จากปริมาณฝนจากทางตอนบนของประเทศประกอบกับการระบาย

ของเขื่อนเจ้าพระยาที่ปรับเพิ่มขึ้น จะทำให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาทลงไป ถึง จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง และ จ.พระนครศรีอยุธยา มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นอีก 5-10 เซนติเมตร ดังนั้นพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่เสี่ยงริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะบริเวณ ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล และ ต.บ้านกระทุ่ม ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ควรเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ และประกาศจากทางราชการอย่างใกล้ชิด

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เพื่อติดตามสถานการณ์อาหารสัตว์และผลผลิตที่ต้องการใช้ในแต่ละปี ซึ่งพบว่าขณะนี้อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบประมาณ 7-8 ล้านตันต่อปี ซึ่งสัดส่วน 50% ปลูกในพื้นที่ที่ถูกต้อง แต่อีกประมาณ 3-4 ล้านตัน เป็นข้าวโพดที่ได้จากการบุกรุกป่าเพื่อเพาะปลูก กระทรวงจึงต้องการส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพดได้ตามปริมาณที่ผู้ซื้อต้องการ ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกในช่วงหลังทำนา เพื่อให้การเพาะปลูกถูกต้องตามกฎหมาย

พล.อ.ฉัตรชัยกล่าวว่า ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ จึงจะหารือกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้รับซื้อข้าวโพด และเกษตรกรผู้สมัครใจจะปลูกข้าวโพดหลังฤดูกาลทำนา เพื่อขายให้กับเอกชนที่ต้องการรับซื้อไปผลิตอาหารสัตว์ที่ใช้ในประเทศและส่งออก มีเป้าหมายเพื่อลดพื้นที่บุกรุกป่าซึ่งใช้ปลูกข้าวโพด ในโครงการนี้หากคุยวิธีการ กำหนดราคาแล้วเสร็จ จะร่วมกันลงนามบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) กันต่อไป

พล.อ.ฉัตรชัยกล่าวว่า ตามแผนการผลิตข้าวปี 2560/61 เพื่อลดพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว กระทรวงกำหนดมาตรการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดฤดูแล้งหลังนา ทดแทนการปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม โดยการปลูกข้าวโพด เป้าหมายระยะแรกปลูกบนพื้นที่ 3.36 ล้านไร่
ด้านนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า การหารือครั้งนี้เพื่อร่วมกันทำงานลดพื้นที่บุกรุกป่า ในปี 2560 คาดว่าความต้องการใช้อาหารสัตว์อยู่ที่ปริมาณ 19.64 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.4% จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 18.63 ล้านตัน โดยมีการใช้ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ข้าว มันสำประหลัง และข้าวสาลี รวมกันประมาณ 59% ของวัตถุดิบทั้งหมดที่ประกอบเป็นอาหารสัตว์

ขณะเดียวกันปกติผลผลิตข้าวโพดในประเทศก็ไม่พอเพียง หากรัฐบาลต้องการลดพื้นที่ปลูก ลดพื้นที่ผิดกฎหมาย คาดว่าผลผลิตข้าวโพดจะหายไปจากตลาดทันทีประมาณ 5.9 ล้านตัน ทำให้เกิดความตึงตัวของวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดในไทยมี 7.84 ล้านไร่ ซึ่งปลูกในพื้นที่ป่า 3.72 ล้านไร่ หรือประมาณ 47% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด หลังจากที่กรุงเทพมหานครเริ่มจัดระเบียบทวงคืนพื้นที่ทางเท้า ทำให้ผู้ค้าบริเวณพื้นที่บริเวณปากคลองตลาดต้องเร่งหาพื้นที่ขายแห่งใหม่ที่ไม่ใกล้ไม่ไกลกับตลาดเดิม จึงเกิดการรวมตัวของของเหล่าพ่อค้าแม่ค้า กรุงเทพมหานคร และภาคเอกชนร่วมกันหาโมเดลทางออกเพื่อแก้ไขผลกระทบ และเกิดการสร้างรายได้กระจายไปทุกภาคส่วน จนทำให้เกิด “ศูนย์กลางตลาดดอกไม้ปากคลองตลาดใหม่” หรือ “Flower Market Thailand” แห่งนี้ขึ้น เพื่อรองรับผู้ค้าจากปากคลองตลาดเดิม และเปิดรับเกษตรกรชาวสวนให้มีพื้นที่สร้างรายได้

คุณใหม่ ติโลกะวิชัย กรรมการผู้จัดการศูนย์กลางตลาดดอกไม้ปากคลองตลาดใหม่ ผู้บริหารรุ่นใหม่ทายาทของตลาดศรีนคร ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครสวรรค์และภาคเหนือตอนล่างที่สั่งสมประสบการณ์กว่า 6 ปี เปิดเผยว่า มูลค่าตลาดดอกไม้ในประเทศไทยสูงถึง 1 หมื่นล้านบาทต่อปี การเปิดศูนย์กลางตลาดดอกไม้แห่งใหม่นี้นอกจากจะรองรับผู้ค้าเดิมจากปากคลองตลาดเดิมแล้ว ยังเปิดรับผู้ค้ารายใหม่ รวมถึงเกษตรกรชาวสวนเองด้วย ซึ่งตนต้องการผลักดันให้ตลาดนี้เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าประเภทดอกไม้ที่ใหญ่สุดของอาเซียน และเป็นแลนด์มาร์กท่องเที่ยวแห่งใหม่ของไทยด้วย

“โครงการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2559 ซึ่งตั้งเป้าใช้เงินลงทุนกว่า 300 ล้านบาท โดยต้องการให้เป็นศูนย์กลางค้าปลีก และค้าส่งทั้งในไทย และต่างประเทศ”ผู้บริหารสาวกล่าวและว่า ตลาดศูนย์กลางดอกไม้ปากคลองตลาดใหม่นี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 50 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 เฟสด้วยกัน มีพื้นที่ให้เช่ามากถึง 3 พันแผงค้า และเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง

สำหรับจุดเด่นของตลาดแห่งนี้มีด้วยกัน4อย่างด้วยกันคือ1.ทำเลที่มีพื้นที่ให้บริการขนาดใหญ่มากไม่ไกลจากตลาดเดิมมากนัก สามารถเดินมาได้หลายเส้นทาง ทำให้สะดวกรวดเร็วต่อการกระจายสินค้าไปยังต่างจังหวัด เพราะเป็นจุดเชื่อต่อการเดินทางทั้ง 4 ภาค และยังอยู่ใกล้กับพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรอีกด้วย

2.ด้านที่จอดรถที่ให้บริการฟรี สามารถรองรับได้มากถึง 2 พันคัน 3.ค่าเช่าแผงที่ราคาถูกที่สุดคือวันละ 100 บาท โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายแรกเข้า และ 4.ด้านการบริหารที่มีการแบ่งโซนขายของอย่างชัดเจน รวมถึงด้านความสะอาดของตลาดด้วย

“เราคิดค่าเช่าสำหรับแผงที่ถูกที่สุดเพียงแค่วันละ 100 บาทต่อแผง ซึ่งเป็นค่าเช่าที่ตั้งมาโดยคำนึงถึงผู้ค้า และไม่มีค่าแรกเข้าใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ได้รับการตอบรับจากพ่อค้าแม่ค้าดอกไม้ รวมทั้งชาวสวนดอกไม้จำนวนมาก ซึ่งนอกจากแม่ค้าปากคลองตลาดเดิมแล้วยังมีแม่ค้าจากตลาดอื่นๆ มาเช่าแผงขายส่งดอกไม้ด้วย”

ผู้บริหารสาวกล่าวต่อว่าพ่อค้าแม่ค้าที่มาขายที่ตลาดแห่งใหม่นี้70เปอร์เซ็นต์มาจากตลาดปากคลองตลาดเดิมและเป็นกลุ่มผู้ค้ารายใหม่จากตลาดสี่มุมเมืองรวมถึงเจ้าของสวนดอกไม้เองด้วย ซึ่งร้านค้าเหล่านี้มีฐานลูกค้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การดึงดูดภาพลักษณ์ต่างๆ ก็จะเป็นการบอกแบบปากต่อปากมากกว่า

