบบ้างแล้ว แต่อาจจะมีหลายโครงการที่อยู่ในระหว่างดำเนินการพัฒนา และอาจมีความสุ่มเสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้นักลงทุนที่เข้าไปพัฒนาโรงไฟฟ้ายังต้องเผชิญปัญหา คือ การหาพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ที่ “ยากขึ้น” เพราะพื้นที่ราบสำหรับวางแผงโซลาร์เซลล์ในขณะนี้เหลือน้อยมาก ซึ่งในกรณีที่พื้นที่ราบสลับกับภูเขาก็มีต้นทุนค่อนข้างสูง หากมีการปรับลดค่าไฟฟ้าลงอีก ยิ่งต้องบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

“ญี่ปุ่นเริ่มเช็กบิลโครงการที่ไม่เดินหน้าสำหรับโครงการโซลาร์เซลล์ สถานการณ์ก็คล้าย ๆ กับไทย ความจริงขั้นตอนก่อนที่จะได้ใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าของญี่ปุ่นก็ไม่ต่างจากไทยมาก ที่สำคัญอาจจะใช้เวลาน้อยกว่าด้วย ก็เริ่มตั้งแต่การขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การขออนุญาตใช้สายส่ง และหลังจากนั้นจึงจะได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นขั้นตอนสุดท้าย ส่วนประเด็นที่จะมีการปรับลดค่าไฟฟ้าในทุกปี ส่วนใหญ่นักลงทุนไทยรู้ข้อมูลเหล่านี้ และหาวิธีการลดต้นทุนแต่ต้องให้ได้มาตรฐานเหมือนเดิม เป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทายทางธุรกิจ”