จุดเด่นของ ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิดลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด เริ่มเป็นที่รู้จักในท้อง

ตลาดตั้งแต่เมื่อเนื่องจากมีลักษณะเด่นที่โดนใจผู้บริโภคทั่วไปนั่นคือ ผลโต มีรสชาติหวาน กรอบ เนื้อแห้งหนา มีเมล็ดเล็กลีบเป็นจำนวนมาก ทางไร่จะคัดผลผลิตออกขายใน 2 เกรด คือเกรดพรีเมี่ยม เน้นคัดผลสวย เมล็ดลีบเล็ก และตัดก้านสั้น และสินค้าเกรด เอ คัดผลสวย มีก้าน เมล็ดขนาดปกติ แต่มีรสชาติอร่อยเหมือนเกรดพรีเมี่ยม หากใครได้เดินช็อปปิ้งในตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่น Gourmet Market และ Home Fresh Mart อาจจะเห็นลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด บรรจุในเข่งไม้ไผ่วางขาย ติดยี่ห้อ ไร่ บี.เอ็น. มาบ้างแล้ว จุดเด่นในเรื่องรสชาติความอร่อยของลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ซื้อทั้งคนไทยและต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น จีน ฯลฯ เรียกว่าคุณภาพของลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด สู้กับลิ้นจี่จีนได้อย่างสบายๆ ทำให้สินค้าชนิดนี้ขายดิบขายดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั่วไป จนผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด

ดูแลสวน แบบ “เกษตรอุตสาหกรรม”

เนื้อที่ 60 ไร่ บริเวณด้านหน้า ไร่ บี.เอ็น. ปลูกต้นลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด 2 และพันธุ์ป้าอี๊ด ในช่วงที่ต้นลิ้นจี่มีผลผลิต ทางไร่จะเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวที่สนใจซื้อลิ้นจี่เข้ามาเก็บผลผลิตจากต้นได้อย่างสนุกสนาน สำหรับลิ้นจี่พันธุ์ป้าอี๊ด มีลักษณะเด่นในเรื่อง ผลกลมโต หนามแหลม รสหวาน เนื้อสวยใส เมล็ดลีบเล็ก ด้านรสชาติ ลิ้นจี่พันธุ์นี้มีรสชาติอร่อยไม่แพ้พันธุ์กุ๊ยบิ ซึ่งเป็นลิ้นจี่พันธุ์ดีที่สุดของจีน แต่จุดอ่อนสำคัญของลิ้นจี่พันธุ์ป้าอี๊ดคือ ติดผลยาก หากอากาศไม่หนาวเย็นเพียงพอ

ไร่ บี.เอ็น. เน้นดูแลจัดการสวนในเชิงเกษตรอุตสาหกรรม โดยนำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ดำเนินงาน เช่น ใช้รถตัดหญ้า รถพ่นยา ให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำผ่านระบบสปริงเกลอร์ เปิดให้น้ำทุกๆ 4 วัน การดูแลสวนลิ้นจี่ในรูปแบบนี้จึงสะดวก รวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปลูกต้นลิ้นจี่ในระบบชิด

เดิม ไร่ บี.เอ็น. ปลูกต้นลิ้นจี่ในระยะห่าง 8×8 เมตร ต่อมา คุณโจ้ ได้พัฒนาการปลูกลิ้นจี่ใหม่ในระบบชิด เช่นเดียวกับการปลูกลิ้นจี่ของจีน โดยทดลองปลูกลิ้นจี่ในระยะห่าง 3×3.50 เมตร จำนวน 150 ต้น ในพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อต้นลิ้นจี่อายุ 1 ปีครึ่ง จะดูแลควบคุมทรงต้นไม่ให้สูงเกิน 2 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการสวน ซึ่งต้นลิ้นจี่ที่ปลูกในระบบชิด สามารถผลิดอกออกผลได้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุปลูกเพียงปีเศษเท่านั้น นอกจากนี้ ทาง ไร่ บี.เอ็น. ยังได้ประยุกต์เทคนิคการควั่นกิ่งจากจีนมาใช้ในช่วงที่ต้นลิ้นจี่ติดผล สามารถลดปัญหาผลร่วง และช่วยให้ต้นลิ้นจี่มีรสชาติดีขึ้น

แปลงปลูกลิ้นจี่ที่เดินชมในครั้งนี้ ปลูกต้นลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด และพันธุ์ป้าอี๊ดไว้หลายรุ่น ต้นลิ้นจี่มีอายุตั้งแต่ 10-40 ปี สำหรับต้นลิ้นจี่ที่มีอายุมากถึง 40 ปี กลับมีลักษณะต้นเตี้ย เพียง 3 เมตรกว่า เมื่อเทียบกับต้นลิ้นจี่ในสวนทั่วไป ที่มักมีความสูงประมาณ 7-8 เมตร เนื่องจากต้นลิ้นจี่ใน ไร่ บี.เอ็น. ผ่านการทำสาวมาแล้วนั่นเอง สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลต้นลิ้นจี่แบบเดิมลงได้ถึง 80%

คุณโจ้ บอกว่า ได้เรียนรู้เทคนิคการทำสาวลิ้นจี่ให้มีลักษณะต้นเตี้ยลง จาก “พ่อหลวงมนัส” เจ้าของสวนลิ้นจี่ศรินทิพย์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เทคนิคการทำสาวต้นลิ้นจี่ จะเน้นตัดแต่งกิ่งอย่างหนักหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จในแต่ละปี กิ่งที่มีความสูงเกิน 3 เมตร จะตัดออกทั้งหมดเพื่อให้ต้นลิ้นจี่สามารถรับแสงแดดได้ง่ายขึ้น

หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้ว ต้นลิ้นจี่จะแตกกิ่งออกมาเป็นจำนวนมาก จะต้องคัดเลือกตัดแต่งทิ้งอีกรอบ สำหรับกิ่งที่แตกออกด้านข้างจะเก็บไว้ตลอด แต่กิ่งน้ำค้างหรือกิ่งกระโดงที่อยู่สันกิ่ง ตรงกลางทรงพุ่ม คุณโจ้จะเก็บไว้ในช่วงแรกไม่เกิน 2 ปี จึงค่อยตัดกิ่งออก เพื่อให้ลำต้นแบกน้ำหนักกิ่งน้อยลง เทคนิคการตัดแต่งกิ่งดังกล่าว ช่วยให้ต้นลิ้นจี่ติดผลทั้งในทรงพุ่มและที่ปลายทรงพุ่ม ผลผลิตที่อยู่ภายในทรงพุ่มจะมีคุณภาพที่ดีกว่าปลายทรงพุ่มด้วยซ้ำไป

เทคนิคการดูแลตัดแต่งลิ้นจี่ให้มีลำต้นที่เตี้ยลง ช่วยให้ต้นลิ้นจี่เติบโตได้ดีขึ้นด้วย เพราะต้นลิ้นจี่สามารถดูดกินน้ำและแร่ธาตุได้ดีกว่าเดิม ให้ผลผลิตเร็วขึ้น และมีคุณภาพดีเป็นการตอบแทนแล้ว ยังช่วยให้คนงานดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาและแรงงานไปพร้อมๆ กัน

ต้นลิ้นจี่ อายุ 40 ปี ที่ผ่านการทำสาว จนมีลักษณะต้นเตี้ย เมื่อเวลาติดผล พวงลิ้นจี่จะห้อยติดถึงดินเลย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพไม่ดี จึงต้องเสียเวลาค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ และหลังสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวก็ต้องเสียเวลาเก็บไม้ไผ่ มิฉะนั้น จะตัดหญ้าไม่ได้ ดังนั้น การค้ำไม้ไผ่ เป็นเรื่องที่เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากในแต่ละปี

คุณโจ้ จึงใช้วิธีฝังเสาปูนตรงกลางต้นลิ้นจี่ และติดสายสลิงเพื่อโยงดึงกิ่ง แทนการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่เหมือนในอดีต เทคนิคการค้ำกิ่งแบบใหม่ของคุณโจ้ ใช้เงินลงทุนต่ำ แต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีมาก เพราะจ่ายค่าเสาปูนแค่ต้นละพันกว่าบาทเท่านั้น แต่มีอายุการใช้งานได้นานหลายสิบปี ช่วยประหยัดเวลาการทำงานและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ก้อนโต ไอเดียนี้น่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับไม้ผลอื่นๆ ได้เช่นกัน

หากใครสนใจอยากแลกเปลี่ยนข้อมูลการปลูกลิ้นจี่ สามารถเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมสวนลิ้นจี่ของ ไร่ บี.เอ็น. (B.N.) ได้ที่ เลขที่ 49 หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งนางแล ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัด ธ.ก.ส. มีโครงการออกเงินกู้หมื่นกว่าล้าน ให้เกษตรกรซื้อโดรนไว้สำหรับพ่นยา ถือว่าเป็นวัสดุการเกษตรชนิดหนึ่งในราคาเครื่องละ 500,000 บาท เมื่อวานยังเชิดชูเกษตรพอเพียงอยู่หยกๆ วันนี้กลับสนับสนุนให้ซื้อโดรนเพื่อการเกษตรสำหรับพื้นที่เกษตรขนาดใหญ่ ในประเทศไทยเกษตรกรมีพื้นที่เฉลี่ยครอบครัวละไม่กี่ไร่

จึงไม่แปลกที่มีเสียงสรรเสริญเยินยอ ธ.ก.ส. เสียจมหู ส่วนใหญ่จะบอกว่าเพิ่มหนี้โดยใช่เหตุ สนับสนุนให้ซื้อเครื่องจักรการเกษตรแบบอื่นดีกว่า ตอนเรื่องนี้พิมพ์ในหนังสือยังไม่รู้ว่าคิดได้หรือยัง ภายใต้การบริหารราชการที่ย้อนแย้ง เดี๋ยวสนับสนุนให้ทำเกษตรแบบพอเพียง เดี๋ยวสนับสนุนให้ทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรกรปัจจุบันก็ไม่โง่พอที่เชื่อแบบไม่ลืมหูลืมตา ผมมักคอมเม้นต์ในเฟซอยู่เสมอถ้าพืชตัวไหนที่รัฐส่งเสริมให้ปลูกอย่าได้แตะต้องเด็ดขาด

การเกษตรที่ถูกต้อง เกษตรกรต้องหาตลาดก่อน ถามตัวเองให้ได้ว่าปลูกแล้วขายใคร ขายอย่างไร คุณ วีรยุทธ์ คำนิล และ คุณน้ำริน คำนิล ผู้ผันตัวจากพนักงานออฟฟิศที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ มาเป็นเกษตรกรเต็มตัวในวัย 50 ปี คุณวีรยุทธ์ เล่าว่า “ผมกับภรรยาคู่ชีวิตทำงานในบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี รับผิดชอบเกี่ยวกับงานโลจิสติกส์มา 28 ปีตั้งแต่อายุ 20 ปี จนถึงจุดอิ่มตัว จึงได้ลาออกพร้อมกันเมื่อปี 2560 หันมาทำการเกษตรเต็มตัว ก่อนหน้านี้ได้ไปอบรมการทำเกษตรตามส่วนราชการต่างๆ ที่ให้ความรู้เรื่องนี้ เช่น โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ที่กระทรวงเกษตรฯ กับ ธ.ก.ส.เปิดอบรมให้ จนเกิดแรงบันดาลใจให้ทำการเกษตร ซึ่งเคยช่วยปู่ย่าตายายทำเมื่อสมัยเด็ก เพราะทางบ้านที่ดินพอที่จะปลูกพืชสวนครัวเพื่อบริโภคในครอบครัวได้โดยไม่ต้องซื้อหา และสมัยเด็กๆ ที่บ้านเคยปลูกชะอมและละมุดขาย จึงได้มีโอกาสซึมซับเรื่องเกษตรมาโดยไม่รู้ตัว อีกอย่างหนึ่งคือได้เห็นแนวทางของในหลวง รัชกาลที่ 9 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงยิ่งทำให้เพิ่มแรงบันดาลใจขึ้นอีก”

คุณวีรยุทธ์ และภรรยา จึงได้ตัดสินใจออกจากงานเมื่อ 2 ปีก่อน โดยทิ้งเงินเดือนเดือนละแสน มาทำเกษตรพอเพียงเมื่อถึงจุดอิ่มตัวในงานที่ทำ ขอทำความเข้าใจกับผู้ที่มีอาชีพกินเงินเดือนก่อนนะครับว่า ไม่ใช่คิดอยากจะทำก็ลาออกมาเผชิญชีวิตเกษตรกรโดยตัวเองยังไม่พร้อม ในกรณีของคุณวีรยุทธ์มีความพร้อมหลายอย่าง ทั้งที่ดินและเงินทุน อีกทั้งไม่มีภาระหนี้สินที่ต้องแบกไว้ จึงเป็นเรื่องไม่ยากที่จะทำแบบนี้ ถ้าไม่พร้อมที่จะทำกรุณาอย่าคิดทำเด็ดขาด เพราะแค่คิดก็ผิดแล้ว

