จุดเริ่มต้นมาจากแรงบันดาลใจผลจากการเข้าอยู่ของคนรุ่นแรก

ป่าไม้หายวับไปกับตา สิ่งที่มาแทนคือพืชเชิงเดี่ยว พื้นที่บางแห่งถูกปล่อยรกร้าง ดินเป็นลูกรังแข็งกระด้าง คุณณรงค์เรียนจบจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รุ่น 49 เขาทำการค้าอยู่ตัว จึงอยากลงมือ ทำผลงานเพื่อฝากไว้ให้แผ่นดิน เขาเก็บเงินจนเป็นเจ้าของที่ดินได้

เหตุผลที่คุณณรงค์เริ่มมาปลูกต้นไม้ใหญ่เพราะเขาและครอบครัวมองถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก อยากจะช่วยอนุรักษ์และสร้างป่าผืนเล็กๆ ขึ้นมาในพื้นที่ที่มีอยู่ และสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญของเขาก็คือหิ่งห้อย โดยมีความฝังใจที่อยากจะอนุรักษ์หิ่งห้อยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เอาไว้ ซึ่งตอนนี้ก็ประสบความสำเร็จแล้วในระดับหนึ่ง คือหิ่งห้อยเริ่มเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่แห่งนี้จะพบหึ่งห้อยประมาณ 30 กว่าตัว ตอนนี้พบหิ่งห้อยมากกว่า 100 ตัวแล้ว โดยหิ่งห้อยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือ หิ่งห้อยน้ำจืด และหิ่งห้อยป่าไม้

ไม่ใช่แค่ประโยชน์แก่ตนเองแต่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม“ อยากจะให้ชาวบ้านเห็นว่าสิ่งที่เราทำนั้นมันเป็นประโยชน์ ไม่ใช่เฉพาะแค่กับครอบครัวเราเท่านั้น มันยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมด้วย” เขาได้กล่าวไว้

คุณณรงค์เริ่มปลูกป่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 บนเนื้อที่ทั้งหมด 25 ไร่ โดยน้อมนำทฤษฎีของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ คือทฤษฎี “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง”

เริ่มด้วยการปลูกป่าไม้ที่กินได้ ที่แห่งนี้จะมีไม้พื้นฐานที่สามารถนำมาเป็นอาหารได้ เช่น หน่อไม้ มะพร้าว ใบย่านาง โดยที่บางชนิดก็เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สมุนไพรก็มี ที่ขึ้นเยอะมากก็คือ เถาเอ็นอ่อน สรรพคุณคือสามารถทำน้ำมันนวดคลายกล้ามเนื้อ แก้ปวดเมื่อย

ต่อมาก็คือป่าไม้ที่อยู่อาศัย ที่นี่จะปลูกไม้ยืนต้นเสียเป็นส่วนใหญ่ มีไม้สัก มะฮอกกานี มะค่าโมง ยางนา เป็นต้น โดยไม้เหล่านี้สามารถนำไปสร้างที่อยู่อาศัยได้ และได้มีการนำไปสร้างบ้างแล้ว

ป่าไม้พลังงาน คือเศษไม้ทั้งหลายที่ตัดแต่งกิ่งจากต้นไม้หลักก็นำมาใช้เป็นพลังงาน คือนำมาเผาถ่าน โดยเฉพาะไม้ไผ่ที่เหลือจากการทำหลักวัวก็จะนำมาเผาถ่านจำหน่าย ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ตามมาหลังการเผาถ่านก็จะได้น้ำส้มควันไม้มาด้วย

ค่อยๆ ทำทีละนิด แต่ทำเรื่อยๆ
คุณณรงค์ ยังเล่าอีกว่า ครั้งแรกที่ปลูกนั้นอาจจะมีต้นไม้ที่ตายบ้างเพราะปลูกในพื้นที่ที่เป็นไร่ ซึ่งมันเป็นดินลูกรัง มีความแห้งแล้ง ดังนั้น เมื่อตัดสินใจซื้อที่ดินตรงนี้แล้วจึงขุดสระน้ำทันทีเพื่อเก็บเป็นแหล่งน้ำ โดยมีเนื้อที่เกือบ 2 ไร่

“ผมจะปลูกไม้ขี้เกียจเสียส่วนใหญ่ ไม้ขี้เกียจในนิยามของผมเป็นต้นไม้ที่ไม่ต้องใช้ปุ๋ยมาก ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ทั้งชาติ” คุณณรงค์ บอก

ในที่แห่งนี้จะรวบรวมสมุนไพรที่กินใช้ในครัวเรือน เด่นๆ คือ สมุนไพรที่ใช้ในการถอนพิษ พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดนยาเบื่อ โดนของแสลง พระเอกก็คือ ตะขาบหิน แมงป่องเขียว รางจืด ซึ่งได้ถูกนำไปใช้และเห็นผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“ผมอยากจะก้าวสู่อย่างที่ 5 ใน ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คืออยากให้ที่ตรงนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วย คนที่เข้ามาตรงนี้ไม่ใช่แค่ได้มาเห็น มาดูว่ามันสวย แต่ผมอยากให้เขาได้ความรู้ ได้แรงบันดาลใจกลับไปด้วย” เขาตั้งเป้าหมายเอาไว้

คุณณรงค์ ยังเล่าอีกว่า ต่อไปจะมีต้นดาวกระจายให้ชมทั้งปี และจุดหนึ่งที่ครอบครัวกำลังจะสร้างขึ้นมาก็คือสวนปทุมากับทุ่งบัวดิน ที่ปลูกไว้ประมาณเกือบ 2 ไร่ คาดว่าจะได้ชมในช่วงฤดูฝนปีหน้า

หากจะมาเยี่ยมชมสามารถมาได้โดยถ้าเดินทางมาจากสระบุรี มุ่งหน้ามาทางสระบุรี เพชรบูรณ์ จากสระบุรี มาถึงตำบลดีลัง ระยะทาง 37 กิโลเมตร มาถึงสี่แยกพัฒนานิคมหรือสี่แยก ซอย 12 ให้เลี้ยวขวามา 1 กิโลเมตร จะเจอร้านไทยเจริญซับพลายอยู่ทางด้านซ้ายมือ เลี้ยวขวาตรงเข้ามาอีก 1.2 กิโลเมตร ไร่จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ หรือถ้าเดินทางมาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เดินทาง 14 กิโลเมตร ก่อนถึงสี่แยกพัฒนานิคม 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายแล้วขับตรงมายังไร่อีก 1.2 กิโลเมตรได้เลย หรือสามารถติดต่อสอบถาม

อาจารย์พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก ข้าราชการวัยเกษียณ มีบ้านพักอาศัยอยู่ริมถนนหนองน้ำส้ม ตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เล่าว่า ก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว ตนเองทำงานรับราชการสายการศึกษามาก่อน เกษียณจากข้าราชการเมื่อปี 2559 ตำแหน่งสุดท้ายคือผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศฯ ของสำนักงานอุดมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 โดยเริ่มวางแผนปลูกปาล์มน้ำมันตั้งแต่ปี 2548 ก่อนออกจากงานข้าราชการ เพราะคิดว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ปลูกดูแลไม่ยุ่งยาก โรคแมลงน้อย สามารถทิ้งไว้ได้ครั้งละหลายวัน ได้ผลผลิตไว 3 ปี ตัดขายได้ ซึ่งเหมาะกับสายงานเราในตอนนั้นเพราะตนเองยังต้องรับราชการต่ออีก 12 ปี

“ตอนนั้นความรู้การปลูกปาล์มน้ำมันเท่ากับศูนย์ แต่ก็พยายามเรียนรู้อยู่ตลอด ปลูกไปด้วยลองผิดลองถูกไปด้วยรวมระยะเวลากว่า 5 ปี ช่วง 5 ปีแรกปาล์มของผมยังไม่สมบูรณ์ เป็นเพราะไม่มีความรู้เรื่องปุ๋ยเรื่องดิน และการรักษา แต่อย่างน้อย 5 ปีที่ทำมาก็ทำให้รู้ว่ามีอะไรบ้างที่ยังไม่รู้ จุดนี้ทำให้เราศึกษาเพิ่มขึ้น ล่องรอยของความไม่รู้คือ ปาล์มในช่วง 5 ปีแรก คอจะลีบ เพราะดูแลไม่เป็นขาดความรู้เรื่องปุ๋ย เมื่อรู้ถึงปัญหาจึงแก้ไขอยู่ตลอด ช่วงนั้นราคาปาล์มขายได้สูงสุดกิโลกรัมละ 12 บาท ราคาเฉลี่ยประมาณ 6-12 บาท ผมขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8-9 บาท เริ่มเห็นกำไรจึงคิดว่าน่าจะทำต่อจึงไปหาแปลงปลูกเพิ่ม นำเอาประสบการณ์จากแปลงแรกไปทำ จากแปลงแรกปลูกสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 ผลผลิตไม่ดกเท่าที่ควร จึงคิดเปลี่ยนสายพันธุ์อื่น” อาจารย์บอก

ขยายแปลงปลูก เปลี่ยนสายพันธุ์
รู้จุดด้อยจุดเด่น ผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว
ปัจจุบันอาจารย์พรพันธุ์ศักดิ์ ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมด 45 ไร่ แบ่งปลูกสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 จำนวน 23 ไร่ พันธุ์เดลิ คอมแพค 11 ไร่ และพันธุ์คอมแพค ทอร์นาโด 11 ไร่

อาจารย์เล่าว่า จากที่แปลงแรกปลูกสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 ผลผลิตไม่ดกเท่าที่ควรจึงเริ่มคิดที่จะเปลี่ยนสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 5 ตัน ต่อไร่ พยายามสืบหาข้อมูลจนไปเจอสายพันธุ์เดลิ คอมแพค ที่มีความแตกต่างจากสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 คือ เดลิ คอมแพค ให้ผลผลิตที่ดกกว่า จากระยะที่เคยปลูก 18 ต้น ต่อไร่ ได้ผลผลิต 3 ตัน เปลี่ยนเป็นระยะ 8x8x8 ปลูกได้ 28 ต้น ผลผลิตเพิ่มเป็น 5 ตัน ต่อไร่ ก็ยังไม่พอใจ คิดว่าน่าจะมีสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตได้ดกกว่านี้อีก จนมาถึงปี 2554 ได้ซื้อที่ขยายพื้นที่ปลูกอีก พยายามหาสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วได้ผลผลิตมากกว่า 5 ตัน ต่อไร่ ก็ไปเจอสายพันธุ์คอมแพค ทอร์นาโด ปลูกได้ 32 ต้น ต่อไร่ ผลผลิตเพิ่มมาอีก 2 ตัน จาก 5 เป็น 7 ตัน แต่ต้นพันธุ์ค่อนข้างมีราคาแพง เป็นสายพันธุ์ที่สั่งมาจากประเทศคอสตาริกา ต้นละ 450 บาท ต้องสั่งจองข้ามปี ในขณะที่สายพันธุ์ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปลูกคือ สุราษฎร์ธานี 1, 2 เป็นพันธุ์ที่หาง่ายและราคาถูก ผลลัพท์ที่ได้จึงต่างกัน การปลูกปาล์มน้ำมันเรื่องสายพันธุ์ถือเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่ง ถ้าเลือกพันธุ์ผิดก็ผิดยาวเพราะพันธุ์มันเอื้อต่อการให้ผลผลิต

คอมแพค ทอร์นาโด เป็นสายพันธุ์แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่ได้ ปลูกด้วยเมล็ด ต้นแม่อายุ 9 ปี ของตนเองปลูก 20 เดือนให้ผลผลิตแล้ว คือให้ผลผลิตไวและดก แพงไม่ว่าแต่คุ้มค่า และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานกว่า 35 ปี ซึ่งพันธุ์อื่นเก็บได้ถึง 25-30 ปี

คุณภาพของสายพันธุ์คอมแพค ทอร์นาโด น้ำหนักจะดี ไม่ได้ชั่งโดยตรง แต่ผู้ที่มารับตัดปาล์มเขาจะบอกว่าทะลายเท่ากันแต่น้ำหนักมากกว่า ใส่เต็มรถหนักกว่าพันธุ์อื่นเกือบตัน มีหนามน้อย น้ำมันเยอะ ลูกใหญ่ ในตอนนี้ยังไม่ค่อยมีคนปลูกเพราะไม่สามารถนำพันธุ์เข้ามาได้ สวนนี้นับเป็นที่แรกๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ปลูกพันธุ์นี้

เคล็ดลับปลูกปาล์มให้ผลผลิตดก 8-8.7 ตัน ต่อไร่
สายพันธุ์และการใส่ปุ๋ยสำคัญ น้ำก็อย่าให้ขาด
เจ้าของบอกว่า ตั้งแต่ต้นเล็กๆ จะไม่ใส่ปุ๋ยคอก แต่จะใช้ทางใบสับแล้วคุมรอบโคนแล้วนำทางใบมาปูพื้นที่โดยรอบอีกครั้ง

การปลูกปาล์มน้ำมันต้องรู้จักนิสัยและธรรมชาติของต้นปาล์ม อาจารย์ใช้เวลากว่า 10 ปี ถึงจะรู้จักนิสัยและการเอาใจใส่ที่แท้จริง ปาล์มเป็นพืชที่ขาดน้ำ ขาดปุ๋ยไม่ได้ และอีกปัจจัยสำคัญคือสายพันธุ์ที่ปลูกก็ต้องดีเช่นกัน

การให้น้ำ ที่สวนจะมีน้ำทั้งหมด 3 ระบบ โดยเฉลี่ยแต่ละวันต้องให้น้ำไม่ต่ำกว่าวันละ 200 ลิตร ต่อต้น

ระบบที่ 1 ระบบธรรมชาติ ให้น้ำฝนเลี้ยง

ระบบที่ 2 น้ำจากคลองชลประธาน ขุดร่องรอบสวน ระบบที่ 3 ระบบน้ำพุ่ง จะเปิดให้ตอนที่น้ำในร่องสวนลดลงต่ำกว่า 50 เซนติเมตร วัดจากพื้นดิน เพราะปาล์มมีรากผิวดินดูดน้ำได้ลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร เพราะฉะนั้น ถ้าระดับน้ำต่ำกว่านี้เราจำเป็นต้องเปิดระบบน้ำพุ่งช่วย

การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยตามหลัก 4Rs Principles of Nutrient Stewardship คือ 4.1 Right soure = ถูกสูตร ธาตุหลักครบ N+P+K+OM 4.2 Right Rate = ถูกอัตรา (ตามตารางปุ๋ย+ผลผลิตที่ออก) 4.3 Right Time = ถูกเวลา 4.4 Right Place = ถูกพื้นที่

ที่ต้องยึดหลัก 4Rs เพราะความเหมาะสมของต้นปาล์มไม่เหมือนกัน ใส่ให้ถูกสูตร ถูกเวลา เพราะปุ๋ยบางอย่างใส่ซ้ำหรือใส่พร้อมกันไม่ได้ เช่น N กับ K ใส่พร้อมกันไม่ได้ N จะไปตรึง K ผลผลิตทะลายจะเล็ก ต้องแยกกันใส่และใส่ให้ถูกพื้นที่ เป็นกรดหรือด่าง

การให้ปุ๋ยต้องสม่ำเสมอและต่อเนื่อง แบ่งใส่ทุกเดือน เกษตรกรส่วนใหญ่จะใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง 6 เดือนแรกหว่านไป 2 กิโลกรัม 6 เดือนหลัง หว่านไปอีก 2 กิโลกรัม ซึ่งผลลัพธ์เป็นอย่างไรไม่รู้ รู้แต่ว่าได้ใส่ ทางที่ดีต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพการกินปุ๋ยด้วย แยกใส่เป็นไลน์ธาตุ เพราะปาล์มแต่ละต้นสภาพไม่เหมือนกัน ควรวางแผนการใส่ปุ๋ยตั้งแต่ตอนแรกที่ปลูก จะใส่กลางคันไม่ได้ ควรรู้ตั้งแต่เดือนแรกที่ปลูกว่าจะใส่ปุ๋ยเท่าไร สูตรจะปรับไปตามสภาพ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว

“ให้ดูผมเป็นแนวทาง และนำไปปรับให้ตรงกับพื้นที่ของตัวเอง เพราะการปลูกหรือการใส่ปุ๋ยต้องขึ้นอยู่ที่พื้นดินด้วย เพราะสภาพพื้นที่แต่ละที่ไม่เหมือนกัน ทางที่ดีก่อนจะเริ่มปลูกเกษตรกรควรนำดินไปวิเคราะห์แร่ธาตุก่อน ว่าดินพื้นที่ขาดหรือเกิน ควรเพิ่มหรือลดอะไร ที่สวนผมให้ปุ๋ยปีละ 3 ครั้ง 4 เดือนใส่ 1 ครั้ง ใน 4 เดือนจะเฉลี่ยใส่ทุกเดือน เริ่มเดือนมกราคม-เมษายน เป็นครั้งที่ 1 ผมจะให้แม่ปุ๋ย ไนโตรเจนจากปุ๋ยสูตร 21-0-0 ใส่ 1 กิโลกรัม ยูเรีย 46-0-0 1 กิโลกรัม ให้ตัวนี้เพราะต้องการลดกรดในดินแล้ว ให้ฟอสฟอรัส 0-3-0 2 กิโลกรัม ต่อ 1 ครั้ง แล้วให้ 0-0-60 คือโพแทสเซียม 2 กิโลกรัม แมกนีเซียมเพื่อสร้างคลอโรฟิลล์ ครึ่งกิโลกรัม ให้โบรอน 200 กรัม แล้วโดโลไมท์ 3 กิโลกรัม เพื่อสร้างแคลเซียม รวมแล้วใส่ปุ๋ยหลักประมาณ 6.7 กิโลกรัม โดโลไมท์ 3 กิโลกรัมไม่นับรวม สรุป 1 ปี เฉลี่ยปุ๋ยทุกตัวใส่ต้นละ 15-18 กิโลกรัม ต่อปี” อาจารย์อธิบาย

อาจารย์บอกว่า ควรใส่ปุ๋ยให้ตรงตามค่าวิเคราะห์ดิน ใส่แบบไม่ผสม จะช่วยประหยัดต้นทุนไปได้อีกเท่าตัว ของอาจารย์ ทั้งหมดเฉลี่ยปุ๋ยกระสอบละประมาณ 415 บาท แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยแพงราคากระสอบละ 900-1,000 บาท สูตรนี้เราต้องรู้ว่าความต้องการของปาล์มแต่ละต้นเขาต้องการอะไรเท่าไร แล้วเรามาแบ่งใส่แบบนี้ ใส่ไปแล้วได้ธาตุเท่าไร ถือว่าต้องละเอียดมากๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องคำนึงถึงผลผลิตปาล์มที่เราตัดไปแล้วด้วย ถ้าตัดออกมากต้องใส่เพิ่มมากกว่าเดิม เพิ่มความสมดุลให้ต้นเพราะต้นสูญเสียไปเยอะ ผลผลิตที่นี่ถือว่าได้เยอะที่สุดในประเทศไทย สูงกว่าที่อินโดนีเซียและมาเลเซีย

วิเคราะห์ดิน ใส่ปุ๋ยตามที่พืชต้องการ
ประหยัดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
เกษตรกรหลายท่านอาจจะคิดว่า 1 ปี ใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง แล้วจะเหลืออะไร ราคาปาล์มก็ตกเอาตกเอา ถ้าลองคิดดูดีๆ คุ้มมากๆ เพราะเราใส่ตามความต้องการของพืชใส่ไปแล้วเห็นผล พืชสามารถดูดกินได้ 100% ต่างจากใส่ปุ๋ยตามใจฉัน ใส่ไปบางครั้งพืชดูดธาตุอาหารได้ไม่ถึง 50% เพราะไม่ตรงต่อความต้องการเท่ากับสูญเปล่า ผลผลิตได้ไม่เท่าที่ควร สวนนี้ใส่ปีละ 3 ครั้ง พืชได้ดูดธาตุอาหารเต็มๆ ทุกครั้งจึงส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มได้มากถึง 8-8.7 ตัน ต่อไร่

