จากพื้นที่เดิมทั้งหมดกว่า 70 ไร่ เมื่อถูกจัดสรรให้กับพี่น้องแล้ว

คุณนรินทร์ เหลือพื้นที่ทำนาราว 7 ไร่ และยังคงยึดอาชีพทำนาสร้างรายได้หลักให้กับครอบครัว แต่นับตั้งแต่ปี 2530 คุณนรินทร์ บอกอย่างยอมรับสภาพดินฟ้าอากาศที่เกิดขึ้นในทุกปีว่า ข้าวถูกน้ำท่วมทุกปี ในการทำนาทุก 3-4 ปี จะได้กำไรจากการปลูกข้าวเพียงครั้งเดียว

สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ ให้ข้อมูลในการศึกษาพืชที่เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พบว่ามีพืชประเภทบัว ข่าธรรมชาติ หญ้าแฝก และอื่นๆ จึงเลือกพืชดั้งเดิมที่สามารถหาได้ง่ายมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ซึ่งในจำนวนนั้น “บัว” เป็นพืชที่เหมาะสมด้วย

“พันธุ์บัวเฉพาะที่อำเภอปากคาดมีมากถึง 7 สายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกเชิงการค้า คือ พันธุ์หนองนาบอน ที่ฝักจะแบนราบ ขอบฝักไม่เป็นขอบชัดเหมือนบัวพันธุ์อื่น เมล็ดจะโผล่ขึ้นมา รสชาติหวานกรอบ ความกรอบของเมล็ดจะช่วยให้ท้องไม่ผูก เพราะรับประทานแล้วเมล็ดบัวจะกลายเป็นน้ำตาลไม่ใช่แป้ง”

คุณนรินทร์ แม้แรกเริ่มจากการทำนาเพื่อยังชีพเพียงอย่างเดียว เมื่อถูกคุกคามด้วยภัยธรรมชาติในทุกปี การปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดจึงเกิดขึ้น

“มีคนตัดฝักบัวมาขายในตลาดปากคาด รสชาติดี คนติดใจ เลยคิดอยากปลูกบ้าง ไปขอซื้อคคนขายให้ไปขุดจากตมซึ่งเป็นที่นาถูกน้ำท่วมเหมือนกัน แต่บัวในหนองน้ำติดที่นาล้ำออกมาเมื่อน้ำท่วม ครั้งแรกซื้อมาราคาต้นละ 10 บาท จำนวน 400-500 ต้น จ้างรถไถนาอีกประมาณ 20,000 บาท หมดกับต้นทุนครั้งแรกเกือบ 4,000 บาท แต่สุดท้ายไม่ได้อะไรเลย”

ปัจจัยที่ทำให้คุณนรินทร์ไม่ได้ผลผลิตจากการลงทุนในครั้งนั้น เนื่องจากไม่มีความรู้ทางการปลูกบัว เมื่อน้ำท่วมบัวทำให้บัวไม่โตและไม่ออกฝัก ทั้งยังประสบปัญหาหอยเชอรี่ แต่ในท้ายที่สุดการสังเกตทำให้คุณนรินทร์รู้ว่า การควบคุมระดับน้ำในที่นาเพื่อปลูกบัว เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการเพิ่มผลผลิต

“ปกติการปลูกบัวของที่อื่น คือ รอให้ถึงฤดูน้ำหลากแล้วจึงปลูก แต่ผมไม่รอธรรมชาติ ลองปลูกแบบนาปรัง คือ ย่ำคราดและลงบัวหน้าแล้ง ปล่อยน้ำลงในนา เมื่อถึงฤดูฝนบัวจะเจริญเติบโตในระดับที่มีความแข็งแรงพอดี ทำให้บัวไม่ตาย”

บัวพันธุ์หนองนาบอน ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬเรียก เป็นกลุ่มบัวชนิดเดียวกับบัวหลวง ซึ่งชื่อพันธุ์ตั้งขึ้นตามถิ่นที่พบ คือ หนองนาบอน วิธีการปลูกบัวให้ได้ฝักนอกฤดู เพื่อราคาขายและความต้องการของตลาดที่มากขึ้น คุณนรินทร์ ใช้วิธีย่ำคราดและลงบัวในฤดูแล้ง ปล่อยน้ำเข้าแปลงความสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร เมื่อเข้าฤดูฝนใช้วิธีควบคุมระดับน้ำด้วยการสูบน้ำออก เพื่อควบคุมระดับน้ำไว้ จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเข้าแปลงเพื่อเพิ่มระดับน้ำครั้งละไม่เกิน 10 เซนติเมตร บัวจะเริ่มสูงตามระดับน้ำที่สูงขึ้นเสมือนเป็นการปรับตัวทำให้บัวไม่ตาย

การลงบัวในแปลงหลังจากย่ำคราดและปล่อยน้ำเข้าแปลงแล้ว ดูระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 5-6 เมตร หากถี่เกินไปจะทำให้หาหน่อเมื่อเริ่มปลูกใหม่ยาก การปลูกเหมือนการดำนา คือ ใช้มือขุดดินลงไปนิดเดียวแล้วนำขี้ดินที่ขุดขึ้นมากลบบัวไว้ หากขุดลึกเกินไปบัวจะไม่เจริญเติบโต ในระยะแรกปลูกไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยทุกชนิด เพราะเป็นฤดูหนาวที่บัวหยุดการเจริญเติบโต แต่ควรมีน้ำเลี้ยงในแปลงไว้ตลอด เมื่อเข้าฤดูร้อนควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จากนั้นปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ

ก่อนเข้าฤดูฝน คุณนรินทร์สามารถตัดฝักขายได้จำนวนหนึ่งแล้ว เพราะการใช้วิธีสูบน้ำเข้าแปลง ส่งผลให้บัวออกฝักก่อนฤดู พ่อค้าแม่ค้าจะมารอซื้อจากแปลงไปขายเพราะมีเพียงรายเดียว ไม่ต้องแย่งตลาดเหมือนเกษตรกรผู้ปลูกบัวตามฤดูรายอื่น

ราคาขายส่งต่อฝักอยู่ที่ฝักละ 1 บาท แต่ถ้ามัดรวมแล้วจำนวน 7 ฝัก ขายในราคา 10 บาท

ระดับน้ำตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บฝักอยู่ที่ 20-50 เซนติเมตร หากสูงกว่านั้นลำต้นบัวจะสูงขึ้น ส่งผลให้ยากต่อการเก็บ

ตลาดการค้าบัวตัดฝักครอบคลุมถึงตลาดหนองคายและบึงกาฬ โดยเฉพาะตลาดปากคาดจะมีให้เห็นวางจำหน่ายมากกว่าแหล่งอื่น แต่จะพบเห็นในงานเทศกาลของจังหวัดด้วย ซึ่งพ่อค้าแม่ค้ารายใหญ่จะมารับบัวตัดฝักไปในปริมาณมาก จากนั้นนำฝักมัดเป็นกลุ่มแล้วจ้างพ่อค้าแม่ค้าเร่ขายในงานเทศกาลต่างๆ

บัวตัดฝักของคุณนรินทร์เริ่มจากผืนนาประมาณ 4 ไร่ จากนั้นเมื่อมีรายได้เข้าในทุกปี เริ่มซื้อแปลงนาเพิ่มเพื่อปลูกบัว ทั้งยังปลูกข้าวสลับปลูกบัวไปด้วย ขึ้นอยู่กับราคาตลาดขณะนั้นของพืชทั้งสองชนิด หรือในบางคราวที่ยังไม่ทราบราคาตลาดที่แน่ชัด ในแปลงเดียวกันคุณนรินทร์ปลูกพืชทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน หากข้าวได้ราคาดีกว่าระดับน้ำในนาจะสูงขึ้นเพื่อบังคับให้บัวไม่เจริญเติบโต เมื่อได้ผลผลิตจากข้าวแล้วจึงย่ำแปลงเพื่อกระตุ้นให้บัวเจริญเติบโตได้ใหม่

ต้นทุนการผลิตการปลูกบัวตัดฝักขาย มีเพียงปุ๋ยและแรงงานจ้างเก็บฝัก ส่วนบัวในทุกปีหลังเก็บผลผลิตแล้วหน่อบัวจะยังคงอยู่ในแปลง รอการเจริญเติบโตเมื่อมีน้ำ คุณนรินทร์ บอกว่า ฝักบัวในภาคอีสานจะขายดีกว่าดอกบัว ซึ่งแม้จะมีความสวยงามแต่ความนิยมในการนำดอกไปใช้ประโยชน์ในภาคอีสานไม่มี

รายได้จากการตัดฝักบัวขายของคุณนรินทร์อยู่ที่ปีละ 300,000-400,000 บาทต่อปี ทั้งที่ขายส่งเพียงฝักละ 1 บาทเท่านั้น

ความพิเศษของแปลงบัวคุณนรินทร์อยู่ที่ หลังเก็บฝักบัวแล้วตอบัวจะไม่เหลือให้เห็น เพราะทุกครั้งที่เก็บฝักจะดึงตอทิ้งเสมอ เป็นการช่วยให้บัวในแปลงดูใหม่ตลอดเวลา ปัจจุบันที่นาสำหรับทำนาปรังอยู่ที่ 10 ไร่ต่อปี ส่วนอีกกว่า 20 ไร่ คุณนรินทร์จัดการให้เป็นแปลงบัว ดังนั้น แม้ว่าแปลงบัวตัดฝักในอำเภอปากคาดมีให้เห็นได้ในฤดูฝน แต่ถ้าสนใจชมนอกฤดูต้องไปที่แปลงคุณนรินทร์เพียงรายเดียวเท่านั้น

เดินทางไปชมกันถึงที่ได้ที่ บ้านเลขที่ 75 หมู่ 4 บ้านนาดงน้อย ตำบลนาดวง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ มีคำพูดกันจนติดปากว่า ถ้าใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานๆ ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจะกลับลดลงเรื่อยๆ เพราะปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสีย เช่น ทำให้ดินแข็งไถพรวนยาก พืชกินปุ๋ยได้น้อยลง จึงไม่เติบโตดีเท่าที่ควร ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นที่เคยสูงก็จะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เสมือนกับการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นเป็นยาเสพติด ฯลฯ

คำกล่าวนี้มีข้อเท็จจริงมากแค่ไหน? ปัญหาดินแข็งและแน่นทึบ
เกิดจากอะไรได้บ้าง?​
ดินที่ปลูกพืชได้ผลผลิตสูงแต่เดิมนั้นเป็นดินดี เพราะมีดินชั้นบนเป็นดินโปร่งร่วนซุย และอุดมสมบูรณ์ เมื่อเราไถพรวนดินเพาะปลูกพืชอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมานาน โดยไม่มีการปรับปรุงบํารุงดินเลยนั้น ดินก็จะเสื่อมสภาพ กลายเป็นดินเลว พืชผลที่ได้จากการเพาะปลูกจะลดลงอยู่เรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตาม ปกติของดินกับการเพาะปลูก

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากการเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูก แต่ละครั้งต้องมีการไถพรวนดิน สภาพโล่ง เตียนเมื่อมีฝนตกในช่วงนี้ ก่อนพืชที่ปลูกจะปกคลุมหน้าดิน จะเกิดการชะล้างพังทลายหน้าดิน โดยฝนที่ตกแต่ละครั้งที่เรียกว่าการชะกร่อน ทําให้หน้าดินสูญหายไปกับน้ำที่ไหลบ่าผ่านหน้าดินอยู่เรื่อยๆ นานเข้าดินชั้นบนที่เป็นหน้าดินดั้งเดิมซึ่งเป็นดินดี จะถูกชะกร่อนหายไปจนหมด ดินชั้นล่างซึ่งปกติจะเป็นชั้นดินที่แน่นทึบจะโผล่ขึ้นมาเป็นดินชั้นบนแทน จึงทําให้เห็นว่าหน้าดินมีสภาพแข็งและแน่นทึบขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว

สรุปก็คือ ดินแข็งเกิดจากการไถพรวนเพื่อปลูกพืช ตามด้วยการชะล้างหน้าดินออกไปโดยน้ำฝน นี่คือ สัจธรรมของดินการเกษตรกับการเพาะปลูกพืช ที่ไม่มีการปรับปรุงบํารุงดินและจัดการดินที่ดี

ใส่่ปุ๋ยเคมี…
ยิ่งใส่ต้องยิ่งเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ?
การสูญเสียหน้าดินไปนั้น นอกจากสูญเสียธาตุอาหารไปแล้ว ดินยังสูญเสียสภาพทางกายภาพ และทางเคมีที่ดีไปด้วย ในขณะที่ดินกําลังเสื่อมสภาพลง ปัญหาเรื่องการขาดธาตุอาหาร หรือความอุดสมบูรณ์ของดินลดลง จะเกิดขึ้นก่อนเพื่อน และเป็นข้อจํากัดเป็นอันดับแรก เกษตรกรจึงมักใส่ปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีเป็นอันดับแรก เพื่อแก้ปัญหา

เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุอาหารที่ขาดแคลนให้พอเพียงแล้วก็ปรากฏผลผลิตที่เคยลดต่ำอยู่เรื่อยๆ นั้น มีผลผลิตสูงขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เลยกลายเป็นความเคยชินและเข้าใจผิดของเกษตรกร ว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นปัจจัยเดียวในการแก้ไขดินเลวให้เป็นดินดี จึงยึดติดอยู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ติดต่อกันทุกๆ ปี จนต่อมาก็พบว่าผลผลิตตอบสนองที่เคยได้รับจากการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นจะค่อยๆ ลดลง บางคนก็จะต้องใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรักษาระดับผลผลิตให้สูงเท่าเดิม จึงดูเสมือนว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเสมือนยาเสพติด

ข้อเท็จจริงที่เป็นเช่นนี้ อธิบายได้ว่า ขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินอย่างเพียงพอนั้น ปัจจัยตัวอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดินดี หรือที่เรียกว่า ผลิตภาพของดิน (Soil Productivity) นั้นยังมีปัจจัยตัวอื่นๆ อีกหลายปัจจัยที่สําคัญคือ สภาพทางกายภาพของดิน และสภาพทางเคมีของดินได้เสื่อมโทรมลงไปในระดับที่รุนแรง มากกว่าการขาดแคลนธาตุอาหาร

ในดิน ได้เสื่อมสภาพไปกลายเป็นดินที่แข็งแน่นทึบ การระบายถ่ายเทอากาศและนํ้าเลวลง ซึ่งเป็นผลต่อการเจริญเติบโตของราก การดูดกินน้ำ และธาตุอาหารจากดิน ถึงแม้จะมีอยู่ในดินเป็นจํานวนมาก รากก็ดูดกินได้ไม่เต็มที่ ทําให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารของปุ๋ยที่ใส่ให้โดยเปล่าประโยชน์ หรือในบางกรณีสภาพทางเคมีของดินก็เสื่อมลงด้วย เช่น ดินเป็นกรดมากไป จนเป็นอุปสรรคต่อการดูดกินธาตุอาหาร และน้ำของราก เพราะมีธาตุบางธาตุในดินเกิดเป็นสารพิษขึ้นกับรากพืช เป็นต้น

ปัจจัยทางกายภาพของดิน เช่น ดินแข็งและแน่นขึ้นมาก ปัจจัยทางเคมี ดินเป็นกรดรุนแรงขึ้น ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้จะเกิดขึ้นเป็นข้อจํากัด ในอันดับต่อมา ซึ่งจะต้องแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมก่อนหรือพร้อมๆ กับการใช้ปุ๋ยเคมี จึงจะทําให้การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีประสิทธิภาพ

สิ่งที่กล่าวมานี้ โดยทั่วไปเกษตรกรไม่ทราบ จึงไม่ได้ให้ความสําคัญเต็มที่ในการปรับปรุงสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดินร่วมไปกับการใช้ปุ๋ยเคมี จึงทําให้ผลที่ได้จากการใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้ผลเต็มที่อย่างที่เคยได้รับอีกต่อไป จึงเสมือนว่าเมื่อใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานปีเข้า ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นลดลงเรื่อยๆ

สรุปก็คือ การใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่ได้ผลเต็มที่นั้น ก็เนื่องมาจากสภาพทางกายภาพของดิน และหรือสภาพทางเคมีของดินเสื่อมโทรมมากจนพืชไม่สามารถตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

ปุ๋ยเคมีทําให้ดินเป็น “กรด” จริงหรือไม่?!
อีกประเด็นหนึ่งที่มักจะนํามาโจมตีปุ๋ยเคมีอยู่เสมอๆ ก็คือ ปุ๋ยเคมีทําให้ดินเป็นกรด เป็นความจริงที่ว่าการใช้ปุ๋ยเคมีนานเข้าจะทําให้ดินเป็นกรดได้ แต่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ปุ๋ยเคมีทุกชนิดทําให้ดินเป็นกรด ปุ๋ยเคมีพวกที่ให้ธาตุไนโตรเจนเท่านั้น และในกลุ่มของปุ๋ยในโตรเจนก็เพียงปุ๋ยพวกแอมโมเนียม เช่น แอมโมเนียซัลเฟต และ ยูเรีย เท่านั้นที่ทําให้ดินเป็นกรด

ส่วนปุ๋ยไนโตรเจนพวกไนเตรต เช่น แคลเซียมไนเตรต ไม่ทําให้ดินเป็นกรด และกลับทําให้ดินเป็นกลาง เหมาะสําหรับใช้กับที่เป็นกรด เพราะจะทําให้ดินมีสภาพใกล้เป็นกลางขึ้นเรื่อยๆ

สําหรับปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสเซียม ไม่มีผลทําให้ดินเป็นกรดแต่อย่างใด ดังนั้น การใช้ปุ๋ยเคมีจึงไม่จําเป็นต้องทําให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นเสมอไป

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นพวกแอมโมเนียมและยูเรีย และรู้ว่าต่อไปนานปีเข้าดินจะเป็นกรดมากขึ้น ผู้ใช้ปุ๋ยก็สามารถแก้ไขและป้องกันได้ กล่าวคือ มีการวัด pH ของดินอย่างสม่ำเสมอ ถ้า pH ของดินมีค่าต่ำกว่า 4.5 เกษตรกรก็จะต้องปรับสภาพความเป็นกรดของดินด้วยการใช้ปูน เช่น ปูนมาร์ล และปูนขาวในอัตราเหมาะสมเป็นประจําทุกปี แต่ถ้า pH ของดินมีค่าสูงกว่า 4.5 สภาพความเป็นกรดของดินจะไม่เป็นผลในทางลบต่อการเจริญเติบโตของพืชแต่อย่างใด

ข้าวเหนียวดำ หรือเรียกตามภาษาพื้นเมืองของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือว่า “ข้าวก่ำ” เป็นการเรียกตามลักษณะสีของเมล็ดที่มีสีแดงเข้ม หรือ “แดงก่ำ” ซึ่งข้าวก่ำนั้นถือได้ว่ามีคุณค่าทางสมุนไพรหรือความเป็นยาของข้าวก่ำที่ชาวเหนือดั้งเดิมหรือชาวล้านนาได้คิดค้นปรากฏชัดเจนในวัฒนธรรมข้าวชาวเหนือ โดยเฉพาะในนวัตกรรมการเพาะปลูกในพิธีกรรมการเซ่นไหว้ การโภชนาการ การเสริมสวย และยารักษาโรค นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของโภชนศาสตร์เกษตรและเภสัชรักษาพื้นบ้านล้านนา โดยทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด ซึ่งได้รับใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตรในการรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518

รศ.ดร.ดำเนิน กาละดี ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ หน่วยวิจัยข้าวก่ำ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด เป็นข้าวเหนียวที่มีประวัติการปรับปรุงพันธุ์ ในปี 2538 ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวจาก คุณพินิจ คำยอดใจ อาชีพทำนา อยู่บ้านเลขที่ 31/1 บ้านสันปูเลย ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เหนียวสันป่าตอง และอีกพันธุ์เป็นข้าวเหนียวดำ เรียกว่า “ข้าวก่ำ”

จากนั้นได้เริ่มรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวก่ำพื้นเมืองของไทย ตั้งแต่ปี 2539 ทำงานวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์เกษตรมาโดยตลอด และประสบผลสำเร็จ มีผลงานวิจัยเผยแพร่เป็นองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์เกษตรเป็นที่น่าสนใจ จนกระทั่งได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้จัดตั้งเป็น “หน่วยวิจัยข้าวก่ำ” หรือ Purple Rice Research Unit (PRRU) อยู่ภายใต้การดูแลของ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันทางคณะวิจัยสามารถรวบรวมพันธุกรรมข้าวก่ำพื้นเมืองได้ 42 พันธุกรรม จากแหล่งปลูกข้าวทั่วประเทศไทย ทั้งในสภาพของข้าวนาดำ และข้าวไร่ โดยมีพันธุ์ข้าวปรับปรุงที่ได้รับการรับรองพันธุ์ตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 จากกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2548 จำนวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ข้าวก่ำดอยสะเก็ด และข้าวก่ำอมก๋อย

รศ.ดร.ดำเนิน กล่าวเพิ่มว่า สำหรับพันธุ์ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกส่วนใหญ่ เป็นพันธุ์ข้าวก่ำดอยสะเก็ด เนื่องจากมีสารที่เป็นประโยชน์ คือ แกมมาโดไรซานอล สูงกว่าข้าวขาว 2-3 เท่า และยังมีสารสีที่พบในข้าวก่ำ คือ โปรแอนโทไซยานิดิน และสารแอนโทไซยานิน และมีวิตามินอี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่สูง ซึ่งสารกลุ่มนี้มีสูงกว่าในข้าวทั่วไป งานวิจัยยังพบอีกว่าเมื่อแกมมาโอไรซานอลได้ทำงานร่วมกับแอนโธไซยานินจะมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารชะลอความแก่ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดโคเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคอ้วน ความดัน โรคหัวใจ และความจำเสื่อม จึงเหมาะแก่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย

สำหรับลักษณะพันธุ์ข้าวเหนียวดำ เป็นพืชล้มลุกวงศ์หญ้า เป็นข้าวเหนียว ตอบสนองต่อช่วงไวแสง ระบบรากแบบ Fibrous Root System ลักษณะการเจริญเติบโตทางลำต้น มีการแตกกอ เฉลี่ย 9 กอ ต่อต้น มีความสูงเฉลี่ย 141 เซนติเมตร สีของลำต้นเป็นสีม่วง มีปล้องสีม่วง ส่วนเขี้ยวใบก็เป็นสีม่วงเช่นกัน รูปร่างของใบเป็นแบบใบแคบ มีสีม่วงทั้งกาบใบและตัวใบ มีเส้นกลางใบเป็นสีม่วง ลักษณะช่อดอกเป็นแบบรวง ดอกเดี่ยว สมบูรณ์เพศ กลีบดอกรองมีสีม่วง และกลีบดอกมีสีม่วงเช่นกัน เกสรตัวผู้สีเหลือง เกสรตัวเมียสีม่วง