ผมยิงคำถามนี้ด้วยความสงสัย ได้รับคำตอบว่า “เนื่องจากไม่มีภาระค่าใช้จ่าย ถึงแม้ว่ารายได้จะได้น้อยกว่าทำงานบริษัท ไม่ต้องถูกจำกัดเวลาแปดโมงเช้าถึงห้าโมงเย็น จึงมีเวลาเหลือเฟือที่จะทำอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ อีกประการหนึ่งเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการรับผิดชอบงานในฐานะผู้บริหารคนหนึ่งจึงมีความเครียดและความกดดัน เมื่อมาทำงานเกษตรเป็นของตัวเองค่อยรู้สึกผ่อนคลายลง ประการสุดท้ายคือมีความสุขในชีวิตเป็นตัวของตัวเอง สามารถเลี้ยงตัวเองได้ด้วยเงินไม่มาก รายจ่ายน้อยลงมาเป็นสิบเท่า บางวันใช้จ่ายไม่ถึง 30 บาท”

บนพื้นที่ 5 ไร่ ที่ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ของสวนยายเนียงเกษตรอินทรีย์ นอกจากปลูกบ้านอยู่อาศัยแล้วยังขุดบ่อ และแบ่งพื้นที่ประมาณร้อยกว่าตารางวาทำเป็นสวนผัก ส่วนที่เหลือจะปลูกต้นมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ กับมะพร้าวน้ำหอม ใช้แรงงานแค่สองสามีภรรยา แต่ก็ยังมีเวลาเหลืออีก พร้อมที่จะขยายการปลูกไปอีก เนื่องจากจำนวนผักยังไม่เพียงพอสำหรับตลาด

ดินที่ใช้ปลูกผักสลัดของสวนยายเนียงจะมีสูตรเฉพาะของที่นี่คือ หน้าดินดี ขุยมะพร้าว แกลบใหม่ และมูลสัตว์ในที่นี่คือมูลวัวนม วัสดุปลูกทั้ง 4 นี้ใช้อย่างละเท่าๆ กัน และราดด้วยน้ำชีวภาพ จุลินทรีย์หน่อกล้วยผสมให้เข้ากันเก็บไว้ในโรงปุ๋ยที่มีหลังคาและเอาผ้าใบปิด ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ไม่ต้องกลับกอง สามารถนำมาใช้ได้เลย สำหรับภาชนะที่ปลูกของสวนยายเนียง เลือกใช้ถุงพลาสติกสีขาวเป็นภาชนะในการปลูก เนื่องจากถุงสีขาวระบายน้ำได้ดี เพราะทั่วทั้งถุงมีรูพรุนขนาดเล็กที่น้ำสามารถออกได้ทุกส่วน

ในขณะที่ถุงดำน้ำสามารถออกได้เฉพาะรูที่เจาะไว้ จึงไม่มีปัญหาเรื่องโคนเน่าซึ่งพบในภาชนะทึบดำ และการปลูกลงแปลงในช่วงฤดูฝน อีกส่วนหนึ่งจะปลูกบนกระเบื้องลอนคู่ที่ใส่ดินพร้อมปลูกไว้ ถุงขาวที่ใช้ปลูกจะมีขนาด 5 คูณ 11 นิ้ว ราคาจะค่อนข้างแพง กิโลกรัมละ 220 บาท ได้ ประมาณ 61 ถุง สามารถใช้ได้นาน 5-8 ปี เนื่องจากรากของผักสลัดค่อนข้างตื้นจึงต้องพับปากถุงลงมาครึ่งหนึ่ง โรงเรือนที่ใช้ปลูกผักสลัดทางสวนจะใช้ตาข่ายพลาสติกสีเขียวตาถี่ มุงแทนซาแรน เนื่องจากเห็นว่าตาข่ายเขียวรูละเอียดจะทำให้น้ำแตกกระจายเป็นฝอย เมื่อถูกใบจะไม่ทำให้ใบช้ำในช่วงฤดูที่ฝนตกหนัก