การให้ผลผลิตของปาล์มจะออกตามจำนวนทางใบ ออกเดือนละ 2 ทางใบ ปีละประมาณ 20-24 ทางใบ เพราะฉะนั้น จะได้ประมาณ 20-24 ทะลาย ต่อต้น ต่อปี ค่าปุ๋ยเฉลี่ย 150 บาท ต่อต้น ต่อปี คิดเป็นกิโลกรัมละ 9.8 บาท แต่ปุ๋ยตามท้องตลาดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18-20 บาท

1 ปี ตัดปาล์มขายได้ 18 ครั้ง คืนทุนตั้งแต่ครั้งแรก รายได้ต่อครั้งขึ้นอยู่กับราคา ครั้งล่าสุดได้ 50,000 กว่าบาท แต่ปีก่อนหน้านี้ได้ 150,000 บาท ต่อครั้ง เพราะปีนี้ราคาแย่มาก ผลผลิตปีนี้ไม่ได้ตามเป้า ปีที่แล้วได้ 8.04 ตัน ต่อไร่ น้ำหนักต่อต้น 260.87 กิโลกรัม ต้นทุนปีที่แล้ว 8,447 บาท ต่อไร่ กำไร 26,000 บาท เปรียบเทียบกับบางสวนมีรายได้ไม่ถึงหมื่น แต่ปีนี้อาจจะเหลือกำไรน้อยหน่อยเพราะราคาตกมาก แต่ก็ยังเห็นกำไร อยู่ได้เพราะเรามีปริมาณผลผลิตปาล์มเยอะ พื้นที่ปลูกเท่ากัน ชาวบ้านได้ 3-5 ตัน ต่อไร่ อาจารย์ได้ 7-8 ตัน ต่อไร่ ผลผลิตเยอะกว่า เงินก็เยอะกว่า แต่ชาวบ้านที่มีปัญหามากเพราะเขาได้ผลผลิตน้อย แล้วบริหารเงินไม่เป็น สมมุติได้เงินมา 10,000 บาท ต้องเก็บเป็นค่าปุ๋ยเท่าไร เขาไม่จดบันทึก ที่ถูกต้องคือต้องจดบันทึกและแยกซื้อปุ๋ยไว้เป็นครั้ง ผมจะซื้อปุ๋ยมาเก็บไว้สำหรับใส่ 4 เดือนแรก พอหมดแล้วซื้อมาตุนไว้อีก 4 เดือน ทำแบบนี้จะเห็นทุนเห็นกำไรชัดเจน

แนะทางรอดเกษตรกรชาวสวนปาล์มอยู่ให้ได้ในสถานการณ์ย่ำแย่
ต้องบอกว่าสถานการณ์ราคาปาล์มในปัจจุบันอยู่ยากจริงๆ ปาล์มถือเป็นพืชอาหารและพลังงานที่สำคัญ ประเทศไทยผลิตปาล์มน้ำมันมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ราคาก่อนหน้านี้ถืออยู่ในเกณฑ์ที่ดี เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5 บาท เกษตรกรอยู่ได้สบาย รายได้มากกว่าเงินเดือนข้าราชการอยู่มาก แต่ถ้ามาถึงตอนนี้ไม่รู้อะไรมากกว่าน้อยกว่าแล้ว ทางรอดของเกษตรกรชาวสวนปาล์มสิ่งที่ต้องทำคือ

ต้องบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้ได้ แต่ปุ๋ยก็ยังต้องใส่อยู่ ต้องแบ่งเงินจากรายได้มาซื้อปุ๋ยให้ได้ เพราะปาล์มเป็นพืชที่ขาดปุ๋ยไม่ได้ การลดใส่ปุ๋ยในช่วงที่ผลผลิตราคาต่ำ มันส่งผลไปถึงผลผลิตปาล์มในอีก 2 ปีข้างหน้า ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยแล้วในอีก 2 ปีราคาปาล์มดีขึ้นเราจะไม่มีปาล์มขาย ตอนนี้เกษตรกรหยุดใส่ปุ๋ยกันเยอะถือว่าคิดผิด ทางรอดต้องรักษาผลผลิตไว้ให้ได้ ใช้จ่ายอย่าฟุ่มเฟือย พยายามหาปลูกพืชเสริมในสวนยางให้ได้ อย่างน้อยหาผักสวนครัวมาปลูกอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มื้อละหลายสิบบาท

ให้เอาปริมาณเป็นที่ตั้ง วัดกันที่ความดก ใครดกกว่าก็อยู่ได้ คิดง่ายๆ ชาวบ้านทั่วไปได้ผลผลิต 3 ตัน ราคากิโลกรัมละ 2 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท แต่ผลผลิตผมได้ 8 ตัน คิดเป็นเงิน 16,000 บาท แถมยังได้เพิ่มอีกกิโลกรัมละ 0.20 บาท เพราะคุณภาพปาล์มของอาจารย์ดี เท่ากับตอนนี้มีรายได้มากกว่าเขาประมาณหมื่นกว่าบาท เพราะฉะนั้น ต้องเอาปริมาณตั้งไว้ แล้วสู้อย่าถอย พยายามเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ชาวบ้านก็เคยทำตามผม แต่สักพักเขาก็เลิกทำ เขาขาดความอดทน เขาบอกยุ่งยาก ใส่ปุ๋ยทีละตัวบอกยาก ถนัดฉีกถุงแล้วหว่าน เขาจึงไม่รู้ว่าดินกรดด่างเท่าไร ขาดธาตุอะไร ผลผลิตจึงออกมาไม่ดีเท่าที่ควร และที่แย่ไปกว่านั้นเกษตรกรบางรายจ้างใส่ปุ๋ยกระสอบละ 50 บาท ตรงนี้ก็ถือเป็นต้นทุน ผมใส่เองถือได้ออกกำลังกายและได้รู้จักปาล์มตัวเองทุกต้น

ปัจจุบันการประกอบอาชีพทางการเกษตรมีหลายๆ คน กำลังมุ่งเน้นไปที่ความสุขมากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับ เพราะไม่เพียงได้ทำอยู่กับงานที่ชอบแล้ว ยังมีเวลาอยู่กับบ้านและดูแลครอบครัวไปพร้อมๆ กัน จึงทำให้ไม่ต้องออกไปทำงานต่างถิ่น แต่ทำการเกษตรผสมผสานอยู่บนพื้นที่ของตนเอง เกิดรายได้และมีเงินเก็บสำหรับเลี้ยงครอบครัวมีความสุขกับทุกกิจกรรมที่ได้ทำในแต่ละวัน

คุณวิภารัตน์ ปานเกิด เกษตรกรทำไร่นาสวนผสม อยู่ที่ตำบลโคกตม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ยึดการทำเกษตรแบบให้มีหลายๆ อย่างอยู่บนพื้นที่ ทำให้ภายในสวนของเธอมีการทำเกษตรที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงปลา ตลอดไปจนถึงการปลูกพืชต่างๆ จึงทำให้มีรายได้แบบรายวัน รายเดือน และรายปี เกิดเป็นเงินหมุนเวียนใช้จ่ายภายในครอบครัว และเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินอีกด้วย

คุณวิภารัตน์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนยึดการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียว ยังไม่ได้มีการปลูกพืชผักและต้นไม้ต่างๆ เพราะพื้นที่บริเวณนี้ค่อนข้างแห้งแล้งไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก เมื่อมีความตั้งใจจริงที่อยากจะทำอาชีพทางด้านการเกษตรให้ประสบผลสำเร็จ จึงได้ไปเข้าอบรมเกี่ยวกับการให้ความรู้ โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ดูดน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ทางการเกษตร ทำให้ไม่สิ้นเปลืองในเรื่องของพลังไฟฟ้าลดต้นทุนการผลิตได้ดี

“พอเราเริ่มมีน้ำเข้ามาใช้ การเกษตรจากที่เลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียว ก็สามารถนำมาปลูกพืชผักได้ เลี้ยงปลาได้ ทำนาได้ คำที่ว่า น้ำคือชีวิต นี่เป็นเรื่องที่สำคัญ มันทำให้เราสามารถปลูกอย่างอื่นได้หลากหลาย เพราะน้ำเข้ามามีบทบาทสำคัญ จึงทำให้การทำเกษตรเริ่มหลากหลายมากขึ้น พอมีผลผลิตออกมาก็สามารถขายได้หลากหลาย เกิดเป็นรายได้มาใช้จ่ายในครัวเรือนได้ อย่างพืชผักเป็นรายได้ประจำวัน ไข่ไก่ ปลาที่เลี้ยงเป็นรายได้ประจำสัปดาห์ และโคและหมูป่าเป็นรายได้ประจำปีก็ได้ ถือว่ามีการทำไร่นาสวนผสมนี่ ดีสำหรับเรา ณ เวลานี้” คุณวิภารัตน์ บอก

สำหรับปลาที่เลี้ยงเน้นปล่อยรวมกันหลายๆ ชนิด สมัคร Genting Club อาหารที่ให้ปลากินเป็นผลผลิตที่ได้จากสวน พร้อมทั้งนำฟางที่ได้จากนาที่ทำไว้ใส่ลงไปภายในบ่อให้ปลาได้กิน จึงทำให้ปลาที่เลี้ยงไม่ต้องสิ้นเปลืองในเรื่องของอาหาร มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เมื่อเลี้ยงปลาได้อายุอยู่ที่ 3-4 เดือนก็จะจับขายให้กับลูกค้าที่มาซื้อเกิดผลกำไรมากขึ้นจากการเลี้ยงแบบลดต้นทุน

ส่วนพืชผักที่ทำการปลูกจะเป็นพืชผักสวนครัวที่ปลูกแบบขายได้ง่ายๆ เป็นพืชที่ตลาดมีความนิยม เช่น มะนาว มะเขือ พริก และอื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งนอกจากจะนำมาประกอบอาหารเพื่อกินเองในครอบครัวแล้ว ส่วนที่มีจำนวนมากก็จะตัดส่งขายเพื่อสร้างรายได้เป็นเงินหมุนเวียนไว้ใช้จ่าย

“ปลาที่อยู่ในบ่อเลี้ยง ถ้าชาวบ้านในย่านนี้จะมีงาน หรือต้องการซื้อเขาก็จะสั่งว่าต้องการปลาจำนวนเท่าไร จากนั้นเราก็จะจับให้ลูกค้า พร้อมทั้งพอมีคนมาเรียนรู้ที่สวนของเรา เราก็จะใช้ผลผลิตภายในสวนของเรามาประกอบอาหารให้กับแขกที่เข้ามาอบรม ก็จะทำให้ทุกคนได้เห็นว่า พืชผลและสัตว์ต่างๆ ที่เลี้ยงไว้ สามารถนำมาประกอบอาหารและค้าขายได้จริง โดยที่เราไม่ต้องใช้ต้นทุนในการผลิตอะไรมาก มีรายได้รายวัน รายเดือน และรายปี ถือว่าผลตอบแทนดีทีเดียว” คุณวิภารัตน์ บอก

ซึ่งตั้งแต่มาทำไร่นาสวนผสมโดยไม่เน้นการทำพืชเชิงเดี่ยว พร้อมกับสร้างมาตรฐานผลผลิตให้ปลอดภัยจากสารเคมี คุณวิภารัตน์ บอกว่า ทั้งเธอและสามีมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน วันไหนรู้สึกเหนื่อยก็สามารถหยุดการทำงานโดยที่ไม่ต้องทำให้ตรงตามเวลาเหมือนเป็นลูกจ้าง โดยแต่ละคนมีหน้าที่การทำงานเป็นของตนเองโดยใช้แรงงานภายในครอบครัว

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะทำอาชีพทางการเกษตร คุณวิภารัตน์ แนะนำว่า ต้องดูว่ามีความชื่นชอบและสนใจการทำเกษตรในทิศทางไหน จากนั้นจึงค่อยลงมือทำในแบบที่ตนเองชอบ เพราะหากทำในแบบที่ไม่ใช่ใจรัก ก็อาจจะทำให้ผลผลิตที่ได้หรือสิ่งที่ลงมือทำไม่เกิดความสำเร็จเท่าที่ควร และที่สำคัญไปกว่านั้นในเรื่องของความร่วมมือของครอบครัวควรมีส่วนร่วมไปพร้อมๆ กัน