ฉะนั้น หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาของเราจะเป็นหน่วยหลัก

ในการเข้าไปยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ในจุดที่ยังขาดแคลนอยู่ ไม่ว่าส่วนไหนของประเทศ ซึ่งในปัจจุบันเราเน้นเรื่องการบรรเทาสาธารณภัย และการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในจุดที่ได้รับภัยพิบัติด้วย ปัจจุบันการทำงานในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนไม่มีใครเป็นพระเอก เราจะเข้าไปโดยการประสานงานกับหน่วยงานซึ่งเป็นภาครัฐและก็ภาคเอกชนก็ดี หรือไปขอความร่วมมือกับกลุ่มผู้นำท้องถิ่น เพราะฉะนั้น การเข้าไปทำงานของเราจะมีการบูรณาการเป็นองค์รวม

พันเอก กฤตพันธุ์ รักใคร่ กล่าวถึงโครงการประชารัฐฯ ว่าเป็นโครงการที่เกิดจากการริเริ่มของรัฐบาล ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งท่านมีแนวความคิดที่หลักแหลมว่าในอดีตการที่เราไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เราทุ่มงบประมาณลงไป บางทีบางจุด บางประเด็น ประชาชนเขาไม่ต้องการสิ่งที่เรานำไปให้ เนื่องจากประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการของเขา สิ่งที่ภาครัฐยื่นความช่วยเหลือลงไปให้ประชาชน อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนต้องการ ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาของพี่น้องประชาชนได้ และจะขาดความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่

ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลก็มอบนโยบายลงมาว่าการดำเนินการประชารัฐ คือการที่รัฐบาลมอบนโยบายไปให้กับพี่น้องประชาชนร่วมกันพิจารณาและแสดงความคิดเห็น จากนั้นให้หน่วยงานของรัฐ ประชาชน ท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินโครงการ โดยจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานไว้ แล้วก็ต้องใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าที่สุดในการลงไปทำงานแต่ละโครงการต้องสามารถต่อยอดได้เนื่องจากเป็นความต้องการของพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้น การต่อยอดต้องเกิดขึ้น ท้องถิ่นก็ดีประชาชนก็ดี มีความคิดมีส่วนร่วมในงานนั้นและต้องมีความเป็นประชาธิปไตย และนี่ก็คือภาพกว้างๆ ของประชารัฐที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งถ้าเรามองภาพรวมแล้วก็จะคล้ายๆ ภารกิจของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

สำหรับโครงการประชารัฐ “สถานีก๊าซผักตบชวา เพื่อประชาชน” นั้น เกิดจากประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับผักตบชวากีดขวางทางน้ำ ทั้งการขนส่งหรือการจราจรทางน้ำ เราจะทำให้วัชพืชที่ไร้ค่านี้กลับเข้ามามีคุณค่าอย่างไร เราจะแปรรูปสินค้าที่ไม่มีประโยชน์ให้กลับมามีประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้พี่น้องประชาชนอย่างไร

ฉะนั้น โครงการประชารัฐตรงนี้ ทางศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ได้ร่วมมือกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำ “สถานีก๊าซหุงต้มจากผักตบชวา เพื่อประชาชน” เผยแพร่ให้พี่น้องประชาชนได้นำไปใช้ประโยชน์ เปลี่ยนผักตบชวาให้เป็นก๊าซหุงต้ม ซึ่งหากใช้ถังหมักขนาด 200 ลิตร หลังจากหมักไว้นาน 7-14 วัน จะเกิดก๊าซหุงต้มที่สามารถปรุงอาหารได้วันละ 30-40 นาที ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งการใช้ประโยชน์จากผักตบชวา นอกเหนือจากการนำผักตบชวาทำเครื่องจักสาน ทำปุ๋ยอินทรีย์ ทำดินปลูกต้นไม้ ทำน้ำหมักชีวภาพ

พันเอก กฤตพันธุ์ รักใคร่ กล่าวปิดท้ายว่า สำหรับตนเองปรุงอาหารโดยใช้ก๊าซจากผักตบชวามาหลายเมนูแล้วครับ เป็นก๊าซจากผักตบชวาที่กำลังพลของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาผลิตขึ้นเอง เมนูผัด ทอด แกง ต้ม ทำได้ทุกอย่าง ไฟแรง ก๊าซสะอาดไม่มีกลิ่น และภาชนะไม่ดำ หากพวกเราช่วยกันคนละไม้ละมือ ในการผลิตก๊าซหุงต้มจากผักตบชวา จะเป็นการช่วยลดงบประมาณการกำจัดผักตบชวาของภาครัฐ และจะประหยัดค่าใช้จ่ายค่าก๊าซหุงต้มในบ้านท่านได้เดือนละ 300-400 บาท

ผู้สนใจสามารถมาศึกษาดูงานได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กรุงเทพมหานคร ในวันและเวลาราชการ โดยองค์ความรู้เรื่อง “สถานีก๊าซผักตบชวา เพื่อประชาชน” เป็นหนึ่งในองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่น่าสนใจมากมาย ของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เขตดอนเมืองครับ

ติดต่อประสานงาน รศ.ดร.จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ (อาจารย์แมว) ผู้อำนวยการ ศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ สำนักงานคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 อีเมล molku@ku.ac.th

สศท.8 เผยข้อมูลไม้ผลเอกภาพรอบที่ 1 ของไม้ผล 4 ชนิด ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน คาด ปีนี้ ผลผลิต 440,579 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 79.54 โดยเฉพาะ ลองกอง เพิ่มขึ้นมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 872.26 ด้าน สศท.8 พร้อมเกาะติดสถานการณ์ใกล้ชิด หากสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน อาจส่งผลปริมาณผลผลิตเปลี่ยนแปลง ลุยจัดทีมลงพื้นที่สำรวจอีกครั้ง เดือนพฤษภาคม ถึง ต้นเดือนกรกฎาคมนี้

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงข้อมูลไม้ผลเอกภาพรอบที่ 1 ปี 2561 ของไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง ในภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สศท.8) และศูนย์สารสนเทศการเกษตร (ศสส.) ร่วมมือกับคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคใต้ พยากรณ์ข้อมูลไม้ผล ปี 2561 ครั้งที่ 1 (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2561) พบว่า

เนื้อที่ให้ผล 4 สินค้า มีจำนวน 525,647 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 จำนวน 3,085 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.59) โดยเฉพาะทุเรียน เพิ่มขึ้นจำนวน 13,288 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.63) ส่วนผลไม้อีก 3 ชนิด เนื้อที่ให้ผลลดลง โดยเงาะลดลงมากที่สุด คือร้อยละ 7.62 รองลงมาได้แก่ ลองกอง ลดลงร้อยละ 5.04 และ มังคุดลดลงร้อยละ 0.39

ผลผลิตรวม 4 สินค้า คาดว่าจะมีประมาณ 440,579 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 จำนวน 195,179 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.54) โดยลองกอง จะเพิ่มขึ้นมากสุด ร้อยละ 872.26 มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 123.38 เงาะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.75 และ ทุเรียน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.49 ทั้งนี้ ผลผลิตทั้ง 4 สินค้า เพิ่มขึ้นทุกชนิด เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำเพียงพอ และปีที่แล้วออกดอกติดผลน้อย ทำให้ต้นมีโอกาสได้พักตัวสะสมอาหารเต็มที่ ซึ่งคาดว่า ผลผลิตจะออกมากช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ต่อเนื่องถึงกลางเดือนกันยายน

ผลผลิตต่อไร่ 4 สินค้า คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งหมด เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับในปีที่ผ่านมาไม้ผลบางต้น ไม่ติดผลหรือให้ผลผลิตน้อย ทำให้มีเวลาในการพักต้นสะสมอาหารต้นสมบูรณ์ขึ้น และแม้ว่าต้นทุเรียนประสบปัญหาเชื้อราไฟทอปเธอราที่ระบาด แต่ไม่เป็นปัญหามากนัก เนื่องจากพื้นที่ให้ผลเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะทุเรียนสาวที่เริ่มให้ผลเพิ่มขึ้นมาทดแทนเป็นจำนวนมาก

ด้านนายธรณิศร กลิ่นภักดี ผอ.สศท.8 กล่าวเสริมว่า สำหรับแนวทางบริหารจัดการผลไม้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2561 ยังคงเน้นเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยให้จังหวัดคำนึงถึงการบริหารจัดการผลไม้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพซึ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลไม้ ควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลไม้ตลอดฤดูกาลผลิต อย่างไรก็ตาม หากสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนอาจทำให้ปริมาณผลผลิตไม้ผลเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้อีก เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศของภาคใต้มีฝนตกค่อนข้างมาก และมีมรสุมเข้ามาสม่ำเสมอ และอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ซึ่งจะเห็นผลได้ชัดเจนอีกครั้งหลังกลางเดือนมีนาคมถึงเมษายนเป็นต้นไป โดย สศท.8 จะได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและลงพื้นที่สำรวจในเดือนพฤษภาคม ถึง ต้นเดือนกรกฎาคม 2561 ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. 077 311 597 หรือ

ในภาวะอากาศร้อน และมีฝนตก มักพบการแพร่ระบาดของหนอนเจาะผลทุเรียน ได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ขนาดผลทุเรียนเล็กจนถึงผลโตพร้อมเก็บเกี่ยว ทำให้ผลทุเรียนเป็นแผล ผลเน่า และร่วงหล่น เนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ หากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล จะทำให้บริเวณนั้นเน่าเมื่อผลสุก โดยจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจนที่บริเวณเปลือกผลทุเรียน มีน้ำไหลเยิ้มเมื่อผลทุเรียนใกล้แก่ หนอนจะเข้าทำลายผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะผีเสื้อตัวเต็มวัยชอบวางไข่ในบริเวณรอยสัมผัสนี้ ถ้าผลทุเรียนที่มีรอยแมลงทำลาย จะส่งผลทำให้ผลผลิตทุเรียนขายไม่ได้ราคา

กรมวิชาการเกษตร แนะนำให้เกษตรกรหมั่นสังเกตตรวจดูผลทุเรียนภายในสวน หากพบรอยทำลายของหนอนเจาะผลทุเรียน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลายทิ้ง จากนั้นให้ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกัน เกษตรกรควรใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย และควรเริ่มห่อผลทุเรียนตั้งแต่มีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป ด้วยถุงมุ้งไนล่อน ถุงรีเมย์ หรือถุงพลาสติกสีขาวขุ่นที่เจาะรูบริเวณขอบล่าง เพื่อให้น้ำระบายออกมาได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายของผลทุเรียนได้

หากพบการระบาดรุนแรงของหนอนเจาะผลทุเรียน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ คือสารแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นเฉพาะส่วนผลทุเรียนที่พบการทำลายของหนอนเจาะผล สำหรับในแหล่งที่มีการระบาด ให้พ่นหลังจากทุเรียนติดผลแล้ว 1 เดือน โดยพ่น 3-4 ครั้ง ทุก 20 วัน

โรคราสีชมพู มักเกิดได้ง่ายในช่วงที่มีฝนตกชุกและน้ำท่วมขังในแปลงปลูกทุเรียน ทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งต้นทุเรียน โดยเฉพาะบริเวณง่ามกิ่ง ส่งผลให้ใบมีสีเหลืองร่วงหล่นไปคล้ายกับอาการกิ่งแห้งและใบร่วงที่เกิดจากโรคโคนเน่า โรคราสีชมพูจุดสังเกตอาการได้ง่าย คือมีเส้นใยของเชื้อราลักษณะเป็นขุยสีชมพู ปกคลุมบริเวณโคนกิ่งที่มีใบแห้ง ทำให้เปลือกของกิ่งทุเรียนปริแตกและล่อนจากเนื้อไม้ เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเนื้อไม้ภายในมีสีน้ำตาล ถ้าเกิดรอบกิ่งจะทำให้กิ่งทุเรียนแห้งตายในที่สุด
หากตรวจพบว่า ต้นทุเรียนเกิดปัญหาโรคราสีชมพูอย่างรุนแรง ควรตัดและเผาทำลาย แล้วพ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ 85% ดับบลิวพี อัตรา 50 กรัม หรือสารคาร์เบนดาซิม 60% ดับบลิวพี อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่ว โดยเน้นพ่นบริเวณกิ่งในทรงพุ่ม

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เรื่อง ผลการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561 ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น สาขาอาชีพ/ประเภทที่กำหนดเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานดีเด่นของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดังกล่าว ให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จักและยึดถือเป็นแบบอย่างแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศโดยรวมในอนาคต ทั้งนี้ เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ที่ได้รับการคัดเลือก จะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2561 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง

บัดนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พิจารณาคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังรายนามต่อไปนี้

เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561

อาชีพทำนา ได้แก่ นายชัชวาลย์ ท้าวมะลิ บ้านเลขที่ 102 หมู่ที่ 7 ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี โทรศัพท์ (086) 221-4393
อาชีพทำสวน ได้แก่ นายธีรภัทร อุ่นใจ บ้านเลขที่ 3/6 หมู่ที่ 8 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี โทรศัพท์ (097) 068-1971
อาชีพทำไร่ ได้แก่ นางทองแดง แดนดี บ้านเลขที่ 72 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โทรศัพท์ (081) 966-0363
อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นายใจ สุวรรณกิจ บ้านเลขที่ 224 หมู่ที่ 2 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โทรศัพท์ (083) 537-1313
อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางกุลกนก เพชรเลิศ บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 2 ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ โทรศัพท์ (087) 452-8277
อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายมูฮำมัดกาแมล เจะมะ บ้านเลขที่ 17 หมู่ที่ 6 ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โทรศัพท์ (080) 705-7375
อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายอดิศัย ว่องไวไพโรจน์ บ้านเลขที่ 92 หมู่ที่ 10 ตำบลหลุมรัง อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์ (081) 763-3357

อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายวศิน ธนภิรมณ์ บ้านเลขที่ 104/5 หมู่ที่ 1 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โทรศัพท์ (089) 876-4610
อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายสิทธิธรรม เรืองจรุงพงศ์ บ้านเลขที่ 88/8 หมู่ที่ 12 ตำบลเนินหอม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โทรศัพท์ (081) 649-1100
อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นางธวัลรัตน์ คำกลาง บ้านเลขที่ 91/1 หมู่ที่ 6 ตำบลวังกระทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ (082) 141-5474
สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ พันจ่าโทเฉลียว น้อยแสง บ้านเลขที่ 42/3 หมู่ที่ 10 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท โทรศัพท (086) 205-9124
สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายสัญญา หิรัญวดี บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 5 ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โทรศัพท์ (089) 868-4144

สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายบุญมี นามวงศ์ บ้านเลขที่ 60 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ โทรศัพท์ (082) 749-9785
ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายศรีราชา บัวเบา บ้านเลขที่ 92/1 หมู่ที่ 3 ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โทรศัพท์ (089) 836-2619
สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายศุภวิชญ์ บำรุงรัตน์ บ้านเลขที่ 18/1 หมู่ที่ 2 ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี โทรศัพท์ (089) 038-2334
สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายสฤษดิ์ โชติช่วง บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านใต้ อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ (089) 593-1513

กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านควนสามโพธิ์ ที่ทำการกลุ่ม บ้านเลขที่ 379 หมู่ที่ 5 ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง โทรศัพท์ (085) 670-5267
กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำทุ่งช้าง ที่ทำการกลุ่ม บ้านเลขที่ 46 หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โทรศัพท์ (089) 556-4112

กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ตำบลหาดเล็ก ที่ทำการกลุ่ม บ้านเลขที่ 231 หมู่ที่ 1 ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด โทรศัพท์ (090) 087-6733
กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปถนอมอาหาร ที่ทำการกลุ่ม บ้านเลขที่ 75/2 หมู่ที่ 4 ตำบลป่าสัก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ (084) 950-4860

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองเหรียง ที่ทำการกลุ่ม บ้านเลขที่ 201 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง โทรศัพท์ (074) 606-182, (089) 295-6617
กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง 12 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่ทำการกลุ่ม โรงเรียนเพียงหลวง 12 หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ (098) 168-2536, (081) 071-2581
กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านท่าไม้ ที่ทำการกลุ่ม บ้านเลขที่ 54/2 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โทรศัพท์ (087) 310-2040

สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานท่ายางบ้านลาดพัฒนา ที่ทำการกลุ่ม ศาลาชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 7 ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โทรศัพท์ (086) 505-1833
ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลเมยวดี ที่ทำการกลุ่ม ศูนย์ข้าวชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลเมยวดี อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด โทรศัพท์ (094) 287-4437
ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวอื่นๆ ได้แก่ ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนพัฒนาบ้านบึงประดู่ ที่ทำการกลุ่ม บ้านเลขที่ 76 หมู่ที่ 5 ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทรศัพท์ (087) 738-2424
วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว ที่ทำการกลุ่ม บ้านเลขที่ 42 หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด โทรศัพท์ (084) 892-5374

สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561

สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรขามสะแกแสง จำกัด ที่ทำการสหกรณ์ บ้านเลขที่ 342 หมู่ที่ 2 ตำบลขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ (044) 385-5041
สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์ค (ลำพญากลาง) จำกัด ที่ทำการสหกรณ์ บ้านเลขที่ 76 หมู่ที่ 1 ตำบลลำพญากลาง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โทรศัพท์ (036) 721-455
สหกรณ์นิคม ได้แก่ สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด ที่ทำการสหกรณ์ บ้านเลขที่ 212 หมู่ที่ 5 ตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โทรศัพท์ (055) 745-540