จึงได้ร่วมกับหน่วยงานราชการ จัดงาน “105 ปี เป็นหนึ่งใน AEC”

สับปะรดประจวบคีรีขันธ์ และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ วัฒนธรรม ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดให้กับเกษตรกร ประชาชนทั่วไปที่สนใจได้รับชม นอกจากนี้ ยังให้การสนับสนุนงบพัฒนาจังหวัดในการพัฒนาการผลิตสับปะรดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้ผลผลิตมีคุณภาพ มีความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด คุณมงคล จอมพันธ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า

สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกสับปะรดผลสดเพื่อการบริโภค ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกสับปะรดผลสดเพื่อการบริโภคและส่งออก (งบพัฒนาจังหวัด ปี 2559) จัดทำแปลงสาธิตการปลูกพันธุ์สับปะรด MD2 (เอ็มดีทู) ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไว้จำนวน 25 ไร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เกษตรกรเข้ามาศึกษา และจะขยายหน่อพันธุ์ไปยังเกษตรกรได้ปลูกในปีต่อๆ ไป

นอกจากนี้ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า อยากเชิญชวนให้ประชาชนทุกท่านหันมาบริโภคสับปะรด เพราะว่าจากผลการศึกษาวิจัยทางโภชนาการ สับปะรดมีประโยชน์ต่อร่างการเราในหลายๆ ด้าน เช่น ช่วยในการย่อยอาหาร สับปะรดมีกากใยอาหารมากซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยย่อยอาหาร ลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแข็งแรง เนื่องจากสับปะรดมีวิตามินซีสูง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยให้สุขภาพเหงือกและฟันแข็งแรงอีกด้วย คุณมงคล กล่าวทิ้งท้าย

ผู้ที่สนใจอาชีพการปลูกสับปะรดก็สามารถเข้าเรียนรู้ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ที่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีด้วยกัน 2 ศูนย์ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอหัวหิน มีรายละเอียดดังนี้

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรสับปะรด อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

ตั้งอยู่ที่ บ้านวังมะเดื่อ หมู่ที่ 10 บ้านวังมะเดื่อ ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมี คุณวิสูตร วิทยานันท์ เป็นเกษตรกรเจ้าของศูนย์ เบอร์โทร. ติดต่อ (081) 736-8630

จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ : มีเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตสับปะรด หลักสูตรการเรียนรู้ : การผสมปุ๋ยใช้เองในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดและการลดต้นทุนการผลิต

มีฐานการเรียนรู้ : ฐานการเรียนรู้การผสมปุ๋ยใช้เอง ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดและการลดต้นทุนการผลิต คือการใช้ปุ๋ยเคมี ภายในฐานจะมีการผสมปุ๋ยใช้เองที่เหมาะสมกับสับปะรด โดยจะมีการผลิตปุ๋ยเคมีสูตร 15-5-20 จำหน่ายให้กับเกษตรกร โดยมีส่วนผสมของแม่ปุ๋ย แสดงให้เกษตรกรได้เรียนรู้

การจัดการแปลงผลิตสับปะรด ได้แก่ เทคนิคการเตรียมดิน วิธีการคัดหน่อก่อนปลูก วิธีการปลูกระบบ 4 แถวคู่ เพิ่มจำนวนหน่อเป็น 8,000-10,000 หน่อ ต่อไร่ ซึ่งจะเพิ่มผลผลิตได้ถึงไร่ละ 12 ตัน และการใส่ปุ๋ยสูตร 15-5-20 เพื่อควบคุมคุณภาพก่อนการเก็บเกี่ยว และการเก็บเกี่ยวและการบรรจุหีบห่อ

ตั้งอยู่ที่ สวนเพชรรุ่งเรือง เลขที่ 136 หมู่ที่ 11 ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โดยมี คุณรุ่งเรือง ไล้รักษา เป็นเกษตรกรเจ้าของศูนย์ เบอร์โทร. ติดต่อ (085) 299-6701

จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ : การเพิ่มมูลค่าผลผลิตสับปะรดโดยการผลิตสับปะรดผลสด

หลักสูตรการเรียนรู้ :

การผลิตสับปะรดผลสด สายพันธุ์ต่างๆ เช่น พันธุ์เพชรบุรี 1 พันธุ์ตราดสีทอง พันธุ์ภูเก็ต เป็นต้น
2. การตลาดสับปะรดผลสด และการกระจายผลผลิต
มีฐานการเรียนรู้ :

การผลิตสับปะรดผลสด เน้นเทคนิคการผลิตสับปะรดผลสดตั้งแต่การเลือกพันธุ์ การปลูก การให้น้ำ การบังคับผล การบริหารจัดการ และการดูแลรักษา เช่น การเลือกใช้หน่อสับปะรดที่มีขนาดใกล้เคียงกันในการปลูก ระยะการปลูก การใส่ปุ๋ย
การตลาดสับปะรด ใช้วิธีการวางแผนการผลิตสับปะรดให้กระจายผลผลิตออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี เพื่อรองรับความต้องการของตลาดสับปะรดผลสดที่มีทั้งปี หลีกเลี่ยงการกระจุกตัวของผลผลิตในบางช่วงของปี เป็นการลดความเสี่ยงเรื่องราคาตกต่ำด้วย

หากพูดถึงการเกษตร น้อยคนนักที่จะได้คลุกคลีอย่างแท้จริง โดยเฉพาะผู้คนรุ่นใหม่ นับวันยิ่งห่างไกลธรรมชาติ

แต่ Coro Fieldฟาร์มเชิงเกษตรไลฟ์สไตล์ฟาร์มมิ่งแห่งแรกในไทยแห่งนี้ จะทำให้เราอยากใกล้ธรรมชาติมากขึ้น Coro Field ฟาร์มเชิงเกษตรสไตล์ญี่ปุ่น บนพื้นที่แสดง 7-8 ไร่ จากการลองผิดลองถูกของ 2 พี่น้อง คนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการเกษตรกว่า 3 ปี ก่อนจะเปิดตัวเมื่อ 14 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา

coro field มาจาก คำว่า “Coro” เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า เวลา รวมกับ คำว่า “Field” คือ สนามกว้างๆ สีเขียว

คุณพันดนัย สถาวรมณี เจ้าของ Coro Field กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการฟาร์มว่า “ด้วยปัจจุบันนี้ผู้คนใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ จึงอยากให้ Coro Field เป็นที่พักผ่อน และเป็นเสมือนสถานที่ที่จะหยุดเวลาให้ทุกคนอยู่กับตัวเองและธรรมชาติมากขึ้น”

แรงบันดาลใจต่อมาคือ ความจริงที่ว่า การเกษตรของไทยกำลังจะหายไป คนรุ่นใหม่สนใจน้อยลง Coro Field จะเป็นหนึ่งตัวอย่างที่จะทำให้ทุกคนเห็นว่าการเกษตรมีมนต์เสน่ห์ อยากให้คนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานเกษตรกร มีแรงบันดาลใจในการพัฒนาที่ดิน ด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ อยากให้ในอนาคตหากพูดถึงประเทศที่มีนวัตกรรมทางการเกษตรเป็น อันดับ 1 ต้องมาที่เมืองไทย

สำหรับในโครงการ Coro Field มีส่วนของพื้นที่แสดงนวัตกรรม การเพาะปลูก และระบบโรงเรือน แบ่งได้เป็น 5 เซ็กชั่น คือ

Coro House ระบบการเพาะปลูกที่นำเทคโนโลยีการปลูกจากอิสราเอลมาใช้ เรียกว่า ระบบ Coro Brain
2.Coro café และ

Coro Market ร้านอาหารและจุดจำหน่ายสินค้า ซึ่งเมนูอาหารของที่นี่จะปรับเปลี่ยนตามฤดูกาล
Coro Garden หรือสนามเด็กเล่นพืช สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมพืชผักหรือผลไม้ที่ปลูกในโครงการ
Coro Me หรือโซน DIY กระถางต้นไม้ คอนเซ็ปต์หลักคือ ต้องการให้ลูกค้าเห็นว่าต้นไม้คือสิ่งมีชีวิตและเคารพต้นไม้ มีกิจกรรมการอุปถัมภ์ต้นไม้ การกล่าวคำปฏิญาณเพื่อสัญญาว่าจะดูแลต้นไม้เป็นอย่างดี

พืชที่ปลูกใน Coro Field นี้ จะปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ส่วนใหญ่เป็นพืชสายพันธุ์จากเมืองนอกที่ปลูกได้ยากในเมืองไทย เช่น เมล่อนญี่ปุ่น แตงโมแอฟริกา เป็นต้น ใครที่สนใจอยากสัมผัสการทำเกษตรยุคใหม่ สามารถไปเยี่ยมชมกันได้ เปิดบริการทุกวันจันทร์-อาทิตย์ Coro Field ตั้งอยู่ที่ 117 บนถนนราชบุรี- ผาปก หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 70180ที่สำคัญเข้าชมฟรีค่ะ

เกษตรกรหลายจังหวัดได้หันมานิยมปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อการค้ากันมากขึ้น และ

หลากหลายดูเหมือนว่าจะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ใช้เวลาไม่นานก็สามารถเก็บผลผลิตออก สู่ท้องตลาดได้แล้ว พืชทางเลือกมีหลายอย่างให้เลือกปลูก เน้นจุดคุ้มทุนเป็นหลัก ถึงจะพอมีเวลา

ให้ได้ตั้งตัว

คุณสถาพร ใจลูน เกษตรกรแห่ง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้หันมาปลูกไผ่เป๊าะเพื่อการค้าเมื่อปีที่แล้ว โดยศึกษาจากตำรา เห็นว่าไผ่ชนิดนี้ปลูกง่ายและออกหน่อเก็บได้นาน ที่สำคัญหน่อมีขนาดใหญ่และอวบรสชาติอร่อย กรอบ เนื้อเยอะ ทำอาหารแทบไม่ต้องต้มก่อนเลยด้วยซ้ำไป นี่คือจุดเด่นของ ไผ่เป๊าะ

คุณสถาพร เรียนรู้ด้วยตัวเองในการเป็นเกษตรกรตามแบบฉบับพื้นบ้านหรืออาจจะเรียกว่าครูพักลักจำนั่นแหละ การปลูกไผ่เป๊าะนี้ไม่ต่างกับปลูกไผ่รวก ไผ่เลี้ยงทั่วไปเลย มีเทคนิคอยู่อย่างหนึ่งในการปลูกไผ่คือ ขุดหลุมราวครึ่งศอก นำปุ๋ยคอกใส่ก้นหลุมคลุกกับน้ำพอเปียกแล้วนำพันธุ์ไผ่ลงปลูก

เหยียบดินพอแน่นทิ้งไว้อาทิตย์เดียวไผ่ก็จะแตกตา ถือว่าไผ่กอนี้รอดแล้ว ไม่ตาย คุณสถาพรปลูกไผ่เป๊าะ 2 ไร่ ไผ่เลี้ยง 1 ไร่

เคล็ดไม่ลับในการปลูกไผ่ในหน้าแล้งหรือชำไผ่ช่วงหน้าแล้ง ให้ตัดข้อด้านบนสุดออก เหลือไว้ 1 คืบ สำหรับเทน้ำลงไปในรูไม้ไผ่ น้ำจะไปหล่อเลี้ยงลำต้นเพื่อความสดชื่น และจะแตกตาเร็วขึ้น…เปอร์เซ็นต์รอดมีสูงมาก

หน่อไม้จากสวนนำไปขายในตลาดนัด ชุมชนกลางหมู่บ้าน ขายกิโลกรัมละ 40 บาท ไม่พอขาย และยังขายพันธุ์ไผ่ให้ลูกค้าไปทดลองปลูก ต้นละ 30 บาท ไผ่เป๊าะ และไผ่เลี้ยง ของคุณสถาพรที่อำเภอฝาง ลูกค้าสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะเจ้าของแนะนำวิธีการปลูกให้ลูกค้าโดยไม่ปิดบัง

การปลูกไผ่ 2 ชนิดนี้ ให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ อาทิตย์ละครั้ง คลุมดินด้วยขี้เถ้าแกลบหรือปุ๋ยคอก เพื่อรักษาความชื้นและปรับปรุงบำรุงดิน

คุณสถาพร บอกว่า ตนเองผลิตไผ่โดยอาศัยธรรมชาติ จึงปลอดภัยทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค ผู้สนใจ สอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ (088) 413-5231

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม 2559 ที่จะถึงนี้ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ร่วมกับ สภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดงานสัมมนา หัวข้อ สุดยอดนวัตกรรมจากไผ่ของไทย “พบความมหัศจรรย์ของพันธุ์ งานแปรรูป และผลิตภัณฑ์ชั้นยอดจากไผ่” ที่ห้องประชุมใหญ่ หนังสือพิมพ์ข่าวสด

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมงาน เสียค่าลงทะเบียน 700 บาท…พิเศษ แจกฟรี หนังสือพริก ราคา 220 บาท มะละกอ ราคา 225 บาท สับปะรด ราคา 230 บาท เล่มใดเล่มหนึ่ง สำหรับลูกค้า เอไอเอส 150 ท่านแรก สะละอินโดฯ เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย เกษตรกรไทยได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว โดยเริ่มในจังหวัดทางภาคใต้ก่อน เนื่องจากมีอากาศชื้นและฝนชุกคล้ายภูมิประเทศของอินโดนีเซีย ซึ่งมีเกาะเป็นจำนวนมาก ต่อมาได้ขยายพื้นที่การปลูกไปหลายจังหวัด เช่น จังหวัดในภาคตะวันออก และจังหวัดภาคกลางบางจังหวัด

มีโอกาสได้ชิมรสชาติสะละอินโดฯ ครั้งแรกเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว รู้สึกประทับใจในความล่อนของเนื้อและความกรอบ ในสมัยนั้นสะละพันธุ์ดีๆ ของไทย เช่น สุมาลี เนินวง ยังไม่มีแพร่หลาย มีแต่ระกำหวาน ซึ่งคุณภาพยังเทียบกับสะละในปัจจุบันไม่ได้ แต่รสชาติหวานอมเปรี้ยวของสะละบ้านเราก็ยังเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากสะละอินโดฯ มีราคาแพงกว่าสะละบ้านเรา

เกษตรกรชาวสวนยางในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา คุณดอเลาะ สะตือบา อยู่ที่บ้านเลขที่ 101 หมู่ที่ 8 ตำบลบาโร๊ะ ได้ปลูกสะละอินโดฯ แซมในสวนยาง ซึ่งมีพื้นที่ 3 ไร่ เป็นจำนวน 400 ต้น ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 4 ไร่ ได้ขุดบ่อปลา เลี้ยงไก่ และทำการเกษตรผสมผสานอย่างอื่น โดยการปลูกยางพาราจะใช้ระยะห่างระหว่างต้น 8 เมตร และระยะห่างระหว่างแถว 3 เมตร ในช่วงว่างระหว่างต้น 8 เมตรนั้น คุณดอเลาะ ได้ปลูกสะละอินโดฯ ลงไป 3 ต้น ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และสะละอินโดฯ ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา

เริ่มต้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2549 คุณดอเลาะ ได้มีโอกาสชิมสะละอินโดฯ ก็ถูกใจในความกรอบล่อน จึงนำเมล็ดพันธุ์จากประเทศอินโดนีเซียมาปลูกเพียง 20 ต้น เพียง 3 ปี ก็ได้ผลผลิต สามารถจำหน่ายในสวนขณะนั้นได้กิโลกรัมละ 50 บาท ลูกค้าที่ได้ชิมก็ติดใจ จำนวนผลผลิตที่ได้ไม่พอขาย จึงเกิดความคิดจะปลูกสะละอินโดฯ เพื่อจำหน่าย แต่ติดขัดที่พื้นที่ ต่อมาคิดได้ว่าช่วงว่างระหว่างต้นยางยังมีพื้นที่ว่างอยู่ จึงได้ปลูกสะละอินโดฯ ในระหว่างร่องยาง ร่องละ 3 ต้น

การปลูกโดยใช้เมล็ดจะต้องเลือกใช้เมล็ดที่มีขนาดใหญ่ สมบูรณ์เต็มที่ จากต้นที่มีผลดกและรสชาติดี นำมาผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 7 วัน อย่าตากแดด เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดลง นำเมล็ดมาเพาะในถุงดำที่ใส่ดินผสมกับขี้วัวแห้ง ใส่เมล็ดลงไปให้เมล็ดพอจม แล้วนำดินผสมโรยปิดหน้าด้านบนอีกเล็กน้อย วางไว้ในที่ร่มรำไร หรือใต้ร่มไม้ รดน้ำเช้า-เย็น ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เมล็ดก็จะเริ่มงอก รดน้ำเหลือแค่วันละครั้ง จนกระทั่งครบ 5 เดือน เมื่อต้นมีขนาดใหญ่ก็จะเปลี่ยนถุงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ดูแลต่อไปอีกประมาณ 2-3 เดือน ต้นสะละอินโดฯ ก็โตพร้อมที่จะจำหน่าย ปัจจุบัน คุณดอเลาะ จำหน่ายหน้าสวน ในราคาต้นละ 30 บาท การปลูกสะละอินโดฯ จะขุดหลุมลึกและกว้าง 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยขี้วัวหรือปุ๋ยมูลสัตว์และใบไม้แห้ง ฤดูปลูกที่เหมาะสมคือช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป และควรเป็นที่ร่มรำไร ต้นจะเจริญเติบโตได้ดี

ในสวนคุณดอเลาะ ให้น้ำต้นสะละอินโดฯ ด้วยระบบสปริงเกลอร์ วันละครั้งหรือ 2 วันครั้ง แล้วแต่สภาพดินฟ้าอากาศ แต่ก็ไม่เคยเจอโรคโคนเน่า เพราะบริเวณโคนจะต้องดูแลให้โล่งเตียน ไม่ให้รก ซึ่งจะเป็นแหล่งอาศัยของแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูพืช การตัดแต่งใบของต้นสะละอินโดฯ ก็จำเป็นเพียงเพื่อไม่ให้รกคลุมดินมากเกินไปเท่านั้น ไม่ควรตัดแต่งจนโคนโล่งเกินไป

ในสวนจะเน้นการใช้ปุ๋ยคอก โดยใช้ในอัตรา 5-10 กิโลกรัม ต่อปี ต่อต้น ส่วนปุ๋ยเคมีจะใช้น้อยมาก โดยจะใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 60-0-0 ในอัตรา 250 กรัม ต่อต้น เมื่อสะละเริ่มติดผลอ่อน และหลังจากนั้นอีกประมาณ 2 เดือน ก็จะใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ในอัตรา 250 กรัม ต่อต้น และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตรของคุณดอเลาะใช้น้ำหมักชีวภาพ 20 ลิตร นม ยูเอชที 10 กล่อง หมักไว้ในที่ร่ม ประมาณ 20 วัน อัตราการใช้คือ น้ำหมัก 1 แก้ว ต่อน้ำ 1 ฝักบัว หรือประมาณ 20 ลิตร ใช้สำหรับรด 1 ต้น จะรดเฉพาะในช่วงเดือนสุดท้ายก่อนเก็บผล 3 ครั้ง โดยรดห่างกัน 10 วัน จะทำให้สะละอินโดฯ มีรสชาติดีขึ้น