ส่วนการเปิดให้บริการนั้นตอนนี้เปิดให้บริการเฉพาะเฟส 1 กินพื้นที่กว่า 7-8 ไร่ ซึ่งในส่วนของเฟส 2 ที่จะเน้นการค้าส่งจะเสร็จปลายปีนี้ และเฟส 3 ที่จะเป็นตลาดผักและผลไม้นั้นคาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2561

นอกจากจะเห็นความสวยงามของตลาดดอกไม้ตลอด24ชั่วโมงแล้วในบริเวณใกล้เคียงโดยรอบของตลาดมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งตลาดน้ำวัดสะพานที่อยู่ติดกับพื้นที่รวมไปถึงใกล้ตลาดน้ำตลิ่งชันและคลองลัดมะยม สามารถนั่งเรือไปท่องเที่ยวได้อีกด้วย ซึ่งมีโอกาสที่จะพัฒนาให้กลายเป็นแลนด์มาร์กด้านการท่องเที่ยวที่ต่างชาติจะต้องไม่พลาดที่จะแวะมา ทั้งนี้ตั้งเป้ามีผู้ใช้บริการ 1 หมื่นคนต่อวัน

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ไม่พลาดพาพูดอ่านมาชม”ศูนย์กลางตลาดดอกไม้ปากคลองตลาดใหม่”เห็นครั้งแรกต้องร้องโอ้โหของจริงเพราะใหญ่และอลังการมากเชื่อว่ามาแล้วไม่หลง มีป้ายบอกชัดเจน ไม่ต้องกลัวว่ามาแล้วจะไม่มีที่จอดรถเพราะที่นี่เคลมว่ามีที่จอดรถรองรับถึง 2 พันคัน จอดได้แบบเหลือเฟือแน่นอน ตั้งแต่ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง

เดินเข้ามาช่วงแรกจะเป็นลานจัดกิจกรรมที่คุณใหม่ ผู้บริหารรุ่นใหม่บอกกับเราว่า จะใช้ลานกิจกรรมนี้โปรโมท ประชาสัมพันธ์ตลาดไปในตัว

ถัดมาก็ถึงสิ่งที่เราต้องการนั่นก็คือโซนของ”ดอกไม้”ที่มองแล้วความสวยงามของดอกไม้ละลานตาจริงๆที่นี่แบ่งโซนอย่างชัดเจนสะดวกต่อการเลือกซื้อไม่ว่าจะเป็นดอกมะลิพวงมาลัยที่ร้อยกันแบบสดๆ ใหม่ๆ หรือจะเป็นดอกกุหลาบ ดอกดาวเรืองก็มีให้เลือกสรรไม่แพ้กัน

นอกจากนี้ยังมีร้านจัดทำบายสีที่สวยงามเหมาะแก่การซื้อไปไหว้พระทำบุญอย่างมากแม่ค้าเจ้าของร้านบอกกับเราว่ามีทำขายทุกวันแต่จะต้องโทรสั่งจองล่วงหน้าด้วยเพราะอาจจะทำขายให้ไม่ทัน

นอกจากนี้ยังมีโซนติดแอร์สำหรับดอกไม้เมืองเหนือและดอกไม้นำเข้าจากต่างประเทศด้วยแต่น่าเสียดายที่อยากไม่มีรูปมาฝากเพราะมัวแต่เดินเพลินไปหน่อยไม่เพียงเท่านี้ยังมีร้านขายอุปกรณ์ต่างๆรวมถึงรับจัดดอกไม้นอกสถานที่อีกด้วยเรียกได้ว่ามาที่เดียวครบครันจริงๆ

อ๊ะอ๊ะ ใครว่ามาที่นี่แล้วจะมีแต่ดอกไม้อย่างเดียว เพราะที่นี่ยังมีโซนอาหารให้ได้ลองลิ้ม ชิมรสกับแบบจุใจ ซึ่งต้องบอกว่าโซนอาหารทั้ง 80 แผงนั้นเต็มหมดแล้วจ้า มีทั้งของคาว อาหารตามสั่ง สลัด ของหวานทั้งขนมเบื้อง น้ำผลไม้ หรือแม้กระทั่งผลไม้สดที่ราคาไม่แพงมาจำหน่ายกันแบบจัดเต็ม มาทั้งทีได้ทั้งช็อป ชิม ชิล แถมยังรถไม่ติดอีกด้วย

ส่วนการเดินทางมายังศูนย์กลางตลาดดอกไม้ปากคลองตลาดใหม่นี้ไม่ยากเลยเพราะมีรถเมล์ให้บริการผ่านถึงหน้าตลาดถึง3สายด้วยกันคือสาย89 , 710 และ 751 แต่อาจจะต้องรอนานสักนิดเพราะถนนเส้นนี้เพิ่งจะตัดใหม่ แต่รับรองว่าในอนาคตมีวิ่งฉิวอย่างแน่นอน แถมยังใกล้รถไฟฟ้าสถานีบางหว้าเพียง 5 นาทีอีกด้วย ส่วนคนที่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวก็มาได้แบบสบายๆ เพราะที่นี่อยู่ห่างจากปากคลองตลาดเดิมเพียง 7 กิโลเมตรเท่านั้น และยังมาได้หลายเส้นทาง ง่ายสุดก็ตรงจากถนนตัดใหม่ตรงพรานนกได้เลย

นี่เป็นเพียงแค่เฟสแรกของตลาดดอกไม้ฯเท่านั้นเฟส2และ3 คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2561 ซึ่งถ้าเสร็จครบเมื่อไหร่จะสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ได้อีกด้วย เพราะด้านในสุดของพื้นที่ของโครงการติดกับแม่น้ำที่สามารถนั่งเรือท่องเที่ยวไปยังตลาดน้ำบริเวณใกล้เคียงได้นั่นเอง เชื่อว่าในอีก3-5ปีข้างหน้านี้”ศูนย์กลางตลาดดอกไม้ปากคลองตลาดใหม่”แห่งนี้จะกลายเป็นฮับตลาดดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนได้ไม่ยาก

นายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์ สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยเป็นอันดับ 3 รองจากข้าวและยางพารา รวมทั้งยังเป็นพืชที่สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และสามารถส่งออกได้เป็นอันดับ 1 ของโลก ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน และประเทศไทยได้วางยุทธศาสตร์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ โดยจะเป็นผู้นำด้านการผลิตและค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของโลก และมีเป้าหมายจะสามารถเพิ่มผลผลิตเฉลี่ย 5 ตัน/ไร่ในปี 2562 และ 7 ตัน/ไร่ ในปี2569 โดยให้มีการบริหารจัดการพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ 8.5 ล้านไร่

สิ่งที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มุ่งเน้นให้ดำเนินการส่งเสริมด้านการผลิตมันสำปะหลัง โดยดำเนินการผ่านสถาบันเกษตรกร คือ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ด้วยการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในบทบาทที่จะช่วยเหลือเกษตรกรและใช้ระบบสหกรณ์เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้อนุมัติโครงการสร้างเครือข่ายพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรมันสำปะหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในการดำเนินธุรกิจมันสำปะหลัง และลดต้นทุนการผลิตให้กับสมาชิกสหกรณ์ที่ปลูกมันสำปะหลังให้ได้ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดโครงการถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรของสหกรณ์ในการวางแผนการผลิตมันสำปะหลัง โดยมีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 7 สหกรณ์ ได้แก่ 1.สหกรณ์การเกษตรขามสะแกแสง จำกัด 2.สหกรณ์การเกษตรบ้านเหลื่อม จำกัด 3.สหกรณ์การเกษตรปากช่อง จำกัด 4.สหกรณ์การเกษตรนิคมฯลำตะคอง จำกัด 5.สหกรณ์การเกษตรด่านขุนทด จำกัด 6.สหกรณ์การเกษตรเทพารักษ์ จำกัด และ 7.สหกรณ์การเกษตรสารภีโชคชัย จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลุ่มผู้ผลิตและเครือข่ายมันสำปะหลังของจังหวัดนครราชสีมา และให้สหกรณ์วางแผนการผลิตมันสำปะหลัง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การผลิตและการตลาดในประเทศ

สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ประมาณ 1.9 ล้านไร่ เกษตรกรประมาณ 7.3 หมื่นราย กระจายไปเกือบจะทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ผลผลิตที่ได้เฉลี่ย 4 ตัน/ไร่ แต่อำเภอที่มีพื้นที่ในการปลูกมันสำปะหลังกันมาก คือ อำเภอครบุรี อำเภอด่านขุนทด อำเภอเสิงสาง อำเภอหนองบุนมาก และอำเภอสีคิ้ว ซึ่งมีพื้นที่ปลูกในแต่ละอำเภอเกินกว่าแสนไร่ ในจำนวนนี้เป็นสหกรณ์ที่มีสมาชิกเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ประมาณ 15สหกรณ์ ซึ่งแม้ในห้วงเวลา ณ ปัจจุบัน สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อราคาพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะราคามันสำปะหลัง จะมีราคาตกต่ำ แต่การถ่ายทอดองค์ความรู้ การบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อให้สามารถลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิต ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภายใต้ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์ ตามนโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ยังคงต้องดำเนินการต่อไป ด้วยการสร้างกลุ่มผู้ผลิตและเครือข่ายมันสำปะหลัง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ผู้ผลิตมันสำปะหลัง และสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรมันสำปะหลังต่อไป

การยางแห่งประเทศไทย เร่งผลักดันมาตรการรองรับฤดูกาลเปิดกรีด วอนพี่น้องชาวสวนยาง อย่าเร่งขายยางหากราคาไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ อาจส่งผลกระทบต่อราคายางในตลาด คาดภายในสัปดาห์นี้ราคายางขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเชิงบวกทางเศรษฐกิจทั่วโลก ขอให้พิจารณาข้อมูล และติดตามสถานการณ์ราคายางอย่างใกล้ชิด

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึงสถานการณ์ยางพาราในช่วงสัปดาห์นี้ว่า ในช่วงต้นสัปดาห์มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อม ทั้งจากผู้ประกอบการชะลอการซื้อขายยาง และนักลงทุนมีความกังวลในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา รวมถึงราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตน้ำมันของสหรัฐอเมริกา ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มแท่นขุดเจาะน้ำมัน อย่างไรก็ตาม กยท.คาดว่าในช่วงสัปดาห์นี้ ราคายางน่าจะปรับตัวสูงขึ้นจากแนวโน้มค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และปริมาณสต๊อกยาง ณ ตลาดเซี่ยงไฮ้ ลดลงจากสัปดาห์ก่อน รวมไปถึงปริมาณยางที่ยังเข้าสู่ตลาดน้อยเพราะผลกระทบจากปริมาณฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทางภาคใต้ของประเทศไทย อีกทั้งตามรายงานธนาคารโลกคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจโลก การค้า และการผลิตเริ่มมีการฟื้นตัว โดยได้รับแรงสนับสนุนจากความแข็งแกร่งของการนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และการฟื้นตัวของความต้องการของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ ดังนั้นจึงคาดว่าราคายางที่ลดลงในช่วงต้นสัปดาห์นี้ จะเป็นการลดลงในช่วงสั้นๆ เท่านั้น

“วอนพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง อย่าเร่งขายยางหากราคาไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคายางได้ ให้พิจารณาจากข้อมูลที่ กยท. นำเสนอประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ กยท.กำลังเร่งออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคายาง นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นปัจจัยพื้นฐานโดยรวมยังคงดีอยู่ แม้ว่าราคายางจะลดลงไปในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา แต่เชื่อว่าในภายในสัปดาห์นี้ราคายางจะขยับสูงขึ้นตามกลไกที่แท้จริงของตลาดได้” ดร.ธีธัช กล่าวย้ำ

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) พร้อมปล่อยเงินให้กู้ยืม ในวงเงินรวมกว่า 2.5พันล้าน โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 1% แก่เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. หวังพัฒนาปรับปรุงคุณภาพยางพาราในประเทศให้เกิดเสถียรภาพด้านราคาอย่างยั่งยืน สร้างนวัตกรรมสอดรับยุค Thailand 4.0

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เห็นชอบหลักเกณฑ์จัดสรรเงินให้กู้ยืมกองทุนพัฒนายางพาราตามมาตรา 49(3) หมวดที่ 1 เงินให้กู้ยืม โดยการจัดสรรเงินให้กู้ยืมแก่เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง เป็นเงินงบประมาณที่มาจากมาตรา 49 (3) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุน ส่งเสริม และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการประกอบอาชีพการทำสวนยาง ค่าใช้จ่ายสำหรับปรับปรุงคุณภาพการผลิต การแปรรูป การตลาด อุตสาหกรรมการแปรรูปยางขั้นต้น อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมไม้ยาง รวมไปถึงการดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งในภาพรวม เงินทุนกู้ก้อนนี้จะช่วยในการพัฒนายางพาราทั้งระบบ และการรักษาเสถียรภาพราคายางในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเงินทุนหมุนเวียน โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับเกษตรกรชาวสวนยาง คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ในระยะเริ่มต้น/พัฒนา คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 และในระยะก้าวหน้า คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ในส่วนของผู้ประกอบกิจการยาง กำหนดอัตราดอกเบี้ยออกเป็น 3 อัตรา คือ ดอกเบี้ยสำหรับผู้ประกอบกิจการยางประเภทบุคคลธรรมดา ร้อยละ 2.5 ส่วนประเภทวิสาหกิจชุมชน คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 และ ประเภทนิติบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4

“ด้านประเภทการกู้เพื่อแปรรูปเพิ่มมูลค่า ฯลฯ สำหรับเกษตรกรชาวสวนยาง คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.75สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางทั้งในระยะเริ่มต้น/พัฒนา และระยะก้าวหน้า คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 และสำหรับผู้ประกอบกิจการยาง แบ่งเป็นประเภทบุคคลธรรมดา คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ประเภทวิสาหกิจชุมชน คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 และ ประเภทนิติบุคคลคิด อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.5” ดร.ธีธัช กล่าว

ผู้ว่าการ กยท. กล่าวย้ำว่า ในปีงบประมาณ 2560 นี้ กยท. ได้จัดสรรงบประมาณจากกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49(3) เงินให้กู้ยืม เป็นเงิน จำนวน 2,567 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้พร้อมให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ กยท. และประสงค์จะกู้เงินทุนดังกล่าวเพื่อพัฒนาการทำสวนยาง พัฒนาคุณภาพยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา และธุรกิจยางพารา ให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นได้แล้ว โดยสามารถยื่นคำขอกู้ได้ทันทีที่ กยท. ทุกจังหวัดและทุกสาขาทั่วประเทศ ทั้งนี้ กยท. มั่นใจว่าสามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง ในการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตนำไปสู่มาตรฐานการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง ต่อยอดไปจนเกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ตอบรับนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งจะนำไปสู่การมีเสถียรภาพด้านราคายางในประเทศไทยต่อไป

สศก.เผยปีทองผลไม้ไทย สินค้าเกษตรไตรมาส 2 พุ่ง ส่งออก 4 เดือน ทะลุ 4.34 แสนล้าน ทุเรียนสด เพิ่มเป็น 25,000 ล้าน มังคุด 5,000 ล้าน พร้อมชูแผนงบ 9,000 ล้าน พัฒนาศักยภาพภาคเกษตรทฤษฎีใหม่

นางสาวจริยา ศรีสุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ภาคเกษตรซึ่งมีสัดส่วน 9% ของจีดีพีทั้งหมด ในไตรมาส 2 ปี 2560 จะขยายตัวได้มากกว่า 2% เนื่องจากช่วงเมษายน-มิถุนายนนี้ เป็นช่วงผลผลิตสินค้าเกษตรออกสู่ตลาด

สำหรับภาพรวมมูลค่าการส่งออก 4 เดือนแรกของปี 2560 อยู่ที่ 4.34 แสนล้านบาท สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกัน ปี 2559 ที่ 8.5% ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มูลค่า 1.6 แสนล้านบาท ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตร 2.73 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.8%

สินค้าส่งออกที่สำคัญช่วงนี้ ได้แก่ ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง เนื้อไก่ ผลไม้ เช่น ลำไย ทุเรียน มะม่วง และมังคุด อาหารแปรรูปต่างๆ โดยส่งออกไปตลาดคู่ค้าที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และตลาดอาเซียน

นางสาวจริยา กล่าวต่อไปว่า ปีนี้ยังคงเป็นปีทองของผลไม้ไทย อาทิ ทุเรียน มังคุด ส่งผลให้การส่งออกผลไม้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการสูง รวมถึงการขนส่งที่สะดวก รวดเร็ว โดยจะเน้นส่งออกไปยังประเทศจีนสู่ตลาดกลางมณฑลเสฉวน บนเส้นทาง R3

คาดว่าปีนี้มูลค่าการส่งออกผลไม้ของไทย โดยเฉพาะสินค้าทุเรียนสดจะเพิ่มเป็น 25,000 ล้านบาท จากปีที่แล้ว 21,000 ล้านบาท ขณะที่มังคุดคาดว่ามูลค่าปรับตัวสูงขึ้น จาก 4,300 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท โดยตลาดหลักยังคงเป็นจีนและฮ่องกง อันจะส่งผลให้เกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว

“แม้ปีนี้ปริมาณผลผลิตผลไม้จะมากกว่าปีที่แล้ว แต่ราคาปีนี้ไม่ได้ตกต่ำลง โดยเฉพาะทุเรียน ปีนี้คาดว่าผลผลิตทั้งหมดอยู่ที่ 633,540 ตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา 30-40% แต่ขณะนี้ราคาทุเรียนเฉลี่ยอยู่ที่ 60-65 บาท ต่อกิโลกรัม ไม่ได้ตกต่ำอย่างที่หลายฝ่ายกังวลและตั้งข้อสังเกต ขณะที่มังคุดปีนี้คาดผลผลิต 217,039 ตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา 2 หมื่นตัน แต่ราคาปีนี้สูงกว่า อยู่ที่ 78 บาท ต่อกิโลกรัม จากปีก่อน 56 บาท ต่อกิโลกรัม”

รายงานข่าวจากสศก.ระบุ เร็วๆ นี้ กระทรวงเกษตรฯ มีโครงการแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรเน้นขับเคลื่อนสินค้าเกษตร ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่และศูนย์ส่งเสริมเกษตรกร Farmer Center ด้วยงบ 9,000 ล้านบาท

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ด้วยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 )พ.ศ.2560 ของกรมเจ้าท่าได้ออกมาบังคับใช้ ยังผลกระทบกับพี่น้องเกษตรกร ผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ผู้อาศัยอยู่ตามริมลำน้ำในแพ เป็นต้น ซึ่งปัญหานี้สภาเกษตรกรฯได้รับการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ทำได้เวลานี้คือได้รวบรวมปัญหาเพื่อรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ โดยสภาเกษตรฯได้ทำบันทึกรายงานไปแล้ว 1 ครั้ง และเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ก็ได้ส่งบันทึกรายงานไปอีก 1 ฉบับ การบังคับใช้พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2560 ในช่วงที่ผ่านมา ตามมาตรา 18 ซึ่งกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่สร้างอยู่ก่อนที่กฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ ที่มีการล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำของแม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ บึง ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทย หรือบนชายหาดของทะเลดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า หรือได้รับอนุญาตแต่ปลูกสร้างไม่เป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาต จะต้องไปแจ้งกรมเจ้าท่าภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2560 มิฉะนั้นอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 1,000 บาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งต้องระวางโทษปรับรายวันในอัตราวันละไม่เกินตารางเมตรละ 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝืนคำสั่งของกรมเจ้าท่านั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย

จากการคาดการณ์เบื้องต้นมีเกษตรกรพื้นที่ 60 จังหวัด allyogame.com ได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 200,000 ครอบครัว ครอบคลุมทั้งเกษตรกรผู้ทำอาชีพประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่ง สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรซึ่งอาจลุกลามเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีถึงแนวทางแก้ปัญหานี้ ได้แก่ การขอนิรโทษกรรมเกษตรกรทั้งหมดที่ไม่ได้ไปขอขึ้นทะเบียนกับกรมเจ้าท่า หรือได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมเจ้าท่าแล้วแต่ไปดำเนินการผิดไปจากที่ได้รับการอนุญาตและให้เกษตรกรไปขึ้นทะเบียนครั้งใหม่กับกรมเจ้าท่า ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี โดยมีการปรับเงื่อนไข หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนสำหรับเกษตรกรให้มีความเหมาะสมไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร และกรณีเกษตรกรรายใดไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนตามพรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 )พ.ศ.2560 ให้ภาครัฐมีมาตรการสนับสนุน เช่น สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อการปรับเปลี่ยนอาชีพ เป็นต้น โดยอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติก็ได้พยายามทำหน้าที่เต็มความสามารถและครบถ้วนที่สุดส่วนผลจะออกมาเป็นประการใดยังไม่อาจทราบได้ อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัดจะยื่นหนังสือแจ้งความเดือดร้อนที่ศูนย์ดำรงธรรมของทุกจังหวัดในวันที่ 6 มิถุนายน 2560 พร้อมกันทั่วประเทศ

พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเพื่อติดตามสถานการณ์อาหารสัตว์และผลผลิตที่ต้องการใช้ในแต่ละปี ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบ ประมาณ 7-8 ล้านตัน ต่อปี ซึ่งสัดส่วน 50% ปลูกในพื้นที่ที่ถูกต้อง แต่อีกประมาณ 3-4 ล้านตัน เป็นข้าวโพดที่ได้จากการบุกรุกป่าเพื่อเพาะปลูก กระทรวงจึงต้องการส่งเสริมให้ลูกข้าวโพดได้ตามปริมาณที่ผู้ซื้อต้องการ ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกในช่วงหลังนา เพื่อให้การเพาะปลูกถูกต้องตามกฎหมาย โดยวันที่ 19 มิถุนายนนี้จะหารือกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้รับซื้อข้าวโพด และเกษตรกรผู้สมัครใจจะปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เพื่อขายให้กับเอกชนที่ต้องการรับซื้อไปผลิตอาหารสัตว์ที่ใช้ในประเทศและส่งออก มีเป้าหมายเพื่อลดพื้นที่บุกรุกป่า โดยจะร่วมกันลงนามบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) หลังได้ข้อยุติทั้งหมดแล้ว

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ปกติผลผลิตข้าวโพดในประเทศไม่เพียงพอความต้องการ หากรัฐบาลต้องการลดพื้นที่ปลูกที่ผิดกฎหมายคาดว่าผลผลิตจะขาดไปประมาณ 5.9 ล้านตัน และจะทำให้เกิดความตึงตัว “หากรัฐบาลจะเอาจริงเอาจังยกเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่บุกรุกป่าซึ่งผิดกฎหมาย โดยไม่ทำให้ราคาอาหารสัตว์สูงขึ้น จำเป็นต้องบูรณาการการทำงานแบบประชารัฐ ทั้งภาครัฐ เอกชน สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ และพ่อค้าที่ขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเกษตรกรว่าจะได้ผลหรือไม่ที่จะลดการบุกรุกพื้นที่ป่า และกระทรวงพาณิชย์ต้องดูแลราคาต้นทางของเมล็ดพันธุ์ด้วย เพื่อควบคุมราคา เรื่องนี้ไม่น่าจะทำได้ในปีเดียว อย่างน้อยน่าจะใช้เวลาประมาณ 5 ปี กว่าผลผลิตจะกลับมาสู่สมดุลโดยไม่บุกรุกป่า” นายพรศิลป์ กล่าว