จากประโยชน์ของฤทธิ์ลดความดันโลหิตของกระเจี๊ยบ

ที่เราต้องการอยู่แล้ว ยังมีข้อมูลที่สนับสนุนการใช้ในการรักษาปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เราเสี่ยงต่อโรคไตได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม อย่าลืมที่จะดูแลร่างกายด้วยการลดอาหารประเภทไขมันและออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 ครั้ง เพียงเท่านี้ก็เพียงพอให้เรามีสุขภาพดีแข็งแรงแล้ว

ขอบคุณข้อมูล จาก ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ คอลัมน์ พืชใกล้ตัว อภัยภูเบศรสาร มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

อุตสาหกรรมแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ประเทศไทยเป็นผู้นำ อันดับ 1 ของเอเชีย ไม้สักธรรมชาติและสวนป่าของพม่าที่ผลิตออกมาได้ ประเทศไทยเป็นผู้ซื้อ อันดับ 1 เฉลี่ยปีละ 150,000-200,000 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ เนื่องจากโรงงานไม้สักในประเทศไทยออกแบบไว้สำหรับไม้ขนาดใหญ่จากธรรมชาติ

เกษตรกรที่ปลูกไม้สักจำเป็นต้องจัดการ-บำรุงสวนสักให้ถูกหลักวิชาวนวัฒนวิทยาและพืชสวน จึงจะสามารถผลิตไม้สักขนาดโต 110 เซนติเมตร ความยาวซุงท่อนแรก 6.50 เมตร ในอายุ 15-16 ปี ได้ เกษตรกรไทยเก่งที่สุดในโลก เพราะผลิตสินค้าล้นตลาดจนราคาตกต่ำทุกชนิด ยกเว้นแต่ไม้สักเท่านั้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและไม้สักในสวนป่า

ไม้สักในสวนป่าของเกษตรกรจะเจริญเติบโตดีมากแค่ไหน ขึ้นกับปัจจัย 3 ประการ คือ
1. คุณภาพ ดิน ฟ้า อากาศ ของพื้นที่ปลูก
2. กรรมพันธุ์ของต้นสักที่ใช้ปลูก
3. การจัดการดูแลสวนสักที่เหมาะสม

การเจริญเติบโตของไม้สักในธรรมชาติและสวนป่าที่ดีมากนั้น ได้มีผู้ศึกษาและรายงานไว้ ดังนี้ 1. ต้นสักจะเจริญเติบโตได้ดีในลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเป็นหุบเขาถึงเนินเขา มีความลาดชัน (2-25%) บริเวณไหล่เขา ริมฝั่งน้ำและริมตลิ่ง ซึ่งน้ำไม่ท่วมขังก็ขึ้นได้ดี (ดินทรายจัด ดินเหนียว ดินลูกรัง จะเจริญเติบโตไม่ดี)

2. ไม้สักจะเจริญเติบโตดี ในดินที่มีความร่วนซุยและชุ่มชื้นดี ได้แก่ ดินร่วนปนทราย (Sandy loam) ถึงดินร่วนเหนียวปนทราย (Sandy clay loam) ซึ่งมีการระบายน้ำดีและดินลึก (ดินชั้น A ลึกมากกว่า 1.00 เมตร)

3. ไม้สักเจริญเติบโตได้ดี ในดินที่มีสภาพเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝนที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพเนื้อไม้ อยู่ระหว่าง 1,500-1,600 มิลลิเมตร ต่อปี มีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนทำให้มีเนื้อไม้ มีลวดลายวงปีชัดเจน ระดับความสูงของพื้นที่ไม่เกิน 700 เมตร จากระดับน้ำทะเล (อภิชาติ และคณะ 2535)

4. Drechsel and Zech (1994) พบว่า ปริมาณไนโตรเจน ความลึกของดินและปริมาณน้ำฝน เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไม้สักที่ปลูกในแถบประเทศแอฟริกาตะวันตก

จากข้อมูล ข้อ 1-4 แสดงว่าต้นสักจะเจริญเติบโตดี ต้องอาศัยปุ๋ย น้ำ และการป้องกันโรคแมลง ให้ใบสามารถสังเคราะห์แสงได้สูงสุดในทุกๆ ปี