ดอกของต้นสะละอินโดฯ จะเริ่มบานจำนวนมากตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม ในช่วงเวลาเช้าไม่เกิน 9 โมงเช้า คุณดอเลาะ จะเอาเกสรตัวผู้มาผสมกับเกสรตัวเมีย โดยเด็ดเกสรตัวผู้จากต้นตัวผู้มาเคาะใส่ดอกตัวเมีย สังเกตได้ว่าเกสรดอกตัวเมียจะใหญ่กว่าเท่าหนึ่งของเกสรดอกตัวผู้ โดยใช้จำนวนดอกต่อดอกจึงจะทำให้ติดผลได้ดี ตรงนี้มีเทคนิคของคุณดอเลาะ ซึ่งบอกว่า “จะต้องดูลมด้วย ถ้าลมแรง เกสรตัวผู้ที่ผสมจะโดนลมพัดปลิวทำให้ผลติดน้อย เมื่อผสมเกสรแล้วควรเอาใบที่ตัดทิ้ง หรือใบกล้วยมาปิดทับไว้ 2-3 วัน ค่อยเอาใบกล้วยออก จะทำให้ผลติดดี และเกสรตัวเมียจะบานเพียง 2 วัน จึงต้องเร่งผสมให้ทันเวลา”

ในช่วงที่สะละอินโดฯ ติดผล จำเป็นต้องหมั่นดูแลและตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์ออก เพื่อให้ผลอื่นในช่อมีความสมบูรณ์ หลังจากที่ผสมติดแล้ว ผลของสะละอินโดฯ จะใช้เวลา 5 เดือน จึงจะสามารถเก็บผลผลิตได้ คือประมาณช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี แต่ในสวนที่มีการจัดการอย่างดี จะจำหน่ายผลผลิตได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมไปถึงเดือนสิงหาคม อย่างสวนของคุณดอเลาะ ในช่วงเวลาที่ติดผล คุณดอเลาะ จะสังเกตเห็นว่าการที่ช่อผลของสะละอินโดฯ โดนน้ำจากการรดด้วยสปริงเกลอร์จะสมบูรณ์กว่าช่ออื่น ส่วนการเก็บผลผลิตจะสังเกตจากผิวที่เงามันและขนจะหลุดร่วงไป โดยไม่จำเป็นต้องชิม เนื่องจากมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มานาน

ปัจจุบัน ต้นสะละอินโดฯ 400 ต้น ในสวนคุณดอเลาะ อายุได้ประมาณ 7 ปี มีผลผลิตสมบูรณ์เต็มที่แล้ว ในปีที่ผ่านมาผลผลิตสะละอินโดฯ ทั้งปี ประมาณ 1,500 กิโลกรัม จำหน่ายหน้าสวน กิโลกรัมละ 80 บาท มีรายได้เฉพาะสะละอินโดฯ อย่างเดียวปีละ 120,000 บาท ค่าใช้จ่ายที่ต้องซื้อคือ ปุ๋ยเคมี ปีละ 3 กระสอบ ส่วนปุ๋ยคอก ได้จากการเลี้ยงไก่ในสวน ไม่ต้องซื้อหา นอกจากการทำสะละอินโดฯ แล้ว คุณดอเลาะ ยังทำเกษตรผสมผสานอย่างอื่นอีกหลายอย่าง ไว้มีโอกาสจะนำมาเสนอให้อ่านอีก

คุณไมตรี สุขเกษม หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ การปลูกสะละอินโดฯ มีปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ

การตัดแต่งหน่อและใบสะละจะทำให้แตกหน่อออกรอบลำต้น ถ้าไม่ดูแล จะมีหน่อที่เจริญเติบโตออกเป็นลำต้นจำนวนมาก ใน 1 กอ ควรเลี้ยงต้นไว้ไม่เกิน 3 ต้น ส่วนการตัดแต่งใบ ให้ตัดทางใบออกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก เพื่อไม่ให้มีใบมากเกินไป เป็นการลดการใช้อาหารและช่วยให้การติดผลรวมถึงทะลายมีพื้นที่มากขึ้น ไม่เบียดกัน ผลก็จะโตขึ้นและสะดวกในการปฏิบัติงาน
ต้องช่วยผสมเกสร เนื่องจากสะละอินโดฯ เป็นพืชที่มีดอกแยกเพศ คือเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่คนละต้นกัน การติดผลตามธรรมชาติต้องอาศัยแมลง การช่วยผสมเกสรจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย
การดูแลเอาใจใส่มีส่วนสำคัญ การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ ต้องศึกษาพฤติกรรมของสะละว่าช่วงเวลาไหนต้องการน้ำ ช่วงไหนต้องการปุ๋ย จะต้องให้ตรงกับความต้องการของพืช ทั้งนี้ต้องไม่ลืมเรื่องการลดต้นทุน โดยการใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์ การเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการให้ปุ๋ยตามช่วงระยะการเจริญเติบโตของผล การตัดแต่งผล จะทำให้ผลผลิตได้คุณภาพ เกรด เอ ตรงกับความต้องการของตลาดและขายได้ราคา