ลักษณะของเมล็ดมีเปลือกสีม่วง เยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง เมล็ดเรียวยาว ขนาดเมล็ดกว้าง 0.33 เซนติเมตร ยาว 0.97 เซนติเมตร ส่วนจำนวนเมล็ดต่อรวงเฉลี่ย 120 เมล็ด อายุการออกดอก 86 วัน มีระยะเวลาการบานดอกจากกอแรกถึงการบาน 90 เปอร์เซ็นต์ นาน 15 วัน

นอกจากการวิจัยดังกล่าวแล้ว ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่เฉลิมเกียรติ จังหวัดแพร่ ผลิตน้ำหมักจากข้าวก่ำ ส่วนด้านการส่งเสริมที่ได้รับทุนสนับสนุนต่อเนื่องจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเกษตรกรที่ได้นำข้าวก่ำดอยสะเก็ดไปปลูกจำหน่ายเป็นสินค้าโอทอป ที่ตำบลแหลมทอง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ โดย คุณดุสิต กาชัย ที่อำเภออุปเมย จังหวัดนครนายก โดย คุณยอดชาย แก้วเพ็ญศรี และที่ ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยกลุ่มเกษตรกร

พริกเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสูงและมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการปลูกอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ คาดว่าพื้นที่ปลูกพริกของเกษตรกรไทย

จากข้อมูลการสำรวจพบว่า โดยเฉลี่ยคนไทยบริโภคพริกคนละ 5 กรัมต่อวัน หรือ ลองคำนวณคร่าวๆ ด้วยประชากรคนไทย 60 ล้านคน ก็จะประมาณได้ว่าคนไทยบริโภคพริกถึง 109,500,000 กิโลกรัมต่อปี

พื้นที่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “พริกขี้หนูหัวเรือ” มีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากที่สุดโดยเฉพาะในเขตจังหวัดอุบลราชธานี แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรที่ปลูกพริกสายพันธุ์นี้พบปัญหาเรื่องผลผลิตต่อไร่ต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีการเก็บเมล็ดพันธุ์เองและไม่มีการคัดเลือกสายพันธุ์

หลังจากที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ใช้เวลาประมาณ 7 ปี ในการคัดเลือกพันธุ์พริกหัวเรือแบบสายพันธุ์บริสุทธิ์ สุดท้ายได้ทำการทดสอบสายพันธุ์ในไร่ของเกษตรกร ได้พริกขี้หนูเรือพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรเก็บพันธุ์เองถึง 14 เปอร์เซ็นต์ ขนาดของทรงพุ่มเล็กกะทัดรัด มีความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นประมาณ 80-90 เซนติเมตรเท่านั้น มีอายุการเก็บเกี่ยวเร็วคือ 90 วัน หลังจากย้ายปลูกลงแปลง ที่สำคัญเป็นพริกที่มีขนาดผลสม่ำเสมอและให้ผลผลิตดกมาก มีความยาวของผลเฉลี่ย 7-8 เซนติเมตร จัดเป็นพริกขี้หนูผลใหญ่ที่มีความเผ็ดมาก (คนอีสานเคยเล่าติดตลกว่ากินส้มตำใส่พริกหัวเรือเพียงผลเดียวกินเช้าเผ็ดถึงบ่าย)

นอกจากนั้นยังจัดเป็นพริกขี้หนูที่มีกลิ่นหอม เมื่อผลแก่มีสีแดงสดใช้รับประทานสดหรือแปรรูปเป็นพริกขี้หนูแห้งจะได้พริกขี้หนูที่มีขนาดใหญ่และสวยมาก สำหรับเกษตรกรที่นำไปปลูกต่างก็ยอมรับว่าให้ผลผลิตดกมาก เมื่อการบำรุงรักษาที่ดีพอประมาณจะให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ได้ทดลองปลูก “พริกหัวเรือพันธุ์ใหม่” พบว่าเป็นพริกที่ให้ผลผลิตดี ติดผลดก ผลผลิตต่อไร่สูงมาก และที่สำคัญเป็นที่ต้องการของตลาด

เคล็ดลับกับการปลูกพริกหัวเรือพันธุ์ใหม่ให้ทันช่วงราคาสูง ต้องมีที่ดอนน้ำไม่ท่วม ดินดี มีความเป็นกรด-ด่าง 6 – 6.8 มีอินทรียวัตถุพอสมควร มีความร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ไม่มีไส้เดือนฝอยรากปม เริ่มเพาะต้นกล้าพริกตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม เพื่อปลูกในเดือนกันยายน ซึ่งในช่วงดังกล่าวฝนจะตกชุกที่สุดจะทำให้ต้นกล้าพริกเน่า เพราะน้ำขังแปลงปลูก หรือดินแน่นโดยเกษตรกรจะมีทางเลือก 2 ทาง คือ เพาะต้นกล้าในกระบะพลาสติก (ถาดหลุม) ถาดละ 104 หลุม ราคาใบละ 18 บาท โดยเตรียมวัสดุเพาะใส่ถาดหลุม ประกอบด้วยดินผสม ได้แก่ ดิน : แกลบดำ : ปุ๋ยคอก = 4:1:1 นำดินผสมมารวมกับส่วนผสมของปุ๋ยหมักแห้ง + เชื้อไตรโคเดอร์มาสด + รำอ่อน อัตรา (100 กก. + 1 กก. + 5 กก.)