การเพาะกล้าผักสลัดของสวนจะใช้วิธีหว่านในตะกร้าเล็กๆ ก่อน 7-10 วัน ก็จะย้ายกล้าลงถาดหลุมโดยใช้ไม้เสียบลูกชิ้นจิ้มลงในเครื่องปลูกงัดต้นมา ซึ่งต้องทำอย่างพิถีพิถันเนื่องจากต้นจะช้ำได้ง่าย เมื่อครบ 25 วัน ต้นจะแข็งแรงเพียงพอที่จะนำมาใส่ถุงปลูก ขนาด 5 นิ้ว ที่เตรียมไว้ ในระยะนี้จะไม่มีการใส่ปุ๋ยทุกชนิด แต่จะใช้น้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน ในช่วงเย็นตั้งแต่เวลาสี่โมงครึ่งไปแล้ว ส่วนจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะฉีดตอนกลางวันที่มีแดดได้

นอกจากจุลินทรีย์ที่กล่าวแล้ว ทางสวนยายเนียงจะใช้ปุ๋ยยูเรียน้ำที่ทำขึ้นเองใช้ฉีดผักอีกด้วย การทำปุ๋ยยูเรียน้ำทางสวนยายเนียงแนะนำว่า ใช้สับปะรด 2 กิโลกรัม สับทั้งเปลือก ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม แช่น้ำไว้ 6 ชั่วโมง แล้วมาปั่นให้ละเอียด น้ำซาวข้าว 10 ลิตร กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 ลิตร เอาทั้งหมดผสมกันหมักทิ้งไว้ในที่ร่มอย่าให้โดนแดด ราว 21 วัน ภาชนะที่ใช้อย่าปิดให้มิดมาก พอให้มีอากาศเข้าไปบ้าง เมื่อผ่านการหมักจะต้องใช้กรองกากออก ใส่ขวดปิดให้มิดชิด อยู่ในที่ร่มเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน อัตราการใช้ คือ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถฉีดพ่นรวมกับจุลินทรีย์ตัวอื่นได้ ใช้เวลาอีกประมาณ 25-30 วัน ผักสลัดที่ปลูกไว้ก็สามารถเก็บขายได้

การใช้ชื่อ สวนยายเนียง เนื่องจากยายเนียงเป็นแม่ของภรรยาที่เป็นเจ้าของที่ และปัจจุบันยังมีสุขภาพแข็งแรงอยู่ เนื่องจากท่านเป็นคนที่นี่ตั้งแต่เกิด การใช้ชื่อสวนยายเนียง คนในตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดี ร้านค้าที่มารับผักสลัดไปขายจะเป็นร้านที่ขายกาแฟ เอาไปทำน้ำผักปั่น และจัดใส่จานสำหรับอาหารเบาๆ ในร้านกาแฟ และแม่ค้าที่เอาไปทำสลัดโรลขาย ส่วนลูกค้าที่นำไปบริโภคเองก็จะเป็นพนักงานออฟฟิศและส่วนราชการต่างๆ ในบริเวณอำเภอบ้านโป่ง ผลผลิตผัก ปัจจุบันสัปดาห์ละประมาณ 30-40 กิโลกรัม

ผักสลัดจะตัดในวันศุกร์ถึงวันอาทิตย์ แต่ในปัจจุบันวันเสาร์ผักก็ถูกตัดหมดแล้ว ทำให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมสวนในวันอาทิตย์ไม่ค่อยมีผักติดมือกลับไป ทางสวนจึงคิดที่จะขยายแปลงผลิตเพิ่มเติมอีกในอนาคตอันใกล้นี้ ราคาของผักที่จำหน่ายหน้าสวน อยู่ที่ 80-100 บาท แล้วแต่ฤดู ในฤดูร้อนผักสลัดจะโตช้าจึงมีราคาเนื่องจากต้องเลื่อนวันตัดออกไป ในช่วงหน้าหนาวผักโตเร็ว สวยงาม และในช่วงหน้าฝนการปลูกผักในถุงจะไม่ค่อยมีปัญหาเสียหายเรื่องโคนเน่า เพราะถุงขาวสามารถระบายน้ำได้ดีกว่าการปลูกในถุงดำและการปลูกลงดิน

สวนยายเนียง มีเพจในเฟซบุ๊ก ชื่อ สวนยายเนียงเกษตรอินทรีย์ สามารถสื่อสารกับคนได้ทั่วประเทศ จึงปรากฏมีลูกค้าจากเหนือจรดใต้ เช่น เชียงใหม่ พิษณุโลก พังงา หาดใหญ่ กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ แวะเวียนมาหาความรู้กันเป็นประจำ ซึ่งทางสวนได้แนะนำความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักอินทรีย์เพื่อสนับสนุนให้ทุกครอบครัวมีผักที่ปลอดสารพิษกินกันเอง ถ้าสนใจสามารถติดต่อ