ดังนั้น เกษตรกรที่ปลูกต้นสักจะต้องดูแลสวนสักเหมือนสวนผลไม้ ให้น้ำ-ปุ๋ย และป้องกันโรคแมลงทุกปี ต้นไม้สักจึงจะเติบโตเร็วมีราคาแพง

กรมป่าไม้ (2551) มีสวนสักที่ทดลองปลูกด้วยระยะ 8×8 เมตร อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ด้วยกล้าไม้สักพันธุ์ดีขยายพันธุ์จากเนื้อเยื่อ (Tissue culture) อายุ 22 ปี มีความสูงเฉลี่ย 35.36 เมตร หรือเฉลี่ย 1.61 เมตร ต่อปี และมีความโตเฉลี่ย 41.12 เซนติเมตร หรือเฉลี่ย 1.87 เซนติเมตร ต่อปี ทำลายสถิติโลกไปแล้ว

ผู้เขียนลองคำนวณมูลค่าไม้ต่อไร่โดยใช้ราคาไม้ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) มีมูลค่าดังต่อไปนี้

ก. ปลูกโดยกล้าจากเมล็ดทั่วไป ไม้สักสูงเฉลี่ย 30.08 เมตร ความโตเฉลี่ย (DBH) 35.29 เซนติเมตร ปริมาตรต่อท่อน 0.61 ลูกบาศก์เมตร ปริมาตรต่อไร่ 15.29 ลูกบาศก์เมตร มูลค่า 346,928 บาท ต่อไร่

ข. ปลูกด้วยกล้าสักพันธุ์ดีจากเนื้อเยื่อ (Tissue culture) ไม้สักสูงเฉลี่ย 35.36 เมตร ความโตเฉลี่ย (DBH) 41.12 เซนติเมตร ปริมาตรต่อท่อน 0.82 ลูกบาศก์เมตร ปริมาตรต่อไร่ 20.46 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นมูลค่า 513,524 บาท ต่อไร่ หรือราคาเฉลี่ย 20,524 บาท ต่อต้น สวนสักแห่งนี้มีปริมาณน้ำฝน 1,650 มิลลิเมตร ต่อปี เนื้อดินเป็นดินเหนียวสีดำออกน้ำตาลแดงเข้มมาก ดินลึกมากกว่า 100 เซนติเมตร เป็นที่ลาดเนินเชิงเขา PH 6.16-7.10 ลักษณะพืชพรรณเป็นเบญจพรรณแล้วผสมป่าไม้ การดูแล-จัดการปกติแบบสวนสักรัฐบาล โดยป้องกันไฟและสัตว์เลี้ยง ไม่มีไฟไหม้ตลอดระยะ 22 ปี

จากกรณีศึกษาและข้อมูลที่มี จึงกล่าวได้ว่าถ้าเกษตรกรปลูกไม้สักพันธุ์ดีและดูแลแบบสวนผลไม้หรือยางพารานั้น มีโอกาสร่ำรวยและหลุดพ้นหนี้สินอย่างแน่นอน

บทบาทของป่าปลูก

รัฐนิวเซาท์เวลส์ ดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าสนและยูคาลิปตัสบนพื้นที่ที่เคยเป็นป่ามาก่อนให้มากยิ่งขึ้น ยิ่งมีพื้นที่ป่าปลูกมากและต้นไม้โตได้เร็วมากเท่าใด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะยิ่งถูกขจัดไปจากชั้นบรรยากาศได้มากเท่านั้น จึงเป็นการลดสมดุลของปฏิกิริยาเรือนกระจก

ดังนั้น ถ้าประเทศไทยและคนไทย ต้องการลดโลกร้อนก็จำเป็นต้องปลูกต้นสักเป็นไม้ก่อสร้างบ้านเรือน สำนักงาน เป็นผลิตภัณฑ์ไม้ส่งออกสู่ตลาดโลก ลดการปลูกพืชล้มลุก เปลี่ยนมาเป็นการปลูกพืชยืนต้น ซึ่งมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งจีนและอินเดียไม่มีทางสู่เทคโนโลยีการเกษตรที่เกษตรกรไทยปลูกพืชให้มีผลผลิตนอกฤดูกาลได้ แต่ก็ยังไมร่ำรวย เพราะต้องพึ่งปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง จนต้นทุนสูงกว่าราคาจำหน่าย แข่งขันไม่ได้ การปลูกไม้สักจะไม่มีวันล้นตลาดและราคาตกต่ำแต่อย่างใด เพราะความต้องการบริโภคภายในประเทศและต่างประเทศมีมากมหาศาล

ไม้สักไทย : ไม้ที่มีราคาแพงในตลาดโลก

ไม้สัก เป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะมีคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของต่างประเทศมาก เป็นไม้ที่ใช้ได้สารพัดประโยชน์ หากจะใช้ก็จะใช้ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เสา พื้น ไปจนถึงหลังคา แม้แต่ใช้แทนมุงกระเบื้องหลังคา นอกจากนั้น ยังทนทานมาก ทนแดด ทนฝน ปลวกไม่กิน เนื้อไม้ก็นิ่ม แกะสลักง่าย สีสวย ใช้ทำเครื่องเรือนได้ดีที่สุด อายุการใช้งานยาวนาน วัดหลายแห่งในภาคเหนือสร้างด้วยไม้สักอายุ 400 ปี ยังอยู่ในสภาพดี

ไม้สัก มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Tectona grandis ภาษาสันสกฤต เรียกไม้ชนิดนี้ว่า ไม้สัคคะ ไม้สักมีชื่อทางการค้าว่า Teak มาจาก คำว่า Teca ในภาษาละติน แปลว่า หวานใจ ของช่างไม้ หรือกล่าวได้ว่าชาวยุโรปชื่นชมและนิยมชมชอบในไม้สักมาก

ไม้สักไทยดีที่สุดหรือไม่นั้น ศ.ดร.อำนวย คอวนิช ปรมาจารย์ด้านไม้สัก และการปลูกสวนสักด้วยระบบหมู่บ้านป่าไม้ ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิชาการป่าไม้ทั่วโลก ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไม้สักของไทยไว้ดังนี้ “ประเทศที่เป็นคู่แข่งของไทยในเรื่องไม้สักนั้น ได้แก่ พม่า และอินโดนีเซีย แต่ไม้สักพม่าที่ตัดออกมานั้นเป็นไม้สักทอง 25% ในขณะที่ของไทยเป็นสักทอง 75% ส่วนอินโดนีเซียนั้น ไม้สักคุณภาพด้อยกว่าเรา เนื่องจากซุงสั้นและเนื้อไม้สีคล้ำไม่สวย ราคาขายในต่างประเทศต่ำกว่าเรา 30-40% เป็นข้อมูลที่แสดงว่าแหล่งไม้สักไทยนั้นมีคุณภาพสูง แข่งขันได้ในตลาดโลก

จากการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตข้าวของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ส่งผลให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวที่ดีมีผลต่อการผลิตข้าวให้มีคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก เพราะต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ดีจะมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ให้ผลผลิตสูง

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือพันธุ์ข้าวที่ทางราชการผลิตไม่เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกร จึงเกิดนโยบายให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการผลิตพันธุ์ข้าวโดยส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักวิธีการผลิตพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองและขยายผลไปสู่เพื่อนเกษตรกร โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มผู้จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ชื่อว่า ศูนย์ข้าวชุมชน

เริ่มจากนำเกษตรกรที่มีแนวคิดเดียวกันมาร่วมเป็นกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวระดับเกษตรกร และทำหน้าที่เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของการลดรายจ่าย สร้างเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ในการนี้นับเป็นโอกาสดีของเกษตรกร “ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านทับนา” ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา เป็นเกษตรกรกลุ่มย่อย ชุมชนที่ 1 ของตำบลบ้านเชี่ยน เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่คว้าโอกาสที่ดี เมื่อรัฐบาลให้การสนับสนุนตามโครงการเสริมสร้างรายได้เพื่อเกษตรกรรายย่อย ด้วยการจัดหาเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อจะได้ไม่ต้องไปจ้างเอกชนคัดเมล็ดพันธุ์ ซึ่งต้องเสียเงินจำนวนไม่น้อย

คุณสมคเน เผือกเพ็ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านทับนา ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา เล่าว่า ตำบลบ้านเชี่ยน แบ่งออกเป็น 2 ชุมชน ในชุมชนที่ 1 เกษตรกรกลุ่มย่อยให้ความสนใจในการรวมกลุ่มและจัดทำโครงการมาก จึงมี 2 โครงการ คือจัดหาเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว และโรงสีข้าวชุมชน ในส่วนของกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว มีสมาชิกประกอบด้วย เกษตรกรหมู่ที่ 1 บ้านบึงฉวาก หมู่ที่ 5, 6 บ้านดอนกอก หมู่ที่ 7 บ้านไร่สวนลาว หมู่ที่ 8 บ้านดอนโก และหมู่ที่ 11 บ้านหนองทาระกู มีพื้นที่ทำนา ประมาณ 8,000 ไร่ ส่งผลให้มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวนมาก ก่อนทำโครงการได้จัดทำเวทีประชาคมชี้แจงการจัดทำโครงการ วิเคราะห์ศักยภาพ ระดมปัญหา และวิธีแก้ปัญหา

สมาชิกจากศูนย์ข้าวชุมชนซึ่งปัจจุบันมีแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 840 ไร่ ได้เสนอปัญหาการจัดทำเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แต่ขาดเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว จำเป็นต้องจ้างเอกชนคัดเมล็ดพันธุ์ให้ด้วยราคาไม่น้อย หรือบางครั้งจำเป็นต้องจำหน่ายให้เอกชนทั้งแปลงในราคาที่สูงกว่าแปลงข้าวทั่วไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงชักชวนเกษตรกรทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมรวมสมาชิกเริ่มแรก จำนวน 28 คน ช่วยคิดและเขียนโครงการเสนอต่อคณะกรรมการระดับตำบล และอำเภอ ตามลำดับ วัตถุประสงค์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับใช้ในชุมชน และจำหน่ายต่อไป โดยไม่ต้องไปจ้างเอกชนคัดเมล็ดพันธุ์ที่อื่น

คุณสมคเน กล่าวถึงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ว่า การทำพันธุ์ข้าวนั้นไม่ได้ยุ่งยากไปกว่าการปลูกข้าวปกติเท่าใดนัก หลังจากซื้อพันธุ์ข้าว สำหรับผลิตพันธุ์ข้าว จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท กรมการข้าว แล้วดำเนินการดังนี้
เลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ การเตรียมแปลง ต้องกำจัดข้าวเรื้อในนาออกให้หมด โดยการไถพรวน แล้วไขน้ำเข้าให้ข้าวเรื้องอก

หลังจากข้าวงอก กำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ ทำทั้งหมดทุกระยะการเจริญเติบโต อย่างน้อย 4 ครั้ง คือ
– ระยะต้นอ่อน ดูสีของต้นว่าจะมีสีตรงตามลักษณะพันธุ์หรือไม่ และผิดแปลกไปจากต้นอื่นๆ หรือไม่ สิ่งที่สังเกตง่ายๆ คือ ลักษณะการเจริญเติบโตของต้น ได้แก่ ทรงกอ ความสูงใบ ขนาดของใบ ลักษณะการชูใบ บางพันธุ์ใบตั้ง บางพันธุ์ใบแผ่ บางพันธุ์ใบตก
– ระยะเจริญเติบโตหรือระยะแตกกอ ดูลักษณะทรงกอ การแตกกอ ความสูง สีต้นกาบใบและใบ

– ระยะออกดอก กำจัดต้นที่ออกดอกไม่พร้อมกับต้นข้าวส่วนใหญ่
– ระยะข้าวแก่ ดูลักษณะเมล็ด สีของเปลือกให้ตรงตามพันธุ์ ลักษณะต่างๆ ของต้นในการพิจารณาข้าวปนหรือข้าวกลายพันธุ์ ข้าวพันธุ์เดียวกันควรมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันออกดอกพร้อมกัน ไม่ควรแตกต่างกันมากเกินกว่า 7 วัน…เมล็ดที่มีหางมักจะปรากฏเสมอในต้นข้าวกลายพันธุ์รวง ลักษณะของรวงข้าวแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน ความสั้นยาวของรวง ความถี่ นอกจากนี้ ข้าวเจ้าบางพันธุ์ จะมีท้องไข่ ก่อนการเก็บเกี่ยวตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติ ให้เกี่ยวออกต่างหาก
เมื่อเห็นว่าต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีจะเกี่ยวนวดทันที ด้วยเครื่องนวดที่ทำความสะอาดอย่างดี ไม่มีเมล็ดข้าวอื่นตกค้างอยู่ นำไปตากและเข้าเครื่องแยกสิ่งเจือปน แล้วนำมาตากแดด 1-2 แดด ฝัดให้สะอาดแล้วบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งร่มเย็น มีอากาศถ่ายเท พร้อมที่จะจำหน่าย

คุณสมคเน กล่าวเสริมอีกว่า โครงการเสริมสร้างรายได้เพื่อเกษตรกรรายย่อย เป็นโครงการที่ดี ตอบโจทย์แก้ปัญหาของเกษตรกรได้อย่างแท้จริง อีกทั้งเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เลือกซื้อวัสดุด้วยกลุ่มของเกษตรกร โดยมี ท่านดงพล รุจิธรรมธัช นายอำเภอหันคา และทีมงานคณะกรรมการเป็นที่ปรึกษากลุ่มเกษตรกร ส่งให้ผลที่ได้รับออกมาเป็นที่ถูกใจของเกษตรกร ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวสมาชิกเกษตรกรกลุ่มย่อยทุกคนตระหนักดีว่า ถ้ากลุ่มดำเนินการผลิตอย่างดี รักษาไว้ซึ่งคุณภาพทุกขั้นตอน เพื่อรักษาคุณภาพไม่เพียงรักษาลูกค้าไว้เท่านั้นยังคงช่วยเหลือเพื่อนเกษตรกร ประเทศชาติในการผลิตพืชอาหารที่มีคุณภาพ เพราะพันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ให้ผลผลิตที่ดี ลดต้นทุนการผลิตเพราะทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช เป็นปัจจัยพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชน สร้างหนุนให้ประเทศไทยก้าวไกลสู่ครัวโลก น่านำไปใช้ในการผลิตพันธุ์ข้าว หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป

แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่คือ มีลานตากเพียง 1 แห่ง ไม่เพียงพอแก่ความต้องการตากพันธุ์ข้าวของสมาชิก และเครื่องมืออีกหลายอย่าง ถ้ารัฐบาลมีโครงการดีๆ เช่นนี้ กลุ่มก็ขอน้อมรับเพื่อพัฒนาต่อไป และขอขอบพระคุณรัฐบาลที่ได้เสนอโครงการดีๆ ให้แก่เกษตรกร

จากสถานการณ์ราคายางพาราที่ตกต่ำมาถึงขีดสุดในช่วงเวลานี้ ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราได้รับผลกระทบไม่น้อยทีเดียว อาจเรียกได้ว่าราคาขายถูกกว่าต้นทุนการผลิตก็ว่าได้ เนื่องจากในหลายๆ สวนมีการจ้างแรงงานจึงส่งผลทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และที่สำคัญมีการปลูกเป็นแบบพืชแบบเชิงเดี่ยว ทำให้มีรายได้เข้ามาเพียงช่องทางเดียว ผลที่ตามมาคือการทำสวนยางพาราเสมอตัวหรือไม่ก็ขาดทุนจนเกิดภาระหนี้สิน