อัตราดินผสม : ส่วนผสมของปุ๋ยหมักแห้ง = 4 : 1

เมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะต้องเป็นพันธุ์ดี ไม่มีโรคและแมลง ก่อนเพาะ 1 วัน ต้องนำไปแช่น้ำอุ่น 55 องศาเซลเซียส (น้ำเย็น 1 ส่วน + น้ำเดือด 1 ส่วน) นาน 20 นาที เพื่อฆ่าเชื้อแอนแทรคโนส(กุ้งแห้ง) ที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้เมล็ดที่ลอยน้ำแสดงว่าลีบให้เก็บทิ้ง หลังจากนั้นนำไปแช่ในสารละลายสปอร์เชื้อไตรโคเดอร์มาสด (เชื้อสด 4 ถุง + น้ำ 100 ลิตร)แช่เมล็ด 1 คืน จึงเพาะในกระบะหลุมละ 1 เมล็ด กลบดิน เก็บถาดในที่ร่มรำไร หรือมีตาข่ายพรางแสงอย่าให้ถูกฝนโดยตรง

หลังจากงอกได้ 15 วัน พ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงต้นอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วัน) จะทำให้ต้นโตเร็วขึ้น ไม่ควรใช้ยูเรีย เพราะต้นกล้าจะอวบเกินไป เมื่อต้นกล้าอายุ 1 เดือนหรือมีใบจริง 2-3 ใบก็สามารถนำมาปลูกได้ หรืออีกวิธีคือการเพาะต้นกล้าในแปลงที่อยู่ในที่ดอน ใช้ตาข่ายพรางแสงอย่าให้ถูกฝนโดยตรง

วิธีการเตรียมเมล็ดทำเหมือนเพาะในกระบะทุกอย่าง ส่วนวัสดุเพาะใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาสด ผสมปุ๋ยหมักแห้งอัตรา 2-3 กก./10 ตารางเมตร ร่วมกับหว่านปูนขาว 0.5-1 กก./10 ตารางเมตรคลุกเคล้าให้เข้ากัน จึงหว่านเมล็ด โดยพื้นที่ 5 ตารางเมตรจะใช้เมล็ดพันธุ์พริกหว่านประมาณ 50 กรัม กลบดินให้เมล็ดจมดินทุกเมล็ด อย่าให้เมล็ดอยู่เหนือดิน เมื่ออายุ 1 เดือน หรือกล้าพริกมีใบจริง 2-3 ใบจึงถอนไปปลูกได้

การปลูกพริก ไม่ควรปลูกเกินวันที่ 15 กันยายน หลังเตรียมดินดีแล้ว พร้อมปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวโดโลไมท์อัตรา 20-25 กก./ไร่ ก่อนปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักแห้งอัตรา 150-200 กก./ไร่ (ผสมปุ๋ยหมักแห้ง 100 กก.+ เชื้อสด 4 ถุงๆ ละ 250 กรัม + รำ 5 กก.) ซึ่งเกษตรกรที่นิยมปลูกแบบปักดำ กดรากลงในดินจะทำให้โคนต้นกล้าพริกช้ำง่าย ต้นกล้าจึงต้องใช้เวลาฟื้นตัวนาน ถ้าต้องการให้ต้นกล้าดูดอาหาร แตกกิ่งได้เร็วขึ้นควรปลูกแบบหลุม และยกร่องเพื่อป้องกันน้ำขัง ในหลุมรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักแห้ง(ผสมปุ๋ยหมักแห้ง 100 กก.+ เชื้อสด 4 ถุงๆละ 250 กรัม + รำ 5 กก.) อัตราหลุมละ 100 กรัม ก่อนปลูกแช่รากพริกด้วยเชื้อสด 4 ถุงๆ ละ 250 กรัมละลายในน้ำ 100 ลิตร แช่นาน 30 นาที จนกว่าจะปลูกเสร็จ (ถ้าปลูกไม่เสร็จให้ละลายเชื้อใหม่อย่าแช่รากทิ้งไว้)