“ในวิกฤตยังมีโอกาส” ประโยคนี้เมื่อได้ยินแล้วทำให้หลายๆ คนที่กำลังเจออุปสรรค หรือปัญหาก็สามารถผ่านพ้นความยากเหล่านั้นไปได้ ไม่ว่าจะด้วยกำลังของตัวเอง หรือความสามัคคีของหมู่คณะก็ตาม อย่างช่วงเมื่อหลายปีที่ผ่านมา อย่างที่ทราบกันดีราคายางพาราของไทยผันผวนเป็นอย่างมาก ทำให้เกษตรกรหลายท่านมีการปรับตัวในเรื่องของการทำสวนยางพารามากขึ้น เช่น การลดพื้นที่ปลูกยางพาราต่อไร่ให้มีจำนวนต้นที่น้อยลง เพื่อที่จะมีพื้นที่ว่างปลูกพืชแซมชนิดอื่น เพื่อที่พืชเหล่านั้นจะให้ผลผลิตเป็นการสร้างรายได้ให้อีกหนึ่งช่องทาง รวมไปถึงการทำปศุสัตว์ภายในสวนยาง นอกจากจะได้สัตว์จำหน่ายสร้างเงินแล้ว เมื่อสัตว์ที่เลี้ยงถ่ายมูลออกมาสามารถกลายเป็นปุ๋ยในการบำรุงต้นยางพารา เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการลดต้นทุนการผลิตได้

โดยความรักความสามัคคีในหมู่คณะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องยึดมั่นด้วยเช่นกัน เพราะในบางอุปสรรคการที่ทำอะไรด้วยตัวคนเดียว อาจไม่สามารถที่จะก้าวข้ามปัญหาไปได้อย่างรวดเร็ว เหมือนเช่น “กลุ่มเกษตรกรทำสวน กยท.บ้านช่างทอง” ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้รวมกลุ่มกันขึ้นมาเพื่อให้การจำหน่ายยางพาราของกลุ่มมีความเข้มแข็งทางการตลาดและสามารถต่อรองในเรื่องของราคาได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงมีสินค้าที่จัดส่งลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

คุณอุดม จินดา เลขาธิการกลุ่มเกษตรกรทำสวนและเป็นกรรมการกลุ่ม ให้ข้อมูลว่า วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มนี้ขึ้นมานั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันของเกษตรกรเพื่อจำหน่ายน้ำยางพาราให้เข้มแข็ง ซึ่งช่วงแรกการรวมกลุ่มเป็นเพียงแค่การรวมกันของเกษตรกรเอง ต่อมาเมื่อกลุ่มเริ่มมีความเข้มแข็งและมีระบบมากขึ้น จึงมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ให้องค์ความรู้และให้ทางกลุ่มจดทะเบียนให้ถูกต้อง คือ หน่วยงานที่สนับสนุน การยางแห่งประเทศไทยจ.พัทลุง สหกรณ์.จ.พัทลุง สำนักงานตรวจบัญชีจ.พัทลุง เพื่อที่อนาคตทางกลุ่มจะได้รับความช่วยเหลือจากช่องทางต่างๆ

“ช่วงแรกเราจัดกลุ่มทำกันเองก่อน เพื่อให้การค้าขายน้ำยางพอที่จะขับเคลื่อนไปได้ เมื่อทางการเขาเล็งเห็นว่า ทางกลุ่มเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว จึงแนะนำให้จดทะเบียนกลุ่มเกษตรกรให้ถูกต้อง ช่วงแรกๆ ปี 2560 เรามีเกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มอยู่ประมาณ 20 คน พอการดำเนินงานประสบผลสำเร็จขึ้น สมาชิกก็มีการสมัครเข้ามาใหม่เรื่อยๆ จนปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 70 กว่าคน โดยการค้าขายของกลุ่ม สามารถผ่านวิกฤตช่วงที่ราคายางพาราตกต่ำลงไปได้ โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางอย่างเช่นสมัยก่อน จึงทำให้เกษตรกรรายอื่นๆ มองเห็น และเกิดความเชื่อมั่นในการเข้ารวมกลุ่ม” คุณอุดม เล่าถึงที่มา