ส่วนเรื่องการตลาด สะละอินโดฯ นั้น มีปลูกใน 3 จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดยะลามีพื้นที่ปลูก ประมาณ 2,300 ไร่ รสชาติและคุณภาพเป็นเครื่องการันตี ราคาขายหน้าสวนของสะละอินโดฯ กิโลกรัมละ 80 บาท จำนวนผลผลิตในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการ”

สนใจที่จะปลูกสะละอินโดฯ สามารถสั่งซื้อต้นพันธุ์ของคุณดอเลาะได้ ในราคา ต้นละ 30 บาท ที่เบอร์โทรศัพท์ (081) 096-9047 คุณดอเลาะ สะตือบา แนะนำการปลูกสะละอินโดฯ ทิ้งท้ายว่า “สะละอินโดฯ ควรปลูกแซมใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่ และจะต้องมีเวลาดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงติดผล ถ้าทำไม่ได้อย่าปลูกเด็ดขาด” นิ

เงาะสีทอง ชื่ออย่างเป็นทางการคือ “เงาะทองเมืองตราด” ผสมและคัดเลือกพันธุ์โดย คุณประเสริฐ ชัยกุล เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาทำสวน ปี 2541 ซึ่งเป็นเกษตรกรระดับแนวหน้าของจังหวัดตราด

“เงาะพันธุ์ทองเมืองตราด”…เป็นการผสมระหว่าง เงาะพันธุ์บางยี่ขันกับเงาะพันธุ์โรงเรียน เพราะนำเงาะพันธุ์บางยี่ขันไปติดตาบนต้นเงาะพันธุ์โรงเรียน แล้วนำเมล็ดมาเพาะและคัดเลือกต้นที่ให้ผลผลิตคุณภาพดีมาปลูกต่อ

เงาะพันธุ์ทองเมืองตราด เป็นเงาะมีคุณภาพดี ลักษณะผลใหญ่ให้เนื้อมาก เนื้อผลจะแน่น แต่นุ่มกว่าเงาะพันธุ์โรงเรียน กรอบ ล่อน เมล็ดเล็ก เนื้อหวาน เปลือกผลจะมีความหนาเป็นพิเศษ ขนแข็งยาวเหยียดตรง เมื่อสุกแล้วจะไม่มีสีแดงเหมือนเงาะโรงเรียนโดยทั่วไป แต่จะมีสีเหลืองแต้มแดง สามารถเก็บได้นานโดยที่เปลือกไม่ดำ ซึ่งเป็นข้อดีของเงาะพันธุ์เมืองทองตราด อีกทั้งยังเป็นผลไม้ไม่ค่อยแตก สามารถขนส่งได้ไกลๆ และปลูกนอกฤดูได้ผลผลิตดี ในช่วงฤดูฝน ผลจะไม่แตก

พื้นที่ปลูกเงาะของไทย เงาะสีชมพูลดน้อยลงมาก เงาะโรงเรียนมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด

สำหรับเงาะทองเมืองตราด หรือเงาะสีทอง พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพราะสามารถทำให้ออกก่อนฤดูได้ง่าย อดีตนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข จากที่เคยเป็นพนักงานออฟฟิศ และเจ้าของผับชื่อดังจังหวัดนครปฐม ไม่มีความรู้การทำเกษตรแม้แต่นิดเดียว อยู่มาวันนึงต้องมาสวมบทบาทเกษตรกร ปลูกมะกรูด 30 ไร่ที่จังหวัดราชบุรี และนครปฐม เลือกตัดเฉพาะใบขายเฉลี่ยวันละ 100 กิโลกรัม ส่งตลาดต่างประเทศเท่านั้น ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ในที่สุดกลายเป็นผู้พลิกโฉมหน้าพืชโบราณนอกสายตาสู่พืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ

คุณศิวาวุธ สงวนทรัพย์ หรือคุณเก่ง ชายหนุ่มวัย 33 ปี ไอดอลของผู้ปลูกมะกรูด เล่าว่า หลังจากเรียนจบเคยทำงานอยู่ฝ่ายส่งออกชุดชั้นในแห่งหนึ่ง ทำได้ไม่นาน รู้สึกไม่ชอบลักษณะงานที่ต้องนั่งอยู่กับโต๊ะ เลยออกมาหุ้นกับเพื่อนเปิดผับเปิดได้ 3 ปี เริ่มสนใจอาชีพเกษตร โดยเฉพาะมะกรูด เพราะคิดว่าปลูกง่าย ดูแลไม่ยาก เป็นพืชที่ขายง่าย ตลาดมีความต้องการทุกวัน น่าจะเหมาะกับเกษตรกรมือใหม่ แต่ทว่าทุกอย่างตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง มะกรูดปลูกยากกว่าที่คิด

“คุณพ่อซื้อที่ดิน 4 ไร่ ที่ตำบลดอนยายหอม อำเมืองเมือง จังหวัดนครปฐม ผมอยากใช้ที่ดินบริเวณนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเลยคิดจะปลูกพืช เบื้องต้นไปอบรมเรื่องการปลูกมะนาว ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ในครั้งนั้นมีเรื่องมะกรูดตัดใบด้วย ผมเห็นว่ามะกรูดปลูกง่ายกว่ามะนาว ตลาดรับซื้อทุกวัน เลยลองปลูกมะกรูด 1 ไร่ พอปลูกจริง พบว่าพืชสมุนไพรตระกูลส้มชนิดนี้ปลูกยากมาก อาศัยว่าไม่ท้อ ศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งถามกูรู และหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หนที่สุดก็เอาชนะอุปสรรค สามารถขยับขยายกระทั่งปัจจุบันปลูกมะกรูด 30 ไร่”

อุปสรรคที่คุณเก่งพบ นั่นคือ “ศัตรูพืช” ชายหนุ่ม เผยว่า มีศัตรูพืชเยอะมาก ยกตัวอย่าง เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ หนอนใยผัก หนอนแก้ว เพลี้ยไก่แจ้ส้ม ไรแดง ตัวมวน เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว แมลงค่อมเงิน ค่อมทอง เป็นต้น สำหรับวิธีแก้ไข ใช้วิธีสร้างโรงเรือน กางมุ้งป้องกันแมลง เบ็ดเสร็จลงทุนปลูกมะกรูดครั้งแรก 5.5 แสนบาท

สำหรับวิธีปลูก ชายหนุ่ม ใช้วิธีปลูกระยะชิด 50X50 ซม. ปลูกแบบสลับฟันปลา ระยะนี้ปลูกเต็มพื้นที่ 1ไร่ จะได้ 4,500 ต้น แปลงปลูกจะยกร่องกว้าง 1 แมตร แล้วปลูก 2 แถวบนร่อง สาเหตุที่ยกร่องเพราะมะกรูดไม่ชอบน้ำขังและไม่ทนน้ำท่วม ส่วนของระบบน้ำ คุณเก่งใช้ระบบน้ำหยด โดยจ่ายน้ำชั่วโมงละ 1.5 ลิตร เปิดน้ำนานประมาณ 20-30 นาที และติดตั้งสปริงเกลอร์ไว้ด้านบนช่วยเพิ่มความชื้น 2-3วัน รดน้ำ 1 ครั้ง

ในช่วงแรกของการปลูก เจ้าของสวนบอกว่า ต้องคอยระวังหนอนกัดยอดในช่วงใบอ่อน เพลี้ยไฟ ไรแดง บางครั้งมุ้งก็ไม่สามารถกันแมลงพวกนี้ได้ การจัดการแมลงใช้ชีวภัณฑ์ ถ้าระบาดหนักสร้างความเสียหายมาก จะใช้สารเคมีมาสลับก่อน แล้วจึงกลับมาใช้ชีวภัณฑ์ต่อ ช่วงฝนเจอปัญหารากเน่า มีบางต้นที่ตายก็จะปลูกซ่อมไป หลังจากลงปลูกแล้วประมาณ 6 – 8 เดือน ก็สามารถตัดกิ่งจำหน่ายได้ ภายใน 2 เดือน มะกรูด 1 ไร่จะให้ผลผลิต 600-700กิโลกรัม

คุณศิวาวุธ เพิ่มเติมว่า หลังจากลงปลูกแล้วประมาณ 6 – 8 เดือน ก็สามารถตัดกิ่งจำหน่ายได้ แต่ทางสวน จะตัดเฉพาะใบขาย ตัดทุกวัน เฉลี่ยแต่ละวันประมาณ 100 กิโลกรัม (บางวันก็ไม่ถึง) ราคากิโลกรัมละ 100 บาท ส่งออกต่างประเทศทั้งหมด อาทิ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี อเมริกา ออสเตเรีย จีน ไอร์แลนด์ แคนนาดา

