จํานวนวันที่ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน พบว่า จังหวัดตากมี

ปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานสูงสุด จำนวน 19 วัน ขณะที่จังหวัดพะเยา เป็นเพียงจังหวัดเดียวที่มีปริมาณฝุ่นละอองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อธิบดี คพ.กล่าวว่า ในส่วนสถานการณ์จุดความร้อนสะสม 9 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 พฤษภาคม 2561 เปรียบเทียบข้อมูลจุดความร้อนสะสมรายจังหวัดในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 พฤษภาคม 2561 พบจำนวนความร้อนในพื้นที่ 9 จังหวัด จำนวน 4,717 จุด ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2560 ที่พบจำนวนจุดความร้อน 5,418 จุด หรือลดลงประมาณร้อยละ 13 เมื่อพิจารณาจำนวนจุดความร้อนสะสมรายจังหวัด พบว่า จังหวัดตาก มีจุดความร้อนสะสมสูงที่สุด 1,377 จุด รองลงมา จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจุดความร้อนสะสม 915 จุด และ จังหวัดเชียงใหม่ มีจุดความร้อนสะสม 650 จุด ตามลำดับ

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน นพ. ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้จะมีการถ่ายทอดสดให้ชมช่วงเย็นและดึกติดต่อกันนานหลายวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลานอนหลับพักผ่อน หากไม่มีการเตรียมตัวที่ดีอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะเรื่องการกินอาหาร หากไม่มีการควบคุมอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม และร่างกายเสื่อมโทรม เพราะการนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้เกิดการอ่อนเพลีย เจ็บป่วยได้ง่าย อีกทั้งยังมีผลต่อฮอร์โมนในร่างกายที่ควบคุมความอยากอาหาร จะกระตุ้นให้เกิดความหิวจนนำไปสู่โรคอ้วนได้

“การชมฟุตบอลผ่านจอโทรทัศน์ควรให้อยู่ในระดับสายตา ไม่ควรนั่งชมในที่มืด ต้องเปิดไฟลดความจ้าของแสงโทรทัศน์เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับตา หากชมเป็นเวลานานๆ ควรนั่งอย่างถูกวิธี หากนั่งบนเก้าอี้ควรห้อย

ขาลง หากนั่งพื้น ไม่ควรนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรืองอเข่านานๆ หากรู้สึกเมื่อยก็ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ด้วยการลุกขึ้น หรือยืดเหยียดแขน ขา ลำตัว คอ บ่า ไหล่ อย่างง่ายๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน” นพ.ดนัย กล่าว

พญ. นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กล่าวว่า อาหารที่ได้รับความนิยมช่วงการชมฟุตบอลโลก ส่วนมากเป็นขนมขบเคี้ยวที่มีไขมันและโซเดียมสูง ซึ่งให้พลังงานมาก แต่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายน้อยและไม่ดีต่อสุขภาพ อาทิ ป๊อปคอร์น มันฝรั่งทอดกรอบ ข้าวเกรียบทอด ไก่ทอด ไส้กรอก รวมถึงน้ำอัดลม ชาเขียว เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ

“การดื่มชาเขียวรสน้ำผึ้ง 1 ขวด ขนาด 500 มิลลิลิตร ให้พลังงาน 250 กิโลแคลอรี มีน้ำตาล 14 ช้อนชา คู่กับมันฝรั่งทอดกรอบ 1 ถุงใหญ่ ขนาด 57 กรัม ให้พลังงาน 320 กิโลแคลอรี ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานทั้งหมดถึง 570 กิโลแคลอรี และการดื่มน้ำอัดลม 1 ขวด ขนาด 500 มิลลิลิตร ให้พลังงาน 200 กิโลแคลอรี คู่กับไส้กรอก 1 ถุง ขนาด 150 กรัม ให้พลังงาน 500 กิโลแคลอรี ร่างกายจะได้รับพลังงานทั้งหมดถึง 700 กิโลแคลอรี ส่วนเบียร์ 1 กระป๋อง ขนาด 350 มิลลิลิตร จะได้รับพลังงาน 137 กิโลแคลอรี ไวน์ 1 แก้ว ขนาด 100 มิลลิลิตร ให้พลังงาน 75 แคลอรี ดังนั้นหากได้รับในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกายจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและโรคอื่นๆ ตามมา” พญ.นภาพรรณ กล่าว

อสังหาฯ ค้างสต๊อก 1.76 แสนยูนิต “อีไอซี” ชี้ถ้าไม่เปิดใหม่อีก 2 ปีจะขายหมด แนะเอกชนปรับตัวตามเทรนด์รับแข่งดุ อีไอซีชี้ตลาดอสังหาฯ แข่งแรง ระบุจับตาสต๊อกคงค้าง 1.76 แสนยูนิต ต้องใช้เวลาระบาย เผยไตรมาสแรกโอนกรรมสิทธิ์โต 7% แนะผู้ประกอบการปรับตัวตามเทรนด์ผู้บริโภค

นายวิธาน เจริญผล ผู้อำนวยการอาวุโสคลัสเตอร์ธุรกิจบริการ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (อีไอซี) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้มีทิศทางปรับตัวที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมต่างๆ ความต้องการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นจากครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง โดยประเมินว่าตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑลปีนี้จะมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 4.59 แสนล้านบาท เป็นคอนโดมิเนียม 46% บ้านเดี่ยว 23% ทาวน์เฮ้าส์ 21% และอีก 10% เป็นบ้านแฝดและอาคารพาณิชย์ ซึ่งมูลค่าการโอนเติบโตขึ้น 7% จากปี 2560 ที่มีมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ 4.28 แสนล้านบาท ด้านจำนวนยูนิตที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ปีนี้อยู่ที่ 1.69 แสนยูนิต เพิ่มขึ้น 3% จากปี 2560 ที่ 1.63 แสนยูนิต ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างจังหวัดคาดว่าจะขยายตัวราว 2-3% โดยเริ่มเห็นตลาดที่อยู่อาศัยในหัวเมืองหลักปรับดีขึ้นและจำนวนคอนโดมิเนียมเหลือขายในต่างจังหวัด ลดลง

นายวิธาน กล่าวว่า ปัจจัยที่ต้องติดตามคือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งจำนวนสินค้าคงค้างเหลือขายมากกว่า 1.76 แสนยูนิต แบ่งเป็นคอนโดมิเนียม 40% บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์กลุ่มละ 20% ซึ่งกรณีที่ไม่มีการเปิดโครงการใหม่ออกมาคาดว่าจะสามารถระบายสต๊อกเหล่านี้ได้ในช่วง 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม แต่ละปีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีการเปิดโครงการใหม่เพิ่มขึ้นดังนั้น ต้องใช้เวลาในการระบายสินค้าคงค้าง ซึ่งผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีการจัดโปรโมชั่นส่วนลดราคาหรือของแถมเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ และพบว่าผู้ประกอบการระมัดระวังในการเปิดโครงการใหม่มากขึ้น

“กำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ยังพอมีอยู่ สต๊อกสินค้าที่คงค้างคาดว่าจะทยอยระบายไม่ได้มีความกังวลมากนัก เพราะผู้ประกอบการมีการปรับตัวชัดเชน ทั้งนี้ ส่วนของการโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาก็ขยายตัวได้ดีราว 20-30% และจะทยอยโอนทั้งปีนี้ ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับต่ำที่ระดับ 2-3% ซึ่งขณะนี้สถาบันการเงินยังมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออยู่ ด้านอัตราดอกเบี้ยแต่ละธนาคารยังมีการแข่งขันกันอยู่เช่นกัน” นายวิธาน กล่าว

นายวิธาน กล่าวว่า การแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัยที่รุนแรงขึ้นส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเน้นกลยุทธ์สร้างความแตกต่างและเข้าใจผู้บริโภคเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดย 3 กลยุทธ์ คือ ออกแบบ รองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้า การจับมือทางธุรกิจเพื่อพัฒนาสินค้า ถ่ายทอดความรู้ เข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ และสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยของไทยที่น่าจับตามองคือ ตลาดคอนโดมิเนียมจะยังคงเป็นตลาดใหญ่ ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนกลางฟังก์ชั่นการใช้งานของพื้นที่ที่หลากหลาย อยากอยู่ใกล้แหล่งชุมชนเพิ่มเติมจากแค่ใกล้รถไฟฟ้า และสมาร์ทโฮมจะกลายเป็นพื้นฐานการพัฒนาโครงการในอนาคต

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้กรมในฐานะคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวในสต๊อกของรัฐออกประกาศจำหน่ายข้าวสารในสต๊อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ครั้งที่ 1/2561 ปริมาณ 1.49 ล้านตัน จำนวน 91 คลัง ปรากฏว่ามีผู้ผ่านคุณสมบัติผู้เสนอซื้อเบื้องต้น

ทั้งหมด 26 ราย ทั้งนี้ หากปรากฏภายหลังว่าผู้เสนอซื้อรายใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่ประกาศกำหนดจะถือว่าผู้เสนอซื้อรายนั้นขาดคุณสมบัติมาตั้งแต่ต้น และจะถูกดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประกาศที่กำหนดไว้

นายอดุลย์ กล่าวว่า ทั้งนี้ จากการเปิดให้ผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นยื่นซองเมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมานั้นพบว่ามีผู้สนใจมายื่นซองจำนวน 22 ราย โดยเป็นผู้เสนอซื้อสูงสุด จำนวน 18 ราย ใน 88 คลัง ปริมาณ 1.48 ล้านตัน คิดเป็น 99% มูลค่าที่เสนอซื้อประมาณ 8,441 ล้านบาท และราคาเสนอซื้อเฉลี่ย คือ 4,967 บาท/ตัน โดยเสนอซื้อข้าวขาว 5% มากที่สุด 0.87 ล้านตัน รองลงมา คือ ปลายข้าว A 1 เลิศ ปริมาณ 0.47 ล้านตัน คิดเป็น 31.85% โดยหลังจากนี้จะเสนอเรื่องไปยังคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวในสต๊อกของรัฐ และคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวก่อนเสนอ นบข. ให้ความเห็นชอบ

ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ผลผลิต สับปะรดห้วยมุ่น กำลังอยู่ในช่วงที่คุณภาพดีที่สุด และมีปริมาณมากที่สุด เป็นสับปะรดที่ประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศนิยมบริโภคกันมากที่สุด เกษตรอุตรดิตถ์ ปรับกลยุทธ์กระจายผลผลิต ให้ออกสู่ตลาดในสภาพคล่อง จัดการตลาดในแบบแสวงหาการมีส่วนร่วม โดยให้มีการซื้อขายทาง Internet และสื่อ Digital ต่างๆ ใช้การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้บริโภค “สัมผัสสับปะรดห้วยมุ่น ที่แท้จริงด้วยลิ้น และบอกกล่าวด้วยปาก”

นายอุดมศักดิ์ คำมูล เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า “สับปะรดห้วยมุ่น” ซึ่งเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับการประกาศให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI.) มีพื้นที่ปลูก 30,707 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิต 27,719 ไร่ ให้ผลผลิตกว่า 122,700 ตัน ณ เวลานี้เกิดปัญหาด้านการขาดสภาพคล่อง ในการกระจายผลผลิต เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือ สภาพภูมิอากาศของประเทศไทย มีผลทำให้เกิดการสุกแก่ของสับปะรดพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งตามปกติแล้วผลผลิตสับปะรด

จะทยอยสุกแก่จากภาคใต้ ตะวันออก กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ อีกประการหนึ่งคือสภาพภูมิอากาศปีนี้ เอื้ออำนวยต่อการติดผล และให้ผลผลิตคุณภาพดี ไม่มีปัญหาภัยธรรมชาติ หรือศัตรูพืชระบาดทำลาย ปัจจัยต่างๆ คือ ปัจจัยสำคัญ ทำให้ผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ในขณะที่โรงงาน และผู้บริโภค มีข้อจำกัดในความสามารถการรับซื้อผลผลิตเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรม หรือบริโภค ทำให้ผลผลิตสับปะรดขาดสภาพคล่องในด้านการกระจายสินค้า และการตลาด มีผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ ดังเช่นที่หลายพื้นที่ประสบปัญหาอยู่

เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ดำเนินการจัดทำแผนการตลาดสับปะรดห้วยมุ่น เพื่อแก้ไข หรือบรรเทาปัญหา โดยการแสวงหาการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ช่วยกันกระจายผลผลิต ทั้งสับปะรดบริโภคผลสด และสับปะรดโรงงาน ในส่วนของพื้นที่ ได้ส่งเสริมให้ใช้ผลผลิตสับปะรดในการแปรรูปเป็นสินค้าชนิดต่างๆ เช่น สับปะรดกวน สับปะรดแก้ว แยมสับปะรด น้ำผลไม้สับปะรด น้ำสับปะรดเข้มข้น ประกอบอาหาร หรือขนมจากสับปะรด และอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่าย นอกจากนั้น ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีสับปะรดคุณภาพต่ำ และเศษสิ่งเหลือจากสับปะรด นำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในการเกษตรเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตคุณภาพ สร้างความปลอดภัย

ที่สำคัญได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยการกระจายผลผลิตสับปะรดห้วยมุ่น สู่ตลาดผู้บริโภคสด และแปรรูปอย่างเป็นระบบ โดยประสานเปิดช่องทางการตลาด ไปในแหล่งที่เป็นศูนย์กลางประชาชน และส่วนราชการส่วนกลาง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้า และการติดต่อ หรือตกลงซื้อขายสับปะรด ทั้งทางพบปะโดยตรง และทางเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น Internet Facebook App.Line หรือสื่อ Digital ต่างๆ ทำให้เกิดผลการกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปริมาณมาก เช่น เปิดร้านจำหน่ายที่ ตลาด อ.ต.ก. กรุงเทพฯ เปิดร้านแสดงและจำหน่ายที่กรมส่งเสริมการเกษตร บางเขน กรุงเทพฯ ติดต่อประสานส่วนราชการ และภาคเอกชนต่างๆ ที่มีอัตรากำลัง และอัตราการบริโภคสูง เช่น หน่วยงานทหาร สถาบันการศึกษา ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า ตลาดกลาง ฯลฯ เพื่อให้ช่วยสนับสนุนกระจายผลผลิตสับปะรดห้วยมุ่น

คุณทองสุข ชำนาญผลิต หรือ พี่อุ้ม อยู่บ้านเลขที่ 856/1 ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พี่อุ้ม หนุ่มโสด วัย 41 ปี ใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรตั้งแต่จำความได้ ด้วยความที่เรียนจบไม่สูงจึงยึดอาชีพเป็นเกษตรกรอาศัยความชำนาญเลี้ยงชีวิต ปัจจุบัน พี่อุ้มเริ่มหันมาปลูกหอมแบ่ง เป็นระยะเวลา 3 ปี ถือว่าราคาดีมาตลอด

ปลูกเพียง 2 ไร่ แบ่งปลูกหอมเป็น 2 พันธุ์ ด้วยกัน คือ พันธุ์ขาไก่ 1 ไร่ และพันธุ์อุตรดิตถ์ 1 ไร่ หอมทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ มีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป อย่างพันธุ์ขาไก่มีอายุเก็บเกี่ยว 60 วัน สายพันธุ์นี้ต้องดูแลนานก็จริงแต่คุ้ม เพราะสามารถเก็บไว้รอราคาขึ้นได้ ส่วนสายพันธุ์อุตรดิตถ์ให้ผลผลิตดี อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 35-40 วัน เก็บขายได้เร็ว ไม่ต้องดูแลมาก

หอม เป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี ถ้าหน้าฝนราคาจะสูงถึงกิโลกรัม 150 บาท พูดง่ายๆ ว่า ผลผลิตยังคาแปลงพ่อค้าแม่ค้าก็มาแย่งจองกันแล้ว อย่างที่นี่ทำได้ตลอด เพราะรู้แล้วว่าช่วงฤดูฝนมาต้องทำอย่างไร ยกร่องแปลงสูงขนาดไหน หน้าฝนทีไรเรายิ้มออก เพราะมีการจัดการที่ดี

เทนนิคการปลูก ยกร่องหนีฝน

การปลูกหอมแบ่งของพี่อุ้ม จะไถดิน 2 ครั้ง และยกร่องให้สูง หากอยู่ในช่วงฤดูฝนใช้วิธีนี้ ปัญหาหอมเน่ารากเน่าจะไม่เกิด ขั้นแรกไถพรวนผาล 3 ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แล้วยกร่อง ครั้งที่ 2 ไถพรวนผาล 4 ตากดินทิ้งไว้อีก 1 สัปดาห์ และยกร่องขึ้นมาใหม่ให้ร่องสูงประมาณหัวเข่า เพื่อแก้ปัญหาในช่วงฤดูฝนกันรากเน่า ความยาวของแปลงตามสะดวก เมื่อทำเสร็จให้รดน้ำ 2 วัน แล้วใช้เครื่องตีดินแบบเดินตาม เพื่อให้ดินร่วนซุยอีกครั้ง

เมื่อเตรียมดินยกร่องปลูกเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้นำหัวหอมที่เตรียมไว้มาปักลงดิน เพียงครึ่งหัว ความห่างระหว่างต้น 1 คืบมือ 1 หัว จะแตก 4-5 ต้น ถือว่าได้ผลผลิตกำลังพอดี ถ้าให้มากกว่านี้ หลอดจะเล็ก ตลาดไม่ต้องการ เราต้องทำให้ตรงกับความต้องการของตลาดถึงจะขายได้

การดูแล-ระบบน้ำ

ระบบน้ำที่ใช้เป็นระบบสปริงเกลอร์หัวปกติ รดน้ำเช้า-เย็น ในตอนเช้าเปิดรดน้ำ 5 นาที ตอนเย็นรดเพียง 2 นาที เมื่อหอมขึ้นประมาณ 1 ข้อนิ้ว ให้พักรดน้ำเป็นวันเว้นวัน หากรดทุกวันตาจะไหม้

มีเป็นปกติ ยิ่งช่วงหน้าร้อนต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะหนอนหลอดจะระบาด วิธีการดูแลอาจต้องมีการใช้สารเคมีผสมกับอินทรีย์บ้าง อย่างการใช้น้ำส้มควันไม้เข้าช่วย จะให้ใช้สารเคมีอย่างเดียวผู้บริโภคก็ไม่ไหว เกษตรกรตัวเราเองร่างกายก็รับไม่ไหวเหมือนกัน

การเก็บเกี่ยว

ใช้แรงงาน ถอนช่วงเช้าๆ 45 เข่ง ก็ได้เป็น 100 กิโลกรัมแล้ว เราไม่ได้ถอนทั้งวัน ถอนแล้วตั้งไว้ ล้างน้ำเปล่า ตากไว้ในที่ร่ม หอมจะไม่เหี่ยว ตกเย็นมาขับรถไปส่งที่ตลาด

ลงทุนน้อย กำไรมาก

ปลูกหอมแบ่ง 2 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 2-3 ตัน ต่อไร่ หากคิดราคาในปัจจุบัน อยู่ที่กิโลกรัมละ 25-35 บาท ราคามีดีบ้างไม่ดีบ้าง หากขายไม่ได้ก็สามารถนำมาทำพันธุ์ต่อได้ ทำมา 2 ปี ถ้าเทียบกับการปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลังถือว่าคุ้มกว่ากันมาก ปลูกหอมใช้เงินลงทุน ประมาณ 15,000-20,000 บาท ราคานี้รวมค่าพันธุ์หอม ค่าแรง ค่าอุปกรณ์แล้วทุกอย่าง แต่ถ้าปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง บวกกับค่าเช่าที่แล้ว ต้องใช้เงินลงทุน ไร่ละ 200,000 บาท ทำไปก็เป็นหนี้ ซึ่งตอนนี้มีแผนที่จะยกเลิกการปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง แล้วเปลี่ยนมาขยายเป็นการปลูกหอมและผักชีเพิ่ม

นครราชสีมา วันนี้ (15 มิ.ย. 61) เวลา 09.00 น. ที่บริเวณลานจอดรถหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพาณิชย์ จ.ชัยภูมิ ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา ได้เปิดพื้นที่ให้เกษตรกร ผู้ปลูกสับปะรด จังหวัดชัยภูมิ นำสับปะรดมาจำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง ในราคากิโลกรัมละ 5 บาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือระบายผลิตผลทางการเกษตร ที่ราคาตกต่ำ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ซึ่งมีประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียงมาซื้อกันเป็นจำนวนมาก จนสับปะรดที่นำมา จำนวน 4.5 ตัน หมดเกลี้ยงภายในเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาได้เปิดให้เกษตรกรจังหวัดชัยภูมินำสับปะรดมาขาย เมื่อวันที่ 11 วันที่ 14 และ วันนี้ (15 มิ.ย.) รวม 3 วัน สามารถจำหน่ายสับปะรดช่วยเหลือเกษตรกรไปได้แล้วกว่า 17 ตัน

นายสุรวิทย์ วลกลาง เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยว่า ในพื้นที่ตำบลทรัพย์สีทอง และตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งมีเกษตรกรปลูกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียมากกว่า 1,800 ไร่ ในแต่ละปีสามารถเก็บสับปะรดส่งขายให้กับโรงงานในจังหวัดระยอง มากกว่า 30,000 ตัน จากปีก่อนเคยขายสับปะรดได้ราคาสูงถึง กิโลกรัมละ 13 บาท แต่มาปีนี้สับปะรดราคาตกต่ำ เหลือกิโลกรัมละ 2 บาท เท่านั้น จึงทำให้เกษตรกรตัดสินใจไม่ตัดสับปะรดส่งไปขายให้กับโรงงาน เนื่องจากไม่คุ้มทุนกับการจ้างแรงงานตัด และค่ารถขนส่ง จึงทำให้มีสับปะรดเหลือค้างอยู่ในไร่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด จังหวัดชัยภูมิ จึงได้ประสานขอให้จังหวัดใกล้เคียง ได้ช่วยเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรนำสับปะรดมาขายให้กับประชาชน โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะทำให้ได้ราคาสูงกว่า กิโลกรัมละ 2 บาท ตามที่โรงงานรับซื้อ อันจะสามารถช่วยแบ่งเบาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรได้บ้าง

วันนี้ (14 มิ.ย.61) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ “การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกันด้านการอบรม วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย มุ่งหาแนวทางการใช้ทรัพยากรด้านการวิจัยระหว่างสองหน่วยงานร่วมกันอย่างคุ้มค่า ลดต้นทุนซ้ำซ้อน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่องานวิจัย

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กยท. ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีหน้าที่บริหารจัดการยางพาราทั้งระบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งในส่วนของงานวิจัย ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่น การวิจัยยางพันธุ์ดี การวิจัยเพื่อพัฒนาการแปรรูปยางพาราเป็นวัตถุดิบ ไปจนถึงการวิจัยเพื่อแปรรูปยางพาราสู่ผลิตภัณฑ์ยางพารา ซึ่ง กยท. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัย อบรม พัฒนา เพื่อการต่อยอดสู่นวัตกรรมใหม่ๆ ในแวดวงยางพารามาอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้อตกลงระหว่าง กยท. และ วว. ในครั้งนี้ว่า

ถือเป็นการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนในการศึกษาหาแนวทางร่วมกันในการใช้ทรัพยากรหรือทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจทั้งสองหน่วยงานในการดำเดินงานด้านการวิจัยให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ลดต้นทุนซ้ำซ้อนของหน่วยงาน ด้วยวิธีการบริหารจัดการที่ดี อีกทั้งยังเป็นการประสานความร่วมมือในด้านการอบรม วิจัยวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบุคลากรทั้งสองหน่วยงาน ให้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนผลงานด้านการวิจัยร่วมกัน จึงถือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคลากรด้วย

รก. ผู้ว่าการ กยท. กล่าวเพิ่มเติมว่า “กยท. และ วว. จะได้ร่วมกันบูรณาการความร่วมมือในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และความสามารถในการแข่งขันด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรหรือสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจร่วมกัน ทั้งทรัพยากรจากการลงทุนโครงการต่างๆ หรือทรัพยากรที่เป็นสินทรัพย์ เช่น อาคาร เครื่องจักร ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น การวิจัยและพัฒนา เช่น มีการดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาของทั้งสองหน่วยงานในด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตยางพาราหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยาง และให้มีการสนับสนุนโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างสองหน่วยงาน ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมืออุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการวิจัย และการประเมินผลทางการวิจัยร่วมกัน”