แต่ด้วยสถานการณ์และวิกฤตที่เกิดขึ้น จึงเป็นบทเรียนส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีการปรับตัว โดยปรับเปลี่ยนทำสวนแบบลดต้นทุนการผลิต แต่ต้นยางพารายังให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเหมือนเดิม จึงสร้างผลกำไรแม้จะมีบางช่วงที่ราคาขายยางพาราตกต่ำก็ตาม เหมือนเช่น คุณจำปี เอกพล อยู่บ้านเลขที่ 129 หมู่ที่ 4 ตำบลเหล่าทอง อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ได้คิดหาวิธีผลิตยางพาราแบบลดต้นทุนภายในสวนของเธอ โดยนำน้ำหมักและสารชีวภัณฑ์ต่างๆ เข้ามาช่วยจนประสบผลสำเร็จ ทำให้การขายยางพาราแต่ละครั้งมีผลกำไร

คุณจำปี เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนยึดอาชีพทำไร่มันสำปะหลัง และเมื่อทำมาได้ระยะหนึ่งต้นทุนการผลิตไร่มันเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนมาทำสวนยางพาราในช่วงปี 2548 ตามที่มีการส่งเสริมในขณะนั้น ทำให้เธอได้นำดินภายในสวนไปตรวจหาค่าวิเคราะห์ดิน ว่าในพื้นที่ของเธอนั้น เหมาะสมกับการปลูกยางพาราหรือไม่ ผลปรากฏว่าสามารถปลูกได้จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ทำสวนยางพาราเริ่มแรกจำนวน 6 ไร่ และขยับขยายต่อมาเรื่อยๆ จนมีพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด 24 ไร่

“พอเราเริ่มที่จะทำสวนยางพาราอย่างจริงจัง ช่วงแรกก็ได้เข้าไปอบรมเพื่อศึกษาก่อน จากนั้นก็มีปรับพื้นที่และเริ่มปลูกยางพาราภายในสวน การปลูกให้มีระยะห่างระหว่างต้นและแถวอยู่ที่ 7×3 เมตร การดูแลก็เน้นให้ระบบน้ำตามธรรมชาติ พึ่งน้ำฝนเป็นหลัก พอต้นยางพาราเริ่มได้อายุที่พร้อมจะกรีดได้ ก็จะมีการใช้ปุ๋ยเคมีบำรุงเข้าไป เป็นสูตรตามค่าวิเคราะห์ดินที่เหมาะสมกับสวนของเรา ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง พอดูแลไปได้ถึง 7 ปี ต้นยางพาราก็จะมีเส้นรอบต้นอยู่ที่ 50 เซนติเมตร ก็ถือว่าเหมาะสมพร้อมที่จะกรีดน้ำยางได้” คุณจำปี บอก

เมื่อต้นยางพาราเริ่มกรีดขายได้ในช่วงปี 2555 คุณจำปี บอกว่า ผลผลิตออกมาดีสามารถขายได้ราคา แต่เมื่อเก็บผลผลิตมาได้ไม่กี่ปีราคายางพาราเริ่มตกต่ำลง จึงได้หาวิธีลดต้นทุนการผลิตด้วยการหาสารชีวภัณฑ์และน้ำหมักต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการบำรุงต้นยางพาราให้มีผลผลิตดีเหมือนเดิมแต่ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง

โดยความรู้การใช้น้ำหมักต่างๆ เป็นองค์ความรู้ที่เธอได้เข้าอบรมกับกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อผลิตน้ำหมักนำมาใช้ให้เข้ากับพื้นที่ภายในสวนของเธอ โดยน้ำหมักที่ทำใช้เอง คุณจำปี บอกว่า มีทั้งจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นสิ่งที่นำมาใช้ได้ผลจริงและประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก

“จุลินทรีย์จากหน่อกล้วยและฮอร์โมนต่างๆ เราก็ทำตามแบบที่เขาสอน ทางหน่วยงานจะมีสูตรให้นำมาใช้ได้ ทำเองง่ายๆ ที่บ้าน ซึ่งช่วงปี 2557 ราคายางเริ่มตกต่ำ เราก็นำน้ำหมักและสารชีวภัณฑ์เหล่านี้เข้ามาใช้ทันที อย่างน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยใช้ปริมาณ 2 ลิตร เจือจางต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณสวนช่วงแรกตอนต้นฤดูฝนมา และก็มาครั้งที่ 2 ช่วงกลางฤดูฝน และช่วงสุดท้ายก่อนที่หน้าฝนจะหมดไป ใน 1 ปีทำอยู่ 3 ครั้ง ส่วนพวกเชื้อราไตรโคเดอร์มาก็จะทำไปพร้อมๆ สามารถป้องกันโรคที่เกิดกับใบยางพาราได้ดี ทำให้ใบเงามันไม่เป็นโรค ต้นยางพาราก็ให้น้ำยางที่ดีตามไปด้วย” คุณจำปี บอก

เมื่อทำการลดต้นทุนการผลิตอย่างจริงจังและหมั่นเรียนรู้การทำน้ำหมักและผลิตสารชีวภัณฑ์ไว้ใช้เองอยู่เสมอแล้ว คุณจำปี บอกว่า จากสวนยางพาราที่มีทั้งหมด 24 ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีภายในสวนลดลงตามไปด้วย เหลือเพียง 12 กระสอบ ต่อปี ซึ่งเธอเองก็ยังไม่ทิ้งการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิต เพียงแต่ใช้ในปริมาณที่น้อยลง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงไปกว่าเดิมเมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่ยังไม่ได้นำน้ำหมักและสารชีวภัณฑ์เข้ามาใช้ควบคู่กับการผลิต

ซึ่งการขายยางพาราของสวนเธอนั้น เน้นขายเป็นยางก้อนถ้วยกรีดแบบวันเว้นวัน ขายยางทุก 10 วันครั้ง ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 15-17 บาท โดยต้นยางพาราจะให้ยางอยู่ที่ 1 กิโลกรัมขึ้นไป ต่อต้น ผลกำไรที่ได้ยังพอมีเงินเหลือเก็บไม่ขาดทุน เพราะต้นทุนการผลิตของเธอลดลงไปด้วยหลังนำน้ำหมักและสารชีวภัณฑ์เข้ามาช่วย ทำให้สวนของเธอมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง แถมผลผลิตยังมีคุณภาพดีเหมือนเดิมไม่แตกต่างจากสมัยก่อน

“จากที่ได้นำองค์ความรู้ต่างๆ เหล่านี้มาปรับใช้ ก็รู้สึกว่าสามารถลดต้นทุนการผลิตในสวนยางพาราเราได้จริง เราไม่ได้ทำเพราะคนอื่นบอกว่าดี แต่เราทำและนำมาปฏิบัติจริงภายในสวนของเรา โดยเริ่มจากพื้นที่น้อยๆ ก่อน พอใช้ดีมีประสิทธิภาพ ก็เริ่มปรับเปลี่ยนทั้งหมด ก็ถือว่าเวลานี้เรานำน้ำหมักและสารชีวภัณฑ์เหล่านี้มาใช้ในสวนยางพาราเราทั้งหมด ที่เห็นชัดเลยคือต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีใช้น้อยกว่าสมัยก่อนมาก และที่ได้ตามมาคือเรื่องของสุขภาพ ประหยัดทั้งเงินและได้สุขภาพที่ดีตามมาด้วย” คุณจำปี แนะนำ

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำสวนยางพาราแบบลดต้นทุน โดยนำน้ำหมักและสารชีวภัณฑ์เข้ามาใช้ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจำปี เอกพล ที่หมายเลขโทรศัพท์

ทุกวันนี้ ราคายางพาราอยู่ในช่วงตลาดขาลง ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้ลดน้อยลงตามไปด้วย แต่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่บ้านคำสมบูรณ์ อำเภอบึงโขงหลง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น พวกเขาหันมาปลูก “เสาวรส” เป็นไม้ผลริมรั้ว เพื่อขายผลสดและแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มในรูปน้ำเสาวรส ปรากฏว่าขายดิบขายดี จนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด พวกเขาเตรียมขยายพื้นที่ปลูกเสาวรสมากขึ้น พร้อมรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อขยายกำลังผลิตน้ำเสาวรสให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนเกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้านคำสมบูรณ์ สอดคล้องกับนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ “คุณนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร” ที่อยากเห็นพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราตัดโค่นต้นยางเก่าที่หมดอายุ หรือแบ่งที่ดินว่างเปล่านำมาปลูกผลไม้ เป็นสินค้าทางเลือกตัวใหม่เสริมรายได้ในครัวเรือน วิธีนี้จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนแทนการปลูกยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวเหมือนในอดีต

จุดเริ่มต้น

คุณธีรวัฒน์ พันสุวรรณ์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา บ้านคำสมบูรณ์ ตำบลบึงโขงหลง ได้โอกาสไปศึกษาดูงานเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านห้วยหินลาด อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ

ปรากฎว่า คุณธีรวัฒน์ freeshopmanual.com เกิดความประทับใจคุณภาพและรสชาติของ “เสาวรสหวานพันธุ์ไทนุง” ที่มีลักษณะเด่นคือ ผลสีม่วงเข้ม ติดผลดก ให้ผลผลิตคุณภาพดี รสหวาน อร่อย มีค่าความหวานเฉลี่ย 17 Brix เนื่องจากเสาวรสเป็นไม้ผลเพื่อสุขภาพที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในวงกว้าง เพราะเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมาก ช่วยให้ผิวพรรณสวยใส เปล่งปลั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ดีต่อสุขภาพ ช่วยลดระดับความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และโรคมะเร็งสำไส้ไปพร้อมๆ กัน

ดังนั้น คุณธีรวัฒน์ จึงตัดสินใจซื้อกล้าพันธุ์เสาวรสหวานปลอดโรคไวรัส ของโครงการฯ ในราคาต้นละ 20 บาท มาปลูกเป็นไม้ผลริมรั้วบ้านก่อน เพราะเสาวรสหวานพันธุ์ไทนุง หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “เสาวรสพันธุ์สีม่วง” ปลูกดูแลง่าย ไม่มีปัญหาโรคแมลงรบกวน ทำให้ง่ายต่อการดูแลจัดการแปลงตลอดฤดูการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ธรรมชาติของเสาวรส จัดอยู่ในกลุ่มไม้เลื้อย แค่ทำซุ้มไม้ระแนงเป็นหลักให้ต้นเสาวรสเกาะ หรือปลูกริมรั้วบ้าน ไม้ผลชนิดนี้ก็สามารถเติบโตได้ดี

“ผมทดลองปลูกเสาวรสพันธุ์สีม่วงเกาะบริเวณรั้วบ้านก่อน ปรากฏว่าได้ผลผลิตปริมาณมากและขายผลผลิตได้ราคาดี จึงชักชวนเพื่อนเกษตรกรชาวสวนยางพาราในท้องถิ่น จำนวน 20 รายมารวมตัวกันในชื่อกลุ่มแปรรูปผลไม้ โดยผมรับหน้าที่เป็นประธานกลุ่มฯ ระดมเงินทุนจากสมาชิกในราคาหุ้นละ 100 บาท ปัจจุบันทางกลุ่มฯ มีเงินทุนจากสมาชิกและรายได้จากการจำหน่ายน้ำเสาวรสประมาณ 30,000 บาท” คุณธีรวัฒน์ กล่าว

เนื่องจากเสาวรสหวานพันธุ์ไทนุง มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพียงปีละครั้ง (ตุลาคม-พฤศจิกายน) ทางกลุ่มฯ วางแผนรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกและเกษตรกรในท้องถิ่นให้มากที่สุด และเก็บรักษาคุณภาพผลผลิตในห้องเย็น และค่อยทยอยนำมาผลผลิตมาแปรรูปเป็นน้ำเสาวรสออกขายตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ทางกลุ่มฯ สนับสนุนต้นกล้าเสาวรสหวานพันธุ์ไทนุง ให้สมาชิกและเกษตรกรในท้องถิ่นนำไปปลูกในพื้นที่ว่างของพวกเขา และรับซื้อผลผลิตคืนในราคากิโลกรัมละ 10 บาท เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับแปรรูปน้ำเสาวรสต่อไป