ในอนาคต คุณศิวาวุธ ตั้งเป้าที่จะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม จากปัจจุบัน 30 ไร่ เป็น 36 ไร่ ทำโรงแพ็คเอง ซึ่งการผลิตมะกรูดคุณภาพดีนี้จะทำควบคู่ไปกับการเปิดตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), (สพภ.) เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นและธุรกิจชีวภาพด้วยการใช้สหวิทยาการที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับการต่อยอดองค์ความรู้ของภูมิปัญญาในแต่ละชุมชนท้องถิ่นไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ หนึ่งในงานวิจัยที่น่าสนใจของหน่วยงานนี้คือ การนำเส้นใยไผ่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า หรือรองเท้า โดยผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระทั่งสามารถนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ นอกจากนั้น ยังต่อยอดเพื่อก้าวสู่ภาคอุตสาหกรรมด้วยการนำเส้นใยไผ่ไปพัฒนาเป็นแผ่นดูดซับเสียง และที่วางสิ่งของท้ายรถ

คุณถาวร บุญราศี เจ้าหน้าที่พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ และเป็นผู้ดูแลโปรเจ็กต์นี้กล่าวว่า ข้อดีของไผ่คือโตเร็ว ไม่ต้องดูแลใส่ใจมาก ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ยา นับเป็นพืชที่ลงทุนต่ำ ดังนั้น จึงมองว่าหากผลักดันเข้าสู่เชิงพาณิชย์แล้ว ไผ่น่าจะเป็นอีกทางเลือกของพืชเศรษฐกิจที่ชาวบ้านจะหันมาปลูกกันเพิ่มมากขึ้น

ฉะนั้น โจทย์ข้อแรกที่ได้รับมอบหมายคือ ให้มาดูว่าจะพัฒนาการใช้ประโยชน์ของไผ่ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างไรบ้าง จากนั้นจึงมีการระดมความคิดจากทุกภาคส่วนทั้งทางรัฐและเอกชน จนได้ออกมาเป็นยุทธศาสตร์ไผ่ ซึ่งถือเป็นคู่มือเพื่อกำหนดแนวทางว่าควรจะพัฒนาอะไรบ้าง งานวิจัยไผ่ของคุณถาวรเริ่มต้นด้วยเส้นใยไผ่ โดยนำไผ่มาผลิตเป็นเส้นใย ภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องเน้นการผลิตเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “ระเบิดด้วยไอน้ำ” เพราะใช้เพียงความร้อนกับแรงดันเท่านั้น จากนั้นจึงนำใยไผ่ไปทอเป็นด้าย เป็นผ้า แล้วนำไปตัดเสื้อ และนั่นถือเป็นความสำเร็จชิ้นแรก

สำหรับพันธุ์ไผ่ที่นำมาใช้งานในช่วงที่มีการทดลองนั้น ได้กำหนดไว้ จำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ ซางหม่น ไผ่หวานอ่างขาง กิมซุง ไผ่ตง และไผ่บงบ้าน โดยแต่ละชนิดคุณถาวรชี้ว่า มีข้อดี-เสีย ต่างกันไม่มาก ทั้งความเหนียว ความคงทนแข็งแรงจึงสามารถนำมาใช้ได้ทุกพันธุ์ เพียงแต่สิ่งที่ต่างกันอาจเกี่ยวกับปริมาณของเส้นใยที่แต่ละพันธุ์มีไม่เท่ากัน

อายุต้นไผ่ที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ผลิตเส้นใยนั้น คุณถาวร บอกว่า ควรเป็นลำไผ่อายุสัก 2 ปี ให้ตัดส่วนที่เป็นข้อออก แล้วทำเป็นตอก จากนั้นนำตอกไปใส่ในเครื่องที่ระเบิดด้วยไอน้ำ จะได้ออกมาเป็นผง ให้นำไปล้างทำความสะอาด แล้วแยกส่วนที่เป็นเส้นใยนำไปผ่านกระบวนการสางให้สะอาด

ต่อจากนั้นทำเส้นใยให้มีระเบียบ แล้วนำเส้นใยไผ่ไปผสมกับฝ้าย ในอัตราส่วน ฝ้าย 80 เปอร์เซ็นต์ เส้นใยไผ่จำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำไปทอผลิตเป็นผืนต่อไป

คุณถาวร ชี้ว่า สำหรับเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า บาคาร่าออนไลน์ ขณะนี้มีการขับเคลื่อนในเชิงพาณิชย์ไปแล้ว แต่ตลาดยังแคบ ทั้งนี้เมื่อเทียบต้นทุนการผลิตระหว่างสินค้าที่มีส่วนผสมของเส้นใยไผ่ กับสินค้าที่มีวางขายอยู่ในขณะนี้แล้วพบว่ามีต้นทุนไม่ต่างกันเลย แถมสิ่งของที่ผลิตหรือมีส่วนผสมด้วยเส้นใยไผ่ยังช่วยในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่า