โดยการดำเนินงานของกลุ่มเพื่อช่วยเหลือสมาชิกนั้น คุณอุดม บอกว่า จะมีระบบแบบแผนในการดำเนินงานที่ชัดเจนในการให้องค์ความรู้กับสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ตลอดไปจนถึงมีนักวิชาการเข้ามาฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยางพาราให้สมาชิกภายในกลุ่มอยู่เสมอ และที่สำคัญเพื่อให้สมาชิกภายในกลุ่มเท่าทันต่อการปรับตัว ทางกลุ่มได้มีการจัดการศึกษาดูงานจากพื้นที่ต่างๆ ที่ประสบผลสำเร็จเกี่ยวกับยางพารา จึงช่วยให้สมาชิกมีการปรับตัวและผลิตยางพาราได้มีประสิทธิภาพและมีรายได้เพิ่มขึ้น

สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ต้องการเป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรทำสวน กยท.บ้านช่างทอง เกษตรกรที่สมัครเข้ามาจะต้องมีการถือหุ้น โดย 1 คน จะต้องถือหุ้นอย่างต่ำ 5 หุ้น หุ้นละ 100 บาท เมื่อครบกำหนดของการค้าขายผลผลิตยางพาราแล้ว ในทุกปีทางกลุ่มก็จะมีเงินปันผลให้กับสมาชิกทุกคนตามจำนวนหุ้นที่ถือไว้ จึงทำให้ภายในกลุ่มมีเงินหมุนเวียนและช่วยเหลือสมาชิกที่ต้องการความช่วยเหลือได้ดี

“ช่วงที่ราคายางตกต่ำต้องบอกเลยว่า เกษตรกรจะเจอในเรื่องของการแข่งขันเกี่ยวกับการตลาดเยอะมาก โดยช่วงแรกคนที่ยังไม่ได้เข้ารวมกลุ่ม ก็จะคิดว่าขายเองน่าจะได้ราคาที่ดีกว่า แต่พอระยะยาว การรวมกลุ่มกลับสามารถยั่งยืนและตอบโจทย์การต่อรองทางการตลาดได้ดีกว่า เพราะนอกจากจะขายน้ำยางพาราได้แล้ว เมื่อถึงกำหนดทางสมาชิกยังจะได้เงินปันผลที่ทางกลุ่มมีให้อีกด้วย” คุณอุดม กล่าว

โดยราคาน้ำยางพาราสดที่รับซื้อเข้ามาภายในกลุ่มเรื่องตลาดนั้น มีสำนักตลาดกลางยางพาราจ.สงขลา เข้ามาดูแลเรื่องตลาด ซึ่งราคาในช่วงนี้มีขึ้นมีลงบ้างตามปกติ ขึ้นอยู่กับกลไกตลาด แต่เวลานี้ราคารับซื้อน้ำยางพาราของสมาชิกภายในกลุ่มที่นำมาขาย อยู่ที่กิโลกรัมละ 65 บาท เมื่อนำไปจำหน่ายให้กับคู่ค้าที่รับซื้อ การรวมกลุ่มเช่นนี้จึงช่วยให้มีผลผลิตจากยางพาราในปริมาณที่ต่อเนื่อง และสามารถทำตลอด หมุนเวียนได้ตลอด จึงช่วยให้กลไกตลาดสามารถเดินต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุด

จากการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งนี้เอง จึงทำให้กลุ่มเกษตรกรทำสวน กยท.บ้านช่างทอง สามารถผ่านวิกฤตในช่วงที่ราคายางพาราตกต่ำได้ และด้วยความรักความสามัคคีที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกษตรกรรายอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม ได้เริ่มเข้ามาศึกษาและเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มอยู่เป็นระยะ ช่วยให้การทำสวนยางพารามีความมั่นคงทางรายได้ และเกษตรกรสามารถส่งต่อเป็นอาชีพให้กับลูกหลานได้ต่อไป

“พอกลุ่มเรามีความเข้มแข็ง ทุกคนก็จะบอกกันไปปากต่อปาก ถึงข้อดีของการรวมกลุ่ม สิ่งที่สมาชิกเห็นได้ชัดๆ เลย คือเรื่องของรายได้ ทำให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกษตรกรในชุมชนเกิดความสามัคคีกัน เมื่อมีองค์ความรู้อะไรที่ต้องนำมาแจ้งข่าว ทุกคนก็ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การทำสวนยางและการพัฒนาผลผลิตน้ำยางพาราของกลุ่มได้มาตรฐาน และมีความมั่นคงทางการตลาดตามไปด้วยเช่นกัน” คุณอุดม กล่าว

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการสร้างกลุ่มที่เข้มแข็งและต้องการพูดคุยเกี่ยวกับการผลิตยางพารา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณอุดม จินดา เลขาธิการกลุ่มเกษตรกรทำสวน กยท.บ้านช่างทอง ตั้งอยู่เลขที่ 216 หมู่ที่ 13 ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง หมายเลขโทรศัพท์ 098-880-7984 มะละกอแขกดำหนองแหวน เป็นมะละกอที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี กลายพันธุ์จากแขกดำ ลักษณะเด่นของเขาคือโคนผลเล็ก กลางผลใหญ่ขึ้น ปลายผลแหลม ผิวผลสีเขียวเข้ม ผิวสวย ผลผลิตดก น้ำหนักเฉลี่ย 2.5 กิโลกรัม ต่อผล เนื้อสีแดง แต่ไม่แดงติดเปลือก รสชาติหวานแหลม

ปลูกและดูแลมะละกอพันธุ์นี้อย่างไรให้ได้ผลดี BETFLIX วิธีการ…เริ่มจากนำเมล็ดลงแช่น้ำ 3 คืน จากนั้นเพาะเมล็ดในถุงขนาด 4 คูณ 6 นิ้ว วัสดุที่ใส่ในถุงมีดิน ขุยมะพร้าว และแกลบดำ ราว 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก เมื่องอกได้ 25 วัน นำลงปลูกได้

ระยะปลูก ใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 2 คูณ 2.50 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 250 ต้น

ช่วงที่หยอดเมล็ดลงถุง หยอด 4-5 เมล็ด ต่อถุง ต้นจะงอกอย่างต่ำ 3 ต้น เมื่อนำลงปลูก ยามที่มีดอกให้เลือกต้นกะเทยไว้เพียง 1 ต้น ต่อหลุมเท่านั้น งานปลูกมะละกอเรื่องน้ำมีความสำคัญมาก น้ำดี มะละกอให้ผลผลิตดี

ปลูกใหม่ๆ เจ้าของให้น้ำทุกวัน วันละ 30-45 นาที สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือความชื้น หากฝนตก เวลาการให้น้ำก็ลดลง

ปลูกได้ 14 วัน ให้ปุ๋ย จากนั้นก็ให้ปุ๋ยทุกๆ 15 วัน เป็นสูตร 15-15-15 สลับกับสูตร 16-16-16 จำนวนครึ่งช้อนกินข้าว หว่านใต้ทรงพุ่ม เมื่อขณะที่เก็บผลผลิตอยู่ เห็นว่ามะละกอยอดยืดเกินไปก็ให้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 บ้าง ให้ยอดสั้นลง ปุ๋ยคอก ใส่ขี้ไก่เนื้อหรือมูลสัตว์อย่างอื่น อาจจะใส่ให้ให้ทุก 3 เดือน

หลังปลูก 40 วัน มะละกอเริ่มมีดอก นับจากปลูก 7 เดือน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้

อาจจะเก็บเป็นมะละกอส้มตำ หรือมะละกอสุก

ราคาขายได้ราคาสูงสุด 15 บาท ต่ำสุด 4 บาท แต่เฉลี่ยแล้ว 8-10 บาท อายุการเก็บเกี่ยวมะละกอแขกดำหนองแหวนมีระยะเวลา 12 เดือน จากนั้นปริมาณผลผลิตที่ได้จะไม่คุ้มกับปัจจัยการผลิต รวมระยะเวลาที่เจ้าของต้องดูแลมะละกอเป็นเวลา 20 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เพาะกล้า มะละกอแขกดำหนองแหวนให้ผลผลิตดก รายได้ต่อต้นในช่วงที่เขาให้ผลผลิต อยู่ที่ 1,000 บาท พื้นที่ 1 ไร่ มี 250 ต้น เจ้าของจะมีรายได้ 250,000 บาท ต่อระยะเวลา 20 เดือน ดูตัวเลขแล้วสูง แต่การลงทุนไม่ใช่น้อย ปัจจัยการผลิตต้องเต็มที่อย่างปุ๋ยให้ทุก 15 วัน น้ำต้องดี การตลาดต้องชัดเจน

มีผู้ปลูกมะละกอแขกดำหนองแหวน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว

ข้อมูลที่แนะนำมา เป็นการปลูกมะละกอแขดำหนองแหวนในหลายพื้นที่