การปลูกแบบหลุมเมื่อรากฟื้นตัวจะดูดอาหารได้ทันที และป้องกันโรครากเน่าและโคนเน่าด้วย ซึ่งในฤดูฝนเสี่ยงต่อโรคในดินหลายชนิด ควรฉีดสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงเป็นระยะๆ หรือตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตของพริก

การดูแลรักษาพริกหัวเรือพันธุ์ใหม่ สมัครสโบเบ็ต หลังปลูก 15 วัน พ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงต้นอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วันจนออกดอก) พ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงผลอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วันจนถึงเก็บเกี่ยว) พ่นแคลเซียมไนเตรท(15-0-0) อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในช่วงติดผลเล็กเพื่อแก้ปัญหาเกิดผลนิ่ม ปลายผลเหี่ยวเนื่องจากการขาดธาตุแคลเซียมและป้องกันไม่ให้เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคกุ้งแห้งเข้าทำลายซ้ำ พ่นสปอร์เชื้อสด 4 ถุงๆ ละ 250 กรัม+น้ำ 200 ลิตรร่วมกับน้ำหมักชีวภาพทุก 1 เดือน ถ้ามีไร โรค แมลงศัตรูทำลายให้ใช้สารเคมีตามความเหมาะสมหรือพ่นสลับกับน้ำหมักสมุนไพร

พริกเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากเกินไป ฉะนั้นก่อนให้น้ำควรตรวจดูดินบริเวณโคนต้น ดังนี้ ในดินร่วนปนทราย ทำโดยกวาดดินออกประมาณ 1 นิ้ว แล้วขุดเอาดินประมาณ 1 กำมือ บีบแล้วคลายออกจากนั้นตรวจดูดินหลังจากคลายแล้ว ถ้าดินมีความชื้นน้อยไป ก้อนดินมีความชื้นน้อยไป ก้อนดินจะแตกหลังคลายมือออก ถ้าดินมีความชื้นพอเหมะจะจับตัวเป็นก้อน และถ้าดินมีความชื้นสูงเกินไป จะมีน้ำไหลออกมาตามช่องนิ้วมือ

ในสภาพดินเหนียว การตรวจสอบความชื้นแตกต่างไปจากสภาพดินทรายทำโดยนำเอาดินที่จะทำการตรวจสอบมาปั้นเป็นแท่งยาวคล้ายดินสอให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ½ เซนติเมตร ถ้าไม่สามารถปั้นได้แสดงว่าความชื้นน้อยไป ถ้าปั้นได้แต่ขาดเป็นช่วงๆ แสดงว่าความชื้นพอเหมาะ ถ้าปั้นได้แต่ไม่มีการขาด แสดงว่าความชื้นสูงไป ทั้งในดินร่วนปนทรายและดินเหนียว ถ้ามีความชื้นสูงเกินไปให้แก้ไขโดยการพรวนดินซึ่งจะช่วยให้น้ำระเหยออกจากดินได้

ส่วนในกรณีที่ดินแห้งเกินไปและไม่อาจให้น้ำได้ ก็ควรใช้วัตถุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว ต้นถั่ว หรือใช้พลาสติกคลุมแปลง เป็นต้น ซึ่งจะช่วยรักษาความชื้นในดินได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นการป้องกันวัชพืชไม่ให้ขึ้นด้วย

การกำจัดวัชพืชและการพรวนดินหลังจากปลูกพริกแล้ว เมื่อพริกมีอายุประมาณ 20 วัน ควรทำการกำจัดวัชพืชที่วอกขึ้นมาและถ้าตรวจพบว่าพื้นที่ปลูกพริกดินจับตัวกันแน่นก็ให้พรวนดิน เพราะถ้าดินแน่นจะทำให้พริกแคระแกร็นได้, การให้ปุ๋ยระยะ 1 เดือนแรก ก็ให้ทางดินร่วมกับทางใบเป็นหลัก โดยการให้ทางดินก็ให้สูตร 46-0-0 สลับกับ 15-0-0 หรือ 15-15-15 ในเดือนแรก ในอัตรา 5 กก.ต่อไร่/ครั้ง แต่ไม่เกิน 10 กก.ต่อไร่/ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ส่วนทางใบใช้สูตร 21-21-21 สลับ 30-20-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ในอัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ระยะเดือนที่ 2-3 ระยะนี้พริกมีอายุ 30-90 วัน ซึ่งมีการติดผลของพริกในชุดแรก ธาตุอาหารทางดินและทางใบยังจำเป็นเหมือนเดิม ทางดินใช้สูตร15-15-15 สลับ 13-13-21 ส่วนทางใบใช้สูตร 15-0-0 เพื่อเพิ่มธาตุแคลเซียมในช่วงติดผลเล็ก ในอัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร