จากประสบการณ์ตรงของคุณสุทธิชัยที่ทำแบบครัวเรือนต้องระวัง

สวมถุงมือทุกครั้ง ระวังเป็นพิเศษตอนหยดเชื้อเห็ดใส่ขวด ระวังเรื่องปนเปื้อนและเชื้อราดำ ขวดเพาะเห็ดต้องนำไปนึ่งฆ่าเชื้อก่อนถึงจะนำมาใช้ สำหรับเชื้อเห็ดนั้นหาซื้อได้ตามกลุ่มสมาชิกเพาะเห็ดถั่งเช่า

ทำเงินจากการขายเห็ดถั่งเช่าสีทอง

เห็ดถั่งเช่านี้จะขายทางออนไลน์หรือทางเฟซบุ๊ก และจากการบอกต่อของคนที่เคยซื้อไปรับประทาน ของคุณสุทธิชัยตอนนี้เริ่มทำมาได้ปีกว่าๆ มีลูกค้าประจำและสั่งจอง เขาซื่อสัตย์ต่อลูกค้า เขาไว้ใจและเชื่อถือก็จะมาตามซื้อ ราคาขายจะแบ่งเป็นกรัม ตั้งแต่ 10 กรัมขึ้นไป ปัจจุบันนี้มีลูกค้าทั่วประเทศ

ทางคุณสุทธิชัย สนใจที่จะเพาะเห็ดถั่งเช่าขายเป็นรายได้เสริมเพราะว่าใช้เนื้อที่น้อย “ผมใช้ห้องเล็กๆ ในบ้านแบ่งมาเพาะเห็ดถั่งเช่าสีทอง ประหยัดค่าใช้จ่ายและยังได้ดูแลบ้านไปด้วยโดยทำคนเดียวได้ ถั่งเช่ายังมีราคาสูง ถึงกิโลกรัมละ 60,000 บาท ขายกรัมละ 60 บาท ลูกค้าส่วนใหญ่จะสั่งเป็นซอง ซองละ 10-20 กรัม ราคาขายส่งเป็นแคปซูล แคปซูลละ 10 บาท บรรจุแคปซูลละ 500 มิลลิกรัม ราคาเห็ดอบแห้งถือว่าคุ้มครับ” เขาพูดถึงการตลาด

คุณภาพของเห็ดถั่งเช่าแต่ละคนเพาะเห็ดไม่เหมือนกัน บางที่ก็สีเหลืองทองสด บางที่ก็สีเหลืองเข้ม แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวยาที่อยู่ในตัวเห็ดและวัสดุเพาะ ความคงที่ของอุณหภูมิ จะรู้ได้ก็จากลูกค้าซื้อไปรับประทานแล้วเกิดปฏิกิริยาขึ้นกับตัวเอง ว่ารู้สึกอย่างไรหลังจากที่รับประทานไปแล้ว นั่นแหละเป็นเหตุผลที่เขามีลูกค้าเพิ่มตลอด และที่สำคัญคือความซื่อสัตย์ที่มีต่อลูกค้า สำคัญมากต่อการทำการตลาด

สายพันธุ์เห็ดถั่งเช่าสีทอง

ที่เพาะได้ในเมืองไทย

จากการวิจัยของนักวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รายงานไว้ว่า เห็ดถั่งเช่ามีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีตัวยามากหรือน้อยไม่เหมือนกัน แต่เห็ดถั่งเช่าสายพันธุ์ที่เพาะได้ในเมืองไทยเรียกตรงๆ ว่าเห็ดถั่งเช่าสีทอง มีตัวยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกว่าสายพันธุ์อื่น และเป็นสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในเมืองไทย

“คำว่าอาหารเสริมหรือสมุนไพร โดยเฉพาะเห็ดถั่งเช่าสีทอง ถ้าได้ยินทุกคนมองว่าเป็นของดี แต่ติดที่ว่ามีราคาแพง ผมจึงเอาความคิดเห็นตัวนี้มาคิดและหาวิธีทำให้ต้นทุนในการทำให้ถูกที่สุด พยายามที่จะให้คนมีรายได้น้อยจับต้องได้ ได้บริโภคสมุนไพรที่เขาคิดว่ามีประโยชน์ทั้งทางยาและนำมาประกอบอาหารได้ด้วย ผมจึงไปศึกษาเรียนรู้ก็ทำได้ การเพาะไม่ยากอย่างที่คิด

เพราะว่าหัวเชื้อของเห็ดถั่งเช่า ทางนักวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นต้นคิดและผลิตมาขาย เพียงแต่เรานำเอาหัวเชื้อนั้นมาเพาะต่อยอด ก็ได้เห็ดถั่งเช่าสีทอง ถ้าต้นทุนน้อยอย่างผมผลิตเพียงแค่นี้ขั้นต่ำก็ได้ 4 กิโลกรัม แต่อบแห้งแล้วจะเหลือ 1 กิโลกรัม จะทำให้ได้เห็ดที่มีความชื้นน้อยเก็บไว้ได้นาน ความแห้งระดับนี้จะรักษาคุณภาพเห็ดไว้ได้อย่างดี สามารถนำไปชงดื่มเป็นชาเห็ดถั่งเช่าสีทองและนำไปใส่ต้มจืดได้ โดยจะคงความหอมธรรมชาติของกลิ่นถั่งเช่า” คุณสุทธิชัย อธิบาย

สำหรับการเพาะเห็ดถั่งเช่าสีทอง นั้นมีอยู่หลายสูตรด้วยกันตามอินเตอร์เน็ต แต่ยังไงก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ทุกสูตรมีเหมือนกันก็คือต้องเพาะเห็ดถั่งเช่าสีทองนี้ในที่ที่อุณหภูมิต่ำ มีอากาศเย็น และสามารถใช้ขวดโหลในการเพาะได้เนื่องจากสามารถเก็บความชื้นได้ดี ทางประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทยเราจึงต้องเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองในตู้เย็น ซึ่งมีการวิจัยแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีตัวยาสูงและอาจจะดีกว่าขึ้นเองตามธรรมชาติด้วยซ้ำไปเพราะว่าในตู้เย็นมีการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่นั่นเอง

ถั่งเช่าสีทองเป็นเห็ดที่มีสรรพคุณทางยาสูง

คำว่าถั่งเช่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นที่นิยมของชาวจีนมาช้านาน ชาวจีนถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คำว่ายาอายุวัฒนะในชาวจีนแล้ว มักจะมาในรูปของอาหารจีนเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารประเภทตุ๋น ที่มักจะผสมโสม และที่ขาดไม่ได้คือถั่งเช่า เห็ดถั่งเช่าสีทอง ตามธรรมชาติจะอยู่ที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็นจัด เช่น หิมาลัย ทิเบต ภูฏาน เป็นต้น

ต้องขอขอบคุณนักวิชาการคนไทยหลายๆ ท่านที่ได้ทดลองและวิจัยจนได้เห็ดถั่งเช่าซึ่งมีหลายพันธุ์ในโลกนี้ แต่พันธุ์ที่มีคุณค่าทางยาสูงสามารถเพาะได้ในเมืองไทยคือ เห็ดถั่งเช่าสีทอง (cordycepps)

ซึ่งตามต้นกำเนิดธรรมชาติของเห็ดถั่งเช่านั้นส่วนใหญ่จะพบได้บนที่ราบสูงของประเทศจีน เช่น มณฑลชิงไห่ รวมถึงเทือกเขาหิมาลัยของทิเบต แต่ยังไงก็ตาม เนื่องจากเห็ดสมุนไพรตัวถั่งเช่านั้นมีสรรพคุณซึ่งเป็นประโยชน์จนใครๆ ก็ต้องการซื้อ จึงมีการวิจัยและเพาะปลูกกันเองภายในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ โดยที่พยายามรักษาสรรพคุณทางยาไว้ให้ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด
ถั่งเช่าสีทอง ซึ่งเป็นเห็ดที่มาจากการเพาะในห้องแล็บขึ้น โดยเห็ดถั่งเช่าสีทองนี้ถือเป็นเห็ดตระกูลเดียวกับถั่งเช่าทิเบตครับ แต่คนละสายพันธุ์หรือสปีชีส์ ซึ่ง ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดได้พูดถึงถั่งเช่าสีทองไว้ว่า “เห็ดถั่งเช่าสีทองก็เหมือนเห็ดถั่งเช่าแท้ แต่ไม่ได้เกิดในระดับสูงกว่าน้ำทะเล และมันโตไวกว่า”

ถั่งเช่า แพทย์จีนโบราณค้นพบและใช้สมุนไพรในการรักษาและบำรุงร่างกายมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งยังจัดเป็นเครื่องเสวยขององค์จักรพรรดิและราชวงศ์มานับศตวรรษ นับว่า “ถั่งเช่า” (Cordyceps) เป็นยาแผนโบราณที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตำราแพทย์ของจีนมาช้านาน

สารสำคัญในถั่งเช่า

ถั่งเช่าอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลทางชีวภาพ เช่น โมโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) ไดแซ็กคาไรด์ (Disaccharides) โพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) เบต้า-กลูแคน (Beta glucan) แมนนิทอล (Mannitol) กาแล็กโทส (Galactose) อะดีโนซีน (Adenosine) คอร์ไดเซปิน (Cordycepin) กรดคอร์ไดเซปิก (Cordycepic acid) กรดอะมิโน (Amino acid) โปรตีน (Protein) สเตอรอล (Sterol) วิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก คอปเปอร์ แมงกานีส สังกะสี ฟอสฟอรัส และซีลีเนียม เป็นต้น

สรรพคุณของถั่งเช่า

เห็ดถั่งเช่า มีสรรพคุณมากมาย แต่ขอนำมาเสนอเพียงบางส่วน ดังนี้

เพิ่มภูมิต้านทานโรค ทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยในด้านอารมณ์ ช่วยระงับประสาท ทำให้จิตใจสงบ ลดอาการหงุดหงิดง่าย
ช่วยบำรุงหลอดเลือด
ช่วยบำรุงปอด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก
ช่วยในเรื่องระบบทางเดินหายใจ
ช่วยบรรเทาและรักษาอาการของโรคหอบหืด
ช่วยละลายเสมหะ หยุดอาการเลือดออกทางเสมหะ

แตงร้าน เป็นพืชที่ส่วนมากจะนำผลมากินสดเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผักเครื่องเคียงที่กินคู่กับน้ำพริก หรือเป็นผักเคียงที่เข้าได้กับอาหารหลากหลายเมนู นอกจากนี้ ยังมีการนำมาแปรรูปในรูปแบบการดอง ตลอดไปจนถึงนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมความงามได้อีกด้วย

จากความต้องการของผู้บริโภคที่ยังนิยมกินอยู่นั้น จึงทำให้ผลผลิตมีความต้องการของตลาด จึงทำให้ คุณเอกนรินทร์ คงแท่น อยู่บ้านเลขที่ 143 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มองเห็นถึงโอกาสของพืชชนิดนี้ เพราะเป็นพืชล้มลุก ออกผลผลิตไว จึงทำให้สามารถเก็บผลผลิตได้เร็วตามไปด้วย เกษตรกรผู้ปลูกจึงมีรายได้ทันใช้จ่ายไม่ต้องรอผลผลิตนานเป็นแรมปีเหมือนพืชชนิดอื่นๆ อีกด้วย

คุณเอกนรินทร์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานอยู่ที่บริษัทเอกชนเกี่ยวกับทางด้านช่าง ต่อมามีเหตุให้ต้องกลับมาอยู่บ้านเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยในช่วงนั้นก็ได้มีสวนยางพาราเป็นสิ่งที่ครอบครัวทำเป็นอาชีพกันมาอย่างยาวนาน เมื่อประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของราคา เขาถึงได้คิดปลูกพืชที่มีอายุสั้นมาปลูก เพื่อเพิ่มรายได้ให้มีทันใช้กับรายจ่ายในชีวิตประจำวัน

“พอเริ่มที่จะปลูกพืชชนิดอื่น ก็เลยมีความคิดที่อยากจะปลูกพืชล้มลุก เพราะสมัยที่เด็กๆ ก็เคยเห็นแม่ปลูกไว้กินในครัวเรือน ไม่ได้ทำจริงจังอะไร เราก็คิดว่าพืชชนิดนี้ น่าจะใช้เวลาสั้นกว่าทำอย่างอื่น ก็เลยเริ่มที่จะมาปลูกแบบนี้ให้มากขึ้น ก็จะมีแตงโม ฟักทอง แตงร้าน พอปลูกมาได้สักระยะ แตงร้านตลาดมีความต้องการ ก็เลยปลูกแตงร้านตั้งแต่นั้นมา” คุณเอกนรินทร์ เล่าถึงความเป็นมา

จากสิ่งที่ได้พบเห็นตั้งแต่ครั้งเป็นเด็กที่ดูจากพ่อแม่ทำ จึงทำให้การปลูกพืชล้มลุกเป็นสิ่งที่เขาทำแล้วประสบผลสำเร็จ และผลิตสินค้าตามที่ตลาดต้องการอีกด้วย ในขั้นตอนของการเตรียมแปลงนั้น คุณเอกนรินทร์ บอกว่า จะใช้รถไถพรวนหน้าดินก่อน โดยยกหน้าดินให้เป็นสันแปลงสูงขึ้นจากหน้าดินเล็กน้อย เพื่อที่เวลาฝนตกมากๆ น้ำก็จะไม่ท่วมบริเวณแปลงที่ปลูกแตงร้าน ในระหว่างที่เตรียมแปลงจะนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมลงไปในแปลงด้วย เพื่อให้ดินมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

จากนั้นนำต้นกล้าของแตงร้านที่เพาะไว้ มาปลูกลงในแปลงที่เตรียมจนเสร็จแล้ว ซึ่งต้นกล้าที่นำมาปลูกจะมีอายุประมาณ 5-7 วัน ปลูกต้นกล้าแตงร้านให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 80-100 เซนติเมตร และระยะแถว 1.50 เมตร พร้อมทั้งภายในแปลงจะสร้างร้านสำหรับให้ต้นเลื้อยขึ้นไปในระหว่างที่เจริญเติบโต จากนั้นรดน้ำดูแลตามปกติ เมื่อแตงร้านเริ่มมีอายุประมาณ 10 วัน จะใส่ปุ๋ยและฉีดฮอร์โมนเสริมเข้าไปให้ต้นมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

“พอได้อายุที่กำหนด ก็ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 เพื่อบำรุงต้นและใบ จากนั้นนับไปอีก 15 วัน ก็จะเปลี่ยนเป็นใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 เพื่อเตรียมพร้อมให้พืชแทงตาดอก จากนั้นก็รอเก็บผลผลิต เพราะแตงร้านจะใช้เวลาประมาณ 35-40 วัน ก็จะมีผลแตงชุดแรกออกมาให้เก็บขายได้ โดยหลังจากที่เก็บชุดแรกไปแล้ว ก็จะใส่ปุ๋ยบำรุงเข้าไปทุก 7 วันครั้ง ซึ่งแตงร้านที่ปลูกจะเก็บขายได้ประมาณ 30 ครั้ง จากนั้นก็จะถอนทิ้งแล้วเริ่มปลูกใหม่ทั้งหมด” คุณเอกนรินทร์ บอก

ซึ่งการส่งจำหน่ายให้กับตลาดนั้น คุณเอกนรินทร์ บอกว่า จะส่งให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่อยู่ตามตลาดแถวบ้านก่อน ต่อมาเมื่อเป็นที่รู้จักของลูกค้ามากขึ้น ก็จะเริ่มมีลูกค้ามาติดต่อขอรับซื้อถึงที่หน้าสวน โดยให้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 10-18 บาท ซึ่งราคาสามารถขึ้นลงได้ตามกลไกตลาด

“แตงร้านต้องบอกก่อนว่า ราคาสามารถขึ้นลงได้ตามกลไกลของตลาด ช่วงที่ราคาต่ำสุดเคยขายได้อยู่กิโลกรัมละ 5 บาท ขึ้นไปสูงสุดก็กิโลกรัมละ 18 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาแล้ว ก็ยังถือว่ายังได้ผลกำไรอยู่ แม้ราคาจะลงไปต่ำสุด เพราะการลงทุนเราลงทุนทีเดียว ไม้คานที่ทำร้านก็อยู่ได้เป็น 3 ปี อะไรที่เก่าเราก็ค่อยๆ เปลี่ยน ก็ทำให้ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรมาก เท่ากับการปลูกแต่ละครั้งไม่ได้ลงทุนเยอะ ก็ยังสามารถมีกำไรได้ แม้จะเป็นช่วงได้ราคาน้อยก็ตาม” คุณเอกรินทร์ บอก

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกแตงร้านเป็นอาชีพ คุณเอกนรินทร์ แนะนำว่า สิ่งแรกที่ต้องมีคือเรื่องของการมีใจรัก เพราะถ้ามีใจรักในด้านการทำเกษตรแล้ว ไม่ว่าจะปลูกพืชผักชนิดไหนก็แล้วแต่ ก็สามารถประสบผลสำเร็จได้แน่นอน และที่สำคัญหมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ผลผลิตทางด้านการเกษตรก็จะให้ผลกำไรตอบแทนกลับมาได้อย่างแน่นอน

พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีปัญหาที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกันหลายมิติ โดยเฉพาะการทำเกษตรเชิงเดี่ยวและการไม่มีงานทำ ทำให้ราษฎรมีฐานะยากจน และส่งผลกระทบถึงความมั่นคง มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จึงเข้ามาดำเนินการสร้างต้นแบบการพัฒนาที่เหมาะสมและเป็นไปตามความต้องการของราษฎร ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ ตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิต พัฒนาอาชีพเดิมและส่งเสริมอาชีพใหม่ โดยเน้นส่งเสริมพืชเกษตรและสัตว์เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ตั้งแต่พัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ด้วยการให้ความรู้กับเกษตรกร ส่งเสริมและจัดหาตลาด รวมทั้งการรับซื้อเพื่อสร้างราคานำตลาด

หนึ่งในโครงการที่มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ดำเนินการคือ ร่วมกับจังหวัดยะลาพัฒนาโครงการทุเรียนซิตี้ ส่งเสริมให้เกษตรกรทำทุเรียนคุณภาพ ในท้องที่อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เมื่อปี 2561 ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 18 คน ต้นทุเรียน 335 ต้น ผลผลิต 48 ตัน เกษตรกรมีรายได้รวม 2,337,413 บาท เฉลี่ยคนละ 129,856 บาท เฉลี่ยต่อต้น 8,578 บาท จากเดิมที่ขายได้ 2,350 บาท

ความสำเร็จจากโครงการนำร่องในปี 2561 ทำให้มีการขยายการดำเนินงานครอบคลุมทั้ง 3 จังหวัด 13 อำเภอ 36 ตำบล โดยใช้ชื่อว่า “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพตามศาสตร์พระราชาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ทุเรียนคุณภาพ)” มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 664 คน จำนวนต้น 22,508 ต้น ผลผลิต 1,699 ตัน เกษตรกรมีรายได้ 80 ล้านบาท ในปี 2563 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 645 คน จำนวนต้น 29,201 ต้น ผลผลิต 2,040 ตัน รายได้ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2563 จำนวน 60 ล้านบาท

ปิดทองหลังพระฯ ยังสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับอาสาสมัครทุเรียนจำนวน 104 คน ได้เรียนรู้วิธีการผลิตทุเรียนคุณภาพในขั้นตอนต่างๆ จากปราชญ์ทั้งในพื้นที่ จชต. และจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกทุเรียนคุณภาพที่สำคัญของประเทศไทย ทั้ง 4 ระยะ ตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยวและการจำหน่าย เมื่อผ่านการเรียนรู้แต่ละระยะ อาสาสมัครทุเรียนจะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย

การดำเนินโครงการเริ่มจากการคัดเลือกผู้ร่วมโครงการ เกษตรกรสมัครใจและมีความพร้อมในการปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการ มีการจัดการแปลงแบบประณีต มีระบบน้ำในแปลง และเกษตรกรปฏิบัติตามคู่มือการผลิตทุเรียนคุณภาพอย่างเคร่งครัด โดยโครงการจะประเมินแปลงพิจารณาความสมบูรณ์ของสภาพต้นทุเรียนที่เข้าร่วม ได้แก่ โคนต้นมีความสะอาด มีการจัดการสวน ตัดหญ้าใต้โคนต้น ต้นทุเรียนมีทรงพุ่มตามเกณฑ์ เกษตรกรมีการตัดแต่งกิ่งให้สามารถจัดการแปลงได้ง่าย สภาพต้น กิ่ง จำนวนใบแสดงความสมบูรณ์ตามระยะการเจริญเติบโต มีน้ำต้นทุนสามารถกระจายน้ำสู่ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดทั้งปี ฯลฯ

การดำเนินการดังกล่าว ต้องมีการเตรียมการอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกเกษตรกร การให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพ การคัดเลือกอาสาทุเรียนที่จะทำหน้าที่ให้การส่งเสริม สนับสนุน และเตรียมแผนการดำเนินงานด้านอื่นตามศาสตร์พระราชา ตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ ดิน องค์ความรู้ทั้งการผลิต โรค แมลง การเก็บเกี่ยว ฯลฯ ร่วมถึงหน่วยงานราชการตั้งแต่ระดับหน่วยงาน ตำบล อำเภอ จังหวัด รวมถึงภาคีเครือข่ายร่วม ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเสียสละทั้งเวลาและแรงใจเข้ามาส่งเสริมให้ความรู้แก่โครงการ ทั้งด้านความรู้วิชาการและเทคนิคต่าง ๆ ด้านการผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพ สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ

เป้าหมายสุดท้ายในการพัฒนาคือ มุ่งให้เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มดำเนินการได้ด้วยตนเอง หลังจากปิดทองหลังพระฯ เป็นพี่เลี้ยงมา 3 ปี เพื่อให้เกิดความยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ เทคโนโลยีชาวบ้านจัดงานใหญ่ประจำปี! “นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรกรไทยยุค 5G” ในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ที่ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ข่าวสด จำกัด แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการสัมมนาฟรี โดยผ่านการลงทะเบียน 2 ช่องทาง “ชันโรง” หลายท่านรู้จัก แต่ก็อาจมีอีกหลายท่านที่ไม่รู้จัก บางท่านไม่รู้จักชันโรง แต่รู้จัก ขี้สูด ติ้ง ขี้ตังนี อุง หรือ “ผึ้งจิ๋ว” ซึ่งก็ล้วนเป็นชื่อของชันโรงทั้งสิ้น เพื่อให้ทุกท่านได้รู้จักกับชันโรง ทราบและเข้าใจถึงภารกิจอันยิ่งใหญ่ของแมลงเล็กๆ ที่มีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเป็นตัวการในการผสมเกสรให้พืชพันธุ์ต่างๆ ทำให้พืชติดผลมากขึ้น เรามาทำความรู้จักกับแมลงชนิดนี้กันดู

สำหรับ “ชันโรง” มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น คนเหนือเรียก ขี้ตังนี ขี้ตัวนี หรือ ขี้ย้าแดง ภาคใต้เรียก แมลงอุง ทางอีสานเรียก แมลงขี้สูด ภาคตะวันออกเรียก ตัวตุ้งติ้ง “ชันโรงหรือผึ้งจิ๋ว” (Stingless bees) คือ แมลงผสมเกสรตัวเล็กๆ จัดอยู่ในจำพวกผึ้งแต่ไม่มีเหล็กไนเหมือนผึ้ง “ชันโรง” มีวิวัฒนาการสูงกว่าผึ้งป่าและผึ้งหึ่ง นอกจากนี้ ชันโรงยังให้น้ำผึ้งอีกด้วย น้ำผึ้งและเกสรของชันโรงมีราคาแพงกว่าน้ำผึ้งทั่วๆ ไป เนื่องจากเชื่อกันว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า เพราะรังของชันโรงหายาก และมีปริมาณน้ำผึ้งน้อย

ชันโรงนอกจากจะให้น้ำผึ้งที่มีคุณค่าทางโภชนาการแล้วยังช่วยผสมเกสรพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ชันโรงมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงสามารถบินลอยตัวอยู่ได้นานโดยไม่จับเกาะอะไร เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะกล้ามเนื้อส่วนอกแข็งแรงทำให้กระพือปีกได้นานบินร่อนลงเก็บเกสร และดูดน้ำหวานเป็นไปอย่างนุ่มนวลไม่ทำให้กลีบดอกช้ำ ชันโรงมีชุกชุมทุกภาคของประเทศไทย ชันโรงช่วยผสมเกสรเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจต่างๆ ได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะชันโรงมีพฤติกรรมการเก็บเกสรดอกไม้ 80 เปอร์เซ็นต์ เก็บ

น้ำหวาน 20 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ผึ้งมีอัตราส่วนเก็บดอกไม้และน้ำหวาน 50 : 50 เปอร์เซ็นต์ และมีความมั่นคงในการตอมดอกไม้อย่างสม่ำเสมอมีนิสัยไม่ชอบเลือก

ชันโรง เป็นผึ้งสังคมพื้นเมืองของประเทศไทยที่ไม่มีเหล็กไน อาศัยในโพรงไม้ โพรงใต้ดินและโพรงเทียมตามบ้านเรือน และที่เกิดจากมนุษย์ทำขึ้น หรือเกิดจากวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ภาชนะใช้สอยแล้วตั้งทิ้งไว้ ที่มีสภาพเป็นโพรงมืด เมื่อเข้าไปอาศัยแล้วสามารถบินเข้าออกได้ ชันโรงมีบทบาทด้านการผสมเกสรให้พืชผลทางการเกษตร ทำให้พืชที่ต้องใช้ผึ้งเป็นแมลงผสมเกสรติดผลมากขึ้น ชันโรงเป็นผึ้งที่สร้างรังถาวร อาศัยในรังนานนับสิบปี ปกติไม่มีนิสัยทิ้งรัง ไม่เลือกตอมดอกไม้ มีระยะทางบินหากินที่จำกัด และมีพฤติกรรมเก็บเกสรมากกว่าน้ำหวาน

สรุปว่าชันโรงหรือผึ้งจิ๋วมีนิสัยแตกต่างจากผึ้งพันธุ์ ผึ้งหลวง ผึ้งมิ้ม และผึ้งโพรง ที่สำคัญคือ ชันโรงแพร่กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัดของประเทศไทย วงจรชีวิตของชันโรง มี 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย (เหมือนกับผึ้ง) นางพญาของชันโรง จะวางไข่ในหลอดรวง โดยมีชันโรงวรรณะงาน คอยเลี้ยงตัวอ่อนจนพัฒนาเป็นดักแด้ และเป็นตัวเต็มวัย ไข่จะพัฒนาไปเป็นชันโรงวรรณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าได้รับการผสมจากน้ำเชื้อหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะพัฒนาไปเป็นชันโรงเพศผู้ แต่ถ้าได้รับการผสมก็จะพัฒนาไปเป็นชันโรงเพศเมีย คือ วรรณะงาน และนางพญา

ประเภทของชันโรงที่นำมาเพาะเลี้ยงเป็นการค้าในประเทศไทยคือ กลุ่มชันโรงตัวเล็กขนาดไม่เกิน 4 มม. มีประมาณ 3- 4 ชนิด เช่น ชันโรงขนเงินหรือผึ้งจิ๋วขนเงิน เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย พบว่าชันโรงมีมากกว่า 26 ชนิด การสำรวจและจำแนกชนิดของชันโรงในภาคใต้ 14 จังหวัด (ยกเว้น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) พบจำนวน 22 ชนิด ชันโรงส่วนมากพบแพร่กระจายอาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น และป่าร้อนแห้งแล้ง ป่าพรุ ป่าเมฆ และอื่นๆ

ชันโรง เป็นผึ้งสังคมเช่นเดียวกับผึ้งรวง อยู่เป็นสังคม แบ่งหน้าที่กันทำงานเช่นเดียวกับผึ้งรวง แต่สรีระ ระบบร่างกาย อวัยวะ และต่อมต่างๆ มีความแตกต่างจากผึ้งรวง และมีบางส่วนที่ล้าหลัง ทำให้ระบบการทำงานแตกต่างกัน เช่น การสร้างรัง เป็นต้น ด้วยการดำรงชีวิตในรัง การสร้างรังแตกต่างกัน ย่อมได้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ชันโรงไม่มีการผลิตนมผึ้ง แต่จะผลิตเกสร และน้ำหวานได้เหมือนกัน ชันโรงไม่ได้มีอยู่ในเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ในทวีปแอฟริกาใต้และอเมริกากลางก็มีงานวิจัยเกี่ยวกับชันโรงมากมาย เช่น การศึกษาคุณภาพของน้ำผึ้งชันโรงที่เริ่มหมักบูดระยะแรกว่ามีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหาร และระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชันโรงในประเทศไทยยังมีน้อยไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชันโรงเหมือนในอเมริกาใต้และอเมริกากลาง

ในต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถเพาะเลี้ยงชันโรงได้ เพราะชันโรงไม่สามารถทนต่อฤดูหนาว คนญี่ปุ่นจึงต้องสั่งน้ำผึ้งชันโรงจากประเทศไทยหรือจากประเทศอื่นๆ เช่น เม็กซิโก ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นคู่แข่งกับประเทศไทย ดังนั้น จึงต้องรีบพัฒนาการเลี้ยง การแปรรูปและการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการผลิตน้ำผึ้งหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของชันโรงให้เร็วที่สุด

การเลี้ยงชันโรงในประเทศไทยนั้น ยังไม่แพร่หลายเหมือนการเลี้ยงผึ้ง แต่ก็มีการเลี้ยงเพื่อใช้เป็นแมลงผสมเกสรอยู่บ้างในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เช่น ทุเรียน เงาะ และไม้ผลต่างๆ ชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรที่ไม่มีความเฉพาะเจาะจงกับชนิดของดอกไม้ สามารถผสมเกสรพืชได้หลากหลายชนิดมากกว่าผึ้งพันธุ์ ง่ายต่อการจัดการเพราะไม่มีเหล็กไนจึงไม่มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ระยะทางในการบินไปหาอาหารไม่ไกลจากรังมากนัก

ผลิตภัณฑ์จากชันโรงหรือผึ้งจิ๋ว สมัคร Royal Online ชันโรงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ คือ เป็นผึ้งที่ให้น้ำผึ้งที่มีราคาแพง ชันโรงเป็นผึ้งชนิดเดียวที่สามารถผลิตน้ำผึ้งอินทรีย์ น้ำผึ้งที่ได้จากชันโรงเป็นน้ำผึ้งคุณภาพ เพราะเชื่อกันว่าเป็นน้ำผึ้งสมุนไพร เนื่องจากมีส่วนผสมของชันผึ้ง (พรอพอลิส) ที่ชันโรงนำมาสร้างเป็นถ้วยเก็บน้ำผึ้ง จึงมีส่วนผสมของชันผึ้งละลายอยู่ในน้ำผึ้งด้วย และนอกจากได้น้ำผึ้งที่มีคุณค่าแล้วยังมีผลิตภัณฑ์ล้ำค่าที่สำคัญ คือ ชันผึ้งหรือพรอพอลิส พรอพอลิสนอกจากได้จากผึ้งแล้วยังได้จากชันโรงซึ่งจะมีปริมาณมากกว่าที่ได้จากผึ้ง ผลิตภัณฑ์จากชันผึ้งหรือพรอพอลิส สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เช่น

– ใช้ในทางการแพทย์นำมาสกัดสารที่ต่อต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย เป็นส่วนประกอบในการทำยารักษาโรคมนุษย์และสัตว์ ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ใช้ผสมเป็นยารักษาโรคทางหู คอ จมูก รักษาโรคผิวหนัง
– ใช้เป็นส่วนผสมในการทำเครื่องสำอาง เพื่อรักษาโรคผิวหนัง และเสริมสร้างเซลล์ผิวหนังที่รับผลกระทบจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลาย

– ใช้ทำยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบโลหิต การหายใจโรคฟัน และโรคผิวหนัง เช่น น้ำร้อนลวก เกิดบาดแผล เป็นต้น – ใช้เป็นสมุนไพร มีการใช้ชันผึ้งเป็นสมุนไพรในทวีปยุโร และแอฟริกาในการสมานแผล ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สมัยอียิปต์ กรีกและโรมัน ในศตวรรตที่ 12 มีการนำชันผึ้งมารักษาโรคฟันผุและเจ็บคอ

– ใช้ในเทคโนโลยีการอาหาร โดยนำชันผึ้งมาเป็นส่วนผสมในการถนอมอาหาร ยับยั้งการหมักบูดที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียในอาหาร นอกจากนี้ ยังนำมาใช้ในโภชนาการอาหารสัตว์ โดยผสมในอาหารสัตว์ได้

ชันโรง จะเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ ไม่เลือกชอบดอกไม้เฉพาะชนิดแต่สำหรับผึ้งจะเลือกตอมเฉพาะดอกไม้ที่ชอบ และต้องมีดอกไม้จำนวนมากๆ จึงจะตอม สรุป คือ ไม่สามารถจัดการให้ผึ้งตอมเฉพาะพืชที่เราต้องการได้ แต่ชันโรงวางไว้ตรงไหนก็จะหากินอยู่ตรงบริเวณนั้นเอง

ชันโรงไม่มีนิสัยรังเกียจของเก่าหรือของใช้แล้ว ชันโรงจะตอมดอกไม้ได้ทุกดอกแม้ว่าดอกไม้นั้นจะเคยถูกแมลงผสมเกสรตัวอื่นมาตอมแล้ว และทิ้งกลิ่นไว้ก็ตามในขณะที่ผึ้งจะไม่ตอมดอกไม้ที่มีกลิ่นของผึ้งชนิดอื่นหรือรังอื่นลงตอมไว้ก่อนเลย ชันโรงเป็นแมลงที่ชอบเก็บเกสรมีพฤติกรรมตอมดอกไม้ที่ละเอียดนุ่มนวลจึงผสมเกสรได้ดีแตกต่างจากผึ้งบางชนิดที่เลือกดูดแต่น้ำหวานไม่สนใจเกสร ทำให้การถ่ายละอองเกสรเพื่อการผสมเกสรเกิดได้น้อย